ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : พุทธศาสนาในประเทศเกาหลี
พระพุทธศาสนาในประเทศเกาหลี
ศาสนาพุทธเป็นศาสนา ประเภทอเทวนิยม และเป็นหนึ่งในสามของศาสนาโลก ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน ๖ ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ ๑๑ กิโลเมตร จากนั้นพุทธศาสนาได้แพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือ เถรวาทและมหายานชาติกำเนิดของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เดิมชื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เกิดในศากยวงศ์ แห่งกรุงกบิลพัสด์ พระบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาคือ พระนางสิริมหามายา เสด็จออกผนวชเมื่อพระชนมายุ ๒๙ พรรษา บำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ ปี จึงตรัสรู้เมื่อ พระชนมายุ ๓๕ พรรษา ทรงประกาศพระศาสนาอยู่๔๕ ปี เสด็จปรินิพพานเมื่อพระขนมายุได้ ๘๐ พรรษา ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นของการนับพุทธศักราช พุทธศาสนาสมัยพุทธกาล
ต่อจากนั้นได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระยสะ และพวกอีก ๕๔ ท่านจนเป็นพระอรหันต์หมดจึงมีพระอรหันต์ทั้งสิ้น ในครั้งนั้นรวมทั้งพระองค์ด้วยเป็น ๖๑ พระองค์ พระพุทธเจ้าจึงสั่งสาวกออกประกาศศาสนา โดยมีพระปฐมวาจาในการส่งพระสาวกออกประกาศศาสนาว่า
“ดูก่อนพระภิกษุทั้งหลาย เราหลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ และของมนุษย์ แม้พวกเธอได้หลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวงทั้งของทิพย์และของมนุษย์เช่นกัน พวกเธอจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป จงแสดงธรรมให้งามในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะให้ครบถ้วนบริบูรณ์ สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลี คือ กิเลส ในจักษุเพียงเล็กน้อยมีอยู่ แต่เพราะโทษที่ยังไม่ได้สดับธรรม จึงต้องเสื่อมจากคุณที่พึงจะได้รับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้รู้ทั่วถึงธรรมมีอยู่ แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม”
จึงทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายไปในชมพูทวีปอย่าง รวดเร็ว ชาวชมพูทวีปพากันละทิ้งลัทธิเดิมแล้วหันมานับถือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธ ศาสนามากขึ้นโดยลำดับพุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพาน เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ฐานะของพระพุทธศาสนาเดิมไม่แน่นอน เจริญบ้างเสื่อมบ้าง อันเนื่องมาจากเหตุภายใน คือพุทธบริษัทแตกสามัคคี ส่วนเหตุภายนอก คือ ถูกผู้มีอำนาจในศาสนาอื่นเบียดเบียนทั้งในรูปโดยตรง คือใช้กำลังเข้าทำลาย และโดยอ้อม คือ การกลืนศาสนาในรูปแบบต่าง ๆ แต่ในทางพระพุทธศาสนาได้หาทางแก้ไข เช่นมีการจัดทำสังคายนา ร้อยกรองพระธรรมวินัย ที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไปการสังคายนาครั้งที่ ๑การสังคายนาครั้งที่ ๑ กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๓ เดือน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน พระอานนท์เป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระธรรม พระอุบาลีเป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระวินัย มีพระอรหันต์เข้าร่วม ๕๐๐ รูป กระทำ ๗ เดือนจึงแล้วเสร็จ มีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพระ สุภัททะกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยหลังพุทธปรินิพพานเพียง ๗ วัน ทำให้พระมหากัสสปะ ดำริจัดสังคายนาขึ้น ในการสังคายนาครั้งนี้ พระอานนท์ได้กล่าวถึงพุทธานุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ แต่ที่ประชุมตกลงกันไม่ได้ว่าสิกขาบทเล็กน้อยคืออะไร พระมหากัสสปะจึงให้คงไว้อย่างเดิมเมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว พระปุราณะพร้อมบริวาร ๕๐๐ รูป จาริกมายังแคว้นราชคฤห์ ภิกษุที่เข้าร่วมสังคายนาได้แจ้งเรื่องสังคายนาให้พระปุราณะทราบ พระปุราณะแสดงความเห็นคัดค้านเกี่ยวกับสิกขาบทบางข้อและยืนยันปฏิบัติตาม เดิม ซึ่งแสดงให้เห็นเค้าความแตกแยกในคณะสงฆ์การสังคายนาครั้งที่ ๒: การแตกนิกาย เมื่อพุทธปรินิพพานล่วงไป ๑๐๐ ปี ภิกษุชาววัชชี เมืองเวสาลี ได้ตั้งวัตถุ ๑๐ประการ ซึ่งผิดไปจากพระวินัย ทำให้มีทั้งภิกษุที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนเกิดการแตกแยกในหมู่สงฆ์ พระยสกากัณฑบุตร ได้จาริกมาเมืองเวสาลี และทราบเรื่องนี้ ได้พยายามคัดค้าน แต่ภิกษุชาววัชชีไม่เชื่อฟัง ภิกษุที่สนับสนุนพระยสกากัณฑบุตรจึงนำเรื่องไปปรึกษาพระเถระผู้ใหญ่ในขณะ นั้นได้แก่ พระเรวตะ พระสัพกามีเถระ เป็นต้น จึงตกลงทำสังคายนาขึ้นภิกษุชาววัชชีไม่ยอมรับและไม่เข้าร่วมการสังคายนานี้ แต่ไปรวบรวมภิกษุฝ่ายตนประชุมทำสังคายนาต่างหาก เรียกว่ามหาสังคีติ และเรียกพวกของตนว่ามหาสังฆิกะ ทำให้พุทธศาสนาในขณะนั้นแตกเป็น ๒ นิกาย คือฝ่ายที่นับถือมติของพระเถระครั้งปฐมสังคายนาเรียก เถรวาท ฝ่ายที่ถือตามมติของอาจารย์ของตนเรียก อาจาริยวาทอีกราว ๑๐๐ ปีต่อมา สงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่ายมีการแตกนิกายออกไปอีก หลักฐานฝ่ายภาษาบาลีว่าแตกไป ๑๘ นิกาย หลักฐานฝ่ายภาษาสันสกฤตว่า แตกไป ๒๐ นิกาย ได้แก่หลักฐานฝ่ายบาลีเถรวาท แยกเป็นนิกายมหิสาสกวาท แยกเป็นนิกายสัพพัตถิกวาท ต่อมาแยกตัวเป็นนิกายกัสสปิกวาท นิกายสังกันติกวาท นิกายสุตตวาทนิกายธรรมคุตตวาทนิกายวัชชีปุตวาท แยกเป็นนิกายธัมมตตริกวาทนิกายภัทรยานิกวาทนิกายฉันนาคาริกวาทนิกายสมิติวาท นิกายมหาสังฆิกะ แยกเป็นนิกายเอกัพโยหาริกวาท แยกเป็นนิกายพหุสสุ ติกวาทนิกายปัญญัติกวาทนิกายโคกุลิกวาทนิกายเจติยวาทหลักฐานฝ่ายสันสกฤต เถรวาท แยกเป็นนิกายเหมวันตวาทนิกายสรวาสติวาท แยกเป็นนิกายมหิศาสกวาท ต่อมาแยกเป็น นิกายธรรมคุปตวาทนิกายกาศยปิกวาทนิกายเสาตรันติกวาทนิกายวาตสีปุตริยวาท แยกเป็นนิกายศันนาคาริกวาทนิกายสามมมีติยวาทนิกายภัทรยานิยวาทนิกายธรรโมต ตริยวาทนิกายมหาสังฆิกะ แยกเป็นนิกายเอกวยหาริกวาทนิกายโลโกตรวาทนิกายโคกุลิกวาทนิกายพหุศรติยวาทนิ กายปัญญัตวาทนิกายไจติกวาทนิกายอปรเสลิยวาท การสังคายนาครั้งที่ ๓
