คนเราได้พบประสบเจอเรื่องราวต่างๆมากมาย มีความคิด คำพูด และการกระทำ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์
ดังนั้นในโลกและมุมมองของแต่ละคน ก็จะมีลักษณะเฉพาะพิเศษส่วนตัว อันเปรียบได้กับยีนหรือดีเอ็นเอที่ถ่ายทอดผ่านทางร่างกายสืบต่อกันมา
เพียงแต่ลักษณะนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เฉพาะร่างกาย แต่ถ่ายทอดไปยังเหตุการณ์ภายนอกส่วนอื่นๆด้วย โครงสร้างของกรรมที่ถูกถักทอขึ้นมาทีละเล็กละน้อยจนเป็นเหมือนร่างแหที่มาผูกมัดครอบคลุมตัวของแต่ละบุคคลอยู่นี้
เป็นสิ่งที่กำหนดชะตาชีวิตของแต่ละคนในแต่ละภพชาติ ในแต่ละช่วงว่า จะต้องได้เจอกับสิ่งใดบ้าง การที่แต่ละคนจะหลุดออกไปจากตาข่ายหรือแหร่างของกรรมซึ่งตนเองเป็นคนผูกมัดตัวเองเอาไว้ได้นั้น แต่ละคนก็จำเป็นต้องรู้จักตนเอง รู้จักโครงสร้างของกรรมของตนอย่างละเอียดถูกต้องเสียก่อน เมื่อรู้จักโครงสร้างนี้ดีแล้ว ตนจึงจะทราบว่าต้องทำเช่นไรจึงจะหลุดรอดออกจากบ่วงหรือร่างแหที่มีลักษณะเฉพาะเหล่านี้ของแต่ละคนออกไปได้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่ที่เจ้าของด้วยว่าต้องการที่จะแก้เครื่องผูกมัดเหล่านี้หรือไม่ หรือว่าคิดที่จะถักทอโครงสร้างของกรรมของตนไม่ให้วุ่นวายสับสน แต่ทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อยหรือเปล่า.....ชะตาชีวิตของแต่ละคนสามารถลิขิตได้ด้วยตัวของเราเองนี่แหละครับ
ความเห็น>>>ความคิด>>>การกระทำ>>>อุปนิสัย>>>ชะตากรรม>>>โชคชะตา>>>ความเห็น.....ฯ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กรรม (ภาษาสันสกฤต : กรฺม, ภาษาบาลี : กมฺม) แปลว่า "การกระทำ" ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม
- กรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- กรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม หรือ บุญกรรม
- กรรมชั่ว เรียกว่า อกุศลกรรม หรือ บาปกรรม
[แก้] กรรม 2
กรรม 2 (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม - Kamma: action; deed)[1]
- อกุศลกรรม (กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำใหเสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ - Akusala-kamma: unwholesome action; evil deed; bad deed)
- กุศลกรรม (กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คืออโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ -Kusala-kamma: wholesome action; good deed)
[แก้] การจำแนกประเภทของกรรม
กรรมดี หรือ กรรมชั่วก็ตาม กระทำทางกาย วาจา หรือทางใจก็ตาม สามารถจำแนกอีก เป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลายแบบ ดังนี้
- กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) 4 อย่าง
- กรรมจำแนกตามหน้าที่ของกรรม (กิจจตุกะ) 4 อย่าง
- กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) 4 อย่าง
- กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) 4 อย่าง
[แก้] จำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม
การกระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) แสดงกำหนดเวลา แห่งการให้ผลของกรรม มี 4 อย่าง คือ
- ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
- อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
- อปราปริเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆไป
- อโหสิกรรม หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
[แก้] จำแนกตามหน้าที่ของกรรม
กรรมจำแนกตามหน้าที่การงานของกรรม (กิจจตุกะ) กรรมมีหน้าที่ ที่จะต้องกระทำสี่อย่าง คือ
- ชนกกรรม หมายถึง กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด กรรมแต่งให้เกิด
- อุปัตถัมภกกรรม หมายถึง กรรมสนับสนุน กรรมที่ช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติม ต่อจากชนกกรรม
- อุปปีฬิกกรรม หมายถึง กรรมบีบคั้น กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน
- อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมตัดรอน กรรมที่แรงฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมทั้งสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว
[แก้] จำแนกลำดับการให้ผลของกรรม
กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) จำแนกตามความยักเยื้อง หรือ ลำดับความแรงในการให้ผล 4 อย่าง
- ครุกกรรม (หนังสือพุทธธรรมสะกดครุกกรรม หนังสือกรรมทีปนีสะกดครุกรรม) หมายถึง กรรมหนัก ให้ผลก่อน เช่น ฌานสมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม
- พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม หมายถึง กรรมที่ทำมาก หรือ ทำจนเคยชิน ให้ผลรองจากครุกรรม
- อาสันนกรรม หมายถึง กรรมจวนเจียน หรือ กรรมใกล้ตาย คือกรรมที่ทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มีสองข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น
- กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม หมายถึง กรรมอื่นที่เคยทำไว้แล้ว นอกจากกรรม 3 อย่างข้างต้น, ฏีกากล่าวว่า กรรมนี้ให้ผลในชาติที่ 3 เป็นต้นไป(กตตฺตา-สิ่งที่เคยทำไว้, วา ปน-ก็หรือว่า, กมฺม-กรรม).
[แก้] จำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม
กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) แสดงที่ตั้งแห่งผลของกรรมสี่อย่าง เป็นการแสดงกรรมโดยอภิธรรมนัย (ข้ออื่นๆข้างต้นเป็นการแสดงกรรมโดยสุตตันตนัย)
- อกุศลกรรม
- กามาวจรกุศลกรรม
- รูปาวจรกุศลกรรม
- อรูปาวจรกุศลกรรม
[แก้] กรรมดำ กรรมขาว
นอกจากเรื่องของกรรมดีกรรมชั่วแล้ว ยังมีการอธิบายกรรมอีกนัยหนึ่ง โดยอธิบายถึงกรรมดำกรรมขาว จำแนกเป็นกรรม 4 ประการ คือ
