ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องสมุดโรงเรียน Moonlight oF MaGic SchOoL จ้า

    ลำดับตอนที่ #3 : ประวัติการเต้นรำหรืออีกอย่างคือลีลาศ^o^

    • อัปเดตล่าสุด 8 พ.ค. 51


    เอาล่ะค่ะห้องนี้จะบอกถึงประวัติของลีลาศความเป็นมาอะไรต่างๆนะคะใครจะอ่านหรือไม่อ่านก็ตามใจ^o^


    ประวัติการลีลาศหรือเต้นรำ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันกับเต้นรำแบบอื่นๆ มาก  เช่น  การเต้น

    ระบำบัลเล่ย์ การเต้นรำพื้นเมือง ฯลฯ จึงขอสรุปโดยแบ่งยุคการเต้นรำออกเป็น 6 ยุคดังนี้

     

    ยุคก่อนประวัติศาสตร์

                  การเต้นรำถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของการแสดงออกของบุคคล ศิลปะการเต้นรำในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ถูกค้นพบจากภาพวาดบนผนังถ้ำในแอฟริกาและยุโรปตอนใต้ ซึ่งศิลปะในการเต้นรำได้ถูกวาดมาไม่น้อยกว่า 20,000 ปี พิธีกรรมทางศาสนาจะรวมการเต้นรำ การดนตรี และการแสดงละคร ซึ่งเป็นสิ่งในชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาก พิธีกรรมเหล่านี้อาจเป็นการบวงสรวงเทพเจ้าเทพธิดา หรือจากการล่าสัตว์มาได้ หรือการออกสงคราม นอกจากนี้อาจมีการเฉลิมฉลองการเต้นรำด้วยเหตุอื่นๆ เช่น ฉลองการเกิด การหายจากเจ็บป่วย หรือการไว้ทุกข์

     

    ยุคโบราณ

    การเต้นรำของพวกที่นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพวกที่ไม่มีศาสนาในสมัยโบราณนั้น โดยเฉพาะในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง มีภาพวาด รูปปั้นแกะสลักและบทประพันธ์ของชาว   อียิปต์โบราณ แสดงให้เห็นว่า การเต้นรำได้ถูกจัดขึ้นในพิธีศพ ขบวนแห่ และพิธีกรรมทางศาสนา ชาว   อียิปต์โบราณส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ทุกๆปีแม่น้ำไนล์จะหลากเมื่อน้ำลดจะทำการเพาะปลูก และมีการเต้นรำหรือแสดงละคร เพื่อขอบคุณเทพเจ้าโอซิริส (God Osiris) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการเกษตร นอกจากนี้การเต้นรำยังนำมาใช้ในงานส่วนตัวเพื่อความสนุกสนาน เช่น การเต้นรำของพวกข้าทาส ซึ่งจัดขึ้นเพื่อความสนุกสนานและต้อนรับแขกที่มาเยือน

    กรีกโบราณเห็นว่า การเต้นรำเป็นสิ่งจำเป็นในการศึกษา การบวงสรวงเทพเจ้า เทพธิดา และการแสดงละคร ปรัชญาเมธีพลาโต ให้ความเห็นว่า พลเมืองกรีกที่ดี ต้องเรียนรู้การเต้นรำเพื่อพัฒนาการบังคับร่างกายตนเอง ทักษะในการต่อสู้ดังนั้น การเต้นรำด้วยอาวุธ จึงถูกนำมาใช้ในการศึกษาทางทหารของเด็กทั้งในรัฐเอเธนส์และสปาร์ต้า นอกจากนี้ยังถูกนำมาใช้ในการแต่งงาน ฤดูการเก็บเกี่ยวพืชผล และในโอกาสอื่นๆ

    การเต้นรำทางศาสนา เป็นส่วนสำคัญในการกำเนิดการละครของกรีก ระหว่าง 500 ปี ก่อน ค.. การละครของกรีกเรียกว่า “ Tragidies” ซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวดในโบสถ์ และการเต้นรำเพื่อสรรเสริญเทพเจ้าดิโอนิซุส (God Dionysus ) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่น การเต้นรำแบบ Emmeieia เป็นการเต้นรำที่สง่าภูมิฐาน ได้ถูกนำมาใช้ในละคร Tragedies โดยครูสอนเต้นรำจะต้องบอกเรื่องราวและชี้แนะท่าทางที่ต้องแสดงเพื่อให้จดจำได้ การแสดงตลกขบขันสั้นๆ ของกรีกเรียกว่า “Satyrs”  ก็จัดอยู่ในการเต้นรำของกรีกด้วย

    เมื่อโรมันรบชนะกรีก เมื่อ 197 ปี ก่อน ค.. โรมันได้ปรับปรุงวัฒนธรรมการเต้นรำของกรีกให้ดีขึ้น การเต้นรำของโรมันคล้ายกับของกรีกที่เต้นรำเพื่อบวงสรวงเทพเจ้า หญิงชาวโรมันก็จะถูกฝึกให้เต้นรำ แม้แต่ชาวต่างชาติหรือพวกข้าทาสที่อยู่ในโรมันก็จะมีการเต้นรำด้วย ชาวโรมันจะเต้นรำหลังจากการเพาะปลูกหรือกลับจากสงคราม ในยุคนี้มีนักเต้นรำของโรมันที่มีชื่อเสียงมาก คือ ซิซีโร ( Cicero : 106-43 B.C.) ซึ่งเป็นผู้คิดและปรับปรุงลักษณะท่าทางการเต้นรำของโรมันให้ดีขึ้น

     

    ยุคกลาง ( ..400 1,500)

    เป็นยุคที่ค่อนข้างสับสนวุ่นวาย สังคมไม่สงบสุข โบสถ์มีอิธิพลต่อการเต้นรำของยุโรปมาก โบสถ์มีข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการเต้นรำ ทั้งนี้เป็นเพราะการเต้นรำบางอย่างถือว่าต่ำช้าและเพื่อกามารมณ์ อย่างไรก็ดี ผู้ที่ชอบการเต้นรำมักจะหาโอกาสจัดงานเต้นรำขึ้นในหมู่บ้านของตนอยู่เสมอ ในปี ค.. 300 บรรดาผู้ใช้แรงงานฝีมือ ได้จัดละครทางศาสนาขึ้นและมีการเต้นรำรวมอยู่ด้วย

    ระหว่างปี ค.. 300 กาฬโรคซึ่งเรียกว่า ความตายสีดำระบาดในยุโรป ทำลายชีวิตผู้คนไปมากจนทำให้ผู้คนแทบเป็นบ้าคลั่ง ประชาชนจะร้องเพลงและเต้นรำคล้ายคนวิกลจริตที่หน้าหลุมศพ ซึ่งเขาเรียกว่าการแสดงของเขาจะช่วยขับไล่สิ่งเลวร้ายและขับไล่ความตายให้หนีไปจากชีวิตความเป็นอยู่ของเขา

