คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : โครงการการฝึกออกแบบลายเส้น สี สีขาวดำ แสงเงา ชุด vespa classic
บทที่1
บทนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญ
ย้อนกลับไปเมื่อ 100 ที่แล้ว รถยนต์คันแรกเข้ามาวิ่งในแผ่นดินสยามถือเป็นสิ่งแปลกใหม่บนท้องถนน คนยุคนั่นคงนึกไม่ถึงว่ามันจะเป็นพาหนะสำคัญ จนเป็นปัจจัยที่ 5 ของผู้คนในยุคปัจจุบัน ธุรกิจรถยนต์ยุคเริ่มต้นมีเพียงรถอิมพอร์ตเจ้าของร้านเป็นฝรั่งต่างชาติไม่กี่ร้านและแต่ละร้านก็สูญสลายไปใน เวลาต่อมาตำนานรถยนต์และธุรกิจรถยนต์ต่างเลือนไปจากความทรงจำของคนรุ่นปัจจุบันเสียสิ้นจากฝรั่งสู่มือคนไทย รถคันแรกในเมืองบางกอก ปี 2406 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ตัดถนนสายแรกในมหานครขึ้นคือถนนเจริญกรุง ตั้งต้นที่กำแพงพระบรมมหาราชวังเลียบฝั่งเจ้าพระยาไปสิ้นสุดที่บางคอแหลมหรือถนนตกในปัจจุบัน ในยุคนั้นมีเพียงรถลากและรถม้าเป็นเจ้าครองถนนสายแรกที่มีความยาว 6.5 กม.และในช่วง 30 ปีต่อมาก็มีการตัดถนนเพิ่มเพียงไม่กี่สาย ในปี 2435 ในยุคของรัชกาลที่ 5 ถนนในเมืองบางกอกรวมกันแล้วมีความยาวเพียง 12 กม. แม้ถนนบางสายจะมีความกว้างถึง 20 เมตรก็ตาม หากหลับตานึกภาพบนท้องถนนสมัยนั้นมีรถยนตร์มาวิ่งท่ามกลางรถม้าและ รถลากคงเกิดความโกลาหลไม่น้อย
การกำเนิดรถยนต์ในประเทศไทยและการที่พระราชวงศ์ไทยสนพระทัยในเรื่องรถยนต์เป็นเรื่องที่อุบัติขึ้นแทบ จะเป็นเวลาเดียวกันกับช่วงเปลี่ยนศตวรรษเมื่อเริ่มมีการผลิตรถยนต์ในยุโรปและอเมริกาเหนือ รถยนต์คันแรกขึ้นบกที่ท่าเรืออู่บางกอก และมีการขับไปตามท้องถนนท่ามกลางสายตาของประชาชนที่เฝ้ามองอย่างพิศวง รถยนต์สมัยต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นรถยี่ห้อใด คันเกียร์และคันห้ามล้อ ติดตั้งอยู่นอกตัวถ้งด้านขวามือของผู้ขับ รถยนต์อันเป็นเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 20 เข้ามาเมืองไทยครั้งแรกเมื่อใดยังเป็นข้อถกเถียงไม่สิ้นสุด แต่เชื่อกันว่าเป็นชาวต่างชาติเป็นผู้สั่งเข้ามาเป็นคนแรก รถคันนี้มีลักษณะคล้ายกับรถบดถนนในปัจจุบัน มีล้อเป็นยางตัน หลังคาคล้ายปะรำ ที่นั่ง 2 แถว ใช้น้ำมันปิโตเลียมเป็นเชื้อเพลิงและรถมีกำลังเพียงวิ่งตามพื้นราบ ไต่ขึ้นเนินสะพานไม่ได้ การใช้งานของรถคันแรกจึงมีขีดจำกัดเพราะท้องถนนเมืองบางกอกเต็มไปด้วยสะพานข้ามคลองสูง เพื่อให้เรือลอดผ่านได้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญของรถยนต์ยุคนั้น
การใช้รถจักรยานยนต์มีมาตั้งแต่สมัยเก่า รถโบราณประเทศไทศไทยในปัจจุบันเป็นที่นิยมและสนใจมากจากความสวยงามและคลาสิกของจักรยานยนต์เก่า ทั้งในปัจจุบันประชาชนหันมาใช้รถจักรยานยนต์เนื่องจากเป็นการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว สามารถเดินทางง่าย ใช้เวลาไม่นาน จึงสนใจศึกษาการฝึกออกแบบลายเส้น สี สีขาว-ดำ แสงเงา ของรถ vespa classic ว่ามีผู้ที่สนใจและทราบถึงความต้องการ
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.เพื่อศึกษาคุณสมบัติลายเส้นและส่วนประกอบของรถจักรยานยนต์ vespa
2.เพื่อศึกษาเทคนิคการออกแบบลายเว้น สี สีขาวดำ แสงเงา และกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการปฎิบัติ
3.เพื่อฝึกออกแบบ ลายเส้น สี สีขาว-ดำ แสงเงา ของรถจักรยานยนต์ vespa
4. เพื่อเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญในการออกแบบที่มีผลในการสร้างสรรค์ในสังคมที่ก้าวหน้า
1.3 ขอบเขตของโครงการ
ในการศึกษาโครงการครั้งนี้เป็นการฝึกออกแบบลายเส้น สี สีขาว-ดำ แสงเงา ชุด รถ vespa classic
ซึ่งข้อมูลการวิจัยได้มาจากกลุ่มตัวอย่างที่สนใจรถจักรยานยนต์ vespa classic
1.4 คำนิยามศัพท์เฉพาะ
การออกแบบ หมายถึง การรู้จักการวางแผนจัดตั้งขั้นตอนและรู้จักเลือกใช้วัสดุวิธีการเพื่อทำตามที่ต้องการนั้น โดยให้สอดคล้องกับลักษณะ รูปแบบและคุณสมบัติของวัตถุแต่ละชนิดตามความคิดสร้างสรรค์
การออกแบบ หมายถึง การปรับปรุงแบบ ผลงาน หรือสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสม มีความแปลกใหม่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ความเหมาะสม ความสะดวกสบายในการใช้งานยังคงเหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม
การออกแบบ หมายถึง การรวบรวมหรือการจัดองค์ประกอบทั้งที่เป็น 2 มิติ และ 3 มิติ เข้าด้วยกันอย่างมีหลักเกณฑ์ การนำองค์ประกอบของการออกแบบมาจัดรวมกันนั้น ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและความงามอันเป็นคุณลักษณะสำคัญของการออกแบบ การออกเป็นศิลปะของมนุษย์เนื่องจากเป็นการสร้างค่านิยมทางความงาม และสนองคุณประโยชน์ทางกายภาพให้แก่มนุษย์
การออกแบบ หมายถึง กระบวนการที่สนองความต้องการในสิ่งใหม่ๆ ของมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อให้ชีวิตอยู่รอดและมีความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น
ลายเส้น: คือ ภาพวาดที่เป็นเส้นอาจมีความสมบูรณ์ในตนเองหรือแต่งเติมด้วยการลงแสงเงาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นใน การวาดลายเส้นเราควรจะมารู้จักกับอุปกรณ์ในการวาดลายเส้นอุปกรณ์ที่ใช้ในการ เขียนลายเส้นที่เป็นพื้นฐานของการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า ทัศนศิลป์ หลายๆคนที่เคยสอบเอ็นทรานซ์คงรู้ดีว่าเป็นการวาดอย่างไร เราลองมารู้จักกับอุปกรณ์กันก่อนที่จะรู้จักหลักเทคนิคในการวาดต่อไป
สี หมายถึง แสงที่มากระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาเรา ทำให้เห็นเป็นสีต่างๆ การที่เรามองเห็นวัตถุเป็นสีใดๆ ได้ เพราะวัตถุนั้นดูดแสงสีอื่น สะท้อนแต่สีของมันเอง เช่น วัตถุสีแดง เมื่อมีแสงส่องกระทบ ก็จะดูดทุกสี สะท้อนแต่สีแดง ทำให้เรามองเห็นเป็นสีแดง
Black and White = ขาว-ดำ คือผลิตผลของงานขั้นตอนสุดท้ายที่เป็นขาว-ดำ ไม่ว่างานชิ้นนั้นจะเป็นการเริ่มต้นมาจากอะไร แต่จะต้องออกมาเป็นภาพที่มีโทนสีเดียวคือ สีเทา...การใช้น้ำยาล้างฟิล์มและล้างกระดาษ รวมไปถึงประเภทของกระดาษที่มีโทน warm หรือ cold จะทำให้ภาพเปลี่ยนเฉดสีไปได้บ้างเพียงนิดหน่อย ซึ่งอาจจะดูแปลกตาออกไปบ้าง แต่สีขาวก็ยังคงเป็นสีขาว ส่วนที่มืดก็ยังคงเป็นสีเทาเข้มหรือดำ ... ซึ่งไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนโทนของภาพไปทั้งหมดด้วยการใช้ toners ซึ่งมันจะเปลี่ยนสีของภาพออกไปอย่างสิ้นเชิง อย่างเช่นที่คุ้นเคยกันก็มี Sepia ซึ่งจะออกเป็นโทนสีน้ำตาลอย่างชัดเจน
