คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #18 : (ยูโด) ชนิดของคำในภาษาญี่ปุ่น
สวัสดีค่ะพี่น้องชาวชุมนุมและชาวเด็กดีทุกคน แนนห่างหายไปนานเลยไม่รู้จะมีใครคิดถึงบ้างไหมน้า ที่ห่างไปก็เป็นเพราะหลายๆอย่าง ตั้งแต่ไม่มีเวลา จนไปถึงมีคนเข้ามาเรียน มาอ่านแต่ไม่บอกไม่เล่าให้แนนฟังเลยว่าเรียนแล้วเป็นยังไง เข้าใจหรือไม่เข้าใจ ที่จริงตอนนี้มันมีทั้งหมด 19 โพส แนนขอเพิ่มแค่โพสเดียวเอง ขอแค่ 20 โพสแล้วแนนจะมาลงให้ แต่ไม่มีคำตอบของใครมาเลย แม้แต่คนที่มาถามแนนทิ้งไว้ก็ไม่เคยมาตอบคำถามแนนเลยว่าสงสัยอะไร ไม่ติดตามเอาคำตอบ แนนก็ไม่ทราบเหมือนกันนะค่ะว่าพี่สงสัยอะไร เอาเป็นว่าเข้าเรื่องของเรากันดีกว่า หลังจากที่เราเล่นๆผ่อนคลายกันมาสักพัก วันนี้แนนจะพาทุกคนไปสู่ความเข้มข้นของจริง ไปดูแบบเนื้อเน้นๆกันเลย ซึ่งที่แนนจะเอามาพูดต่อไปก็คือ ชนิดของคำในภาษาญี่ปุ่น เพราะเวลาเราจะเรียนภาษาอะไรเนี่ย เราต้องรู้ก่อนว่าในภาษานั้นมีคำชนิดไหนบ้าง แบ่งกันยังไง เพราะแต่ล่ะภาษาเขาก็มีการแบ่งชนิดของคำไม่เหมือนกันใช่ไหมค่ะ พอเรารู้เรื่องชนิดของคำแล้วเนี่ยก็เหมือนกับทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มง่ายขึ้นมาในบัดดล เพราะเรามีฐานที่แข็งแรงแล้วนี่ค่ะ เราแยกมันออกแล้วว่าคำไหนเป็นคำไหน พูดพร่ำมาตั้งนานไปดูเนื้อหากันเลยดีกว่า
ก่อนที่จะแบ่งคำในภาษาญี่ปุ่นตามชนิดของคำ(hinshi) จะขอแบ่งคำในภาษาญี่ปุ่นคร่าวๆออกเป็น 2 ชนิด
คือ 1.คำอิสระ คือคำที่อยู่ได้ด้วยตัวเอง
2.คำห้อยตาม คือคำที่อยู่ไม่ได้ด้วยตนเอง
คราวนี้มาอธิบายกันหน่อยเดี๋ยวจะไม่เข้าใจ คือในประโยคของภาษาญี่ปุ่นเนี่ย มันก็จะมีประโยคหลัก ประโยคย่อย อนุประโยคอะไรแบบนี้บ้างเหมือนภาษาอังกฤษที่ในหนึ่งประโยคมันอาจจะมี 2 clause(ประโยคย่อย) รวมกันกลายเป็น sentence ประโยค โดยมีคำสันธานเชื่อมใช่ม้า ยกตัวอย่างประโยคเช่น I watched TV while I was talking on the phone.
