ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บทอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาว่าด้วยเรื่องไซฟ่อนเงินเข้าออกพรรคกะจั๊ว

    ลำดับตอนที่ #1 : เปิดโปงหลักฐานการรับเงินสนับสนุนจากทีพีไอโดยมิชอบ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 257
      0
      10 มิ.ย. 53

     เนื้อหาคำอภิปราย
    กล่าวหา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจที่จะให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขาดจริยธรรมและคุณธรรม มีการกระทำที่ผิด
    กฎหมาย กล่าวคือ

    1. ความผิดครั้งแรกในช่วงระหว่างวันที่ 12 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548 พรรค ปชป. โดยผู้บริหารระดับสูงของพรรค ปกปิด ซ่อนเร้น การรับเงินสนับสนุนทางการเมืองจากบริษัท ทีพีไอฯ จำนวน 27 ครั้ง รวมเป็นเงิน 261,436,000 ล้านบาท อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายพรรคการเมือง

    2. ความผิดครั้งที่สอง ในช่วงระหว่างวันที่ 10 มกราคม 2548 ถึงวันที่ 11 มกราคม 2548 พรรค ปชป.ได้รับเงินสนับสนุนโครงการจัดทำแผ่นป้าย
    โฆษณาประชาสัมพันธ์การเลือก ตั้งจากคณะกรรมการ กกต. จำนวน 2 ครั้งเป็นเงิน 29 ล้านบาท แต่ไม่นำเงินดังกล่าวไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ กลับปกปิด เบียดบัง เอาเงินสนับสนุนบางส่วน จำนวน 18 ล้านบาทเศษ ไปให้ลูกพรรคเป็นการส่วนตัว ผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ในขณะเกิดเหตุ คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขณะนั้น ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ปชป. มีส่วนรับรู้ด้วย นอกจากนั้นเมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ปชป. ยังได้จัดทำงบดุลและงบการเงินประจำปี 2547 และ 2548 ของพรรค ปชป. ปกปิดรายงาน
    การรับบริจาคเงิน และแจ้งการใช้จ่ายเงินดังกล่าวอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการกกต.อีก อันเป็นความผิดทางอาญา มีโทษจำคุกและให้ยุบพรรคการเมืองได้
    พฤติกรรมการกระทำทั้งสองกรณีดังกล่าว ผู้บริหารพรรค ปชป.ได้ใช้บริษัท MSA เป็นตัวเชื่อมข้อกลางระหว่างบริษัท ทีพีไอฯ กับพรรค ปชป.
    และ ระหว่างพรรค ปชป. กับ บริษัทผู้รับจ้างโฆษณาประชาสัมพันธ์ โดยได้จัดทำสัญญาเทียมเป็นนิติกรรมอำพรางให้บริษัท MSA เป็นผู้รับจ้างโดย
    ไม่ มีการจ้างจริง แต่เป็นตัวช่วยฟอกเงินให้ โดยเป็นผู้รับเงินจากบริษัท ทีพีไอฯและจากพรรค ปชป. จำนวน 261,436,000 บาท และ 29 ล้านบาท ตามลำดับ แล้ว บริษัท MSA จะใช้วิธีเบิกเงินสดจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขารังสิต จำนวนครั้งละไม่เกิน 2 ล้านบาท (เพราะการทำธุรกรรมโอนเงินถอนเงินครั้งละเกิน 2 ล้านบาท ธนาคารพาณิชย์จะต้องรายงานแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน) แล้วถือเงินสดไปให้ผู้บริหารพรรค ปชป.บ้าง , ลูกพรรค ปชป.บ้าง
    อีกวิธี หนึ่ง คือ บริษัท MSA จะโอนเงินเข้าบัญชีญาติพี่น้อง หุ้นส่วนแพปลาหุ้นส่วนศูนย์การค้าใหญ่ บริวารคนสนิท เช่น คนขับรถ คนรับใช้ของนักการเมือง ผู้บริหารพรรค ปชป.ทางภาคใต้และกรุงเทพมหานครบ้าง โดยมีเอกสารหลักฐานรายละเอียดการเบิกเงิน การถอนเงิน การโอนเงินของบริษัท MSA เป็นใบนำฝากเงิน (สลิป) ของธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิตที่เกี่ยวข้องทั้งสองเรื่องนี้ จำนวน 75 ฉบับ และสลิปบางฉบับยังปรากฏหมายเลขแฟ็กซ์ของพรรค ปชป.อีกด้วย คือ FAX 02-270-2521 ด้วย เพื่อให้เนื้อหาการอภิปรายกระชับ และเข้าประเด็นสำคัญ จึงจำเป็นต้องเอ่ยชื่อบริษัทที่รับทำหน้าที่ฟอกเงินให้กับผู้บริหารพรรค ปชป. คือ บริษัท MSA ที่มาของบริษัท MSA MSA กำเนิดขึ้นที่พรรคประชาธิปัตย์โดยก่อนจดทะเบียนตั้งบริษัท มีบุคคลคนหนึ่งชื่อ นายประจวบ สังขาวประกอบอาชีพรับจ้างทำแผ่นสติ๊กเกอร์หาเสียงให้กับ ส.ส.ภาคใต้ของพรรคปชป. มาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2539 จนได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหารพรรค
    ปชป. อนุญาตให้มาเปิดสำนักงานสาขาที่ชั้นล่างของพรรค ปชป. ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2543 มีงานพิมพ์โฆษณาเข้ามามากขึ้น นายประจวบฯ ได้หารือกับนายสุพัฒน์ ธรรมเพชร ส.ส.จังหวัดพัทลุง พรรค ปชป. และนายไทกรพลสุวรรณ เลขานุการของนายสุพัฒน์ฯ ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดคุ้นเคย สนิทสนมกันมา ให้เข้ามาร่วมลงทุนตั้งบริษัทรับงานทำป้ายและแผ่นพับโฆษณาหาเสียง
    เลือก ตั้ง เพราะในขณะนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่พรรคการเมืองและพรรคการเมืองจะต้องยื่นหลักฐานการ ใช้จ่ายเงิน แจ้งต่อ กกต. จึงมีความจำเป็นจะต้องจัดตั้งบริษัทรองรับ เพื่อออกใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีในกรณีรับจ้างพรรค ปชป. จัดทำป้ายโฆษณาหาเสียง เพื่อให้พรรค ปชป.
