อุทยานแห่งชาติลานสาง
งานน่ะ
ผู้เข้าชมรวม
637
ผู้เข้าชมเดือนนี้
2
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ตั้งอยู่ในท้องที่บ้านลานสาง ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง มีอาณาเขตทิศเหนือ จดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 ทิศใต้จดอำเภอแม่สอด ตามแนวสันปันน้ำ เทือกเขาถนนธงชัย และคลองห้วยทราย ทิศตะวันออกจดทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1108 และทิศตะวันตกจดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 และเขตอำเภอแม่สอด ตามแนวสันปันน้ำ เทือกเขาถนนธงชัย มีพื้นที่ประมาณ 104 ตรกม.. หรือ 65,000 ไร่ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2522 สถานที่น่าสนใจในอุทยาน |
ผาลาดน้ำตกลานเลี้ยงม้า (น้ำตกชั้นที่ 1) |
น้ำตกลานสาง (น้ำตกชั้นที่ 2)
อยู่ตอนต้นของห้วยลานสาง ถัดขึ้นไปจากน้ำตกลานเลี้ยงม้าประมาณ 2 กม. ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวตามทางเดินระยะทาง 100 ม. เป็นน้ำตกชั้นที่มีผู้นิยมไปท่องเที่ยวมากที่สุด มีความสูงประมาณ 40 ม. น้ำตกจะไหลพุ่งออกมาจากซอกเขาแล้วไหลลดหลั่นลงมา 3 ชั้น รวมตัวลงสู่แอ่งน้ำ และไหลลงสู่น้ำตกลานเลี้ยงม้า
น้ำตกผาผึ้ง (น้ำตกชั้นที่ 3)
อยู่ตอนต้นของห้วยลานสางสูงขึ้นไปตามซอกเขา ห่างจากน้ำตกลานสางตามทางเดินประมาณ 600 ม. มีลักษณะเป็นหน้าผาเรียบ ๆ ลาดชันประมาณ 70 องศา สูงประมาณ 30 ม. น้ำห้วยลานสางเมื่อไหลมาถึงยอดน้ำตกจะไหลบ่าแผ่กระจายไปตามหน้าผา เป็นบริเวณกว้างลงสู่แอ่งน้ำตก
น้ำตกผาเท (น้ำตกชั้นที่ 4)
อยู่สูงขึ้นไปตามลำห้วย ห่างจากน้ำตกผาผึ้งตามทางเดินประมาณ 1.4 กม. มีลักษณะเป็นหน้าผาชันดิ่ง สูงประมาณ 25 ม. เมื่อน้ำห้วยลานสางที่ไหลมาตามซอกเขาด้วยความเร็วมาถึงยอดหน้าผา ซึ่งเป็นท้องน้ำตกที่มีการลดระดับต่ำลงอย่างรวดเร็ว น้ำจะพุ่งพ้นยอดผาเป็นสาย ลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่างด้วยความแรง จนน้ำกระจายเป็นฝอย ทำให้เกิดเสียงดังครืนๆ ได้ยินแต่ไกล
การเดินทาง จากจังหวัดตากใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 105 (ตาก-แม่สอด) จนถึงหลักกม.ที่ 12-13 จะมีทางลาดยางแยกซ้ายมือเข้าไปสู่เขตอุทยานฯ อีก 3 กม. ถึงที่ทำการอุทยานฯ
สถานที่พัก บังกาโล 4 หลัง อัตราค่าที่พัก 150-600 บาท/คืน/หลัง และเต็นท์ขนาด 4 ที่นอน ราคา 40 บาท/คืน นักท่องเที่ยวเตรียมเต็นท์และอุปกรณ์ของเต็นท์ไปเอง ทางอุทยานฯ จะจัดหาบริเวณที่กางเต็นท์ให้ คิดค่าบริการคนละ 5 บาท/ คืน ติดต่อขอทราบรายละเอียดได้ที่ แผนกจองบ้านพัก กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 579-5734, 579-7223น้ำตกผาเงิน
เป็นน้ำตกที่เกิดจากห้วยผาเงิน น้ำตกห้วยผาเงินจะไหลลงสู่ห้วยลานสางตรงบริเวณใกล้ๆ กับน้ำตกลานสาง น้ำตกผาเงินมีความสูงประมาณ 19 ม. น้ำตกแห่งนี้จะมีน้ำไหลเฉพาะฤดูฝนและฤดูหนาวความงามของน้ำตกแห่งนี้อยู่ที่ผาเงิน ซึ่งมีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันเป็นหลืบเหลี่ยม บางตอนก็มีหินงอกหินย้อยที่มีความสวยงามมาก
น้ำตกผาน้ำย้อย
อยู่สูงขึ้นไปตามลำห้วยลานสาง ห่างจากน้ำตกผาผึ้งประมาณ 100 ม. มีลักษณะเป็นซอกผาแคบ ๆ จึงบีบลำห้วยลานสางให้เล็กลง ทำให้กระแสน้ำไหลผ่านด้วยความเร็วพุ่งลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง น้ำตกนี้มีความสูงประมาณ 8 ม.
