ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บทอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาว่าด้วยเรื่องไซฟ่อนเงินเข้าออกพรรคกะจั๊ว

    ลำดับตอนที่ #2 : เปิดโปงหลักฐานการนำเงินสนับสนุนพรรคการเมืองจากกกต.ไปใช้โดยมิชอบ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 141
      0
      10 มิ.ย. 53

     ความผิดครั้งที่สอง เรื่องการฟอกเงินที่พรรค ปชป.ได้รับการสนับสนุน
    จากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
    สืบเนื่องและเกี่ยวพันกัน ขณะที่ผู้บริหารพรรค ปชป.ใช้ MSA ฟอกเงิน
    ที่ได้รับจากบริษัท ทีพีไอฯ ด้วยวิธีการดังกล่าวแล้ว
    โดยที่ขณะนั้นอยู่ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2547 ได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศ ในวันที่ 6
    กุมภาพันธ์ 2548 แล้ว
    ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541
    มาตรา 44 คณะกรรมการ กกต. จะทำหน้าที่จัดสรรเงินอุดหนุนให้กับพรรค
    การเมือง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค
    การเมือง โดยพรรคการเมืองที่ขอรับการสนับสนุนจะต้องทำโครงการ
    ใช้จ่ายเงินเสนอคณะกรรมการ กกต.เพื่ออนุมัติ และเมื่อได้รับเงินอุดหนุน
    จาก กกต.แล้ว จะต้องใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ นั้น
    ใน กรณีพรรคการเมืองใดจ่ายเงินผิดวัตถุประสงค์ไม่เป็นไปตามโครงการที่ขออนุมัติ ไว้ และจัดทำรายงานค่าใช้จ่ายดังกล่าวอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการ กกต. เป็นความผิดตามมาตรา 62 มีบทลงโทษถึงให้ยุบพรรคการเมือง ตามมาตรา 65 (5)
    พรรค ปชป.ซึ่งส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั่วไปในคราวนั้นด้วย ได้จัดทำ
    โครงการหาเสียงประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งโดยได้ยื่นขอรับการสนับสนุน
    จัดสรรเงินอุดหนุนจากคณะกรรมการ กกต. หลายโครงการ มีโครงการที่
    เกี่ยวข้องในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนี้ 2 โครงการที่ได้รับอนุมัติจาก
    คณะกรรมการ กกต. ก็คือ
    1. โครงการขอรับเงินสนับสนุนจัดทำแผ่นฝ้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์
    (Bill Board) จำนวน 10,000,000 บาท
    2. โครงการขอรับเงินสนับสนุนจัดทำแผ่นป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์
    (Future Board) จำนวน 19,000,000 บาท
    คณะกรรมการ กกต.ได้อนุมัติเงินสนับสนุนดังกล่าวทั้ง 2 โครงการ
    ให้แก่พรรค ปชป. รวมเป็นเงิน 29,000,000 บาท
    ปัญหาจึงมีต่อไปว่า เมื่อพรรค ปชป.ได้รับเงินอุดหนุนให้จัดทำแผ่นป้าย
    โฆษณาประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง 29 ล้านบาทจาก กกต.แล้ว พรรค ปชป.
    มีวิธีการบริหารจัดการเงินจำนวนนั้นอย่างไร
    พรรค ปชป.ได้ใช้วิธีการเดิมที่ทำกับบริษัท ทีพีไอฯ โดยบุคคลคนเดิม
    หรือ ตัวละครหน้าเก่า คือ นายธงชัย คลศรีชัย ซึ่งเป็นลูกผู้น้องของนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรค ปชป.ในขณะนั้น โดยนายธงชัยฯ เกี่ยวข้องเป็นลูกของน้องสาวพ่อนายประดิษฐ์ฯ (นางเยาวลักษณ์ฯ แม่นายธงชัยฯ เป็นน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกับนายวิศาลฯ พ่อนายประดิษฐ์ โดยบิดาชื่อ
    นายจุยกิม มารดาชื่อนางเฮี๊ยะ)
    นายธงชัยฯ ได้เรียกนายประจวบ สังขาว ไปพบและมอบงานโฆษณา
    ทั้งสองโครงการนี้ให้ MSA ทำ ดังนั้นในวันที่ 10 มกราคม 2548 
    พรรค ปชป.จึงได้ออกเช็คธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยกระทรวงการคลัง 