    นำไปแสดงต่อคณะกรรมการ กกต. ว่ามีการจ้างจริง แต่เนื่องจากนายสุพัฒน์ฯ ขณะนั้นยังเป็น ส.ส.พัทลุง จึงได้ส่ง น.ส.สุพัชรีธรรมเพชร บุตรสาวเป็นผู้ถือหุ้น และกรรมการบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ รวมทั้งนายไทกร พลสุวรรณ เลขานุการของนายสุพัฒน์ฯ ด้วย นายประจวบฯได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทชื่อ “บริษัท เมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด” เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2543 โดยมีทุนจดทะเบียนเพียง 1 ล้านบาทนายประจวบฯ ถือหุ้น 29,000 หุ้น นางสาว วลัยลักษณ์ ประสงค์ (เมียนายประจวบฯ) ถือหุ้น 10,000 หุ้น น.ส.สุพัชรี ธรรมเพชร (บุตรสาวนายสุพัฒน์ฯ)ถือหุ้น 20,000 หุ้น นายไทกร พลสุวรรณ (เลขานุการนายสุพัฒน์ฯ) ถือหุ้น1,000 หุ้น ในช่วงระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม 2543 – 12 มีนาคม 2544 บริษัท
    MSA เริ่มตั้งใหม่มีกรรมการบริษัท 7 คน อาทิเช่น นายประจวบ สังขาวนางสาววลัยลักษณ์ ประสงค์ (เมียนายประจวบฯ) น.ส.สุพัชรี ธรรมเพชรนายไทกร พลสุวรรณ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนกรรมการหลายครั้ง แต่ก็มีนายประจวบฯ เป็นกรรมการบริษัทตลอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยนายประจวบฯเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทด้วย ในระยะเริ่ม แรกระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึงกลางปี พ.ศ. 2547 MSA มีรายได้จากการประกอบธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์จากพรรค ปชป. ส.ส.ของพรรค ปชป. เช่น ต้นปี พ.ศ. 2547 รับทำป้ายหาเสียงให้กับนายนวพล
    บุญญมณี น้องชายของนายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.สัดส่วนของพรรค ปชป.ซึ่งสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา แต่รายได้จากการรับจ้างโฆษณาดังกล่าวมีไม่มากนัก
    MSA ได้ยื่นแบบรายการงบการเงินต่อกรมทะเบียนการค้าในช่วงปี
    พ.ศ. 2543 – 2546 ว่ามีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย ดังนี้
    ปี 2543 มีรายได้ 5,220,999.10 บาท
    ปี 2544 มีรายได้ 9,315,128.88 บาท
    ปี 2545 มีรายได้ 6,513,795.54 บาท
    ปี 2546 มีรายได้ 8,242,627.60 บาท
    (โดยเฉลี่ย 4 ปี มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายเพียงปีละ 7 ล้านบาท)
    มูล เหตุที่บริษัท MSA เข้ามารับจ้างทำสัญญาเทียมเป็นนิติกรรมอำพราง ฟอกเงินให้กับบริษัท ทีพีไอฯ และพรรค ปชป. รวมทั้งผู้บริหารของพรรค ปชป. เกิดจากในช่วงปี 2547 ได้เกิดวิกฤตทางการเมือง โดยกลุ่มพันธมิตรชุมนุมประท้วงรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี ประกอบกับบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทมหาชน
    จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ จากมาตรการลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนเงิน มีหนี้สินเพิ่มขึ้น 130,000 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2546 ศาลล้มละลายกลางแต่งตั้งให้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์กรรมการคนหนึ่งของบริษัท ทีพีไอฯ ต้องการซื้อกิจการคืน โดยจะร่วมทุน
    กับกลุ่มธุรกิจประเทศจีน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ อันเป็นมูลเหตุหนึ่งทำให้นายประชัยฯ จำเป็นต้องเข้าสู่การเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อรักษาทรัพย์สินของบริษัท ทีพีไอฯ ด้วยการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่พรรค ปชป. นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ นายเอกยุทธ อัญชันบุตร นายอัมรินทร์ คอมันตร์ ได้เคยเข้าไปพรรค ชป.หลายครั้ง
    ในราวกลางปี 2547 นายประจวบ สังขาว ได้ไปพบนายนิพนธ์ บุญญามณี ที่โรงแรมเพรสซิเด้นท์ สี่แยกราชประสงค์ ณ ที่นั้น ยังได้พบนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค ปชป และยังได้พบลูกพรรค ปชป.สายภาคเหนืออีกหลายคนรับประทานอาหารกันอยู่กับนายนิพนธ์ บุญญามณี มีการแนะนำ
    ตัวให้นายประชัยฯ รู้จักกับนายประจวบฯ ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจสื่อโฆษณา จัดทำแผ่นป้ายหาเสียงให้พรรค ปชป. หลังจากนั้นไม่นานนายประจวบฯ ก็
    ไปพบและรู้จักกับนายธงชัย คลศรีชัย ซึ่งเป็นสมาชิกพรรค ปชป. และเป็นเลขานุการส่วนตัวนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ และติดตามนายประดิษฐ์ฯ
    เข้า – ออกพรรค ปชป.ทุกครั้ง นายธงชัย คลศรีชัย ชื่อนี้คนในพรรค ปชป. อาจจะไม่รู้จัก แต่ถ้าบอกว่าชื่อนายทีซี รับรองคนในพรรค ปชป.รู้จักหมด 
    นายธงชัย คลศรีชัย เป็นลูกน้องสาวพ่อนายประดิษฐ์ฯ (โดยนางเยาวลักษณ์ฯ แม่นายธงชัยฯเป็นน้องสาวนายวิศาลฯ พ่อนายประดิษฐ์ ทั้งสองมีบิดามารดา
    คน เดียวกัน คือนายจุยกิม และนางเฮี๊ยะ) นายธงชัยฯ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกับนายวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ คือ บ้านเลขที่ 119/12 หมู่ 3 ตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร นายธงชัยฯ ได้แจ้งให้นายประจวบฯ ทราบว่าจะมีงานโฆษณาจากบริษัท ทีพีไอฯ ให้ทำ หลังจากนั้นไม่นานช่วงเดือนกรกฎาคม 2547 เลขานุการส่วนตัวของนายประชัยฯ ชื่อนายสมควรได้ติดต่อมายังนายประจวบฯ ให้ไปทำสัญญารับจ้างโฆษณากับบริษัท ทีพีไอฯ สำหรับเงื่อนไขรายละเอียดการทำงานรวมทั้งการรับ – จ่ายเงิน นายธงชัย คลศรีชัย จะเป็น
