ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โครงการลับของสหรัฐอเมริกา

    ลำดับตอนที่ #4 : โครงการ Blue Book

    • อัปเดตล่าสุด 23 ก.ค. 54


             รายงานการพบเห็นวัตถุบินลึกลับมีมานานนับร้อยปี แต่รัฐบาลสหรัฐเพิ่งมาเริ่มให้ความสนใจอย่างจริงๆจังๆในช่วงทศวรรษที่ 1950 เมื่อความถี่ในการพบเห็นมีจำนวนบ่อยครั้ง ประกอบกับเป็นช่วงเวลาศึกสงครามทำให้เกรงว่าวัตถุบินลึกลับเหล่านั้นอาจเป็น อาวุธลับของฝ่ายศัตรู กระทรวงกลาโหมจึงสถาปนาหน่วยงานพิเศษขึ้นมาในปี 1952 เพื่อสืบสวนหาความจริงภายใต้โครงการลับที่มีรหัสว่า โครงการสมุดปกน้ำเงิน” (Project Blue Book)




              จุดประสงค์หลักของโครงการนี้คือการใช้เหตุผลและหาหลักฐานมาประกอบคำ อธิบายโต้แย้งความเชื่อเรื่องมนุษย์ต่างดาว เพื่อคลายความตื่นตระหนกของประชาชน รายงานการพบเห็นยูโฟจำนวนหลายพันครั้งทั้งในสหรัฐและต่างประเทศถูกทำการสืบ สวนหาข้อสรุป ซึ่งเรื่องราวส่วนใหญ่จะจบลงที่ คิดกันไปเอง

             อย่างไรก็ตาม มีเรื่องราวส่วนหนึ่งที่แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญของกองทัพอากาศสหรัฐก็ไม่สามารถ หาคำอธิบายที่ดีและมีเหตุผลให้กับเรื่องราวเหล่านั้นได้ และมันก็ยังคงเป็นปริศนาอยู่จนถึงกระทั่งทุกวันนี้

    ใกล้แค่เอื้อม

            เวลา 02.45 น. วันที่ 24 กรกฎาคม 1948 กัปตันคลาเรนซ์ ชิเรส (Clarence Chiles) เจ้าหน้าที่สายการบินอีสเทิร์น (Eastern Airlines) เห็นก้อนเมฆสีแดงคล้ายไอพ่นของเครื่องบินเจ็ตลอยอยู่เหนือศีรษะห่างออกไปราว 1 กิโลเมตร เขาสะกิดผู้ช่วยนักบิน จอห์น วิตเต็ด (John Whitted) ให้ดูแล้วบอกว่าดูนั่นสิ ของเล่นใหม่ของกองทัพอากาศ

             กัปตันคลาเรนซ์และผู้ช่วยนักบินเคยเป็นนักบินของกองทัพอากาศมาก่อน พวกเขาคิดว่าสิ่งที่เห็นนั้นเป็นเครื่องบินรบรุ่นใหม่ แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดก็พบว่า สิ่งที่เห็นนั้นไม่มีความคล้ายคลึงกับเครื่องบินชนิดใดๆเลย มันมีรูปทรงเรียวยาวคล้ายตอร์ปิโด มีหน้าต่างเรียงซ้อนกัน 2 แถว และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง



            เพียงไม่กี่วินาทีหลังจากนั้น วัตถุบินลึกลับก็เคลื่อนตัวตรงเข้ามาหากับเครื่องบินพาณิชย์ด้วยความเร็วสูง ทำให้กัปตันคลาเรนซ์ต้องบังคับเครื่องบินเบี่ยงหนีออกทางด้านซ้าย จอห์นเหลียวกลับไปมอง เห็นวัตถุบินลึกลับไต่เพดานบินขึ้นสูงในแนวดิ่งและหายตัวไปอย่างรวดเร็ว แต่ก็มีเวลาให้กัปตันและผู้ช่วยได้พิจารณารูปร่างของมันอยู่นานกว่า 10 วินาที