ในปัจจุบันคณะสงฆ์ในประเทศเกาหลี ถือว่าเป็นคณะสงฆ์ที่มีความก้าวหน้าเท่าทันเหตุการณ์ ตื่นตัวในทุกด้าน พร้อมที่จะปรับตัวตนเพื่อให้ทันกับความเจริญของพระศาสนาในด้านต่างๆอยู่เสมอ เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนานั่นเอง กิจการที่พระสงฆ์เกาหลีใต้สนใจ และทำกันอย่างเข้มแข็งจริงจังที่สุดนั้นคือ ไม่มีด้านใดเกินกว่าเรื่อง การศึกษา ซึ่งเรื่องนี้เป็นการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในด้านการศึกษาภาคบังคับในเกาหลีเพิ่งมีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ มีสถิติคนอ่านออกเขียนได้ถึง ๙๕% มีมหาวิทยาลัยที่ประกอบด้วยกัน ๖ คณะ ขึ้นไปรวม ๒๐ มหาวิทยาลัย มีวิทยาลัยต่าง ๆอิสระอีก ๔๘ แห่ง ทั้งที่เกาหลีมีดินแดนเพียง ๑๔ จังหวัด มีพลเมืองสำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ประมาณ ๒๒,๕๐๐,๐๐๐ คนมีตัวเลขสถิติเกี่ยงกับจำนวนพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนในเกาหลีที่น่าสนใจ ดังนี้วัดภิกษุประมาณ ๑,๔๐๐วัดวัดภิกษุณี ประมาณ ๓๐๐รวมประมาณ ๑,๗๐๐ วัดภิกษุสามเณร ๘,๙๒๕ รูปภิกษุณีและสามเณรี ๓,๓๒๖ รูปรวมทั้งสิ้น ๑,๒๒๕๑ รูปอุบาสก ๒,๖๕๘,๕๘๒ คนอุบาสิกา ๑,๒๒๗,๙๑๐ คนรวมทั้งสิ้น ๓,๘๘๖,๔๙๒ คนในประเทศเกาหลีใต้ (ปีพ.ศ. ๒๕๒๖) มีวัดลงทะเบียนจำนวน ๓,๑๖๓วัด และไม่ลงทะเบียน ๔,๐๙๐ วัด มีภิกษุ ๑๔,๒๐๖ รูป และภิกษุณีจำนวน ๖,๕๔๙ รูป จำนวนนี้อาจรวมนิกายโชกาย และนิกายเล็กต่างๆในจำนวนพลเมืองเกาหลี ๒๒ ล้าน ๕แสนคนนั้น สวนใหญ่นักถือพระพุทธศาสนา และในบรรดาพุทธศาสนิกชนเหล่านี้ ผู้ที่เป็นอุกบาสิกาหมายถึงพุทธศาสนิกชนทีมีศรัทธามาก เป็นสมาชิกแห่งองค์การพระพุทธศาสนาด้วย การบริหารการคณะสงฆ์ของเกาหลี มีพระสังฆราชเป็นประมุขและมีระบบงานประกอบด้วยสังฆสมาคมซึ่งมีสมาชิกเป็นผู้ แทนพระสงฆ์ ๕๐ รูปอย่างหนึ่ง คณะกรรมาธิการสอดส่องตรวดตรารักษาระเบียบวินัยและความสงบเรียบร้อยคณะหนึ่ง และพระภิกษุผู้บริหารกิจการทั่วไปของพระศาสนา ซึ่งพระเถระผู้ดำรงตำแหน่งเทียบได้กับพระสังฆนายกเป็นประธานอีกคณะหนึ่งใน การบริหารการพระศาสนาทั้งปวงนี้ คณะสงฆ์มีวัดที่เป็นสำนักงานใหญ่รวมไว้ในที่เดียว คือ วัดโชเคชา พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งบริหารแต่เดิมจะอยู่วัดใดก็ตาม เมื่อได้เป็นพระสังฆนายกและพระสังฆมนตรีแล้ว จะต้องย้ายมาอยู่ประจำสำนักงาน ณ วัดโชเคชา นี้ทั้งหมดตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชจัดเป็นตำแหน่งพิเศษ เป็นประมุขที่เคารพบูชาของชาวพุทธมิได้มีหน้าที่บริหารงานโดยตรงทรงมีสิทธิ พิเศษจะประทับ ณ วัดใดก็ได้ และจะทรงย้ายไปประทับ ณ วัดใดเมื่อใดก็ได้ตามประสงค์ ไม่ถือว่าทรงสังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง เมื้อ พ.ศ.๒๕๑๑ สมเด็จพระสังฆราชลีชุงดัม ประทับ ณ วัดโทเซิ่น อยู่บนภูเขากรงโซล มีทางเดินจากเชิงเขาขึ้นไปถึงวัดยาว ๒ กิโลเมตรในด้านการปกครองภิกษุณี แต่ละวัดมีภิกษุณีเจ้าอาวาสและเจ้าอาวาสทุกวัดขึ้นต่อองค์การปกครองของคณะ สงฆ์ทั้งหมดโดยนัยนี้ การปกครองทั้งฝ่ายภิกษุและภิกษุณีจึงรวมเป็นอันเดียวเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันในด้านการศึกษา นอกจากจะมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมสำหรับสอนพระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร และสามเณรี (สตรีที่จะบวชเป็นภิกษุณี)แล้ว คณะสงฆ์เกาหลีใต้ยังมีสถานศึกษาฝ่ายสามัญระดับต่างๆที่เปิดรับนักเรียนชาย หญิงโดยทั่วไปด้วย ซึ่งสถาบันเหล่านี้มีคฤหัสถ์(บุคคลทั่วไป)เป็นผู้บริหาร แต่อยู่ในความควบคุมดูแลของคณะกรรมาธิการฝ่ายการศึกษาของคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๑๑ สถานศึกษาเหล่านี้แยกประเภทได้ดังนี้มหาวิทยาลัยและ วิทยาลัย
๓ แห่งโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
๑๑ แห่งโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
๑๖ แห่งโรงเรียนประถมศึกษา
๓ แห่งโรงเรียนอนุบาล
๗ แห่งมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของเกาหลี คือ มหาวิทยาลัยดงกุก ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ปัจจุบันมีนักศึกษาชายทั้งหมด ๖,๐๐๐ คน มีภิกษุ สามเณรศึกษาอยู่ด้วยประมาณ ๖๐ รูป ใน พ.ศ. ๒๕๐๗ คณะสงฆ์เกาหลีใต้ตั้งโครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับเกาหลีขึ้น เรียกว่า ศูนย์แปลพระไตรปิฎกเกาหลี ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยดงกุกประกอบด้วยวิทยาลัยต่างๆ ๖ วิทยาลัย และมีสาขาวิชา ๗๒ สาขา เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๗ คณะสงฆ์เกาหลีได้เริ่มตั้งโครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับเกหลี เรียก “ศูนย์แปลพระไตรปิฎกเกาหลี “อยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยดงกุก มีคณะกรรมการแปล ๖๕ ท่าน ตามโครงการนี้จะตีพิมพ์พระไตรปิฎกแปลเป็นเล่ม ออกเดือนละ ๑ เล่ม รวมทั้งสิ้น ๒๔๐ เล่ม ภายในเวลา ทั้งหมดประมาณ ๔๕ ปีปัจจุบันพระพุทธศาสนาในเกาหลีเป็นแบบนิกายเซนเจือด้วยความเชื่อในพระอมิ ตาภะพุทธเจ้าบ้างพระเมตไตรโพธิสัตว์บ้าง