    ในยุคกลางยุโรปยังมีการเฉลิมฉลองการแต่งงาน วันหยุด และประเพณีต่างๆตามโอกาสด้วย     “ การเต้นรำพื้นเมือง”   ผู้ใหญ่และเด็กในชนบทจะจัดรำดาบ   และเต้นรำรอบเสาสูงที่ผูกริบบิ้นจาก     ยอดเสา

     (Maypoles) พวกขุนนางที่ไปพบเห็นก็ได้นำมาพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น การเต้นรำแบบวงกลมของบรรดาขุนนางซึ่งเรียกว่า “Carol” เป็นการเต้นรำที่ค่อนข้างช้า ในช่วงปลายยุคกลาง การเต้นรำถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนแห่ต่างๆหรือในงานเลี้ยงที่มีเกียรติ

     

    ยุคฟื้นฟู ( ค.ศ. 1400-1600 )

    เป็นยุคที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ยุคฟื้นฟูเริ่มในอิตาลี เมื่อปี ค.. 300 ในช่วงปลายสมัยกลางแล้วแผ่ขยายไปในยุโรป ปี ค.. 300 ในอิตาลี ขุนนางที่มั่นคงในเมืองต่างๆ จะจ้างครูเต้นรำอาชีพมาสอนในคฤหาสน์ของตนเรียกการเต้นรำสมัยนั้นว่า Balli หรือ Balletti ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี แปลว่า การเต้นรำ

    ในปี ค.. 1588 พระชาวฝรั่งเศสชื่อ โตอิโน อาโบ (Thoinnot Arbeau:.. 1519-1589) ได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการเต้นรำชื่อ ออเชโซกราฟี (Orchesographin) ในหนังสือได้บรรยายถึงการเต้นรำแบบต่างๆหลายแบบ เป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก บันทึกถึงการเต้นรำที่นิยมใช้กันในบ้านขุนนางต่างๆ ในยุโรประหว่างศตวรรษที่ 16

    งานเลี้ยงฉลองได้ถูกจัดขึ้นตามโอกาสต่างๆเช่น วันเกิด การแต่งงาน และการต้อนรับแขกที่มาเยือนในงานจะรวมพวกการเต้นรำ การประพันธ์ การดนตรี และการจัดฉากละครด้วย ขุนนางผู้หนึ่งชื่อ Lorenzo de Medlci  ได้จัดงานขึ้นที่คฤหาสน์ของตน โดยตกแต่งคฤหาสน์ด้วยสีสันต่างๆ และจัดให้มีการแข่งขันหลายๆอย่าง รวมทั้งการเต้นรำสวมหน้ากาก (Mask Dance) ซึ่งต้องใช้จังหวะ ดนตรีประกอบการเต้น

    พระนางแคทเธอรีน เดอ เมดิซี (Catherine de Medicis ) พระราชินีในพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 เดิมเป็นชาวฟลอเรนซ์แห่งอิตาลี พระองค์ได้นำคณะเต้นรำของอิตาลีมาเผยแพร่ในพระราชวังของฝรั่งเศส และเป็นจุดเริ่มต้นของระบำบัลเล่ย์  พระองค์ได้จัดให้มีการแสดงบัลเล่ย์โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงด้วย

    ในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ได้ปรับปรุงและพัฒนาการบัลเล่ย์ใหม่ได้ตั้ง             โรงเรียนบัลเล่ย์ขึ้นแห่งแรก ชื่อ Academic Royale de Dance จนทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของยุโรป พระองค์คลุกคลีกับวงการบัลเล่ย์มาไม่น้อยกว่า 200 ปี โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงด้วย บทบาทที่พระองค์ทรงโปรดมากที่สุดคือ บทเทพอพอลโลของกรีก จนพระองค์ได้รับสมญานามว่า พระราชาแห่งดวงอาทิตย์การบัลเล่ย์ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นี้ค่อนข้างจะสมบูรณ์มาก

    การเต้นระบำบัลเล่ย์ในพระราชวังนี้เป็นพื้นฐานของการลีลาศ การเต้นรำในปี ค.ศ. 1700 ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ Gavotte,Allemande และMinuet รูปแบบการเต้นจะประกอบด้วยการก้าวเดินหรือวิ่ง การร่อนถลา การขึ้นลงของลำตัว การโค้ง และถอนสายบัว ภายหลังได้แพร่ไปสู่ยุโรปและอเมริกา เป็นที่ชื่นชอบของ ยอร์ช วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกามาก   การเต้นรำในอังกฤษซึ่งเป็นการเต้นรำพื้นเมืองและนิยมกันมากในยุโรป เรียกว่า Country Dance ภายหลังได้แพร่ไปสู่อาณานิคมตอนใต้ของอเมริกา

     

    ยุคโรแมนติค

    เป็นยุคที่มีการปฏิรูปเรื่องบัลเล่ย์ในสมัยนี้นักเต้นรำมีความเป็นอิสระเสรีในการเคลื่อนไหวและการแสดงออกของบุคคล สมัยก่อนการแสดงบัลเล่ย์มักจะแสดงเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า เทพธิดา แต่สมัยนี้มุ่งแสดงเกี่ยวกับชีวิตคนธรรมดาสามัญ เป็นเรื่องง่ายๆและจินตนาการ

    ในสมัยที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศส ( ค.ศ. 1789 ) ได้มีการกวาดล้างพวกกษัตริย์และพวกขุนนางไป เกิดความรู้สึกอย่างใหม่คือ ความมีอิสระเสรีเท่าเทียมกัน เกิดการเต้นวอลซ์ ซึ่งรับมาจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งเชื่อกันว่ามีรากฐานมาจากการเต้น Landler การเต้นวอลทซ์ได้แพร่หลายไปสู่ประเทศที่เจริญแล้วในยุโรปตะวันตก    เนื่องจากการเต้นวอลซ์อนุญาตให้ชายจับมือและเอวของคู่    เต้นรำได้   จึงถูกคณะพระคริสประณามว่าไม่เหมาะสมและไม่สุภาพเรียบร้อย

    ในช่วงปี ค.ศ. 1800-1900  การเต้นรำใหม่ๆที่เป็นที่นิยมกันมากในยุโรปและอเมริกา จะเริ่มต้นจากคนธรรมดาสามัญโดยการเต้นรำพื้นเมือง พวกขุนนางเห็นเข้าก็นำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับราชสำนัก เช่น การเต้น โพลก้า วอลซ์ ซึ่งกลายเป็นที่นิยมมากของคนชั้นกลางและชั้นสูง

    ในอเมริการูปแบบใหม่ในการเต้นรำที่นิยมมากในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพและพวกที่ยากจน คน ผิวดำนิยมเต้น Tap-Danced หรือระบำย่ำเท้า โดยรวมเอาการเต้นรำพื้นเมืองในแอฟริกา การเต้นแบบจิ๊ก     ( jig) ของชาวไอริส และการเต้นรำแบบคล๊อก (Clog) ของชาวอังกฤษเข้าด้วยกัน คนผิวดำมักจะเต้นไปตามถนนหนทาง