              คำกล่าวอ้างของกัปตันเครื่องบินพาณิชย์อาจไม่มีน้ำหนักเท่าไรนักหากไม่ เป็นเพราะวอลเตอร์ มาสเสย์ เจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินประจำฐานทัพอากาศโรบินส์ ในรัฐจอร์เจีย และนักบินอีกคนหนึ่งในรัฐนอร์ทแคโรไลนา รายงานการพบวัตถุบินลึกลับในเวลาไล่เลี่ยกันและอธิบายรูปร่างของมันเหมือน กับที่กัปตันคลาเรนซ์อธิบายอย่างไม่ผิดเพี้ยน



                        ขณะที่ผู้โดยสารเที่ยวบินดังกล่าวหลับใหลกันนั้น คลาเรนซ์ แมคเคลวีย์ (Clarence McKelvie) ผู้โดยสารคนหนึ่งยังนั่งตาแข็งอยู่และได้เห็นวัตถุบินลึกลับเช่นเดียวกับ กัปตันและผู้ช่วย เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมพยายามอธิบายว่าสิ่งดังกล่าวเป็นเพียงลูกอุกกาบาต หากแต่ว่ากัปตันคลาเรนซ์และผู้ช่วยเคยเห็นลูกอุกกาบาตมานับครั้งไม่ถ้วน พวกเขาไม่มีทางสับสนแยกแยะไม่ออก



    เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมจึงหาเหตุผลอื่นมาอธิบายว่ามันเป็นเพียงลูก บอลลูนตรวจอากาศ แต่เหตุผลนี้ก็ไม่ได้ดีไปกว่าเรื่องลูกอุกกาบาต อีกทั้ง 3 วันก่อนหน้านี้ มีรายงานผู้พบเห็นวัตถุบินลึกลับแบบเดียวกันในประเทศเนเธอร์แลนด์ ลูกบอลลูนที่ไหนจะลอยข้ามทวีปแบบนี้

    ไล่ล่ายูโฟ

                       เย็นวันที่ 1 ตุลาคม 1948 นาวาอากาศตรีจอร์จ กอร์แมน (George Gorman) ครูฝึกนักบินประจำฐานทัพอากาศฟาร์โก รัฐนอร์ทดาโกตา นำนักบินฝึกหัดขึ้นฝึกบินระยะไกล จนกระทั่งถึงเวลาค่ำราว 20.30 น. นักบินฝึกหัดก็นำเครื่องกลับฐานทัพ ขณะที่จอร์จฉวยโอกาสท้องฟ้าปลอดโปร่งทำการฝึกซ้อมบินในยามค่ำตามลำพังจนถึง เวลา 09.00 น. ก็นำเครื่องกลับ

    นาวาอากาศตรีจอร์จ กอร์แมน (George Gorman)
    นาวาอากาศตรีจอร์จ กอร์แมน (George Gorman)

     จอร์จวิทยุไปยังหอบังคับการบินเพื่อขออนุญาตนำเครื่องลงจอดและได้รับคำ ตอบว่าสนามบินปลอดการจราจร สามารถนำเครื่องลงได้ทันที หากแต่จอร์จไม่แน่ใจ เพราะเขาเห็นแสงไฟจากเครื่องบินลำอื่นลอยอยู่ต่ำจากตำแหน่งเขาประมาณ 500 ฟุต

    เจ้าหน้าที่หอบังคับการบินยืนยันว่าไม่มีเครื่องบินลำอื่นอยู่ในบริเวณ นั้น จอร์จจึงบอกยกเลิกการลงจอดเพื่อทำการติดตามวัตถุบินลึกลับที่เขาเห็น


    เมื่อจอร์จเร่งเครื่องยนต์บินเข้าประกบวัตถุบินลึกลับ มันก็เร่งเครื่องหนีและไต่เพดานบินจากระดับ 1,000 ฟุต บินสูงขึ้นเพื่อหลบหนี การไล่ล่ากินเวลานานถึง 27 นาที เมื่อเห็นว่าจอร์จไม่ยอมแพ้ วัตถุบินลึกลับก็กลับลำกะทันหันและเดินหน้าพุ่งเข้าหา ทำให้จอร์จต้องหักหลบ และปักหัวดิ่งลงเพื่อหลบเลี่ยงการปะทะกลางอากาศ