ไอ้ส่วนที่แนนขีดเส้นใต้เนื่ย เราเรียกว่าclause คือมันก็เป็นประโยคและนะ แต่เขาไม่เรียกว่าsentence แต่ในภาษาญี่ปุ่นเนี่ย เขาไม่เหมือนกับภาษาอังกฤษซะทีเดียว ทำไมไม่เหมือนนะหรอ ก็เพราะว่า ในภาษาอังกฤษเนี่ยเขาจะแบ่งเป็นประโยคย่อยๆ 2 ประโยคใช่ไหม (ดูตัวอย่างประกอบได้นะค่ะ) แต่ในภาษาญี่ปุ่นเนี่ยเขาไม่ได้แบ่งเป็นประโยคๆนะค่ะ เขาแบ่งเป็นส่วนๆค่ะ คราวนี้ก็จะงงกันอีกว่าส่วนยังไง ส่วนไหน กับส่วนไหน แนนจะอธิบายให้ฟังนะค่ะว่าแบ่งเป็นส่วนมันคืออะไร พวกเราคงจะคุ้นเลยกับคำพูดที่ว่า watashi wa ที่แปลว่าตัวฉัน หรือฉัน จนเพื่อนๆบางคนเนี่ยคิดว่ามันแปลว่าอย่างนั้นจริงๆ(อ้าวแล้วมันไม่ได้แปลว่าฉันหรือไง) ที่จริงแล้วคำที่แปลว่าฉันจริงๆคือ watashi ไม่ใช่ watashi wa อ้าวแล้ว wa มาจากไหนล่ะเนี่ย แนนจะอธิบายให้ว่า wa มันคือคำช่วยค่ะ มันมีหน้าที่แสดงหัวข้อเรื่อง บอกเน้นว่าหัวเรื่องที่พูดถึงคืออะไร อย่างคำว่า watashi wa เนี่ยก็จะแปลว่าสำหรับตัวฉันนะ หรือเรื่องของฉัน หรือตัวฉันนะ คือบอกให้เรารู้ว่า เรื่องที่ฉันกำลังจะพูดต่อไปนี้เป็นเรื่องของฉันเองนะ ไม่ใช่ของชาวบ้านชาวช่องที่ไหนที่ฉันจะเอามานินทา และนี่ก็คือส่วนหนึ่งของประโยคหรือส่วนของประโยคที่แนนบอกยังไงค่ะ เพราะว่าในประโยคหนึ่งเนี่ย มันจะมีส่วนที่แสดงหัวข้อ แสดงกรรม แสดงกริยา แสดงประธานอะไรแบบนี้ แต่ในภาษาอังกฤษมันคงจะไม่มานั่งแบ่งประโยคของมันเป็น I คำหนึ่ง watched คำหนึ่ง TV คำหนึ่ง กว่ามันจะแบ่งเสร็จแล้วคงจะไปเกิดใหม่แล้วล่ะ มันก็แบ่งแค่ว่า I was watched TV เป็นประโยคย่อยส่วนหนึ่ง I was talking on the phone เป็นส่วนหนึ่ง แล้วมีคำสันธานเชื่อม
มาเข้าเรื่องของเราต่อกันนะค่ะ จากที่เรารู้กันแล้วว่าในภาษาญี่ปุ่นเนี่ย ในหนึ่งประโยคมันจะแบ่งเป็น ส่วนของประโยคหลายๆส่วน หรือ bunsetsu มันจะไม่จำกัดจำนวนของ bunsetsu(ขอใช้ทับศัพท์ของคำว่าส่วนของประโยคในภาษาญี่ปุ่นนะค่ะ จะได้คุ้นๆกัน) ใครอยากจะพูดยาวเป็นวาเป็นกิโลก็พูดมา แต่คนฟังๆจะฟังหรือเปล่าก็อีกเรื่อง หรือใครจะพูดสั้นแค่สองศอกก็พูดมา แต่คนฟังจะเข้าใจหรือเปล่าก็ไม่ทราบด้วยนะค่ะ แล้วในส่วนของประโยค bunsetsu เนี่ย มันจะประกอบด้วยคำอิสระ และคำห้อยตาม อย่างเมื่อกี้ที่แนนยกตัวอย่างคือ watashi wa นั้น watashi คือคำอิสระ มันสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง ส่วน wa คือคำห้อยตาม เพราะมันต้องตามท้ายตามตูดของคำอิสระเพื่อบอกหน้าที่ของคำอิสระนั้นในประโยค
ใน 1 bunsetsu(ส่วนของประโยค) จะมีคำอิสระได้แค่คำเดียว ส่วนคำห้อยตามอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ แล้วก็หากมีคำห้อยตามเนี่ยมันก็ตามได้มากกว่า 1 ตัวนะ แต่ไม่เกิน 3 ตัวใน 1 bunsetsu
ต่อแนนจะอธิบายย่อยลงมาอีกถึงคำอิสระและคำห้อยตามนะค่ะ
คำอิสระ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆก็คือ 1. คำที่อิสระที่ผันได้ yoogen 2.คำอิสระที่ผันไม่ได้ taigen
คำอิสระที่ผันได้คืออะไร มันก็คือคำอิสระที่ผันเปลี่ยนรูปได้เพื่อใช้เป็นภาคแสดงในประโยค ภาคแสดงก็คือส่วนที่บอกว่าทำอะไร ยังไงนะค่ะเพื่อนๆ อย่าไปนึกว่ามันคือภาคประธาน ซึ่งคำอิสระที่ผันได้เนี่ยจะไม่มีคำห้อยตามมาต่อท้าย หรือมาช่วยเหลือเพื่อบอกหน้าที่เพราะมันสามารถบอกด้วยตัวมันเองได้อยู่แล้ว คำในประเภทนี้ได้แก่