    หมายเลขเช็ค 2899102 สั่งจ่ายเงินจำนวน 23,314,200 บาท ให้กับ MSA
    นายประจวบ สังขาว ได้นำเช็คฉบับดังกล่าวไปเข้าบัญชี MSA ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค
    ต่อมาในวันที่ 11 มกราคม 2548 ถัดจากวันรับเช็คเพียงวันเดียว MSA
    โดยนายประจวบ สังขาว ก็ได้กระจายเงินที่ได้รับไว้นั้นไปเข้าบัญชีบุคคลต่างๆ
    ตามที่นายธงชัยฯสั่งไว้ และบุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นผู้รับเงินก็เป็นบุคคลกลุ่มเดียว
    กันกับที่รับเงินของบริษัท ทีพีไอฯ คือ กลุ่มของนายประจวบ สังขาว และกลุ่ม
    ผู้ใกล้ชิดนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรค ปชป. เป็นเช็คทั้งหมด
    11 ฉบับ ลงวันที่สั่งจ่ายวันเดียวกัน รวมเป็นเงิน 18,803,700 บาท 
    ดังมีรายละเอียดดังนี้
    กลุ่มนายประจวบ สังขาว
    1. นายประจวบ สังขาว กรรมการผู้มีอำนาจของ MSA ได้ออกเช็ค
    ธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต ของ MSA จำนวน 2 ฉบับ โดย
    ถอนเป็นเงินสดแล้วนำไปมอบให้ นายธงชัยฯ ดังนี้
    1.1 เช็คเลขที่ 6206027 ออกวันที่ 11 มกราคม 2548 ถอนเงินสด
    จำนวน 1,801,000 บาท
    1.2 เช็คเลขที่ 6206020 ออกวันที่ 11 มกราคม 2548 ถอนเงินสด
    จำนวน 300,000 บาท
    2. นายปัญญา ประสงค์ เกี่ยวพันเป็นพี่เมียนายประจวบฯ รับเช็ค
    ธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต จาก MSA ฉบับเลขที่ 6206028
    ลงวันที่สั่งจ่าย 11 มกราคม 2548 จำนวนเงิน 1,800,050 บาท
    นำไปเข้าบัญชีตนเองที่เปิดรอไว้ก่อนล่วงหน้าที่ธนาคารกสิกรไทย
    สาขาแคราย แล้วถอนเป็นเงินสดมามอบให้นายประจวบฯ เพื่อส่ง
    มอบให้นายธงชัยฯ
    3. นางสาวจันทร์จิรา ศรีหบุตร เกี่ยวพันเป็นเมียนายปัญญา ประสงค์
    ซึ่งเป็นพี่เมียของนายประจวบฯ ได้รับเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขา
    รังสิต จาก MSA ฉบับเลขที่ 6206026 ลงวันที่สั่งจ่าย 11 มกราคม
    2548 จำนวนเงิน 1,800,800 บาท นำไปเข้าบัญชีตนเองที่เปิดรอไว้
    ล่วงหน้า ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาติวานนท์ แล้วถอนเป็นเงินสด
    มามอบให้นายประจวบฯ เพื่อส่งมอบให้นายธงชัยฯ
    4. นายณัฐพล จิรวิสุทธิกุล เกี่ยวพันเป็นบริวารคนสนิท ทำงานอยู่กับ
    นายประจวบ สังขาว ได้รับเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต จาก
    MSA ฉบับเลขที่ 6206024 ลงวันที่สั่งจ่ายวันที่ 11 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 1,800,800 บาท นำไปเข้าบัญชีตนเองที่เปิดรอไว้ล่วงหน้า
    ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยเดอะมอลล์งามวงศ์วาน แล้วถอนเป็น
    เงินสดมามอบให้นายประจวบฯ เพื่อส่งมอบให้นายธงชัยฯ
    5. นายมานพ น้าสุวรรณ เกี่ยวพันเป็นน้องเขยนายประจวบ สังขาว
    ได้รับเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต จาก MSA ฉบับเลขที่
    6206025 ลงวันที่สั่งจ่าย 11 มกราคม 2548 จำนวนเงิน 1,800,050
    บาท นำไปเข้าบัญชีตนเองที่เปิดรอไว้ล่วงหน้า ที่ธนาคารกสิกรไทย
    สาขาถนนแจ้งวัฒนะ แล้วถอนเป็นเงินสดมามอบให้นายประจวบฯ
    เพื่อส่งมอบให้นายธงชัยฯ
    กลุ่มญาติพี่น้องนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรค ปชป. ได้
    รับเช็คซึ่งเป็นเงินอุดหนุนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยผ่านการฟอกเงิน
    จาก MSA จำนวน 5 ฉบับ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 โดยมียอดเงินตรงกัน