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติลานสาง แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือพันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติลานสางมีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองจังหวัดตาก มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่าชุกชุม และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ ทิวทัศน์ที่สวยงามร่มรื่น เช่น น้ำตกที่งดงามหลายแห่ง ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป คือ “น้ำตกลานสาง” เหมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง อุทยานแห่งชาติลานสาง มีเนื้อที่ประมาณ 104 ตารางกิโลเมตร หรือ 65,000 ไร่ ได้ประกาศจัดตั้งให้เป็น "อุทยานแห่งชาติลานสาง" เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2522 สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีเทือกเขาถนนธงชัย ตั้งอยู่กึ่งกลางพื้นที่อุทยานแห่งชาติ สัณฐานของเทือกเขาเรียงตัวเป็นแนวยาวไปตามทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มียอดเขาอุมยอมเป็นยอดเขาสูงสุด สูงประมาณ 1,065 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่อุทยานแห่งชาติเกือบทั้งหมดเป็นพื้นที่แบบเทือกเขามีที่ราบน้อยมาก มีความลาดชันทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้มากกว่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวคือจุดต่ำสุดทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 910 เมตร ในขณะที่จุดต่ำสุดทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 210 เมตร และบริเวณลาดต่ำทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือแผ่กว้างออกไปมากกว่าบริเวณลาดต่ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ธรณีสัณฐานเช่นนี้ทำให้เกิดบริเวณอับฝน (Rain shadow) ตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขตอุทยานแห่งชาติ การเปลี่ยนแปลงทางธรณีของพื้นที่อุทยานแห่งชาติลานสาง จำแนกช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงออกได้เป็น 3 ช่วงที่ปรากฏชัดเจน ในช่วงแรกเป็นช่วงเวลาการตกทับถมของตะกอน หินและดินประเภทต่างๆ ตามขอบทวีป ประมาณเวลานับเป็นพันปีขึ้นไปในมหายุค Precambrian ช่วงที่สองเกิดการเปลี่ยนแปลงสัณฐานภูมิประเทศที่สำคัญ 2 ลักษณะคือ ลักษณะแรกเป็นการโก่งหรือโค้งตัวของเปลือกโลกในยุค Carboniferous (ประมาณ 350 ล้านปีที่ผ่านมา) ปรากฏการณ์ชั้นหินดังกล่าวทำให้ขอบทวีปแผ่กว้างออกไปในทะเล ช่วงที่สามมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ เกิดการบิดหรือหักตัวของชั้นหินที่โก่งหรือโค้งตัวนั้น ทำให้เกิดภูเขาสูงและหุบเหวตามเชิงเขา ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาเช่นนี้ ก่อให้เกิดหินชนิดต่างๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจพบว่ามีหินไนส์แผ่เป็นบริเวณกว้าง บางแห่งมีหินแปร เช่น หินอ่อน และหินปูน แทรกอยู่ในบริเวณที่มีการจัดตัวของชั้นหิน และพบหินตะกอน ประเภทหินดินดาน บริเวณใกล้ผิวดินเป็นบางแห่งอีกด้วย สามารถพบเห็นหินเหล่านี้บริเวณน้ำตกลานสาง ซึ่งมีอายุแต่ละก้อนอย่างน้อย 350 ล้านปี ฤดูฝน เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายน - มกราคม ฤดูร้อน เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน
อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุด 7 องศาเซลเซียสสภาพป่าประกอบด้วยป่าสนเขา ขึ้นอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 700 เมตร ไม้ที่พบเป็นพวกไม้สน อาจจะขึ้นปนอยู่กับไม้เต็ง รัง เหียง พลวง ป่าดิบเขา ป่าดิบนี้อยู่ตามบริเวณเทือกเขาสูงใกล้สันปันน้ำไม้ที่สำคัญ คือไม้ก่อและไม้เนื้ออ่อน และป่าเบญจพรรณเป็นป่าที่ไม่รกทึบนัก มีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ฤดูแล้งต้นไม้เกือบทั้งหมดจะผลัดใบ ไม้ที่สำคัญมี ไม้สัก มะค่าโมง เสี้ยว เปล้า เก็ดแดง ประดู่ ตะคร้อ สมอแดง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีป่าดิบแล้งและป่าเต็งรังเป็นบางส่วน สัตว์ป่าที่พบ ส่วนใหญ่ได้แก่ เลียงผา เก้ง กวาง เสือไฟ หมูป่า ลิง ค่าง บ่าง ชะนี อีเห็น ชะมด กระต่าย บ่างแป้ว และกิ้งก่าบิน เป็นที่น่าจะศึกษาชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างยิ่ง
ข้อมูลทั่วไป
ตามตำนานกล่าวมา ในสมัยที่ป่าลานสางยังอุดมสมบูรณ์อย่างเต็มที่เมื่อประมาณ 200 กว่าปี สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ยกทัพไปตีเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ทรงหยุดพักพลที่บ้านระแหง แขวงเมืองตาก มีพวกมอญหนีพม่าเข้ามาสวามิภักดิ์ พระเจ้าตากสินได้ยกทัพเข้าตีขับไล่พม่าซึ่งตามมอญเข้ามา ในคืนหนึ่งพระองค์ได้พลัดหลงทางออกไปจากกองทัพ ทำให้ไพร่พลทหารของพระองค์พากันออกติดตามก็ไม่พบ ประจวบกับภูมิประเทศซึ่งในสมัยนั้นเป็นป่าทึบรกชัฏ ในเวลากลางคืนเดือนมืดทำให้ยากแก่การติดตาม ทหารทุกคนก็ล้ากำลังลงจึงพากันหยุดพัก ขณะที่ทหารไทยเหล่านั้นพักอยู่ก็เกิดปาฏิหาริย์ มีแสงสว่างพุ่งสู่ท้องฟ้าพร้อมกับได้ยินเสียงม้าร้องอื้ออึง ทหารที่พักอยู่นั้นต่างก็พากันรีบตรงไปหาจุดที่มี แสงสว่างนั้น พอไปถึงจึงเห็นพระเจ้าตากสินประทับม้าพระที่นั่งกลางลานนั้น มีแสงสว่างออกมาจากพระวรกาย พรั่งพร้อมไปด้วยทหารพม่าประมาณ 50 คน คุกเข่าหมอบกราบสวามิภักดิ์ยอมแพ้อยู่เบื้องหน้า ทหารไทยต่างตกตะลึงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างปาฏิหาริย์นั้น ประจวบกับเวลาฟ้าสางพอดี ต่อมาบริเวณนั้นเรียกว่า “ลานสาง”อุทยานแห่งชาติลานสาง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่าชุกชุม และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ ทิวทัศน์ที่สวยงามร่มรื่น เช่น น้ำตกที่งดงามหลายแห่ง ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป คือ “น้ำตกลานสาง” เหมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง อุทยานแห่งชาติลานสาง มีเนื้อที่ประมาณ 65,000 ไร่ หรือ 104 ตารางกิโลเมตร
ในปี 2498 นายประดิษฐ์ วนาพิทักษ์ ป่าไม้เขตตาก ได้ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ริเริ่มจัดบริเวณน้ำตกลานสางเป็นวนอุทยานเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าลานสาง จังหวัดตาก และป่าอื่นๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ
ปี 2504 กรมป่าไม้ได้ริเริ่มดำเนินการสำรวจเบื้องต้นป่าลานสาง และในปี พ.ศ. 2505 ในโครงการแผนพัฒนาภาคเหนือได้ให้ความช่วยเหลืออีกด้วย ในขั้นแรกกรมป่าไม้ได้ประกาศป่าลานสางเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฏกระทรวงฉบับที่ 342 (พ.ศ. 2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2511 ทั้งได้ดำเนินการจัดตั้งป่าสงวนแห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอุทยานแห่งชาติลานสางโดย นายสุรินทร์ อร่ามกุล ได้รายงานผลการสำรวจตามหนังสืออุทยานแห่งชาติลานสางที่ กส 0708(ลส.)/พิเศษ ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2517 และโดยนายสมยศ สุขะพิบูลย์ นักวิชาการป่าไม้ 4 ตามหนังสือ ที่ กษ 0808(ลว.)/115 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2519 ปรากฏว่ามีสภาพป่าธรรมชาติที่สวยงาม ทั้งมีน้ำตกหลายแห่ง และสัตว์ป่าชุกชุม เหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดตั้งป่าลานสางเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าลานสาง ในท้องที่ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2522 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 80 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2522 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 15 ของประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีเทือกเขาถนนธงชัย ตั้งอยู่กึ่งกลางพื้นที่อุทยานแห่งชาติ สัณฐานของเทือกเขาเรียงตัวเป็นแนวยาวไปตามทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มียอดเขาอุมยอมเป็นยอดเขาสูงสุด สูงประมาณ 1,065 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่อุทยานแห่งชาติเกือบทั้งหมดเป็นพื้นที่แบบเทือกเขามีที่ราบน้อยมาก มีความลาดชันทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้มากกว่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวคือจุดต่ำสุดทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 910 เมตร ในขณะที่จุดต่ำสุดทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 210 เมตร และบริเวณลาดต่ำทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือแผ่กว้างออกไปมากกว่าบริเวณลาดต่ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ธรณีสัณฐานเช่นนี้ทำให้เกิดบริเวณอับฝน (Rain shadow) ตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขตอุทยานแห่งชาติ การเปลี่ยนแปลงทางธรณีของพื้นที่อุทยานแห่งชาติลานสาง จำแนกช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงออกได้เป็น 3 ช่วงที่ปรากฏชัดเจน ในช่วงแรกเป็นช่วงเวลาการตกทับถมของตะกอน หินและดินประเภทต่างๆ ตามขอบทวีป ประมาณเวลานับเป็นพันปีขึ้นไปในมหายุค Precambrian ช่วงที่สองเกิดการเปลี่ยนแปลงสัณฐานภูมิประเทศที่สำคัญ 2 ลักษณะคือ ลักษณะแรกเป็นการโก่งหรือโค้งตัวของเปลือกโลกในยุค Carboniferous (ประมาณ 350 ล้านปีที่ผ่านมา) ปรากฏการณ์ชั้นหินดังกล่าวทำให้ขอบทวีปแผ่กว้างออกไปในทะเล ช่วงที่สามมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ เกิดการบิดหรือหักตัวของชั้นหินที่โก่งหรือโค้งตัวนั้น ทำให้เกิดภูเขาสูงและหุบเหวตามเชิงเขา
