ลำดับตอนที่ #19
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #19 : (ยูโด) เรียนการผันคำกริยา (แยกส่วนหัว-หาง)
สวัสดีค่ะเพื่อนๆพี่ๆชาวเด็กดีและเพื่องๆน้องๆในชุมนุมทุกคนเลยเน้อ ตามคำสัญญาจากบทที่แล้ว แนนสัญญาว่าจะสอนเรื่องการผันคำกริยา แต่ว่าการเรียนเรื่องนี้เนี่ยมันต้องใช้เวลายาวมากๆ เพราะฉะนั้นแนนจะทยอยเอามาลงนะเจ้าค่ะ จากตอนที่แล้วพวกเราทุกคนคงรู้แล้วว่าคำกริยาเป็นคำอิสระที่ผันได้ ซึ่งต่อจากนนี้เราจะเรียนเกี่ยวกับการผันคำกริยากัน เพราะการนำคำกริยาภาษาญี่ปุ่นมาใช้เนี่ย มันไม่ได้ใช้แค่คำกริยารูปดั้งเดิม หรือรูปพจนานุกรมเท่านั้น คำกริยารูปสุภาพที่พวกเราเคยเห็นในหนังสือเรียนก็เกิดมาจากการผันคำกริยาด้วยเช่นกัน
สรุปง่ายๆก็คือ การผันคำกริยาจะทำให้เราใช้คำกริยาได้หลากหลายยิ่งขึ้น ทำให้เราไม่ยึดติดอยู่ในกรอบที่เรารู้คำกริยาอยู่เพียงไม่กี่คำ และที่สำคัญคือเราไม่ต้องท่องจำคำกริยาพวกนี้ให้ปวดหัวสมอง เพราะการเรียนเรื่องนี้อาศัยความเข้าใจ
さあ!はじめ! เอาล่ะ! เริ่ม!
การผันคำกริยามี 3 กลุ่มใหญ่ และคำกริยาพิเศษอีก 2 ตัว
1.ผันครบ 5 ขั้น (มีเยอะที่สุด)
2.ผันขั้นเดียวด้วยสระ e เช่น taberu กิน
3.ผันขั้นเดียวด้วยสระ i เช่น miru ดู
และ คำกริยาที่ผันต่างไปจากวรรค คือ kuru มา และ suru ทำ
ตอนนี้เราเรียนการผันคำกริยาแบบครบ 5 ขั้นก่อน เพราะมันเป็นเหมือนพื้นฐานทั้งหมด ถ้าเราเข้าใจส่วนตรงนี้ ที่เหลือทั้งหมดก็ง่ายๆเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก
ในการผันคำกริยาทุกประเภทเราต้องเริ่มจากการแบ่งส่วนหัว และส่วนหางของคำกริยาก่อน
*ซึ่งขั้นตอนนี้กรุณาเขียนคำกริยาเป็นตัวโรมาจิ เพราะมันจะทำให้ผันได้ง่ายกว่า*
ซึ่งการแบ่งหัวแบ่งหางมันก็ง่ายๆ เมื่อเราเปิดในพจนานุกรมจะเห็นว่าคำกริยาจะลงท้ายด้วย - u และ -ru เช่น ku su mu bu เป็นต้น เราจะเห็นว่าตัวท้ายสุดของมันคือสระ -u
ถ้ามันลงท้ายด้วย -u เมื่อไหร่ ให้เราจับ -u แยกออกมา
เช่น kaku (เขียน) ----> kak-u
isogu (รีบ) ----> isog-u
warau (หัวเราะ) ----> wara-u (ตัวนี้ลงท้ายด้วย u เพียวๆเลยนะเจ้าค่ะเห็นไหม)
คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -u ทั้งหมดเป็นคำกริยาที่ผันครบ 5 ขั้น
