ปลามีตีน - ปลามีตีน นิยาย ปลามีตีน : Dek-D.com - Writer

    ปลามีตีน

    ปลาอะไรมีตีนอยากรู้ต้องอ่านเอง

    ผู้เข้าชมรวม

    537

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    537

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  23 พ.ย. 49 / 12:22 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ปลาตีน

      ลักษณะพิเศษคือ สามารถเคลื่อนที่บนบกได้
      แหล่งที่อยู่ของปลาตีน
      ป่าชายเลนในประเทศไทยมีกระจายเป็นตอนๆริมฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดตราด เรื่อยลงไปถึงจังหวัดปัตตานี ส่วนทางฝั่งทะเลอันดามันพบตั้งแต่จังหวัดระนองลงไปสุด ชายแดนไทยที่จังหวัดสตูล ผืนป่าชายเลนซึ่งนับว่าเก่าแก่ที่สุดอยู่ที่ ปากแม่น้ำหงาว ในเขต จังหวัดระนอง เต็มไปด้วยต้นโกงกางยักษ์สูง 20-30 เมตร ได้รับการยอมรับว่าเป็นต้น โกงกางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พรรณไม้เด่นในป่าชายเลน เช่น โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก แสมดำ แสมทะเล โพธิ์ทะเล ลำพู ลำแพน ฯลฯ โดยส่วนใหญ่เป็นพืชทนแล้ง พรรณไม้ป่าชายเลนมีการปรับตัวต่อสู้กับสภาพดินเลนนิ่มๆและมีคลื่นลมโหมพัดเป็นประจำ ด้วยการสร้างรากค้ำยันพยุงลำต้นไว้ มีรากหายใจ มีต่อมขับเกลือและใบหนาเป็นมันใช้ กักเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยงชีวิต  

       

      ปลาตีน จัดอยู่ในวงศ์ Preophthalmodon ปลาตีนขนาดเล็กเรียกว่าปลาจุมพวด มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร ส่วนปลาตีนขนาดใหญ่ เรียกว่าปลากระจัง มีความยาวเฉลี่ย 25 เซนติเมตร ปลาตีนเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย
               
      จังหวัดชลบุรี มีอาณาเขตป่าชายเลนตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกงเลียบชายฝั่งจนถึงตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ซี่งมีปลาจำพวกหนึ่งอาศัยอยู่ปลาชนิดนี้ไม่ชอบอยู่ในน้ำ แต่ชอบอยู่บนผิวเลนบริเวณป่าชายเลน ปลาชนิดนี้คือ ปลาตีนซึ่งมีหลายชนิดเช่น ปลาจุมพวด ปลากำพุด ปลากระจัง เป็นต้น
               
      บริเวณป่าชายเลนเป็นบริเวณที่อยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงปลาตีนจึงมีการปรับตัวให้อาศัยอยู่ได้ทั้งเวลาน้ำขึ้นและน้ำลง แต่โดยลักษณะ นิสัยเป็นปลาที่ชอบอาศัยและหากินในเวลาน้ำลงมากกว่าและชอบอาศัยบริเวณผิวโคลนเลนใกล้ป่าชายเลน ปลาตีนมีการปรับตัวจนมีลักษณะเด่นชัดและแตกต่างจากปลาอื่นคือชอบอาศัยบนผิวเลนมากกว่าในน้ำครีบคู่หน้าหรือครีบอกจึงมีลักษณะแข็งแรง สามารถคืบไป บนผิวเลนได้ดี และครีบอกนี้สามารถใช้เกาะกับต้นโกงกางหรือแสมได้ เมื่อตอนน้ำขึ้นปลาตีนสามารถกระโดดบนผิวน้ำหรือบนผิวเลนได้โดยการบิดงอโคนหางแล้วดีดออกเหมือนสปริงทำให้เคลื่อนไหวไปข้างหน้าโดยการไถลบนผิวเลน ด้วยเหตุนี้เองจึงมีชื่อว่าปลาจุมพวด บริเวณกระพุ้งแก้มที่ปิดเหงือกจะโป่ง พองออกสามารถอุ้มน้ำได้ดี เหมาะแก่การหายใจขณะอาศัยอยู่บนผิวเลน มีลักษณะเด่นคือ ลูกตาที่ โป่งนูนอยู่บนหัวมองเห็นเด่นชัด อาหารและอุปนิสัยอาหารที่ปลาตีนกินจะเป็นพวกสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เช่น ลูกกุ้ง ลูกปู ตัวอ่อนของสัตว์น้ำ ขนาดเล็ก รวมทั้ง สาหร่าย แบคทีเรียและซากสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนผิวเลน ปกติปลาตีนจะอาศัยอยู่รวมกันหลายตัวไม่มีออกนอกเขตของตัวเอง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ปลาตีนตัวผู้จะมีสีเข้มขึ้นและมีอาณาเขตของการสืบพันธุ์ โดยจะมีการสร้างหลุมซึ่งมันจะใช้ปากขุดโคลนมากอง บนปากหลุม เราเรียกว่า หลุมปลาตีน และมีพฤติกรรมหวงเขตแดนเมื่อมีปลาตีนตัวอื่นรุกล้ำ โดยจะแสดงการกางครีบหลังขู่ และเคลื่อนที่ เข้าหาผู้รุกล้ำทันที ปลาตีนตัวผู้และตัวเมียจะผสมพันธุ์ในหลุมที่ตัวผู้ขุดไว้

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×