    ก่อนปี ค.ศ. 1870  การเต้นรำได้ขยายไปสู่เมืองต่างๆในอเมริกา ผู้หญิงที่ชอบร้องเพลงประสานเสียงจะเต้นระบำแคนแคน (Can-Can ) โดยใช้การเตะเท้าสูงๆ เพื่อเป็นสิ่งบันเทิงใจแก่พวกโคบาลที่อยู่ตามชายแดนอเมริกา ระบำแคน แคน  มีจุดกำเนิดมาจากฝรั่งเศส

    ยุคปัจจุบัน ( ค.ศ. 1900 )

    จังหวะวอลซ์จากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งเกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 17 แต่มิได้     เผยแพร่ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1816  จังหวะวอลซ์ ได้ถูกนำมาเผยแพร่ต่อที่ประชุมโดยพระเจ้ายอร์ชที่ 4 แม้จะไม่สมบูรณ์นักในขณะนั้น แต่ก็จัดว่าจังหวะวอลซ์เป็นจังหวะแรกของการลีลาศแท้จริง เพราะคู่ลีลาศสามารถจับคู่เต้นรำได้

    ในราวปี ค.ศ. 1840  การเต้นรำบางอย่างกลับมาเป็นที่นิยมอีก อาทิ โพลก้า จากโบฮิเมีย ซึ่งเป็นที่นิยมมากในเวียนนา ปารีส และลอนดอน จังหวะมาเซอก้า( Mazuka) จากโปแลนด์ก็เป็นที่นิยมมากในยุโรปตะวันตก

    ในราวกลางศตวรรที่ 19 การเต้นรำใหม่ๆก็เกิดขึ้นอีกมาก อาทิ การเต้นมิลิตารี่ สก๊อตติช (Millitary Schottische) การเต้นเค็กวอล์ค (Cakewalk) ซึ่งเป็นการเต้นรำแบบหนึ่งของพวกนิโกรในอเมริกา การเต้นทูสเตป (Two-Step) การเต้นบอสตัน (Boston) และการเต้นเตอรกีทรอท (Turkey trot)

    ในศตวรรษที่ 20 .. 1910 จังหวะแทงโก้จากอาร์เจนตินา เริ่มเผยแพร่ที่ปารีส เป็นจังหวะที่แปลกและเต้นสวยงามมาก

    ในระหว่างปี ค.ศ. 1912-1914 Vemon และ lrene Castle ได้นำรูปแบบการเต้นรำแบบใหม่ๆ จากอังกฤษมาเผยแพร่ในอเมริกาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่จังหวะฟอกซ์ทรอทและแทงโก้

    ปี ค.. 2461 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้เลือกเฟ้นจังหวะเต้นรำทั้งบอลล์รูมและลาตินอเมริกาเรียบเรียงขึ้นเป็นตำรา วางหลักสูตรของแต่ละจังหวะรัดกุม ในสมัยนี้ประเภทบอลรูม มีเพียง 4 จังหวะคือ วอลซ์ ควิกวอลซ์ สโลว์ฟอกซ์ทรอทและแทงโก้

    ปี ค.ศ. 1920 ในอเมริกาเริ่มนิยมจังหวะ  Paso-Doble  และการเต้นรำแบบก้าวเดียวสลับกัน  (One-step)  ซึ่งเรียกกันว่า  Fast fox-trot

    ปี ค.ศ. 1925  จังหวะชาร์ลตัน ( Charleston) เริ่มเป็นที่นิยม รูปแบบการเต้นคล้ายทูสเตป และในปีเดียวกันนี้ Arthur Murray ก็ได้ให้กำเนิดการเต้นรำแบบสมัยใหม่ (Modem Dances) ขึ้น การเต้นรำแบบสมัยใหม่นี้เป็นการเต้นรำที่แสดงออกถึงจินตนาการของแต่ละบุคคล ไม่มีท่าเต้นที่แน่นอนตายตัว บางครั้งก็นำท่าบัลเล่ย์มาผสมผสานด้วย

    ปี ค.ศ. 1929 จังหวะจิตเตอร์บัก ( Jittebug) เริ่มเป็นที่นิยม รูปแบบการเต้นต้องอาศัยยิมนาสติก การเบรก และการก้าวเท้าย่ำเร็วๆ ในปีเดียวกันอิทธิพลจากเพลงแจ๊สของอเมริกา ทำให้เกิดจังหวะควิก สเตปขึ้น เป็นจังหวะที่ 5 ของบอลรูม

    ปี ค.ศ. 1929 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการลีลาศ  (Official Board of Ballroom Dancing ) ขึ้นในประเทศอังกฤษและจัดการแข่งขันเต้นรำในอังกฤษทุกปี

    ปี ค.ศ. 1930 การเต้นรำของชาวคิวบา (Cuban Dance) ก็เป็นที่นิยมมากในอเมิกา คือจังหวะ   คิวบันรัมบ้า หรือจังหวะรัมบ้า

    ปี ค.. 1939 บรรดาครูลีลาศและผู้ทรงคุณวุติทางลีลาศในอังกฤษได้ร่วมกันวางกฏเกณฑ์ของลวดลายต่างๆ ในลีลาศเพื่อให้เป็นมาตราฐานเดียวกัน ในแต่ละจังหวะมีประมาณ 20 ลวดลาย

    ปี ค.. 1940 การเต้นคองก้าและแซมบ้าจากบราซิลก็เป็นที่นิยมกันมาก

    ปี ค.. 1950 ได้จัดตั้งสภาการลีลาศระหว่างชาติ ( International Councll of Ballroom Dancing) โดยใช้ชื่อย่อว่า I.C.B.D. และในปีเดียวกันนี้มีจังหวะใหม่ๆ เข้ามาเผยแพร่อีก เช่น จังหวะแมมโบ้จาก คิวบา ชา ชา ช่า จากโดมินิกัน และเมอเรงเก้จากโดมินิกันเช่นกัน

    ปี ค.. 1959 จัดแข่งขันลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนโลกขึ้นที่ประเทศอังกฤษ โดยจัดทั้งประเภทสมัครเล่นและอาชีพ ตามกฏเกณฑ์ที่สภาการลีลาศระหว่างชาติกำหนด นอกจากนี้สภาการลีลาศระหว่างชาติได้กำหนดจังหวะมาตรฐานไว้ 4 จังหวะ คือ วอลซ์ ฟอกซ์ทรอท แทงโก้ และควิกสเตป ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  จังหวะที่มีการจัดการแข่งขันมี วอลซ์แบบอังกฤษ ฟอกซ์ทรอท แทงโก้ ควิก สเตป และเวนิสวอลซ์  นอกจากนี้อมริกาและอังกฤษได้แนะนำร็อคแอนด์โรคให้ชาวโลกได้รู้จัก

    ปี ค.. 1960 มีจังหวะใหม่ๆ เกิดขึ้นในอเมริกาโดยคนผิวดำคือ จังหวะทวิสต์ การเต้นจะใช้การบิดลำตัว เข่าโค้งงอ การเต้นจะไม่แตะต้องตัวกับคู่คือต่างคนต่างเต้น นอกจากนี้ยังมีจังหวะฮัสเซิล

