ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โครงการพิเศษ

    ลำดับตอนที่ #2 : โครงการ “ คู่มือนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ”

    • อัปเดตล่าสุด 7 ต.ค. 54


    บทที่1 บทนำ

    ความเป็นมาของโครงการ

                หนังสือคู่มือ  เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องราว  และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล  เหตุการณ์แนวโน้มเฉพาะด้าน  ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจด้านใดด้านหนึ่ง  หรือเรื่องในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะอย่างกว้าง ๆ  โดยให้รายละเอียดของเรื่องราวนั้นอย่างสั้น ๆ  กะทัดรัด  เพื่อผู้อ่านจะได้ใช้เป็นคู่มือศึกษาเรื่องที่น่าสนใจได้เป็นอย่างดี  หรืออาจใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานและใช้เป็นแหล่งอ้างอิงหาข้อเท็จจริงที่จะตอบคำถามในเรื่องราวหนึ่ง ๆ  ได้โดยรวดเร็ว

                คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออก เป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน  จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้จัดทำ  ได้มีแนวความคิดริเริ่มจัดทำโครงการนี้เพื่อประสงค์ที่จะต้องการให้นักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในคณะนี้ได้รับรู้ถึงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ อาทิ เช่น ประวัติความเป็นมาของคณะ สาขาที่มีอยู่ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ รายละเอียดของแต่ละสาขา กิจกรรมภายในคณะรวมทั้งหลักสูตรการศึกษาของแต่ละสาขางานวิชา คณะอาจารย์ บุคคลดีเด่นประจำปี  ข่าวสาร งานกิจกรรมต่างๆที่ทางคณะได้มีการจัดขึ้นมา  กฎระเบียบต่างๆ  และการแต่งกาย ฯลฯ

    โครงการ คู่มือนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ เป็นโครงการที่สามารถจัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้และประโยชน์แก่นักศึกษาชั้นปีที่1ภายในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ เนื่องจากทางคณะมีการพัฒนาอยู่สม่ำเสมอ อีกทั้งเป็นการแนะนำและพัฒนาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบไปในตัว

    จุดประสงค์โครงการ

    - เพื่อเป็นแหล่งศึกษาข้อมูลต่างๆของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

    - เพื่อเป็นสื่อข้อมูลข่าวสารของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

    - เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและปฏิบัติให้แกนักศึกษา

    - เพื่อเผยแพร่ประวัติความเป็นมาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ รวมถึงสาขาวิชาภายในคณะ

    - เพื่อเป็นแหล่งศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสาขาวิชาแต่ละสาขาวิชา

    สมมุติฐานของโครงการ

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    - นักศึกษามีความเข้าใจและปฏิบัติ อีกทั้งรับรู้เกี่ยวกับกิจกรรม เหตุการณ์ต่างๆภายในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

    - นักศึกษารับทราบเกี่ยวกับสื่อข้อมูลข่าวสารของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

    - นักศึกษารับรู้และเข้าใจประวัติของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ รวมถึงสาขาวิชาที่ตนเองได้ศึกษา

    คำนิยามศัพท์เฉพาะ

    หนังสือคู่มือ 

    หนังสือคู่มือ  (Handbook)  เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทหนึ่งที่จัดทำขึ้น  เพื่อรวบรวมเรื่องราว  และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล  เหตุการณ์แนวโน้มเฉพาะด้าน  ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่น่าสนใจด้านใดด้านหนึ่ง  หรือเรื่องในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะอย่างกว้าง ๆ  สามารถใช้เป็นคู่มือศึกษาเรื่องที่น่าสนใจได้เป็นอย่างดี  หรืออาจใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงาน  และใช้เป็นแหล่งอ้างอิงข้อเท็จจริงที่จะตอบคำถามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  (สุนิตย์  เย็นสบาย, 2543 : 97) 

    วัตถุประสงค์ของหนังสือคู่มือ

    1.ให้เรื่องราวและความรู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

    2.เป็นคู่มือในการตอบคำถามเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งอย่างรวดเร็ว

    3.  เป็นคู่มือในการศึกษาและปฏิบัติงานในด้านหนึ่ง ๆ  ได้เป็นอย่างดี

    ประโยชน์ของหนังสือคู่มือ

                หนังสืออ้างอิงประเภทนี้จะช่วยให้ทราบถึงข้อเท็จจริง  ตัวเลข  สถิติต่าง ๆ  ตลอดจนเรื่องราวที่ควรรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ  และคู่มือปฏิบัติในวิชาใดวิชาหนึ่ง  เช่น  คู่มือในวิชาเคมี  และฟิสิกส์  ซึ่งจะบอกสูตร  กฎต่าง ๆ  และตารางที่มีใช้ในวิชาเคมี  ฟิสิกส์  เป็นต้น

    วิธีใช้หนังสือคู่มือ

    1.  พิจารณาว่าเรื่องที่ต้องการนั้นเป็นเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปหรือเป็นเรื่องของสมาคมองค์การ  ฯลฯ

    2.  เลือกใช้หนังสือคู่มือให้ถูกประเภท  ถ้าต้องการใช้หนังสือคู่มือให้พิจารณาดูว่าต้องการใช้ในลักษณะใด  เลือกประเภทให้ถูกต้อง  เช่น  คู่มือช่วยปฏิบัติงาน  หรือความรู้เบ็ดเตล็ด  เป็นต้น

    3.  ก่อนใช้หนังสือคู่มือ  ให้เปิดอ่านวิธีใช้เสียก่อน

    หนังสือคู่มือจำแนกได้  4  ประเภท  คือ

    1. คู่มือช่วยปฏิบัติงาน  เป็นหนังสือที่ทำหน้าที่แนะแนวทาง  แนะนำ  เช่น  หนังสือแนะนำอาชีพ  คู่มือเลี้ยงสัตว์  คู่มือซ่อมรถ  เป็นต้น

    2.  หนังสือรวบรวมความรู้เบ็ดเตล็ด  เป็นหนังสือที่ให้คำอธิบายในสาขาวิชาต่างๆ  เช่น  หนังสือสิ่งแรกในเมืองไทย

    3.  หนังสือคู่มือ  เป็นหนังสือที่ให้คำอธิบายและตีความหมายของเรื่องราวของเนื้อหาวิชาใดวิชาหนึ่ง  ในแง่มุมหลาย ๆ ด้าน

    4.  หนังสือที่ให้เรื่องราวหรือเนื้อหาสำคัญโดยย่อ  เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเฉพาะเรื่องที่สำคัญโดยย่อ

    ลักษณะเด่นของหนังสือคู่มือ
                - เป็นหนังสือที่มุ่งให้ความรู้ ไม่สนใจความเพลิดเพลินของผู้อ่านมุ้งเน้นสาระความรู้ เช่น ตำราต่างๆ
                - มีลำดับขั้นตอน ไม่คำนึงถึงศิลปะการประพันธ์ มุ่งเน้นให้ความสะดวกแต่การเรียนวิชาที่บรรจุอยู่ในหนังสือนั้น
                - ใช้ศัพท์และสำนวนที่มีความหมายเชิงวิชาการ ถ้าศัพท์ใดมิใช่ศัพท์ทั่วไป จะต้องมีคำนิยามคำนั้นๆ ใช้ศัพท์เสมอต้นเสมอปลายทั้งเล่ม
                - ความรู้ที่บรรจุในหนังสือนั้น จะต้องเป็นความรู้ที่คนในวงการเดียวกันรับรองแล้ว หรือถ้ามีการคิดสองแง่ ต้องระบุข้อคิดเห็นอย่างชัดเจน
                - ข้อความรู้ใด ที่ยังมิได้เป็นที่ประจักษ์แพร่หลายในวงการวิชาการ ผู้เขียนต้องบอกแหล่งที่มาของข้อความรู้นั้นๆ เพื่อการค้นคว้าเพิ่มเติม
                รูปแบบของหนังสือคู่มือนั้น จะเน้นตัวหนังสือให้ดูง่าย อาจมีภาพประกอบ หรือมีกราฟฟิกเน้นข้อความบ้าง แต่โดยรวมจะดูเรียบง่าย ลักษณะของรูปเล่ม อาจมีการพับ หรือการเข้าเล่ม อาจมีปกอ่อน และปกแข็ง
                ขนาด  10.25 x 15”, 7.5 x 10.25”, 5 x 7.5”, 3.5 x 5”, 8.25 x 11.75”(A4), 5.75 x 8.25” (A5), 5.75 x 8.25” (A6)

        วัสดุการพิมพ์   กระดาษปอนด์ 60 - 100 แกรม เน้นความประหยัดเหมาะสำหรับพิมพ์สีเดียว, กระดาษอาร์ตมัน 85 - 160 แกรม

                ระบบการพิมพ์   ระบบการพิมพ์ Offset 1 - 4 สี, Digital offset 1 หรือ 4 สี, Copy print 1 สี

                ระบบหลังพิมพ์     การไดคัท   การเคลือบ UV   การเคลือบลามิเนต

     

    แหล่งที่มา

    www.idea-i-design.com/Products/5-3%20hand%20book.html

    สรุป

    หนังสือคู่มือ  เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องราวและข้อเท็จจริงเฉพาะด้าน  ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจด้านใดด้านหนึ่ง  หรือเรื่องในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งอย่างกว้าง ๆ  โดยให้รายละเอียดในเรื่อง         นั้น ๆ  อย่างสั้น ๆ  เพื่อให้ผู้อ่านได้ใช้เป็นคู่มือปฏิบัติงานหรือศึกษาเรื่องที่น่าสนใจได้เป็นอย่างดี

    แหล่งที่มา

    www.gotoknow.org/blog/kruoun/233860

    นันทา  วิทวุฒิศักดิ์.  สารนิเทศและการศึกษาค้นคว้า.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ : ดี.ดี.บุ๊คสโตร์, 2536.

    สุทธิลักษณ์  อำพันวงศ์.  การใช้บริการห้องสมุดและการเขียนรายงานการค้นคว้า.  พิมพ์ครั้งที่ 8.

                    กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2535.สุนิตย์  เย็นสบาย.  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสืออ้างอิง.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ :

    ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์  คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2543.

    .  สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า.  กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์  คณะวิชา

    มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2539.