สรุป พระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่ประเทศเกาหลีเมื่อ พ.ศ. ๙๑๕ โดยสมณทูตซุนเตา เดินทางจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรโกคุริโอ คือ ประเทศเกาหลีในปัจจุบัน
พระพุทธศาสนาได้ขยายเข้ามาในเกาหลีอย่างรวดเร็ว เพียงระยะเวลา ๒๐ ปี ก็มีการสร้างวัดขึ้นมากมาย เฉพาะเมืองหลวงแห่งเดียว ๙ วัด ประเทศเกาหลี ในสมัยก่อนนั้นประกอบด้วย ๓ อาณาจักรคือ โกคุริโอ ปีกเช และซิลลา แต่ผู้นำทั้ง ๓ อาณาจักรก็นับถือพระพุทธศาสนา และให้การสนับสนุนกิจการต่างๆ
อันที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเสมอ และที่สำคัญได้ทรงถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ส่งเสริม และให้การศึกษาแก่ประชาชน และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน พร้อมทั้งสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ พระพุทธศาสนาจึงมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดมา
credit : http://www.watnakkharin.org/index.php?mo=3&art=299776
08/11/2010 View: 412
ศาสนาพุทธเป็นศาสนา ประเภทอเทวนิยม และเป็นหนึ่งในสามของศาสนาโลก ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน ๖ ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ ๑๑ กิโลเมตร จากนั้นพุทธศาสนาได้แพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือ เถรวาทและมหายานชาติกำเนิดของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เดิมชื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เกิดในศากยวงศ์ แห่งกรุงกบิลพัสด์ พระบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาคือ พระนางสิริมหามายา เสด็จออกผนวชเมื่อพระชนมายุ ๒๙ พรรษา บำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ ปี จึงตรัสรู้เมื่อ พระชนมายุ ๓๕ พรรษา ทรงประกาศพระศาสนาอยู่๔๕ ปี เสด็จปรินิพพานเมื่อพระขนมายุได้ ๘๐ พรรษา ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นของการนับพุทธศักราช พุทธศาสนาสมัยพุทธกาล
เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เพื่อโปรดปัญจวัคคีย์พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พวกปัญจวัคคีย์ ชื่อ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ผลก็คือทำให้พระอัญญาโกณทัญญะได้เป็นพระโสดาบัน แล้วทูลขออุปสมบทในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ จึงเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และพระรัตนตรัยจึงเกิดขึ้นในโลกเช่นกันในวันนั้น ต่อมาได้ทรงแสดงธรรมอื่นโปรดพระอีก ๔ องค์ จนเป็นพระโสดาบัน และเมื่อพระปัญจวัคคีย์เป็นพระโสดาบันหมดแล้ว ทรงแสดงธรรมอนัตตลักขณสูตร ผลปรากฏว่า พระปัญจวัคคีย์เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
ต่อจากนั้นได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระยสะ และพวกอีก ๕๔ ท่านจนเป็นพระอรหันต์หมดจึงมีพระอรหันต์ทั้งสิ้น ในครั้งนั้นรวมทั้งพระองค์ด้วยเป็น ๖๑ พระองค์ พระพุทธเจ้าจึงสั่งสาวกออกประกาศศาสนา โดยมีพระปฐมวาจาในการส่งพระสาวกออกประกาศศาสนาว่า
“ดูก่อนพระภิกษุทั้งหลาย เราหลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ และของมนุษย์ แม้พวกเธอได้หลุดพ้นจากบ่วงทั้งปวงทั้งของทิพย์และของมนุษย์เช่นกัน พวกเธอจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป จงแสดงธรรมให้งามในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะให้ครบถ้วนบริบูรณ์ สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลี คือ กิเลส ในจักษุเพียงเล็กน้อยมีอยู่ แต่เพราะโทษที่ยังไม่ได้สดับธรรม จึงต้องเสื่อมจากคุณที่พึงจะได้รับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้รู้ทั่วถึงธรรมมีอยู่ แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม”
จึงทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายไปในชมพูทวีปอย่าง รวดเร็ว ชาวชมพูทวีปพากันละทิ้งลัทธิเดิมแล้วหันมานับถือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธ ศาสนามากขึ้นโดยลำดับพุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพาน เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ฐานะของพระพุทธศาสนาเดิมไม่แน่นอน เจริญบ้างเสื่อมบ้าง อันเนื่องมาจากเหตุภายใน คือพุทธบริษัทแตกสามัคคี ส่วนเหตุภายนอก คือ ถูกผู้มีอำนาจในศาสนาอื่นเบียดเบียนทั้งในรูปโดยตรง คือใช้กำลังเข้าทำลาย และโดยอ้อม คือ การกลืนศาสนาในรูปแบบต่าง ๆ แต่ในทางพระพุทธศาสนาได้หาทางแก้ไข เช่นมีการจัดทำสังคายนา ร้อยกรองพระธรรมวินัย ที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไปการสังคายนาครั้งที่ ๑การสังคายนาครั้งที่ ๑ กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๓ เดือน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน พระอานนท์เป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระธรรม พระอุบาลีเป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระวินัย มีพระอรหันต์เข้าร่วม ๕๐๐ รูป กระทำ ๗ เดือนจึงแล้วเสร็จ มีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพระ สุภัททะกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยหลังพุทธปรินิพพานเพียง ๗ วัน ทำให้พระมหากัสสปะ ดำริจัดสังคายนาขึ้น ในการสังคายนาครั้งนี้ พระอานนท์ได้กล่าวถึงพุทธานุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ แต่ที่ประชุมตกลงกันไม่ได้ว่าสิกขาบทเล็กน้อยคืออะไร พระมหากัสสปะจึงให้คงไว้อย่างเดิมเมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว พระปุราณะพร้อมบริวาร ๕๐๐ รูป จาริกมายังแคว้นราชคฤห์ ภิกษุที่เข้าร่วมสังคายนาได้แจ้งเรื่องสังคายนาให้พระปุราณะทราบ พระปุราณะแสดงความเห็นคัดค้านเกี่ยวกับสิกขาบทบางข้อและยืนยันปฏิบัติตาม เดิม ซึ่งแสดงให้เห็นเค้าความแตกแยกในคณะสงฆ์การสังคายนาครั้งที่ ๒: การแตกนิกาย เมื่อพุทธปรินิพพานล่วงไป ๑๐๐ ปี ภิกษุชาววัชชี เมืองเวสาลี ได้ตั้งวัตถุ ๑๐ประการ ซึ่งผิดไปจากพระวินัย ทำให้มีทั้งภิกษุที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนเกิดการแตกแยกในหมู่สงฆ์ พระยสกากัณฑบุตร ได้จาริกมาเมืองเวสาลี และทราบเรื่องนี้ ได้พยายามคัดค้าน แต่ภิกษุชาววัชชีไม่เชื่อฟัง ภิกษุที่สนับสนุนพระยสกากัณฑบุตรจึงนำเรื่องไปปรึกษาพระเถระผู้ใหญ่ในขณะ นั้นได้แก่ พระเรวตะ พระสัพกามีเถระ เป็นต้น จึงตกลงทำสังคายนาขึ้นภิกษุชาววัชชีไม่ยอมรับและไม่เข้าร่วมการสังคายนานี้ แต่ไปรวบรวมภิกษุฝ่ายตนประชุมทำสังคายนาต่างหาก เรียกว่ามหาสังคีติ และเรียกพวกของตนว่ามหาสังฆิกะ ทำให้พุทธศาสนาในขณะนั้นแตกเป็น ๒ นิกาย คือฝ่ายที่นับถือมติของพระเถระครั้งปฐมสังคายนาเรียก เถรวาท ฝ่ายที่ถือตามมติของอาจารย์ของตนเรียก อาจาริยวาทอีกราว ๑๐๐ ปีต่อมา สงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่ายมีการแตกนิกายออกไปอีก หลักฐานฝ่ายภาษาบาลีว่าแตกไป ๑๘ นิกาย หลักฐานฝ่ายภาษาสันสกฤตว่า แตกไป ๒๐ นิกาย ได้แก่หลักฐานฝ่ายบาลีเถรวาท แยกเป็นนิกายมหิสาสกวาท แยกเป็นนิกายสัพพัตถิกวาท ต่อมาแยกตัวเป็นนิกายกัสสปิกวาท นิกายสังกันติกวาท นิกายสุตตวาทนิกายธรรมคุตตวาทนิกายวัชชีปุตวาท แยกเป็นนิกายธัมมตตริกวาทนิกายภัทรยานิกวาทนิกายฉันนาคาริกวาทนิกายสมิติวาท นิกายมหาสังฆิกะ แยกเป็นนิกายเอกัพโยหาริกวาท แยกเป็นนิกายพหุสสุ ติกวาทนิกายปัญญัติกวาทนิกายโคกุลิกวาทนิกายเจติยวาทหลักฐานฝ่ายสันสกฤต เถรวาท แยกเป็นนิกายเหมวันตวาทนิกายสรวาสติวาท แยกเป็นนิกายมหิศาสกวาท ต่อมาแยกเป็น นิกายธรรมคุปตวาทนิกายกาศยปิกวาทนิกายเสาตรันติกวาทนิกายวาตสีปุตริยวาท แยกเป็นนิกายศันนาคาริกวาทนิกายสามมมีติยวาทนิกายภัทรยานิยวาทนิกายธรรโมต ตริยวาทนิกายมหาสังฆิกะ แยกเป็นนิกายเอกวยหาริกวาทนิกายโลโกตรวาทนิกายโคกุลิกวาทนิกายพหุศรติยวาทนิ กายปัญญัตวาทนิกายไจติกวาทนิกายอปรเสลิยวาท การสังคายนาครั้งที่ ๓
การแพร่กระจายของพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อกำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา มีพระโมคคัลลีบุรติสสะเป็นประธาน ใช้เวลา ๓ เดือนจึงสำเร็จในการสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคัลลีบุรติสสะ ได้แต่งกถาวัตถุขึ้น เพื่ออธิบายธรรมให้แจ่มแจ้งหลังจากการสังคายนาสิ้นสุดลง พระเจ้าอโศกฯได้ส่งสมณฑูต ๙ สายออกเผยแผ่พุทธศาสนา คือคณะพระมัชฌันติกเถระ ไปแคว้นแคชเมียร์ และแคว้นคันธาระคณะพระมหาเทวะ ไป มหิสกมณฑล ซึ่งคือแคว้นไมซอร์ และดินแดนลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ในอินเดียใต้ปัจจุบันคณะพระรักขิตะ ไปวนวาสีประเทศ ได้แก่ แคว้นบอมเบย์ในปัจจุบันคณะพระธรรมรักขิต ไป อปรันตกชนบท แถบทะเลอาหรับทางเหนือของบอมเบย์คณะพระมหาธรรมรักขิต ไปแคว้นมหาราษฎร์คณะพระมหารักขิต ไปโยนกประเทศ ได้แก่แคว้นกรีกในเอเชียกลาง อิหร่าน และเตอร์กิสถานคณะพระมัชฌิมเถระ ไปแถบเทือกเขาหิมาลัย คือเนปาลปัจจุบันคณะพระโสณะ และพระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไทย พม่า มอญคณะพระมหินทระ ไปลังกา กำเนิดมหายาน พระพุทธศาสนามหายานเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๖-๗ โดยเป็นคณะสงฆ์ที่มีความเห็นต่างจากนิกายเดิมที่มีอยู่ ๑๘ - ๒๐ นิกายในขณะนั้น จึงแยกออกมาตั้งนิกายใหม่ เหตุที่มีการพัฒนาลัทธิมหายานขึ้นนั้นเนื่องจากแรงผลักดันจากการปรับปรุง ศาสนาพราหมณ์ มีการแต่งมหากาพย์รามายณะและมหาภารตะเพื่อดึงดูดใจผู้อ่านให้ภักดีต่อพระผู้ เป็นเจ้า กำหนดให้มีพระเจ้าสูงสุด ๓ องค์ คือพระพรหม พระนารายณ์ พระอิศวร ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ ศาสนาพราหมณ์จึงฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ฝ่ายพุทธศาสนาจึงจำเป็นต้องปรับตัว แรงบันดาลใจจากบุคลิกภาพของพระพุทธองค์ ฝ่ายมหายานเห็นว่าพระพุทธองค์เป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ ไม่นิกายอุตรเสลิยวาทควรสิ้นสุดหลังจากปรินิพพาน ทำให้เหมือนกับว่าชาวพุทธขาดที่พึ่ง จึงเน้นคุณความดีของพระองค์ ในฐานะที่เป็นพระโพธิสัตว์ เน้นให้ชาวพุทธปราถนาพุทธภูมิ บำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ช่วยเหลือผู้อื่นภายหลังจึงเกิดแนวคิดตรีกายของ พระพุทธเจ้าเกิดจากบทบาทของพุทธบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์ เพราะลัทธิมหายานเน้นที่การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ ซึ่งพระโพธิสัตว์เป็นคฤหัสถ์ได้ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้คฤหัสถ์เข้ามามีบทบาทมากขึ้นคณาจารย์ที่สำคัญของ นิกายมหายานคือ พระอัศวโฆษ พระนาคารชุน พระอสังคะ พระวสุพันธุ เป็นต้นพุทธศาสนานิกายมหายานได้แพร่หลายไปทางทิศเหนือของอินเดีย เข้าสู่ ทิเบต จีน ญี่ปุ่น บางครั้งจึงเรียกอุตรนิกาย ส่วนนิกายเถรวาท ได้แพร่หลายไปทางใต้ของอินเดีย เข้าสู่ศรีลังกา พม่า ไทย บางครั้งจึงเรียกทักษิณนิกายการแพร่กระจายของมหายาน