    ( Hustle) และจังหวะบัสสาโนวา (Bossanova) ซึ่งดัดแปลงจากแซมบ้าของบราซิล

    ปี ค.. 1970 นิยมการเต้นรำที่เรียกว่า ดิสโก้ ( Disco) ซึ่งค่อนข้างเต้นแบบอิสระมาก

    อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันนี้มีการเต้นรำใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายแบบ เช่น แฟลชดาน (Flash Dances) เบรกดานซ์ (Brake Dances) ซึ่งมักจะเริ่มจากพวกนิโกรในอเมริกา และยังมีการเต้นรำโดยใช้ท่าบริหาร     ร่างกายประกอบจังหวะดนตรีซึ่งเรียกว่า แอโรบิคดานซ์ (Aerobic Dances) ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ การเต้นรำแบบต่างๆ เหล่านี้ไม่จัดเป็นการลีลาศ

    นอกจากนี้ จังหวะเต้นรำก็เกิดขึ้นใหม่ๆ อีกหลายจังหวะเช่น สลูปปี้ เจอร์ค วาทูซี่ เชค อโกโก้ แมทโพเตโต้ บูการลู ซึ่งจัดเป็นการเต้นรำสมัยใหม่อยู่ ไม่จัดเป็นการลีลาศเช่นกัน

     

     

    การลีลาศในประเทศไทย

    การลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัด  แต่จากบันทึกของแหม่มแอนนา  ทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า  เมืองไทยมีลีลาศมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  4  และบุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกก็คือ  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ตามบันทึกของแหม่มแอนนาเล่าว่า  ในช่วงหนึ่งของการสนทนาได้พูดถึงการเต้นรำ  ซึ่งแหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักการเต้นรำแบบสุภาพ  ซึ่งเป็นที่นิยมของชาติตะวันตก  พร้อมกับแสดงท่า  และบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก  มักนิยมเต้นกันในวังยุโรป  ซึ่งพระองค์ท่านก็ฟังอยู่เฉยๆ  ไม่ออกความเห็นใดๆ แต่พอแหม่มแอนนาแสดงท่า  พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไปแขนต้องวางให้ถูก  และ     พระองค์ท่านก็เต้นให้ดู  จนแหม่มแอนนาถึงกับงง  จึงทูลถามว่าใครเป็นคนสอนให้พระองค์  ท่านก็ไม่ตอบจึงไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์  สันนิษฐานกันว่าพระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง

                    ในสมัยรัชกาลที่  5  การเต้นรำยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก  คงมีแต่เจ้านายในวังที่เต้นกัน  ส่วนใหญ่มักจะเต้นจังหวะวอลซ์เพียงอย่างเดียว  และบางครั้งได้มีการนำเอาจังหวะวอลซ์ไปสอดแทรกในการแสดงละครด้วย  เช่น  เรื่องพระอภัยมณี  ตอนที่กล่าวถึงนางละเวงได้กับพระอภัยมณี 

    ในสมัยรัชกาลที่  6  ทุกๆ ปีในงานเฉลิมพระชนมพรรษาก็มักจะจัดให้มีการเต้นรำกันใน     พระบรมมหาราชวัง โดยมีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธาน ซึ่งบรรดาทูตานุทูตทั้งหลายต้องเข้าเฝ้า  ส่วนแขกที่ชิญนั้นต้องได้รับบัตรเชิญจึงจะเข้าไปในงานได้

    ในสมัยรัชกาลที่ 7 การเต้นรำได้รับความนิยมมากขึ้น  ได้เปิดให้มีการเต้นกันตามสถานที่ต่างๆกันมาก เช่น ที่ห้อยเทียนเหลา  เก้าชั้น  โลลิต้า  และคาร์เธ่ย์

    ในพุทธศักราช 2475 หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรวรรณ กับนายหยิบ ณ นคร ได้ปรึกษากันและจัดตั้งสมาคมที่เกี่ยวกับการเต้นรำขึ้น ชื่อ สมาคมสมัครเล่นเต้นรำโดยมีหม่อมเจ้าไวทยากรวรวรรณ เป็นประธาน นายหยิบ ณ นคร เป็นเลขาธิการสมาคม และมีคณะกรรมการอีกหลายท่าน เช่น         หลวงเฉลิม สุนทรกาญจน์ นายแพทย์เติม บุนนาค พระยาปกิตกลสาร พระยาวิชิตหลวงสุขุม               นัยประดิษฐ์ หลวงชาติตระการโกศล สถานที่ตั้งสมาคมนั้นไม่แน่นนอนคือวนเวียนไปตามบ้านสมาชิกแล้วแต่สะดวก การตั้งเป็นสมาคมครั้งนี้ไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นที่ถูกต้องแต่อย่างใด สมาชิกส่วนมากเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งได้พาบุตรหรือบุตรีเข้าฝึกหัดด้วย ทำให้สมาชิกเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว     มักจัดให้มีงานเต้นรำขึ้นบ่อยๆ ที่สมาคมคณะราษฎร์ วังสราญรมย์ และได้จัดแข่งขันการเต้นรำขึ้นครั้งแรกที่วังสราญรมย์นี้ ผู้ชนะเลิศเป็นแชมเปี้ยนคือ พลเรือตรีเฉียบ แสงชูโต และคุณประนอม สุขุม

    ในปี พ.. 2476 นักศึกษากลุ่มหนึ่งเห็นว่า  คำว่า เต้นรำ เมื่อผวนแล้วจะฟังไม่ไพเราะหู     ดังนั้นหม่อมเจ้าไวทยากรวรวรรณ จึงบัญญัติศัพท์คำว่า ลีลาศขึ้นแทนคำว่า เต้นรำนับแต่บัดนี้เป็นต้นมา ต่อมาสมาคมสมัครเล่นเต้นรำก็สลายตัวไปกลายเป็น สมาคมครูลีลาศแห่งประเทศไทยโดยมีนายหยิบ ณ นคร เป็นผู้ประสานงานจนสามารถส่งนักลีลาศไปแข่งยังต่างประเทศได้ รวมทั้งให้การต้อนรับนักลีลาศชาวต่างชาติที่มาเยี่ยมหรือแสดงในเมืองไทย ในช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่       เข้าร่วมสงครามโลกครั้งนี้ด้วย จึงทำให้การลีลาศซบเซาไป

    เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในเดือนกันยายน พ.. 2488 วงการลีลาศของเมืองไทยก็เริ่มคึกคักมีชีวิตชีวาขึ้นดังเดิม มีโรงเรียนสอนลีลาศเปิดขึ้นหลายแห่ง โดยเฉพาะสาขาบอลรูมหรือ Modern Ballroom Branch อาจารย์ยอด บุรี  ซึ่งไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษแล้วนำกลับมาเผยแพร่ใน  เมืองไทย  ทำให้การลีลาศซึ่ง ศาสตราจารย์ศุภชัย วานิชวัฒนา  เป็นผู้นำอยู่ก่อนแล้วเจริญขึ้นเป็นลำดับ