     

     

     

     

     

    นักเรียน นิสิต นักศึกษา

    คำว่า นักเรียน นิสิต นักศึกษา สามคำนี้มีความหมายโดยทั่ว ๆ ไปที่คล้ายๆ กัน คือ เป็นผู้ที่เล่าเรียนวิชาอะไรอย่าง หนึ่ง
                แต่การใช้คำทั้งสามคำนี้ไม่เหมือนกัน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ควาหมายไว้ดังนี้ นักเรียน หมายถึง ผู้ศึกษาเล่าเรียน นิสิต มีความหมายสองอย่าง ความหมายแรกหมายถึง ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย บางแห่ง เช่น นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความหมายที่สอง หมายถึง ศิษย์ที่เล่าเรียน อยู่ในสำนัก หรือ ผู้อาศัย ส่วนคำว่า นักศึกษานั้น ไม่ได้ให้ความหมายไว้เป็นพิเศษ คงอนุโลมได้ว่า หมายถึง ผู้ศึกษา
                ในทางปฏิบัติจริง เรามักจะใช้คำพูด นักเรียน หมายถึงผู้ศึกษาเล่าเรียนในระดับต่ำกว่า ปริญญาตรีหรือในระดับโรงเรียน ส่วนคำว่า นิสิตและนักศึกษานั้น ใช้หมายถึงผู้ศึกษา เล่าเรียนในระดับตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป หรือในระดับมหาวิทยาลัยนั่นเอง แต่ความนิยม ที่ใช้เรียกผู้ศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยว่านิสิต หรือ นักศึกษานั้น ก็ยังมีความแตกต่างกัน ออกไปอีก แต่เดิมมา เมื่อยังมีมหาวิทยาลัยอยู่น้อยแห่งนั้น ผู้ที่ศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จะเรียกกันว่า นิสิต ส่วนผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นจะเรียก กันว่านักศึกษา ชื่อที่แตกต่างกันนั้นใช้ตามความหมายในทำนองว่า นิสิตจุฬาฯ นั้น เป็นศิษย์ที่เล่าเรียนอยู่ในสำนัก ซึ่งจะตีความว่าอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยด้วย หรือต้องมาเรียนเป็นประจำก็ได้ ส่วนนักศึกษาธรรมศาสตร์นั้น จะตีความว่าไม่ได้อยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยหรือมา เรียนตามสะดวกแบบตลาดวิชาก็ได้ ความแตกต่างที่ว่ามานี้ เป็นเรื่องที่เล่าขานกันมาอาจจะมีผู้คัดค้านก็ได
                แต่มีอีกเหตุหนึ่ง ที่อาจจะไม่มีใครค้าน คือ ต้องการเรียกชื่อผู้ที่เรียนอยู่ในสถาบันทั้งสองนี้ให้แตกต่างกัน ออกไปนั่นเอง ต่อมาเมื่อมีมหาวิทยาลัยมากขึ้น ก็จะมีการเรียกผู้เรียนไปตามความนิยมของแต่ละสถาบัน เช่น นิสิตเกษตร (อาจจะด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อก่อนนี้นิสิตปีที่หนึ่งทุกคนต้องอยู่หอพักของ มหาวิทยาลัย) เช่น นักศึกษาแพทย์ เป็นต้น ในปัจจุบัน ความหมายโดยนัยที่กล่าวข้างต้น อาจจะเลือนไปแล้วก็ได้ สถาบันใหม่ ๆ ที่เกิดก็มักจะใช้คำว่า นักศึกษา เพื่อแสดงความใหม่ ปล่อยให้สถาบันเก่า ๆ ใช้คำว่า นิสิต กันไปเพียงไม่กี่แห่ง
                ทั้งหมดนี้เป็นข้อความที่ ดร. นิตยา กาญจนะวรรณ อธิบายไว้ในหนังสือ ภาษาไทยไฮเทค ซองคำถาม จำได้ว่าข้างฝ่ายธรรมศาสตร์ก็เคยให้คำอธิบายไว้ว่า เหตุใดจึงเรียกผู้ที่ศึกษา ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า นักศึกษา จึงไปค้นหนังสือ สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง ได้คำอธิบายดังนี้ "คำว่า "นักศึกษา" ก็เกิดขึ้นในช่วงแรกนี้เช่นกัน
                ส่วนหนึ่งอาจเพราะเป็น คำที่เกี่ยวข้องกับความเป็นตลาดวิชา ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีความแตกต่างจาก "นิสิต" ของจุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ทรงอธิบายว่า มธก. ควรเรียกผู้ เข้ามาศึกษาว่า "นักศึกษา" ไม่ควรใช้ "นิสิต" เพราะคำว่า
                "นิสิต" ตรงกับ "undergraduate" ส่วนคำว่า "นักศึกษา" ตรงกับ "student" ซึ่งเหมาะสมกว่า ตามระเบียบของ มธก. ฉบับ แรกเป็นที่น่าสังเกตว่า ใช้คำ "นิสิต" และ "นักศึกษา" ทดแทนกันไปมา จากการบอกเล่า ก่อน หน้านี้ก็มีการใช้คำว่า "นักศึกษา" อยู่ในหมู่ผู้มาเรียนที่ มธก. อยู่ก่อนแล้ว และคณะกรรมการ มหาวิทยาลัยได้มีมติรับรองให้ใช้คำว่า "นักศึกษา" อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่การประชุมคณะ กรรมการมหาวิทยาลัยครั้งที่ 2 เดือนเมษายน 2477 เป็นต้นไป"

    แหล่งที่มา http://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&cd=8&ved=0CF0QFjAH&url=http%3A%2F%2Fwww.reurnthai.com%2Findex.php%3Ftopic%3D1173.10%3Bwap2&ei=ek09Tb_eL4O8vgP6rOnjCg&usg=AFQjCNFND1I80ZQjjjUxl0DkaEQqFTzeXw

     

               

     

     

     

     

     

     

     

    นักเรียน หรือ นักศึกษา ในความหมายโดยรวมคือผู้ที่เข้าเรียนในสถานศึกษา โดยแบ่งเป็น นักเรียน หมายถึงผู้เข้าเรียนในโรงเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา กับคำว่า นักศึกษา หมายถึงผู้เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา หรือระดับที่สูงขึ้นไป ในประเทศไทยมีกฎหมายให้บุคคลทุกคนต้องจบการศึกษาขั้นต่ำในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (หลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ)

                ในสหราชอาณาจักร คำว่านักเรียนในระดับ อนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ใช้คำว่า pupil และนักเรียนในระดับมหาวิทยาลัยจะใช้คำว่า student

                วันที่ 17 พฤศจิกายน เป็นวันนักเรียนนานาชาติ (International Students Day) เป็นวันที่ระลึกถึงนักเรียนที่เสียชีวิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

    ชั้นปีของนักศึกษา

                ในประเทศไทยนักศึกษาแต่ละชั้นปีจะมีชื่อเรียกเฉพาะ โดยชื่อเรียกต่างๆ นำมาจากชื่อเรียกของชั้นปีในสหรัฐอเมริกา

    1.เฟรชแมน (freshman) คือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หรือในบางที่จะเรียก น้องใหม่ เพื่อนใหม่ เฟรชชี โดยกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะเรียกตามชื่อเช่น กีฬาเฟรชชี งานรับน้องใหม่ งานรับเพื่อนใหม่

    2.โซโฟมอร์ (sophomore) คือนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มาจากรากศัพท์ภาษากรีก "โซโฟส" (sophos) ที่แปลว่า ฉลาด และ "มอรอส" ที่แปลว่า โง่ ซึ่งกล่าวเป็นนัยว่าเป็นช่วงปีที่มีการเรียนรู้ ลองผิดลองถูก

    3.จูเนียร์ (junior) คือนักศึกษาชั้นปีที่ 3

    4.มิดเดิลร์ (middler) คือนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ของบางประเทศ ที่ระดับมหาวิทยาลัยมีสอน 5 ปี

    5.ซีเนียร์ (senior) คือนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หรือชั้นปีสุดท้าย

    6.ซูเปอร์ซีเนียร์ (super senior) หรือ ซูเปอร์ เป็นนักศึกษาที่ใช้เวลาการเรียนมากกว่าปกติ (มากกว่า 4 ปีปกติ) เรียกกันอีกอย่างว่า เด็กโข่ง

    7.ซิล(sil) มาจากคำว่า ฟอสซิล(fossil) หมายถึง เก่า แก่ ดึกดำบรรพ์ เป็นนักศึกษาที่ใช้เวลาการเรียนมากกว่า 4 ปีขึ้นไป

                นิสิตนิสิต เป็นคำที่ใช้เรียกผู้ที่ศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยที่แยกตัวออกมาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก็คือ มหาวิทยาลัยนเรศวร,มหาวิทยาลัยพะเยา, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ มหาวิทยาลัยทักษิณ รวมทั้ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังใช้ในมหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งเช่น มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เป็นต้น โดยในสมัยก่อนมีการใช้คำว่า "นิสิต" สำหรับผู้ชาย และ "นิสิตา" สำหรับ ผู้หญิง

                นิสิต มีความหมายว่า "ผู้อยู่อาศัย" สืบเนื่องมาจากในช่วงที่เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยถือว่าอยู่นอกเมือง การคมนาคมเพื่อมาศึกษาเป็นการยากลำบาก ดังนั้น ผู้ที่มาเรียนส่วนใหญ่จำเป็นต้องพักภายในหอพักของมหาวิทยาลัย และก็เรียกบุคคลที่อาศัยในห้องปฏิบัติการว่านิสิตเช่นเดียวกันด้วย[1] ส่วนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้นมีการเรียนการส่วนในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยส่วนเป็นด้านการเกษตร ผู้เรียนมาจากทั่วสารทิศ จึงต้องมีหอพักให้ผู้ที่มาเล่าเรียนได้พักอาศัยและพื้นที่ตั้งของสถานศึกษาในขณะนั้นยังถือได้ว่าเป็นเขตนอกเมือง[2] ซึ่งในภายหลังมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้เปิดอยู่นอกเมือง และผู้ที่มาศึกษาก็จำเป็นต้องอยู่หอพักเช่นเดียวกัน จึงได้ใช้คำว่า "นิสิต" เช่นเดียวกัน

                ในปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่า ผู้ที่มาเรียนจะไม่ได้พักในหอพักเหมือนในสมัยก่อนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังนิยมเรียกว่า "นิสิต" สำหรับมหาวิทยาลัยดังกล่าว 

     

     

    แหล่งที่มา

    http://www.kusc.nisit.kps.ku.ac.th/nisit.html นิสิต

    http://www.universityuniform.com

    คณะ

    คณะ คือ แผนกวิชาในมหาวิทยาลัย; หมู่, พวก; ประชุม. 2.(ฉล.) น. จำนวนคำที่ใช้ในคำประพันธ์วรรคหนึ่งๆ แต่มักจะใช้กับคำฉันท์โดยมีกำหนดว่า ฉันท์ชนิดนั้นประกอบด้วยกี่คณะฉันท์ เช่น อินทรวิเชียรฉันท์ มี ๓ คณะฉันท์ กับ ๒ คำ.

    source : อ.เปลื้อง ณ.นคร  

    คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).

    source : ราชบัณฑิตยสถาน

     แหล่งที่มา

    http://www.online-english-thai-dictionary.com/definition.aspx?data=2&word=%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0

     

               

     

    คณะวิชา หรือเรียกอย่างสั้นๆว่า คณะ เป็นองค์กรในสถาบันอุดมศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนการสอนและให้บริการความรู้เกี่ยวกับวิชาการสาขาที่อยู่ในประเภทเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มีหัวหน้าองค์กรเรียก "คณบดี" บางแห่งเรียก "สำนักวิชา" "สาขาวิชา" หรือ "วิทยาลัย" แทน  คณะต่าง ๆคณะต่าง ๆ ที่เปิดสอนภายในสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่