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาเช่นนี้ ก่อให้เกิดหินชนิดต่างๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจพบว่ามีหินไนส์แผ่เป็นบริเวณกว้าง บางแห่งมีหินแปร เช่น หินอ่อน และหินปูน แทรกอยู่ในบริเวณที่มีการจัดตัวของชั้นหิน และพบหินตะกอน ประเภทหินดินดาน บริเวณใกล้ผิวดินเป็นบางแห่งอีกด้วย สามารถพบเห็นหินเหล่านี้บริเวณน้ำตกลานสาง ซึ่งมีอายุแต่ละก้อนอย่างน้อย 350 ล้านปีลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติลานสางแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม- ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุด 7 องศาเซลเซียสพืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติลานสางเป็นจุดนัดพบของป่าประเภทต่างๆ ได้แก่ ป่าดิบแล้ง พบตามหุบเขาและบริเวณริมห้วยมีไม้สมพง กะบก ตะเคียนหิน เป็นพรรณไม้เด่น ป่าดิบเขา พบขึ้นเป็นหย่อมๆ บริเวณเทือกเขาสูงใกล้สันปันน้ำ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นพวกไม้ก่อ และทะโล้ ป่าสนเขา ขึ้นอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 700 เมตร ไม้ที่พบเป็นพวกสนสองใบ อาจจะขึ้นปนอยู่กับเต็ง รัง เหียง พลวง และก่อชนิดต่างๆ ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่ไม่รกทึบ พบ แดง ประดู่ มะค่าโมง สัก เสี้ยว เปล้า เก็ดแดง ตะคร้อ สมอ และไผ่หลายชนิด และ ป่าเต็งรัง พบบนเนินเขาสภาพพื้นที่มีหินโผล่ มีไม้เต็ง รัง และมะขามป้อมเป็นพันธุ์ไม้เด่นสัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ เลียงผา เก้ง กวางป่า เสือไฟ หมูป่า ลิง ค่าง บ่าง ชะนี อีเห็น ชะมด กระต่ายป่า บ่าง และกิ้งก่าบิน เป็นที่น่าจะศึกษาชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างยิ่ง
น้ำตกผาลาด
เป็นน้ำตกชั้นแรกที่รอต้อนรับการมาเยือน ห่างจากด่านเก็บค่าบริการผ่านเข้าเขตอุทยานแห่งชาติประมาณ 200 เมตร บริเวณหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติลานสาง น้ำตกผาลาดมีลักษณะเป็นแผ่นหินลาดชันเล็กน้อย ขนาดกว้างประมาณ 25 เมตร กระแสน้ำของห้วยลานสางจะไหลบ่าไปตามแผ่นหินแผ่กระจายออกเป็นแผ่นบางๆ แล้วค่อยรวมตัวไหลลงแอ่งเล็กๆ ใกล้ๆ กับบริเวณน้ำตกจะมีพื้นที่เป็นลานหินกว้างสำหรับกางเต็นท์พักแรม หรือลองเดินข้ามถนนไปอีกฝั่งก็เป็นสวนสมุนไพรที่รวบรวมเอาสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่พบภายในป่าลานสางนำออกมาให้ผู้สนใจได้ศึกษา และหากผู้ใดที่อยากรู้สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด อุทยานแห่งชาติลานสางก็ได้จำแนกสมุนไพรเป็นหมวดหมู่พร้อมกับสรรพคุณของสมุนไพรไว้ด้วย
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตกน้ำตกลานเลี้ยงม้า
อยู่ตอนต้นของลำห้วยลานสางถัดจากน้ำตกผาลาดประมาณ 200 เมตร มีลักษณะเป็นเนินเตี้ยกลางเว้าเป็นช่องว่างประมาณ 6 เมตร กระแสน้ำที่ไหลมาตามลำห้วยลานสาง เมื่อไหลถึงเนินเตี้ยๆ น้ำจะไหลมาตามช่องหินซึ่งแคบเล็กลง น้ำจะถูกบีบจนมีระดับน้ำสูงขึ้นพุ่งผ่านยอดน้ำตก ด้วยเสียงของน้ำที่ไหลจากที่สูงตกลงสู่แอ่งน้ำโดยไม่กระทบกับก้อนหิน จนเกิดเป็นเสียงดังต่างจากน้ำตกผาลาด รอบๆ บริเวณน้ำตกดูมืดครึ้มไปด้วยเรือนยอดของพรรณไม้นานาชนิดที่ขึ้นอยู่ตลอดแนวน้ำตก เหนือตัวน้ำตกมีสะพานไม้เพื่อเป็นทางเชื่อมไปยังลานหินอีกฟากหนึ่ง และเป็นเส้นทางที่นำไปสู่เส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติจากน้ำตกลานเลี้ยงม้าไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเมื่อครั้งในอดีตมีตำนานเล่าว่าน้ำตกแห่งนี้เคยเป็นที่หยุดพักไพร่พลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งเสด็จยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่สอง จึงก่อเกิดเป็นตำนานความเป็นมาของลานสางจวบจนปัจจุบัน
