ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โครงการลับของสหรัฐอเมริกา

    ลำดับตอนที่ #1 : โครงการแมนฮัตตัน

    • อัปเดตล่าสุด 20 ก.ค. 54


    โครงการแมนฮัตตัน (อังกฤษ: Manhattan Project หรือชื่อที่เป็นทางการมากกว่าคือ Manhattan Engineering District) เป็นความพยายามในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยได้รับความช่วยเหลือจากสหราชอาณาจักรและประเทศแคนาดา

    การวิจัยนำโดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน J. Robert Oppenheimer และอยู่ใต้การดูแลของนายพล Leslie R. Groves หลังสหรัฐค้นพบว่าพรรคนาซีเยอรมันกำลังสร้างอาวุธคล้าย ๆ กันอยู่

    โครงการแมนฮัตตันได้ออกแบบและทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ 3 ลูกใน ค.ศ. 1945. ลูกแรกอยู่ใน แผนปฏิบัติการทรินนิที (Trinity) ทดสอบเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม มีขึ้นในทะเลทรายใกล้เมืองอลามากอร์โด, มลรัฐนิวเม็กซิโก. ลูกที่สองคือระเบิดนิวเคลียร์ ลิตเติลบอย (Little Boy) ระเบิดวันที่ 6 สิงหาคม ที่เมืองฮิโรชิมาประเทศญี่ปุ่น และลูกสุดท้ายคือ แฟตแมน (Fat Man) ระเบิดวันที่ 9 สิงหาคม ที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น. การทิ้งระเบิดสองลูกสุดท้ายที่ญี่ปุ่นนั้น นำไปสู่การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สองในภูมิภาคเอเชีย

    โครงการแมนฮัตตันก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 130,000 คน และใช้เงินลงทุนไปในขณะนั้น 2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเทียบเป็นค่าของเงินใน ค.ศ. 2004 จะมีค่าประมาณ 2 หมื่นล้านดอลลาร์

     

      

    เครื่องเร่งอนุภาค ที่ใช้ในโครงการแมนฮัตตัน เพื่อพัฒนาระเบิดปรมาณู. สร้างในปี ค.ศ. 1937 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กรุงลอนดอน

                    งานพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์มีขึ้นครั้งแรกที่มลรัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้โครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) มลรัฐนิวเม็กซิโก มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง มีภูเขาล้อมรอบ และห่างไกลจากชุมชนขนาดใหญ่ สหรัฐฯ จึงเลือกที่นี่เป็นที่ตั้งของโครงการฯ โรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฮานฟอร์ด (Hanford Nuclear Reactor) มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อโครงการฯ ด้วยเป็นที่สนับสนุนธาตุกัมมันตรังสี ส่วนประกอบสำคัญของระเบิดนิวเคลียร์

    ทีมงานวิจัยและพัฒนาฯ ได้กำหนดรูปแบบของระเบิดนิวเคลียร์ออกเป็น 2 แบบ คือ แบบหลอมตัว (Fusion Type)และ แบบกระจายตัว (Fission Type) ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของระเบิดนิวเคลียร์แบบกระจายตัวคือ เชื้อจุดระเบิดปฏิกิริยาลูกโซ่ อันเปรียบเสมือนกระสุนยิงระเบิดนั่นเอง ทีมงานฯได้พัฒนากระสุนดังกล่าวขึ้นจากธาตุเบอริลเลียม (Beryllium)และธาตุโปโลเนียม (Polonium) กระสุนนี้แม้มีขนาดเพียงเมล็ดถั่วลิสง แต่อานุภาพของมันไม่เล็กเลย เมื่อกระสุนกระทบเป้าที่ทำขึ้นจากธาตุยูเรเนียม 235 จะก่อให้เกิดอนุภาคนิวตรอน และพลังงานมหาศาล ผลคือ นิวเคลียสหรือแก่นกลางของธาตุยูเรเนียม 235 แตกออกเป็นสองเสี่ยง พร้อมอนุภาคนิวตรอนสองตัว และพลังงานอีกมหึมา อนุภาคนิวตรอนสองตัวนั้น ทำหน้าที่เป็นกระสุน ยิงแก่นกลางของธาตุยูเรเนียมทั้งสองส่วนนั้นให้แตกออกเป็นสองเสี่ยง รวมเป็นยูเรเนียมสี่ส่วน พร้อมกระสุนนิวตรอนอีกสี่นัด และพลังงานอีกมหาศาล เป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนหมดเชื้อระเบิด

    ผลคือ อำนาจการทำลายขนาดมหึมาทั้งในรูปของความร้อน แรงดัน และอนุภาคต่าง ๆ ที่มีอำนาจทำลายสิ่งต่าง ๆ ที่ขวางหน้าไม่ว่าสิ่งนั้นจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม ระเบิดนิวเคลียร์แบบนี้มีลักษณะเรียวยาว จึงได้ฉายาว่า เจ้าหนูน้อย ส่วนการทำงานงานของระเบิดนิวเคลียร์แบบหลอมตัว เป็นการยิงกระสุนพลูโตเนียม 238 เข้าหาเป้าที่ทำขึ้นจากธาตุเดียวกัน ทำให้กระสุนและเป้าเข้ารวมตัวกัน การรวมตัวนี้ก่อให้เกิดความร้อนมหาศาล ความร้อน ความแรง และความเร็วทำให้ธาตุกัมมันตรังสีดังกล่าวขยายตัวออกอย่างรวดเร็ว (แรงหนีศูนย์กลาง) เมื่อแรงรวมตัว (แรงสู่ศูนย์กลาง) ถึงจุดจำกัดจุดหนึ่ง ทำให้ไม่สามารถต้านแรงหนีศูนย์กลางได้ จึงเกิดการระเบิดออกอย่างรุนแรง ปลดปล่อยพลังงาน และอนุภาคต่าง ๆ ออกมามากมายมหาศาล

     

     

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    1.       Wikipedia

    2.       http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/6/atomic-bomb/index6.htm

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×