เวสป้า (อังกฤษ: Vespa) เป็นรถมอเตอร์สกู๊ตเตอร์ เริ่มผลิตที่เมืองปอนเตเดรา ในแคว้นทัสกานี ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 1946 โดย Piaggio & Co,S.p.A
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อให้ทราบถึงคุณสมบัติลายเส้นและส่วนประกอบของรถจักรยานยนต์ vespa
2.เพื่อได้ทราบถึงเทคนิคการออกแบบลายเว้น สี สีขาวดำ แสงเงา และกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการปฎิบัติ
3.เพื่อได้ฝึกออกแบบ ลายเส้น สี สีขาว-ดำ แสงเงา ของรถจักรยานยนต์ vespa
4. เพื่อเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญในการออกแบบที่มีผลในการสร้างสรรค์ในสังคมที่ก้าวหน้า
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้ ดังนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับสื่อและ การพัฒนาสื่อ หนังสือภาพประกอบ
1.1 ความหมายของสื่อ
1.2 ความหมายของสื่อประสม
1.3 ประโยชนของสื่อประสม
1.4 หลักการวิจัยและพัฒนาสื่อ
1.5 ความหมายหนังสือภาพประกอบ
2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการฝึกออกแบบลายเส้น สี สีขาวดำ แสงเงา ชุดรถจักรยานยนต์ เวสป้า
2.1 ความหมายของการออกแบบ
2.2 หลักการออกแบบ
2.3 ความสำคัญของภาพประกอบ
2.4 องค์ประกอบศิลป์
2.5 ความหมายของรถจักรยานยนต์เวสป้า
2.6 ความสำคัญและประโยชน์ของจักรยานยนต์
2.7 ประเภทของรถ
1. ความรู้เกี่ยวกับสื่อและ การพัฒนาสื่อ หนังสือภาพประกอบ
ความหมายของสื่อ
เมื่อพิจารณาคำว่า "สื่อ" ในภาษาไทยกับคำในภาษาอังกฤษ พบว่ามีความหมายตรงกับคำว่า "media" (ในกรณีที่มีความหมายเป็นเอกพจน์จะใช้คำว่า "medium")
คำว่า "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำให้ชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม"
นักเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนิยามความหมายของคำว่า "สื่อ" ไว้ดังต่อไปนี้
Heinich และคณะ (1996) Heinich เป็นศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร"
A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)"
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สื่อ หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนินไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
ความหมายสื่อประสม (Multi Media)
สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการพลิกหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ และเสียง
จากความหมาย ของคำว่าสื่อประสม นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งสื่อประสมออกเป็น
2 กลุ่ม คือ
· สื่อประสม (Multimedia 1) เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วม
กันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดีทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอนโดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน การใช้สื่อประสมประเภทนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน และจะมีลักษณะเป็น “สื่อหลายแบบ”
· สื่อประสม (Multimedia 2) เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสาร
สนเทศหรือการผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่าง ๆ เชนภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยที่ผู้ใช้มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง
การนำสื่อประสมมาใช้ในการศึกษา
สื่อประสมมีประโยชน์ในด้านการศึกษาหลาย ๆ ประการ เช่น เป็นการดึงดูดความสนใจ ของผู้เรียน เป็นการให้สารสนเทศที่หลากหลาย สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญช่วยให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบย้อนหลังและแก้ไขจุดอ่อนในการเรียนได้ ซึ่งเราสามารถใช้สื่อประสมเพื่อการศึกษาได้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น
1. เป็นเกมเพื่อการศึกษา คือ การใช้เกมในลักษณะของสื่อประสมซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดึงดูด
ความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากความสนุกสนานจากการเล่นเกมตามปกติ
เกมต่าง ๆ จะมีการสอดแทรกความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น คำศัพท์ ความหมายของวัตถุ แผนที่ทางภูมิศาสตร์ การฝึกทักษะด้านความเร็วในการคิดคำนวณ ฯลฯ
เกมเพื่อการศึกษาเกมหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพื่อให้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์และฝึกทักษะด้านการค้นหาได้แก่ เกม ชื่อ Where in the World is Carmen Sandiago เป็นต้น
2. การสอนและการทบทวน คือ การใช้สื่อประสมเพื่อการสอนและทบทวนซึ่งมีด้วยการ
หลายรูปแบบ เช่น การฝึกสะกดคำ การคิดคำนวณ และการเรียนภาษา ผู้เรียนจะมีโอกาสเรียนรู้จากการสอนในเนื้อหา และฝึกปฏิบัติเพื่อทบทวนไปด้วยในตัว จนกว่าจะเรียนเนื้อหาในแต่ละตอนได้เป็นอย่างดีแล้วจึงเริ่มในบทใหม่ตามหลักของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เช่น การเรียนภาษาต่างๆ
3. สารสนเทศอ้างอิง คือ สื่อประสมที่ใช้สำหรับสารสนเทศอ้างอิงเพื่อการศึกษามักจะ
บรรจุอยู่ในแผ่นซีดี – รอม เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะเป็นลักษณะเนื้อหานานาประเภทอาทิเช่น สารานุกรม พจนานุกรม แผนที่โลก ปฏิทินประจำปี สารทางการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ
ประโยชน์ของสื่อประสม
มัลติมีเดีย ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามากยิ่งขึ้น โดยมีประโยชน์ ดังนี้
- เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
- นำเสนอข่าวสารในรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ เช่น บทเรียนมัลติมีเดีย
- สร้างสื่อเพื่อความบันเทิง
