//...เวียงกาหลง...// - //...เวียงกาหลง...// นิยาย //...เวียงกาหลง...// : Dek-D.com - Writer

    //...เวียงกาหลง...//

    คุณแน่ใจหรอว่ารู้จักเวียงกาหลงอย่างแท้จริง แล้วทราบความเป็นมาหรือป่าวอยากรู้ลองอ่านดูนะ

    ผู้เข้าชมรวม

    998

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    998

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  21 มี.ค. 50 / 12:04 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      เครื่องเคลือบเวียงกาหลง

      เครื่องเคลือดินเผาเวียงกาหลง      ความสวยงามของประทีบโคมไฟในวันเพ็ญเดือน 12  เป็นที่คุ้นเคยกันดีของชาวเวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เนื่องจากเป็นประเพณีลอยกระทง
      เครื่องเคลือดินเผาเวียงกาหลง    ตามตำนานการลอยกระทงของที่นี่เชื่อมโยงกับความเชื่อความศรัทธา และความเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่น จนเกิดเป็นประเพณีลอยกระทง พร้อมๆ กับประวัติศาสตร์การกำเนิดของพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ หรือ จุดกำเนิดของพระพุทธเจ้า เกิดขึ้นเมื่อพระโพธิสัตว์ได้ปฏิสนธิในครรภ์ของแม่พญากาเผือก พร้อมกันถึง 5 พระองค์ เป็นจำนวนไข่ 5 ฟอง ที่ต้นมะเดื่อริมฝั่งแม่น้ำคงคา
           ระหว่างที่แม่พญากาเผือกได้เฝ้าฟูมฟัก ทะนุถนอมไข่ ทั้ง 5 ฟอง โดยออกหาอาหารในถิ่นที่อุดมด้วย ธรรมชาติอันสมบูรณ์พร้อมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารนั้น เครื่องเคลือดินเผาเวียงกาหลง 

           ได้เกิดอาเพศพิบัติภัยพายุ เป็นเหตุให้แม่พญากาเผือก หาทางออกไม่พบ ซึ่งบริเวณนั้นก็คือ เวียงกาหลง ในปัจจุบัน ส่วนไข่ทั้ง 5 ฟองก็ได้ถูกสายน้ำ พัดหายไป เมื่อนางพญา กาเผือก ออก ตามหา ถามกับ ช้าง ม้า ปลา กวาง และสัตว์ต่างๆ ก็ต้องพบกับความผิดหวัง ทำให้โศกเศร้าเสียใจจนกระทั่งสิ้นใจตายในที่สุด

           ด้านไข่ทั้ง 5 ฟอง ก็ได้ถูกสัตว์ต่างๆ แยกย้ายกันเก็บไปเลี้ยง และฟักตัวออกมาเป็นมนุษย์ในเวลาไล่เลี่ยกัน ครั้นล่วงเลยไป 12 ปี ด้วยบุญกุศลเก่าหนุนส่ง ทั้ง 5 พระองค์ ได้บำเพ็ญบารมีสำเร็จตามปณิธาน แม่เลี้ยงของแต่ละ พระองค์ จึงได้ฝากชื่อของตนไว้กับ พระนามลูกเพื่อเป็นอนุสรณ์ ซึ่งเป็นที่มาของพระคาถา 5 พยางค์ นะ โม พุทธ ธา ยะ จนถึงปัจจุบัน

           แต่แล้ววันหนึ่ง ขณะที่ทั้งห้าพระองค์ได้บำเพ็ญตนเป็นฤๅษีอยู่ในป่า  ด้วยเหตุปัจจัยทำให้เดินทางมาพบกัน โดยมิได้นัดหมาย และถามไถ่กันจนทราบว่าแต่ละพระองค์ ต่างก็มีแม่เลี้ยงจึงร่วมกัน จึงตั้งจิตอธิษฐานเพื่อตามหาแม่ที่แท้จริง ด้วยแรงอธิษฐาน ส่งถึงแม่พญากาเผือก ซึ่งมีรูปทิพย์อยู่บนชั้นพรหม ต้องจำแลงเป็น แม่พญากาเผือกมาปรากฏต่อหน้าฤๅษีทั้ง 5 ให้ได้ทราบถึงความเป็นมาของแม่ที่แท้จริง

           ฤๅษีทั้ง 5 เมื่อทราบเหตุการณ์แล้วก็เกิดความ สลดใจจึงขอให้แม่พญากาเผือกให้สัญลักษณ์ไว้ เพื่อที่จะได้กราบไหว้บูชา แม่พญากาเผือกจึงได้ใช้ขนของตัวเอง ฟั่นเป็นไส้ประทีปสัญลักษณ์ตีนกา เพื่อเอาไว้ใช้ จุดสักการะผ่านแม่น้ำคงคา ในวันขึ้น 15 ค่ำ ส่วนฤๅษีทั้ง 5  หลังจากบำเพ็ญบารมีเวียนว่ายในวัฏสงสารแล้วก็ได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ห้าพระองค์เรียงตามลำดับเวลาที่ต่างกัน

