ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สู่ความฝัน แห่งคำว่า "ครู"

    ลำดับตอนที่ #1 : ทำไมต้องครู แล้วทำไม...ต้อง มศว ?????

    • อัปเดตล่าสุด 4 เม.ย. 55


     อย่างที่ผมเกริ่นไว้ต้นเรื่อง ผมอยากเป็นครู มศว ผมเรียนอยู่ห้องคิงสายวิทย์ (ทั้งๆที่เกรดผมก็เกือบจะท้ายๆห้อง ด้วยซ้ำ) ผมไม่รู้ว่าเป็นเทรนด์ของคิงสายวิทย์รึเปล่า

    >>>> วิศวะ หมอ สัตวแพทย์ เภสัช สถาปัตย์

    หรือไปศิลป์ๆ หน่อย ก็ >>>> บัญชี เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์

    ศิลป์จ๋าไปเลยก็ >>>> อักษร

       ทุกครั้งที่ผมออกไปพูดหน้าห้องเรื่องคณะที่ตนใฝ่ฝัน พอถึงชื่อผม ผมก็ออกไป...

    พอผมพูดว่า ผมอยากเรียน กศ.บ. เคมี ที่ มศว แค่นั้นแหละ ทั้งห้องก็หัวเราะ บางคนก็ซุบซิบๆกัน อาจด้วยหลายๆปัจจัย

    บุคลิกของผมไม่ได้ขรึมๆ แนวนักวิชาการ ออกจะเฮฮา เวลาคุยกับเพื่อน ก็เสียงดังตามประสาเด็กวัยรุ่นทั่วไป บางทีก็ไปมีเรื่องกับชาวบ้านอีก อันไม่ใช่วิสัยที่เด็กห้องคิงควรจะเป็นเลย (มั้ง ??? )

    วิชาชีพครู เงินเดือนน้อย แม้รัฐบาลจะออกมายืนยันเรื่องเงิน 15000 บาท ว่ามีแน่นอน แต่ในยุคเช่นนี้ เงินแค่นั้นจะพอที่ไหนล่ะ เมื่อเปรียบเทียบกับวิชาชีพอื่น เอาง่ายๆ แม้แต่ยามโรงเรียนผม เงินเดือน 18000 จ้างมาหลับ ในขณะที่ครูอัตราจ้าง เงินเดือนแค่ 8300 แต่ใช้ซะคุ้ม

    ถ้าจะเรียนครู ทำไมไม่เรียนที่จุฬาฯล่ะ อย่างน้อยก็ได้ชื่อนะ

     

    พ่อแม่ผมก็ไม่ค่อยพอใจเท่าไหร่หรอก เพียงแต่พวกท่านไม่พูด ก็แค่นั้น

    ผมขอตอบเหตุผลไปทีละขอเลยนะครับ

    1.             ในบางที ครูก็ไม่จำเป็นต้องขรึมมาดวิชาการเสมอก็ได้นี่ครับ เฮฮาบ้างก็ได้ แต่ต้องรู้จักขอบเขต เด็กก็จะได้ไม่เครียดตายไปซะก่อน

    2.             เคยมีคนพูดไว้ว่า “เงินเดือนครูน่ะน้อย แต่ก็ไม่มีทางที่จะอดตาย” นั่นเป็นเพราะว่า ครูก็เป็นข้าราชการ สวัสดิการต่างๆของครู ก็เพียงพอต่อการดำรงชีวิตแล้ว ถ้ารู้จักใช้ รู้จักออม ก็ไม่มีทางอดตายหรอก

    3.             ทุกมหาวิทยาลัย ดีหมดนั่นแหละ แต่ที่ผมเลือก มศว เพราะครูที่ผมรักและนับถือ ทุกคนจบมาจาก มศว แทบทั้งสิ้น และเมื่อพูดถึง มศว ก็ต้องพูดถึงวิชาชีพครู เป้นอย่างแรก

     

    สุดท้ายของตอนนี้......

    ในโลกนี้มีอาชีพมากมายหลากหลายยิ่งนัก...

    แต่มีเพียง 2 อาชีพเท่านั้น ที่ผู้คนสมารถกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ

    นั่นคือ หมอกับครู

    หมอ ซ่อมคน แต่ครู สร้างคน... 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×