- กรรมดำมีวิบากดำ ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความเบียดเบียนบุคคลอื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายต่อพระตถาคต ยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมา
- กรรมขาวมีวิบากขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มากไปด้วยความเพ่งเล็งอยากได้ มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ
- กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่ความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน
- กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ได้แก่ เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำ เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาว และเจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม เช่น ผู้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด โพชฌงค์เจ็ด
[แก้] กฎแห่งกรรม
กฎแห่งกรรม คือ กฎธรรมชาติ ข้อหนึ่ง ที่ว่าด้วยการกระทำ และผลแห่งการกระทำ ซึ่ง การกระทำและ ผลแห่งการกระทำนั้น ย่อมสมเหตุ สมผลกัน เช่น ทำดี ย่อมได้รับผลดี ทำชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว เป็นต้น
- กรรมใดใครก่อ ตนเองเท่านั้นที่จะได้รับผลของสิ่งที่กระทำ
- กรรมในปัจจุบันเป็นผลมาจากการกระทำในอดีต และกรรมที่ก่อไว้ในปัจจุบันเป็นเหตุที่จะส่งผลสืบเนื่องต่อไปยังอนาคต
- กรรมดี-กรรมชั่ว ลบล้างซึ่งกันและกันไม่ได้
- ถึงแม้ว่าการทำกรรมดีจะลบล้างกรรมชั่วเก่าที่มีอยู่เดิมไม่ได้ แต่มีส่วนช่วยให้ผลจากกรรมชั่วที่มีอยู่เดิมผ่อนลง คือ การผ่อนหนักให้เป็นเบา (ข้อนี้ อุปมาได้กับ การที่เรามีน้ำขุ่นข้นอยู่แก้วหนึ่ง หากเติมน้ำบริสุทธิ์ลงไปแล้ว มิสามารถทำให้น้ำขุ่นกลับบริสุทธิ์ได้ แต่ทำให้น้ำขุ่นข้นนั้นกลับเจือจางลงและใสยิ่งขึ้นกว่าเดิม)
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ [2] พุทธพจน์ จากพระไตรปิฎก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วิธีแก้กรรม
ครอบครัวมีแต่ปัญหา |
| เกิดจากกรรม (สิ่งใดสิ่งหนึ่งดังนี้) |
| | 1.เคยทำแท้งไหม 2.ไม่ทำบุญให้บรรพบุรุษไหม 3.ไม่เข้าใจครอบครัว สามี ลูกหรือเปล่า 4.เคยผิดศัลกาเม ในชาติก่อนและชาตินี้ไหม 5.ทำผิดต่อเจ้าที่เจ้าทางไหม |
วิธีแก้กรรม |
| 1.นิมนต์พระเลี้ยง ทำบุญบ้าน วันเกิด สวดชะยันโต ขอพร ประพรมน้ำมนต์ให้ครอบครัว อยู่เย็นเป็นสุข และถวายสังฆทานสวดอุทิศให้ เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายให้อโหสิกรรมและช่วยครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข 2.ไปถวายผ้าบังสุกุลอุทิศให้บรรพบุรุษให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขหรือทำบุญให้บรรพบุรุษให้ได้รับกุศล 3.เคยบอกรักสามีและลูกบ้างไหม ทำซะ จะทำให้เขาเข้าใจมากขึ้นว่าเรารัก 4.สวดมนต์ทุกวันเกิดตนเอง ขอพรเทพประจำตัวให้คุ้มครองครอบครัวให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข 5.กราบไหว้เจ้าที่เจ้าทางด้วย อาหารคาวหวานชุดใหญ่ แก่พระภูมิเจ้าที่ให้ได้รับและขอพรให้อำนวยโชคลาภความร่มเย็นเป็นสุขให้ครอบครัวท่าน |