                      วัตถุบินลึกลับกลับลำและไต่เพดานบินสูงขึ้นอีกครั้ง จอร์จยังไม่ยอมแพ้ หักเลี้ยวไล่ตามด้วยความเร็ว 640 กม./ชม. ที่ความสูง 14,000 ฟุต ซึ่งเริ่มเป็นอันตราย เขาอาจหมดสติจากแรง G เหมือนที่เกิดขึ้นกับนาวาอากาศเอกโทมัส แมนเทล (Thomas Mantell) ซึ่งเผชิญหน้ากับวัตถุบินลึกลับเมื่อเดือนมกราคมในปีเดียวกัน โทมัสไล่ล่าวัตถุบินลึกลับด้วยความเร็วสูงจนไต่เพดานบินถึงระดับ 25,000 ฟุตแล้วเขาก็หมดสติไป ทำให้เครื่องบินตกเสียชีวิต


    นาวาอากาศเอกโทมัส แมนเทล (Thomas Mantell)
    นาวาอากาศเอกโทมัส แมนเทล (Thomas Mantell)

    จอร์จตัดสินใจหันหัวกลับ โดยไม่ลืมรายงานลักษณะวัตถุบินลึกลับที่มีขนาดใหญ่โตมโหฬารให้กับหอบังคับการบินได้รับทราบ ส่วนกระทรวงกลาโหมไม่มีคำอธิบายใดๆกับเหตุการณ์นี้

    ยูโฟเยือนรัฐสภา

                     เวลา 23.40 น. วันที่ 19 กรกฎาคม 1952 หอบังคับการบินกรุงวอชิงตัน พบวัตถุบินไม่ปรากฏสัญชาติปรากฏบนจอเรดาร์ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ห่างจากเมืองหลวงราว 24 กม. มีทิศทางการเคลื่อนที่มุ่งตรงไปยังอาคารรัฐสภา จึงวิทยุแจ้งไปยังฐานทัพอากาศแอนดรูว์ หากแต่ว่าเจ้าหน้าที่ฐานทัพอากาศไม่พบสิ่งแปลกปลอมใดๆบนจอเรดาร์

                    วิลเลี่ยม แบรนดี้ (William Brandy) ได้รับคำสั่งให้ขึ้นไปสังเกตการณ์บนหอคอย เขารายงานกลับมาว่าเห็นลูกไฟสีส้มฝูงหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง แต่ก่อนที่เจ้าหน้าที่คนอื่นจะขึ้นมาบนหอคอย ลูกไฟประหลาดกลุ่มนั้นก็หายไปจากท้องฟ้าอย่างรวดเร็ว



      เวลา 00.30 น. ขณะที่นักบินสายการบินแคปิตอลรอสัญญาณนำเครื่องขึ้นบิน เขารายงานว่าเห็นวัตถุทรงกลมขนาดใหญ่ 6 ดวงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงอยู่บนท้องฟ้า เข้าใจว่าเป็นลูกอุกกาบาต เขาเฝ้าดูมันนานถึง 14 นาที

                    เวลา 20.15 น. วันที่ 26 กรกฎาคม ลูกไฟประหลาดปรากฏตัวขึ้นที่เดิมอีกครั้ง พนักงานต้อนรับสายการบินเนชั่นนอลรายงานว่าเห็นวัตถุประหลาดลอยอยู่เหนือ เครื่องบิน หลังจากนั้นไม่นาน หอบังคับการบินกรุงวอชิงตันก็ตรวจพบวัตถุบินไม่ปรากฏสัญชาติบนจอเรดาร์ และคราวนี้จอเรดาร์ของฐานทัพอากาศแอนดรูว์ก็ตรวจพบเช่นเดียวกัน

                   มันเป็นเวลาเดียวกับที่เจ้าหน้าที่โครงการสมุดปกน้ำเงินกำลังสืบสวน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อน เมื่อได้รับรายงานว่ามีวัตถุบินลึกลับปรากฏบนจอเรดาร์อีกครั้ง เขาก็สั่งกันไม่ให้นักข่าวเข้ามาในหอบังคับการบิน

