ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    japanese club ชุมนุมภาษาญี่ปุ่น

    ลำดับตอนที่ #10 : (อ) kanji คันจิ๊ เห็นแล้วอยากร้องไห้ TToTT

    • อัปเดตล่าสุด 15 มิ.ย. 53


    พอดีว่าพี่เห็นว่าในชุมนุมเรามีคนที่เคยเรียนภาษาจีนมาแล้ว แล้วก็คัดตัวคันจิได้ด้วย พี่ก็เลยคิดว่าถ้าจะเอาคันจิมาสอดแทรกด้วยจะดีไหม แต่ไม่ทันได้คิดใคร่ครสญดีพี่ก็เอามาใส่แล้ว (แล้วจะคิดทำไมแว๊)
    แต่ว่าๆ บทนี้พี่อยากให้ทุกคนรู้ซึ้งถึงความสำคัญของคำว่าคันจิซะก่อน ถ้าจะถามว่าคันจิสำคัญขนาดไหน พี่ขอบอกว่ามันเป็นสิ่งที่กลมกลืนกับภาษาญี่ปุ่นเลยล่ะ ถ้าเรียนคันจิไม่ได้ คุณก็เขียนภาษาญี่ปุ่นไม่เก่งสักที ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเด็กญี่ปุ่นจะไม่นิยมใช้คันจิ แต่ก็อย่าลืมว่ามันก็ยังมีใช้ ชื่อร้านรวงต่างๆมากมายยังคงเป็นตัวคันจิ ชื่อคนญี่ปุ่นก็ยังเป็นคันจิ นี่แค่เบื้องต้นทุกคนคงเห็นแล้วว่ามันเป็นส่วนหนึ่งที่เราต้องเรียนแล้วก็สำคัญมาก ไม่งั้นเราก็จะฝึกทักษะไม่ครบ
    สำหรับน้องๆที่ยังไม่เคยเรียนก็จะมีคำถามตามมาอีกว่ามันยากไหมพี่ ทำไมพี่ถึงบ่นๆกันจัง
    พี่ขอตอบจากใจจริงว่าไม่ยาก อาจจะมีเพื่อนๆบางคนที่มองว่ามันยาก แต่จริงๆแล้วมันไม่ยาก เราต้องสนุกกับมัน ไม่ต้องไปเครียด สำหรับคนที่ยังไม่เคยสัมผัสกับมันถือว่าน้องโชคดีเพราะน้องยังไม่มีทัศนคติที่เลวร้ายกับมัน น้องยังไม่โดนปลูกฝัง ที่จริงคันจิไม่ใช่อะไรที่ยากเลย แต่เพราะคำว่าทัศนคติ กับสิ่งที่โดนปลุกฝังมานั่นล่ะ ถึงทำให้เราทุกคนเอ่ยปากว่ามัน(อาจจะ)ยาก เพราะฉะนั้นต่อจากนี้ใครมาขู่ว่า โอ๊ยคันจิหรอ ยากๆวะ เรียนแล้วระวังตัวให้ดี น้องก็ยืดอกพกถุงเอ้ยไม่ใช่ ยืดอกตอบไปเลยว่าเนี่ยเรียนอยู่ไม่เห็นจะยากตรงไหน ข่มมันไปเลยค่ะ ก๊ากกก 5555 (พี่ล้อเล่นนนะ อย่าเอาไปใช้จริงเดี๋ยวพี่จะโดนหางเลขวะฮ่ะฮ่าๆๆ)
    เอาล่ะมาดูวิธีหัดคัดคันจิให้มันไม่น่าเบื่อกันเถอะ

     อาจารย์ไปเจอบทความเมื่อสองปีที่แล้วที่มีเด็กวัดเขียนมาถาม เกี่ยวกับการหัดเขียน หัดคัดคันจิ ก็เลยเอามาให้เด็กวัดน้อยๆ ที่คิดไม่อยากสู้กับคันจิ ให้อ่านแล้วให้คิดว่า คันจิเป็นเพื่อนที่ดีอีกคนของเรา ไม่มีคันจิก็ไม่รู้นิทานที่อาจารย์เล่านะคะ

         วิธีการหัดเขียนคันจิแบบที่อาจารย์คิดว่า น่าจะสนุกกว่าเขียนบนอากาศแบบสมัยอาจารย์ หรือไม่ก็ต้องทรมานนับเส้นแล้วก็คัดๆๆๆๆๆ

    1) ขอให้รักษากฏการเขียนลำดับของตัวคันจิ
    ถ้าฝ่าฝืนกฏเขียนจากขวาไปซ้าย หรือเขียนแบบที่ตัวเองเขียน อาจารย์ดูทีก็รู้ค่ะและใช้ไม่ได้