    ·       คณะในกลุ่มเกษตรศาสตร์

    ·       คณะเกษตรศาสตร์

    ·       คณะสัตวศาสตร์

    ·       คณะประมง

    ·       คณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    ·       คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน

    ·       คณะในกลุ่มบริหารธุรกิจ/วิทยาการจัดการ

    ·       คณะบริหารธุรกิจ

    ·       คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

    ·       คณะวิทยาการจัดการ

    ·       คณะบัญชีและการเงินธุรกิจ

    ·       คณะเศรษฐศาสตร์

    ·       คณะในกลุ่มมนุษยศาสตร์

    ·       คณะมนุษยศาสตร์

    ·       คณะศิลปศาสตร์

    ·       คณะอักษรศาสตร์

    ·       คณะโบราณคดี

    ·       คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม (กลุ่มวิชาศิลปศาสตรบัณฑิต)

    ·       คณะในกลุ่มสังคมศาสตร์

    ·       คณะนิติศาสตร์

    ·       คณะรัฐศาสตร์

    ·       คณะสังคมศาสตร์

    ·       คณะในกลุ่มนิเทศศาสตร์

    ·       คณะนิเทศศาสตร์

    ·       คณะวารสารศาสตร์

    ·       คณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์

    ·       คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที)

    ·       คณะวิศวกรรมศาสตร์

    ·       คณะศิลปกรรมศาสตร์

    ·       คณะในกลุ่มศึกษาศาสตร์

    ·       คณะครุศาสตร์

    ·       คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม (กล่มวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต)

    ·       คณะศีกษาศาสตร์

    ·       คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

    ·       คณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

    ·       คณะแพทยศาสตร์

    ·       คณะพยาบาลศาสตร์

    ·       คณะเภสัชศาสตร์

    ·       คณะทันตแพทยศาสตร์

    ·       คณะสัตวแพทยศาสตร์

    ·       คณะในกลุ่มสหเวชศาสตร์

    ·       คณะเทคนิคการแพทย์

    ·       คณะกายภาพบำบัด

    ·       คณะสหเวชศาสตร์

    ·       คณะสาธารณสุขศาสตร์

    ·       คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

    ·       คณะเวชศาสตร์เขตร้อน

    แหล่งที่มา

    http://th.wikipedia.org

    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

                เป็นคณะที่เรียนสนุก กิจกรรมเยอะ ทำงานอยู่กับสิ่งสวยงาม แต่จะมีใครรู้แท้ๆว่า จริงๆแล้วเค้าเรียนอะไร และออกมาประกอบวิชาชีพอะไรกัน

    ในที่นี้ พี่ขอยกเฉพาะมหาวิทยาลัยที่มีคนอยากเข้าและเลือกมาก (ตามข้อมูลทางสถิติ) เท่านั้นนะครับ

    A จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    B มหาวิทยาลัยศิลปากร

    C สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

    D สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (International Program)

    E มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    F มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    G มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    H มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    I มหาวิทยาลัยรังสิต

     

     

     

    โดยในแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีสาขาวิชาต่างๆดังนี้ (ดูตามรหัส A B C ข้างต้น)

    สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม [A C D]

    สาขาวิชาสถาปัตยกรรม [A B C D E F G H]

    สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย [A B G]

    สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน [A C E D]

    สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม [A F]

    สาขาวิชาการวางผังภาคและเมือง [A E]

     

     

     

     

     

    วิชาที่ต้องเตรียมตัวและใช้สอบ

    ทั้งหมด ใช้ระบบสอบ Admission โดยสอบ

    O NET ทุกวิชา และสอบ A NET คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ ค่าน้ำหนัก 30%

    ซึ่งต้องใช้เวลาเตรียมตัวเป็นอย่างน้อย 1.5 ปีสำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐาน

                คำถามที่ว่าสายศิลป์คำนวณ ศิลป์ภาษา สามารถเข้าเรียนสถาปัตยกรรม ได้หรือไม่ถ้าดูตามลักษณะวิชาสอบก็อาจจะบอกว่าสามารถเรียนได้ แต่หลายๆมหาวิทยาลัยพยายามไม่ให้เด็กสายศิลป์ภาษาเรียน

    เพราะมีวิชาคำนวณอยู่ด้วยค่อนข้างมาก ทำให้เกิดปัญหาภายหลังตามมา หากเป็นสายศิลป์คำนวณก็อาจจะเรียนได้ แต่เอาเป็นว่า ระบบการรับเด็กสายศิลป์เรียนสถาปัตย์ยังเป็นอะไรที่ไม่แน่นอน ดังนั้นอะไรที่ไม่แน่นอน 100% พี่จะไม่แนะนำดีกว่า

     

                แต่มีบางมหาวิทยาลัยรับศิลป์คำนวณ(ศิลป์คำนวณเท่านั้น)เรียน ID และ Interior เช่น

    บางมด(KMUTT international) และธรรมศาสตร์เป็นต้น

     

                สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม, ศิลปอุตสาหกรรม [A C D] มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Industrial Design หรือการออกแบบอุตสาหกรรม เป็นสาขาวิชายอดฮิตของเด็กสมัยนี้ แต่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 12 ปีที่แล้วจะไม่ฮิตเท่าตอนนี้

                ความฮิตของ ID นั้นเกิดขึ้นหลังจากที่ฟองสบู่เศรษฐกิจแตกเมื่อปี 2536-2538 ทำให้บรรดาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องปิดตัวเองไปตามๆกัน ทีนี้ก็เลยทำให้ภาควิชาสถาปัตยกรรม ต้องสั่นคลอน เพราะงานแขนงสถาปัตยกรรมต้องผูกกับระบบเศรษฐกิจค่อนข้างมาก ส่วนภาควิชา ID นั้นเรียนค่อนข้างหลากหลาย ทำให้พลิกแพลงๆผทำอย่างอื่นได้มากมาย ทำให้รอดพ้นจากวิกฤตนั้นมาซึ่งผลพวงตอนนั้นได้ส่งถึงสาขาโยธาในคณะวิศวกรรมด้วยปัจจุบันเป็นสาขาวิชาที่คะแนนสูงที่สุดและเป็นสาขาเดียวในคณะสถาปัตยกรรมที่มีฐานะเป็น "นักออกแบบ" มิใช่ "สถาปนิก"

     

               

     

     

    ในภาควิชา ID ก็จะมีสาขาย่อยๆแตกต่างกันออกไปตามแต่มหาวิทยาลัย

    ซึ่งก็จะพอแยกออกเป็นวิชาย่อยๆได้ดังนี้ (ต้องเรียนหมด)

    การออกแบบผลิตภัณฑ์

    การออกแบบเฟอร์นิเจอร์และการตกแต่งภายใน

    การออกแบบเครื่องปั้นดินเผา

    การออกแบบลายผ้า

    การออกแบบกราฟฟิค

    โดยสาขาย่อยๆที่กล่าวมาจะต้องเรียนให้ครบทุกสาขาแล้วค่อยเลือกทำวิทยานิพนธ์ในสาขาที่ตนเองสนใจในตอน ปี 5

                เป็นสาขาที่เรียนค่อนข้างหนัก และมีวิชาปฏิบัติมาก ดังนั้นน้องๆจึงควรทำความรู้จักในสาขานี้ให้ดีเสียก่อนแล้วจึงค่อยเลือก เพราะต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า สาขานี้ เซนต์แบบไม่ได้ เพราะไม่ใช่

    สถาปนิก และสาขานี้ก็มีความคล้ายคลึงกับสาขาทางสายศิลปกรรมและมัณฑนศิลป์ ซึ่งจะใช้เวลาเรียนน้อยกว่า 1 ปีและมีฐานเงินเดือนใกล้เคียงกัน

                คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ ทุกมหาวิทยาลัย ก็คือวิชา Graphic ใน ID

    คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ สาขา เรขศิลป์ แฟชั่น นิทรรศการศิลป์ เซรามิกส์ ก็ค่อนข้างคล้ายกันมาก ในสายงาน คณะมัณฑนศิลป์ ศิลปากร ทุกสาขา คล้ายสาขา นิเทศศิลป์ ออกแบบภายใน
    ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบเซรามิกส์

     

    โอกาสในการประกอบวิชาชีพ

    • Furniture Designer

    • Interior Designer

    • Exhibition&Event&Stage Designer

    • Graphic Designer

    • Animator

    • Art Director

    • Textile Designer

    • Ceramics Designer

    • Product Designer

     

    ใครชอบที่จะเรียนหลายๆอย่างสนุกๆ รู้กว้างๆ มีโอกาสที่จะประกอบอาชีพหลายอย่าง และมีเป้าหมายที่จะศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสาขาที่ตนชอบในภายหลัง สาขาวิชานี้ก็เป็นคำตอบแรกๆครับ

     

     

    สาขาวิชาสถาปัตยกรรม [A B C D E F G H]

                เป็นภาควิชาแรกที่เปิดขึ้นมาของคณะสถาปัตยกรรมในทุกๆมหาวิทยาลัย การศึกษาจะเน้นทางด้านสถาปัตยกรรมในเขตร้อน

    เน้นการออกแบบอาคารตั้งแต่บ้านพักอาศัยจนกระทั้งถึงหมู่ตึกสูงขนาดใหญ่

    การเรียนจะเน้นการออกแบบสถาปัตยกรรม การเขียนแบบ และวิชาโครงสร้าง อีกทั้งยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ

                ของประเทศไทยและวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมถึงพฤษติกรรมของผู้ใช้อาคาร เรียกได้ว่าไม่เพียงแต่ที่จะต้องรู้จัก

                ความสวยงามทางการออกแบบแล้วยังต้องรู้ถึงสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของผู้ใช้อาคารนั้นๆด้วย

                ดังนั้นใครคิดจะเรียนก็ควรมีใจรักในงานสถาปัตยกรรม และมีหัวทางด้านคำนวนบ้าง(เล็กน้อย)

    และชอบเขียนแบบ อยู่กับแบบได้ สามรถคุมงานก่อสร้างได้และสาขานี้เป็นสาขาเดียวที่มีสิทธิ์สอบเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพสถาปนิก

                สำหรับโอกาสในการประกอบวิชาชีพโดยตรงก็คือ จบมาประกอบวิชาชีพสถาปนิก อยู่ตามบริษัทสถาปนิกต่างๆแต่ก็เป็นวิชาชีพที่ค่อนข้างผูกกับระบบเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างมาก

                ดังนั้นจะสังเกตว่า เมื่อเศรษฐกิจตกเมื่อใด ชาวสถาปนิกก็หันไปประกอบวิชาชีพอื่นได้โดยไม่ตกงาน

                ส่วนที่เห็นว่าสายสถาปัตย์ จบมาแล้วสามารถไปประกอบอาชีพต่างๆได้นั้นเป็นเพราะว่าสายสถาปัตย์หรือศิลปกรรม