    ผู้กำหนด ส่วนนายประจวบฯ มีหน้าที่ให้ญาติพี่น้องและคนสนิทไปเปิดบัญชีที่ธนาคารกสิกรไทย ตามสาขาต่าง ๆ เพื่อรองรับการฟอกเงิน บริษัท ทีพีไอฯ โดยนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการบริษัท ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท MSA ให้จัดทำประชาสัมพันธ์และโฆษณาสินค้า ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทีพีไอฯ ทั้งสิ้น รวม 8 โครงการ จำนวน 8 สัญญา
    เป็นจำนวนเงินประมาณ 248,900,000 บาท ดังนี้
    1. โครงการประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ เป็นเงิน 19,800,000 บาท
    2. โครงการผลิตโปสเตอร์และของชำร่วย เป็นเงิน 27,500,000 บาท
    3. โครงการโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยป้ายโฆษณา เป็นเงิน
    28,600,000 บาท
    4. โครงการโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยสื่อโทรทัศน์ ตามสัญญาลงวันที่
    15 ธันวาคม 2547 เป็นเงิน 33,000,000 บาท
    5. โครงการโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยหนังสือพิมพ์ ตามสัญญาลงวันที่
    15 ธันวาคม 2547 เป็นเงิน 18,500,000 บาท
    6. โครงการโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยรถตระเวน ตามสัญญาลงวันที่ 
    15 ธันวาคม 2547 เป็นเงิน 28,500,000 บาท
    7. โครงการจัดการส่งเสริมกิจกรรมการตลาดและประชาสัมพันธ์
    ผลิตภัณฑ์ ตามสัญญาลงวันที่ 15 ธันวาคม 2547 เป็นเงิน
    30,000,000 บาท
    8. โครงการที่ปรึกษาและวางแผนการประชาสัมพันธ์ ตามสัญญาลงวันที่
    25 มกราคม 2548 เป็นเงิน 65,000,000 บาท
    (สัญญาฉบับที่ 8 หลังสุดเป็นเงินจำนวนมาก เพราะใกล้เลือกตั้งทั่วไป
    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548
    รวมสัญญาจ้าง 8 โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 248,900,000 บาท
    (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 17.5 ล้านบาท)
    มีข้อสังเกตการทำสัญญาจ้างระหว่างบริษัท ทีพีไอฯ กับบริษัท MSA
    มีพฤติกรรมเคลือบแคลงน่าสงสัย ดังนี้
    1) สัญญาจ้างทั้ง 8 โครงการ ลงนามโดยนายประชัยฯ เพียงคนเดียว
    ไม่ได้ประทับตราบริษัท ซึ่งขัดกับข้อบังคับของบริษัทว่า กรรมการจะต้อง
    ร่วมลงนามสองคนและประทับตราบริษัท จึงจะมีผลผูกพันบริษัท ในขณะนั้น
    (ช่วงระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2546 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2548) กรรมการ
    บริษัท ทีพีไอฯ มีจำนวน 9 คน คือ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ นายประทีป
    เลี่ยวไพรัตน์ นายประมวล เลี่ยวไพรัตน์ นายประหยัด เลี่ยวไพรัตน์
    นางบุญศรี เลี่ยวไพรัตน์ นายชวิน เอี่ยมโสภณา นายกิตติ วงศ์จริงตรง
    น.ส.สุจริตรา เตชะนาวากุล และนายชัยณรงค์ แต้ไพสิฐพงษ์
    จึงน่าเชื่อว่ามีการแอบเอาเงินจำนวนนี้ออกมาจากบริษัทฯโดยมิชอบ
    เพราะถ้านำเงินออกมาโดยชอบจะต้องมีกรรมการร่วมเซ็นชื่ออีก 1 คน
    2) มูลค่าจ้างโฆษณาทั้ง 8 โครงการ เป็นเงินสูงถึง 248.9 ล้านบาท
    เหตุใดบริษัท ทีพีไอฯ จึงไม่จ้างมืออาชีพบริษัทเอเจนซี่ทำ เพราะเนื้องานที่
    ว่า จ้างทำจะต้องใช้สื่อหนังสือพิมพ์ , วิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการวางแผนประชาสัมพันธ์ด้วย และทำไมจึงใช้ MSA ทำ ทั้ง ๆ ที่ MSA มีพนักงานเพียง 5 - 6 คน ทุนจดทะเบียนแค่ 1 ล้านบาท ประสบการณ์การทำงานมีเฉพาะทำแผ่นพับและป้ายโฆษณาหาเสียง รายได้ปีที่ผ่านมาของ MSA 
    ก็มีเพียงเล็กน้อย สำนักงานบริษัท MSA ซึ่งอยู่ที่บ้านเลขที่ 108/12 หมู่ 11 ซอย กม. 27 ถนนพหลโยธิน ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ก็ไม่เป็นหลักแหล่งใช้บ้านกรรมการบางคน (นายวีระชาติ สินธุวรรณะ) เป็นสถานที่ทำการ นอกจากนั้น ยังใช้ที่ทำการของพรรคประชาธิปัตย์อาศัยเป็นสำนักงานสำรอง อันเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย
    3) หากจะพิจารณาสัญญาจ้างโครงการที่ 6 โครงการโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยรถตระเวน จะเห็นได้ว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท
    ทีพีไอฯ ก็คือ ผลิตภัณฑ์เปรโตเคมี การโฆษณาโดยใช้วิธีให้รถตระเวนแห่
    เหมือนโฆษณางานวัด ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะขัดกับตัวสินค้าที่โฆษณา
    และกลุ่มเป้าหมายผู้ซื้อผลิตภัณฑ์
    อีกทั้งหากพิจารณาสัญญาจ้างโครงการที่ 8 โครงการที่ปรึกษาและ
    วางแผนประชาสัมพันธ์ ฉบับลงวันที่ 25 มกราคม 2548 มูลค่าจ้าง
    65,000,000 บาท เป็นการจ้างโฆษณาใกล้วันเลือกตั้ง ผู้สมัครจะรับเงิน
    งวดสุดท้ายออกไปหาเสียง ปรากฏว่าเนื้อหาของสัญญาจ้างไม่มีสาระอะไร
    เป็นการจ่ายค่าจ้างที่สูงที่สุด ซึ่งต่อไปจะชี้ให้เห็นว่าเงินจำนวนเหล่านี้หลุด
    ไปอยู่ในมือใคร และเกี่ยวข้องกับพรรค ปชป. และผู้บริหารพรรค ปชป.อย่างไร
    4) จากการตรวจสอบงบการเงินที่บริษัท ทีพีไอฯ ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์
    แห่งประเทศไทย ในปี 2547 , 2548 และ 2549 ไม่มีการแจ้งค่าใช้จ่ายโฆษณานี้
    ให้แก่ผู้ถือหุ้นและตลาดหลักทรัพย์ฯ ทราบแต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่มียอดค่าใช้จ่าย
    จำนวนนี้สูงถึง 248.9 ล้านบาทเศษ เป็นการปกปิด ซอนเร้น อำพรางข้อเท็จจริงที่ต้องแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ
    การรับเงินจากบริษัท ทีพีไอฯ
    ภายหลังจากทำสัญญาจ้างโฆษณาทั้ง 8 โครงการแล้ว บริษัท ทีพีไอฯ