- สร้างสื่อโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์
การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development)
เป็นการวิจัยลักษณะหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนางาน พัฒนาวิชาชีพ หรือการพัฒนาวิถีชีวิตของมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบัน องค์กรจำนวนมากได้พยายามส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา โดยเชื่อว่า การวิจัยและพัฒนาจะช่วยให้ได้ทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ ที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา
การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต
การวิจัยและพัฒนา เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม
การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะคือ
1. นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น
2. นวัตกรรมประเภทที่เป็นรูปแบบ /วิธีการ/ กระบวนการ/ระบบปฏิบัติการ อาทิ รูปแบบการสอน วิธีการสอน รูปแบบการบริหารจัดการ ระบบการทำงาน Quality Control (Q.C.) Total Quality Management (TQM) The Balanced Scorecard (BSC) ระบบ ISO เป็นต้น
ผลงานทางวิชาการประเภทงานวิจัยและพัฒนา คุณค่าของงานจะอยู่ที่ “สิ่งประดิษฐ์/ผลงานเป็นชิ้นเป็นอันที่สร้างขึ้น” หรือ “วิธีการ/รูปแบบการทำงาน/รูปแบบการจัดการ” ที่พัฒนาขึ้น ผลงานวิจัยและพัฒนาที่มีคุณค่ามาก คือ กรณีที่สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการที่ “ดูดี มีคุณค่า ใช้งานได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ”
ในอดีตที่ผ่านมาภาพประะกอบถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการตกแต่ง อธิบาย และเป็นเอกสารอ้างอิง ความสำคัญของภาพประกอบคือสามารถแสดงสิ่งที่ผู้เขียนไม่สามารถ อธิบายออกมาเป็นภาษาเขียนได้ นอกจากนี้ภาพประกอบงานพิมพ์ยังกลาย มาเป็นส่วน หนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบัน เพราะทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือทั่วไป บรรจุภัณฑ์ ปกเทป แผ่นพับ แผ่นปลิว ฯลฯ ส่วนใหญ่ ล้วนต้องใช้ภาพประกอบทั้งสิ้น สิ่งที่จะกล่าวต่อไปในบทนี้คือการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมายของภาพประกอบงานพิมพ์ ความสำคัญของภาพประกอบ ประเภทของ ภาพประกอบ ตลอดจนการสร้างสรรค์ภาพประกอบงานพิมพ์การนำไปใช้
เราเกิดมาพร้อมพัฒนาการของภาพประกอบ ภาพประกอบเป็นกุญแจสำคัญ ที่จะไขสู่การอธิบายสิ่งที่อยู่ในจินตนาการ เริ่มตั้งแต่ภาพประกอบที่ใช้ในหนังสือสำหรับเด็ก จนถึงภาพประกอบที่แปลกออกไปด้วยเทคนิคอันก้าวหน้ามากมาย(Colyer. 1990: 8) เช่น การสร้างจุดเด่นให้ภาพประกอบ การตกแต่งภาพประกอบเพื่อใช้กับงานพิมพ์ และการ จัดกลุ่มเชื่อมโยงภาพประกอบ
ความหมายของภาพประกอบงานพิมพ์
ภาพประกอบงานพิมพ์ หมายถึงเนื้อหาส่วนที่เป็นภาพซึ่งปรากฏในเอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ นอกเหนือจากเนื้อหาข้อความที่เป็นตัวอักษร ภาพเหล่านี้อาจเป็นภาพวาด หรือภาพถ่ายก็ได้ และยังนับรวมถึงภาพกราฟิกต่างๆ เช่น จุด เส้น สี แถบกราฟิกหรือ ภาพลายเส้นเรขาคณิตอื่นๆ ที่ใช้ในการตกแต่งงานพิมพ์อีกด้วย
ความสำคัญของภาพประกอบงานพิมพ์
ภาพประกอบมีความสำคัญต่องานพิมพ์มาก เพราะสามารถให้รายละเอียด และความเหมือนจริงเกินคำบรรยาย ให้ความสวยงามและความประทับใจ พอสรุปความ สำคัญของภาพประกอบงานพิมพ์ได้ดังนี้
1. ใช้สร้างความเข้าใจ
บางครั้งการอธิบายถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด ตัวอักษรมีข้อจำกัดที่จะบ่งบอกถึงสิ่งที่อธิบาย นั้นว่าเป็นอย่างไร ในบางกรณีแม้ว่าผู้บรรยายจะมีความสามารถในการใช้ถ้อยคำมากสักเพียงใด ก็ไม่อาจทำให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่าย เช่น การจะอธิบายความแตกต่างระหว่างม้ากับลา ให้กับคนที่ไม่เคยเห็นสัตว์ทั้งสองชนิดนี้คงเป็นเรื่องที่ลำบากมาก
2 . ใช้เสริมความเข้าใจ
ในกรณีที่ข้อความสามารถสร้างความเข้าใจได้ระดับหนึ่งแล้วแต่ยังไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องใช้ภาพประกอบเพื่อเสริมความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การอธิบายพุทธลักษณะ ของพระพุทธรูปสมัยต่างๆ ถ้ามีภาพประกอบเพื่อเสริมความเข้าใจในรายละเอียดเพิ่มเติม ก็จะทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
3 . ใช้เป็นหลักฐานเพื่อบ่งบอกบุคคล
การนำเสนอภาพเพื่อบ่งบอกถึงตัวบุคคล ไม่อาจใช้ข้อความอธิบายให้เห็นได้ว่า บุคคลผู้นี้มีหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ถ้าพิมพ์ภาพลงแล้วบอกชื่อ ผู้ที่เห็นก็จะรู้จักและจดจำได้ทันที
4 . ใช้ตกแต่งหน้าสิ่งพิมพ์
ภาพประกอบช่วยให้งานพิมพ์สวยงามน่าอ่านมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีการถ่าย ภาพ ตกแต่งภาพและการพิมพ์ในปัจจุบัน เอื้ออำนวยให้การทำงานกับภาพประกอบสะดวก ยิ่งขึ้น การถ่ายภาพทำได้ง่ายขึ้น ลดขั้นตอนการตกแต่งภาพลง ใช้เวลาน้อยลง การจำลอง ภาพอย่างการถ่ายเอกสารหรือการกราดภาพ(scan) ก็ทำได้คุณภาพดีและสะดวกรวดเร็ว อีกทั้งเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ยังช่วยให้ตกแต่งดัดแปลงภาพทำได้หลายรูปแบบ
ประเภทของภาพประกอบงานพิมพ์
การใช้ภาพประกอบงานพิมพ์นั้นอาจกล่าวได้ว่าใช้ภาพได้ทุกประเภท เพราะ เทคโนโลยีทางการพิมพ์สามารถถ่ายทอดภาพประเภทใดๆ ก็ได้ลงบนงานพิมพ์ ซึ่งอาจจำแนก ประเภทภาพประกอบทางการพิมพ์เป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
1. ภาพถ่าย
ภาพถ่ายเป็นภาพที่เกิดจากกรรมวิธีทางการถ่ายภาพ ใช้ประโยชน์ได้ดีในงาน พิมพ์ เพราะภาพถ่ายมีคุณลักษณะเฉพาะตัวหลายอย่าง ทั้งในแง่ความเหมือนจริงและความ ละเอียดลออ สามารถสร้างสรรค์ได้ตามความรู้สึก
การถ่ายภาพเพื่อนำมาใช้ภาพประกอบในงานพิมพ์ ปัจจุบันนิยมใช้กล้องดิจิตอล ผลที่ได้ส่วนใหญ่จึงออกมาเป็นภาพสี(colour print) แต่ถ้าต้องการภาพขาว-ดำ มักใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแปลงภาพจากภาพสีให้เป็นภาพขาว-ดำ
2 . ภาพวาดลายเส้น
