ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    japanese club ชุมนุมภาษาญี่ปุ่น

    ลำดับตอนที่ #7 : (ก) อึ้น อึน อึน ออกเสียงตัว ん ยังไงไม่ให้ อึน

    • อัปเดตล่าสุด 15 มิ.ย. 53


    วันนี้เอาข้อมูลมาจากเว็บที่แนนเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่เลย ก็ขอเอาที่อาจารย์ตอบคำถามไว้มาให้เพื่อนๆอ่านเลยล่ะกัน ที่แนนเอามาจะเป็นคำพูดของอาจารย์ทั้งหมดนะค่ะ เพราะฉะนั้นเชื่อถือได้ว่าถูกต้องแน่นอนค่ะ 5555


    อาจารย์ครับ  ทำไมตัว ~ん ถึงออกเสียงได้เป็น แม่กม  แม่กน  และแม่กงครับ  ตำราส่วนใหญ่จะไม่ค่อยอธิบายเหตุผลทางภาษาศาสตร์ให้เข้าใจเท่าไรครับ   และทำไมเราถึงเรียกเสียงโฆษะว่าเสียงขุ่น (濁音)และเสียงในวรรค pa ว่าเสียงกึ่งขุ่น (半濁音)ครับ

    (ครูประจำชั้นปรียา) ขอตอบคำถามที่น่าสนใจ และน่าชื่นชมเด็กวัดที่ถามมา เพราะเราต้องสงสัยว่า ทำไมมันเป็นแบบนี้ไม่ใช่เอามาให้เราท่องจำ เป็นอาหารสำเร็จรูปทุกที โดยไม่รู้ว่า เขาใส่อะไรในอาหารให้เรากิน

    เช่น ทำไมตัว
    ~ん ถึงออกเสียงได้เป็น แม่กม  แม่กน  และแม่กงครับ  ถ้าคอมพิวเตอร์น้อยๆ หรือสมองอาจารย์จำไม่ผิด  มีเด็กวัดถามมาแล้วก่อนหน้านี้ และอาจารย์ก็ตอบไปแล้ว


         แต่ตอนนั้น อาจารย์พยายามตอบให้เข้าใจคร่าวๆ แต่ก็ยังติดใจอยู่ เพราะการบ้านที่จะต้องตอบมีเยอะ

       วันนี้ขอรวบรวมจากที่อาจารย์เขียนในหนังสือไวยากรณ์ญี่ปุ่นมาย่อยให้เข้าใจอีกครั้ง พร้อมกับของใหม่ๆ เทคนิคการจำแบบของอาจารย์ที่เพิ่งคิดได้ตอนที่กำลังเขียน เพราะอาจารย์ทำอะไร หรือเขียนอะไรซ้ำๆ เช่น เอาตัวอย่างจากในหนังสือที่อาจารย์เขีัยนไว้แล้ว คงง่ายดี แต่มันน่าเบื่อเดี่๋ยว เบี้ยวไม่ตอบเด็กวัดก็ได้ ก็เลยต้องคิดตัวอย่างใหม่ วิธีการจำแบบใหม่เอี่ยม
          
         ขอตอบเพียงหัวข้อเรื่องนี้ก่อนนะคะ เพราะมีงานต้องสะสางเรียงคิวอยู่ แล้วจะตอบ ขอให้ไปศึกษาก่อน แล้วมีอะไรค่อยเขียนมา ตอบให้แน่ไม่ต้องห่วงค่ะ
    เข้าใจ หรือไม่เข้าใจ เขียนมาบอกด้วยนะคะ อาจารย์จะได้มีเสียงกระทบ หลังจากที่นั่งรวบรวมให้



    วิชาที่ว่าด้วยสัทศาสตร์

    ในภาษาญี่ปุ่นคำว่า  องเซ 音(おん)声(せい)หรือ 音(おん)声(せい)(がく)คือ วิชา phonetics  ในภาษาอังกฤษ

       ส่วน องอิง 音韻おんいん)คือ วิชา phonemics หรือ phonology

    สระในภาษาญี่่ปุ่น แม้จะมีนักวิชาการถกเถียงกันว่า มี สระ 4 รูป, 8 รูป, และ 5 รูป

        ในที่สุดเราก็เรียนกันว่า สระญี่ปุ่น มี 5 รูป แต่จากหลักฐานที่อาจารย์เรียนและอ่าน อาจารย์คิดว่าเป็นไปได้ที่ว่า ในสมัยก่อน ภาษาญีุ่่ปุ่นน่าจะมีสระ 8 รูป จากหนังสือเก่าๆ และเอกสารเก่า แล้วเสียงสระที่ว่านี้ ก็วิวัฒนการมาเป็น 5 รูป คือ
         สระ a, i, u, e, o