    ได้ จ่ายเงินค่าจ้างให้ MSA จำนวน 27 ครั้ง มีหลักฐานการจ่ายเงินเป็นเช็คของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงค์กิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด จำนวน 15 ฉบับ ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยสี่แยกถนนจันทร์ จำนวน 1 ฉบับ รวมเป็นเงิน 261,436,000 บาท เข้าบัญชีMSA ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต (สาขา
    183) ดังมีรายละเอียด คือ
    ครั้งที่ 1 วันที่ 12 กรกฎาคม 2547 จ่ายเงินให้ MSA
    จำนวน 10,000,000 บาท
    ครั้งที่ 2 วันที่ 28 กรกฎาคม 2547 จ่ายเงินให้ MSA
    จำนวน 5,355,000 บาท
    ครั้งที่ 3 วันที่ 7 กันยายน 2547 จ่ายเงินให้ MSA
    จำนวน 12,495,000 บาท
    ครั้งที่ 4 วันที่ 1 ตุลาคม 2547 จ่ายเงินให้ MSA
    จำนวน 1,476,000 บาท
    ครั้งที่ 5 วันที่ 15 ตุลาคม 2547 จ่ายเงินให้ MSA
    จำนวน 4,974,000 บาท
    ครั้งที่ 6 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2547 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เลขที่ 0220411 จำนวนเงิน
    7,150,000 บาท
    ครั้งที่ 7 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2547 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เลขที่ 0220412 จำนวนเงิน
    5,148,000 บาท
    ครั้งที่ 8 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2547 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เลขที่ 0220413 จำนวนเงิน
    7,436,000 บาท
    ครั้งที่ 9 วันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เลขที่ 0250379 จำนวนเงิน
    7,150,000 บาท

    ครั้งที่ 10 วันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เลขที่ 0250380 จำนวนเงิน
    5,148,000 บาท
    ครั้งที่ 11 วันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เลขที่ 0250381 จำนวนเงิน
    14,872,000 บาท
    ครั้งที่ 12 วันที่ 7 ธันวาคม 2547 จ่ายเงินให้ MSA
    จำนวน 5,148,000 บาท
    ครั้งที่ 13 วันที่ 7 ธันวาคม 2547 จ่ายเงินให้ MSA
    จำนวน 7,150,000 บาท
    ครั้งที่ 14 วันที่ 7 ธันวาคม 2547 จ่ายเงินให้ MSA
    จำนวน 7,436,000 บาท
    ครั้งที่ 15 วันที่ 16 ธันวาคม 2547 จ่ายเงินให้ MSA
    จำนวน 5,148,000 บาท
    ครั้งที่ 16 วันที่ 16 ธันวาคม 2547 จ่ายเงินให้ MSA
    จำนวน 7,150,000 บาท
    ครั้งที่ 17 วันที่ 29 ธันวาคม 2547 จ่ายเงินให้ MSA
    จำนวน 7,696,000 บาท
    ครั้งที่ 18 วันที่ 29 ธันวาคม 2547 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยสี่แยกถนนจันทร์ จำนวนเงิน
    13,728,000 บาท
    ครั้งที่ 19 วันที่ 5 มกราคม 2548 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เลขที่ 0289294 จำนวนเงิน
    11,856,000 บาท
    ครั้งที่ 20 วันที่ 14 มกราคม 2548 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เลขที่ 0289702 จำนวนเงิน
    10,296,000 บาท
    ครั้งที่ 21 วันที่ 14 มกราคม 2548 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เลขที่ 0289703 จำนวนเงิน
    5,772,000 บาท
    ครั้งที่ 22 วันที่ 14 มกรคม 2548 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เลขที่ 0289704 จำนวนเงิน
    8,892,000 บาท
    ครั้งที่ 23 วันที่ 24 มกราคม 2548 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เลขที่ 0289992 จำนวนเงิน
    5,772,000 บาท
    ครั้งที่ 24 วันที่ 24 มกราคม 2548 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เลขที่ 0289991 จำนวนเงิน
    10,296,000 บาท
    ครั้งที่ 25 วันที่ 24 มกราคม 2548 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เลขที่ 0289959 จำนวนเงิน
    8,892,000 บาท
    ครั้งที่ 26 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เลขที่ 0251218 จำนวนเงิน
    33,800,000 บาท
    ครั้งที่ 27 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548 จ่ายเงินให้ MSA เป็นเช็ค
    ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เลขที่ 0330360 จำนวนเงิน
    31,200,000 บาท
    (รวมรับเงิน 27 ครั้ง เป็นเงินทั้งสิ้น 261,436,000 บาท)
    การเบิกเงินออกจากบัญชี MSA
    หลังจากรับเงินเข้าบัญชีบริษัท MSA แล้ว นายประจวบ สังขาว
    กรรมการผู้มีอำนาจในบริษัท MSA ได้ดำเนินการทยอยเบิกเงินสดครั้งละ
    ไม่เกิน 2 ล้านบาท เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบทางธุรกรรมทางการเงิน
    จากธนาคารแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
    การฟอกเงิน หรือ ป.ป.ง.แล้ว นำเงินสดไปมอบให้นายทีซี ในห้องทำงาน
    ของนายทีซี ที่พรรค ปชป. นอกจากนั้น ยังได้ออกเช็คของธนาคารกสิกรไทย
    สาขารังสิต ให้กับกลุ่มญาติพี่น้องของนายประจวบฯเอง , ญาติพี่น้องของ
    นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรค ปชป. รวมทั้งคนสนิทของ
    นายธงชัย และบุคคลอื่นตามที่สั่ง โดยแยกเป็นกลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้
    1. กลุ่มนายประจวบ สังขาว มีทั้งตัวนายประจวบฯ ญาติพี่น้องนาย
    ประจวบฯ และญาติพี่น้อง นางสาววลัยลักษณ์ ประสงค์ เมียนายประจวบฯ
    ซึ่งมีทั้งเบิกเป็นเงินสด และสั่งจ่ายเช็คเข้าบัญชีญาติพี่น้องให้ไปถอนเงินสด
    เพื่อนำไปให้นายธงชัย
    2. กลุ่มใกล้ชิดนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรค ปชป.
    3. กลุ่มใกล้ชิดนายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.สัดส่วนพรรค ปชป.
    4. กลุ่มใกล้ชิดนายประพร เอกอุรุ ส.ส.จังหวัดสงขลา พรรค ปชป.