                   วัตถุลึกลับเคลื่อนที่อย่างช้าๆ บางจังหวะก็เหมือนลอยอยู่นิ่งๆ แต่ทันใดนั้นเองมันก็เร่งความเร็วสูงกว่า 10,000 กม./ชม. เวลา 23.30 น. เครื่องบินขับไล่ 2 ลำจากฐานทัพอากาศนิวคาสเซิล ในรัฐเดลาแวร์ ถูกส่งขึ้นค้นหาวัตถุบินลึกลับแต่ก็คว้าน้ำเหลว

                   หลังเที่ยงคืนเล็กน้อย ผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศของโครงการสมุดปกน้ำเงิน 2 นายเดินทางมาสืบสวน และรายงานว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิในชั้นบรรยากาศทำให้ เกิดการสะท้อนของสัญญาณเรดาร์ แต่นั่นไม่ได้อธิบายสิ่งที่พยานเห็นภาพวัตถุทรงกลมด้วยตาเปล่า

    เครื่องบินล่องหน

                   วันที่ 21 ตุลาคม 1978 เฟรเดอริก วาเลนติช (Frederick Valentich) นำเครื่องบินส่วนตัวขึ้นบินจากกรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย มุ่งหน้าไปยังเกาะคิงไอแลนด์ ขณะที่บินอยู่เหนือมหาสมุทร เขาแจ้งไปยังหอบังคับการการบินว่ามีเครื่องบินลำอื่นเคลื่อนที่อยู่ในระดับ ความสูงเดียวกับเขา


    หอบังคับการการบินแจ้งกลับไปว่าไม่มีเครื่องบินลำอื่นบินอยู่ในระดับความ สูงนั้น แต่เฟรเดอริกยืนยันว่ามันบินอยู่ห่างจากเขาไปแค่ 300 เมตรเท่านั้น แต่รูปร่างมันไม่เหมือนเครื่องบินชนิดใดที่เขาเคยเห็นมาก่อน มันมีลำตัวยาวมากและเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมาก

                   30 วินาทีต่อมา เฟรเดอริกรายงานว่า เครื่องบินประหลาดบินเคลื่อนตัวมาประชิดกับเขา มันมีลักษณะเป็นโลหะมันวาว มีไฟสีเขียวบนลำตัว จู่ๆมันก็บินหายไปจากสายตา การติดต่อขาดหายไปเป็นเวลา 28 วินาที เฟรเดอริกรายงานอีกครั้งว่าเครื่องบินลึกลับลินกลับมาประชิดเขาอีกครั้ง



      “มันกำลังลอยตัว มันไม่ใช่เครื่องบิน” เฟรเดอริกเงียบเสียงไป แต่เสียงบรรยากาศแวดล้อมบ่งบอกว่าเครื่องส่งวิทยุยังคงทำงานอยู่ เสียงคล้ายโลหะขัดสีกันดังอยู่นาน 17 วินาที และมันคือเสียงสุดท้ายที่หอบังคับการบินได้บันทึกเอาไว้ เฟรเดอริกไม่ได้ติดต่อกลับมาอีก เขาไม่ได้นำเครื่องลงจอดที่เกาะคิงไอแลนด์ ทั้งเฟเดอริกและเครื่องบินหายสาบสูญไปเฉยๆ




              มีผู้พยายามอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเฟรเดอริกเกิดประสาทหลอนขับ เครื่องบินตีลังกากลับหัว มองเห็นเงาสะท้อนของเครื่ องบินตัวเองบนผิวทะเลและคิดไปว่าเป็นเครื่องบินลำ อื่น แต่ไม่มีใครสามารถอธิบายเสียงโลหะเสียดสีกันในช่วง 17 วินาทีสุดท้ายของการติดต่อทางวิทยุได้



    ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6  ฉบับ 272 วันที่ 14-20 สิงหาคม พ.ศ. 2553 หน้า 42 คอลัมน์ ร้ายสาระ โดย ศิลป์ อิศเรศ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×