ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    japanese club ชุมนุมภาษาญี่ปุ่น

    ลำดับตอนที่ #15 : (ว) sumimasen

    • อัปเดตล่าสุด 19 มิ.ย. 53


    เพื่อเป็นการขอโทษที่เอาเรื่องที่อยากเรียนมาให้อ่านไม่ได้ ก็เลยเอาเรื่องคำขอโทษมาให้อ่านแก้ขัดไปก่อน เอาเป็นว่าช่วยรับคำขอโทษจากใจของเราไปด้วยน้า (อุแหวะ พูดเองอ้วกเอง ไม่มีตัวแสดงแทนใดๆทั้งสิ้น)
    วันนี้พี่จะพูดถึงคำว่า sumimasen ซึ่งน้องๆอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว เพราะว่าคนญี่ปุ่นชอบใช้คำนี้กันซะเหลือเกิน วันนี้เราก็จะมาดูกันว่า ไอ้เจ้าsumimasen เนี่ย เขาใช้ในกรณีไหนกันบ้าง ไปดูคำอธิบายของอาจารย์ปรียากันดีกว่า

    ===================

    เรื่องคำทักทายเป็นเรื่องใหญ่ในสังคมญี่ปุ่น ใครที่ไม่รู้จักทักทายหรือทักทาย ไม่เป็น หรือไม่ถูกต้อง คนญี่ปุ่นจะถือว่า คนๆนั้น อนาคตคงจะไม่ค่อยสดใสแน่

    Sumimasen すみません และ gomen nasaiごめんなさい

        Sumimasen すみませんเป็นคำขอโทษที่คนญีุ่ปุ่นใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น เด็กอาจจะพูดว่า Sumimasen すみませんกับพ่อแม่ หรือไม่ก็อาจจะพูด Sumimasen すみませんเมื่อมีคนให้ที่นั่งในรถบัส หรือในรถไฟ

      ในภาษาญี่ปุ่น Sumimasen すみません ใช้ได้หลายโอกาส และหลายความหมาย แต่คนญี่ปุ่นมักจะใช้ ซุ
      Sumimasen すみませんเป็นคำทักทาย โดยที่ไม่ได้คำนึงความหมายที่แท้จริงดั้งเดิมของมันเลยเวลาที่พูด จนกระทั่งความหมายที่แท้จริงดั้งเดิมของมันที่มีอยู่หดหายไป เช่น


    1) Sumimasen ocha o kudasai.
        すみませんお茶(ちゃ)をください。
          โทษนะคะ (ขอน้ำชาหน่อยค่ะ)

    2) Sumimasen すみません ยังใช้เป็นสำนวนกล่าวขอบคุณที่คนญี่่ปุ่นนิยมใช้มากกว่า arigatoo (ขอบใจ) (มิซึตะนิ 1977: 105)

    3) Sumimasen すみません ยังใช้เป็น คำขอโทษเมื่อทำอะไรไม่ดี หรือไม่ถูกต้อง

      ความหมายอันแรกของ Sumimasen すみません จะคล้ายกับ excuse me ในภาษาอังกฤษ เช่น เมื่อเวลาที่่อยากจะถามทางใคร อาจจะพูดว่า

       Sumimasen kedo eki wa dochira desu ka.
      すみませんけど駅(えき)はどちらですか。
       (โทษนะคะ สถานีรถไฟอยู่ทางไหนคะ)

       หรือ อาจจะใช้ Sumimasen すみませんเป็นการเรียกความสนใจอีกฝ่ายก็ได้
    เช่น เวลาเดินผ่าน หรือต้องเดินเข้าไปในทางที่ใครกำลังยืนอยู่ หรือคุยอยู่ ผู้พูดอาจจะพูดว่า Sumimasen すみませんก็ได้

        Sumimasen すみませんยังใช้เป็นคำกล่าวขอโทษที่สุภาพในกรณีที่ทำอะไรผิดพลาด เพื่อเน้นการแสดงออกถึงความมีมารยาท แม้ว่าผู้พูดจะไม่ได้ทำผิดก็ตาม

    ใน nihongo no tokushitsu 日本語の特質 (ลักษณะพิเศษของภาษาญี่ปุ่น) kinda ichi  金田一 กล่้าวว่า โดยทั่วไปคนญี่ปุ่นมีความรู้สึกที่ค่อนข้างดีและค่อนข้างให้คุณค่ามากกับการกล่าวขอโทษฝ่ายตรงข้ามไว้ก่อนดีกว่า แม้ว่าผู้พูดจะไม่ได้ทำผิดก็ตาkinda ichi  金田一ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนเกี่ยวกับควา่มคิดนี้ในเรื่อง tarachi ne ซึ่งคัดมาจาก rakugo
    (เรื่องขำขัน)