                มีการเรียนการสอนที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกันคือสอนให้รู้จักวิธีใช้ความคิดสร้างสรรค์ควบคู่ไปกับความงามทางศิลปะ

                จึงทำให้คนที่เรียนมาทางด้านนี้สามารถออกไปทำได้หลายอาชีพหรือเมื่อจบการศึกษาแล้วทำงานสัก 2 ปีก็สามารถไปเรียนต่อระดับปริญญาโทในสาขาที่ตนเองสนใจจริงๆก็ได้

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    บทที่2

    เอกสารที่เกี่ยวข้อง

    การออกแบบปกหนังสือ (Cover Design)

    การออกแบบปกหนังสือ

    ปกหนังสือเป็นส่วนที่ห่อหุ้มส่วนที่เป็นเนื้อหา และแสดงให้ทราบว่าเนื้อหาในเล่มกล่าวถึงเรื่องอะไร รายละเอียดบนแผ่นปกจะประกอบด้วยชื่อเรื่องหรือชื่อหนังสือ ซื่อผู้ประพันธ์หรือชื่อผู้แปล และรูปภาพประกอบ ทั้งสามส่วนมีความสำคัญเท่ากัน ผู้ออกแบบจะต้องจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ให้เหมาะสมสวยงามตามคุณลักษณะของการจัดวางองค์ประกอบ และคำนึงถึงลักษณะของหนังสือ ลักษณะของผู้บริโภค อาจมีหลักที่ต้องพิจารณาก่อนการดำเนินงานดังนี้ 
                1.1 พิจารณาถึงประเภทหนังสือ
    หนังสือ แต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะตัว และรูปแบบแตกต่างกันอย่างมาก วัตถุประสงค์ในการสร้างหนังสือก็ไม่เหมือนกัน เช่น หนังสือที่เป็นตำราอ้างอิง หนังสือวิชาการ แบบเรียน หนังสือโอกาสพิเศษ หนังสืออ่านเสริม นวนิยาย นิทานสำหรับเด็ก หนังสือภาพ หนังสือบันเทิง หนังสือกีฬา ฯลฯ
    การออกแบบหนังสือวิชาการหรือแบบเรียน มีลักษณะแบบเป็นทางการ รูปแบบตัวอักษรแบบเรียบ ๆ กำหนดภาพอยู่ในกรอบ หรือมีเฉพาะตัวอักษร ข้อความ หรือผู้แต่งเท่านั้น
    การออกแบบหนังสือบันเทิงเริงรมย์ กีฬา นวนิยาย หรือสารคดี จะมีรูปแบบอิสระ มีการออกแบบชื่อหนังสือที่แปลกตาออกไป การออกแบบจัดภาพประกอบปกก็เน้นความสวยงามมากกว่าการถ่ายทอดเนื้อหา เน้นสีสันที่สดใส สะดุดตา การจัดวางรูปแบบแตกต่างกันไปตามลักษณะของหนังสือ
    การออกแบบหนังสือสำหรับเด็ก เน้นที่รูปภาพประกอบบนปกที่มีความสวยงามเป็นหลัก ตัวอักษรเป็นแบบเรียบง่าย ดูสบายตา ไม่นิยมการจัดระเบียบและการกำหนดกรอบ ใช้สีสันสดเข้ม ฉูดฉาด รูปภาพคมชัดแสดงสาระของเรื่องราว
                1.2 พิจารณา
    ถึงบุคลิกของหนังสือ บุคลิก ของหนังสือจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของสาระเนื้อหา และเทคนิคการออกแบบ ในปัจจุบันการแข่งขันในเรื่องของหนังสือมีสูงมาก มีหนังสือที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันเกิดขึ้นมากมาย นักออกแบบจะต้องออกแบบหนังสือนั้นให้สวยงาม มีความโดดเด่น แปลกตามากกว่าคู่แข่ง
                1.3 พิจารณา
    ถึงแนวทางสร้างสรรค์รูปแบบ ควร ยึดหลักการออกแบบ 3 ประการ คือ การจัดองค์ประกอบศิลป์ การออกแบบรูปภาพ และการกำหนดแบบตัวอักษรของหนังสือ ทั้งนี้หลักการทั้งหมดต้องให้สอดคล้องและเหมาะสมกับประเภทของหนังสือ และต้องสร้างรูปแบบแปลกใหม่ให้เกิดขึ้นเป็นบุคลิกเฉพาะตัวของหนังสือนั้น ด้วย
                1.4 พิจารณาถึงวิธีการผลิต
    การ ผลิตปัจจุบันค่อนข้างมีความสะดวก สามารถตอบสนองความต้องการของการผลิตงานพิมพ์ได้เป็นอย่างดี การออกแบบปกหนังสือที่ดีต้องไม่สร้างความยุ่งยากสับสนในการพิมพ์และการผลิต เพราะถ้ามีหลายคำสั่ง ใช้วิธีการหลายอย่าง บางครั้งจะทำให้การผลิตมีโอกาสผิดพลาดได้ 
                1.5 พิจารณาถึงวัสดุที่ใช้ทำปก
    ปก หนังสือมีหลายชนิด เช่น ปกแข็ง ปกอ่อน ปกกระดาษหุ้มด้วยแรกซีนหรือผ้าไหม การกำหนดวัสดุกับการออกแบบต้องสอดคล้องกัน เช่น ปกพิมพ์ออฟเซต 4 สี ควรเลือกใช้กระดาษเนื้อแน่น ละเอียด เช่น กระดาษอาร์ต กระดาษนิวเอช ภาพจะได้มีความคมชัดสีสันสวยงาม ถ้าต้องการพิมพ์ปั๊มนูน ควรกำหนดให้กระดาษมีความยืดหยุ่นสูง เพื่อให้การปั๊มนูนมีความคมชัด นอกจากเนื้อกระดาษแล้วก็ควรพิจารณาถึงขนาดกระดาษ และความหนาด้วย 

    ขั้นตอนการทำหนังสือ

    ก่อนจะทำการออกแบบหนังสือนั้น มีเรื่องที่จะต้องกำหนดและวางแผนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ดังนี้

    ศึกษาและทำความเข้าใจหนังสือ

    ก่อนที่จะทำการออกแบบ นักออกแบบจะต้องพยายามหาข้อมูลจากผู้เขียนหรือสำนักพิมพ์ถึงวัตถุประสงค์ในการเขียนหรือจัดทำหนังสือ และต้องทราบถึงลักษณะของผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายว่าเจตนาจะมุ่งที่ใครเป็นหลักและคนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมและความชอบไม่ชอบอย่างไร       นอกจากนี้ยังต้องทราบให้ชัดเจนว่าผู้เขียนมีความคิดหลักหรือแนวคิดเบื้องหลังของหนังสืออย่างไร รวมทั้งเป็นหนังสือประเภทใดและควร จะมีบุคลิกภาพแบบไหน

    กำหนดขนาดและรูปแบบหนังสือ

    เมื่อเทียบกับหนังสือพิมพ์และนิตยสารแล้ว หนังสือสามารถจัดทำได้หลายขนาดและหลายรูปแบบมากกว่า ซึ่งในการเลือกขนาดและรูปแบบ ที่เหมาะสมนี้จะต้องดูจากวัตถุประสงค์และประเภทของหนังสือ เป็นหลัก ส่วนใหญ่แล้ว จะต้องพยายามเลือกขนาดที่ตัดกระดาษได้โดยเหลือเศษ น้อยเพื่อเป็นการประหยัดกระดาษเพื่อลดต้นทุนนอกจากในกรณีที่เป็น หนังสือที่ ระลึกราคาแพงและต้องการ รูปแบบ ที่แปลกแตกต่างไปจาก ปกติ ขนาดของหนังสือที่เป็นที่นิยมกันมาก เช่น 5 x 7 นิ้ว (16 หน้ายก หรือขนาดพ็อกเก็ตบุ๊ก)  5 x 8 นิ้ว (ขนาด A5 หรือขนาด พ็อกเก็ตบุ๊ก) เป็นต้น

    รูปแบบของปกหน้า

     เนื่องจากความหลากหลายในรูปแบบที่เป็นไปได้ในการออกแบบปกหน้าของหนังสือ นักออกแบบจึงควรตกลงร่วมกันกับผู้เขียน หรือสำนักพิมพ์เรื่อง รูปแบบของปกหน้าเสียก่อนในเรื่องต่างๆ ดังนี้

    กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์ปกหน้า

    จะเป็นกระดาษแบบเดียวกันกับหน้าใน หรือจะเป็นกระดาษที่หนากว่าปกติส่วนใหญ่แล้วกระดาษที่ใช้ในการทำปกหน้ามักจะเป็น กระดาษแข็งในบางครั้งอาจจะมีการหุ้มหรือเคลือบเอาไว้ด้วยวัสดุชนิดอื่น เช่น ผ้าหรือพลาสติกก็ได้

     หน้าหุ้มปก

    หนังสือที่มีความหนามาก หรือมีราคาสูงจะมีหน้าหุ้มปกเพื่อรักษาปกหน้าไว้ไม่ให้เสียหาย

     ระบบการพิมพ์และจำนวนสีที่จะพิมพ์

    รวมทั้งการใช้เทคนิคพิเศษอื่นในทางการพิมพ์หรือไม่ เนื่องจากปกหน้าของหนังสือทำหน้าที่เหมือนหน้าโฆษณาขายหนังสือเล่มนั้นๆ จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษทั้งในงานออกแบบและการผลิต

    รูปแบบของหน้าใน

                รูปแบบของหน้าในของหนังสือนั้นจะมีลักษณะเช่นไรย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งที่จะเป็นองค์ประกอบของเนื้อหา ได้แก่ เนื้อหาที่เป็นตัวพิมพ์และภาพประกอบต่างๆ ว่ามีมากน้อยและต้องการคุณภาพในระดับใด ทั้งนี้ควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้

    -                   กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์เป็นกระดาษชนิดใด และจะเป็นกระดาษที่มีความหนาหรือน้ำหนักเท่าใด

    -                   ระบบการพิมพ์ที่เหมาะสมควรเป็นระบบใด และพิมพ์กี่สี

    ในหนังสือบางเล่มอาจจะมีหน้าในที่มีการพิมพ์สีไม่เท่ากัน จึงต้องมีการกำหนดว่าจะเป็นหน้าสี่สีที่หน้า หน้าสีเดียวกี่หน้า รวมทั้งมีการใช้เทคนิคพิเศษอื่นในทางการพิมพ์หรือไม่ โดยปกติแล้วหน้าในของหนังสือมักจะไม่ค่อยในเทคนิคพิเศษอะไรมากนัก ยกเว้นหนังสือเด็กซึ่งอาจจะมีการอัดตัดตามแม่แบบหรือไดคัต หรือป๊อปอัพ (Pop Up) เพื่อเพิ่มมิติให้หน้าหนังสือ