    ดังมีรายละเอียดการถอนเงินสด และจ่ายเช็คเข้าบัญชีบุคคลต่าง ๆ ข้างต้น
    ในช่วงระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2547 ถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548
    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 202,002,870 บาท ต่อไปนี้
    กลุ่มที่ 1 กลุ่มนายประจวบ สังขาว
    1. นายประจวบ สังขาว ออกเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต
    ถอนเป็นเงินสดแล้วนำไปมอบให้นายธงชัยฯ จำนวน 19 ครั้ง รวมเป็นเงิน
    28,790,000 บาท ดังนี้
    1.1 เช็คเลขที่ 4641744 ออกวันที่ 11 พฤศจิกายน 2547
    ถอนเงินสด 1,800,000 บาท
    1.2 เช็คเลขที่ 4641745 ออกวันที่ 12 พฤศจิกายน 2547
    ถอนเงินสด 1,810,000 บาท
    1.3 เช็คเลขที่ 5445542 ออกวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547
    ถอนเงินสด 1,815,000 บาท
    1.4 เช็คเลขที่ 5445544 ออกวันที่ 16 พฤศจิกายน 2547 
    ถอนเงินสด 1,800,000 บาท
    1.5 เช็คเลขที่ 5445552 ออกวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547
    ถอนเงินสด 1,805,000 บาท
    1.6 เช็คเลขที่ 5445555 ออกวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547
    ถอนเงินสด 1,800,000 บาท
    1.7 เช็คเลขที่ 5445560 ออกวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547
    ถอนเงินสด 350,000 บาท
    1.8 เช็คเลขที่ 5445581 ออกวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547
    ถอนเงินสด 200,000 บาท
    1.9 เช็คเลขที่ 5445584 ออกวันที่ 8 ธันวาคม 2547
    ถอนเงินสด 1,860,000 บาท
    1.10 เช็คเลขที่ 5445587 ออกวันที่ 9 ธันวาคม 2547
    ถอนเงินสด 1,950,000 บาท
    1.11 เช็คเลขที่ 5445595 ออกวันที่ 21 ธันวาคม 2547
    ถอนเงินสด 1,900,000 บาท
    1.12 เช็คเลขที่ 6206017 ออกวันที่ 30 ธันวาคม 2547
    ถอนเงินสด 1,900,000 บาท
    1.13 เช็คเลขที่ 6206018 ออกวันที่ 10 มกราคม 2548
    ถอนเงินสด 1,800,000 บาท
    1.14 เช็คเลขที่ 6206068 ออกวันที่ 19 มกราคม 2548
    ถอนเงินสด 1,900,000 บาท
    1.15 เช็คเลขที่ 6206069 ออกวันที่ 20 มกราคม 2548
    ถอนเงินสด 200,000 บาท
    1.16 เช็คเลขที่ 6823388 ออกวันที่ 27 มกราคม 2548
    ถอนเงินสด 1,900,000 บาท
    1.17 เช็คเลขที่ 6823446 ออกวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548
    ถอนเงินสด 1,900,000 บาท
    1.18 เช็คเลขที่ 6823447 ออกวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548
    ถอนเงินสด 200,000 บาท
    1.19 เช็คเลขที่ 6823455 ออกวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548
    ถอนเงินสด 1,900,000 บาท
    (การถอนเงินสดทั้ง 19 ครั้งนี้ รวมเป็นเงิน 28,790,000 บาท
    นายประจวบ สังขาว ได้นำไปมอบให้นายธงชัยฯ ดังที่กล่าวมาแล้ว)
    2. นายสวัสดิ์ สังขาว เกี่ยวพันเป็นบิดานายประจวบ สังขาว รับเช็ค
    ธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต จาก MSA ไปเข้าบัญชีตนเองที่เปิดไว้รอ
    ก่อนล่วงหน้าแล้ว ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาแจ้งวัฒนะ จำนวน 6 ครั้ง
    รวมเป็นเงิน 12,609,050 บาท แล้วถอนเงินสดมามอบให้นายประจวบ สังขาว
    เพื่อส่งมอบต่อให้นายธงชัยฯ ดังนี้
    2.1 เช็คเลขที่ 4641759 ออกวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547
    จำนวนเงิน 1,801,550 บาท
    2.2 เช็คเลขที่ 5445548 ออกวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547
    จำนวนเงิน 3,601,050 บาท
    2.3 เช็คเลขที่ 5445607 ออกวันที่ 8 ธันวาคม 2547
    จำนวนเงิน 1,801,500 บาท
    2.4 เช็คเลขที่ 5445633 ออกวันที่ 21 ธันวาคม 2547
    จำนวนเงิน 1,801,050 บาท
    2.5 เช็คเลขที่ 6206014 ออกวันที่ 30 ธันวาคม 2547
    จำนวนเงิน 1,801,900 บาท
    2.6 เช็คเลขที่ 6206079 ออกวันที่ 26 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 1,802,000 บาท
    3. นายดิเรก ประสงค์ เกี่ยวพันเป็นน้องเมียนายประจวบฯ รับเช็ค
    ธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต จาก MSA ไปเข้าบัญชีตนเองที่เปิดรอไว้
    ก่อนล่วงหน้าแล้ว ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาปากเกร็ด จำนวน 2 ครั้ง
    รวมเป็นเงิน 3,602,820 บาท แล้วถอนเงินสดมามอบให้นายประจวบ สังขาว
    เพื่อส่งมอบต่อให้นายธงชัยฯ ดังนี้
    3.1 เช็คเลขที่ 4641753 ออกวันที่ 12 พฤศจิกายน 2547
    จำนวนเงิน 1,802,020 บาท
    3.2 เช็คเลขที่ 6205988 ออกวันที่ 10 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 1,800,800 บาท
    4. นายปัญญา ประสงค์ เกี่ยวพันเป็นพี่เมียนายประจวบฯ รับเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต จาก MSA ไปเข้าบัญชีตนเองที่เปิดรอไว้
    ก่อนล่วงหน้าแล้ว ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาติวานนท์(แคราย) จำนวน
    6 ครั้ง รวมเป็นเงิน 12,805,750 บาท แล้วถอนเงินสดมามอบให้นายประจวบ
    สังขาว เพื่อส่งมอบต่อให้นายธงชัย ดังนี้
    4.1 เช็คเลขที่ 5445546 ออกวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547
    จำนวนเงิน 3,600,950 บาท
    4.2 เช็คเลขที่ 5445605 ออกวันที่ 8 ธันวาคม 2547
    จำนวนเงิน 1,801,050 บาท
    4.3 เช็คเลขที่ 6205986 ออกวันที่ 10 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 1,800,650 บาท
    4.4 เช็คเลขที่ 6205987 ออกวันที่ 10 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 1,801,500 บาท
    4.5 เช็คเลขที่ 6823453 ออกวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548
    จำนวนเงิน 1,900,550 บาท
    4.6 เช็คเลขที่ 6823452 ออกวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548
    จำนวนเงิน 1,901,050 บาท
    5. น.ส.จันทร์จิรา ศรีหบุตร เกี่ยวพันเป็นเมียนายปัญญา (พี่เมียนาย
    ประจวบฯ) รับเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต จาก MSA ไปเข้าบัญชี
    ตนเองที่เปิดรอไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาติวานนท์
    (แคราย) จำนวน 4 ครั้ง รวมเป็นเงิน 8,104,180 บาท แล้วถอนเงินสดมา
    มอบให้นายประจวบ สังขาว เพื่อส่งมอบต่อให้นายทีซี ดังนี้
    5.1 เช็คเลขที่ 5445547 ออกวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547
    จำนวนเงิน 3,601,550 บาท
    5.2 เช็คเลขที่ 5445606 ออกวันที่ 8 ธันวาคม 2547
    จำนวนเงิน 1,800,950 บาท
    5.3 เช็คเลขที่ 6205989 ออกวันที่ 10 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 800,800 บาท