             ***กฎที่ต้องปฎิบัติ  ต้องเขียนเริ่มจาก a) ทางซ้ายไปทางขวาเสมอ
    b) จากข้างบนมาข้่างล่าง


      เพียงขอให้จำกฎการเขียนลำดับนี้ไว้ก่อนนะคะแล้วตอนหลังค่อยเล่าเพิ่มเติม

    2) อาจารย์จะเรียกชื่อ ของส่วนทั้งหมด214 ส่วน ทีมีอยู่ จากความหมายของมันไม่ต้องเสียเวลาจำชื่อภาษาญี่ปุ่นแต่จำว่า เห็นหน้าตานี้ละก็บอกความหมายอะไร เช่น เกี่ยวกับ ไฟ ภูเขา ดิน เป็นต้น

    3) หากระดาษเปล่า มาพับเป็นสี่เหลี่ยม ไม่ต้องเล็กมาก และไม่ต้องใหญ่มาก    ถ้่า A 4 หรือ A5 ก็ได้ พับสองพับ แล้วตัดออกมาทำไว้เป็นตั้ง

    4) ใช้ลูกลื่นก็ได้ หรือ ดินสอสีดำๆ B จะดีกว่า

    5) ดูจากในหนังสือไม่ต้องซื้อมาเยอะนะคะ ก่อนซื้อดูว่า มีเนื้อหา สมควรจะซื้อหรือเปล่้า ไม่ต้องไปสนใจ ที่ในหนังสือที่ให้เราคัด เพราะเราจะเบื่อ และเรียนไม่ได้ เห็นมาเยอะ

    6) พออาจารย์สอนเด็กวัดได้คันจิตัวไหน พอจำเนื้อเรื่องนิทานได้แล้วค่อยไปดูจากในหนังสือคันจิ

    7) แล้วก็นั่งตัวตรง วางกระดาษให้ตรง และถือปากกาเหมือนถือพู่กัน คือให้ตั้งตรง แทนที่จะเอียง หายใจลึกๆ ก่อนที่จะเข้าสู่โลกใหม่ของกระดาษที่เราตัดมา จะได้หัดเขียน

    8) พอเริ่มเขียน จะต้องนับออกเสียงให้ตัวเองรู้เพื่อจะได้มีท่วงทำนอง เช่น อิทซิ นิ ซัง ชิ หรือ 1, 2, 3 เหมือนเราเต้นแอโรบิก (ผ่านมาแล้วทั้งนั้น เพราะทดลองกับตัวเองมาแล้ว ก่อนเอาไปสอนนักเรียน)

    8) อย่าพยายามว่าจะต้องให้สวยตั้งแต่แรก แต่ขอให้ดูว่า เริ่มเขียนจากไหน ยังไงก่อน

    9) ขอให้เิริ่มเขียน พอเขียนผิด อย่าลบ ไม่ต้องลบ ทิ้งไว้ข้างๆเรา ใช้กระดาษใหม่หัดเขียนต่อไปหลายๆครั้ง จนจำได้

    10) ฝึกเขียนคันจิตัวที่ฝึกกับกระดาษใหม่เอง อย่างน้อยเขียนสักสิบครั้งดู โดยไม่ดูหนังสือ

    11) ถ้าตัวคันจิที่เขียนยังรูปร่างไม่สวย หรือยังบิดเบี้ยว ก็ใช้วิจารณญาณตัวเองว่าทำยังไงจึงจะเขียนให้คันจิ ตัวนี้อยู่ในกระดาษสี่เหลี่ยมนี้ อย่างสมดุลย์

    11) เขียนตัวให้ใหญ่เข้ากับกระดาษสีีเหลี่ยม ไม่หัดเขียนคันจิตัวเล็กๆ

    12) จะรู้สึกสนุก ไม่ต้องสนใจว่า เขียนผิด เพราะเรายังไม่ชิน เขียนผิดก็เขียนใหม่ แต่ขอให้ตั้งสมาธิก่อนเขียนนะคะ

    13) ค่อยๆเขียนคันจิให้อยู่ในกระดาษสี่เหลี่ยม ให้ตัวคันจิ ตระหง่านสวยงามตรงกลาง ไม่ใช่ไปชิดขวาหรือ ซ้าย หรือชิดบน หรือ ล่าง

         แรกๆไม่ชิน ดูแล้ว ไม่เข้าท่า ก็เขียนใหม่ว่าคราวนี้จะต้องปรับไปขวาหรือซ้าย สนุกดีได้ใช้หัวสมอง

    14) พอจำได้แล้ว เขียนตัวคันจินั้นๆ ให้สวยที่สุด แล้วขั้นต่อไปเอาไปเขียนใส่สมุดของเราเอง หรือตัดกระดาษที่ยังไม่ได้ใช้ มาใช้ก็ได้ เพราะจะได้ใช้สองด้านต่อไป เพราะต้องการให้ใช้แยกหน้าและหลัง