ภาพวาดลายเส้นเป็นภาพที่ใช้ประกอบงานพิมพ์มาตั้งแต่ยุคแรกๆ และยังคง ได้รับความนิยมอยู่จนถึงปัจจุบัน มีการใช้เทคนิคการวาดภาพผสมผสานกันหลายอย่าง เช่น การวาดลายเส้นแบบภาพการ์ตูนโดยการใช้ดินสอ พู่กัน ปากกาหมึกดำ รวมทั้งการผสมสกรีน หรือการสร้างพื้นผิวลวดลายต่างๆ ร่วมกับภาพลายเส้นด้วย
3 . ภาพวาดน้ำหนักสีต่อเนื่องและภาพระบายสี
ภาพวาดน้ำหนักสีต่อเนื่องกับภาพระบายสี ภาพทั้งสองชนิดมีลักษณะภาพ คล้ายคลึงกัน คำว่า “ภาพวาดน้ำหนักสีต่อเนื่อง” ใช้เรียกภาพวาดสีเดียวที่มีน้ำหนักอ่อนแก่ ลดหลั่นกัน สำหรับ ”ภาพระบายสี” จะประกอบด้วยสีต่างๆมากมายหลายสี โดยการเขียน หรือระบายสีด้วยกรรมวิธีหรือเทคนิคต่างๆกันไป
ภาพวาดอาจเป็นภาพที่วาดในมุมมองและรายละเอียดเหมือนกับภาพถ่ายได้และยัง สามารถวาดในมุมที่ภาพถ่ายอาจทำไม่ได้อีกด้วย ภาพวาดจึงเป็นภาพอีกชนิดหนึ่งที่ใช้เป็น ภาพประกอบได้อย่างดี
4 . ภาพพิมพ์
ภาพพิมพ์ในที่นี้หมายถึงภาพที่ผ่านการพิมพ์มาแล้ว มีทั้งชนิดที่พิมพ์เป็น ภาพลายเส้นและพิมพ์เป็นภาพเม็ดสกรีน ภาพทั้งสองประเภทนี้สามารถนำมาพิมพ์ซ้ำได้ ถ้าเป็นภาพลายเส้นจะได้คุณภาพใกล้เคียงของเดิม แต่ภาพที่เป็นเม็ดสกรีนรายละเอียดอาจหาย ไปบ้าง
5 . ภาพดิจิตอล
ภาพดิจิตอล หมายถึงภาพที่ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์โดยคอมพิวเตอร์มาแล้ว ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ทำให้ภาพทุกชนิดที่จะเข้าสู่ ระบบการพิมพ์ต้องผ่านกระบวนการแปลงรูปภาพนั้นให้เป็นภาพดิจิตอล เช่น การกราดภาพ (scan) การถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลและการสร้างภาพขึ้นใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
แจน วี ไวท์ (White. 1990 : 4-53) เขียนหนังสือชื่อ “กราฟิกไอเดียโน๊ตบุ๊ค” (Graphic Idea Notebook)กล่าวถึงการสร้างงานกราฟิกชนิดต่างๆ เพื่อใช้ในงานพิมพ์ อาทิ ภาพประกอบ ตัวพิมพ์ ตัวเลข แผนที่ กราฟ เครื่องหมาย และสัญลักษณ์
ในส่วนที่เป็นเรื่องราวของภาพประกอบนั้น แจน วี ไวท์ กล่าวถึงการสร้างสรรค์ ภาพประกอบงานพิมพ์และการนำไปใช้ พอสรุปเป็นสาระสำคัญเพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะ กับงานพิมพ์ ในประเทศไทยได้ดังนี้
การสร้างจุดเด่นให้ภาพประกอบ
การสร้างสรรค์ภาพประกอบให้มีสีสันฉูดฉาดเตะตา เป็นวิธีการที่ดีสำหรับการ สร้างความน่าสนใจให้กับงานพิมพ์ แต่มีสิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือการสื่อความหมาย เรื่องราวไปยังผู้อ่าน ภาพประกอบที่ดูน่าสนใจเหล่านั้นจะหมดความหมายไปในเวลาอัน รวดเร็วถ้ามันไม่ได้ช่วยอธิบายอะไรเพิ่มเติม ผู้อ่านก็จะละความสนใจจากงานพิมพ์ชิ้นนั้น ไปยังจุดอื่นที่น่าสนใจมากกว่า
การออกแบบภาพประกอบให้ผสมผสานเข้าไปในงานพิมพ์ แล้วทำให้งาน พิมพ์มีจุดเด่นที่น่าสนใจแบบคงทนถาวรได้นั้น มีวิธีการพอสรุปได้ดังนี้
1. ใช้ภาพบุคคลที่มีชื่อเสียง
ใช้ภาพบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักน่าเคารพนับถือ มาสร้างจุดดึงดูดให้กับ งานพิมพ์ เช่น ภาพนายสนธิ ลิ้มทองกุล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พลตรี จำลองศรีเมือง พร้อมทั้งเสนอรายละเอียดความคิดให้อยู่ภายในสัญลักษณ์ที่โดดเด่น เช่น อัศเจรีย์ตัวใหญ่ๆ เครื่องหมายคำพูดที่ใหญ่เกินจริง หรือกรอบที่มีรูปร่างแปลกตา
2. ลดรายละเอียดของภาพ
ตัดรายละเอียดส่วนเกินอื่นๆออก เหลือไว้เท่าที่จำเป็นเพื่อเน้นให้ผู้อ่านทุ่มเท ความสนใจไปยังจุดมุ่งหมายที่ต้องการ
2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการฝึกออกแบบลายเส้น สี สีขาวดำ แสงเงา ชุดรถจักรยานยนต์ เวสป้า
ความหมายของการออกแบบ
การออกแบบ (Design) ตามความหมายจาก พจนานุกรมศัพท์และเทคนิคทางศิลปะ
หมายถึงการเลือกสรรส่วนประกอบต่างๆ ทางด้านศิลปะจัดเป็นรูปแบบต่างๆ ขึ้น การแสดงออก
ทางด้านแนวความคิดของศิลปินในการจัดองค์ประกอบศิลป์ (ไมเยอร์ 2540 : 248)
การออกแบบ (Design) ตามความหมายจาก Columbia Encycopedia กล่าวได้ว่า
“การออกแบบ คือการวางโครงการหรือการจัดเส้น (Line) รูปทรง (Form) มวล (Mass) ช่วง
ระยะ (Space) ในแบบที่สร้างความพอใจแก่ผู้พบเห็น”
การออกแบบ (Design) หมายถึงการตกแต่งลวดลาย หรือโครงสร้างสำหรับทำบางสิ่ง
บางอย่าง ก่อนที่จะลงรายละเอียดให้ดูมีชีวิต รวมทั้งการรวมตัวเข้าด้วยกันของส่วนประกอบแห่ง
ศิลปะที่หลากหลาย เป็นการวางแผนที่เกิดขึ้นในจิตใจ เป้าหมาย และความตั้งใจที่จะทำให้สำเร็จ
(The Grolier International Dictionary 1992 : 259)
การออกแบบ (Design) หมายถึง การวางแผนสร้างสรรค์รูปแบบโดยการวางแผนจัด
ส่วนประกอบของการออกแบบ ให้สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย, วัสดุ และการผลิตสิ่งที่ต้องการ
ออกแบบนั้น (วิรุณ ตั้งเจริญ 2526 : 20)
การออกแบบ คือการใช้ความคิดในการเลือกวัสดุเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะ ให้มีหน้าที่
ใช้สอยตามความต้องการ ทั้งในด้านอัตถะประโยชน์และความงาม ในรูปร่างลักษณะตลอดทั้ง
รูปทรง หรือการรวมมูลฐานของทางศิลปะ ทั้งหลายเข้าด้วยกัน ด้วยการเลือกหรือการจัดวางไม่
ว่าจะจัดด้วยวัสดุอะไร ผู้ออกแบบจะต้องนำเอาสิ่งนั้นไปใช้คือ เส้น รูปร่าง รูปทรง สี ช่องว่าง
และความงามของพื้นผิว (ทำนอง จันทิมา 2532 : 2)
การออกแบบ คือการสร้างสรรค์ปรุงแต่งส่วนประกอบของศิลปะ เช่น เส้น สี แสง เงา
ลักษณะผิว ขนาดรูปร่าง รูปทรง เพื่อให้เกิดความต้องการ ให้เกิดประโยชน์ใช้สอยและมีความ
งาม (วัฒนะ จูฑะวิภาค 2527 : 10)
การออกแบบ คือการจัดระเบียบหรือวางผังอย่างตั้งใจสำหรับที่ว่างเรื่องราวหรือ
กิจกรรมตามจุดมุ่งหมายที่กำหนด (นวลน้อย บุญวงษ์ 2542 : 1 อ้างจาก Holmes : 1934)
7
การออกแบบ (Design) หมายถึงการรู้จักวางแผนเพื่อจะได้ลงมือกระทำตามที่ต้องการ
และรู้จักเลือกวัสดุวิธีการเพื่อจะทำตามที่ต้องการนั้นโดยสอดคล้องกับลักษณะรูปแบบและ
คุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดตามความคิดสร้างสรรค์ (อารี สุทธิพันธุ์ 2521 : 8)
จากความหมายดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้พอสรุปได้ว่า การออกแบบ (Design) หมายถึง
การใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการปรับปรุงตกแต่ง เพิ่มเติม หรือการสร้างสรรค์คิดค้นรูปแบบใหม่
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดรูปทรงใหม่มีความงาม หรือมีประโยชน์ใช้สอยได้ดีกว่าเดิม
หลักการออกแบบ
การออกแบบเป็นการสร้างสรรค์ โดยมีการกำหนดแบบแผนตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย และมีความงาม (พาศนา ตัณฑลักษณ์ 2510 :16)
ซึ่งมีหลักสำคัญได้แบ่งไว้ดังนี้
1. ความสมดุล (Balance) คือความสมดุลของส่วนประกอบต่างๆ ในการจัดองค์
ประกอบศิลป์ ความสมดุลมีอยู่ 3 ประเภท คือ
1.1 ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกันหรือคล้ายกัน (Symmetrical Balance)
คือการจัดองค์ประกอบที่มีลักษณะเหมือนกัน และอยู่ห่างจากแกนกลางเท่าๆ กัน
1.2 ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือนกัน (Asymmetrical Balance) คือการจัด
องค์ประกอบที่มีลักษณะไม่เหมือนกันหรือไม่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง แต่เมื่อพิจารณาน้ำหนักโดยรวมของ
ภาพแล้วรู้สึกเท่ากันหรือสมดุลกัน
1.3 ความสมดุลแบบรัศมี (Radial Balance) คือการจัดองค์ประกอบที่มีลักษณะ
ความสมดุลที่เกิดจากจุดศูนย์กลาง ไปหารัศมี (จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง 2543 : 118)
2. การเน้น (Emphasis) หมายถึงการนำเอาองค์ประกอบ มาประกอบเข้าด้วยกัน
และเน้นให้เห็นความแตกต่าง ระหว่างส่วนประกอบเหล่านั้น เพื่อให้เกิดจุดเด่นหรือจุดสนใจ
(ผดุง พรมมูล 2547 : 140)
3. ความกลมกลืน (Harmony) หมายถึงการจัดภาพให้มีความประสานสัมพันธ์กัน
ร่วมกัน หรือมีลักษณะคล้ายคลึงกัน จนงานศิลปะนั้นเกิดคุณค่าทางสุนทรียภาพ ความกลมกลืน
ในการออกแบบมีประเภทใหญ่ๆ 5 แบบ
3.1 ความกลมกลืนกันของเส้นและรูปร่าง
3.2 ความกลมกลืนกันของขนาดและทิศทาง
3.3 ความกลมกลืนกันของสีและบริเวณว่าง
3.4 ความกลมกลืนกันของความคิดและความมุ่งหมาย
3.5 ความกลมกลืนกันของลักษณะผิวและจังหวะ (อารี สุทธิพันธุ์ 2521 : 116)
4. การตัดกันหรือความแตกต่าง (Contrast) หมายถึงความแตกต่างของส่วนประกอบ
ที่นำมาจัดรวมกันโดยให้ส่วนประกอบต่างๆ ผสานกลมกลืน การตัดกันในการออกแบบสองนัยคือ
การตัดกันด้วยส่วนประกอบที่แตกต่างกัน กับการตัดกันด้วยส่วนประกอบอย่างเดียวกัน
(วิรุณ ตั้งเจริญ 2539 : 30)
5. ความหลากหลาย (Variety) หมายถึงการนำเอาองค์ประกอบของศิลปะ มาสร้าง
ภาพให้มีความสลับซับซ้อนในการจัดวาง หรือสร้างความขัดแย้งขึ้นในภาพด้วยเส้น รูปร่าง รูปทรง
สี ขนาดและพื้นผิว (ผดุง พรมมูล 2547 : 143)
6. สัดส่วน (Proportion) หมายถึงส่วนขององค์ประกอบทั้งหมด ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้อง
เข้าด้วยกัน และมีต่อสัดส่วนโดยรวม (ปราโมทย์ แสงพลสิทธิ์ 2540 : 144)
7. จังหวะ (Rhythm) หมายถึงการซ้ำที่เป็นระเบียบ จากระเบียบง่ายๆ ซับซ้อนจนเป็น
รูปทรงของศิลปะ จังหวะในงานศิลปะมีด้วยกัน 3 วิธี (ชลูด นิ่มเสมอ 2544 : 160)
7.1 การจัดจังหวะให้ซ้ำกัน คือการจัดจังหวะโดยใช้รูปลักษณะหรือรูปร่างที่มีเส้น
สี ให้มีช่วงจังหวะที่ประสานต่อเนื่องที่เท่า ๆ กัน และซ้ำกันจนได้ความงามพอเหมาะ
7.2 การจัดจังหวะก้าวหน้า คือการจัดจังหวะให้มีเพิ่มขึ้น เช่น เพิ่มเส้นให้มีความ
หนา บาง เพิ่มสีให้มีความอ่อน แก่ และเพิ่มลักษณะของขนาดรูปทรงให้มีลักษณะต่อเนื่องกัน
ทั้งนี้ เส้น สี และขนาด จะต้องสัมพันธ์กัน และมีช่วงจังหวะที่งดงาม
7.3 การจัดจังหวะต่อเนื่อง คือการจัดจังหวะให้ผู้มองได้มองต่อเนื่องกันจากส่วนนี้
แล้วอยากมองไปหาส่วนนั้น
8. เอกภาพ (Unity) คือการทำให้สาระและองค์ประกอบทุกส่วน มีความสัมพันธ์รวม
กันเป็นหน่วย เป็นกลุ่ม อย่างต่อเนื่องไม่กระจัดกระจาย (วรพงศ์ วรชาติอุดมพงศ์ 2535 :109)
หลักในการออกแบบที่ดี ซึ่งควรพิจารณา คือ
1. การออกแบบที่มีลักษณะเหมาะสมตรงกับความมุ่งหมาย ตามประโยชน์ใช้สอย
และมีความกลมกลืนของส่วนประกอบการออกแบบ ตามหลักเกณฑ์ความงามของสังคม และ
สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้
2. การออกแบบที่มีลักษณะง่าย (Simplicity) มีผลผลิตตามความต้องการของสังคม
และมีขบวนการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน
3. มีสัดส่วนที่ดี มีความกลมกลืนทั้งส่วนรวม (Good proportion) เช่น รูปแบบ
ลักษณะผิว เส้น สี ฯลฯ และมีสัดส่วนเหมาะสมในการใช้งานด้วย
4. มีความเหมาะสมกับวัสดุและวิธีการ สามารถผลิตได้ตรงความต้องการของปัจจุบัน
5. มีลักษณะการตกแต่งพอดีไม่รกรุงรัง
6. มีโครงสร้างเหมาะสมกลมกลืนกับวัฒนธรรม และความต้องการของสังคม
7. ไม่ควรจะสิ้นเปลืองเวลามากนัก (อารี สุทธิพันธุ์ 2521 : 134)
ลักษณะที่ดีของภาพประกอบ
การสื่อสารในยุคปัจจุบัน ภาพประกอบได้เข้ามามีบทบาท แทรกอยู่ในวิถีชีวิตของ
มนุษย์อย่างแยกไม่ออก สื่อต่างๆที่อยู่รอบตัวเราตั้งแต่ลืมตาตื่นจนหลับตานอน จะพบว่าเราเจอ
กับภาพประกอบ ที่แทรกตัวเสนอสารรวมอยู่กับสื่อต่างๆอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์จะ
พบว่าภาพประกอบ เข้ามามีบทบาทเป็นส่วนประกอบอยู่เสมอ หากจะพิจารณาว่าภาพประกอบ
ต่างๆเหล่านั้น เป็นภาพที่ดีมีคุณค่าเพียงใด สามารถพอจะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาได้ดังต่อไป
1. สื่อความหมายตามวัตถุประสงค์
2. ให้ข้อมูลที่ถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง
3. ส่งเสริมความคิดจินตนาการ
4. ส่งเสริมการรับรู้ทางสุนทรียภาพ (ผดุง พรมมูล 2547 : 92)
กระบวนการออกแบบ
กระบวนการออกแบบนั้นมีอยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกัน
1. การระดมความคิด เป็นสิ่งจำเป็นในการออกแบบ วิธีการระดมความคิดนั้นมีอยู่
หลายวิธี ผู้ออกแบบหรือผู้สร้างงาน จะต้องมีความบันดาลใจ เป็นหลัก เพื่อช่วยสร้างจินตนาการ
เป็นเรื่องออกมาก่อนที่จะเริ่มต้นปฏิบัติงานในขั้นต่อไป ผู้ออกแบบควรพิจารณารูปแบบ ที่จะเสนอ
ผลงานว่า รูปแบบอย่างไรจึงจะมีความเหมาะสมกับเรื่องที่ตนคิดเอาไว้ หรือที่ตนเองมีความถนัด
การเลือกรูปแบบนี้ ผู้ออกแบบบางคนอาจไม่ปรารถนาที่จะเสนอในรูปแบบที่มีมาแต่อดีต ทุกคนมี