    5.4 เช็คเลขที่ 6823451 ออกวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548
    จำนวนเงิน 1,900,880 บาท
    6. นางธิติมา พูลเพิ่ม เกี่ยวพันเป็นลูกน้องทำงานอยู่กับนายประจวบ
    สังขาว รับเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต จาก MAS ไปเข้าบัญชีตนเอง
    ที่เปิดรอไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาประชานิเวศน์ 1
    จำนวน 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 733,000 บาท แล้วถอนเงินสดมามอบให้
    นายประจวบ สังขาว เพื่อส่งมอบต่อให้นายทีซี ดังนี้
    6.1 เช็คเลขที่ 6823390 ออกวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548
    จำนวนเงิน 233,000 บาท
    6.2 เช็คเลขที่ 6823499 ออกวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548
    จำนวนเงิน 500,000 บาท
    7. นายณัฐพล จิรวิสุทธิกุล เกี่ยวพันเป็นบริวารคนสนิท ทำงานอยู่กับ
    นายประจวบ สังขาว รับเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต จาก MSA ไป
    เข้าบัญชีตนเองที่เปิดรอไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อย
    เดอะมอลล์งามวงศ์วาน จำนวน 6 ครั้ง รวมเป็นเงิน 10,807,150 บาท แล้ว
    ถอนเงินสดมามอบให้นายประจวบ สังขาว เพื่อส่งมอบต่อให้นายธงชัย ดังนี้
    7.1 เช็คเลขที่ 4641759 ออกวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547
    จำนวนเงิน 1,800,500 บาท
    7.2 เช็คเลขที่ 5445551 ออกวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547
    จำนวนเงิน 1,801,020 บาท
    7.3 เช็คเลขที่ 5445610 ออกวันที่ 8 ธันวาคม 2547
    จำนวนเงิน 1,801,080 บาท
    7.4 เช็คเลขที่ 5445631 ออกวันที่ 21 ธันวาคม 2547
    จำนวนเงิน 1,800,750 บาท
    7.5 เช็คเลขที่ 6206065 ออกวันที่ 19 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 1,802,600 บาท
    7.6 เช็คเลขที่ 6026053 ออกวันที่ 27 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 1,801,200 บาท
    8. นายประมูล หอมหวน เกี่ยวพันเป็นลุงนายประจวบ สังขาว รับเช็ค
    ธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต จาก MSA ไปเข้าบัญชีตนเองที่เปิดรอไว้
    ก่อนล่วงหน้าแล้ว ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาลาดพร้าว 67 จำนวน 16 ครั้ง
    รวมเป็นเงิน 20,295,150 บาท แล้วถอนเงินสดมามอบให้นายประจวบ สังขาว
    เพื่อส่งมอบต่อให้นายทีซี ดังนี้
    8.1 เช็คเลขที่ 4641752 ออกวันที่ 12 พฤศจิกายน 2547 
    จำนวนเงิน 1,800,500 บาท
    8.2 เช็คเลขที่ 4641760 ออกวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 
    จำนวนเงิน 1,800,250 บาท
    8.3 เช็คเลขที่ 5445543 ออกวันที่ 16 พฤศจิกายน 2547 
    จำนวนเงิน 534,000 บาท
    8.4 เช็คเลขที่ 5445545 ออกวันที่ 18 พฤศจิกายน 2547 
    จำนวนเงิน 300,000 บาท
    8.5 เช็คเลขที่ 5445570 ออกวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547 
    จำนวนเงิน 100,000 บาท
    8.6 เช็คเลขที่ 5445550 ออกวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547 
    จำนวนเงิน 3,600,950 บาท
    8.7 เช็คเลขที่ 5445556 ออกวันที่ 26 พฤศจิกายน 2547 
    จำนวนเงิน 100,000 บาท
    8.8 เช็คเลขที่ 5445609 ออกวันที่ 8 ธันวาคม 2547 
    จำนวนเงิน 1,801,000 บาท
    8.9 เช็คเลขที่ 5445589 ออกวันที่ 9 ธันวาคม 2547 
    จำนวนเงิน 200,000 บาท
    8.10 เช็คเลขที่ 5445632 ออกวันที่ 21 ธันวาคม 2547 
    จำนวนเงิน 1,800,900 บาท
    8.11 เช็คเลขที่ 6206015 ออกวันที่ 30 ธันวาคม 2547 
    จำนวนเงิน 1,801,050 บาท
    8.12 เช็คเลขที่ 6206019 ออกวันที่ 10 มกราคม 2548 
    จำนวนเงิน 1,000,000 บาท
    8.13 เช็คเลขที่ 6206066 ออกวันที่ 19 มกราคม 2548 
    จำนวนเงิน 1,803,000 บาท
    8.14 เช็คเลขที่ 6206047 ออกวันที่ 20 มกราคม 2548 
    จำนวนเงิน 50,000 บาท
    8.15 เช็คเลขที่ 6206054 ออกวันที่ 20 มกราคม 2548 
    จำนวนเงิน 1,801,500 บาท
    8.16 เช็คเลขที่ 6206076 ออกวันที่ 26 มกราคม 2548 
    จำนวนเงิน 1,802,000 บาท
    9. นายมานพ น้าสุวรรณ เกี่ยวพันเป็นน้องเขยนายประจวบ สังขาว
    รับเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต จาก MSA ไปเข้าบัญชีตนเองที่เปิด
    รอไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนแจ้งวัฒนะ จำนวน
    8 ครั้ง รวมเป็นเงิน 16,212,230 บาท แล้วถอนเงินสดมามอบให้นายประจวบ
    สังขาว เพื่อส่งมอบต่อให้นายทีซี ดังนี้
    9.1 เช็คเลขที่ 4641758 ออกวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547
    จำนวนเงิน 1,801,800 บาท

    9.2 เช็คเลขที่ 5445549 ออกวันที่ 24 พฤศจิกายน 2547
    จำนวนเงิน 3,601,080 บาท
    9.3 เช็คเลขที่ 5445608 ออกวันที่ 8 ธันวาคม 2547
    จำนวนเงิน 1,800,550 บาท
    9.4 เช็คเลขที่ 5445630 ออกวันที่ 21 ธันวาคม 2547
    จำนวนเงิน 1,800,500 บาท
    9.5 เช็คเลขที่ 6206067 ออกวันที่ 19 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 1,802,800 บาท
    9.6 เช็คเลขที่ 6206052 ออกวันที่ 20 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 1,801,500 บาท
    9.7 เช็คเลขที่ 6206077 ออกวันที่ 26 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 1,802,000 บาท
    9.8 เช็คเลขที่ 6823387 ออกวันที่ 27 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 1,802,000 บาท
    10. น.ส.ธิตาพร ศักดิ์สกุล เกี่ยวพันเป็นลูกน้องทำงานอยู่กับนายประจวบ สังขาว รับเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต จาก MSA ไป
    เข้าบัญชีตนเองที่เปิดรอไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขา
    งามวงศ์วาน จำนวน 3 ครั้ง รวมเป็นเงิน 7,305,800 บาท แล้วถอนเงินสด
    มามอบให้นายประจวบ สังขาว เพื่อส่งมอบต่อให้นายธงชัย ดังนี้
    10.1 เช็คเลขที่ 6206078 ออกวันที่ 26 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 1,802,000 บาท
    10.2 เช็คเลขที่ 6823383 ออกวันที่ 27 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 3,603,000 บาท

    10.3 เช็คเลขที่ 6823450 ออกวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548
    จำนวนเงิน 1,900,800 บาท
    รวม กลุ่มนายประจวบ สังขาว เบิกเป็นเงินสดและโอนเข้าบัญชีญาติพี่น้องและคนสนิทของนายประจวบฯ แล้วนำมามอบให้นายธงชัยฯ เป็นเงินทั้งสิ้น 121,265,130 บาท
    กลุ่มที่ 2 กลุ่มญาติพี่น้องนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรค ปชป.