    แบบและขนาดตัวอักษร ปกติแล้วตัวอักษรที่ใช้ในหนังสือหนึ่งเล่ม

                จะไม่มีความหลากหลายมากนักแต่อาจมีความแตกต่างกันระหว่างตัวที่เป็นหัวเรื่องหรือพาดหัว กับตัวที่เป็นเนื้อเรื่องเท่านั้น อย่างไรก็ตามในเรื่องขนาดของตัวเนื้อเรื่อง จะต้องพิจารณาใช้ในขนาดที่เหมาะสมกับผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย หากเป็นผู้มีอายุมากหรือเด็ก อาจจะ ต้องเลือกตัวอักษรที่มี ขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรที่ใช้ สำหรับ วันรุ่นหรือผู้ใหญ่ทั่วไป

    แบบและจำนวนภาพประกอบ

    ภาพประกอบเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณา ว่าต้องการจะนำเสนอภาพประกอบเป็นสี่สีหรือขาวดำ จำนวนอย่างละกี่รูป ซึ่งแบบและจำนวนภาพประกอบนี้จะไปมีผลต่อการเลือกชนิดกระดาษ ระบบการพิมพ์ และต้นทุนในการผลิต

    การกำหนดขั้นตอนหลังการพิมพ์

                เนื่องจากหนังสือมีขนาดความหนาที่หลากหลาย ทำให้วิธีการเย็บเล่มหนังสือที่เหมาะสมแตกต่างกันไป นอกจากนี้เทคนิคพิเศษบางอย่าง เช่น ดุนนูน (Emboss) การประทับลายร้อน ปั๊มทอง (Foil Stamping) หรือไดคัต หรือการอัดตัดตามแม่แบบก็เป็น สิ่งที่ต้องดำเนินการภายหลังการพิมพ์เสร็จสิ้นลง       ดังนั้นการได้สรุปขั้นตอนที่คาดว่าจะใช้หลังการพิมพ์ไว้ล่วงหน้าจะทำให้นักออกแบบได้คิดเผื่อในขณะที่ทำการออกแบบ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    หนังสือทำมือ

    หนังสือทำมือ เดิม หมายความถึงหนังสือเล่มหนึ่งๆ ที่ผู้เขียน เขียนเองทำภาพประกอบ จัดรูปเล่ม จัดหน้า ออกแบบปก ออกแบบการเข้าเล่ม เรียกว่าทำทุกขั้นตอนด้วยตนเองทั้งหมดโดยไม่ผ่านโรงพิมพ์ใหญ่ๆ ในสมัยปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้หลายขั้นตอนสามารถพึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านี้ได้  หากนับการเขียนเป็นขั้นตอนแรก เราสามารถพึ่งพาเทคโนฯ ได้ตั้งแต่ขั้นตอนที่สองจวบจนกระทั่งเป็นเล่มออกมาก็มีบ้างที่นักศึกษา หรือกระทั่งบริษัทบางแห่งรับทำหนังสือทำมือเหล่านี้มากขึ้น ผู้เขียนก็สามารถเขียน กลั่นกรองแล้วไปจ้างให้โรงพิมพ์จัดหน้า ทำรูปเล่มเข้าเล่มให้ได้ทันที โดยมีศูนย์กลางอยู่กรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่สีน้ำฟ้ารู้จักหนังสือทำมือมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมต้น ราวๆ ปี พ.ศ. 25302531เป็นประเภทจุลสารทำมือ โดยรู้จักในฐานะนักอ่าน ต่อมาได้มีโอกาสเข้าร่วมกับกลุ่มนักฝัน น่าจะใช่นะ..ชื่อกลุ่มนักฝัน  ถ้าจำไม่ผิดโดยมีพี่นิจ อักษรา บรรณาธิการและนักเขียนประจำในนิตยสารวัยน่ารัก  ที่เข้าร่วมกลุ่มด้วยเพราะส่งงานเขียนของตัวเองไปลงในหน้านิตยสารบ้าง ส่วนใหญ่ก็เป็นกลอน พอเริ่มมัธยมปลายก็ เริ่มหัดเขียนเรื่องสั้น แรกๆ ก็เอาไปให้เพื่อนที่โรงเรียนอ่าน ก็เขียนเรื่องตัวเองปนกับเพื่อน นางเอกคนแรกเป็นชื่อของเพื่อนจำได้แม่นเลยก็คือ..พรนิภา การที่จากบ้านเกิดที่เชียงราย มาเรียนเชียงใหม่ โลกกว้างขึ้น เริ่มส่งเรื่องสั้นไปตามนิตยสาร รวมทั้งกลอนด้วย ถ้าเรื่องสั้นได้ตีพิมพ์ก็จะได้ค่าขนมเป็นธนาณัติเรื่องละหนึ่งร้อยห้าสิบบาท ส่วนกลอนที่ตีพิมพ์ไปได้แต่ข่าวว่าเขามีค่าขนม โดยส่วนตัวไม่เคยได้รับเลยแค่มีงานก็ดีใจแล้ว

    กลอนได้ตีพิมพ์  กลอนแรกในนิตยสารวัยหวาน ฉบับ 115  พี่รณภพ  ทรงเสรีย์หรือพี่เอ๋ ชามาดา เป็นบรรณาธิการ ก็ส่งทุกค่ายนะ ตามงานบ้าง ไม่ตามงานบ้าง แล้วแต่จังหวะและโอกาส จำได้แต่ว่ามีงานตีพิมพ์ทั้งนิตยสารวัยหวานนิตยสารทราย และนิตยสารเดอะบอย

    เมื่อมีโอกาสได้รู้จักกับพี่จาริก  แรมรอน  ก็รู้สึกสมัครสมาชิกไปกับกลุ่มใบตองที่พี่จาริก และได้เป็นเพียงผู้อ่าน  ความที่สนใจและอยากรู้อยากเห็น.. เริ่มลงมือทำจุลสารเอง กะจะออกรายสิบห้าวัน โดยรวบๆ รวมๆ เพื่อนในห้องเรียนนั่นแหละ ก็สะเปะสะปะไปพอได้ทำ  คนอ่านพอมี อ่านฟรีซะเป็นส่วนใหญ่  ล่มไม่เป็นท่าอยู่แค่นั้นแหละ ^__^

    จบมัธยมปลายเข้ากรุงเทพฯ  ร่วมกับเพื่อนทำจุลสารอีก ในนามจุลสาร กขค. โดยมีบัติต์ เป็น บก.  ตอนนี้แหละถึงได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมต้นฉบับ การจัดหน้า การตรวจทานต้นฉบับ.. แต่ก็ไม่รุ่งอีกรู้สึกได้ช่วยงานเขาเพียงฉบับ หรือสองฉบับ ก็แป๊กอีกจนช่วงเวลาวัยรุ่นผ่านพ้นไป สีของความฝันก็จางลงๆ  ไฟเกือบมอด งานเขียนเริ่มต้นอีกครั้งเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิต..นั่นก็คือ การเขียนออนไลน์ที่เว็บบ้านกลอนไทย หรือ www.thaipoem.com  สองปีแห่งความสุขโดยแท้จริงเมื่อผู้เขียน ผู้อ่าน สามารถตอบถ้อยคำกันอย่างรวดเร็วทันใจกว่าจะมีแรงใจเติมไฟฝันก็เขียนออนไลน์อยู่หลายปี การทำหนังสือทำมือของสีน้ำฟ้า เริ่มต้นอีกเมื่อ ทานตะวัน  นักเขียนออนไลน์จากเว็บ www.bookcyber.com กระดานบอร์ดบันทึกสาธารณะย้ายมาอยู่ข้างบ้านและให้ช่วยทำหนังสือทำมือให้ หนังสือสำเร็จลงจนได้ แต่ความที่เวลาจำกัดก็เลยขาดความปราณีตไปมากจนกระทั่งได้แก้ตัวในเล่มต่อมา เธอหายไปไหนเจ้าเด็กน้อย  เล่มนี้ไม่มีภาพทำเฉพาะกิจ ให้น้องเขาไปหมดเลยพอทำให้น้อง ก็อยากจะทำหนังสือทำมือของตนเอง.. ความในใจ ไฟฝันฉันและเธอรวมกลอนเล่มแรก (เล่มนี้ทั้งแจก ทั้งขาย หมดเกลี้ยง เพราะเพื่อนๆช่วยซื้อเพื่อช่วยวิกฤตที่ร้านตอนประมาณ ปี 49)  จากนั้นแตกหน่อมาเป็นนักฝัน วันวาร การเดินทาง” | “มิตรภาพออนไลน์และปัจจุบันเล่มที่กำลังปล้ำๆ อยู่นี้  หินสักลายทำให้น้องอีกเช่นเคย น้องชื่อ"ดาเรน"  ชื่อคล้ายๆ "ตาเรน" บล็อกเกอร์โอเคเนชั่น ท่านหนึ่ง  ดังนั้นเพื่อป้องกันการสับสน สีน้ำฟ้าก็เลยเรียกน้องเขาว่า "น้องดีน"  รู้จักกันผ่านโลกออนไลน์นี่แหละค่ะ เขาเห็นรูปร่าง หน้าตา หนังสือทำมือ ที่สีน้ำฟ้าทำ เลยอนุญาต และไว้วางใจมาร่วมมือกันทำ เล่มนี้เลยค่ะ เล่มที่ฝีมือสีน้ำฟ้าพัฒนามากขึ้น และภูมิใจนำเสนออย่างยิ่งภาพปกมาจากบล็อกแก๊ง "เขาพนม"  ออกแบบปกโดยน้านพ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่ร้านของสีน้ำฟ้านี่แหละค่ะ สวยไหมๆ อิอิ.. ออกนอกหน้านิ๊ดหนึ่ง เพราะภูมิใจในเล่มนี้ที่ตรวจทาน แก้ไข และจัดรูปเล่มเองทั้งหมด งานนี้ต้องขอบคุณน้องดีนค่ะ ที่ทำให้สีน้ำฟ้ารู้สึกว่าตัวเองเป็นคนและมีค่าขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากปัญหาอะไรต่อมิอะไรรุมเร้าเหลือเกินในการทำหนังสือทำมือนั้น แต่ละขั้นตอนจะว่าง่ายก็ไม่เชิง  และยิ่งสมัยปัจจุบันเห็นด้วยอย่างยิ่งที่คุณสายลมอิสระ  นักเขียนฝีมือดี และกองบรรณาธิการนิตยสารไอน้ำ ออกมาให้ความเห็นผ่านเว็บประพันธ์สาส์นว่า หนังสือทำมือก็ควรมีบรรณาธิการ  เรื่องนี้ติดตามอ่านต่อได้จากเว็บประพันธ์สาส์นเมื่อหนังสือทำมือ ปราณีตขึ้น มีการกลั่นกรอง มีคุณภาพมากขึ้น หนังสือทำมือที่เคยซบเซาลงไปด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง คงจะฟื้นกลับคืนมาอีกครั้ง

     

    หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.

    หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: E-book) เป็นหนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book reader) ได้

    วิวัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

    แนวความคิดเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นภายหลัง ปี ค.ศ. 1940 โดยปรากฏในนวนิยายวิทยาศาสตร์ ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสแกนหนังสือจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มภาพตัวหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่าน กระบวนการแปลงภาพเป็นข้อความด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นข้อความที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ การถ่ายทอดข้อมูลจะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษจึงเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูลแทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (Documents printing) ทำให้รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยุคแรก ๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc .txt .rtf และ .pdf ไฟล์ เมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่าง ๆ จึงถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยปรากฏในแต่ละหน้าของเว็บไซต์ซึ่งเรียกว่า "web page" ผู้อ่านสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

    ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัท ไมโครซอฟท์ ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้คำแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader และหลังจากนั้นมีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไป กล่าวคือ สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้ คุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป

    ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือทั่วไป

    ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือทั่วไป จะอยู่ที่รูปแบบของการสร้างและการใช้งาน ดังนี้

    หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

    หนังสือทั่วไป

    ไม่ใช้กระดาษ (อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้)

    ใช้กระดาษ

    สามารถสร้างให้มีภาพเคลื่อนไหวได้

    มีข้อความและภาพประกอบธรรมดา

    สามารถใส่เสียงประกอบได้

    ไม่มีเสียงประกอบ

    สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล (update) ได้ง่าย

    สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ยาก

    สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออกไปยังข้อมูลภายนอกได้

    มีความสมบูรณ์ในตัวเอง

    มีต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ

    มีต้นทุนการผลิตสูง

    ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด

    มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์

    สามารถอ่านผ่านคอมพิวเตอร์ และสั่งพิมพ์ผลได้

    สามารถเปิดอ่านจากเล่ม อ่านได้อย่างเดียว

    หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกันได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)

    สามารถอ่านได้ 1 คนต่อหนึ่งเล่ม

    สามารถพกพาสะดวกได้ครั้งละจำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ และสามารถเข้าถึงโดยไม่จำกัดเรื่องสถานที่และเวลา

    สามารถพกพาลำบาก และต้องเดินทางไปใช้ที่ห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศต่าง ๆ

     

    เทคโนโลยีสำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

    เทคโนโลยีสำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มี 3 ประเภท ดังนี้

    ฮาร์ดแวร์

    คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากคอมพิวเตอร์แล้ว ปัจจุบันได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีลักษณะที่พกพาได้ มีรูปทรงขนาด และราคาให้เลือกมากขึ้น โดยใช้กับซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านซึ่งสามารถสั่งซื้อ หรือดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต

    ซอฟต์แวร์

    ซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นโปรแกรมที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบที่บริษัทผลิต ส่วนใหญ่จะดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต เช่น อะโดบี รีดเดอร์ (Adobe Reader), Microsoft Reader, Palm Reader และ DNL Reader เป็นต้น

    ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นโปรแกรมที่ใช้ทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Adobe FrameMaker, Adobe PageMaker, Adobe InDesign, Adobe Acrobat, Adobe Acrobat Capture, The Read in Microsoft Reader add-in for Microsoft Word, The Palm Ebook, Studio authoring tool, DesktopAuthor, FlipAlbum เป็นต้น

    การจัดการซอฟต์แวร์

    เป็นโปรแกรมที่ใช้จัดการควบคุมระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Adobe Content Server 3, Microsoft Digital Asset Server, Palm, Retail Encryption Server Software เป็นต้น

    แนวโน้มของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต

    ยุคการอ่านหนังสือจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกกันว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ เนื่องจากการแพร่หลายของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถพกพาไปได้สะดวก อาทิ พ็อคเก็ต พีซี (Pocket PC) ปาล์ม โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นในอนาคตเช่นกัน เพราะเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ทำให้การเข้าถึงสื่อสารนิเทศประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็วทันต่อความต้องการของผู้ใช้จากทั่วโลก โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อาจกล่าวได้ว่าในทุกวันนี้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้รับความสนใจของผู้คนทั่วไปในทุกสาขาอาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับหนังสือ เช่น บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักจดหมายเหตุผู้จัดพิมพ์หนังสือ หรืออาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศ เป็นต้น ส่วนบริษัทผู้จัดจำหน่ายฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้แต่หวังให้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ราคาถูกลง เพราะหากเป็นอย่างนั้น ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้อ่านจะหันมาสนใจอ่านหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น อย่างไรก็ตามไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ในอนาคตตลาดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเช่นไร หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะแทนที่หนังสือตัวเล่มได้หรือไม่ เมื่อไร และจะสามารถเอาชนะใจหนอนหนังสือทั้งหลายได้หรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับพัฒนาการหรือการคิดค้นรูปแบบใหม่และการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความสะดวกในการอ่านให้มากขึ้น การที่จะทำให้นักอ่านทั้งหลายเล็งเห็นถึงสิ่งที่น่าสนใจในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น คงต้องใช้เวลาในการยอมรับพอสมควร

    บรรณารักษ์เป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรสารนิเทศทุกประเภท หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับบรรณารักษ์ที่จะนำมาให้บริการ แต่การจะให้ผู้อ่านยอมรับการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้หนังสือฉบับพิมพ์ บรรณารักษ์จำเป็นต้องทำให้ผู้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกิดความรู้สึกเหมือนกับการอ่านหนังสือฉบับพิมพ์ แต่มีความสะดวกสบายในการอ่านมากกว่าปัญหาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

    ปัญหาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในประเด็นสำคัญ 3 ประการ คือ

    มาตรฐานการผลิต

    กล่าวคือเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ตลอดจนถึงการแปลงข้อมูลต่าง ๆ ล้วนมีผลต่อการผลิตเนื้อหา (Content) ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างมาก เนื่องจากจะต้องมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนแฟ้มข้อมูล ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาแก่ห้องสมุดในกรณีที่ห้องสมุดดำเนินการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เอง และดำเนินการจัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เข้ามาให้บริการแก่สมาชิก

     

     

     

    มาตรฐานการจัดจำหน่ายของผู้ผลิต

    ได้แก่ ปัญหาทางด้านราคาที่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละรายที่ใช้เทคโนโลยีที่ต่างชนิดกัน ปัญหาการสืบค้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ย้อนหลังและวารสารอิเล็กทรอนิกส์ย้อนหลัง ซึ่งอาจมีผลต่อการจัดซื้อสิ่งพิมพ์อีก 1 ชุดเพื่อเย็บรวมเล่มหรือไม่ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนกระทบต่อการตัดสินใจในการจัดซื้อ และการเตรียมงบประมาณในปีถัดไป

    ลิขสิทธิ์ของเจ้าของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และสิทธิ์ผู้ใช้

    ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาข้อสรุปในประเด็นนี้ได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่ห้องสมุดจัดซื้อจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำมาให้บริการแก่ผู้ใช้ เช่น การกำหนดสิทธิ์ผู้สามารถใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การอ้างอิง เป็นต้น

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    การทำหนังสือ E-book
    ตอนที่ 1 รู้จักหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บุ๊คและโปรแกรมที่ใช้ทำอีบุ๊ค

    อีบุ๊ค ความหมาย Electronic Book (E-Book) หรือ"หนังสืออิเล็กทรอนิกส์"
    ซึ่งจัดทําขึ้นด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ และ สามารถอ่านได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์เหมือนเปิดอ่านจากหนังสือ โดยตรงที่เป็นกระดาษ แต่ไม่มีการเข้าเล่ม เหมือนหนังสือที่เป็นกระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถมากมายคือ มีการเชื่อมโยง (Link) กับ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆได้ เพราะอยู่บนเครือข่าย www และมีบราวเซอร์ที่ทำหน้าที่ดึงข้อมูลมาแสดงให้ ตามที่เราต้องการเหมือนการเล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไป
    เพียงแต่เป็นระบบหนังสือบนเครือข่ายเท่านั้น หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงข้อความ รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวได้ เราสามารถอ่านหนังสือ ค้นหาข้อมูล และสอบถามข้อมูลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก ได้จากอินเตอร์เน็ต จากคอมพิวเตอร์เพียงเครื่อง เดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นแฟ้มข้อมูล ประเภทข้อความ (Text File) ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักของภาษา HTML (Hyper Text Mask Language) ที่ใช้เขียนโปรแกรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันมี 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์สําหรับการเขียนข้อมูลให้ออกมาเป็น E-Book และ ซอฟต์แวร์สําหรับการอ่าน

    วิวัฒนาการของ Electronic Book
                     ความคิดเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีมาภายหลังปี ค.ศ. 1940 ซึ่งปรากฏในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง หนึ่ง เป็นหลักการใหม่ของคอมพิวเตอร์ตามแบบแผน IBM มีผลิตภัณฑ์คือ Book Master เนื้อหาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ในปี 1980 และก่อน 1990 ในช่วงแรกมี 2 ส่วน คือ เรื่องเกี่ยวกับคู่มืออ้างอิงและการศึกษาบันเทิง งานที่เกี่ยวกับการอ้างอิง
    มักจะเกี่ยวกับเรื่องการผลิตและการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการพร้อมๆ กันกับการผลิตที่ ซับซ้อน เช่น Silicon Graphics ด้วยข้อจํากัดทางเทคโนโลยีที่ห่างไกลความจริง เช่น มีปัญหาของจอภาพซึ่งมี ขนาดเล็กอ่านยาก แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้น ไม่มีการป้องกันข้อมูลซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ ต่อมาเทคโนโลยีแล็บท็อปคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีส่วนช่วยให้ E-Book มีการรุดหน้าเร็วขึ้นจนสามารถ บรรลุผลในการเป็นหนังสือที่สมบูรณ์แบบ เพราะได้นําบางส่วนของแล็บท็อปมาประยุกต์ใช้จน
    ทำ ให้ E-Book มี คุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีได้ นอกจากนี้ Internet ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องมี อุปกรณ์ที่จะใช้เก็บข้อมูล u3648 เช่น Diskette สามารถส่งข้อมูลได้คราวละมากๆ มีการป้องกันข้อมูล (Encryption) ใน การพัฒนา E-Book จะมุ่งไปที่ความบางเบาและสามารถพิมพ์ทุกอย่างได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ให้เหมือนกระดาษ จริงมากที่สุด

    ลักษณะไฟล์ของ Electronic Book

    HTML เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดงานประเภทนี้จะมีนามสกุลของไฟล์หลายๆ แบบเช่น .htm หรือ .html เป็นต้น สาเหตุหลักที่ได้รับความนยมสูงสุดนั้นมาจากบราวเซอร์สํ าหรับเข้าชมเว็บต่างๆ เช่น Internet Explorer หรือ Netscape Communication ที่ใช้กันทั่วโลกสามารถอ่านไฟล์ HTML ได้ สํ าหรับไฟล์ XML ก็มีลักษณะเดียวกับไฟล์ HTML นั่นเอง

    PDF Portable หรือ Document Format ถูกพัฒนาโดย Adobe System Inc เพื่อจัดการเอกสารให้อยู่ใน รูปแบบที่เหมือนเอกสารพร้อมพิมพ์ ไฟล์ประเภทนี้สามารถอ่านได้โดยระบบปฏิบัติการจํ านวนมากและรวมถึง อุปกรณ์ E-Book Reader ของ Adobe ด้วย 

    PML พัฒนาโดย Peanut Press เพื่อใช้สํ าหรับสร้าง E-Books โดยเฉพาะอุปกรณ์พกพาต่างๆ ที่ สนับสนุนไฟล์ประเภท PML นี้จะสนับสนุนไฟล์นามสกุล .PDF ด้วย 
    (หมายเหตุ ข้อมูลจาก www.j-joy.co.th)

               เมื่อได้รู้จักกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บุ๊คกันแล้ว เราก็จะมาเริ่มทำหนังสือ e-book กัน สำหรับโปรแกรมที่เราจะใช้ในการทำมีอยู่ด้วยกัน 2 โปรแกรม คือโปรแกรม Flippublisher v1.0 โปรแกรมนี้ใช้สำหรับทำหนังสือ e-book กับอีกโปรแกรมหนึ่งคือโปรแกรม Flipviewer โปรแกรมนี้ใช้สำหรับอ่านหนังสือ e-book แล้วจะหา 2 โปรแกรมนี้ได้จากที่ไหน ก็ไม่ต้องเป็นกังวลเพราะได้จัดเตรียมไว้ให้ท่านแล้ว เอาไว้ครั้งหน้าเราจะลงมือกัน อดใจรอซักนิด.....