    ทั้ง 5 ฉบับ ฉบับละ 1,900,000 บาท ดังนี้
    1. นายโชคชัย คลศรีชัย เกี่ยวพันเป็นพี่ชายนายธงชัยฯ คลศรีชัย ซึ่ง
    เป็นญาติพี่น้องกับนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรค
    ปชป. โดยนางเยาวลักษณ์ฯ แม่ของนายโชคชัยฯ เป็นน้องสาว
    นายวิศาลฯ พ่อของนายประดิษฐ์ฯ โดยมีบิดา-มารดาเดียวกัน ชื่อ
    นายจุยกิม และนางเฮี๊ยะ
    นายโชคชัยฯ ร่วมกับนายธงชัยฯ ตั้งบริษัทชื่อ “บริษัท อุสาโท”
    ประกอบธุรกิจโรงแรม และร้านอาหาร ที่อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
    ได้รับเช็คจาก MSA รวม 2 ฉบับ คือ
    1.1 เช็คฉบับลงวันที่ 11 มกราคม 2548 ของธนาคารกสิกรไทย
    สาขารังสิต เลขที่ 6206032 จาก MSA สั่งจ่ายเงินจำนวน
    1,900,000 บาท โดยโอนเข้าบัญชีนายโชคชัยฯ ที่ธนาคาร
    กสิกรไทย สาขาซอยจารุรัตน์
    1.2 เช็คฉบับลงวันที่ 11 มกราคม 2548 ของธนาคารกสิกรไทย
    สาขารังสิต เลขที่ 6206033 จาก MSA สั่งจ่ายเงิน
    1,900,000 บาท โดยโอนเข้าบัญชีนายโชคชัยฯ ที่ธนาคาร
    กสิกรไทย สาขาจารุรัตน์
    2. นางสาว สิรินารถ นารถเสวี เกี่ยวพันเป็นคนสนิทของนายธงชัยฯ
    ได้รับความไว้วางใจจากนายธงชัยฯ ให้เป็นกรรมการบริษัท อุสาโท
    ได้รับเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต ฉบับเลขที่ 6206031
    ลงวันที่สั่งจ่าย 11 มกราคม 2548 จำนวนเงิน 1,900,000 บาท
    จาก MSA โดยโอนเข้าบัญชีนางสาว สิรินารถฯ ที่ธนาคารกสิกรไทย
    สาขาจารุรัตน์
    3. นางสาว เบญจวรรณ สุนทรอมรรัตน์ เกี่ยวพันเป็นคนสนิทนายธงชัย
    ได้รับความไว้วางใจจากนายธงชัยฯ ให้เป็นกรรมการบริษัท อุสาโท
    ด้วยคนหนึ่ง ได้รับเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต ฉบับเลขที่
    6206030 ลงวันที่สั่งจ่าย 11 มกราคม 2548 จำนวนเงิน 1,900,000
    บาท โดยโอนเข้าบัญชีนางสาว เบญจวรรณฯ ที่ธนาคารกสิกรไทย
    สาขาซอยถนนรามคำแหง
    4. นางสาว วิรัลพัชร ชีวะวรนันท์ เกี่ยวพันเป็นคนสนิทนายธงชัยฯ
    ได้รับเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต ฉบับเลขที่ 6206029 
    ลงวันที่สั่งจ่าย 11 มกราคม 2548 จำนวนเงิน 1,900,000 บาท 
    โดยโอนเข้าบัญชีนางสาว วิรัลพัชรฯ ที๋ธนาคารกสิกรไทย สาขา
    จารุรัตน์

    (รวมผู้รับเงินทั้งกลุ่มนายประจวบ สังขาว และกลุ่มญาติพี่น้องผู้ใกล้ชิด
    กับนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นเช็ค 11 ฉบับ รวมเป็นเงิน 18,803,700 บาท)
    สรุปข้อเท็จจริงจุดเชื่อมโยงในการทำสัญญานิติกรรมอำพราง ระหว่าง
    บริษัท ทีพีไอฯ กับ MSA และการว่าจ้าง MSA จัดทำแผ่นป้ายโฆษณา
    ประชาสัมพันธ์ โดยใช้เงินอุดหนุนจาก กกต. รวมทั้งวิธีการเบิกเงิน-ถอนเงิน
    และนำเงินเข้าบัญชีญาติพี่น้องคนสนิทของนักการเมือง ชี้ชัดได้ว่า
    1. นายประจวบ สังขาว เป็นนอมินีหรือตัวช่วยฟอกเงินให้กับผู้บริหาร
    พรรค ปชป. เพราะสื่อธุรกิจโฆษณาเป็นของคู่กับนักการเมือง การใช้ธุรกิจ
    สื่อโฆษณาเป็นตัวฟอกเงิน ทำให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือได้ว่ามีการจ้างกันจริง
    มากกว่าจะฟอกเงินโดยใช้ธุรกิจอื่นบังหน้า ประกอบกับนายประจวบ สังขาว
    คนใกล้ชิดสนิทสนมกับ ส.ส.ภาคใต้ โดยเฉพาะนายนิพนธ์ บุญญามณี 
    จึง เป็นบุคคลที่น่าไว้เนื้อเชื่อใจที่จะให้ถือเงินหรือผ่านเงินในบัญชีธนาคาร จำนวนมากได้ อีกทั้ง บริษัท MSA ก็เป็นบริษัทร่วมทุนของ ส.ส.พรรค ปชป. คือ นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร ส.ส.จังหวัดพัทลุงด้วย และผู้บริหารพรรค ปชป.