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตกน้ำตกลานสาง
อยู่ตอนบนของห้วยลานสาง ถัดขึ้นไปจากน้ำตกลานเลี้ยงม้าประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ไม่ไกลจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพียง 150 เมตร เดินเลียบไปตามไหล่เขาแต่ต้องเดินด้วยความระมัดระวังเพราะทางเดินเท้าค่อนข้างแคบ สองข้างทางเดินในช่วงฤดูฝนจะพบกับพืชพื้นล่างเล็กๆ จำพวกเปราะ กระเจียวขาว และกล้าไม้ของต้นเสลาดำขึ้นอยู่ สักพักก็จะถึงน้ำตกลานสางโดยต้องเดินลงไปเบื้องล่าง น้ำตกลานสางมีความสูงประมาณ 40 เมตร สายน้ำจะไหลพุ่งออกจากซอกเขา แล้วหักเหลี่ยมลดหลั่นลงมา 3 ชั้น รวมตัวลงสู่แอ่งน้ำตกลานเลี้ยงม้า
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตกน้ำตกผาน้อย
อยู่สูงขึ้นไปจากลำห้วยลานสาง ห่างจากน้ำตกผาผึ้ง 150 เมตร มีลักษณะเป็นช่องแคบๆ มีความสูงประมาณ 10 เมตร น้ำตกจะไหลรวมตัวพุ่งออกจากซอกเขากระจายตัวลงสู่แอ่งน้ำด้านล่าง
กิจกรรม -ชมพรรณไม้ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตกน้ำตกผาเท
เป็นน้ำตกชั้นสุดท้ายในเส้นทางเดินเท้า อยู่สูงขึ้นไปจากลำห้วยห่างจากน้ำตกผาน้อยประมาณ 1,350 เมตร มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน สูงประมาณ 25 เมตร กระแสน้ำจะไหลตามซอกเขาอย่างรวดเร็วและตกลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่างจนเกิดเสียงดังไปทั่วบริเวณ บรรยากาศรอบน้ำตกจะล้อมรอบไปด้วยผืนป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ บริเวณรอบน้ำตกจะมีที่สำหรับนั่งพัก มีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำ
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตกน้ำตกผาผึ้ง
อยู่ห่างจากน้ำตกลานสางประมาณ 600 เมตร วันใดที่ท้องฟ้าอากาศแจ่มใสจะยิ่งเพิ่มความงามแก่น้ำตกอย่างมาก เมื่อสายน้ำไหลลงมาจากหน้าผาที่สูงประมาณ 30 เมตร เอียงลาดชันลดหลั่นลงมาตามชั้นเล็กๆ และแผ่กว้างออกเป็นผืนน้ำบางๆ แล้วแยกออกเป็น 2 สาย ไหลไปตามลำธารเล็กๆ ภายในบริเวณน้ำตก ทำให้บริเวณนั้นเย็นชุ่มชื่นตลอดเวลา สภาพแวดล้อมโดยรอบมีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณที่อุดมไปด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่ บรรยากาศเงียบสงบเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตกน้ำตกท่าเล่
อยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลส.2 (ท่าเล่) น้ำตกจะไหลพุ่งออกมาจากซอกเขา ลงมาตามชั้นหินแล้วทิ้งตัวไหลลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตกยอดเขาอุมยอม
บนยอดเขาอุมยอม สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 เมตร มีป่าสนสองใบ ขึ้นอยู่เป็นลานกว้างมีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ เป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกล และเหมาะแก่การกางเต็นท์พักค้างแรมในป่า สามารถมองเห็นทิวทัศน์และสภาพของผืนป่าได้อย่างกว้างไกล
กิจกรรม -แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์ - เดินป่าระยะไกลจุดชมทิวทัศน์ดอยผาแดง
อยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลส.3 (ดอยผาแดง) บนความสูง 1,000 เมตร มีสภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ สลับกับทุ่งหญ้า อากาศจะมีความหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีพื้นที่ราบบนเนินเขาเป็นบริเวณกว้างมองเห็นทิวทัศน์สวยงาม เหมาะสำหรับกางเต็นท์พักแรม ปั่นจักรยานชื่นชมธรรมชาติและวิถีชีวิตชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ และห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีน้ำตกเขาหินปูนที่สวยงาม เป็นต้นกำเนิดลำห้วยลานสางรอบๆ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติมีร่องรอยการตั้งถิ่นฐานและแนวทางการเดินทัพไทย-พม่า จากหลักฐานที่พบ เช่น ขอสับช้าง มีดดาบ และข้าวของเครื่องใช้ในการเดินทัพ และห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร มีต้นพระเจ้าห้าพระองค์ขนาดใหญ่
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ชมประวัติศาสตร์ - แค็มป์ปิ้งจุดชมทิวทัศน์เขาน้อย
ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ทางขึ้นอยู่ใกล้กับศาลเจ้าพ่อ บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของผืนป่าในอุทยานแห่งชาติลานสาง และไกลไปจนถึงตัวเมืองตาก
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์จุดชมทิวทัศน์เขาแสนห่วง
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 400 เมตร สามารถมองเห็นวิถึชีวิตหมู่บ้านและสภาพผืนป่าได้อย่างกว้างไกล นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติลานสางได้จัดทำเส้นทางนี้เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติอีกด้วย
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - ชมวัฒนธรรมประเพณี - เดินป่าศึกษาธรรมชาติเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ
• เส้นทางจากน้ำตกลานเลี้ยงม้าค่ายพักแรมน้ำตกลานสาง ระยะทาง 1,800 เมตร เป็นเส้นทางที่เดินเลียบไปตามลำห้วยลานสาง ตลอดเส้นทางเดินมีป้ายสื่อความหมายธรรมชาติ พร้อมที่นั่งพักผ่อน สามารถชมสภาพธรรมชาติของป่าเบญจพรรณ นกพันธุ์ต่างๆ เช่น นกปรอด นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ เป็นต้น และมีสถานีสื่อความหมายธรรมชาติสำหรับศึกษาหาความรู้ได้ตลอดเส้นทาง จำนวน 11 แห่ง ใช้เวลาเดินศึกษาประมาณ 1 ชั่วโมง
• เส้นทางศูนย์บริการนักท่องเที่ยวน้ำตกผาเท ระยะทาง 2,200 เมตร ตลอดเส้นทางสามารถสัมผัสกับสภาพป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และรอยต่อของป่าทั้งสองซึ่งอยู่ระหว่างน้ำตกผาผึ้งไปน้ำตกผาเท พร้อมทั้งชื่นชมกับน้ำตกชั้นต่างๆ 4 แห่ง คือ น้ำตกลานสาง น้ำตกผาผึ้ง น้ำตกผาน้อย น้ำตกผาเท ใช้เวลาในการเดินศึกษาประมาณ 2-3 ชั่วโมง
• เส้นทางจากน้ำตกลานเลี้ยงม้า-เขาแสนห่วง ระยะทางประมาณ 700 เมตร ผ่านป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง แหล่งดูนก ดูผีเสื้อ และสัตว์ป่าหายาก เช่น กิ้งก่าบิน ตลอดจนพืชสมุนไพรอีกหลายชนิด และสิ้นสุดที่จุดชมทัศนียภาพ “เขาแสนห่วง” ที่สามารถมองเห็นวิถีชีวิตหมู่บ้านและผืนป่าได้อย่างกว้างไกล ใช้เวลาในการเดินศึกษาประมาณ ?-1 ชั่วโมง
กิจกรรม -เดินป่าศึกษาธรรมชาติกิจกรรมการท่องเที่ยว
• พักผ่อนชมธรรมชาติ ชมและเล่นน้ำตกชั้นต่างๆ ที่ไหลลดหลั่นกันไป ถ่ายรูป นั่งพักผ่อนหย่อนใจและรับประทานอาหาร ชมสัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ที่หายาก เช่น กิ้งก่าบิน เต่าปูลู กระรอกบิน และหญ้าถอดปล้อง ซึ่งเป็นพืชโบราณอายุประมาณ 350 ล้านปี บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ชมทิวทัศน์ธรรมชาติบริเวณทางขึ้นศาลเจ้าพ่อ หน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและบริเวณ ที่ทำการสำนักงานอุทยานแห่งชาติลานสาง