การแพร่กระจายของมหายานระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๖ - ๑๕อินเดียและความเสื่อมของพุทธศาสนา พุทธศาสนามหายานในอินเดียได้รับการสนับสนุนโดยราชวงศ์กุษาณ เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์กุษาณ พุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์โดยราชวงศ์คุปตะ มีการสร้างศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนา คือ มหาวิทยาลัยนาลันทาและมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา ในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เช่น พระนาคารชุน พุทธศาสนาในสมัยนี้ได้แพร่หลายไปยังจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกระทั่ง การสิ้นสุดอำนาจของราชวงศ์คุปตะจากการรุกรานของชาวฮั่นในพุทธศตวรรษที่ ๑๑บันทึกของหลวงจีนอี้จิงที่มาถึงอินเดียในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ กล่าวว่า พุทธศาสนารุ่งเรืองในอันธระ ธันยกตกะ และ ฑราวิฑ ปัจจุบัน คือรัฐอันธรประเทศและทมิฬนาดู ยังมีชาวพุทธในเนปาล และสสันภะ ในอาณาจักรคังทา (รัฐเบงกอลตะวันตกในปัจจุบัน) และ หรรษวรรธนะ เมื่อสิ้นสุดยุคอาณาจักรหรรษวรรธนะ เกิดอาณาจักรเล็กๆขึ้นมากมาย โดยมีแคว้นราชปุตให้การอุปถัมภ์พุทธศาสนา จนกระทั่ง ยุคจักรวรรดิปาละในเบงกอล พุทธศาสนามหายานรุ่งเรืองอีกครั้ง และได้แพร่หลายไปยังสิกขิมและภูฏาน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๗ เมื่อจักรวรรดิปาละปกรองด้วยกษัตริย์ราชวงศ์เสนะที่นับถือศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธจึงเสื่อมลงศาสนาพุทธในอินเดียเริ่มเสื่อมลงอย่างช้า ๆ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๕ เป็นต้นมา ความเสื่อมในอินเดียตะวันออกเริ่มตั้งแต่จักรวรรดิปาละหันไปส่งเสริมศาสนา ฮินดูไวษณพนิกาย ส่วนในอินเดียเหนือเริ่มเสื่อมตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๓๖ เมื่อชาวเติร์กที่นับถือศาสนาอิสลาม นำโดยมูฮัมหมัด คิลญี บุกอินเดียและเผามหาวิทยาลัยนาลันทา ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๔๒ เป็นต้นไป ศาสนาอิสลามแพร่เข้าสู่พิหาร ทำให้ชาวพุทธโยกย้ายไปทางเหนือเข้าสู่เทือกเขาหิมาลัยหรือลงใต้ไปที่ศรี ลังกา นอกจากนั้น ความเสื่อมของศาสนาพุทธยังเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของศาสนาฮินดู ภายใต้การนำของขบวนการต่าง ๆ เช่น อัธไวตะ ภักติ และการเผยแพร่ศาสนาของนักบวชลัทธิซูฟีพระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่ประเทศเกาหลี เมื่อ พ.ศ.๙๑๕ โดยสมณทูตซุนเตา เดินทางจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรโกคุริโอ คือ ประเทศเกาหลีในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาได้ขยายเข้ามาในเกาหลีอย่างรวดเร็ว เพียงระยะเวลา 20 ปี ก็มีการสร้างวัดขึ้นมากมาย เฉพาะเมืองหลวงแห่งเดียว 9 วัด ประเทศเกาหลี ในสมัยก่อนนั้นประกอบด้วย 3 อาณาจักรคือ โกคุริโอ แพกเจ และซิลลา แต่ผู้นำทั้ง 3 อาณาจักรก็นับถือพระพุทธศาสนา และให้การสนับสนุนกิจการต่างๆ อันที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเสมอ และที่สำคัญได้ทรงถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ส่งเสริม และให้การศึกษาแก่ประชาชน และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน พร้อมทั้งสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ พระพุทธศาสนาจึงมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดมาสมัยราชวงศ์โคเรียวใน พ.ศ. 1200 อาณาจักรซิลลาได้รับชัยชนะ ก็รวมอาณาจักรทั้งสามเป็นปึกแผ่นมั่นคง และรวบรวมพระคัมภีร์ต่างๆมาจัดเป็นแบบแผนเดียวกัน ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ทางรัฐก็ถวายการอุปถัมภ์แก่สงฆ์ เช่น การพิมพ์พระไตรปิฎก ,600 หน้า ด้วยตัวพิมพ์ไม้แกะ และการจารึกคัมภีร์ 50,000 เล่มเศษ ยุคนี้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมากสมัยราชวงศ์โชซอนครั้นถึง พ.ศ. 1935 พระพุทธศาสนาในเกาหลีก็เริ่มเสื่อมลงเมื่อราชวงศ์โซซอนขึ้นมามีอำนาจ ราชวงศ์นี้ได้เชิดชูลัทธิขงจื้อให้เป็นศาสนาประจำชาติ จึงทำการกดขี่ผู้นับถือพระพุทธศาสนา จนทำให้พระสงฆ์ต้องหนีออกไปอยู่อย่างสงบตามชนบท และป่าเขาสมัยญี่ปุ่นปกครองพ.ศ. 2453 ประเทศเกาหลีได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ราชวงศ์โชซอนสิ้นสุดลง เมื่อญี่ปุ่นเข้าปกครองเกาหลีก็ได้ออกกฎข้อบังคับควบคุมวัดวาอารามต่างๆ และพยายามก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่คณะสงฆ์ เช่น ส่งเสริมให้พระสงฆ์มีครอบครัวได้และดำรงชีวิตเหมือนฆราวาส จุดประสงค์ก็เพื่อทำลายพระพุทธศาสนาหลังสงครามโลกครั้งที่สองตอนปลาย สงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกาได้เข้ายึดเกาหลีจากญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2488 เกาหลีจึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศที่เส้นขนานที่ 38 องศาเหนือกล่าวคือ ทางตอนเหนืออยู่ภายใต้การคุ้มครองดูแลของสหภาพโซเวียต มีชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) ทางตอนใต้อยู่ภายใต้การดูแลของสหรัฐอเมริกา มีชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) เมื่อเกาหลีพ้นจากการปกครองของญี่ปุ่นแล้ว ชาวพุทธทั้งหลายในเกาหลี โดยเฉพาะพระสงฆ์ได้มีการเคลื่อนไหว โดยการประชุมใหญ่แล้วลงมติให้รัฐบาลยกเลิกข้อบังคับต่างๆ ที่ขัดแย้งกับหลักพระพุทธศาสนาซึ่งตราขึ้นในสมัยที่ญี่ปุ่นยึดครอง พร้อมทั้งให้คณะสงฆ์มีการปกครองตนเอง โดยมีสำนักงานอยู่ในนครหลวงและจังหวัดต่างๆให้มีสภาบริหารตนเองซึ่งอยู่ภาย ใต้การควบคุมของสำนักงานใหญ่ และได้มีการจัดประชุมเพื่อตราธรรมนูญปกครองคณะสงฆ์ขึ้นที่สำนักงานใหญ่ เมื่อพ.ศ. 2489 พระพุทธศาสนาในประเทศเกาหลีในปัจจุบัน
