ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สมบัติของผู้ดี

    ลำดับตอนที่ #4 : ภาค ๔ ผู้ดี ย่อมมีกิริยาเป็นที่รัก

    • อัปเดตล่าสุด 23 ต.ค. 50


    สมบัติของผู้ดี
    ภาค ๔
    ผู้ดี ย่อมมีกิริยาเป็นที่รัก

    กายจริยา คือ
    (๑) ย่อมไม่ฝ่าฝืนเวลานิยม คือ ไม่ไปใช้กิริยายืนเมื่อเขานั่งกับพื้นและไม่ไปนั่งกับพื้นเมื่อเวลาเขายืนเดินกัน.
    (๒) ย่อมไม่ไปนั่งนานเกินสมควรในบ้านของผู้อื่น.
    (๓) ย่อมไม่ทำกิริยารื่นเริงเมื่อเขามีทุกข์.
    (๔) ย่อมไม่ทำกิริยาโศกเศร้าเหี่ยวแห้งในที่ประชุมรื่นเริง.
    (๕) เมื่อไปสู่ที่ประชุมการรื่นเริงย่อมช่วยสนุกชื่นบานให้สมเรื่อง.
    (๖) เมื่อเป็นเพื่อนเที่ยว ย่อมต้องกลมเกลียวและร่วมลำบากร่วมสนุก.
    (๗) เมื่อตนเป็นเจ้าของบ้าน ย่อมต้องต้อนรับและเชื้อเชิญแขกไม่เพิกเฉย.
    (๘) ย่อมไม่ทำกิริยาบึกบึนต่อแขก.
    (๙) ย่อมไม่ให้แขกต้องคอยนานเมื่อเขามาหา.
    (๑๐) ย่อมไม่จ้องดูนาฬิกาในเวลาที่แขกยังนั่งอยู่.
    (๑๑) ย่อมไม่ใช้กิริยาอันบุ้ยใบ้หรือกระซิบกระซาบกับผู้ใด ในเวลาเฉพาะเมื่อตนอยู่ต่อหน้าผู้หนึ่ง.
    (๑๒) ย่อมไม่ใช่กิริยาอันโกรธเคือง หรือดุดันผู้คนบ่าวไพร่ต่อหน้าแขก.
    (๑๓) ย่อมไม่จ้องดูบุคคลโดยเพ่งพิศเหลือเกิน.
    (๑๔) ย่อมต้องรับส่งแขกเมื่อไปมา ในระยะอันสมควร.

    วจีจริยา คือ
    (๑) ย่อมไม่เที่ยวติเตียนสิ่งของที่เขา ตั้ง แต่ง ไว้ในบ้านที่ตนไปสู่.
    (๒) ย่อมไม่กล่าวสรรเสริญรูปกายบุคคลแก่ตัวเขาเอง.
    (๓) ย่อมไม่พูดให้เพื่อนเก้อกระดาก.
    (๔) ย่อมไม่พูดเปรียบเปรยเกาะแกะสตรีกลางชุมชน.
    (๕) ย่อมไม่ค่อนแคะติรูปกายบุคคล.
    (๖) ย่อมไม่ทักถึงการร้ายโดยพลุ่งโพล่งให้เขาตกใจ.
    (๗) ย่อมไม่ทักถึงสิ่งอันน่าอายน่ากระดากโดยเปิดเผย.
    (๘) ย่อมไม่เอาสิ่งที่น่าจะอายจะกระดากมาเล่าให้แขกฟัง.
    (๙) ย่อมไม่เอาเรื่องที่เขาพึงซ่อนเร้นมากล่าวให้อับอายหรือเจ็บใจ.
    (๑๐) ย่อมไม่กล่าวถึงการอัปมงคลในเวลามงคล.

    มโนจริยา
    คือ
    (๑) ย่อมรู้จักเกรงใจคน.

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×