    ก็อนุญาตให้นายประจวบฯ มาตั้งสำนักงานชั่วคราวที่ชั้นล่างของพรรคได้
    นอกจากนั้น บุคคลผู้รับเงินจาก MSA ที่ปรากฏตามเอกสารใบนำฝาก
    เงิน(สลิป) ของธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต จำนวน 75 ฉบับ ก็จะวนเวียน
    เข้าบัญชีในกลุ่มของญาติพี่น้องนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรค
    ปชป. , กลุ่มผู้ใกล้ชิดนายนิพนธ์ บุญญามณี และกลุ่มผู้ใกล้ชิดนายประพร 
    เอกอุรุ
    พฤติการณ์ดังกล่าว จึงเชื่อได้ว่านายประจวบฯ เป็นบุคคลที่ผู้บริหาร
    พรรค ปชป. มอบหมายหน้าที่เพื่อรับเงินจากบริษัท ทีพีไอฯ และเงินสนับสนุน
    จาก กกต.

    2. นายธงชัย คลศรีชัย ซึ่งเป็นลูกของน้องสาวพ่อนายประดิษฐ์ฯ เป็นตัวจักรสำคัญในการดึงนายประจวบฯ ให้มาเป็นตัวฟอกเงินเป็นตัวเชื่อมระหว่างบริษัท ทีพีไอฯ กับนายประจวบฯ และวางกุสโลบายให้นายประจวบฯทำ 
    และให้นายประจวบฯสั่งญาติพี่น้อง และลูกน้องให้ไปเปิดบัญชีธนาคาร
    เพื่อรองรับเช็ค รวมทั้งเป็นผู้รับเงินสดจากมือนายประจวบ สังขาว และยัง
    เป็นคนสั่งให้นายประจวบฯ จ่ายเช็คให้แก่บุคคลอื่นด้วย นายธงชัยฯ เป็นที่
    รู้จักในหมู่ ส.ส.พรรค ปชป.ว่า เป็นเลขานุการส่วนตัวของนายประดิษฐ์ 
    ภัทร ประสิทธิ์ เลขาธิการพรรค ปชป. ในขณะนั้น นอกจากนั้นยังมีเช็คเงินสดอีก 4 ฉบับที่นางศิริลักษณ์ ไม้ไทย น้องสาวนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ 
    รับ เงินจาก MSA ด้วยเป็นเงินรวม 13,728,000 บาท นายประดิษฐ์ฯ จะปฏิเสธว่าไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ ยังมีบุคคลยืนยันว่า ขณะนายประจวบฯ นำ
    เงินสดมามอบให้นายธงชัยฯ ที่ห้องทำงานในพรรค ปชป. บางครั้ง
    นายประดิษฐ์ฯ ก็อยู่ในห้องด้วย นอกจากนั้น จุดเริ่มต้นของการทำสัญญาจ้าง
    โฆษณาที่โรงแรมเพรสซิเด้นท์ สี่แยกราชประสงค์ ก็ยังมีนายประดิษฐ์ฯ
    ร่วมอยู่กับนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ด้วย พฤติกรรมดังกล่าวจึงเชื่อได้ว่า
    นายประดิษฐ์ฯ มีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระทำความผิดด้วย
    3. หลักฐานที่ชัดที่สุดที่แสดงให้เห็นว่าสัญญาจ้างโฆษณาทั้ง 8 โครงการ
    มีมูลค่าสัญญา 248,900,000 บาท ไม่มีการจ้างโฆษณาจริง ก็คือหลักฐานการ
    เสียภาษีมูลค่าเพิ่มของ MSA ในปีภาษี 2548 โดยอ้างว่ามีรายจ่ายจากการซื้อ
    สินค้าจากบริษัท พีจีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ชัยชวโรจน์ จำกัด และ
    ห้างหุ้นส่วนจำกัด สินวัฒนาเอเชีย เอนเตอร์ไพรซ์ โดยได้นำหลักฐานใบเสร็จ
    รับเงินทั้ง 3 แห่ง มาหักเป็นค่าใช้จ่ายมูลค่าประมาณ 170 ล้านบาท เพื่อหลีก-
    เลี่ยงภาษี แต่เนื่องจาก นิติบุคคลทั้ง 3 แห่งดังกล่าว ถูกกรมสรรพากร