| | |
กรรม....เสียเงินตลอด |
| เกิดจากกรรม |
| | 1.เคยเอาเงินเขามาในชาติอดีตแล้วไม่คืน 2.ปล่อยกู้คิดดอกเบี้ยแพง 3.โกงคนในชาติปัจจุบัน 4.ทำแท้ง 5.ยุยงให้คนเสียเงิน โดยรู้ว่าผิดก็ให้ทำ |
วิธีแก้กรรม |
| 1.พยายามทำบุญอุทิศส่วนกุศล ทุกวันเกิด ให้ผู้ที่เคยล่วงเกินกันมาตั้งแต่อดีตชาติปัจจุบันชาติ ให้ได้รับกุศลและอโหสิกรรมซึ่งกันและกัน 2.หากมีคนที่ล่วงเกินยังมีชีวิตอยู่ หาเงินไปคืนและขออโหสิกรรมซะเพื่อชีวิตเราจะได้ดีขึ้นต่อไป 3.ตักบาตร วันโกนอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรและวิญญาณเด็กที่ตามมาให้ได้รับกุศล และเปิดทางให้ชีวิตดีขึ้น 4.ทำกุศลกับผู้มีพระคุณและช่วยคนไว้ เพื่อยามทุกข์ยากจะได้มีคนมาเหลียวแล และดูแลเราบ้าง 5.สวดมนต์ทุกวันเกิด และแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรให้ได้รับกุศลและอโหสิกรรมซึ่งกันและกัน |
| | |
กรรมต้องสะเดาะเคราะห์ |
| เกิดจากกรรม |
| | เมื่อตนเองเข้าเสวยอาบุที่ไม่ดี ก็จะประสบเคราะห์ร้าย เช่น ป่วยหนัก อุบัติเหตุ เสียเงิน จึงต้องสะเดาะเคราะห์ดังนี้ กรรมจาก 1.ชอบทำร้ายคนต่ำกว่าให้ทุกข์ทรมาน 2.ป่วยหนัก ซ่าสัตว์ไว้ ผิดศีลข้อ 1 |
วิธีแก้กรรม |
| 1.กินเจ 7 วัน อุทิศให้สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เคยทำไว้ตั้งแต่อดีตชาติปัจจุบันชาติ 2.ตักบาตรให้ครบตามปีที่เข้าเสวยอายุ 3.ไหว้พระให้ครบ 7 วัน 7 วา ล้างเคราะห์ได้ 4.ปล่อยสัตว์ลงน้ำ ตามกำลังวันเกิดตนเอง จนครบ 1 ปี เคราะห์จะกลายเป็นดี 5.ขอพรพระที่ตนนับถือ ไปที่วัด ไปขอพรท่านให้พ้นเคราะห์พ้นโศกและช่วยให้ชีวิตก็จะดีขึ้น |
| | |
กรรมคู่ไม่ดี |
| เกิดจากกรรม |
| | 1.เคยเป็นชู้กับผู้อื่นไว้ ในชาติอดีตและชาติปัจจุบัน 2.ทำร้ายจิตใจคู่ตนเองไว้ 3.ทำร้ายร่างกายโดยตนเองอยากทำ เพราะหึงหวงให้เขาเจ็บปวด 4.ผิดศีลกาเม 5.ยุยงผู้อื่นให้เลิกกัน |
วิธีแก้กรรม |
| 1.ตั้งสัจจะว่าจะไม่แย่งผัวคนอื่น มาเป็นของตนเอง 2.หมั่นถวายเทียนคู่ในวันเกิดตนเองปีละครั้ง ขอเสริมดวงชีวิตคู่ให้พบแสงสว่างในชีวิตคู่ที่ดี โดยไปกับแผนและอธิษฐานขอพร 3.ถวายสังฆทานในวันเกิด เพื่อขอพรให้สมหวังด้านชีวิตคู่ และอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรและคู่ชีวิตที่เคยล่วงเกินไว้ทั้งอดีตชาติและปัจจุบันชาติให้ได้รับกุศล และอโหสิกรรมซึ่งกันและกัน 4.บริจาคทรัพย์ให้กับคู่ตางงานในงานแต่งงาน เพื่อส่งเสริมให้เขาสมหวังในความรัก และตนเองก็จะได้บุญต่อไป 5.ไกล่เกลี่ยคู่สามี-ภรรยา ที่ทะเลาะกันแยกทางกัน ให้มารู้สึกดีต่อกัน จะได้บุญด้านธรรมทางด้านชีวิตคู่ |
| | |