แต่ถ้าคำกริยาใดเจือกลงท้ายด้วย -ru เราต้องดูด้วยว่าหน้า -ru เป็นสระอะไรนะเจ้าค่ะ
ถ้าเป็นสระ i หรือ e จะเป็นคำกริยาที่ผันแบบขั้นเดียว (ยกเว้นบางคำที่ผันแบบครบ 5 ขั้น ซึ่งคำกริยาแบบนี้มีไม่กี่คำ และเป็นส่วนที่เราจำเป็นต้องจำ เองจากส่วนมากคำกริยาพวกนี้เวลาผันตามปกติแล้วอาจจะไปซ้ำกับคำกริยาอื่น จึงต้องแยกออกมาเป็นผันครบ 5 ขั้น แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ มีให้เราจำไม่กี่ตัวเอง) ซึ่งในตอนนี้เราจะยังไม่พูดถึงคำกริยาที่ผันขั้นเดียว เอาให้เรียนเสร็จเป็นอย่างๆไปก่อนนะเจ้าค่ะ
ถ้าหน้าคำกริยาที่ลงท้ายด้วย -ru ไม่ใช่สระ i หรือ e เช่นเป็นตัว a เราก็นับว่ามันเป็นคำกริยาที่ผันแบบ 5 ขั้นเช่นกัน วิธีแยกก็เหมือนเดิมค่ะ ให้เราจับ -u แยกออกมา ตัวอย่างเช่น
otoru (ด้อย) ---->otor-u
hikaru (ส่องแสง) ----> hikar-u (ขอเวลาบ้านักร้องสักครู่ นึกถึงฮิคารุคุงแห่งเฮย์เซย์จัมพ์เลยเจ้าค่ะ)
สรุปง่ายๆก็คือคำกริยา 5 ขั้นจะแยกเฉพาะ -u มาเป็นหาง ส่วนที่เหลือก็เป็นส่วนหัว (หัวหลักหัวตอหรือเปล่าอันนี้ไม่ทราบนะเจ้าค่ะ 555)
คราวนี้อาจมีคนสงสัยว่าจะแยกหัวแยกหางกันทำไม
Ans ก็เพราะส่วนของหางที่เราแยกมานั้น จะเป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง และจะเป็นส่วนที่นำมาใช้ผันต่อในขั้นต่อไป พูดง่ายๆก็คือถ้าไม่แยกหัวแยกหหางก็จะผันต่อไม่ได้ยังไงล่ะเคอะ (ส่วนหัวยังคงเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง และยังคงเป็นหัวหลักหัวต่ออยู่อย่างนั้น)
เป็นยังไงกันบ้างค่ะ ถ้ามีอะไรไม่เข้าใจถามแนนได้นะค่ะ สิ่งที่แนนเอามาลงแนนเอามาจากหนังสือเรียนไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น ของศ.ดร.ปรียา อิงคาภิรมย์ เอามาสรุปและย่อยให้ทุกคนฟังอีกทีนะเจ้าค่ะ เอิ่มใครที่เอาเรื่องนี้ไปสอนไปบอกเพื่อน ขอความกรุณาช่วยให้เกียรติบอกแหล่งที่มาด้วยก็ได้ค่ะ ถึงไม่บอกว่าได้มาจากแนน แต่ก็ควรให้เกียรติอาจารย์ของแนนที่ท่านอุตสาเขียนหนังสือมาให้เราเรียนนะเจ้าค่ะ
สรุปง่ายๆก็คือ การผันคำกริยาจะทำให้เราใช้คำกริยาได้หลากหลายยิ่งขึ้น ทำให้เราไม่ยึดติดอยู่ในกรอบที่เรารู้คำกริยาอยู่เพียงไม่กี่คำ และที่สำคัญคือเราไม่ต้องท่องจำคำกริยาพวกนี้ให้ปวดหัวสมอง เพราะการเรียนเรื่องนี้อาศัยความเข้าใจ
さあ!はじめ! เอาล่ะ! เริ่ม!