    “แบล็คลิสต์” ขึ้นบัญชีดำว่าเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีปลอมให้กับบริษัทเอกชน
    หลายแห่ง ทำให้กรมสรรพากรสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีปีละนับพัน
    ล้านบาท ต่อมากรมสรรพากรได้ลงโทษให้เพิกถอนจากการเป็นผู้ประกอบการ
    จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และดำเนินคดีอาญากับนิติบุคคลทั้ง 3 แห่งอยู่ จึงเป็น
    นิติบุคคลที่ถูกกรมสรรพากรจับตาเป็นพิเศษ ดังนั้น สำนักงานสรรพากรพื้นที่
    ปทุมธานี 2 จึงมีหนังสือแจ้งให้นายประจวบ สังขาว นำหลักฐานการจ่ายเงิน
    ของ MSA ให้แก่นิติบุคคลดังกล่าวไปชี้แจงแสดงต่อเจ้าหน้าที่สรรพากรพื้นที่
    ปทุมธานี 2 แต่เนื่องจากไม่มีการจ้างโฆษณาจริง นายประจวบฯ จึงไม่สามารถ
    หาหลักฐานการจ่ายเงินแก่นิติบุคคลดังกล่าวได้จึงกลัวความผิด ซ้ำยังเกรงว่า
    การรับเงินจากพรรค ปชป. เป็นค่าจ้างจัดทำโฆษณาประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง
    อันเป็นเงินที่ได้รับการสนับสนุนจาก กกต. ก็ไม่มีการจ้างโฆษณาจริง เพราะได้
    เบิก จ่ายให้กับกลุ่มนายธงชัยฯ และบุคคลใกล้ชิดตนเองหมดแล้ว ดังนั้น นายประจวบ สังขาว จึงจำเป็นต้องตัดตอน ไม่ยื่นแบบ ภพ.30 เพื่อเสียาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล รอบบัญชีปี 2548 รวมทั้งไม่ยื่นบัญชีงบดุลและงบการเงินต่อกรมพัฒนธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์อีกด้วย นายประจวบฯ ได้เลิกประกอบกิจการบริษัท MSA โดยไม่
    ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตั้งแต่ปี 2548 ตลอดมา
    จน ถึงปัจจุบัน ภายหลังกรมสรรพากรได้ประเมินภาษีอากร MSA ค้างชำระภาษีอากรทั้งสิ้น 14 ล้านบาทเศษ ต่อมานายประจวบฯ ได้ปล่อยให้บริษัท MSA ล้มละลาย โดยถูกธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) เป็นโจทก์ฟ้อง เรื่องกู้ยืมเงินจำนวน 5,268,980.40 บาท ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดบริษัท MSA เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2551 ในคดีล้มละลาย หมายเลขแดงที่ ล.5781/2551
    จากข้อเท็จจริงดังกล่าว หากบริษัท MSA จ่ายเงินให้กับบุคคลต่าง ๆ
    ทั้งกลุ่มของนายประจวบ สังขาว กลุ่มผู้ใกล้ชิดญาติพี่น้องนายประดิษฐ์
    ภัทรประสิทธิ์ กลุ่มใกล้ชิดนายนิพนธ์ บุญญามณี และกลุ่มนายประพร เอกอุรุ
    เป็นค่าจ้างโฆษณาอีกต่อหนึ่งจริง บุคคลผู้ได้รับเงินเหล่านี้ก็จะมีหน้าที่ตาม
    ประมวลรัษฎากรที่จะต้องออกใบเสร็จรับเงินว่าเป็นค่าซื้อสินค้าอะไร และต้อง
    ออกใบกำกับภาษี รวมทั้งต้องยื่นแบบแสดงรายการการเสียภาษีเงินได้บุคคล
    ธรรมดา ต่อกรมสรรพากรด้วย บริษัท MSA ก็จะนำใบเสร็จรับเงิน ใบซื้อ