      โดยที่มีเรื่องเล่าว่า hatchan  はっちゃんและสาวใช้ชื่้อ tsuru 鶴(つる) ซึ่งต่อมาเป็นภรรยาของ hatchan   はっちゃん ตอนเช้าวันรุ่งขึ้นหลังจากวันแต่งงาน tsuru 鶴(つる) ไปหาสามีเพื่อกล่าวทักทายฝากเนื้อฝากตัว แต่เนื่องจาก tsuru 鶴(つる)ใช้สำนวนที่ยาก ทำให้ hatchan   はっちゃんไม่เข้าใจและเดาไม่ออก
    hatchan はっちゃんก็เลยไม่รู้ว่าจะตอบ
    tsuru 鶴(つる)ภรรยาว่ายังไงดี

       hatchan  はっちゃん ก็เลยพูดกับ
    tsuru 鶴(つる) ภรรยาว่า

      ee nanda ka shiranee ga oki ni sawaru koto ga attara gokannben   
      negaimasu.
       ええ、なんだかお気(き)にさわることがあったらご
      勘(かん)弁(べん)ねがいします。
      (เออ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คุณจะบอกอะไร แต่ถ้าเกิดผมทำอะไรที่ทำให้คุณ(ทซึรุ) โกรธละก็ ยกโทษให้ผมด้วยแล้วกัน)

       จากตัวอย่างนี้ แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าฝ่ายผู้พูดจะไม่รู้สึกว่าตัวเองทำอะไรผิดก็ตาม แต่ก็รู้สึกว่า ขอโทษไว้ก่อนปลอดภัยและดีที่สุด (คินดะอิทซิ 1981: 243)

      ในอีกกรณีหนึ่งเกี่ยวกับวิธีการใช้ Sumimasen すみません ที่เห็นได้ชัดก็คือ กรณีอุบัติเหตุรถชนกัน ถ้าเผอิญเป็นคดีที่เกิดขึ้นโดยทั้งสองฝ่าย ไม่ว่่าใครจะผิดหรือถูกก็ตาม ก็จะใช้ Sumimasen すみません
       
      กล่าวกันว่า เป็นมารยาททางสังคมอันหนึ่งที่คนญี่ปุ่นจะต้องขอโทษด้วยการกล่าวว่า  
       doomo sumimasen
      どうもすみませんでした。
      (ผมต้องขอโทษเป็นอย่างยิ่ง)
      คำพูดที่ว่านี้ ไม่ได้เป็นการกล่าวยอมรับว่าผู้พูดเห็นคนผิด

      แต่ชาวญี่ปุ่นจะใช้โดยไม่คิดมากอะไร เพราะถือว่านั่นเป็นเพียงการกล่าวขอโทษที่ไม่แตกต่างอะไรกับ คำทักทาย หรือ aisatsu あいさつ
           kinda ichi  金田一กล่้าวอ้างต่อไปว่า คนญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะ ใช้คำขอโทษมากกว่าคำขอบคุณ (คินดะอิทซิ 1981: 242)
      

       ดังนั้น จึงมีบ่อยครั้งที่คนญี่่ปุ่นจะใช้ Sumimasen すみません แทนคำว่า arigatoo ありがとう (ขอบใจ) เวลาที่ต้องการที่จะกล่าวขอบคุณอีกฝ่ายหนึ่ง ใน ‘mainichi no kotoba’ 「毎日の言葉」(คำพูดในชีวิตประจำวัน) yanagida  柳田 (1946: 14) กล่าวว่าตัวอักษรจีนของคำว่า sumu อาจจะเขียนด้วย澄 ()

       ทั้งนี้เพราะในภาษาญี่ปุ่นมีสำนวน เช่น kokoro ga sumu 心(こころ)が澄 () む。(จิตใจปลอดโปร่ง) หรื気(き)が澄 ()
    (จิตใจสบายสบาย) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพที่เงียบสงบแห่งจิตใจ


        ดังนั้น ความหมายดั้งเดิมของ Sumimasen すみません ก็คือ
          anata ni kono yoo na koto o shite itadai ite wa watashi no kokoro ga
          yasuraka dewa arimasenn.
         あなたにこのようなことをしていただいては わたしのこころが
      やすらかではありません。
      (คุณทำอะไรต่างๆมากมายให้ดิฉัน ทำให้ดิฉันรู้สึกไม่ค่อยจะสบายใจ 
      (เพราะรบกวนคุณมากเกินไป)

    =============================
    เป็นยังไงกันบ้างค่ะทุกคน คราวนี้คงจะเริ่มเข้าใจกันบ้างแล้วว่าsumimasen เขาใช้ในกรณีไหน เพราะว่าในภาษาญี่ปุ่นจะมีคำขอโทษและคำขอบคุณมากมาย เราจำเป็นต้องใช้ให้ถูกกาลเทศะ ถึงแม้บางคนจะบอกว่าคุยกับเพื่อนไม่เป็นไรหรอก เราสนิทกัน แต่สำหรับเราซึ่งเป็นคนต่างชาติแล้วเนี่ย กว่าจะมีเพื่อนที่สนิทที่ญี่ปุ่นเราจะทำยังไงล่ะค่ะ แล้วก็นอกจากเพื่อนแล้ว เรายังต้องเจอคนอีกมากหน้าหลายตา การรู้จักใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสมจะทำให้เราสามารถเข้ากับสังคมอื่นได้ด้วยนะค่ะเพื่อนๆ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×