    ต่อมาได้มีบุคคลชั้นนำในการลีลาศประมาณ 10 ท่าน ซึ่งเคยเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น คุณกวี กรโกวิท , คุณอุไร โทณวนิก , คุณจำลอง มาณยมฑล             คุณปัตตานะ เหมะสุจิ โดยมีนายแพทย์ประสบ วรมิศร์  เป็นผู้ประสานงานติดต่อพบปะปรึกษาหารือ และมีแนวความคิดจะรวมนักลีลาศทั้งหมดให้อยู่ในสมาคมเดียวกัน เพื่อเป็นการผนึกกำลังและช่วยกันปรับปรุงมาตรฐานการลีลาศทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ซึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกัน จึงมีการร่างระเบียบข้อบังคับขึ้นมา ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นสมาคมตามกฎหมาย เมื่อวันที่  7  สิงหาคม  พ.. 2491  ซึ่งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้อนุญาติให้จัดตั้ง “ สมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย ”  เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม  2491  โดยมีหลวงประกอบนิติสาร  เป็นนายกสมาคมคนแรก  ปัจจุบันสมาคมแห่งประเทศไทย  เป็นสมาชิกของสภาการลีลาศนานาชาติ   ด้วยประเทศหนึ่ง

                    หลังจากนั้นการลีลาศได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นอย่างมาก  มีการจัดตั้งสมาคมลีลาศขึ้น  มีสถานลีลาศเปิดเพิ่มขึ้น  มีการจัดส่งนักกีฬาลีลาศไปแข่งขันในต่างประเทศ  และจัดแข่งขันลีลาศนานาชาติขึ้นในประเทศไทย  ในสมัยจอมพลสฤษณ์  ธนะรัตต์  ได้ให้เรียนสอนลีลาศต่างๆ  สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ  และมีการกำหนดหลักสูตรลีลาศขึ้นอย่างเป็นแบบแผน  มีสถาบันที่เปิดสอนลีลาศเกิดขึ้นเกือบทุกจังหวัด  ปัจจุบันมีหลักสูตรการสอนลีลาศในสถานศึกษา  ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา  จนถึงระดับอุดมศึกษา 

                   

    ความหมายการลีลาศ

                    คำว่า “ลีลาศ”  หรือ  “เต้นรำ”  มีความหมายเหมือนกัน  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปีพุทธศักราช 2525  ได้ให้ความหมายดังนี้

                    ลีลาศ  เป็นนามแปลว่า  ท่าทางอันงดงาม  การเยื้องกราย  เป็นกิริยาแปลว่า  เยื้องกรายเดิน   นวยนาด

                    เต้นรำ  เป็นกิริยาแปลว่า  เคลื่อนที่ไปโดยมีระยะก้าวตามกำหนด  ให้เข้ากับจังหวะดนตรี  ซึ่งเรียกว่า  ลีลาศ  โดยปกติเต้นเป็นคู่ชายหญิง  รำเท้าก็ว่า

                    คนไทยนิยมเรียกการลีลาศว่า  “ เต้นรำ ”  มานานแล้ว  คำว่าลีลาศตรงกับภาษาอังกฤษว่า  “Ballroom  Dancing”  หมายถึง  การเต้นรำของคู่ชายหญิงตามจังหวะดนตรีที่มีแบบอย่างและลวดลายการเต้นเฉพาะตัว  โดยมีระเบียบของการชุมนุม  ณ  สถานที่อันจัดไว้ในสังคม  ใช้ในงานราตรีสโมสรต่าง ๆ และมิใช่การแสดงเพื่อให้คนดู  นอกจากนี้  ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่มักจะได้ยินกันอยู่เสมอคือคำว่า  “Social  Dance”  ส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้ในความหมายเดียวกันกับคำว่า  Ballroom  Dancing  แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาคำว่า  Social  Dance  หมายถึง  การเต้นรำทุกประเภทที่จัดขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนมาอยู่ร่วมกัน  และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเต้นรำเป็นหมู่คณะ  เพื่อให้ได้ความสนุกสานเพลิดเพลิน  จึงกล่าวได้ว่า  Ballroom  Dancing  เป็นส่วนหนึ่งของ  Social  Dance  (ธงชัย  เจริญทรัพย์มณี. 2538 : 1)

                    อาจสรุปได้ว่า  “ลีลาศ”  คือกิจกรรมเข้าจังหวะประเภทหนึ่ง  เป็นการเต้นรำที่แสดงออกอย่างมีศิลปะ  โดยใช้เสียงเพลงและจังหวะดนตรีเป็นสื่อ  เพื่อให้เกิดความสนุกสนามเพลิดเพลิน  มีลวดลายการเต้น  (Figure)  เป็นแบบเฉพาะตัว  และมักนำลีลาศมาใช้ในงานสังคมทั่ว ๆ ไป

     

    ความมุ่งหมายของการลีลาศ

                    ลีลาศ  เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  ที่เต็มไปด้วยความละเอียดอ่อนและสุนทรียภาพ  ประกอบด้วยเทคนิคและลีลาที่อ่อนช้อยสวยงาม  ชวนให้เพลิดเพลินมีชีวิตชีวา  เป็นสิ่งที่ให้ความรื่นเริงบันเทิงใจ  ช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียดจากงานประจำ  เราจะพบว่าในงานรื่นเริงสังสรรค์  หรืองานมงคลต่าง ๆ จะมีลีลาศเป็นสิ่งเชื่อมโยงงานนั้นให้ต่อเนื่อง  ทำให้ผู้ที่มาร่วมงานได้ผ่อนคลายอารมณ์  และเกิดความสนุกสนามร่วมกัน

                    บางคนอาจเห็นว่า   การลีลาศเป็นวัฒนธรรมของชาวต่างประเทศ  เป็นเรื่องของการมอมเมาประกอบกับอาจได้พบเห็นบุคคลบางจำพวก  ใช้การลีลาศไปในทางที่ผิด  ประพฤติในสิ่งที่ไม่ดีเอารัดเอาเปรียบคู่ลีลาศหรือเพื่อกามารมณ์  จึงมักตั้งข้อรังเกียจและกีดกัน แท้ที่จริงแล้ว  ลีลาศเป็นกิจกรรมที่สามารถใช้เป็นสื่อในการเข้าสังคมได้เป็นอย่างดี

                    ธงชัย  เจริญทรัพย์มณี  (2538 : 2)  ได้แบ่งรูปแบบของการลีลาศตามความมุ่งหมายออกเป็น     2  รูปแบบ  ดังนี้

    1.       ลีลาศเพื่อนันทนาการ  (Ballroom  Dancing  for  Recreation)

    2.       ลีลาศเพื่อการแข่งขัน  (Ballroom  Dancing  for  Sport ‘ s Competition)

     

    ลีลาศเพื่อนันทนาการ  (Ballroom  Dancing  for  Recreation)

