ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้รอบตัวสำหรับทุกคน

    ลำดับตอนที่ #8 : การพูด

    • อัปเดตล่าสุด 8 มี.ค. 50


    การพูด

    มีสติในการพูด ด้วยการนึกในใจก่อนแล้วจึงพูด หรือใช้สติปัญญากำกับขณะที่พูด

    ถ้าคิดก่อนที่จะพูดทุกครั้ง หรืออย่างน้อยรู้ตัวว่าตนเองกำลังพูดอะไร นั่นก็แสดงว่าการพูดแต่ละครั้งนั้นมีสติกำกับอยู่

    การพูดที่มีสติกำกับอยู่จะมีคุณค่า มีพลัง ลดความทุกข์ และลดปัญหาความขัดแย้งได้

    ก่อนอื่น ควรเห็นประโยชน์ก่อนว่าการคิดก่อนพูดหรือการมีสติในขณะที่พูดนั้นสำคัญ  ถ้าเห็นแล้วเข้าใจแล้วก็จะฝึกได้ง่ายครับ

    การพูดเล่นนี่จะต้องนึกถึงกาละเทศะ เพราะคำพูดนั้นอาจจะไปกระทบคุณค่าของผู้ฟัง ซึ่งอาจจะทำให้เขาเสียใจโดยไม่ตั้งใจได้

    หลายท่านคงจะมีวิธีหลากหลายที่จะฝึกสติกำกับการพูด ที่ผมจะเสนอมีสองวิธี ดังนี้ครับ

    วิธีที่หนึ่ง คิดก่อนพูด

    เมื่ออยู่ต่อหน้าคู่สนทนา ให้นึกเรื่องที่จะพูดในใจก่อนแล้วหยุดสักสามวินาทีแล้วจึงพูด  การนึกในใจอาจจะนึกชื่อเรื่องก็ได้  เช่น  นึกในใจว่า 'ฉันจะบอกเขาว่าฉันจะชวนเขาไปรับประทานอาหารนอกบ้าน' แล้วก็หยุดนิ่งสักสามวินาที จึงเอ่ยปากพูด "นี่คุณ วันนี้เราออกไปหาอะไรกินกันนอกบ้านดีไหม?"

    จังหวะที่นึกในใจและหยุดนิดหนึ่งนั่น จะเป็นช่วงที่สติเข้าตรวจสอบเรื่องที่จะพูด สติเปรียบเหมือนผู้ตรวจสอบ ตรวจกับประสบการณ์เก่าหรือการวิเคราะห์ข้อเสียของคู่สนทนา และตรวจด้วยหิริโอตตัปปะ ที่สำคัญควรฟังคำแนะนำของผู้ตรวจสอบด้วย ถ้าผู้ตรวจสอบแย้งว่าไม่ควรพูด ก็ไม่พูด ถ้าผู้ตรวจสอบไม่ว่าอะไร ก็พูดได้เลย

    ไม่ว่าจะพูด จะถาม จะตอบ อะไร ก็จะเป็นการทำซ้ำ คือ คิดในใจก่อน หยุดนิดหนึ่ง แล้วค่อยพูดออกไป

    อย่างไรก็ตามการคิดในใจ หยุด แล้วค่อยพูด เป็นการพูดที่ระมัดระวังมาก มีสติกำกับดี แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องฝึกฝน อีกอย่างหนึ่งถ้าไม่ได้ฝึกพอเพียงดูออกจะขัด ๆ กับการเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง

    วิธีที่สอง ใช้สติปัญญาและการสังเกตในขณะที่พูด

    ดังนั้นก็อาจจะใช้สติปัญญากำกับขณะที่พูดไปพร้อม ๆ กันเลย คอยตรวจสอบความคิด ความอยาก(จะทำ จะพูด) รวมทั้งสังเกตคู่สนทนาว่าเขามาคุยกับเราเขาต้องการอะไร? หรือเขารู้สึกอย่างไร? สรุปสำหรับวิธีที่สองคือ ใช้สติ ใช้การสังเกต และใช้ปัญญา พร้อม ๆ กันในขณะที่พูด อย่างนี้จะง่ายขึ้น ไม่ขัด ไม่ต้องรอ

    ทิ้งท้าย

    การพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพูดจูงใจ ผู้พูดควรนึกถึงจิตใจของผู้ฟัง ซึ่งก็คืออุปนิสัยและอารมณ์ รวมทั้งบรรยากาศในการพูด จะช่วยให้การพูดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×