ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    my. Hidden Room *S t o r a g e

    ลำดับตอนที่ #186 : Education :: ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ

    • อัปเดตล่าสุด 5 พ.ย. 56


    ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ
    โดย...พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต)

    1. เป็นกลาง? กว้าง และ ไกล

    ท่ามกลางสภาวะที่มีความขัดแย้งทางการเมือง ชาวพุทธเราควรมีส่วนร่วมในฐานะใด ชาวพุทธนั้นไม่ใช่กลุ่มผลประโยชน์ ไม่ใช่กลุ่มหนึ่งเหมือนกลุ่มอื่นๆ เพราะเรื่องของชาวพุทธ เรื่องพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องของธรรมะ ซึ่งเป็นของกลาง เป็นหน้าที่ที่ทุกคนควรปฏิบัติ โดยการที่ชาวพุทธมาเป็นส่วนร่วมนั้นก็เหมือนกับเป็นการย้ำเตือนกลุ่มอื่นๆไม่ให้ลืมเรื่องธรรมะ และต้องเป็นกลาง ซึ่งไม่ใช่อยู่กึ่งกลางหรือครึ่งๆกลางๆ ไม่เข้าใครออกใคร ไม่เอนเอียงด้วยอคติ ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยมุ่งหมายเพื่อความจริงความถูกต้องดีงามและประโยชน์สุขของส่วนรวมอย่างแน่แท้ 

    2. ธรรมาธิปไตย กับ หรือ ใน ประชาธิปไตย

    จัดได้2แบบ คือ 1.ธรรมาธิปไตยเป็นการปกครองหนึ่ง ประชาธิปไตยเป็นการปกครองอีกระบบหนึ่ง 2.ให้ระบบประชาธิปไตยมีคุณภาพเป็นธรรมาธิปไตย ซึ่งจริงๆแล้วธรรมาธิปไตยไม่ใช่ระบบ แต่เป็นเกณฑ์การตัดสินใจของบุคคลที่อยู่รวมกันในระบบการปกครองนั้น ซึ่งการตัดสินใจจะต้องมีปัญญา มีการศึกษา ทำให้อำนาจการตัดสินใจ เป็นตัวกำหนดระบบการปกครองต่างๆ ดังเช่นระบบประชาธิปไตยที่ให้อำนาจแก่ประชาชนในการตัดสินใจอย่างถูกต้อง  คือ ต้องมีธรรมาธิปไตย

    3. กฎคนทำ ต้องเพื่อ กฎแห่งธรรม

    กฎคนทำหรือกฎหมาย เราบัญญัติขึ้นเพื่อให้กฎแห่งธรรมหรือกฎตามธรรมชาติสัมฤทธิ์ผลเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งธรรมะของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันออกไปตามสถานะ หน้าที่ และบทบาทของแต่ละบุคคล

    4. ธรรมาธิปไตยของผู้ปกครอง

    ธรรมของผู้ปกครองคือต้องทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ต้องทำให้แก่บ้านเมือง และสามารถเสียสละประโยชน์ส่วนตนได้ หากประกอบกับมีเจตนารมณ์ที่มุ่งเอาความจริงความถูกต้องดีงาม ทำเพื่อประเทศชาติ ประชาชนอย่างแท้จริง จึงเรียกว่า ธรรมาธิปไตย
    ในส่วนของหลักธรรมของนักธุรกิจนั้นถึงแม้จะไม่ถูกธรรมมากนักแต่สิ่งที่จำเป็นจะต้องตระหนักนั้นก็คือ จะต้องไม่เบียดเบียนใคร
    โดยหลักธรรมสำคัญในการปกครองมีหลายอย่างแต่มีสาระสรุปในพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

    5. เพื่อธรรม จึงต้องการปัญญา

    เมื่อเกิดการเผชิญหน้ากัน เราไม่ควรใช้ความรุนแรง ควรใช้ปัญญาหรือธรรมเข้าแก้ปัญหา การจะเป็นประชาธิปไตยจริง ต้องตัดสินใจบนพื้นฐานของธรรมะ ต้องเป็นธรรมาธิปไตย อะไรเป็นความจริง อะไรเป็นความถูกต้องก็ต้องพิจารณา แต่จะเข้าใจได้ ต้องมีปัญญา ซึ่งการจะพัฒนาปัญญาก็ต้องเริ่มจากการพูดคุยถกปัญหากัน แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้กัน เมื่อกระบวนการแห่งปัญญาดำเนินไป ความรุนแรงก็จะไม่มี และต้องมีหลักสมานฉันท์ ที่แปลว่า มีความต้องการตรงกัน คือ ต้องการธรรม ต้องการความสงบสุขของสังคม เราจึงควรรับฟังความเห็นของผู้อื่น ไม่ถือพรรคพวก เป็นคนมีธรรมาธิปไตยเพื่อให้ประชาธิปไตยเป็นจริง

    6. หนทางสู่ประชาธิปไตยที่เป็นธรรม

    การใช้ประชาธิปไตยให้ถูกต้อง ระบบประชาธิปไตยคือการให้ทุกคนมีส่วนรวมในการปกครอง และการมีส่วนรวมที่แท้จริงคือ ส่วนรวมในการตัดสินใจ ดังนั้นทุกคนต้องตัดสินใจด้วยธรรมาธิปไตย

    7. นำธรรมาธิปไตยมาให้แก่ประชาธิปไตย

    ต้องพัฒนาคุณภาพของประชาชน เพื่อให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจตัดสินใจ ทำการตัดสินใจด้วยปัญญา โดยมีเจตนาที่เป็นธรรม สิ่งนี้คือธรรมาธิปไตย ซึ่งถ้าเจตนาดีแล้วมีปัญญาด้วย การตัดสินใจจะได้ผลดี แต่ถ้ามีปัญญาแต่เจตนาไม่ดี คนก็อาจเอาปัญญาไปใช้หาผลประโยชน์ให้แก่ตัวเอง และทำร้ายผู้อื่น หรือถ้าเจตนาดี แต่ปัญญาไม่มี ก็จะทำให้การตัดสินใจผิดพลาด โดยรู้ไม่เท่าถึงการณ์ 2กรณีหลังทำให้สุดท้ายก็ไปไม่รอด

    8. ธรรมาธิปไตย ตอนเดียวจบ

    ธรรมาธิปไตยไม่ใช่ระบอบการปกครอง แต่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเป็นการปกครองที่อยู่สูงสุดกว่าประชาธิปไตย แท้จริงแล้วธรรมธิปไตยเป็นคุณธรรมหรือคุณสมบัติในตัวบุคคล เป็นเกณฑ์ตัดสินใจในการให้ได้ประชาธิปไตยที่ดี โดยอำนาจการตัดสินใจนั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญของการปกครองทุกระบอบ ถ้าอำนาจสูงสุดอยู่ที่คนๆเดียวก็คือเผด็จการ แต่ถ้าอยู่ที่ประชาชนก็คือประชาธิปไตย หากระบอบการปกครองใดเอาความจริงความถูกต้อง หลักการ กฎ เหตุผล ประโยชน์ที่แท้จริงมาเป็นเกณฑ์การตัดสินใจด้วยปัญญา กว้างขวาง ชัดเจน และบริสุทธิ์ใจ ก็ย่อมเป็นธรรมาธิปไตยด้วยกันทั้งสิ้น
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×