พระพุทธรูปในถ้ำซ็อกคูรัม สมัยซิลลา[๑]ประมาณ ๑,๖๐๐ ปีล่วงมาแล้ว เมื่อประเทศจีนแตกแยกเป็นก๊กต่างๆ รวม ๑๖ แคว้น ครั้งนั้นคาบสมุทรเกาหลีประกอบด้วยอาณาจักรใหญ่ ๓ แว่นแคว้น คือโกคุริโอ ปีกเชและซิลลา อาณาจักรทั้งสามนี้ได้แก่งแย่งแข่งอำนาจและรบพุ่งกันเพื่อชิงความเป็นใหญ่ ในอาณาจักรโกคุริโอได้ดำเนินวิเทโศบายผูกสัมพันธ์ไมตรีกับอาณาจักรเจียนจิ้น อันเป็นหนึ่งในจำนวนอาณาจักรจีน ๑๖แว่น แคว้นและได้รับความสนับสนุนในการรบกับแคว้นอื่นครั้งหนึ่ง อาณาจักรโกคุริโอ(เรียกอีกอย่างว่า โกมา) คงหวังกระชับสัมพันธไมตรีนั้นให้มันคงยิ่งขึ้นจึงได้สร้างราชทูตไปยังราช สำนักเจียนจิ้น ทูลขออาราธนาพระภิกษุสงฆ์ไปโปรดสัตว์ในอาณาจักรโกคุริโอ ท่านศาสนทุนซุนเตาได้เดินทางมาเผยแผ่พุทธธรรมในดินแดนที่เรียกในปัจจุบันว่า เกาหลี พร้อมด้วยพระคัมภีร์และพระพุทธรูป เป็นต้น อันวัตถุอันเป็นวัตถุเคารพบูชาที่สำคัญของศาสนาเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ พุทธศักราชล่วงได้ ๙๑๕ ปี นับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในเกาหลีพุทธธรรมที่พระศาสน ทูตได้นำเข้ามาเผยแผ่ได้แพร่หลายไปในหมู่ชุมชนชาติเกาหลี และได้รับความเคารพนับถืออย่างรวดเร็วภายในระยะเวลา ๒๐ ปี ก็ได้ประจักษ์พยานแห่งการประดิษฐานมั่นคงของพระพุทธศาสนา โดยแสดงออกในรูปวัตถุแม้เพียงในนครหลวงแห่งเดียวมีวัดพุทธศาสนาอยู่ ๙ วัดเมื่อพระพุทธศาสนาเข้าสู้อาณาจักรโกคุริโอได้ประมาณ ๑๓ ปี แล้ว ทางฝ่ายอาณาจักร ปีเช (เรียกอีกอย่างวา กุดารา)ก็ได้ต้อนรับพระภิกษุอินเดียนามว่า มรนันทะ เข้าไปเผยแพร่พุทธธรรมในดินแดนของตนบ้าง พระพุทธศาสนาในอาณาจักรนี้ ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นอย่างมากจนเป็นศาสนาประจำชาติ และได้ส่งพระศาสนทูตไปเผยแพร่ถึงประเทศญี่ปุ่นแต่กาลล่วงมาหลักคำสอนและการ ปฏิบัติในหันเหไปกลายเป็นลัทธิแห่งแบบแผนพิธีกรรมต่างๆ ใส่ใจในการก่อสร้าง และการเผยแพร่ในดินแดนต่างถิ่น ครั้นอาณาจักรเสื่อมสลายลงในกาลต่อมาก็คงเหลือแต่ศิลปวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เจดีย์ และวัดวาอารามเป็นอนุสรณ์ทางด้านอาณาจักรซิลลา (เรียกอีกอย่างว่า ชิราคิ) ผู้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปมิใช้ผู้ปกครองบ้านเมืองเช่นเดียวกับอาณาจักรข้าง ต้น หากแต่เกิดจากความเลื่อมใส่ของประชาชนที่แผ่กระจายออกไปเป็นเหตุผลักดัน ตำนานกล่าวว่า พระภิกษุจีนนามว่า อาเต๊า ได้เดินทางมาจากอาณาจักรโกคุริโอและเผยแพร่พุทธศาสนาแก่ประชาชน เบื้องต้นผู้นับถือได้ถูกขัดขวางและบีบคั้นอย่างรุนแรง แต่ในที่สุดการใช้อำนาจก็พ่ายแพ้แก่ศรัทธาอันมั่นคง พระมหากษัตริย์ได้ตัดสินพระทัยหันมาสนับสนุนพุทธศาสนา จนกระทั่งถือเป็นศาสนาประจำชาติ ด้วยมองเห็นเป็นประโยชน์ในส่วนนโยบายปกครองบ้านเมือง เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองแก่ประเทศชาติ เพราะคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องให้การศึกษาแก่ประชาชนและเป็นเครื่อง ยึดเหนี่ยวจิตใจประชาชน สร้างความสามัคคีพร้อมเพรียงขึ้นในชาติกาลต่อมา พุทธศักราชล่วงไป ๑,๒๐๐ ปี อาณาจักรซิลลาประสบชัยชนะ รวบรวมอาณาจักรทั้งสามเข้าเป็นอันเดียวกัน ข้อนี้เป็นเหตุให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างรากฐาน ที่จะยึดเหนี่ยวความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อความมั่นคงของรัฐด้วยการ ให้มีภาษาพูดอันเดียวกัน และมีศาสนาสำหรับเป็นหลักศรัทธาและแนวความนึกคิดเป็นอย่างเดียวกัน แม้ภารกิจอันนี้ก็ได้อาศัยพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้เดินทางไปเยี่ยมเยียนสำนักและ วัดสำคัญต่าง๐ ทั่วทั้งสามอาณาจักรดั่งเดิม ได้รวบรวมนำเอาพระคัมภีร์และตำรับตำราต่างๆ มาจัดวางรูปแบบเสียใหม่ ให้ประสานเข้าเป็นระบบแบบแผนอันเดียวกันเมื่อบ้านเมืองรวมเป็นปึกแผ่นแล้ว พระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมก็รุ่งเรืองยิ่งขึ้น การศึกษาหลักธรรมแพร่หลายไปทั่ว ชาวพุทธต่างกลุ่มต่างหมู่ศึกษาธรรมจากแง่ต่างกัน ศึกษาหลักในด้านใดด้านก็ยึดมั่นความเห็นไปในด้านนั้น เป็นเหตุให้แยกออกเป็นนิกายต่างๆ เป็นอันมาก เฉพาะที่สำคัญรวมได้ ๕ นิกาย เช่น นิกายศึกษาเป็นพิเศษในเรื่องอรรถแห่งนิพพานก็แยกเป็นนิกายหนึ่ง ผู้ที่ศึกษาหนักในด้านวินัย ก็แยกเป็นนิกายวินัย เป็นต้นศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมต่างๆ ก็เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นพระภิกษุสงฆ์ได้มีส่วนในกิจกรรมบ้านเมือง โดยช่วยเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคง ฝ่ายบ้านเมืองก็ช่วยถวายความอุปถัมภ์แก่พระภิกษุสงฆ์ เช่น ในการจารึกคัมภีร์ศาสนาเป็นจำนวนกว่าห้าหมื่นเล่ม เป็นต้น แม้การพิมพ์พระไตรปิฎก ๑๖,๐๐๐ หน้าด้วยพิมพ์ไม้แกะอันเป็นของใหม่ในประวัติศาสตร์ก็สำเร็จได้ด้วยการ อุปถัมภ์ ความเจริญของพระพุทธศาสนาได้เป็นไปด้วยก็นับแต่แผ่นดินยังแยกเป็น ๓ อาณาจักร จนกระทั่งรวมกันได้ในอาณาจักรซิลลาต่อมาในพ.