สิทธิ์ที่จะคิดขึ้นเองได้ใหม่ บางทีอาจเป็นนวัตกรรมทางการออกแบบก็ได้
2. การร่างแบบ (Sketch) เป็นการปฏิบัติงานออกแบบขั้นต้นซึ่งมีประโยชน์มาก
เพราะถ้าเกิดความบกพร่องหรือความผิดพลาดขึ้นแล้ว ก็สามารถแก้ไขได้สะดวก ซึ่งได้แก่
2.1 การร่างแบบหยาบ (Rough Sketch) เป็นการคัดเลือกคำตอบที่มีลักษณะ
ใกล้เคียงกัน เข้ากลุ่มเดียวกัน โดยคัดเลือกอันที่เด่นที่สุดในแต่ละกลุ่ม มาออกแบบใหม่เพิ่มเติม
เพื่อแสดงรายละเอียดเพิ่มขึ้น เช่น ขนาด การจัดวาง ภาพประกอบ และการใช้สี
2.2 การร่างแบบละเอียด (Analyze) หมายถึง ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน
และตรวจสอบเกี่ยวกับรายละเอียดของรูปแบบทั้งหมด ในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับตัวอักษร
การจัดวางภาพประกอบ การใช้สี จะต้อง ทำการออกแบบให้มีลักษณะใกล้เคียงกับของจริงมาก
3. การสร้างงานจริง เป็นการปฏิบัติงานออกแบบขั้นสุดท้ายให้สำเร็จ ขั้นตอนนี้ต้องใช้
เวลามากกว่าการร่างแบบ เพราะต้องใช้ความปราณีตประกอบด้วยที่สำคัญควรมีอุปกรณ์ให้พร้อม
เพื่อมิให้เกิดการหยุดชะงักในระหว่างการปฏิบัติงาน (ปราโมทย์ แสงพลสิทธิ์ 2358 : 176 –177)
ความหมายของภาพประกอบ
ภาพประกอบ (Illustration) ซึ่งมีผู้ให้คำนิยายของคำว่า “ภาพประกอบ” หรือ
“ Illustration “ ไว้หลายความหมายด้วยกันดังนี้
1. Illustration หมายถึงภาพประกอบหนังสือหรือสิ่งพิมพ์โฆษณาเพื่อช่วยเสริมให้
ข้อเขียนในหนังสือมีผลในการสื่อความหมายได้ดียิ่งขึ้น ผลงานศิลปะที่เดิมที่สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อ
วัตถุประสงค์อื่นอาจนำมาใช้ประกอบได้เช่นกัน ถ้าผลงานนั้นเหมาะสมกับเนื้อหาในหนังสือหรือ
สิ่งพิมพ์นั้นภาพที่ใช้กับสื่อสิ่งพิมพ์ หรือหนังสือในกรณีอื่นจัดเป็นการประดับตกแต่งมิใช่
ภาพประกอบหนังสือ (พจนานุกรมศัพท์และเทคนิคทางศิลปะ 2540 : 432)
1.1 ภาพประกอบ หมายถึงรูปที่ลงคู่กับเรื่องราวเพื่อให้เห็นเรื่องราวนั้นชัดเจนขึ้น
(มานิต มานิตเจริญ 2520 : 994)
1.2 ภาพประกอบ หมายถึงภาพที่วาดขึ้นมา หรือนำมาแสดงเพื่อใช้ประกอบเรื่อง
(ราชบัณฑิตสถาน 2538 : 619)
1.3 Illustration หมายถึงการแสดงให้เห็นการอธิบายประกอบตัวอย่างด้วยรูปภาพ
ของภาพประกอบ (สอ เสถบุตร ม.ป.ป. : 360)
1.4 Illustration หมายถึงรูปภาพในหนังสือ ฯลฯ การแสดงให้เห็นบางสิ่งบางอย่าง
ด้วยรูปภาพ การยกตัวอย่างด้วยภาพ (Hawkins1990 : 191)
1.5 Illustration หมายถึงภาพที่ใช้เพิ่มเติมในหนังสือเพื่ออธิบายเรื่องราวให้ชัดเจน
และเพื่อตกแต่งให้สวยงาม มีทั้งชนิดขาวดำและภาพสี (Landau, ed.1966 : 213)
1.6 ภาพประกอบ เป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อการค้าหรือเพื่อเงื่อนไขทางด้านสังคม
หรือเศรษฐกิจให้เกิดเป็นภาพประกอบของเนื้อหาวิจิตรศิลป์ (Fine Art) เมื่อถูกเจาะใช้เป็นสื่อตาม
ข้อมูลที่กำหนดจะเรียกว่า “ภาพประกอบ“ (จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง 2543 : 3)
จึงสรุปได้ว่าภาพประกอบ (Illustration) เป็นภาพที่มีจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์เพื่อ
จะนำไปใช้ประกอบ หรือนำไปเสริมสื่อความหมายร่วมกับบทประพันธ์ต่างๆ เพื่อให้มีความชัดเจน
ในเนื้อความหรือบทประพันธ์นั้นให้น่าสนใจน่าติดตาม
ความสำคัญของภาพประกอบ
ภาพประกอบมีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะตัวหนังสือที่มนุษย์
ใช้ทุกวันนี้มีวิวัฒนาการมาจากภาพเขียน ซึ่งสันนิฐานว่ามนุษย์เขียนภาพต่างๆไว้ตามฝาผนังถ้ำ
เพื่อบูชาพระเจ้าหรือเพื่อบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญ ภาพเขียนโดยคนโบราณนี้เขียนด้วยถ่าน
สีดำและสีธรรมชาติต่างๆและใช้กระดูกเป็นเครื่องขูดขีดบนหิน
ภาพเขียนในยุคแรกๆ ของมนุษย์จะเขียนโดยถ่ายทอดเรื่องราวจากสิ่งรอบตัว ที่ตนมี
ประสบการณ์ใกล้ชิด เช่น ภาพสัตว์ก็จะเขียนส่วนต่างๆ เช่น ภาพหัวสัตว์ ขาสัตว์ ต่อมารู้จักเขียน
สัตว์ทั้งตัว และเขียนให้อยู่ในลักษณะที่มีกิริยาอาการต่างๆ ถัดมาจึงพัฒนามาเขียนภาพคน โดย
จะเขียนจากส่วนต่างๆของร่างกายเป็นส่วน ๆ ก่อน เช่น ศีรษะ ใบหน้า แล้วจะเขียนภาพคนทั้งตัว
แต่จะเขียนในลักษณะท่าทางนิ่ง ๆ ก่อนจึงค่อยพัฒนาให้เป็นภาพในอากัปกิริยาต่างๆ เพื่อจะบอก
เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากหลักฐานภาพเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ยุคแรกๆ จะใช้
ภาพเป็นสื่อในการบันทึกเรื่องราว หรือบอกเล่าเรื่องราวให้ผู้อื่นรับทราบ นี่คือที่มาของหนังสือเขียน
ด้วยภาพ (วัลลภ สวัสดิ์วัลลภ 2535 : 5, อ้างถึงใน ผดุง พรมมูล 2547 : 17)
เมื่อมนุษย์มีตัวหนังสือใช้สื่อความหมาย ก็เขียนหนังสือบันทึกความคิดและเหตุการณ์
ต่าง ๆ ถ่ายทอดให้คนอื่นหรือเก็บไว้ให้คนรุ่นหลังได้อ่าน วัสดุที่ใช้เขียนหนังสือมีหลายชนิด เช่น
แผ่นดิน อิฐ ดินเหนียว แผ่นไม้ ผ้าไหม กระดาษ ตามความรู้ความก้าวหน้าของในแต่ละยุคสมัย
ต่อมามนุษย์รู้จักทำหนังสือเป็นเล่ม ลักษณะตอนแรกเป็นม้วนแบบพับไปพับมาได้ และชาวจีน
คิดทำหนังสือเย็บเป็นเล่มได้สำเร็จเป็นชาติแรก ในยุโรปมีการนำแผ่นหนังมาฟอกใช้สำหรับการ
เขียนหนังสือ ตกแต่งลวดลายระบายสีสวยงาม เรียกหนังสือนี้ว่า Illumimated Book ซึ่งทำปก
แข็งด้วยหนังและใช้โลหะตกแต่งสวยงาม การออกแบบและตกแต่งหนังสือมีวิวัฒนาการมาจนถึง
สมัยเริ่มการพิมพ์ และต่อเนื่องมาจนถึงการพิมพ์ในสมัยปัจจุบัน ภาพมีส่วนสำคัญในการตกแต่ง
หนังสือตลอดมาเช่นเดียวกัน
“ภาพประกอบ” เป็นหัวใจของหนังสือและงานโฆษณาทุกประเภท เพราะเป็นสิ่งจูงใจ
ให้ผู้อ่านและผู้บริโภคเกิดความสนใจและเข้าใจเรื่องราวและถ้อยคำที่บรรยายในเรื่อง และจุดขาย
ของสินค้าได้รวดเร็ว ภาพประกอบทำให้ผู้อ่าน ผู้ดู เกิดการจินตนาการ กระตุ้นให้ตื่นตัว เพราะ
ภาพประกอบสามารถอธิบายความคิดและเรื่องราวได้ลำพังการนำเสนอเรื่องราวด้วยตัวอักษรแต่
เพียงอย่างเดียวแม้จะแต่งได้ดีเพียงใด ก็ย่อมมีเสน่ห์ดึงดูดใจได้น้อยงานโฆษณาที่มีภาพประกอบ
คุณสมบัติที่สำคัญของภาพประกอบคือ ต้องเป็นภาพที่ให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา มีความ