    สระควบในภาษาไทย แต่ไม่มีสระควบในภาษาญี่ปุ่น

           ในภาษาญี่ปุ่นไม่มีสระควบเหมือนในภาษาไทย ขออธิบายให้ฟัง เพราะอาจารย์เขียนไวยากรณ์ไทย ให้ต่างชาติเรียนใน A Reference Grammar of Thai,’ Cambridge University Press.

          ดังนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่า ในภาษาไทยเป็นอย่างไรก่อนที่จะเข้าใจอีกภาษาหนึ่ง พูดง่ายๆ คือ ถ้าพื่นภาษาไทยไม่แน่น เรียนภาษาต่างประเทศยังไง ก็ไม่แน่นเหมือนกัน


       ในภาษาไทยเราจะมีสระควบ เช่น ปร ปล พร คล คร กว กล ขว เป็นต้น แต่
    ภาษาญี่ปุ่นไม่มีสระควบ ดังนั้น เมืื่อเห็นชื่อ ปรียา คนญี่่ปุ่นออกไม่ได้ จะต้องออกเป็น
    ぷりやあ เพราะภาษาญี่ปุ่นมีสระจำกัดเพียง 5 เสียง หรือ 5 รูป เท่านั้น และไม่มีสระควบ นี่คือคำตอบ ทำไม ปร กลาย เป็น ปุริ สองพยางค์ แทนที่จะเป็น
         ปร เีพียง 1 พยางค์

    (คำถามเด็กวัด)
    ทำไมตัว ~ん ถึงออกเสียงได้เป็น แม่กม  แม่กน  และแม่กง

    ขอแก้ความเข้าใจเด็กวัด หมี นะคะ ที่เขียนถามมา ไม่ถูกต้อง เพราะที่ถูกต้องคือ ทำไม
    เสียงพยัญชนะん จึงเปลี่ยนเ็ป็นเสียง m,n, ng ไม่ใช่ออกเสียงเป็น
    แม่กม แม่กน และแม่กง



      ในภาษาญี่ปุ่นจะเป็นพยางค์เปิด หรือ
    open syllable  เช่น ka, ,mu, ro, ki
        เป็นต้น แต่
    ถ้าเป็นพยัญชนะแม่ กก กด กบ

        ในภาษาญีุ่่ปุ่น จะเป็นเสียง หรือ เสียง ทซึเล็ก เช่น kitte คิดเตะ หรือ คิตเตะ (อาจารย์ใช้ ต เพราะต้องการให้รู้ว่าออกเสียงเหมือนกับ เตะ)


    เรื่องราวของพยัญชนะ ~ん 


    ขอให้จำไว้ว่้า พยัญชนะ ~ん ถือเป็น 1 พยางค์

        ตามที่เขียนไว้ข้างต้นแล้วว่า มีเด็กวัดถามมาแล้ว และอาจารย์จำไม่ค่้อยได้เพราะเรียนมานาน แต่ก็ต้องรวบเท่าที่จำได้ไปให้ไปแล้ว


      คราวนี้จะมารวบรวม เรียบเรียงใหม่ จากที่เรียนมาและจากในหนังสือ ไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น (ตำราคู่ใจ) ซึ่งมีทุกอย่างที่เราอยากรู้ แต่ก็ยากที่จะเข้าใจได้ ถ้าเราไม่มีพื้น

    ตามที่เด็กวัดบ่นมาประจำว่าเรียนไม่เข้าใจ ไม่ใช่หัวเราไม่ดีนะคะ เพราะมันไม่มีเหตุผล หัวสมองเราไม่ยอมรับ เราก็เลยไม่เข้าใจ

          อาจารย์ที่สอนเราส่วนใหญ่เขาไม่สนใจ และไม่คิดว่าเรื่องพวกนี้สำคัญ และเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ในการเรียนภาษาต่างประเทศ นักเรียนอยากจะเรียนต่อหรือไม่ อยู่ที่ตรงนี้ค่ะ