1.คำกริยา เมื่อเปิดพจนานุกรมมักลงท้ายด้วย -u -ru
2.คำคุณศัพท์ " -i
3.คำคุณกริยา " -da
ส่วนคำอิสระที่ผันไม่ได้ คือมันไม่มีการเปลี่ยนรูป แบ่งย่อยได้เป็น 2 ประเภท
1.ใช้เป็นภาคประธานได้ เพราะเมื่ออันที่แล้วมันใช้เป็นภาคแสดงที่บอกว่าทำอะไร ยังไง แต่ในส่วนนี้มันจะบอกว่าใครเป็นคนทำ คำที่ใช้เป็นประธานได้ก็อย่างที่เราคุ้นเคยกันคือคำนาม คำสรรพนาม และอีกอันหนึ่งคือจำนวนนับตัวเลข 1 2 3 นั่นแหละค่ะ
2.ส่วนที่ใช้เป็นประธานไม่ได้ ก็อย่างที่ชื่อมันบอกแหละค่ะ มันเป็นประธานของประโยคไม่ได้ แต่ก็ใช่ว่ามันจะไร้ประโยชน์นะค่ะ มันสามารถแยกการใช้ประโยชน์ได้เป็น 2 ทางดังนี้
ส่วนแรกคือใช้เป็นบทขยายได้ ในส่วนนี้มันจะแบ่งเป็นสองส่วนคือ เอาไปขยายตัวไหนระหว่างขยายคำอิสระที่ผันได้ 3 ตัวนั้น หรือ ใช้ขยายคำอิสระที่ผันไม่ได้แต่ใช้เป็นภาคแสดงได้
ถ้ามันใช้ขยายคำอิสระที่ผันได้ คำในพวกนี้ก็คือ คำกริยาวิเศษณ์
ถ้ามันใช้ขยายคำอิสระที่ผันไม่ได้ ก็คือคำที่ใช้ขยายคำนาม
ส่วนที่สองคือมันใช้เป็นบทขยายไม่ได้ อันได้แก่ คำสันธาน กับคำอุทาน
คำสันธานเนี่ยก็อย่างที่เรารู้ๆกันนะค่ะว่ามันใช้เชื่อมต่อกันประโยคอื่น เพราะฉะนั้นบางทีอาจจะเรียกมันว่าคำที่เชื่อมต่อได้ หรือติดต่อได้
ส่วนคำอุทานเนี่ย มันอยู่โดดๆ ในประโยคค่ะ เพราะการอุทานของคนเราเนี่ย ไม่ใช่ว่าเราจะกำหนดได้ว่าจะอุทานตอนไหน อยู่ดีๆมันก็อุทานขึ้นมาถ้าเกิดมีอะไรให้ตกใจ เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นคำไม่เชื่อมต่อ
คราวนี้มาดูคำห้อยตามกันบ้างนะค่ะว่ามีอะไรบ้าง คำห้อยตามเนี่ยก็แบ่งเป็นสองอย่างได้เหมือนกับคำอิสระและค่ะ แต่มันไม่แตกยิบย่อยเยอะขนาดนั้น คำห้อยตามแบ่งได้เป็นคำห้อยตามที่ผันได้ อันได้แก่คำกริยานุเคราะห์
และคำห้อยตามที่ผันไม่ได้ซึ่งก็คือคำช่วย
จบแล้วคร้า เป็นยังไงกันบ้างค่ะทุกคน อ่านแล้วอย่าลืมไปจัดระเบียบความรู้ของตัวเองนะค่ะ ถ้าเราคิดมาเป็นภาพได้เนี่ยแสดงว่าเราเข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือถ้าเราเขียนอธิบายให้ตัวเองได้ว่าทำไมเนี่ย ก็แสดงว่าเราเข้าใจแล้วค่ะ แต่ถ้ายังเขียนให้ตัวเองเข้าใจไม่ได้ด้วยภาษาของตัวเอง ก็คงต้องขอบอกว่าคุณยังไม่เข้าใจดีพอ แล้วก็ถ้าไม่เข้าใจตรงไหนช่วยบอกด้วยนะค่ะ แต่บางคนเนี่ยยังไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีเรื่องไม่เข้าใจตรงไหน รู้แต่ว่าตอนนี้งงอะ แค่คุณอยากรู้แค่ว่าทำไมเรื่องราวต่างๆถึงต้องเป็นแบบนี้หรือแบบนั้น ทำไมไม่ใช่แบบที่เราคิด นั่นคือคำถามค่ะ อย่าได้ปล่อยคำถามเล็กๆน้อยๆแบบนี้ทิ้งไปนะค่ะ เพราะมันจะช่วยให้เราเข้าใจมันได้ดีขึ้น การยอมรับสิ่งใดด้วยความเข้าใจมันดีกว่าการยอมรับด้วยการถูกบังคับหรือถูกฝังหัวมาว่าต้องจำว่าเป็นแบบนั้นแบบนี้นะค่ะ
ขอสรุปปิดท้ายด้วยแผนผังความคิดที่แนนวาดเองนะค่ะ ใหญ่หรือเล็กไป กลับหัวมากเกินไปต้องหมุนคออ่านหรือยังไงบอกได้นะค่ะ ติดต่อเป็นการส่วนตัวได้ค่ะ เข้าไปดูได้ที่แกลลอรี่รูปของมายไอดีนะค่ะ แนนเก็บไว้ตรงนั้น
ความคิดเห็น