          แล้วเก็บไว้เป็นผลงานด้านศิลป์ของตัวเอง ประจำวัน
          ขอให้ เขียนคำอ่านไว้ข้างๆทางขวามือตัวคันจิ เช่น ก็เขียน つき

    ส่วนความหมาย ที่แปลว่า
    พระจันทร์ ตลอดจนคำอ่าน เขียนไว้ด้านหลังกระดาษ  หรืออีกด้าน ไม่เขียนด้านเดียวกัน เพราะจะดูทำให้เขียนไม่ได้


       ข้างบนแยกเขียนเป็นที่สำหรับ อ่านแบบคุง เสียงอ่านญี่ปุ่น
       ส่วนข้างล่าง เป็นการ อ่านแบบเสียง อง เสียงอ่านแบบภาษาจีน

       ที่ไม่ให้ใส่ในหน้าเดียวกัน เพราะเราจะไม่รู้ว่า เราอ่านแล้วจำความหมายได้หรือเปล่า

    เอาทีละขั้นก่อน
       สิ่งที่ได้คือ ความดีใจ และภูมิใจว่า เราเขียนคันจิ ฝีมือเราในกระดาษได้แล้ว

        เวลาเรียนคันจิ เอาที่อาจารย์สอนนี้ไว้ข้างๆ แล้วพยายามลองทำดู
       ใครมีอะไรที่เพิ่มเติมคิดว่าดีกว่า หรือ น่าจะมี เขียนมา เราจะได้ใช้เป็นคู่มือคันจิในโรงเรียนเด็กวัดปรียา

       เด็กวัดที่เข้ามาเรียนจะได้เรียนวิธีการเขียนคันจิ จะได้เรียนรู้ไปเลย ไม่ต้องเรียนแบบท่องจำ แบบไม่สร้างสรรค์  เรียนแบบสนุก คันจิสนุกจริงๆ

       ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า โชะโด 書道(しょどう)แปลความหมายตามตัวอักษรก็คือ ถนนแห่งการเขียน คือ เขียนอย่างมีศิลป์ หรือ calligraphy

    สิ่งที่อยากจะบอกเด็กวัด

         อาจารย์เรียนคันจิ และตัวฮิระคะนะมาหลายปี รู้ว่าเขียนไม่สวยเลย แต่ไม่มีอาจารย์ญี่ปุ่นคนไหน มาสอนหรือแก้ให้ เพราะถ้าผู้สอนเองเขียนไม่สวย ก็คงไปแก้ให้คนอื่นไม่ได้

         อาจารย์เคยเรียน ชวเลขมีศิลปินเกร็กมังคะจำไม่ได้ ตอนมัธยมฟรีจากมาสเตอร์โรงเรียนอัสสัมชัญชา่ย มาสอนให้ตอนพักเที่ยงฟรี

        อาจารย์เรียนชวเลขและเรียนคัดชวเลข อาจารย์ยังสอบผ่านได้ใบประกาศมา เพราะชอบมาก อาจารย์ยังเรียนโรงเรียนคาทอลิก ต้องหัดคัดก่อนเขียนทุกครั้งก็เลยยิ่งชอบ

         ไปญี่ปุ่นตามที่บอกเมื่ออาจารย์ญี่ปุ่นไม่สอนเราเขียน เราก็เรียนเอง

        อาจารย์เรียนทางไปรษณีย์ คล้ายเว็บนี่แหละ ทำการบ้านส่งให้อาจารย์ทางด้านการเขียนตรวจ ใช้เวลา หนึ่งปี วันละ 15 นาที

        อาจารย์จะเขียนและหัดคัดส่งไปให้อาจารย์ ซึ่งไม่เคยเห็นหน้า แต่จะตรวจและแก้ ถ้าเขียนไม่ดีก็ต้องส่งใหม่ และได้ใบประกาศนียบัตรมาสิบใบมังคะ อาจารย์มีวุฒิที่จะสอนให้เขียนได้ แต่ถ้าอยากได้ใบรับรองเป็นอาจารย์ต้องเสียเงิน อาจารย์ไม่สนใจเรื่องว่าได้ใบอะไรนะคะ โทษที ใบปริญญาตรี โท เอก ยังไม่เคยติดโชว์เลย

        แต่เก็บใบปริญญาไว้อย่างดี เพราะต้องใช้เวลาสมัครงาน จึงอยากให้เด็กวัด สนุกกับการเขียนคันจิ เพราะเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เรียนกันให้สนุก ไม่ใช่เรียนแบบท่องจำ ทรมานเรียนนะคะ



    พอรู้เคล็ดลับแล้วก็อย่าลืมเอาไปฝึกกันนะจ๊ะ
    ขอบพระคุณที่มาจาก
    http://www.japaneseisfun.com/bbs/viewthread.php?tid=500&extra=page%3D1%26amp%
    3Borderby%3Ddateline
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×