    การลีลาศเพื่อนันทนาการ  มีความมุ่งหมายที่จะใช้การลีลาศเป็นสื่อ  ดึงความสนใจของบุคคลต่าง ๆ ให้เข้าร่วมกิจกรรม  จะเห็นได้ว่า  การจัดงานรื่นเริงในโอกาสต่าง ๆ เช่น  งานพบปะสังสรรค์  งานฉลองในวาระสำเร็จการศึกษา  งานราตรีสโมสร ฯลฯ  ล้วนแต่มีลีลาศเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น  การลีลาศในรูปแบบนี้มักไม่ค่อยยึดติดหรือคำนึงถึงรูปแบบมากนัก  เพียงแต่อาศัยจังหวะ  และทำนองดนตรีประกอบก็พอ  สำหรับลีลาท่าทางหรือลวดลาย  (Figure)  ต่าง ๆ ในการเคลื่อนไหวจะเน้นที่ความสนุกสนามและความพึงพอใจของคู่ลีลาศเป็นสำคัญ

     

    ลีลาศเพื่อการแข่งขัน  (Ballroom  Dancing  for  Sport’s  Competition)

    การลีลาศเพื่อการแข่งขัน  จะคำนึงถึงรูปแบบที่ถูกต้องตามเทคนิควิธี  มีความสง่างามตามหลักของการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติเป็นสำคัญ  ได้มีสมาคมลีลาศในหลาย ๆ ประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้ร่วมกันส่งเสริมลีลาศให้มีการพัฒนา  และพยายามจัดให้เป็นรูปแบบของกีฬา  โดยมีแนวคิดว่าลีลาศคือกีฬาชนิดหนึ่ง  ที่ให้ความบันเทิงและส่งเสริมสุขภาพพลานามัยเป็นอย่างดี  นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันจัดการแข่งขันลีลาศขึ้นในหลายระดับ  ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ  ทั้งประเภทอาชีพและสมัครเล่น  โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกัน  เช่น

    -          การแข่งขันลีลาศระหว่างประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิค  (Asian  Pacific  Modern  Latin  Dance  Championship)

    -          การแข่งขันลีลาศประเภททีมนานาชาติ  (Anniversary  of Blackpool  team  Match)

    -          การแข่งขันลีลาศชิงแชมป์โลก  (World  Professional  Ballroom  Dancing  championship)

    เป็นต้น

                    จากความพยายามของสมาคมลีลาศต่าง ๆ ทั่วโลก  ในอันที่จะผลักดันให้ลีลาศได้รับการบรรจุเข้าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกส์  ในที่สุด  ผลจากการประชุมของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล  ที่นครบูดาเปสต์  ประเทศบัลแกเรีย  ในเดือนมิถุนายน  พ.ศ. 2539  ได้มีการลงสัตยาบันรับรองลีลาศเป็นกีฬาชนิดหนึ่ง  โดยสามารถจัดแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกส์ได้  และคณะกรรมการโอลิมปิกไทยก็ได้รับรองกีฬานี้เช่นกัน    โดยจัดให้มีการแข่งขันครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิกส์  2000     

    “ซิดนี่ย์เกม”  ณ  ประเทศออสเตรเลีย  (หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  วันศุกร์ที่  27  กันยายน  พ.ศ. 2539 :    21-22) 

                    นอกจากนี้  ประเทศไทยยังได้จัดให้มีการแข่งขันลีลาศครั้งประวัติศาสตร์ขึ้น  เมื่อวันที่  30     พ.ย. – 1 ธ.ค. 2539  โดยใช้ชื่อว่า  “โกลเด้น  จูบิลลี่”  (Golden  Jubille  Thailand  Queen ‘ s  Cup  Dances Sport Championship) ชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ   เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองปีมหามงคลกาญจนาภิเษก  มีชาติต่าง ๆ สมัครเข้าแข่งขันในประเภทต่าง ๆ ถึง  25  ประเทศ  รวมคู่ลีลาศได้ถึง  97  คู่  (หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  วันเสาร์ที่  14  ธันวาคม  พ.ศ. 2539  :  23)

                   

    ขอบข่ายของการลีลาศ

                    สภาการลีลาศนานาชาติ  (International  Council  of  Ballroom  Dancing : I.C.B.D.) ได้ทำการรวบรวมและแบ่งการลีลาศออกเป็น  2  ประเภท  คือ

    1.       ประเภทบอลรูม  (Ballroom  Dancing)

    2.       ประเภทลาตินอเมริกัน  (Latin  American  Dancing)

     

    ประเภทบอลรูม  (Ballroom  Dancing)

    เป็นการลีลาศที่ใช้จังหวะ  นุ่มนวล  สง่างาม  ลักษณะของการลีลาศและทำนองดนตรีเต็มไปด้วยความสุภาพอ่อนหวาน  ลำตัวของผู้ลีลาศจะตั้งตรง  ผึ่งผาย  ในการก้าวเท้านิยมลากเท้าสัมผัสไปกับพื้นห้อง  มักพบการลีลาศประเภทนี้ในหมู่ขุนนางชาวอังกฤษ  จึงเรียกติดปากกันว่าการลีลาศแบบผู้ดีอังกฤษ  มีอยู่  จังหวะ  คือ

    1         จังหวะวอลซ์  (Waltz)

    2         จังหวะควิกวอลซ์  หรือเวนิสวอลซ์  (Quick  Waltz  or  Vienness  Waltz)

    3         จังหวะฟอกซ์ทรอท  (Foxtrot)

     

    4         จังหวะแทงโก้  (Tango)

    5         จังหวะควิกสเตป  (Quick  Step)

     

    ประเภทลาตินอเมริกัน  (Latin  American  Dancing)

    เป็นการลีลาศที่ใช้จังหวะค่อนข้างเร็ว  ใช้ความแคล่วคล่องว่องไว  ส่วนใหญ่จะใช้ไหล่  เอว  สะโพก  เข่า  และข้อเท้าเป็นสำคัญ  การก้าวเดินสามารถยกเท้าพ้นพื้นได้  ทำนองและจังหวะดนตรีจะเร้าใจทำให้เกิดความสนุกสนานร่าเริง  มีอยู่  จังหวะ  คือ

    1.       จังหวะคิวบันรัมบ้า  (Cuban  Rumba)

    2.       จังหวะแซมบ้า  (Samba)

    3.       จังหวะพาโซโดเบิล  (Paso  Doble)

    4.       จังหวะไจว์ฟ  (Jive)

    5.       จังหวะชา  ชา  ช่า  (Cha  Cha  Cha)

     

    นอกจากนี้ยังมีลีลาศอีกประเภทหนึ่ง  ซึ่งจัดอยู่ในประเภทเบ็ดเตล็ด  (Pop  or  Social  Dance)  โดยรวบรวมจังหวะที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ  และยังไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล  หรือเป็นจังหวะที่นิยมลีลาศกันภายในบางประเทศแต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย  ประกอบด้วยจังหวะต่าง ๆ ดังนี้

    1.  จังหวะบีกิน  (Beguine)

    2.  จังหวะอเมริกันรัมบ้า  (American  Rumba)

    3.  จังหวะดิสโก้  (Disco)

    4.  จังหวะตะลุงเทมโป้  (Taloong  Tempo)

    5.  จังหวะกัวราช่า  (Guarracha)

    6.  จังหวะแมมโบ้  (Mambo)

    7.  จังหวะคาลิปโซ่  (Calypso)

    8.  จังหวะร็อค  แอนด์  โรล  (Rock  and  Roll)

