ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สู่ความฝัน แห่งคำว่า "ครู"

    ลำดับตอนที่ #2 : ปฐมบทแห่งความฝัน...วิชาชีพครู

    • อัปเดตล่าสุด 6 เม.ย. 55


     ส่วนตัวผม ผมไม่ได้อยากมาเป็นครูตั้งแต่ตอนแรกหรอกครับ

    ผมก็เป็นเหมือนเด็กทั่วๆไป อยากเป็นนั่น นู่น นี่

    จนมาถึงตอน ม.3 ก็มีคนบอกมาว่า ทำไมไม่เป็นครูล่ะ ด้วยบุคลิกและเอกลักษณ์หลายๆอย่าง นั่นเป็นแค่แวบแรกเท่านั้น ในเวลานั้น ผมก็คิดไปเรื่อยๆ ไม่ได้เจาะจงว่าอยากเป็นอะไร จนถึงเวลาเลือกแผนการเรียน ด้วยกระแส จึงทำให้ผมเลือกเรียนวิทย์-คณิต ด้วยเหตุผลเพราะ เกรดถึง ==

    อ้อ พูดถึงการเลือกแผนการเรียน ผมขอบอกไว้เลยนะครับ ว่าสำคัญค่อนข้างมากเช่นกัน พอๆกับการเลือกคณะเลย หลายๆคน เลือกเรียนวิทย์คณิต ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเกรดถึง พ่อแม่บังคับ แฟชั่น ดูเท่ ฯลฯ

    ถ้าอยากเรียนอะไรที่ออกแนววิทย์จริงๆ เช่น หมอ วิศวะ เภสัช ฯลฯ >>>>>> มาถูกทางแล้วละครับ

    แต่ถ้าอยากเรียนพวกบัญชี เศรษฐศาสตร์ >>>>> ศิลป์- คำนวณเลยครับ ไม่หนักด้วย ^^

    อักษร นิติ รัฐศาสตร์ ฯลฯ >>>>> ศิลป์ –ภาษา ดีที่สุดครับ

      อย่าเลือกวิทย์-คณิต แล้วไปเรียนอักษร มันไม่คุ้มกันหรอกครับ กับ 3 ปีที่เสียไป แต่ถ้าเกิดหลุดมาแล้ว ก็สู้ๆครับ เป็นกำลังใจให้ >O<

      กลับมาเรื่องของผมต่อ พอขึ้น ม.4 วิชาวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ทำผมแทบจะร้องไห้ เพราะผมเรียนหนักมากกกกกกกกก และเลิกเย็นด้วย ณ ตอนนี้ ความคิดที่จะเป็นครู ก็ยังไม่ได้แวบเข้ามาหรอกครับ จนกระทั่ง.....

       ผมได้เรียนเคมีคาบแรก อาจารย์ที่สอนผม เค้าก็ดูฮาๆ ดี จนผมได้เรียนกับเค้า เทคนิ ความรู้ต่างๆ ทำให้ผมหลงรักในศาสตร์นี้ทันที ทุกๆ สัปดาห์ วิชาเคมีเป็นวิชาวิทย์วิชาเดียวที่ผมเฝ้ารอเรียน ในขณะนั้น คำว่า ครูก็ยังไม่ได้เข้าหัวผม

       ในวันก่อนปีใหม่ โรงเรียนผมเงียบมาก ผมดันโง่มาโรงเรียน ในขณะที่ผมนั่งเล่นในห้องสมุด (เพราะครูไม่เข้าสอน) ผมก็เห็นหนังสือเล่มหนึ่ง

      “ การศึกษาไทย (ความล้มเหลวหรือพัฒนา) “

      ผมเลือกที่จะหยิบมาอ่าน และทำให้ผมพบว่า การศึกษาไทยยังต้องการอะไรหลายๆอย่าง หนึ่งในนั้นคือ ครูที่ดี

    นั่นทำให้ผมตั้งมั่นว่า ผมจะเป็นครู !!!!!!!

    มีคนเคยบอกผมไว้ว่า

    “หากเกิน 4 เดือนแล้ว ยังคงคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ เราจะเรียกว่า ความรัก”

    ผมคงหลงรักวิชาชีพนี้แล้วละ (อาจดูน้ำเน่า แต่จริงนะครับ 55555 >< )


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×