     

     

     

    ประเภทของหนังสือเด็ก

    การแบ่งประเภทหนังสือเด็ก แบ่งเป็นหลายระดับตามเกณฑ์ต่างกันไป เช่น แบ่งตามเกณฑ์อายุบ้าง แบ่งตามเกณฑ์ชั้นเรียนบ้าง และบางครั้งก็แบ่งตามลักษณะเรื่อง

    http://www.culture.go.th/knowledge/story/book/images/p3.jpg

    หนังสือสำหรับเด็กแบ่งตามเกณฑ์อายุ จะแบ่งได้ ๕ ระดับ คือ

    1. หนังสือสำหรับเด็กอายุ                    0 - 3   ปี

    2. หนังสือสำหรับเด็กอายุ                    3 - 6    ปี

    3. หนังสือสำหรับเด็กอายุ                    6 - 11   ปี

    4. หนังสือสำหรับเด็กอายุ                   11 - 14  ปี

    5. หนังสือสำหรับเด็กอายุ                   14 - 18  ปี

    http://www.culture.go.th/knowledge/story/book/images/p2-1.jpg

     

     

     

    หนังสือสำหรับเด็กแบ่งตามระดับชั้นเรียน แบ่งได้ ๓ระดับ คือ

    ๑.

    วัยเด็กเล็ก

    สำหรับเด็กอายุ

    ๓- ๖

    ปี

    ๒.

    วัยประถมศึกษา

    สำหรับเด็กอายุ

    ๗ - ๑๒

    ปี

    วัยมัธยมศึกษา

    สำหรับเด็กอายุ

    ๑๓ - ๑๘

    ปี

    http://www.culture.go.th/knowledge/story/book/images/p5.jpg

    หนังสือสำหรับเด็กแบ่งตามลักษณะของเรื่อง แบ่งได้ ๓ ประเภทคือ

    1.            นวนิยาย (Fiction)ให้ความเพลิดเพลินเป็นสำคัญการบรรยายเรื่องเขียนเป็นร้อยแก้ว

    หนังสือสำหรับเด็กที่เสนอในรูปของนวนิยายนี้มีอยู่ ๒ แบบ

    1.1 เสนอเป็นเรื่องราว(story) ได้แก่การเล่าเรื่อง เล่านิทาน มีการบรรยายให้ผู้อ่านเห็นภาพพจน์

    1.2 เสนอเป็นบทละคร (play) สำหรับใช้แสดงบนเวที ให้ฉาก บทเจรจา และท่าทางของผู้แสดงเป็นการสื่อความเข้าใจ

    http://www.culture.go.th/knowledge/story/book/images/p4.jpg

    2.สารคดี ( non fiction)ให้ความรู้และข้อเท็จจริงเป็นสิ่งสำคัญ หนังสือสารคดีเหมาะกับเด็กทุกวัย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เขียนว่าจะสามารถเขียนสารคดีให้เหมาะกับเด็กวัยใด และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาจากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อให้ความรู้ เนื้อหาสาระและข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง

    http://www.culture.go.th/knowledge/story/book/images/p6.jpg

    3. ร้อยกรอง ( verse) เป็นการเสนอเรื่องราวไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของนวนิยายหรือสารคดีให้เป็นคำคล้องจองตามประเภทฉันทลักษณ์ต่างๆ มี ๒ ประเภทคือ

    3.1 บทร้อยกรองสำหรับเด็ก ( nursery rhymes)

    3.2 บทร้อยกรองสำหรับวัยรุ่น (poetry for young reader

     

     

     

     

    ลักษณะหนังสือที่เด็กชอบ

    ความสนใจของเด็กเป็นสากล เด็กก่อนวัยเรียนสนใจนิทาน เทพนิยายโตขึ้นมาจะชอบนิทานเกี่ยวกับสัตว์ และต่อมาจะชอบเรื่องการต่อสู้ ผจญภัย เด็กชอบดู อยากรู้ อยากเห็น เด็กทุกคนชอบความสนุกสนาน ขบขัน เด็กมีจินตนาการ เรื่องที่เด็กชอบจะต้องเป็นเรื่องที่เด็กนึกฝันต่อได้อย่างสดใส ภาพที่เด็กนึกฝันเป็นภาพที่เด็กเห็นได้ชัดเจนในขณะที่บางทีผู้ใหญ่ก็มองไม่เห็น เด็กชอบกิน ดังนั้นเรื่องที่จบด้วยรูปของกินก็ดี หรือ จบลงด้วยการกินเลี้ยงเด็กจะชอบมากเป็นพิเศษ เด็กชอบดูภาพมากกว่าอ่านเรื่อง เมื่อเด็กเปิดหนังสือภาพจะสิ่งแรกที่เด็กดู และดูทุกอย่างในภาพอย่างละเอียดละออ อ่านหนังสือออกหรือไม่ ไม่ใช่สิ่งจำเป็นเลยเพราะเด็กอ่านเรื่องจากภาพเด็กชอบภาพสีมากกว่าภาพดำ-ขาว ชอบภาพสวยงาม ภาพที่ให้ชีวิต เด็กชอบฝันว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สามารถทำอะไรได้เหมือนเขา เช่น กระต่ายนุ่งกางเกงได้ แมวพูดคุยได้ ทั้งนี้เป็นเพราะความรู้สึกเฉพาะของเด็กซึ่งผู้ใหญ่มักไม่เข้าใจคิดว่า เป็นนิทานโกหก ผิดธรรมชาติ นอกจากนี้เด็กยังชอบภาพที่ดูง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ชอบภาพลูกสัตว์ เกือบทุกชนิด

    -                   เด็กชอบภาพที่มีลักษณะง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่เมื่ออายุสูงขึ้นจะชอบภาพซับซ้อนขึ้น

    -                   เด็กชอบภาพที่แสดงการกระทำและการผจญภัย

    -                   เด็กชอบภาพสีมากกว่าขาวดำ

    เด็กอายุ ๘ ปี สนใจการ์ตูนประกอบวรรณคดีหรือนิทานมากที่สุด อายุ ๙ ปี และ ๑๐ ปี ชอบการ์ตูนตลกขำขันมากที่สุด

    เด็กชอบหนังสือที่มีภาพประกอบมากและเป็นภาพที่ใหญ่ชัดเจนตรงกับข้อความภาพสีน้ำช่วยให้เกิดจินตนาการได้มากกว่าภาพลักษณะอื่น

    -                   เด็กชายหรือเด็กหญิง อ่านเก่งหรือไม่เก่ง ชอบภาพลักษณะเดียวกัน

    -                   เด็กสนใจภาพที่อยู่ข้างขวามากกว่าข้างซ้าย

     

     

     

    การเขียนภาพประกอบ

    อาจารย์คุณรัญจวน อินทรกำแหง ได้กล่าวถึงความสำคัญของภาพประกอบว่า "เรื่องนั้นจะมีชีวิตชีวาและมีความหมายก็ต่อเมื่อมีภาพประกอบที่ดี และมีการพิมพ์ที่มีคุณภาพ คือ กระดาษดี ตัวอักษรเหมาะสม ชัดเจน การจัดหน้าหนังสือโปร่งตา การเย็บเล่มทนทานแข็งแรง และที่สุดคือ ความพิถีพิถันต่อความประณีต ความงดงาม และความมีศิลปะทุกกระเบียดนิ้ว เพราะข้าพเจ้าเชื่อว่า การที่ให้เด็กสัมผัสกับความประณีต ความงดงาม ที่ชวนให้เกิดความจรรโลงใจนั้น เป็นการเสริมสร้างคุณสมบัติที่ส่งเสริมให้เด็กได้ซึมซาบกับความปราณีตงดงามอันจะมีผลต่อจิตใจของเด็กต่อไปในอนาคตได้ทางหนึ่ง"

    ในการเขียนภาพประกอบนั้น ผู้เขียนภาพจำเป็นจะต้องเตรียมตัวในสิ่งต่อไปนี้

    1.            ต้องรู้จักธรรมชาติทั่วๆ ไป ไม่เจาะจงเฉพาะธรรมชาติที่เป็นชีวิตมนุษย์เท่านั้น เช่นรู้จักว่ากลางวันสีเป็นอย่างไร กลางคืนสีเป็นอย่างไร เวลาเขียนก็จะเขียนได้ถูกต้อง หรือ สังเกตลักษณะของเด็กว่ามีความนุ่มนวลบนใบหน้า เวลาเขียนภาพก็อาจจะใช้รูปโค้งหรือทรงกลมช่วย แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็อาจจะเพิ่มเหลี่ยมเข้าไป การเรียนรู้ธรรมชาติเหล่านี้ ถือเป็นหลักเบื้องต้นที่ทุกคนต้องเรียน

    2.            ต้องเรียนรู้มวลธาตุ คือ element ต่างๆ ที่ใช้แทนค่า ได้แก่ จุด เส้น น้ำหนัก สีพื้นผิว (Texture ) นุ่ม นูน หยาบ จุด คือตัวที่จะก่อให้เกิดเส้น เส้นตรงที่นอนนิ่งในแนวระนาบให้ความรู้สึกอย่างไร เส้นตรงในแนวตั้งให้ความรู้สึกอย่างไร วงกลมให้ความรู้สึกอย่างไร สีแดงเมื่ออยู่บนพื้นขาวกับสีแดงบนพื้นดำให้ความรู้สึกอย่างไร ฯลฯ

    3.            ความสามารถเฉพาะตัวของนักวาดภาพ คือ จะต้องรู้ตัวเองว่ามีความถนัดในการเขียนภาพอย่างไร บางคนชอบที่จะใช้สีแดง บางคนชอบที่จะใช้สีดำ ความสามารถในการให้สี รูปร่าง น้ำหนัก เส้น เป็นลักษณะเฉพาะตัว