เคลื่อนไหว เพลิดเพลิน สอดคล้องกับเนื้อเรื่องและใช้อธิบายเรื่องหรืองานโฆษณาได้อย่างชัดเจน
โดแนลด์ ทีกู ช่างเขียนภาพประกอบ ผู้มีชื่อเสียงของประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวไว้
ในปี ค.ศ. 1991 ว่า “ภาพประกอบและงานโฆษณาที่เคยมีอยู่ดาษดื่นในสมัยก่อน ไม่มีให้เห็นอีก
แล้วในปัจจุบันนี้ ในสมัยก่อนภาพประกอบถูกสร้างขึ้นโดยศิลปิน ที่มีจุดมุ่งหมายจะให้เป็นงาน
เทคนิคทางวิจิตรศิลป์ ช่างเขียนภาพประกอบสามารถวาดภาพได้ดีกว่าจิตรกร ช่างเขียน
ภาพประกอบแต่ละคนจะต้องผลิตงานที่มีคุณภาพแน่นอน มิฉะนั้นเขาจะไม่ได้รับการยอมรับ
และเขาจะต้องรู้ซึ้งถึงฝีมือช่างของตัวเขาเอง
ชนิดของภาพประกอบ
อาจจำแนกภาพประกอบได้เป็น 3 ประเภท
1. จำแนกตามลักษณะของภาพ ได้ 2 ชนิด ดังนี้
1.1 ภาพเขียน หมายถึงภาพที่เขียนขึ้นด้วยดินสอ ดินสอสี ปากกาสี หมึกสีต่าง ๆ
แอร์บรัช เป็นต้น เกิดเป็นภาพตามผู้เขียนภาพต้องการออกแบบอาจจะเป็นภาพเหมือนหรือภาพ
จินตนาการ ภาพสเกตซ์ ภาพการ์ตูน ภาพล้อ แผนภูมิ แผนภาพสถิติหรือกราฟ แผนที่ แผนผัง
ใช้สำหรับนำลงตีพิมพ์ประกอบหนังสือ หรือโฆษณาให้สวยงาม หรือเพื่อขยายความหรือกระตุ้น
ให้ผู้อ่าน ผู้บริโภคสนใจเรื่องราวหรือสินค้านั้นๆ เพิ่มมากขึ้น
1.2 ภาพถ่าย หมายถึงภาพที่ผลิตขึ้นด้วยการใช้ฟิล์มบันทึกภาพขาวดำ หรือภาพ
สี เพื่อทำให้ข้อความหรือเรื่องราวตอนนั้นเป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น หรือประกอบเข้าไปเพื่อให้มี
ความหมายมากยิ่งขึ้น การถ่ายภาพมาลงประกอบไว้ในหนังสือ ก็เพื่อช่วยบรรยายและอธิบายให้
ตัวพิมพ์เรียงสร้างความหมายให้แก่ผู้อ่านได้มากยิ่งขึ้น ความจริงแล้ว สิ่งที่ปรากฏในภาพถ่ายทุก
ภาพล้วนแต่มีคุณสมบัติช่วยตกแต่งภาพนั้นให้สวยงามอยู่ในตัว แต่ถ้าการถ่ายภาพได้มีการ
ออกแบบการจัดวางองค์ประกอบภาพที่ดี (Composition) การให้แสงเงาที่งดงามการจัดวางมุม
กล้องที่ดี ก็จะยิ่งเพิ่มคุณค่าของภาพที่จะนำมาตกแต่งสิ่งพิมพ์ให้สวยงามชวนดูยิ่งขึ้น
2. จำแนกตามลักษณะการใช้ ได้ 4 ชนิด คือ
2.1 ภาพที่ใช้ประกอบเรื่อง (Illustration for Text) หมายถึงภาพประกอบที่ใช้ใน
การตกแต่งหนังสือให้ดูสวยงาม เรียกร้องความสนใจจากผู้อ่าน
2.2 ภาพที่สัมพันธ์กับเรื่อง (Picture – text Combination) หมายถึงภาพเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นในเรื่องนำมาประกอบเรื่องให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้ชัดเจนขึ้น ภาพประกอบชนิดนี้ใช้
ความร่วมมือระหว่างผู้เขียนเรื่อง ผู้สร้างภาพ และผู้วางหน้าหนังสือ
2.3 ภาพชุดเสนอเรื่องราวต่อเนื่องกัน (Pure picture Stories) หมายถึงภาพที่
สร้างเรื่องราวติดต่อกันไป มีตัวหนังสือประกอบเล็กน้อย ภาพประกอบชนิดนี้ต้องใช้ความร่วมมือ
ระหว่างผู้เขียนเรื่อง ผู้เขียนภาพหรือช่างภาพ และผู้วางหน้าหนังสือ
2.4 ภาพชุดเสนอเรื่องราวผสมกับเนื้อเรื่อง (Picture Stories Within) หมายถึง
ภาพประกอบที่มีหลายภาพติดต่อกันไป พร้อมทั้งมีเนื้อเรื่องประกอบ
3. จำแนกตามลักษณะการทำแม่พิมพ์ ได้ 4 ชนิด ดังนี้
3.1 ภาพลายเส้น คือภาพประกอบที่ไม่มีส่วนที่เป็นสีเทา มีแต่เส้นสีดำกับพื้นของ
กระดาษสีขาวเท่านั้น เป็นภาพที่เกิดจากการทำแม่พิมพ์จากต้นฉบับ ภาพที่เขียนด้วยเส้นหมึก
พู่กันแห้ง หรือดินสอ ต้นฉบับของภาพนั้นนำไปทำแม่พิมพ์ โดยไม่ได้ถ่ายผ่านสกรีน จึงปรากฏเป็น
ลายเส้นตามที่เขียน
3.2 ภาพลายสกรีน คือภาพที่ต้องถ่ายสกรีนก่อนจะทำแม่พิมพ์ ภาพที่พิมพ์ออกมา
จะมีสีเทาน้ำหนักต่างๆ กันออกมาอยู่ในภาพเดียวกัน เป็นภาพที่ใช้พิมพ์ต้นฉบับจากภาพถ่าย
ภาพสีน้ำมันที่เขียนด้วยพู่กัน เป็นต้น พิมพ์ได้เหมือนของจริง ภาพแบบนี้เมื่อใช้แว่นขยายจะเห็น
ว่า ภาพนั้นจะประกอบด้วยจุดต่าง ๆ ใหญ่บ้างเล็กบ้างรวมตัวกันเป็นภาพ สกรีนที่ใช้มีหลายแบบ
ภาพที่ได้จากสกรีนแต่ละแบบก็มีส่วนแตกต่างกันออกไป ภาพลายสกรีนนี้สร้างภาพเหมือนของ
จริงได้มากกว่าวิธีอื่น มักจะเป็นภาพที่มีรายละเอียดภายในภาพมาก
3.3 ภาพสีและภาพสีธรรมชาติ คือภาพลายสกรีนซึ่งใช้สีประกอบในภาพด้วย ทำ
ให้ภาพน่าดูและเหมือนธรรมชาตินั้นอย่างน้อยจะต้องใช้สี 4 สี จึงจะพิมพ์ออกมาเป็นสีธรรมชาติได้
3.4 ภาพผสม คือภาพที่มีทั้งลายเส้นและลายสกรีนผสมกัน บางภาพอาจสร้าง
ให้ปนกันได้ โดยบางส่วนเป็นภาพลายเส้น บางส่วนเป็นภาพลายสกรีน
4. จุดมุ่งหมายในการเขียนภาพประกอบ
4.1 เพื่อทำหน้าที่บรรยายเรื่องในหนังสือและบรรยายเป้าหมาย (Aim) ของสินค้า
งานโฆษณา ให้หนังสือและภาพโฆษณาน่าสนใจยิ่งขึ้น
4.2 เพื่อให้ผู้อ่าน ผู้ดูเกิดความสนใจ อยากอ่าน อยากรู้ เกิดความเพลิดเพลิน
เกิดจินตนาการ เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเกิดคุณธรรมและเจตคติที่ดี
ประวัติความเป็นมาของภาพประกอบ
ภาพเป็นสื่อภาษาที่สามารถทำให้ผู้คนเข้าใจ และสื่อสารกันได้ทุกเชื้อชาติภาษา เป็น
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และถือได้ว่าเป็นภาษาการสื่อสารกลางของโลก เราสามารถจะเข้าใจ
และรู้เรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์โบราณอายุหลายหมื่นปีก่อนคริสต์ศักราชได้ เพราะภาพเขียนที่เป็น
หลักฐานถ่ายทอดไว้ เช่น การเขียนภาพบนผนังและเพดานถ้ำลาสโก ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ
ฝรั่งเศสและถ้ำอัลตามิราที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศสเปนซึ่งมีอายุอยู่ในราว 30,000 -10,000
ปีก่อนคริสต์ศักราช ทำให้เห็นว่ากาลเวลาไม่สามารถจำกัดในการสื่อสารด้วยภาพของมนุษย์ได้
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวในโลก ที่สามารถแสดงออกความรู้สึกนึกคิดของตน และ
ถ่ายทอดออกมาเป็นรูปภาพประกอบการสื่อสาร จากหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับภาพประกอบ
สามารถจะแบ่งยุคสมัยของภาพประกอบได้ดังนี้ (ผดุง พรมมูล 2547 : 20)
1. ภาพประกอบยุคก่อนประวัติศาสตร์
เป็นยุคที่มนุษย์ยังไม่มีภาษาอักษรหรือตัวหนังสือใช้สื่อสาร การจะบอกเล่าเรื่องหรือ
บันทึกปรากฏการณ์ต่างๆ ให้สมาชิกในกลุ่มนั้นรับรู้ จึงอาศัยการขีดเขียนเป็นรูปหรือการเขียนภาพ
ระบายสี โดยขีดเขียนลงบนเปลือกไม้ หน้าผา ผนังถ้ำ ขึ้นอยู่กับว่าต้องการให้การสื่อสารเป็นไป