    9.  จังหวะออฟบีท  (Off – beat)

    10. จังหวะทวิสต์  (Twist)

    11. จังหวะบั๊มพ์  (Bump)

    12. จังหวะฮัสเซิล  (Hustle)

    ประโยชน์ของการลีลาศ

    จากสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมปัจจุบัน  ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาที่สลับซับซ้อน  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง  สภาพการณ์เหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนประสบกับปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ  ซึ่งจิตแพทย์  นักจิตวิทยา  และนักการศึกษาต่างก็พยายามเน้นและชี้นำให้เห็นถึงความจำเป็น  เกี่ยวกับการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถผ่อนคลายความเครียด  และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  ลีลาศเป็นกิจกรรมหนึ่ง  ซึ่งนอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียดแล้วยังช่วยพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์และสังคมได้เป็นอย่างดี  จึงพอสรุปประโยชน์ของการลีลาศได้  ดังนี้

    1.  ก่อให้เกิดความซาบซึ้งในจังหวะดนตรี

    2.  ก่อให้เกิดความสนุกสนาม  เพลิดเพลิน

    3.  เป็นกิจกรรมนันทนาการ  และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

    4.  เป็นกิจกรรมสื่อสัมพันธ์ทางสังคม  ผู้ชายและผู้หญิงสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมพร้อม   

    กันได้

    5.  ช่วยพัฒนาทักษะทางกลไก  (Motor  Skill)

    6.  ช่วยส่งเสริมสุขภาพพลานามัย  ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  ให้แข็งแรงสมบูรณ์อันจะทำให้มีชีวิตยืนยาวและมีความสุข

    7.  ทำให้มีรูปร่างทรวดทรงงดงาม  สมส่วน มีบุคลิกภาพในการเคลื่อนไหวที่ดูแล้วสง่างาม    ยิ่งขึ้น

    8.  ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์และสังคม

    9.  ช่วยให้รู้จักการเข้าสังคม  และรู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมได้เป็นอย่างดี

    10.  ช่วยส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง  กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม

    11.  ทำให้มีความซาบซึ้งในวัฒนธรรมอันดีงาม  และช่วยจรรโลงให้คงอยู่ตลอดไป

    12.  เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

    13.  เป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยแก้ไขข้อบกพร่องทางกาย

     

     

     

    มารยาททางสังคมในการลีลาศ   ที่ควรทราบมีดังนี้

    การเตรียมตัว

    1.  อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด  กำจัดกลิ่นต่าง ๆ ที่น่ารังเกียจ  เช่น  กลิ่นปาก  กลิ่นตัว  เป็นต้น

    2.  แต่งกายให้สะอาด  ถูกต้อง  และเหมาะสมตามกาละเทศะ  ซึ่งจะเป็นหารสร้างความมั่นใจในบุคลิกภาพของตนเอง

    3.  ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นไม่รุนแรงจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิด  หรือกับคู่ลีลาศของตน

    4.  มีการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยการฝึกซ้อมลีลาศในจังหวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในการลีลาศ

    5. สุภาพบุรุษจะต้องให้เกียรติสุภาพสตรีและบุคคลอื่นในทุกสถานการณ์  และจะต้องไปรับสุภาพสตรีที่ตนเชิญไปร่วมงาน

    6.  ไปถึงบริเวณงานให้ตรงตามเวลาที่ระบุได้ในบัตรเชิญ

     

    ก่อนออกลีลาศ

    1.  พยายามทำตัวให้เป็นกันเอง  และสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับเพื่อนใหม่  แนะนำเพื่อน

     หญิงของตนให้บุคคลอื่นรู้จัก   (ถ้ามี)

    2.  ไม่ดื่มสุรามากจนครองสติไม่อยู่  ถ้ารู้สึกตัวว่าเมามาก  ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ

    3.  ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีที่ไม่รู้จักออกลีลาศ  ยกเว้นจะได้รับการแนะนำให้รู้จักกันเสียก่อน

    4.  สุภาพบุรุษควรแน่ใจว่าสุภาพสตรีที่ตนเชิญออกลีลาศ  สามารถลีลาศจังหวะนั้น ๆ ได้หากไม่แน่ใจควรสอบถามก่อน

    5.  สุภาพบุรุษควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศด้วยกริยาที่สุภาพ  ถ้าถูกปฏิเสธก็ไม่ควรเซ้าซี้จนเป็นที่น่ารำคาญ

    6.  สุภาพสตรี  ไม่ควรปฏิเสธเมื่อมีสุภาพบุรุษมาขอลีลาศด้วย  หากจำเป็นจะต้องปฏิเสธด้วยเหตุผลใดก็ตาม  จะต้องปฏิเสธด้วยถ้อยคำที่สุภาพนุ่มนวล  และไม่ควรลีลาศกับสุภาพบุรุษอื่นในจังหวะที่ตนได้ปฏิเสธไปแล้ว

    7. ถ้าในกลุ่มสุภาพสตรีที่นั่งอยู่มีบุคคลอื่นหรือสุภาพบุรุษอื่นนั่งอยู่ด้วย   จะต้องกล่าวคำขออนุญาตจากบุคคลเหล่านั้นก่อนที่จะเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ

    8.  ก่อนออกลีลาศควรฟังจังหวะให้ออกเสียก่อน  และแน่ใจว่าสามารถลีลาศในจังหวะนั้นได้

    9.  ไม่ควรออกลีลาศกับคู่เพศเดียวกัน

     

    ขณะลีลาศ

    1.  ขณะที่พาสุภาพตรีไปที่ฟลอร์ลีลาศ  สุภาพบุรุษควรเดินนำหน้า  หรือเดินเคียงคู่กันไป  เพื่อให้ความสะดวกแก่สุภาพสตรี  และเมื่อไปถึงฟลอร์ลีลาศ  ควรให้เกียรติสุภาพสตรีเดินขึ้นไปบนฟลอร์ลีลาศก่อน

    2.  ในการจับคู่  สุภาพบุรุษต้องกระทำด้วยความนุ่มนวลสุภาพ  และถูกต้องตามแบบแผนของการลีลาศ  ไม่ควรจับคู่ในลักษณะที่รัดแน่นหรือยืนห่างจนเกินไป  การแสดงออกที่น่าเกลียดบางอย่างพึงละเว้น  เช่น  การเอารัดเอาเปรียบคู่ลีลาศ  เป็นต้น

    3.  จะต้องลีลาศไปตามจังหวะ  แบบแผน  และทิศทางที่ถูกต้องไม่ย้อนแนวลีลาศ  เพราะจะเป็นอุปสรรคกีดขวางการลีลาศของคู่อื่น  ถ้ามีการชนกันเกิดขึ้นในขณะลีลาศ  จะต้องกล่าวคำขอโทษหรือขออภัยด้วยทุกครั้ง