• ดูปลาพลวง บริเวณน้ำตกและลำห้วยลานสาง สามารถชมปลาพลวงที่แหวกว่ายไปมาได้ตลอดทั้งปี
• ดูผีเสื้อ สามารถพบผีเสื้อหายากและสวยงามแตกต่างกันไป เช่น ผีเสื้อถุงทองธรรมดา ผีเสื้อหางติ่งปารีส ผีเสื้อหางติ่งนางละเวง ผีเสื้อหางติ่งเฮเลน เป็นต้น และโป่งผีเสื้อ ได้ตามเส้นทางขึ้นน้ำตกผาเท บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บริเวณลานต้นไทร
• ดูนก กิจกรรมดูนกสามารถดูได้ตลอดทั้งปี เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติจากน้ำตกลานเลี้ยงม้า ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว จะพบกับบรรดานกจับแมลง นกกินปลีที่พบได้ตามป่าไผ่ หากมองไปตามลำห้วยอาจเจอกับนกเอี้ยงถ้ำตัวดำมันเงาและนกเด้าลมหลังเทา บริเวณต้นไม้หน้าค่ายพักแรมและหน้าที่ทำการสำนักงานอุทยานแห่งชาติลานสาง
• เดินศึกษาธรรมชาติ ตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ ครึ่งชั่วโมง 1 ชั่วโมง และ 2 3 ชั่วโมง
• กางเต็นท์พักแรม บริเวณสนามหญ้าหน้าน้ำตกผาลาดถึงน้ำตกลานเลี้ยงม้า หน้าที่ทำการสำนักงานอุทยานแห่งชาติลานสางสามารถกางเต็นท์พักแรมได้ และยังกางเต็นท์บนดอยสูงสัมผัสอากาศหนาวเย็นได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลส. 3 (ดอยผาแดง)
• เข้าค่ายศึกษาธรรมชาติ ติดต่อได้ที่ที่ทำการสำนักงานอุทนยานแห่งชาติลานสาง และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
• ปั่นจักรยานและกางเต็นท์พักแรมบนภูเขาสูง บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลส.3 (ดอยผาแดง) สัมผัสอากาศที่มีความหนาวเย็นตลอดทั้งปี ชื่นชมธรรมชาติ และวิถีชีวิตของชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ
• การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ศึกษาข้อมูลแหล่งอารยธรรมและประวัติศาสตร์การรบพุ่งระหว่างกองทัพไทยกับพม่า การเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และการขุดพบภาชนะเครื่องมือเครื่องใช้โบราณจึงได้นำมาจัดแสดงไว้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
กิจกรรม -ชมประวัติศาสตร์ - ดูนก - ดูผีเสื้อ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ - แค็มป์ปิ้งสถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติลานสาง
ต.แม่ทอ อ. เมืองตาก จ. ตาก 63000
โทรศัพท์ 0 5551 9278 โทรสาร 0 5551 9470 อีเมล์ reserve@dnp.go.thการเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ให้เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (สายเอเชีย) ก่อนถึงจังหวัดตากประมาณ 7 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้าย ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (สายเอเชีย 2 ตาก-แม่สอด) จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 12 ให้เลี้ยวซ้ายตรงป้ายอุทยานแห่งชาติลานสาง ไปตามถนนอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติลานสาง ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 430 กิโลเมตร
ผลงานอื่นๆ ของ beat199_จังหวะหัวใจ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ beat199_จังหวะหัวใจ
ความคิดเห็น