การผันคำกริยามี 3 กลุ่มใหญ่ และคำกริยาพิเศษอีก 2 ตัว
1.ผันครบ 5 ขั้น (มีเยอะที่สุด)
2.ผันขั้นเดียวด้วยสระ e เช่น taberu กิน
3.ผันขั้นเดียวด้วยสระ i เช่น miru ดู
และ คำกริยาที่ผันต่างไปจากวรรค คือ kuru มา และ suru ทำ
ตอนนี้เราเรียนการผันคำกริยาแบบครบ 5 ขั้นก่อน เพราะมันเป็นเหมือนพื้นฐานทั้งหมด ถ้าเราเข้าใจส่วนตรงนี้ ที่เหลือทั้งหมดก็ง่ายๆเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก
ในการผันคำกริยาทุกประเภทเราต้องเริ่มจากการแบ่งส่วนหัว และส่วนหางของคำกริยาก่อน
*ซึ่งขั้นตอนนี้กรุณาเขียนคำกริยาเป็นตัวโรมาจิ เพราะมันจะทำให้ผันได้ง่ายกว่า*
ซึ่งการแบ่งหัวแบ่งหางมันก็ง่ายๆ เมื่อเราเปิดในพจนานุกรมจะเห็นว่าคำกริยาจะลงท้ายด้วย - u และ -ru เช่น ku su mu bu เป็นต้น เราจะเห็นว่าตัวท้ายสุดของมันคือสระ -u
ถ้ามันลงท้ายด้วย -u เมื่อไหร่ ให้เราจับ -u แยกออกมา
เช่น kaku (เขียน) ----> kak-u
isogu (รีบ) ----> isog-u
warau (หัวเราะ) ----> wara-u (ตัวนี้ลงท้ายด้วย u เพียวๆเลยนะเจ้าค่ะเห็นไหม)
คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -u ทั้งหมดเป็นคำกริยาที่ผันครบ 5 ขั้น
แต่ถ้าคำกริยาใดเจือกลงท้ายด้วย -ru เราต้องดูด้วยว่าหน้า -ru เป็นสระอะไรนะเจ้าค่ะ
ถ้าเป็นสระ i หรือ e จะเป็นคำกริยาที่ผันแบบขั้นเดียว (ยกเว้นบางคำที่ผันแบบครบ 5 ขั้น ซึ่งคำกริยาแบบนี้มีไม่กี่คำ และเป็นส่วนที่เราจำเป็นต้องจำ เองจากส่วนมากคำกริยาพวกนี้เวลาผันตามปกติแล้วอาจจะไปซ้ำกับคำกริยาอื่น จึงต้องแยกออกมาเป็นผันครบ 5 ขั้น แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ มีให้เราจำไม่กี่ตัวเอง) ซึ่งในตอนนี้เราจะยังไม่พูดถึงคำกริยาที่ผันขั้นเดียว เอาให้เรียนเสร็จเป็นอย่างๆไปก่อนนะเจ้าค่ะ
ถ้าหน้าคำกริยาที่ลงท้ายด้วย -ru ไม่ใช่สระ i หรือ e เช่นเป็นตัว a เราก็นับว่ามันเป็นคำกริยาที่ผันแบบ 5 ขั้นเช่นกัน วิธีแยกก็เหมือนเดิมค่ะ ให้เราจับ -u แยกออกมา ตัวอย่างเช่น
otoru (ด้อย) ---->otor-u
hikaru (ส่องแสง) ----> hikar-u (ขอเวลาบ้านักร้องสักครู่ นึกถึงฮิคารุคุงแห่งเฮย์เซย์จัมพ์เลยเจ้าค่ะ)
สรุปง่ายๆก็คือคำกริยา 5 ขั้นจะแยกเฉพาะ -u มาเป็นหาง ส่วนที่เหลือก็เป็นส่วนหัว (หัวหลักหัวตอหรือเปล่าอันนี้ไม่ทราบนะเจ้าค่ะ 555)
คราวนี้อาจมีคนสงสัยว่าจะแยกหัวแยกหางกันทำไม
Ans ก็เพราะส่วนของหางที่เราแยกมานั้น จะเป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง และจะเป็นส่วนที่นำมาใช้ผันต่อในขั้นต่อไป พูดง่ายๆก็คือถ้าไม่แยกหัวแยกหหางก็จะผันต่อไม่ได้ยังไงล่ะเคอะ (ส่วนหัวยังคงเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง และยังคงเป็นหัวหลักหัวต่ออยู่อย่างนั้น)
เป็นยังไงกันบ้างค่ะ ถ้ามีอะไรไม่เข้าใจถามแนนได้นะค่ะ สิ่งที่แนนเอามาลงแนนเอามาจากหนังสือเรียนไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น ของศ.ดร.ปรียา อิงคาภิรมย์ เอามาสรุปและย่อยให้ทุกคนฟังอีกทีนะเจ้าค่ะ เอิ่มใครที่เอาเรื่องนี้ไปสอนไปบอกเพื่อน ขอความกรุณาช่วยให้เกียรติบอกแหล่งที่มาด้วยก็ได้ค่ะ ถึงไม่บอกว่าได้มาจากแนน แต่ก็ควรให้เกียรติอาจารย์ของแนนที่ท่านอุตสาเขียนหนังสือมาให้เราเรียนนะเจ้าค่ะ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น