ศ. ๑๔๗๘ อาณาจักรซิลลาพ่ายแพ้แก่หวั่งกอนผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่ซองโค (ปัจจุบันคือ กีซอง) และสถาปนาดินแดนเกาหลีในนามใหม่ว่า อาณาจักรโกริโอ อันเป็นที่แห่งคำว่า โกเรีย หรือเกาหลีในปัจจุบัน ตลอดราชวงศ์นี้แผ่นดินไม่สู่มีความสงบสุขและความรุ้งเรืองเทาใดแต่กระนั้น พระพุทธศาสนาก็ ดำรงอยู่อย่างมั่นคงตลอดเวลา ๔๕๗ ปีเมื่อพระพุทธศักราชล่วงได้ ๑,๙๓๕ ปี แผ่นดินเกาหลีได้เปลี่ยนราชวงศ์ใหม่อีกวาระหนึ่ง ราชวงศ์โซซอนประสงค์จะเชิดชูลัทธิขงจื้อให้เป็นศาสนาประจำชาติ จึงกดขี่บีบคั่นพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก จนทำให้พระสงฆ์ต้องปลีกตนหลบลี้อยู่โดยสงบตามเมืองบ้านนอก และป่าเขา ในระยะเวลานานถึง ๕๑๘ ปี ของราชวงศ์นี้ได้มีการรุกรานจากต่างประเทศคือ ชาวจีนและญี่ปุ่นแม้พระสงฆ์จะได้มีบทบาทในการปกป้องกันประเทศถึงกับออกช่วย รบพุ่งและในยามสงบจะได้ช่วยเหลือในสังคมสงเคราะห์ต่างๆเป็นการช่วยบ้านเมือง อย่างามาก แต่ก็หาทำให้ราชวงศ์หันมาอุ้มชูพระศาสนาอย่างจริงจังไม่ ช่วยได้เพียงลดการบีบคั่นกดขี่ให้น้อยลงเท่านั้น ตลอดจนราชวงศ์นี้มีกษัตริย์อยู่เพียง ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าเซซองผู้ประดิษฐ์อักษรเกาหลีและกษัตริย์เซโจ เท่านั้นที่ได้ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยจัดให้มีการแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาจากภาษาจีนเป็นภาษาเกาหลี กษัตริย์อื่นนอกนั้นทั้งก่อนและภายหลัง ล้วนแต่ทรงบีบคั่นพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นพระภิกษุสงฆ์จึงเพียงแต่ทำหน้าที่ รักษาหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมไว้ ให้เป็นมรดกตกทอดถึงชนรุ่นหลังเท่านั้นในพ.ศ. ๒๔๕๓ แผ่นดินเกาหลีได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ราชวงศ์เกาหลีสิ้นอำนาจลงโดยสิ้นเชิง ญี่ปุ่นได้ออกระเบียบข้อบังคับควบคุมวัดวาอาราม และได้พยายามก่อสร้างความเสื่อมโทรมให้เกิดขึ้นแก่พระสงฆ์ เช่น ส่งเสริมให้พระสงฆ์มีครอบครัวและดำรงชีวิตเหมือนอย่างฆราวาส ทั้งนี้เพื่อจะทำลายความรู้สึกชาตินิยมที่วัดช่วยรักษาไว้ให้หมดสิ้นไป อันเป็นนโยบายกลืนชาติอย่างหนึ่งตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ สอง กองทัพโซเวียตและกองทัพสหรัฐฯได้เคลื่อนเข้ามาในดินแดนเกาหลีในปี พ.ศ.๒๔๘๘โซเวียตเข้าทางเหนือ สหรัฐฯเข้าทางใต้ การปกครองของญี่ปุ่นได้สิ้นสุดลง และแผ่นดินเกาหลีได้ถูกแบกเป็น ๒ ส่วน คือ เกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้แต่นั้นมาทางฝ่ายเกาหลีใต้ ทันทีที่ได้รับเอกราช ชาวพุทธโดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ก็เริ่มเคลื่อนไหวในการที่จะชำระกิจการคณะสงฆ์ ให้บริสุทธิ์ พระภิกษุและภิกษุณี (เรียกตามที่ชาวเกาหลีเรียกเอง)จำนวนพันได้นัดประชุมใหญ่และได้ลงมติที่เป็น ข้อสำคัญๆ คือ ให้ยกเลิกข้อบังคับต่างๆ อันขัดแย้งต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งได้ตราขึ้นในสมัยญี่ปุ่นยึดครองเสียทั้งหมด ในหยกเลิกตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ รวมทั้งตำแหน่งสูงสุดที่ติดมาแต่สมัยญี่ปุ่นยึดครอง ให้ผู้ดำรงตำแหน่งเหล่านั้นลาออกทั้งหมดให้คณะสงฆ์มีการปกครองของตนเองและมี สำนักงานอยู่ในนครหลวง ในจังหวัดต่างๆให้มีสภาบริหารของตนเอง ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของสำนักงานใหญ่ในพระนครหลวงอีกต่อหนึ่ง สำนักงานใหญ่นี้ได้จัดประชุมใหญ่อีกในพ.ศ. ๒๔๘๙ และได้ตราธรรมนูญปกครองคณะสงฆ์ฉบับใหม่ขึ้นสำหรับเป็นหลักบริหารการคณะสงฆ์ ทั้งปวงการชำระการคณะสงฆ์ให้บริสุทธิ์นั้นได้ทำกันอย่างเอาจริงเอาจังกว่าจะ ทำให้คณะสงฆ์เกาหลีเป็นคณะสงฆ์ที่บริสุทธิ์ เป็นพระถือพรหมจรรย์ไม่มีการครอบครัวได้ก็ต้องมีการต่อสู้กัน ถึงล้มตายไปก็มีการชำระคณะสงฆ์ให้บริสุทธิ์นี้ได้กินเวลายาวนานและสำเร็จ เรียบร้อยสมบูรณ์ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๐๕พระพุทธศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือนั้นไม่สามารถที่จะรู้สถานการณ์ได้ เพราะประเทศเกาหลีเหนือปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งไม่สนับสนุนพระพุทธศาสนา ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงเจริญรุ่งเรืองในประเทศเกาหลีใต้มากกว่า แต่ในประเทศเกาหลีใต้มีการขัดแย้งระหว่างนิกายโชกาย (นิกายถือพรหมจรรย์) และนิกายแตโก (นิกายไม่ถือพรหมจรรย์)แก่งแย่งวัดกัน ในช่วงนั้นกลุ่มมิชชันนารีจำนวนมากได้มาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในช่วงแรกมีแต่กลุ่มวัยรุ่น แต่ภายหลัง ไม่ว่าวัยรุ่นหรือวัยไหนๆ ก็หันมานับถือศาสนาคริสต์กันขนานใหญ่ ศาสนาพุทธจึงตกต่ำลง จน นิกายโชกายต้องหาวิธีให้ชาวเกาหลีมองเห็นว่าพระพุทธศาสนามีความสำคัญก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ชาวเกาหลี มีทัศนคติที่ดี แก่พระพุทธศาสนา เนื่องจากพระสงฆ์มีการติดต่อกับชาวบ้านน้อยมาก ในการตีพิมพ์คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ก็ต้องยืมคำของศาสนาคริสต์ คือ ไบเบิลของพระพุทธศาสนา แต่ปัจจุบันเริ่มมีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาบ้างแล้ว