กรรมเป็นเมียน้อย |
| เกิดจากกรรม |
| | 1.เคยผิดลูกผิดเมียเขามาในชาติก่อน 2.ผิดศีลกาเม 3.เคยอธิษฐานจิตร่วมกันมาว่ากี่ภพก็ขอให้ได้ใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน 4.ขืนใจเขาโดยเขาไม่ยินยอม เมียน้อยมี 3 ประเภท 1.เมียน้อย ผัวดี ช่วยเหลือ เกิดจากเคยทำบุญใหญ่ ช่วยเหลือคนและครอบครัวมามาก และอธิษฐานจิตมาเจอกัน แม้ไม่ได้เป็นเมีย 1 แต่เป็นเมีย 2 ที่ถูกต้อง เพราะกุศลนำพามาเจอ จึงทำให้ใช้ชีวิตอย่างไม่ผิด ไม่บาป 2.เมียน้อย ผัวร้าง แต่ไม่หยุดที่เขา ทำให้เป็นโดยขำยอมเพราะกรรมเก่าที่เคยทำไว้ จึงต้องรับภาระเพราะทั้งรัก ทั้งเจ็บ กรรมนี้อยู่ในการเคยขืนใจเขาไว้ แต่พอมาชาตินี้จึงต้องตกอยู่ในภาระจำยอมเจ็บ เพราะรักเขา 3.เมียเก็บ ผัวบังคับ แต่ส่งเสีย เกิดจากกรรมที่เคยผิดลูกผิดเมียเขาไว้ จึงต้องทุกข์ใจ แต่สบายกาย |
วิธีแก้กรรม |
| 1.ทำบุญสังฆทานสด ในวันเกิดตนเอง เดือนละครั้ง เพื่ออุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติปัจจุบันชาติและวิญญาณที่ตามมาให้ได้รับกุศลและอโหสิกรรม 2.ถือศีล 5 ให้ได้ 1 ปี ต่อ 1 เดือน จะทำให้ชีวิตดีขึ้น 3.ถวายธงคู่ อธิษฐานจิตขอให้ชีวิตคู่ที่ดีขึ้น 3.บวชชีพราหมณ์ ปีละ 1 ครั้ง 3 วัน อุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรที่เคยล่วงเกินให้ได้รับกุศลและเปิดทางให้ชีวิตคู่ดีขึ้น 5.ร่วมเป็นเจ้าภาพ งานแต่ง เพื่อชีวิตตนจะดีขึ้น และสมหวัง และสวดมนต์ขอพรทุกวันเกิดด้านความรักให้สมหวังต่อไป |
| | |
กรรม ทุกข์ใจเพราะญาติพี่น้องและสามี |
| เกิดจากกรรม |
| | 1.เคยลำเอียง ไร้คุณธรรมในด้านครอบครัวไว้ก่อน 2.เคยเอารัดเอาเปรียบคนในครอบครัวและคนใกล้ชิดไว้ในชาติอดีตและชาติปัจจุบัน 3.เคยทำให้ครอบครัวเขาแตกแยกในอดีตชาติ |
วิธีแก้กรรม |
| 1.ต้องบวชชีพราหมณ์ เพราะเมื่อเกิดอีกภพชีวิตจะได้ดีมีชีวิตที่ดีขึ้น เพราะกุศลของการบวช ปฏิบัติธรรมทำให้เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรม และตนเองได้พบสิ่งที่มีกุศลมากขึ้น 2.ยึดพรหมวิหาร 4 มี เมตตา กรุณ มุทิตา อุเบกขา จะทำให้ชีวิตมีความเมตตา และไม่ลำเอียงเอารัดเอาเปรียบคนใกล้ชิด ทำให้วิถีชีวิตมีคนนับถือและพ้นจากความทุกข์ในเรื่องญาติพี่น้องยุ่งเกี่ยวได้ 3.นำพระคู่บ้านคู่เมืองเข้าสักการะที่บ้าน และสวดมนต์ขอพรให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข |
| | |
กรรมเป็นอัมพฤกษ์ |
| เกิดจากกรรม |
| | 1.ฆ่าสัตว์ 2.ทรมานสัตว์ 3.ทำร้ายคนไว้ในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ |
วิธีแก้กรรม |
| 1.ตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติปัจจุบันชาติรวมถึงสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ได้กุศลและอโหสิกรรมซึ่งกันและกัน 2.ปล่อยสัตว์ลงน้ำ ในวันเกิดตนเอง กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรได้รับและอโหสิกรรม 3.ถวายยาเข้าวัด หรือช่วยเหลือคนป่วย |