    ในขณะนั้น นอกจากจะรับเงินสดจาก MAS ผ่านทางนายธงชัย คลศรีชัย
    แล้วยังมีการรับเงินผ่านเข้าบัญชีธนาคารของน้องสาวนายประดิษฐ์
    ภัทรประสิทธิ์ และบริวารคนสนิทของนายธงชัยฯ อีกด้วย ดังนี้
    1. นางศิริลักษณ์ ไม้ไทย เกี่ยวพันเป็นน้องสาวร่วมบิดามารดากับ
    นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ทำธุรกิจเป็นหุ้นส่วนศูนย์การค้าใหญ่
    แถวบางกะปิ รับเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต จาก MSA
    ไปเข้าบัญชีตนเองในวันเดียวกัน ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขา 709
    ถนนวิทยุ ทั้ง 4 ฉบับ รวมเป็นเงิน 13,728,000 บาท ดังนี้
    1.1 เช็คเลขที่ 6206011 ออกวันที่ 4 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 2,000,000 บาท
    1.2 เช็คเลขที่ 6206010 ออกวันที่ 4 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 3,000,000 บาท
    1.3 เช็คเลขที่ 6206012 ออกวันที่ 4 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 4,000,000 บาท
    1.4 เช็คเลขที่ 6206013 ออกวันที่ 4 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 4,728,000 บาท


    2. นางพัชราภรณ์ ถิรเลิศพาณิชย์ เกี่ยวพันเป็นญาติน้องสาวนายธงชัย
    คลศรีชัย ได้รับเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต เลขที่ 6823454 ลงวันที่
    สั่งจ่าย 4 กุมภาพันธ์ 2548 จำนวนเงิน 20,000,000 บาท จาก MSA
    เข้าบัญชีตนเองที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาสุขาภิบาล 1 บางกะปิ (อันเป็นวัน
    ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเพียง 2 วัน) โดยอ้างว่านายธงชัยฯ มาขอใช้บัญชี
    รวมกลุ่มญาติพี่น้องนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รับเงิน 23,728,000 บาท
    กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ใกล้ชิดนายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์
    ผู้ รับเงินกลุ่มนี้เกี่ยวพันกับผู้รับเงินกลุ่มที่ 4 ซึ่งเป็นญาติพี่น้องของนายประพร เอกอุรุ ส.ส.จังหวัดสงขลา พรรค ปชป. และเป็นคนจังหวัดสงขลา ในภายหลังทั้งสองกลุ่มนี้ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท สยามอินเตอร์เนชั่นแนลฟู๊ด ทำธุรกิจ
    แพปลา ปลาป่น ที่จังหวัดสงขลา กลุ่มใกล้ชิดนายนิพนธ์ บุญญามณี รับเงินจาก MSA ดังนี้
    1. นายนูญ สายอ๋อง เกี่ยวพันเป็นเพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกับนายนิพนธ์
    บุญญามณี และต่อมาได้เป็นกรรมการบริษัท สยามอินเตอร์เนชั่นแนล
    ฟู๊ด ซึ่งมีนางกัลยา บุญญามณี ภริยานายนิพนธ์ฯ ร่วมเป็นกรรมการ
    บริษัทด้วย โดยนายนูญ สายอ๋อง รับเงินจาก MSA จำนวน 2 ครั้ง
    เป็นเงิน 3,600,000 บาท ดังนี้
    1.1 รับเป็นเงินสดจากนายมานพ น้าสุวรรณ น้องเขยนาย
    ประจวบ สังขาว จำนวน 1,800,000 บาท เมื่อวันที่ 9
    มกราคม 2548 โดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีนายนูญ สายอ๋อง
    ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาสงขลา เลขบัญชี 901-1-3-356-3
    1.2 รับเป็นเงินสดจากนายมานพ น้าสุวรรณ น้องเขยนาย
    ประจวบ สังขาว จำนวน 1,800,000 บาท เมื่อวันที่ 20
    มกราคม 2548 โดยวิธีโอนเข้าบัญชีนายนูญ สายอ๋อง ที่
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาสงขลา เลขบัญชี 901-1-3-356-3
    2. นางมาลี ปัญญรักษ์ เกี่ยวพันเป็นน้องสาวนายนิพนธ์ บุญญามณี
    รับเงินจาก MSA เป็นเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต หมายเลข
    6823441 ลงวันที่สั่งจ่ายวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548 เข้าบัญชีนางมาลีฯ
    ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยเทียนร่วมมิตร จำนวนเงิน
    10,000,000 บาท
    รวมกลุ่มใกล้ชิดนายนิพนธ์ บุญญามณี รับเงิน 13,600,000 บาท
    กลุ่มที่ 4 กลุ่มใกล้ชิดนายประพร เอกอุรุ ส.ส.สงขลา พรรค ปชป. ซึ่งเกี่ยวพัน
    กับกลุ่มผู้ใกล้ชิดนายนิพนธ์ บุญญามณี ดังที่กล่าวมาแล้ว และต่อมาภายหลัง
    บุคคลทั้งสองกลุ่มได้ร่วมกันทำธุรกิจแพปลา ทำปลาป่น โดยจัดตั้งบริษัท
    สยามอินเตอร์เนชั่นแนลฟู๊ด กลุ่มที่ 4 นี้มีผู้รับเงินจาก MSA 9 คน รวม
    เป็นเงิน 43,409,740 บาท ดังนี้
    1. นางอาภาพร เอกอุรุ เกี่ยวพันเป็นน้องสาวนายประพร เอกอุรุ รับเงิน
    จาก MSA เป็นเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต จำนวน 3 ฉบับ เป็นเงิน
    10,404,040 บาท เข้าบัญชีตนเองที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาสงขลา คือ
    1.1 เช็คเลขที่ 6206075 ออกวันที่ 26 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 1,802,000 บาท
    1.2 เช็คเลขที่ 6823386 ออกวันที่ 27 มกราคม 2548
    จำนวนเงิน 3,601,020 บาท
    1.3 เช็คเลขที่ 6823442 ออกวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548
    จำนวนเงิน 5,001,020 บาท
    2. นายสมศักดิ์ เอกอุรุ เกี่ยวพันเป็นญาตินายประพร เอกอุรุ ส.ส.สงขลา