    4.            แนวคิดหรือการปรับปรุงผลงานให้มีลักษณะของการสร้างสรรค์เพิ่มเติมขึ้นมาในการเขียนภาพประกอบบางครั้งเมื่อเกิดปัญหานักวาดภาพต้องพยายามดึงเอาปัญหาที่เกิดขึ้นมาแก้ไข คือเพิ่มเติมให้ตรงเนื้อหามากยิ่งขึ้น

     

    นักวาดภาพจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องเทคนิค เช่นการวาดภาพลายเส้นง่ายๆ ขาว- ดำ ธรรมดา ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในหนังสือแบบเรียน เทคนิคการเขียนด้วยสีน้ำคือใช้พู่กันระบายและเทคนิคการ Collegeคือ ใช้วัสดุติดลงไปในรูป เช่นจะทำเป็นรูปเด็กหรือรูปสัตว์ ก็ฉีกกระดาษ หรือวัสดุอื่นเช่นใบไม้ ให้เป็นรูปทรงที่เราต้องการติดลงไป ลักษณะ College จะเห็นเป็นรูปร่างไม่ชัดเจนนักแต่เป็นเรื่องง่ายๆ สำหรับเด็กเริ่มต้น

    ลักษณะสีน้ำเป็นลักษณะซึ่งง่ายในการพิมพ์ ภาพที่จะพิมพ์ได้ดีเป็นภาพลักษณะสีน้ำ เพราะถ้าเป็นภาพโปสเตอร์หรือสีน้ำมัน ภาพที่ถ่ายออกมาจะไม่สดใสเท่า คือตัวคนเขียนต้องการให้ออกมาเช่นไร ตัวคนรับหรือเด็กก็จะรู้สึกตาม ถ้าหากระบบที่ถ่ายทอดสีนี้ไม่ดีพอ ภาพก็จะออกมาไม่ใสเท่าที่ต้องการ นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการเขียนด้วยพู่กันพ่น (airbrush) และพู่กันจีน

    การเขียนภาพลายเส้น เป็นเทคนิคอีกแบบหนึ่งในการเขียนภาพประกอบหนังสือเด็ก อาจารย์ช่วง มูลพินิจ ศิลปินผู้ถนัดในการเขียนภาพลายเส้น ใช้ปากกาหมึกดำเขียนภาพลายเส้นขาวดำในหนังสือเด็ก โดยใช้แนวความคิดของตนร่วมกับความคิดเห็นของผู้จ้างหรือผู้ผลิตหนังสือ เพื่อให้ภาพประกอบหนังสือเด็กมีคุณค่ามากที่สุด อาจารย์ช่วง เล่าว่า " แรงบันดาลใจที่ทำให้เริ่มงานเขียนภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กนั้น เพราะชอบลักษณะท่าทางที่น่ารัก ไร้เดียงสาของเด็กๆ เมื่อมีโอกาสเขียนภาพประกอบจึงได้นำเอาท่าทางที่น่ารักของเด็กมาประกอบเข้ากับภาพที่เขียนขึ้นผสมผสานไปกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตามจินตนาการ ที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่องในหนังสือ"

    ลักษณะของภาพประกอบ แบ่งออกได้เป็น ๖ ชนิด

    1. ลักษณะเหมือนจริง ให้ลักษณะเป็นจริงซึ่งศึกษามาจากธรรมชาติทั้งสิ้น อาจจะใช้ลักษณะขาวดำ เป็นสื่อในการแสดงออก ดูแล้วรู้สึกเหมือนจริง จับต้องได้

    2. ลักษณะสร้างสรรค์หรือจินตนาการ ไม่มีลักษณะเหมือนจริงมากนัก เช่น เส้นหรือรูปทรงของสัตว์ต่างๆ ประกอบขึ้นมาจากจินตนาการมากขึ้น

    3. ลักษณะการเขียนภาพแบบรูปทรงเรขาคณิต ผิดจากรูปทรงเหมือนจริงและจินตนาการคือใช้รูปทรงหรือเส้นลักษณะวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมมาประกอบกันขึ้นเป็นรูป

    4. ลักษณะการใช้รูปทรงซึ่งเป็นสัญลักษณ์มาแทนค่าความหมายในภาพ อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กแต่ในขั้นสูงจำเป็นจะต้องให้เด็กเรียนรู้บ้าง เช่น ดวงอาทิตย์แทนค่าสีเป็นเรื่องสว่าง โลกอาจจะหมายถึงทุกสิ่งหรือมวลสิ่งต่างๆ ในตลกเช่น ภาพลูกตลกมีหมวกคลุมแสดงว่าหมวกมีพลังเหนือลูกโลกในการแทนค่าให้คิดในลักษณะเป็นสัญลักษณ์ มากกว่าลักษณะเหมือนจริงหรือลักษณะเรขาคณิต

    5. ลักษณะการเขียนภาพการ์ตูน

    6. ลักษณะการเขียนภาพสัตว์ นักวาดภาพประกอบต้องมีความชำนาญหรือศึกษาเกี่ยวกับรูปทรงของสัตว์ในลักษณะที่เป็นจริงก่อน แล้วจึงแทนค่าออกมาในลักษณะซึ่งเปลี่ยนแปลงแล้วเป็นลักษณะสมจริงก็ได้ รูปทรงเรขาคณิตก็ได้ หรือ สัญลักษณ์ก็ได้

    นักวาดภาพประกอบแต่ละคนจะใช้ความสามารถเฉพาะตัวที่มีอยู่ เลือกลักษณะของภาพประกอบแต่ละแบบใน ๖ แบบนี้ เพื่อแทนค่าในการแสดงออกของภาพประกอบให้ได้ผลมากที่สุด

    ส่วนประกอบของการออกแบบที่ดี

    จากการตัดสินผลงานของผู้มีอาชีพในการวาดภาพหนังสือเด็ก สิ่งสำคัญขั้นมูลฐานในการออกแบบมีดังนี้คือ

    1. ผู้ออกแบบต้องเข้าถึงเนื้อหาอย่างกระจ่าง

    2. ผู้ออกแบบจะต้องมีความแจ่มชัดของจิตใจที่ครุ่นคำนึงอยู่ในงานนั้น

    3. ต้องมีความรู้ทางด้านวิชาการอย่างยอดเยี่ยมในการใช้สื่อ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสีน้ำ สีน้ำมัน หรือสีผสม

    4. รู้จักใช้สีสะดุดตา

    5. ความคล่องแคล่วในการวาดภาพและการมีเทคนิคในการจับอารมณ์ตามเนื้อหาตามแบบที่เหมาะสม

     

     

    บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน

    วิธีดำเนินการ หมายถึง วิธีการที่ช่วยให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการทำ      โครงงาน ตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการกระทั่งสิ้นสุดโครงการ ซึ่งประกอบด้วย

                        1. การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา

                        2. การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล

                        3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

                        4. การวิเคราะห์ข้อมูล

    ในการเขียนวิธีดำเนินการให้ระบุกิจกรรมที่ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะทำอะไรบ้าง เรียงลำดับกิจกรรมก่อนและหลังให้ชัดเจน เพื่อสามารถนำโครงการไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง

    1.             ขั้นตอนรวบรวมข้อมูล

    -                   เป็นการหาเนื้อหาที่เกี่ยวกับคู่มือนักศึกษา

    -                    สำรวจข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ

    -                   รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

    -                   รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับคู่มือนักศึกษา

    2.             รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักการทำหนังสือคู่มือนักศึกษา

    3.              ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

    -                   กำหนดรูปแบบแนวทางการจัดทำงานโครงการ

    -                   ทำการร่างแบบคู่มือนักศึกษา

    -                   หาข้อมูลการร่างคู่มือนักศึกษาอย่างถูกต้อง

    4.             วิเคราะห์ปัญหาในด้านแนวความคิดและรูปแบบของผลงานเพื่อพัฒนางานให้สมบูรณ์

    -                   ตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนนำมาใช้งานกับงานพิมพ์

    -                   ตรวจสอบงานทั้งหมดก่อนเข้าเล่ม

    5.             การเก็บรวบรวมข้อมูล

    เพื่อประเมินงานทางด้านการใช้คู่มือ เพื่อใช้ในงานพิมพ์ เน้นความชัดเจนของรูปแบบ ความน่าสนใจคู่มือนักศึกษา  และมุ่งเน้นการใช้คู่มือนักศึกษา

     

     

    แบบประเมินโครงการ

    ความคิดเห็นของนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ที่มีความเห็นต่อการโครงการหนังสือคู่มือนักศึกษาคำชี้แจง  แบบประเมิณมีทั้งหมด2ส่วนกรุณาใส่เครื่องหมาย / ลงในช่องที่ตรงตามความคิดเห็น   

    โครงการ : หนังสือคู่มือนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ

    ส่วนที่1 ข้อมูลของผู้ตอบแบบประเมิณ

    นักศึกษาสาขา   O  สถาปัตยกรรม     O การจัดการงานก่อสร้าง   O เทคโนโลยีนิเทศศิลป์   O  สถาปัตย์ชุมชนเมือง

                              O  ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสหกรรม  O สถาปัตยกรรมภายใน

    เพศ    O หญิง   O ชาย

    ถ้าคุณเป็นนักศึกษาใหม่ คุณต้องการหนังสือคู่มือ   O ต้องการ      O ไม่ต้องการ

    ส่วนที่2 รายการประเมิณ

    รายการ

    ระดับการประเมิณ

    ดีมาก

    ดี

    ปานกลาง

    พอใช้

    น้อย

    1. รูปแบบของคู่มือ

     

     

     

     

     

    2. ความแปลกใหม่

     

     

     

     

     

    3. สีสัน

     

     

     

     

     

    4. กระดาษที่ใช้ในการผลิต

     

     

     

     

     

    5. ความคมชัดของตัวหนังสือ และรูปภาพ

     

     

     

     

     

    6. รูปแบบปก และภายในเล่ม

     

     

     

     

     

    7. ความน่าสนใจภายในสมุดคู่มือ

     

     

     

     

     

    8. เนื้อหาภายในสมุดคู่มือ

     

     

     

     

     

    9. นักศึกษามีความเข้าใจกับสิ่งที่ทางคณะต้องการนำเสนอ

     

     

     

     

     

    10. นักศึกษาสามารถรับรู้กับกิจกรรมต่างๆของทางคณะ

     

     

     

     

     

    11. นักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลของทางคณะ

     

     

     

     

     

    12. มีความรู้ความเข้าใจกับหลักสูตรของแต่ละสาขาวิชา

     

     

     

     

     

    13. การจัดรูปแบบ และหมวดหมู่ของเนื้อหา

     

     

     

     

     

    14. นักศึกษารับรู้ถึงรายละเอียดของแต่ละสาขา

     

     

     

     

     

    15.โดยรวมบของรูปแบบหนังสือสือคู่มือ

     

     

     

     

     

    16. ความพึ่งพอใจกับหนังสือคู่มือนักศึกษา

     

     

     

     

     

    17. ความสมบูรณของเนื่อหาและข้อมูล

     

     

     

     

     

    ข้อเสนอแนะ

    ......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×