ในปัจจุบันคณะสงฆ์ในประเทศเกาหลี ถือว่าเป็นคณะสงฆ์ที่มีความก้าวหน้าเท่าทันเหตุการณ์ ตื่นตัวในทุกด้าน พร้อมที่จะปรับตัวตนเพื่อให้ทันกับความเจริญของพระศาสนาในด้านต่างๆอยู่เสมอ เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนานั่นเอง กิจการที่พระสงฆ์เกาหลีใต้สนใจ และทำกันอย่างเข้มแข็งจริงจังที่สุดนั้นคือ ไม่มีด้านใดเกินกว่าเรื่อง การศึกษา ซึ่งเรื่องนี้เป็นการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในด้านการศึกษาภาคบังคับในเกาหลีเพิ่งมีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ มีสถิติคนอ่านออกเขียนได้ถึง ๙๕% มีมหาวิทยาลัยที่ประกอบด้วยกัน ๖ คณะ ขึ้นไปรวม ๒๐ มหาวิทยาลัย มีวิทยาลัยต่าง ๆอิสระอีก ๔๘ แห่ง ทั้งที่เกาหลีมีดินแดนเพียง ๑๔ จังหวัด มีพลเมืองสำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ประมาณ ๒๒,๕๐๐,๐๐๐ คนมีตัวเลขสถิติเกี่ยงกับจำนวนพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนในเกาหลีที่น่าสนใจ ดังนี้วัดภิกษุประมาณ ๑,๔๐๐วัดวัดภิกษุณี ประมาณ ๓๐๐รวมประมาณ ๑,๗๐๐ วัดภิกษุสามเณร ๘,๙๒๕ รูปภิกษุณีและสามเณรี ๓,๓๒๖ รูปรวมทั้งสิ้น ๑,๒๒๕๑ รูปอุบาสก ๒,๖๕๘,๕๘๒ คนอุบาสิกา ๑,๒๒๗,๙๑๐ คนรวมทั้งสิ้น ๓,๘๘๖,๔๙๒ คนในประเทศเกาหลีใต้ (ปีพ.ศ. ๒๕๒๖) มีวัดลงทะเบียนจำนวน ๓,๑๖๓วัด และไม่ลงทะเบียน ๔,๐๙๐ วัด มีภิกษุ ๑๔,๒๐๖ รูป และภิกษุณีจำนวน ๖,๕๔๙ รูป จำนวนนี้อาจรวมนิกายโชกาย และนิกายเล็กต่างๆในจำนวนพลเมืองเกาหลี ๒๒ ล้าน ๕แสนคนนั้น สวนใหญ่นักถือพระพุทธศาสนา และในบรรดาพุทธศาสนิกชนเหล่านี้ ผู้ที่เป็นอุกบาสิกาหมายถึงพุทธศาสนิกชนทีมีศรัทธามาก เป็นสมาชิกแห่งองค์การพระพุทธศาสนาด้วย การบริหารการคณะสงฆ์ของเกาหลี มีพระสังฆราชเป็นประมุขและมีระบบงานประกอบด้วยสังฆสมาคมซึ่งมีสมาชิกเป็นผู้ แทนพระสงฆ์ ๕๐ รูปอย่างหนึ่ง คณะกรรมาธิการสอดส่องตรวดตรารักษาระเบียบวินัยและความสงบเรียบร้อยคณะหนึ่ง และพระภิกษุผู้บริหารกิจการทั่วไปของพระศาสนา ซึ่งพระเถระผู้ดำรงตำแหน่งเทียบได้กับพระสังฆนายกเป็นประธานอีกคณะหนึ่งใน การบริหารการพระศาสนาทั้งปวงนี้ คณะสงฆ์มีวัดที่เป็นสำนักงานใหญ่รวมไว้ในที่เดียว คือ วัดโชเคชา พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งบริหารแต่เดิมจะอยู่วัดใดก็ตาม เมื่อได้เป็นพระสังฆนายกและพระสังฆมนตรีแล้ว จะต้องย้ายมาอยู่ประจำสำนักงาน ณ วัดโชเคชา นี้ทั้งหมดตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชจัดเป็นตำแหน่งพิเศษ เป็นประมุขที่เคารพบูชาของชาวพุทธมิได้มีหน้าที่บริหารงานโดยตรงทรงมีสิทธิ พิเศษจะประทับ ณ วัดใดก็ได้ และจะทรงย้ายไปประทับ ณ วัดใดเมื่อใดก็ได้ตามประสงค์ ไม่ถือว่าทรงสังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง เมื้อ พ.ศ.๒๕๑๑ สมเด็จพระสังฆราชลีชุงดัม ประทับ ณ วัดโทเซิ่น อยู่บนภูเขากรงโซล มีทางเดินจากเชิงเขาขึ้นไปถึงวัดยาว ๒ กิโลเมตรในด้านการปกครองภิกษุณี แต่ละวัดมีภิกษุณีเจ้าอาวาสและเจ้าอาวาสทุกวัดขึ้นต่อองค์การปกครองของคณะ สงฆ์ทั้งหมดโดยนัยนี้ การปกครองทั้งฝ่ายภิกษุและภิกษุณีจึงรวมเป็นอันเดียวเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันในด้านการศึกษา นอกจากจะมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมสำหรับสอนพระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร และสามเณรี (สตรีที่จะบวชเป็นภิกษุณี)แล้ว คณะสงฆ์เกาหลีใต้ยังมีสถานศึกษาฝ่ายสามัญระดับต่างๆที่เปิดรับนักเรียนชาย หญิงโดยทั่วไปด้วย ซึ่งสถาบันเหล่านี้มีคฤหัสถ์(บุคคลทั่วไป)เป็นผู้บริหาร แต่อยู่ในความควบคุมดูแลของคณะกรรมาธิการฝ่ายการศึกษาของคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๑๑ สถานศึกษาเหล่านี้แยกประเภทได้ดังนี้มหาวิทยาลัยและ วิทยาลัย
๓ แห่งโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
๑๑ แห่งโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
๑๖ แห่งโรงเรียนประถมศึกษา
๓ แห่งโรงเรียนอนุบาล
๗ แห่งมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของเกาหลี คือ มหาวิทยาลัยดงกุก ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ปัจจุบันมีนักศึกษาชายทั้งหมด ๖,๐๐๐ คน มีภิกษุ สามเณรศึกษาอยู่ด้วยประมาณ ๖๐ รูป ใน พ.ศ. ๒๕๐๗ คณะสงฆ์เกาหลีใต้ตั้งโครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับเกาหลีขึ้น เรียกว่า ศูนย์แปลพระไตรปิฎกเกาหลี ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยดงกุกประกอบด้วยวิทยาลัยต่างๆ ๖ วิทยาลัย และมีสาขาวิชา ๗๒ สาขา เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๗ คณะสงฆ์เกาหลีได้เริ่มตั้งโครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับเกหลี เรียก “ศูนย์แปลพระไตรปิฎกเกาหลี “อยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยดงกุก มีคณะกรรมการแปล ๖๕ ท่าน ตามโครงการนี้จะตีพิมพ์พระไตรปิฎกแปลเป็นเล่ม ออกเดือนละ ๑ เล่ม รวมทั้งสิ้น ๒๔๐ เล่ม ภายในเวลา ทั้งหมดประมาณ ๔๕ ปีปัจจุบันพระพุทธศาสนาในเกาหลีเป็นแบบนิกายเซนเจือด้วยความเชื่อในพระอมิ ตาภะพุทธเจ้าบ้างพระเมตไตรโพธิสัตว์บ้าง
สรุป พระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่ประเทศเกาหลีเมื่อ พ.ศ. ๙๑๕ โดยสมณทูตซุนเตา เดินทางจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรโกคุริโอ คือ ประเทศเกาหลีในปัจจุบัน
พระพุทธศาสนาได้ขยายเข้ามาในเกาหลีอย่างรวดเร็ว เพียงระยะเวลา ๒๐ ปี ก็มีการสร้างวัดขึ้นมากมาย เฉพาะเมืองหลวงแห่งเดียว ๙ วัด ประเทศเกาหลี ในสมัยก่อนนั้นประกอบด้วย ๓ อาณาจักรคือ โกคุริโอ ปีกเช และซิลลา แต่ผู้นำทั้ง ๓ อาณาจักรก็นับถือพระพุทธศาสนา และให้การสนับสนุนกิจการต่างๆ
อันที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเสมอ และที่สำคัญได้ทรงถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ส่งเสริม และให้การศึกษาแก่ประชาชน และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน พร้อมทั้งสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ พระพุทธศาสนาจึงมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดมา
credit : http://www.watnakkharin.org/index.php?mo=3&art=299776
MUZIC♬CODE
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น