ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    japanese club ชุมนุมภาษาญี่ปุ่น

    ลำดับตอนที่ #2 : (อ) เริ่มรู้จักตัวอักษรญี่ปุ่น

    • อัปเดตล่าสุด 15 มิ.ย. 53


    สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นเลย สิ่งแรกที่เราต้องเรียนก็คือการมารู้จักกับตัวอักษรญี่ปุ่นว่ามันมีอะไรยังไงบ้าง
    ตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นนั้นแบ่งเป็นสามแบบ คือ
    1.ตัวอักษรฮิรางานะ คือตัวอักษรญี่ปุ่นแท้เลย ตัวอย่างก็เช่น あ ら ま
    2.ตัวอักษรคันจิ ก็คือตัวอักษรจีนทีญี่ปุ่นไปรับมา แต่ก็จะมีการอ่านสองแบบคือการอ่านแบบจีน และการอ่านแบบญี่ปุ่น แล้วเราจะพูดเกี่ยวกับการอ่านคันจิกันทีหลังนะจ๊ะ
    3.ตัวอักษรคาตะคานะก็คือตัวอักษรที่ดัดแปลงมาจากตัวอักษรจีน(คันจิ)อีกทีหนึ่ง ใช้สำหรับเขียนภาษาที่มาจากต่างประเทศ เช่นชื่อเราถ้าจะเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นก็ต้องเขียนด้วยตัวอักษรคาตะคานะ

    และอีกอย่างหนึ่งที่ไม่รู้ว่าจะนับเป็นตัวอักษรได้หรือเปล่าก็คือ โรมาจิ เป็นตัวอักษรโรมันใช้สำหรับเทียบเสียงอ่านภาษาญี่ปุ่น หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือตัวอักษรอังกฤษที่แสดงเสียงอ่านของภาษาญี่ปุ่น เราจะเจอตัวอักษรพวกนี้ในเพลงการ์ตูน และก็อื่นๆอีกเยอะแยะบานตะไท

    คราวนี้เรามาเจาะลึกกันดีกว่าว่าทำไมภาษาญี่ปุ่นต้องมีตัวอักษรถึงสามแบบ สามสไตล์ ไปดูกันเล้ย
    ในสมัยก่อนนั้นคนญี่ปุ่นจะเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นพวก wa (วะ) ไม่ใช่ nihonjin (นิฮอนจิน แปลตามตัวก็คือคนญี่ปุ่นหรือชาวญี่ปุ่น)
    ซึ่งพวก wa นั้นก็จะใช้ภาษา wago 和語 (แปลตามตัวก็คือภาษาวะ ฮ่ะฮ่าๆๆๆ อ๊ะไม่ใช่และ)
    ดังนั้นในสมัยก่อนภาษาญี่ปุ่นก็จะมีเพียงตัวอักษรฮิรางานะแบบพื้นๆ เพราะยังไม่มีการบันทึกอย่างจริงจัง พอเข้าสู่ศตวรรษที่ 6 (โดเรม่อนตีกลองประชุม เย้ยไม่ใช่ นอกเรื่องบ่อยและเรา) พระญี่ปุ่นได้ถูกส่งไปประเทศจีน แล้วเอาพระสูตรจีนหรือก็คือตำรา บทสวดมนต์ที่เขียนเป็นภาษาจีนกลับมาด้วย แต่เนื่องจากว่าโครงสร้างภาษาจีนไม่เหมือนกับภาษาญี่ปุ่น พระญี่ปุ่นจึงคิดสัญลักษณ์เพื่อแสดงคำช่วย หรือที่เราเรียกว่า สัญลักษณ์คำช่วย ( ณ ปัจจุบันนี้ไม่มีสัญญาลักษณ์นั้นแล้วนะเค่อะ) จึงทำให้มีการใช้ตัวอักษรฮิรางานะผสมกับตัวอักษรคันจิ จากนั้นคนญี่ปุ่นก็นำตัวอักษรคันจิมาดัดแปลงป็นตัวอักษรคาตะคานะ

    เป็นยังไงกันบ้างทุกคน เข้าใจกันบ้างหรือเปล่า หรือมีคำถามสงสัยก็ถามกันได้ ส่วนนี้เป็นพื้นฐานเริ่มต้น เพื่อนๆคนไหนที่เรียนเลยมาแล้วก็อย่าเพิ่งเบื่อไป เรื่องน่าสนุกจะทยอยตามมากันจ้า

    ขอบพระคุณข้อมูลจาก ศ.ดร. ปรียา อิงคาภิรมย์
    และที่มาข้อมูลจาก www.japaneseisfun.com
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×