ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้ในสาขาวิชาวิทยาศาตร์

    ลำดับตอนที่ #3 : ต้นไม้สลัดใบ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 318
      0
      9 เม.ย. 49

     ต้นไม้สลัดใบ

                         ในกรุงเทพฯ ช่วงหน้าหนาวที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะมีช่วงระยะเวลาที่สั้น แต่หลายคนคงจะสัมผัสได้ถึงไอเย็นนั้น และคงจะสังเกตเห็นว่าต้นไม้เองก็มีปรากฏการณ์ตอบสนองต่อความเย็นเช่นเดียวกัน แล้วเมื่อดิฉันได้ทอดสายตาออกไปนอกหน้าต่าง ก็พบว่าต้นหูกวางที่ยืนต้นอยู่ฝั่งตรงข้ามก็เริ่มที่จะทิ้งใบ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น หลายคนคงจะตอบคำถามนี้ได้ แต่คงมีอีกหลายคนที่กำลังหาคำตอบนี้อยู่ ซึ่งตัวดิฉันเองต้องยอมรับว่าเป็นประเภทหลังและเมื่อได้รับคำตอบแล้ว ก็เลยอยากที่จะให้หลายๆ คนที่สนใจเรื่องพืชได้ทราบไปด้วยกัน เพราะฉะนั้นเรามาเริ่มทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันนะคะ

                        ก่อนอื่นต้องขอนำเสนอคำศัพท์บางคำที่เกี่ยวกับเรื่องการหลุดร่วงของใบเพื่อเป็นการทบทวน ท่านใดที่เคยคุ้นๆ กับคำศัพท์เหล่านี้ เมื่อได้อ่านแล้วก็คงจะต้องร้องอ๋อกันอย่างแน่นอน

                        การเสื่อมตามอายุ (senescence) หมายถึง ภาวะที่เมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดของพืช เช่น ใบ ผล หรือ ดอก มีอายุแก่เต็มที่และพร้อมที่จะหลุดร่วงจากกิ่งหรือลำต้น

                        บริเวณการร่วง (abscission zone) หมายถึง บริเวณส่วนโคนของใบ ผล ดอก หรืออาจจะเป็นส่วนอื่นๆ ของพืช ซึ่งในบริเวณที่มีการหลุดร่วงนี้จะประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อ abscission layer (คือชั้นของเซลล์ที่เกิดการหลุดร่วง) และ protective layer (คือชั้นของเซลล์ที่ช่วยในการป้องกันบาดแผลที่เกิดขึ้นจากการร่วงของใบหรือส่วนอื่นๆ)

                        รอยแผลใบ (leaf scar) หมายถึง ร่องรอยของบาดแผลจากการหลุดร่วงของใบบริเวณลำต้นหรือกิ่ง โดยปกติใบจะติดอยู่ที่ต้นประมาณ 1-5 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช เมื่อใบหลุดร่วงก็จะเห็นเป็นร่องรอยของแผลนั้น เราสามารถเห็นรอยแผลนั้นได้ตามบริเวณข้อ และภายในของรอยแผลก็จะเห็นเป็นเนื้อเยื่อลำเลียง

                        หลังจากที่ได้รู้จักคำศัพท์บางคำแล้ว ต่อไปดิฉันก็จะขออธิบายเกี่ยวกับการหลุดร่วงของใบสักเล็กน้อย ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถนึกภาพตามไปด้วยก็ได้นะคะ แต่ถ้านึกไม่ออกเนื่องจากอากาศในช่วงนี้กำลังย่างเข้าหน้าฝนก็ขอแนะนำให้ดูภาพประกอบการบรรยายก็ได้คะ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

    การร่วงของใบ

                        จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชั้นของ abscission layer จะเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมีการเปลี่ยนจากแคลเซียมเพกเทดเป็นเพกทิน ซึ่งเป็นสารที่ละลายน้ำได้ทำให้มีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้คล้ายพวกเจลาทิน เซลล์จึงแยกออกจากกันและหลุดจากกันได้ ขั้นต่อไปเซลล์จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีสารบางชนิด เช่นแคลโลสมาสะสมในเซลล์ท่อลำเลียงอาหาร ส่วนในชั้นของ protective layer จะมีสารหลายชนิดเกิดขึ้นในผนังเซลล์ เช่นสารพวกออกซิน ช่วยให้การร่วงของใบอาจเกิดขึ้นช้าหรือเร็วก็ได้ สารเอทีลีนทำให้ใบหลุดร่วง และอีกประการหนึ่งคือใบที่ร่วงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์บางชนิดที่ช่วยในการสลายผนังเซลล์ออก จนใบหลุดร่วงไปในที่สุด
    บริเวณที่เกิดการชราภาพและมีการหลุดร่วงนั้น สามารถจำแนกได้เป็น 4 แบบ ดังนี้


             แก่ทั้งต้น                 ร่วงบริเวณปลาย          ร่วงเฉพาะใบและผล         ร่วงเป็นลำดับขั้น

               บริเวณที่แก่ชราและหลุดร่วง
               บริเวณที่เริ่มแก่ลำดับถัดไป
               บริเวณที่แก่ลำดับต่อๆ ไป
               บริเวณที่มีชีวิตและยังคงอยู่
               บริเวณส่วนของผล

                        หลังจากใบเก่าร่วงหล่นไปได้ไม่นาน หลายๆ ท่านก็คงทราบว่าในไม่ช้าก็จะมีใบใหม่เกิดขึ้นมา ซึ่งการเกิดใบใหม่นั้นเป็นผลเนื่องมาจากสารออกซินที่ส่งไปกระตุ้นเซลล์ที่อยู่บริเวณปลายยอดแบ่งตัวและขยายขนาดทำให้เกิดเซลล์ใหม่ๆ เกิดขึ้นทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×