ค่าเริ่มต้น
- เลื่อนอัตโนมัติ
- ฟอนต์ THSarabunNew
- ฟอนต์ Sarabun
- ฟอนต์ Mali
- ฟอนต์ Trirong
- ฟอนต์ Maitree
- ฟอนต์ Taviraj
- ฟอนต์ Kodchasan
- ฟอนต์ ChakraPetch
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : :: ประวัติ การพับกระดาษ ( ORIKAMI ) ::
การพับกระดาษ ( ORIKAMI )
Culture Paper ในยุคแห่งความเจริญด้วยเทคโนโลยี เช่น ปัจจุบัน กระดาษยังคงเป็นสิ่งจำเป็นในการถ่ายทอดวิทยาการ การสื่อสาร และกิจกรรมสร้างสรรค์ในงานศิลปะ งานวัฒนธรรมที่เรียกว่า Culture Paper เช่นใช้เป็นกระดาษเขียนภาพ เขียนโคลงกลอน บัตรอวยพร นามบัตร พัด ตุ๊กตา โคมไฟ ร่ม ประดิษฐ์ดอกไม้ กระดาษห่อของขวัญ ศิลปะกระดาษตัดแบบจีน รวมถึงการพับกระดาษโอริงามิ
การพับกระดาษแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหลากสีเป็นรูปทรงต่าง ๆ (โอริงามิ) เป็นการใช้เวลายามว่างที่นิยมกันมาก กระดาษเพียงแผ่นเดียว สามารถเปลี่ยนรูปทรงเป็น สุนัข นก และแม้กระทั่งลิงกอริลล่า มีประเพณีที่เมื่อบุคคลใดป่วยหนัก ญาติและเพื่อนฝูงจะพับนกกระเรียนกระดาษหนึ่งพันตัวเป็นการ สวดอวยพรให้คนป่วยฟื้นไข้และหายดี โอริงามิเริ่มเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ในความเป็นจริง มีสมาคมโอริงามิเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศต่าง ๆ ถึง 17 ประเทศ
โอริงามิ (ORIGAMI) เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลตรงตัวว่า การพับกระดาษ ได้มีการแปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก ต่อมาจึงแปล เป็นภาษาอื่นๆ อีก แต่ยังคงให้เกียรติเรียกทับศัพท์ว่า ออริกามิ ตามต้นฉบับที่สืบทอดมาจากวัฒนธรรมประเพณีอันเก่าแก่ของญี่ปุ่นในเรื่องการพับกระดาษ
ทุกวันนี้ชาวญี่ปุ่นมักจะผูกติดของที่ระลึกเล็กๆ ซึ่งพับจากกระดาษ เรียกว่า โนชิ ไปกับห่อของขวัญด้วย นั่นแสดงให้เห็นว่าประเพณีการพับกระดาษนี้ ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน การพับกระดาษเป็นของเล่นได้แพร่จากญี่ปุ่นสู่ยุโรปเมื่อประมาณ ค.ศ.1880 (พ.ศ.2423) โดยนักแสดงมายากลบนเวที และนักศึกษา ชาวญี่ปุ่นก็มีส่วนเผยแพร่วิธีพับนกกระเรียนกางปีก
ไม่มีรายการความคิดเห็น
นักอ่านสามารถกดให้กำลังใจหรือกดติดตามเรื่องนี้เพื่อสนับสนุนนักเขียนได้นะคะ