| | |
กรรมเป็นมะเร็ง |
| เกิดจากกรรม |
| | 1.เคยฆ่าสัตว์ หรือทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงฆ่าสัตว์มาก่อน จึงส่งผลให้มีสุขภาพที่รักษาไม่ได้ 2.มีจิตใจเหี้ยมโหดมาตั้งแต่อดีตชาติ โดยสั่งฆ่าคนและทำร้ายคนให้เจ็บปางตาย 3.ทำแท้งมากมาย 4.เบียดเบียนเงินคนมากมาย บนความทุกข์คนอื่นในอดีตชาติ |
วิธีแก้กรรม |
| 1.ต้องทำบุญใหญ่อุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร และบวชชีพราหมณ์ 1 เดือน เพื่อส่งกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรม 2.สร้างพระถวายให้เจ้ากรรมนายเวร 3.ให้มาสัมผัสจิตกับพระแม่อุมาเทวีโดยตรง |
| | |
กรรมลูกไม่ดี เกเร ไม่เชื่อฟัง |
| เกิดจากกรรม |
| | 1.ทำแท้ง 2.เคยทำร้ายคนใกล้ชิดมาก่อน และทำร้ายจิตใจครอบครัวในชาติก่อน |
วิธีแก้กรรม |
| 1.บวชเณร โดยให้ลูกบวชหรือไปร่วมบวช จะทำให้กรรมน้อยลง 2.พาลูกไปหาหลวงปู่ ให้เทศน์สอน 3.ปฏิบัติธรรม อุทิศให้ลูกตนเอง |
| | |
กรรมค้าขายขาดทุน |
| เกิดจากกรรม |
| | 1.ไม่รู้เชี่ยวชาญในงานที่ทำ และไม่กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ 2.ทำแท้ง 3.ลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้ 4.ตั้งสัจจะกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่าจะทำบุญเท่านั้น แต่พอทำจริงทำน้อยนิดผิดสัญญาเป็นกรรม |
| | |
กรรมเกิดมาไม่สวย |
| เกิดจากกรรม |
| | 1.ทำอะไรลวก ๆ กับพระ พ่อแม่ 2.ชอบว่าผู้อื่น และทำร้ายสัตว์ 3.ถวายดอกไม้แห้ง-เหี่ยว |
แก้วิบากกรรม |
| 1.หมั่นถวาย ดอกไม้หอม พวงมาลัย ไม่เวียนต่อพระพุทธรูป พระภิกษุสงฆ์ เทพด้วยกิริยาที่ตั้งใจ 2.ไม่ลบหลู่ ผู้มีพระคุณ รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 3.บริจาคน้ำมันตะเกียง ขอแสงสว่างด้านความงาม |
| | |
กรรมมีกลิ่นตัวเหม็นตลอด |
| เกิดจากกรรม |
| | 1.ชาติก่อนชอบดูถูก คนอื่น 2.ชาติก่อนชอบคิดอิจฉาริษยาผู้อื่น |
วิธีแก้วิบากกรรม |
| 1.ต้องรู้จัก เห็นผู้อื่นได้ดี พลอยยินดีไปด้วย 2.หมั่นถวายของหอม ดอกไม้ไม่ให้ขาด |
| | |
กรรมเกิดมาโง่ |
| เกิดจากกรรม |
| | 1.ดูถูกผู้ที่หมั่นหาความรู้ และชักชวนไปทำผิด 2.ไม่ขยันหมั่นเพียรศึกษาหาความรู้ แต่ทำตัวมั่วสุมในทางผิด |
แก้วิบากกรรม |
| 1.หมั่นทำบุญด้านหนังสือธรรมมะ หรือพิมพ์บทสวดมนต์แจก 2.ให้ถวาย หลอดไฟฟ้า เพราะกุศลจะส่งผลให้ตนเองมีปัญญาแจ้งแดงตลอดในงานนั้น ถวายในวันเกิดข้างขึ้น 7-15 ค่ำ เจริญขึ้น 3.หมั่นสวดมนต์ทุกวัน 4.หมั่นกตัญญูต่อความถูกต้อง และมีวิริยะมากขึ้น |
| | |
กรรมมีบริวารไม่ดี |
| เกิดจากกรรม |
| | 1.ไม่กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ และคนใกล้ชิดในชาติก่อน 2.เคยให้ร้ายคนอื่นไว้ก่อน เมื่ออดีตชาติ 3.ไม่ช่วยเหลือส่วนรวม |
แก้วิบากกรรม |