    สินค้า รวมทั้งใบกำกับภาษีของผู้รับเงินนั้น ๆ ไปหักเป็นค่าใช้จ่าย เพื่อคำนวณ
    เป็นภาษีต้องชำระต่อกรมสรรพากรต่อไป ซึ่งกรมสรรพากรจะสามารถตรวจสอบที่มาของเงินที่ได้รับดังกล่าวจากบริษัท MSA และผู้รับเงินนั้น ๆ
    ซึ่งจะต้องมีหลักฐานตรงกันทั้งสองฝ่าย แต่บุคคลผู้รับเงินทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าว
    ไม่ใช่ผู้รับจ้างทำงานจาก MSA และไม่ได้ประกอบอาชีพธุรกิจโฆษณา จึง
    ไม่สามารถออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีให้ MSAได้ มี
    ทางเดียวที่นายประจวบฯ ต้องทำก็คือ หาใบเสร็จรับเงินเท็จ และใบกำกับ
    ภาษีปลอมมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ความจึงปรากฏว่าต้องไปหาซื้อ
    ใบเสร็จปลอมและใบกำกับภาษีปลอมกับนิติบุคคล 3 แห่ง ที่กรมสรรพากรขึ้น
    บัญชีดำไว้ และเมื่อความลับแตกถูกจับได้ นายประจวบฯ จึงจำเป็นต้องทิ้ง
    บริษัท MSA และปล่อยให้ถูกฟ้องล้มละลายไป เพื่อ MSA จะได้หลุดพ้น
    ภาระหนี้ภาษีอากรที่ถูกประเมินด้วย เพราะบริษัท MSA ไม่มีทรัพย์สินอื่นใด
    อีกแล้ว ซึ่งก็ขัดกับข้อเท็จจริงอีกว่า หาก MSA รับทำงานโฆษณาจากบริษัท
    ที พีไอฯ และจากพรรค ปชป.จริง MSA ก็จะต้องมีทรัพย์สิน และสินทรัพย์ รวมทั้งผลกำไรเป็นจำนวนมาก คงไม่ปล่อยให้ล้มละลายด้วยหนี้สินเพียง
    5 ล้านบาทเศษเท่านั้น
    4. ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินสนับสนุนของ กกต.ที่พรรค ปชป. ได้รับการ
    จัดสรรเงินอุดหนุนในโครงการจัดทำแผ่นป้ายโฆษณา 2 โครงการ รวมเป็นเงิน
    29 ล้านบาท พรรค ปชป.ได้ว่าจ้างบริษัท MSA เป็นผู้จัดทำโครงการ แต่ก็
    ไม่ปรากฏมีสัญญาจ้างเป็นหนังสือพรรค ปชป.ได้ส่งหลักฐานรายงานการ
    ใช้จ่ายเงินตามโครงการนี้ให้กับ กกต.เป็นเอกสาร 3 ฉบับ คือ ใบแจ้งหนี้หรือ
    ใบวางบิล , ใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีของบริษัท MSA ซึ่งเอกสาร
    ทั้ง 3 ฉบับ มีข้อพิรุธน่าสงสัย คือ เอกสารทั้ง 3 ฉบับ MSA จัดทำขึ้น
    เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2548 แสดงว่า MSA ได้จัดทำโครงการนี้เสร็จเรียบร้อย
    และส่งงานให้พรรค ปชป.แล้ว แต่ MSA ยังไม่ได้รับเงินค่าจ้างทำโฆษณานี้
    เพิ่งมารับเงินค่าจ้างโดยพรรค ปชป.จ่ายเป็นเช็คธนาคารกรุงไทย สาขาย่อย
    กระทรวงการคลัง บัญชีเงินฝากพรรคประชาธิปัตย์ เช็คฉบับเลขที่ 2899102
    จำนวนเงิน 23,314,200 บาท เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 แสดงว่าบริษัท
    MSA โดยนายประจวบฯ มีเงินลงทุนจัดทำงานโครงการนี้ ซื้อวัสดุ จ่ายค่าแรง
    ล่วงหน้า โดยไม่ต้องทยอยขอเบิกเงินล่วงหน้าเป็นงวด ๆ จากพรรค ปชป.