             มันยากที่จะเอาเรื่องยากมาทำให้เข้าใจง่าย สู้สั่งให้ไปท่องจำไม่ได้ ง่ายและไม่ต้องเสียเวลา ลวกๆดี นักเรียนทีชอบคิดจะไม่ชอบการเรียนแบบนี้ และดีใจที่เห็นมีนักเรียนที่รู้สึกสงสัย ต้องการคำตอบ อาจารย์ยินดีอย่างยิ่งที่จะนั่งเรียบเรียง ให้เราเข้าใจไปเลย เป็นของฝากจากอาจารย์ปรียาในเทะระโคะยะ นี้

           ใครที่เข้ามาเรียนในโรงเรียนนี้ จะำได้ความรู้เจาะลึก อะไรที่ตื้นๆ ใครๆเขาก็รู้กัน สำหรับอาจารย์มันไม่กระตุ้นสมอง และ ไม่สนุก เด็กวัดที่เห็นด้วยมีไหม อะไรง่ายๆ ใครๆก็เรียนได้ ทำได้ อาจารย์ไม่ชอบทำ ให้คนอื่นทำ เพราะน่าเบื่อ อะไรที่ืยากชอบทำ เพราะืท้าทายสมองดี

    กฎเกณฑ์ การใช้
    พยัญชนะ
    ~ん
       1)     พยัญชนะ ~ん ใช้ขึ้นต้นประโยคหรื่อคำในภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ เช่้น ไม่มีทางที่จะเห็นคำว่า いしหน้าคำใดๆ ในภาษาญี่ปุ่น

       แต่ในภาษาไทย เราใช้ได้สบายมาก เช่น เงิน งอ งาม งก เป็นต้น คนญี่ปุ่นจะออกเสียงพวกนี้ได้ยากเวลาสอนภาษาไทยให้เขา


    2)     เมื่อ พยัญชนะ ~んไปอยู่หน้าเสียง g
    (
    irl), k(ing) (อาจารย์เพิ่งคิดได้วันนี้ จะได้จำเป็นคำ และจำเสียงตัวหน้าได้ง่ายขึ้น), เสียง พยัญชนะ ~んจะเปลี่ยนเสียงเป็นเสียง
    ng
    หรือเสียง ง’
    เช่น

    ka+n+
    gae= ka+ ng +gae
    がえ 

    คั
    งะ เอะ (ความคิด )

    ka+n+
    koo= ka + ng +koo
    こう

    คั
    โค
    kangkoo
    (การท่องเที่ยว)



    3)     เมื่อ พยัญชนะ ~んไปอยู่หน้าเสียง b(ay), m(ay), p(ay) เสียง พยัญชนะ ~ん จะเปลี่ยนเป็น เสียง m หรือ ‘ม’
    เช่น

    shi+n+
    bun
    =
    shi +
    m+bun ぶん 
    ชิบุญ
    (หนังสือพิมพ์)


    se+n+mon+ka
    =se +
    m +mon+ka

    もんか

    เซ
    มงคะ
    (ผู้เชี่ยวชาญ)


    shi+n+pai
    =shi +
    m +pai
    ぱい

    ชิปะอิ
    (เป็นห่วง)


    4)     เมื่อ พยัญชนะ ~んไปอยู่หน้าเสียง d(og), n(ot), t(ot), r(ot), และ z(en) (จนใจมีน้อยคำ) เสียง พยัญชนะ ~んจะเปลี่ยนเป็นเสียง n
    เช่น
    se+n+den
    = se +
    n+den
    でん
    เซเดง
    (ประชาสัมพันธ์
    /เผยแพร่/กระจายข่าว



    a+n+
    nai
    =a+
    n+nai
    ない
    อั
    นะอิ
    (นำทาง)


    ka+n+
    tan= ka+n+tan
    たん
    คัตัน
    (ง่ายดาย)
    te+n+
    ran+kai=
    te+
    n+ran+kai
    らんかい
    เทรันคะอิ
    (งานนิทรรศการ)


    a+n+
    zen=
    a+
    n+zen
    ぜん
    อัเซน
    (ปลอดภัย)


      จบนิทานความเป็นมาของพยัญชนะ

        เป็นไงบ้างคะ สนุกไหม อย่าลืม แสดงความเห็นมานะคะ ถ้าไม่เข้าใจตรงไหน ถามมาได้เลย ไม่ต้องเกรงใจ


    ที่มาจ้า http://www.japaneseisfun.com/bbs/viewthread.php?tid=46&extra=page%3D3%26amp%3Borderby%3Ddateline

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×