ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สงครามโลกครั้งที่1 และสงครามโลกครั้งที่2

    ลำดับตอนที่ #3 : สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

    • อัปเดตล่าสุด 12 ธ.ค. 54


    1.ลัทธิชาตินิยม

                การเกิดลัทธิชาตินิยมจากคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ทำให้เกิดระบบรวมรัฐชาติ  สร้างระบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง รัฐชาติในประเทศยุโรปต่างแสวงหาความเป็นมหาอำนาจ ทั้งทางทหารและเศรษฐกิจ รัฐชาติหมายถึง รัฐหรือประเทศที่ประชาชนมีความรู้สึกผูกพันกัน มีความสามัคคี ภาคภูมิใจในความเป็นชาติ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ความรักชาติที่รุนแรงจนเป็นลัทธิชาตินิยม ทำให้เชื่อว่าชาติตนเหนือกว่าชาติอื่น ผลักดันชาติของตนได้เปรียบชาติอื่นไม่ว่าด้านเศรษฐกิจหรือการทหารนำไปสู่การแข่งขันอำนาจกันจนกลายเป็นสงคราม เช่น สงครามการรวมอิตาลี การรวมเยอรมนี จนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

    2.ลัทธิจักรวรรดินิยม

                ลัทธิชาตินิยมนำไปสู่ลัทธิจักรวรรดินิยม ลัทธิจักรวรรดินิยม หมายถึงประเทศที่พัฒนาแล้วประสบความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ การทหาร และวิทยาศาสตร์ เข้าครอบครอง ที่ด้อยพัฒนากว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมเริ่มจากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ต้องการวัตถุดิบและตลาด มหาอำนาจยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี เนเธอร์แลนด์  ต่างแข่งขันกันขยายอำนาจในการครอบครองดินแดนในทวีปเอเชียอเมริกากลางและอัฟริกา โดยครอบงำทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิต เป็นแหล่งเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้เมืองแม่

    3.การแบ่งกลุ่มพันธมิตรยุโรป

              นโยบายการรวมกลุ่มที่มีผลประโยชน์ตรงกัน เริ่มต้นในค.ศ.1907 เมื่อเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการีลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรไตรมิตร (Triple Alliance) ประจันหน้ากับรัส-เซีย เนื่องจากเยอรมนีต้องการไม่ให้รัสเซียเป็นใหญ่ในชนเผ่าสลาฟแหลมสมุทรบอลข่าน ต่อมามีอิตาลีมาร่วมประเทศเพราะไม่พอใจฝรั่งเศสที่แย่งครอบครองตูนิเซียในฐานะรัฐในอารักขา   ฝ่ายออสเตรีย - ฮังการีซึ่งต้องการเป็นใหญ่ในแหลมบอลข่านเช่นกัน โดยได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียลงนามในสนธิสัญญาฉันทไมตรีไตรมิตร (Triple Entente)  ค.ศ. 1907 และเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นด้วย

     

    4. ความขัดแย้งเรื่องแหลมบอลข่าน

                เกิดจากการที่ออสเตรีย-ฮังการีขัดแย้งกับเซอร์เบียเรื่องการสร้างเขตอิทธิพลในแหลมบอลข่าน โดยเยอรมนีสนับสนุนออสเตรีย-ฮังการี ขณะที่รัสเซียสนับสนุนเซอร์เบีย ความขัดแย้งขยายความรุนแรงเป็นสงครามระหว่างรัฐในแหลมบอลข่าน มหาอำนาจจึงมีโอกาสแทรกแซงและตั้งกลุ่มพันธมิตร

     


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×