    คณะกรรมการ กกต.ควรใช้หลักการตรวจสอบให้เข้มข้นเกี่ยวกับการจ่ายเงิน
    ซื้อ สินค้าวัสดุจาก MSA เหมือนเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ว่ามีหลักฐานอะไรบ้าง ซื้อสินค้าจากใคร มีใบกำกับภาษีจากผู้ขายสินค้านั้นหรือไม่ โดยเฉพาะรายชื่อผู้รับเงินจากบริษัท MSA ทั้งกลุ่มนายประจวบฯ และกลุ่ม
    ใกล้ชิดนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ว่ารับเงินเป็นค่าอะไร และได้ออกใบกำกับ
    ภาษีให้ MSA หรือไม่ รวมทั้งได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ที่ได้รับ
    เงินจาก MSA เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 หรือไม่ และให้ กกต. ขอข้อมูล
    การ เสียภาษีของบุคคลเหล่านั้นจากกรมสรรพากรมาตรวจสอบดูว่าตรงกันหรือไม่ ตรวจสอบเพียงเท่านี้ ก็จะได้ความจริงว่าเอกสารใบวางบิล ใบเสร็จ
    รับเงิน และใบกำกับภาษีของ MSA ที่พรรค ปชป.นำไปยื่นต่อ กกต.เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นอันเป็นเท็จ
    ด้วยเหตุเช่นนี้ จึงไม่สงสัยว่าเหตุใด MSA จึงไม่ยื่นแบบแสดงรายการ
    เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี 2548 และตลอดมาจนถึงปัจจุบัน และต้อง
    ปล่อยให้บริษัท MSA ล้มละลาย เพื่อตัดตอนการถูกตรวจสอบภาษีที่มี
    รายรับจากบริษัท ทีพีไอฯ และพรรค ปชป.
    คณะกรรมการ กกต. มีหน้าที่จะต้องตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของพรรค
    การเมืองให้เป็นไปตามรายการที่ได้รับอนุมัติการจัดสรรจาก กกต. จะต้อง
    ตรวจสอบเรื่องนี้ให้กระจ่างชัด เพื่อขยายผลนำไปสู่กระบวนการยุบพรรค
    การเมืองต่อไป
    5. โดยที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541
    มาตรา 51 “ห้ามมิให้หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง
    กรรมการสาขาพรรคการเมือง หรือสมาชิกผู้ใดรับเงินหรือทรัพย์สิน หรือ
    ประโยชน์อื่นใดที่เป็นการบริจาคโดยไม่เปิดเผย”
    และตามมาตรา 62 “พรรคการเมืองที่ได้รับเงินสนับสนุนต้องใช้จ่ายเงิน
    สนับ สนุนให้เป็นไปตามที่บัญญัติในส่วนนี้ (หมายความว่า ขออนุมัติเงินสนับสนุนไปใช้จ่ายในเรื่องใด ก็จะต้องใช้จ่ายเงินในเรื่องที่ขออนุมัตินั้น) และ
    จะต้องจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมืองในรอบปีปฏิทิน
    ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภายใน
    เดือนมีนาคมของปีถัดไป”
    ขณะมีการจ้างโฆษณาระหว่างบริษัท ทีพีไอฯ กับ MSA และระหว่าง
    พรรค ปชป. กับ MSA นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรองหัวหน้าพรรค ปชป.
    และเมื่อพรรค ปชป.พ่ายแพ้การเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548
    ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารพรรค ปชป.ชุดใหม่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
    ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค ปชป. นายอภิสิทธิ์ฯ รู้เรื่องการรับเงินบริจาคจากบริษัท
    ทีพีไอฯ และการรับเงินอุดหนุนจากคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นอย่างดี มี
    หลักฐานยืนยัน มีคนเห็นตอนนายประจวบฯ นำเงินไปมอบให้นายธงชัยฯ ใน
    ห้องทำงาน บางครั้งเห็นนายอภิสิทธิ์ฯ และผู้บริหารพรรคนั่งอยู่ในห้องนั้นด้วย
    และที่เกี่ยวข้องกับนายอภิสิทธิ์ฯโดยตรง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 และเดือน
    มีนาคม พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ฯ ในฐานะหัวหน้าพรรค ปชป. มีหน้าที่จะต้อง
    รับรองความถูกต้องของงบดุล งบการเงิน งบรายรับ-รายจ่าย แจ้งต่อคณะ
    กรรมการการเลือกตั้ง จากหลักฐานที่นายอภิสิทธิ์ฯ ลงนามรับรองความถูกต้อง
    ที่ยื่นต่อ กกต.
