ลำดับตอนที่ #187
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #187 : Education :: ทัศนคติแบบไหนจึงสร้างสังคมธรรมาธิปไตยได้
ทัศนคติแบบไหนจึงสร้างสังคมธรรมาธิปไตยได้
ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทย มาจากกภาวะที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ ไม่เข้าใจ และไม่ตื่นตัวในเรื่องของสังคมธรรมาธิปไตย เนื่องจากกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมของไทยนั้นมักเน้นเรื่องจารีตนิยม อุปถัมภ์นิยมและอำนาจนิยม เชื่อในเรื่องบุญบารมีวาสนา และขาดความเชื่อมั่นว่าตนเป็นผู้มีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกับผู้อื่น อีกทั้งไทยยังรับการศึกษาจากตะวันตกมาแบบฉาบฉวย ทำให้เน้นการท่องจำมากกว่าคิดวิเคราะห์หรือนำไปประยุกต์ใช้ ดังนั้น การจะสร้างสังคมธรรมาธิปไตยจึงต้องเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม ความประพฤติของเราแต่ละคน ฝึกความกล้าวิจารณ์ตนเอง และรับความรู้หรือแนวคิดใหม่ๆ
ในยุคนี้ที่ประเทศไทยมีการแบ่งขั้วอำนาจการเมืองเป็น 2 ขั้ว เราควรส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้อย่างมีเหตุผล มากกว่าที่จะเชื่อข้อมูลปลุกเร้าของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยมีหลักดังนี้
1. คิดอย่างมีเหตุผลมากกว่าจะเชื่อด้วยอารมณ์ เคารพในตัวเองและผู้อื่น ไม่ไปละเมิดสิทธิผู้อื่น
2. มีทัศนคติที่ดีและความหวังดีต่อเพื่อนมนุษย์ ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม สามัคคีกัน
3. เข้าใจความจำเป็นและประโยชน์ของการเข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นพลเมือง รักชาติ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่หลงชาติ
4. เคารพกฎหมายและดำเนินชีวิตในกรอบของกฎหมายทีมีเหตุผลและเป็นธรรม กล้าวิจารณ์กฎหมาย ยึดมั่นในเสรีภาค ความเสมอภาค
5. มีจิตใจเปิดกว้างและเป็นธรรม ยอมรับว่าทุกอย่างต้องมีด้านบวกด้านลบ
6. รับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำลงไป ไม่โทษคนอื่น
7. มีจิตใจรักความเป็นธรรม มีความเมตตาความเห็นใจ เอื้อเฝื้อ และยึดมั่นหลักภราดรภาพ ไม่อคติต่อผู้ที่แตกต่างจากตน
ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทย มาจากกภาวะที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ ไม่เข้าใจ และไม่ตื่นตัวในเรื่องของสังคมธรรมาธิปไตย เนื่องจากกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมของไทยนั้นมักเน้นเรื่องจารีตนิยม อุปถัมภ์นิยมและอำนาจนิยม เชื่อในเรื่องบุญบารมีวาสนา และขาดความเชื่อมั่นว่าตนเป็นผู้มีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกับผู้อื่น อีกทั้งไทยยังรับการศึกษาจากตะวันตกมาแบบฉาบฉวย ทำให้เน้นการท่องจำมากกว่าคิดวิเคราะห์หรือนำไปประยุกต์ใช้ ดังนั้น การจะสร้างสังคมธรรมาธิปไตยจึงต้องเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม ความประพฤติของเราแต่ละคน ฝึกความกล้าวิจารณ์ตนเอง และรับความรู้หรือแนวคิดใหม่ๆ
ในยุคนี้ที่ประเทศไทยมีการแบ่งขั้วอำนาจการเมืองเป็น 2 ขั้ว เราควรส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้อย่างมีเหตุผล มากกว่าที่จะเชื่อข้อมูลปลุกเร้าของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยมีหลักดังนี้
1. คิดอย่างมีเหตุผลมากกว่าจะเชื่อด้วยอารมณ์ เคารพในตัวเองและผู้อื่น ไม่ไปละเมิดสิทธิผู้อื่น
2. มีทัศนคติที่ดีและความหวังดีต่อเพื่อนมนุษย์ ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม สามัคคีกัน
3. เข้าใจความจำเป็นและประโยชน์ของการเข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นพลเมือง รักชาติ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่หลงชาติ
4. เคารพกฎหมายและดำเนินชีวิตในกรอบของกฎหมายทีมีเหตุผลและเป็นธรรม กล้าวิจารณ์กฎหมาย ยึดมั่นในเสรีภาค ความเสมอภาค
5. มีจิตใจเปิดกว้างและเป็นธรรม ยอมรับว่าทุกอย่างต้องมีด้านบวกด้านลบ
6. รับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำลงไป ไม่โทษคนอื่น
7. มีจิตใจรักความเป็นธรรม มีความเมตตาความเห็นใจ เอื้อเฝื้อ และยึดมั่นหลักภราดรภาพ ไม่อคติต่อผู้ที่แตกต่างจากตน
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น