      เครื่องเคลือดินเผาเวียงกาหลง      ดังนั้น ตำนานการเกิดพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ และประเพณีลอยกระทงของชาวเวียงกาหลง จึงถูกถ่ายทอดเป็นภาพเขียนจากปลายพู่กัน สู่เครื่อง เคลือบดินเผา เวียงกาหลง เพื่อบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
       ตำนานดินดำ
           ดินดำหรือดินเหนียวขาว เกิดจากดินขาว ซึ่งย้ายถิ่น (Sedimentary Clay) ไปตกตะกอนสะสมในแหล่งใหม่ ดินดำเป็นดินที่มีขนาดผลึกเม็ดละเอียดมาก อนุภาค ของดินยึดเกาะกันได้ดี มีอินทรีย์สารที่มีโครงสร้างเจือปนอยู่ จึงช่วยให้ดินชนิดนี้ มีความเหนียว และทำให้มีสีเปลี่ยนไป จากสีขาวกลายเป็นสีเทาจนถึงสีดำแต่เมื่อนำไปเผาในอุณหภูมิสูงเนื้อดิน จะมีสีขาวหรือสีครีม อินทรีย์สารต่างๆ จะถูกเผาไหม้หมดไปจากเนื้อดิน และมีความทนไฟ
      เครื่องเคลือดินเผาเวียงกาหลง 
           มีชื่อเรียกดินดำ ว่า บอลเคลย์ (Ball Clay) ได้มาจาก วิธีขุดดินจากเหมือง ในประเทศอังกฤษ เพื่อสะดวกในการลำเลียง และการขนส่งดินดำถูกตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ เมื่อลำเลียงขึ้นรถ คนงานจะใช้วิธีโยนรับส่งทีละก้อน แบบโยนลูกบอลส่งต่อกัน ซึ่งการขนถ่ายดินเหนียวลงจากรถก็ใช้วิธีเดียวกันดังนั้นจึงถูกขนานนามว่า บอลเคลย์  เครื่องเคลือดินเผาเวียงกาหลง 
      เครื่องเคลือดินเผาเวียงกาหลง  การผลิต
          
      1. ใช้วิธีการปั้นด้วยมือ
      ไม่ใช้การหล่อเหมือนในระบบอุตสาหกรรม โดยใช้วัตถุดิบ “ดินดำ 100 %” เนื้อดินมีคุณสมบัติดีเยี่ยม เมื่อนำมาปั้นเครื่องเคลือบขนาดใหญ่ ต้องใช้ความชำนาญ เพื่อปั้นให้ได้ผิวสัมผัสที่เรียบ และต้องใช้สมาธิ ความพยายามอย่างสูง ในการปั้นเพื่อให้เกิดการถ่ายน้ำหนักที่สมดุล หากมีรอยแตกแม้เพียงเล็กน้อยนั่นหมายถึง การกลับไปสู่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง
      เครื่องเคลือดินเผาเวียงกาหลง      2. เมื่อปั้นเป็นรูปทรงตามที่ต้องการแล้ว ต้องรอเวลาให้ดินพักตัว อย่างน้อย 1 ปี ก่อนนำไปเข้าเตาเผา เพื่อเผาที่อุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส เป็นการเผาครั้งแรก ต้องค่อยๆ ปรับเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นทีละน้อย เพื่อให้ ดินสามารถปรับตัวได้ ไม่แตกร้าว โดยหลังจากการเผา สีของเครื่องเคลือบจะเปลี่ยนจากสีดำเป็น สีขาวนวล จากนั้นปล่อยให้อุณหภูมิในเตาเผาค่อยๆ เย็นลงจนถึงอุณหภูมิปกติ อาจใช้ระยะ เวลา 2 - 3 เดือน จึงจะสามารถเปิดเตาเผา และนำ เครื่องเคลือบไปเขียนลวดลายต่อไป
      เครื่องเคลือดินเผาเวียงกาหลง      3. การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยการตวัดพู่กัน โดยใช้เอกลักษณ์ของลายโบราณ ร่วมกับลายประยุกต์ เพื่อถ่ายทอดพุทธตำนานเกี่ยวกับความกตัญญู ความเพียร อีกคุณงามความดีของแม่พญากาเผือกกับลูกทั้งห้าซึ่งเชื่อมโยงกับประวัติการกำเนิดพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ในยุคภัทรกัปป์ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันกับพระพุทธศาสนา และวิถีชีวิตที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ของชาวเวียงกาหลง

          4. จากนั้นนำเครื่องเคลือบชุบด้วยน้ำเคลือบ รอให้แห้ง และนำเข้าเตาเผา เป็นการเผาครั้งสุดท้ายที่อุณหภูมิ 1,275 องศาเซลเซียส โดยก่อนเปิดเตาเผาก็ต้องรอให้อุณหภูมิลดลงเป็นอุณหภูมิปกติเช่นเดิม หลังจากการเผาครั้งนี้จะมีการตรวจสอบคุณภาพ จนได้เครื่องเคลือบที่เสร็จสมบูรณ์ สวยงาม

           เครื่องเคลือบเวียงกาหลง เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ผลิตต้องทุ่มเทแรงกาย และ จิตวิญญาณเพื่อให้ได้มาซึ่งวิจิตรผลิตภัณฑ์ที่เปี่ยมด้วยภูมิปัญญา ในการสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีของชาวเวียงกาหลง จากรุ่นสู่รุ่น ให้ดำรงอยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างสง่างาม

      เครื่องเคลือดินเผาเวียงกาหลง เครื่องเคลือดินเผาเวียงกาหลง เครื่องเคลือดินเผาเวียงกาหลง เครื่องเคลือดินเผาเวียงกาหลง เครื่องเคลือดินเผาเวียงกาหลง 
       

      ความภาคภูมิใจ
           เครื่องเคลือบเวียงกาหลง ได้รับเกียรติจากรัฐบาลไทย โดยคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์อันล้ำค่า เพื่อถวายให้กับพระราชอาคันตุกะที่เสด็จมาเยือนประเทศไทย ทั้งนี้เปรียบเสมือนเป็นทูตวัฒนธรรม เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้ยั่งยืนสืบไป

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×