| 1.หมั่นทำบุญโดย ให้ทาน กับบุคคลที่ใกล้ตัว และหมั่นชักชวนบุคคลอื่นทำบุญร่วมกัน เกิดชาตินั้นฉันใดจะมีบริวารมากมาย 2.ให้ร่วมทำบุญด้าน บวชนาคหมู่ หรือสามเณรภาคฤดูร้อน จะทำให้พ้นทุกข์และมีบริวารที่ดี อยู่ในศีลธรรม 3.หมั่นกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ |
| | |
กรรมให้แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง |
| เกิดจากกรรม |
| | 1.ฆ่าสัตว์ไว้เยอะ 2.เห็นคนเป็นอันตราย ก็พลอยสมน้ำหน้า 3.จิตใจอาฆาต คอยแช่งบุคคลอื่นเสมอ 4.ทำแท้ง ฆ่าคนมาก่อน |
แก้วิบากกรรม |
| 1.สร้างประตูวัด ป้องกันอันตรายให้ตนเอง ทำวันเกิดตนเองจะทำให้แคล้วคลาดอันตรายได้ 2.มีหิริ โอตัปปะ ในจิตใจ 3.สวดมนต์คาถาป้องกันภัย 10 ทิศ ทุกวันเกิด 3 จบ 4.ตักบาตรทุกวันเกิด อุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรให้อโหสิกรรม |
| | |
กรรมเจอแต่คนเอาเปรียบ |
| เกิดจากกรรม |
| | 1.เคยเบียดเบียนเงินพ่อแม่ไว้ในอดีตชาติ 2.เคยโกงคนไว้ในอดีตชาติ 3.ขโมยเงินครอบครัวมาใช้ |
แก้วิบากกรรม |
| 1.หมั่นยึดถือศีล 5 ให้มั่น 2.ไม่ดื่มเหล้า ทำให้ขาดสติ โดนโกงง่าย 3.หมั่นสวดมนต์ อธิษฐานบารมีด้านขอพรให้พบเจอคนดี ๆ เข้ามาในชีวิต |
| | |
กรรมไม่มีลาภลอย |
| เกิดจากกรรม |
| | 1.ไม่เคยทำบุญเกินจิตที่ตั้งไว้ และเวลาบริจาคเสียดายทรัพย์ทั้งทั้งที่ตนมรเงินมากมาย เกิดความตระหนี่แบบไม่ให้ทานอย่างเต็มใจ 2.ไม่ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ และยังอยากโลภได้เงินมาก ๆ โดยมิชอบ |
แก้วิบากกรรม |
| 1.ตั้งจิตทำบุญ ทำกุศลด้วยความบริสุทธิ์ใจ และตั้งมั่นที่จะช่วยเหลือศาสนาโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน 2.หมั่นทำบุญใหญ่ ขอพรด้านลาภลอย 3.ให้ฝังลูกนิมิตร ปีละครั้ง อธิษฐานขอพรจะทำให้สมหวังในจิตที่ขอ |
| | |
การออกกรรม |
| กรรม คือ การกระทำ หากทำกรรมไม่ดีก็ทำให้ทุกข์ทรมาน การออกกรรมทำให้รู้กรรมและแก้กรรมได้ ทุกข์จากกรรมที่ตนเคยทำไว้ตั้งแต่อดีตชาติ ปัจจุบันชาติ ยังผลให้ตนเองได้รับวิบากนั้น ทำให้ชีวิตทุกข์ต่าง ๆ การออกจากกรรมนั้น เป็นการแสดงอาการกรรมให้รู้ เพื่อแก้ไขมิใช่ให้ยึดติด เพราะจะทำให้จิตไม่ตัดกรรม ฉะนั้นเมื่อรู้กรรม ควรทำกุศลในทางที่ถูกต้อง เพื่อชีวิตที่จะดีขึ้นต่อไป |
|
วิธีออกกรรม |
| นั่งสมาธิ บริกรรมยุบ พอง เป็นอาการเร่งกรรมให้แสดงออก ควรมีพระผู้รู้กำกับจะทำให้ไม่บ้า และส่งกุศลได้ถูกต้อง ดวงจิตที่มืดก็เปิดสว่างได้ บุญก็เกิด เช่น เคยฆ่าปลา - ควรทำสังฆทานอุทิศให้ทุกเดือนติดกัน 1 ปี (กรรมป่วยบ่อย) จะทำให้คุณดีขึ้น เคยทำร้ายผู้มีพระคุณ -ควรขอขมาผู้มีพระคุณ และขอพรทุกปี ทำให้ (กรรมโดนกด) วันสำคัญทุกปี เคยด่าคนไว้ -หมั่นตักบาตรทุกวันเกิดตนเอง อุทิศให้เจ้ากรรม (กรรมเป็นโรคลม) นายเวร อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน |
ความคิดเห็น