    พรรค ปชป. รับโอนเงินสดจาก MSA ผ่านทางธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต
    เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2548 จำนวนเงิน 1,800,000 บาท เข้าบัญชีตนเองที่
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยถนนนครนอก สงขลา
    3. นายอนุรักษ์ สังข์กูล เกี่ยวพันเป็นน้องเขยนายสมศักดิ์ เอกอุรุ 
    รับโอนเงินสดจาก MSA ผ่านทางธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต เข้าบัญชี
    ตนเองที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยถนนนครใน สงขลา จำนวน 2 ครั้ง
    ดังนี้
    3.1 วันที่ 19 มกราคม 2548 รับโอนเงินสดจำนวน
    1,800,080 บาท
    3.2 วันที่ 20 มกราคม 2548 รับโอนเงินสดจำนวน
    1,801,020 บาท
    4. นายอัฏฐกร พระธาตุ เกี่ยวพันเป็นหลานนายสมศักดิ์ เอกอุรุ รับโอน
    เงินสดจาก MSA ผ่านทางธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต เข้าบัญชีตนเองที่
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยถนนนครใต้ สงขลา จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน
    3,601,520 บาท ดังนี้
    4.1 วันที่ 19 มกราคม 2548 รับโอนเงินสด จำนวน
    1,800,500 บาท
    4.2 วันที่ 20 มกราคม 2548 รับโอนเงินสด จำนวน
    1,801,020 บาท
    5. นางสาว สุนทรีย์ ถาวรรีย์ เป็นคนสนิท พักอาศัยอยู่บ้านเดียวกับ
    นางอาภาพร เอกอุรุ รับโอนเงินสดจาก MSA ผ่านทางธนาคารกสิกรไทย
    สาขารังสิต เข้าบัญชีตนเอง 1 ครั้ง ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขานองนอก
    เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2548 จำนวนเงิน 1,800,000 บาท
    6. นายวุฒิชัย วัตตธรรม เกี่ยวพันเป็นญาติเมียนายนิพนธ์ บุญญามณี
    และต่อมาได้ร่วมทุนกับนางกัลยา บุญญามณี เมียนายนิพนธ์ฯ ตั้งบริษัท
    สยามอินเตอร์เนชั่นแนลฟู๊ด โดยเป็นกรรมการบริษัทดังกล่าว นายวุฒิชัยฯ
    รับเงินจาก MSA จำนวน 1 ครั้ง เป็นเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต
    เลขที่เช็ค 6823444 ลงวันที่สั่งจ่าย 3 กุมภาพันธ์ 2548 เป็นเงิน 5,001,020 บาท
    7. นายพิศ วัตตธรรม เกี่ยวพันเป็นบิดานายวุฒิชัยฯ ได้รับเงินจาก MSA จำนวน 1 ครั้ง เป็นเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต เลขที่เช็ค
    6823443 ลงวันที่สั่งจ่าย 3 กุมภาพันธ์ 2548 เป็นเงิน 5,001,020 บาท
    8. นางศรัญยา ภูริศักดิ์ไพศาล เกี่ยวพันเป็นเมียนายวุฒิชัย วัตตธรรม
    รับเงินจาก MSA จำนวน 1 ครั้ง เป็นเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต
    เลขที่เช็ค 6 823445 ลงวันที่สั่งจ่าย 3 กุมภาพันธ์ 2548 เป็นเงิน
    5,001,020 บาท
    9. นางรัตติยา ละอองจิปดา เกี่ยวพันเป็นคนสนิทลูกน้องนางอาภาพร
    เอกอุรุ รับโอนเงินจาก MSA จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,600,000 บาท ดังนี้
    9.1 วันที่ 19 มกราคม 2548 รับเงินจาก MSA โดยนายประมูล
    หอมหวน โอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสงขลา
    จำนวนเงิน 1,800,000 บาท
    9.2 วันที่ 19 มกราคม 2548 รับเงินจาก MSA โดยนายประมูล
    หอมหวน โอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาลาดพร้าว 44
    จำนวนเงิน 1,800,000 บาท
    รวมกลุ่มใกล้ชิดนายประพร เอกอุรุ รับเงินจาก MSA ทั้งสิ้น 43,409,740 บาท
    กล่าว โดยสรุป บุคคลทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าวแล้ว รับเงินจาก MSA ทั้งหมด ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2547 ถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 ก่อนวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรทั่วไป ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 202,002,870 บาท โดยบุคคลผู้รับเงินดังกล่าวมิได้ประกอบอาชีพหรือมีธุรกิจโฆษณาแต่ประการใด นอกจากนั้น บุคคลเหล่านี้ยังมิได้ยื่น
    แบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อกรมสรรพากร ซ้ำ MSA ยังนำใบกำกับภาษีปลอม โดยอ้างว่าได้ซื้อสินค้าจากบริษัทที่ถูก
    แบล็คลีสต์จากกรมสรรพากร รวม 3 บริษัท ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
    (เดือนธันวาคม 2547 และเดือนมกราคม 2548) เป็นเงิน 170 ล้านบาทมาหัก
    เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษี แต่ถูกกรมสรรพากรจับได้เสียก่อน แสดง
    ให้เห็นชัดเจนว่าถ้าหาก MSA ซื้อสินค้าเพื่อจัดทำการโฆษณาจริงก็จะต้อง
    มีใบกำกับภาษีที่ถูกต้อง แต่ MSA กลับใช้ใบกำกับภาษีปลอม ย่อมแสดง
    อยู่ ในตัวว่าไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์จริง สัญญาจ้างโฆษณาทั้ง 8 โครงการ มูลค่า 248.9 ล้านบาท จึงเป็นเพียงนิติกรรมอำพราง เพื่อนำเงิน
    ออกจากบริษัท ทีพีไอฯ ช่วยสนับสนุนการเงินพรรค ปชป. ซึ่งรายละเอียด
    จะมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกดังจะได้กล่าวต่อไป
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×