    ในส่วนที่เกี่ยวกับรายรับ
    1.ไม่มีการแจ้งว่าได้รับบริจาคเงินจากบริษัท ทีพีไอฯ
    2. มีการแจ้งว่าในปี 2548 ได้รับเงินสนับสนุน จัดทำป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Bill Board) จำนวน 10,000,000 บาท และป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Future Board) จำนวน 19,000,000 บาท

    ในส่วนที่เกี่ยวกับรายจ่ายการเลือกตั้ง แจ้งว่า
    1. โครงการจัดทำแผ่นป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Bill Board) เป็นเงิน 1,955,616.83 บาท
    2. โครงการจัดทำแผ่นป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Future Board) เป็นเงิน 40,302,300.76 บาท

    การ รับรองความถูกต้องทั้งรายรับและรายจ่าย งบการเงินของพรรค ปชป.ของนายอภิสิทธิ์ฯ เป็นการรับรองข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง กล่าวคือ
    1. ปกปิด ไม่เปิดเผยเงินบริจาคของบริษัท ทีพีไอฯ สมคบกันระหว่างผู้บริจาค กับผู้รับบริจาค เพื่อซ่อนเร้นการรับเงินจำนวนนี้ โดยใช้บริษัท MSA เป็นเครื่องมือบังหน้า
    2. รับเงินสนับสนุนจาก กกต. จำนวน 29 ล้านบาท แต่ไซฟ่อนเงินบางส่วน จำนวน 18,803,700 บาท ออกไปให้กลุ่มนายประจวบ สังขาว และ
    กลุ่ม ญาติพี่น้องผู้ใกล้ชิดนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ โดยมิได้จัดจ้างทำแผ่นป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์กันจริงตามจำนวนที่ได้รับ แต่กลับแจ้งเท็จว่า
    มีการใช้จ่ายเงิน 29 ล้านบาท ที่ได้รับจาก กกต.ไปหมดแล้ว พฤติการณ์การกระทำของนายอภิสิทธิ์ นอกจากจะจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติ
    แห่ง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองแล้ว ยังมีพฤติกรรมสนับสนุนการฉ้อราษฎร์บังหลวง กล่าวคือ บริษัท ทีพีไอฯ เป็นบริษัทมหาชน
    จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีประชาชนทั่วไปร่วมเป็นเจ้าของผู้ถือหุ้นการที่มีการนำเงินออกมา จากบริษัท โดยไม่แจ้งให้ผู้ถือหุ้นหรือกรรมการ
    คนอื่นทราบ จึงเป็นการฉ้อราษฎร์เงินหรือผลประโยชน์ของประชาชนผู้ถือหุ้น ส่วนกรณีเงินสนับสนุนของ กกต. ซึ่งเป็นเงินทางราชการหรือเงินหลวงก็มิได้นำเงินดังกล่าวไปจัดทำแผ่นป้าย โฆษณาจริงกับเบิกเงินไปให้บุคคลผู้ใกล้ชิดนักการเมือง จึงเป็นการบังเงินหลวง นักการเมืองจะต้องมีวุฒิภาวะ มีมาตรฐานทางจริยธรรมและคุณธรรมสูง
    สมกับที่จะให้ประชาชนไว้วางใจเป็นผู้ บริหารประเทศ รวมทั้งกฎ 9 ข้อที่นายกฯกำหนดไว้ แต่นายอภิสิทธิ์ฯ มีความบกพร่องในคุณธรรม และจริยธรรม ไม่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน คบค้าสมาคมกับบุคคลซึ่งใช้ใบกำกับภาษีปลอม จึงไม่สมควรที่จะให้บริหารราชการแผ่นดินอีกต่อไป


    บทสรุปส่งท้าย

    จากข้อเท็จจริง พยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีบุคคลร่วมกันกระทำผิดกฎหมาย ทำลายระบอบประชาธิปไตย ทำลายระบบคุณธรรมและจริยธรรมดังนี้
    1. มีบุคคลคณะหนึ่ง ซึ่งมีอำนาจในบริษัท ทีพีไอฯ ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ปฏิบัติหน้าที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริต กระทำการโดยทุจริต เบียดบังเอาทรัพย์สินของบริษัท ใช้โอกาสทางธุรกิจแสวงหาผลประโยชน์ เพื่อตนเองและผู้อื่น ทำให้บริษัทได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 89/10 , 89/11 , 89/21 , 306 , 307 , 308 
    และ 311
    2. บริษัท MSA และนายประจวบ สังขาว กรรมการบริษัท มีความผิดเป็นผู้สนับสนุนร่วมกันกระทำความผิดกับบริษัท ทีพีไอฯ ผู้บริหารบริษัท ทีพีไอฯ ด้วย
    3. พรรคประชาธิปัตย์ ผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ เช่น นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ กระทำความผิดฐานรับเงินสนับสนุนพรรคการเมืองโดยไม่เปิดเผย , ไม่จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจาก กกต. ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ , ไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมืองให้ถูกต้องตามความเป็น จริง ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 51 , 62 , 65 (ลงโทษให้ยุบพรรคการเมือง) , 86 (จำคุกไม่เกิน 3 ปี) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 42 , 56 วรรคสอง , 82 , 93 , และ 114

    ไฟล์PDFเอกสารหลักฐานประกอบคำอภิปราย

    ที่มา พรรคเพื่อไทย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×