    4.  ไม่สูบบุหรี่  เคี้ยวหมากฝรั่ง  หรือของขบเคี้ยวใด ๆ ในขณะลีลาศ

    5.  ให้ความสนใจกับคู่ลีลาศของตน        ความอบอุ่นเกิดขึ้นได้จากการยิ้มแย้มแจ่มใสหรือคำกล่าวชม  ไม่แสดงอาการเบื่อหน่ายหรือหันไปสนใจคู่ลีลาศของคนอื่น  และอย่าทำตนเป็นผู้กว้างขวางช่างพูดช่างคุยกับคนทั่วไปในขณะลีลาศ

    6.  ควรลีลาศด้วยความสนุกสนานร่าเริง

    7.  ไม่ควรพูดเรื่องปมด้อยของตนเองหรือของคู่ลีลาศ

    8.  ไม่ควรเปลี่ยนคู่บนฟลอร์ลีลาศ

    9.  ควรลีลาศในรูปแบบหรือลวดลายที่ง่าย ๆ ก่อน  แล้วจึงเพิ่มรูปแบบหรือลวดลายที่ยากขึ้นตามความสามารถของคู่ลีลาศ  เพราะจะทำให้คู่ลีลาศรู้สึกเบื่อหน่าย  และไม่ควรพลิกแพลงรูปแบบการลีลาศมากเกินไปจนมองดูน่าเกลียด

    10.  ถือว่าเป็นการไม่สมควรที่จะร้องเพลงหรือแสดงออกอย่างอื่นในขณะลีลาศ  หรือลีลาศด้วยท่าทางแผลง ๆ ด้วยความคึกคะนอง

    11.  ไม่ควรสอนลวดลายหรือจังหวะใหม่ ๆ บนฟลอร์ลีลาศ

    12.  ไม่ควรลีลาศด้วยลวดลายที่ใช้เนื้อที่มากเกินไป  ในขณะที่มีคนอยู่บนฟลอร์เป็นจำนวนมาก

    13.  ในการลีลาศแบบสุภาพชน  ไม่ควรแสดงความรักในขณะลีลาศ

    14.  การนำในการลีลาศเป็นหน้าที่ของสุภาพบุรุษ  สุภาพสตรีไม่ควรเป็นฝ่ายนำ  ยกเว้นเป็นการช่วยในความผิดพลาดของสุภาพบุรุษ  เป็นครั้งคราวเท่านั้น

    15.  การให้กำลังใจ  การให้เกียรติ  และการยกย่องชมเชยด้วยใจจริง  จะช่วยให้คู่ลีลาศเกิดความรู้สึกอบอุ่นและเชื่อมั่นในตนเองยิ่งขึ้น  คู่ลีลาศที่ดี  จะต้องช่วยปกปิดความลับหรือปัญหาที่เกิดขึ้นและมองข้ามจุดอ่อนของคู่ลีลาศ

    16.  ไม่ควรผละออกจากคู่ลีลาศโดยกระทันหัน  หรือก่อนเพลงจบ

     

    เมื่อสิ้นสุดการลีลาศ

    1.  สุภาพบุรุษต้องเดินนำหรือเดินเคียงคู่กันลงจากฟลอร์ลีลาศ  และนำสุภาพสตรีไปส่งยังที่นั่งให้เรียบร้อย  พร้อมทั้งกล่าวคำขอบคุณสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษอื่นที่นั่งอยู่ด้วย

    2.  เมื่อถึงเวลากลับ  ควรกล่าวคำชมเชยและขอบคุณเจ้าภาพ  (ถ้ามี)

    3.  สุภาพบุรุษจะต้องพาสุภาพสตรีที่ตนเชิญเข้างาน  ไปส่งยังที่พัก

     

    บทสรุป

                    เต้นรำหรือลีลาศ  ได้เกิดขึ้นมานับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์  และได้รับการพัฒนารูปแบบการเต้นรำมาอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งในอดีตการเต้นรำเรามักจะพบในงานพิธีกรรมทางศาสนา  อันได้แก่   การเต้นเพื่อบวงสรวงเทพเจ้า  การเต้นรำด้วยอาวุธเพื่อใช้ในทางทหาร  ในยุคฟื้นฟูได้มีการจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการเต้นรำ  มีการจัดเต้นรำสวมหน้ากาก  ระบำบัลเลย์ได้เกิดขึ้นในยุคนี้  พระเจ้าหลุยส์ที่  14  แห่งฝรั่งเศส  ได้จัดตั้งโรงเรียนบัลเลย์ขึ้นเป็นแห่งแรก  การเต้นระบำบัลเลย์ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานของการลีลาศก็ว่าได้  ยุคโรแมนติกเกิดการเต้นวอลซ์  ซึ่งรับมาจากกรุงเวียนนา  ประเทศออสเตรียและได้แพร่หลายไปในยุโรปตะวันตก  ในยุคปัจจุบันได้เกิดจังหวะฟอกซ์ทรอท  และแทงโก้  ในสมัยนี้ได้เกิดจังหวะในประเภทบอลรูม  รวมทั้งสิ้น  จังหวะ  ได้แก่  วอลซ์  ควิ๊กวอลซ์  สโลว์ฟอกซ์ทรอท  แทงโก้  และควิ๊กสเต็ป  ในปีค.ศ  1950  ได้เกิดจังหวะใหม่ๆ  ขึ้นอีกได้แก่  จังหวะ  แมมโม้  คิวบา      ชา  ชา  ช่า  และเมอเรงโก้  ในปี  1959  ได้จัดให้มีการแข่งขันลีลาศชิงแชมป์โลกที่ประเทศอังกฤษ  ซึ่งจังหวะที่จัดแข่งได้แก่  วอลซ์  ฟอกซ์ทรอท  แทงโก้  ควิ๊กสเต๊ป  และเวนิสวอลซ์  จังหวะร็อคแอนด์โรล  ได้เกิดขึ้นในยุคนี้

    การลีลาศในประเทศไทย

    จากบันทึกของแหม่มแอนนา  กล่าวไว้ว่าเมืองไทยมีลีลาศมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  ซึ่งพระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรก  ในรัชกาลที่  การเต้นรำได้รับความนิยมมาก  สถานที่เต้นรำที่นิยมกันไปเต้น  ได้แก่  ห้วยเทียนเหลา  เก้าซัน  โลลิต้า  คาเธ่ย์  พ..  2475  ได้เกิดสมาคมสมัครเล่นเต้นรำ  โดยมีหม่อมเจ้าไวทยากรวรรณ  เป็นประธาน  และมีนายหยิบ  ณ  นคร  เป็นเลขาธิการสมาคม  ต่อมาได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า  ลีลาศ  มาใช้แทนคำว่า  เต้นรำ  และเมื่อวันที่  16  ตุลาคม  2491  ได้รับอนุญาตจัดตั้งสมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย  โดยมีหลวงประกอบนิติกร  เป็นนายกสมาคมคนแรก  ปัจจุบันมีหลักสูตรการสอนลีลาศในสถานศึกษา  ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา

                    ความหมายของลีลาศ  หมายถึง  กิจกรรมเข้าจังหวะประเภทหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน  มีลวดลายการเต้นเฉพาะตัว

    ลีลาศแบ่งออกได้เป็น  ประเภท  ได้แก่

    1. ประเภทบอลรูม 

    2. ประเภทลาตินอเมริกัน 


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×