แบบชั่วคราวหรือถาวร ชนเผ่าโบราณหลายเผ่าอาศัยการวาดรูปสื่อสารถ่ายทอดเรื่องราว ดังนั้น
จึงเกิดเป็นกระบวนการสร้างสรรค์ภาพเพื่อประกอบเรื่อง ภาพประกอบเรื่องราวในยุคก่อน
ประวัติศาสตร์นี้เขียนด้วยกรรมวิธีง่ายๆ รูปแบบเรียบง่าย (primitive) ด้วยรูปทรง สี แสงเงา ที่ไม่
ซับซ้อน ตามหลักฐานที่ค้นพบ ภาพผนังจำนวนมากเป็นภาพวาดลายเส้นสีแดง น้ำตาล
เรื่องราวของภาพมักเป็นภาพคน สัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ในสมัยนั้นพบเห็นในชีวิตประจำวัน เช่น
ภาพลงสีบนผนังเพิงผาลายแทง จังหวัดเลย เป็นภาพคน สัตว์ ในท่าทางต่าง ๆ กัน จัดเป็น
ศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาพลงสีที่ถ้ำผาแดง จังหวัดกาญจนบุรี แสดงภาพคนกลุ่ม
หนึ่งกำลังเริงระบำ และยังมีภาพเขียนยุคก่อนประวัติศาสตร์อีกมากมาย
2. ภาพประกอบยุคประวัติศาสตร์
ภาพประกอบในยุคประวัติศาสตร์มีการจัดระเบียบวิธีการถ่ายทอดและกำหนดแบบ
สื่อสัญลักษณ์ต่างๆ ด้วยความคิดและจินตนาการของผู้วาด ทำให้การสร้างสรรค์ภาพมีกรรมวิธีที่
พัฒนาขึ้น มีการจัดองค์ประกอบของภาพ ทักษะฝีมือก็มีมากขึ้น อย่างไรก็ตามการคลี่คลาย
รูปแบบเนื้อหา กรรมวิธีการสร้างภาพประกอบในยุคนี้ ถือเป็นวิวัฒนาการสืบทอดมาจากยุคก่อน
กระบวนการคิดสร้างสรรค์ และถ่ายทอดรูปแบบพัฒนาขึ้นตามประสบการณ์การรับรู้ และ
วิวัฒนาการทางสังคม ภาพประกอบยุคประวัติศาสตร์โบราณ มีวิธีการสร้างสรรค์ที่โดดเด่นคือ มี
การคิดค้นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติให้มีความหลากหลาย การใช้ภาพเป็นสื่อในการบันทึกเรื่องราวใน
สังคม หรือเล่าขานตำนานประวัติของบุคคล บ้างก็ใช้ภาพเป็นสื่อกระตุ้นเร้าให้เกิดความเชื่อ ความ
ศรัทธาขึ้นในชุมชน เช่น ภาพประกอบที่เขียนบนผนังห้องเก็บศพฟาโรห์ ในพีระมิดสมัยอาณาจักร
เก่า ภาพเขียนในสุสานสกัดหน้าผา สมัยอาณาจักรกลางและอาณาจักรใหม่ของอียิปต์ และชาว
อียิปต์รู้จักบันทึกเรื่องราวลงกระดาษปาปิรัส (Papyrus) เป็นหนังสือม้วนที่มีภาพประกอบ เท่าที่
ค้นพบเป็นหนังสือเกี่ยวข้องกับศาสนา วิทยาศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ (Fern 1966 : 1094) และ
ภาพประกอบในหนังสือม้วนที่เก่าแก่ที่สุด ได้แก่ภาพประกอบในหนังสือซึ่งเป็นหนังสือที่ชาวอียิปต์
ถือว่าเป็นหนังสือที่จะนำวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่สวรรค์ จึงมีการบันทึกคำสวดมนต์อ้อนวอน
พระเจ้า และชีวประวัติของผู้ตาย โดยมีภาพเขียนของผู้ตายอยู่หน้าต้น ภาพมีลักษณะเหมือน
ภาพฝาผนังของชาวอียิปต์ในสมัยนั้น ตำแหน่งของภาพตอนแรก ๆ เป็นภาพเล็ก ตามแนวยาว
ตอนล่างของหน้าหนังสือ ต่อมาเป็นภาพขนาดใหญ่อยู่ตอนบนของหนังสือ และบางภาพเป็นภาพ
เต็มหน้าหนังสือลักษณะภาพประกอบของชาวอียิปต์เป็นลายเส้นสีดำ ไม่มีพื้นหลัง (Background)
และไม่มีขอบภาพ (Frame)
ในประเทศไทยพบภาพวาดรูปนกที่ถ้ำลำ จังหวัดพังงา เป็นศิลปะสมัยประวัติศาสตร์
ส่วนภาพประกอบในหนังสือของไทยนั้นขั้นแรกก็มีลักษณะเป็นหนังสือตัวเขียนเช่นเดียวกับหนังสือ
ชาวอียิปต์ โดยมีหลักฐานการบันทึกในหนังสือบุด (หรือสมุดข่อย) ที่พบในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ทำให้ทราบว่าไทยมีการเขียนภาพประกอบลงในหนังสือมานานแล้ว
ครั้นล่วงมาถึงกรุงศรีอยุธยา การติดต่อค้าขายของไทยกับชาวตะวันตกทำให้ การพิมพ์ซึ่งสันนิฐาน
ว่าจะต้องมีภาพประกอบแทรกอยู่ด้วยในประเทศเริ่มมีขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ใน
ปี พ.ศ. 2205 (ค.ศ.1662) โดยมัชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาสอนศาสนาในสมัยนั้น แต่เอกสาร
หนังสือเหล่านั้นหายสาบสูญไปหมดไม่เหลือร่องรอยทิ้งไว้ให้ปรากฏ ด้วยเพราะเหตุว่าหนังสือของ
พวกมัชชันนารีได้ถูกทำลายหลายครั้ง เช่น ถูกจับในแผ่นดินของพระเพทราชาครั้งหนึ่ง ในแผ่นดิน
ของพระเจ้าท้ายสระครั้งหนึ่ง และเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 หนังสือ
ดังกล่าวก็ถูกเผาผลาญไปอีกครั้งหนึ่ง (ฟ. ฮีแลร์ 2502 : 33)
แม้ยุคประวัติศาสตร์จะเป็นยุคก่อนจะมีเทคโนโลยีทางการพิมพ์ แต่ถึงอย่างนั้น ก็มี
การทำหนังสือขึ้นบ้างแล้ว เป็นหนังสือเขียนด้วยมือ บางเล่มก็มีภาพประกอบด้วย หนังสือที่มี
ภาพประกอบเล่มแรกๆ ซึ่งยังพอค้นหาได้คือ หนังสือที่ทำจากระดาษปาปิรัสของชาวอียิปต์
กล่าวคือ เมื่อราว ๒,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ชาวอียิปต์โบราณจะจัดทำหนังสือที่เรียกว่า หนังสือ
แห่งความตาย หรือคัมภีร์มรณะ (Book of the Dead) ขึ้นเพื่อใส่ไว้ในหลุมฝังศพ เพื่อผู้ตายจะ
ได้นำไปใช้ต่อในโลกหน้า หนังสือแห่งความตายนี้จะเขียนด้วยภาพและสัญลักษณ์โดยตลอด
ในยุโรปยุคคลาสสิก ภาพประกอบหนังสือช่วงแรก ๆ จะทำขึ้นเพื่อประกอบตำราทาง
วิทยาศาสตร์ และประกอบในงานประพันธ์ เช่น งานประพันธ์ของอริสโตเตล งานมหากาพย์
อีเลียดและโอดิสซีย์ ของโฮเมอร์ (Iliad and Odyssey of Homer) ต่อมาในยุโรปยุคกลาง หนังสือ
และตำราได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านรูปแบบ มีการตกแต่งระบายสีอย่างงดงาม
มีการประดิษฐ์ตัวอักษรและภาพประกอบสำหรับตัวอักษรนำในคัมภีร์ ไบเบิล ภาพประกอบที่
นับว่ายิ่งใหญ่มาก คือ ภาพประกอบที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาใน
อิตาลีแสดงเรื่องราวในคัมภีร์คริสต์เล่มต้น ตั้งแต่พระเจ้าสร้างโลกสร้างมนุษย์ การลงโทษผู้กระทำ
บาป จนถึงการสิ้นสุดของโลก บนฝาผนังและเพดานมหาวิหารซิสติน นครรัฐวาติกันกรุงโรมด้วย
วิธีเขียนรูปเปียก (fresco) ใช้เวลาเขียนตั้งแต่ ปี ค.ศ. ๑๕๐๘ ถึง ค.ศ. ๑๕๑๒ โดยมีเกลันเจโล บูโอ
นาร์โรตี (Michelangelo Buonarroti) ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ยังนิยมวาดภาพจิ๋ว เพื่อตกแต่ง
ขอบหนังสือและตราสารอีกด้วย
ส่วนทางเอเชียพบหลักฐานงานภาพประกอบมีอายุเก่าแก่กว่า ๒,๐๐๐ ปีในประเทศจีน
ปรากฏอยู่ในงานประพันธ์และบทกวีประกอบภาพ ที่เรียกว่าบทกวีนิพนธ์ที่ปราศจากอักษร (Poety
without Words) จิตรกรรมภาพประกอบของจีนเมื่อมองดูเผิน ๆ อาจคิดว่ามีเรื่องราวเนื้อหาน้อย
นิด แต่แท้จริงแล้วมันเต็มไปด้วยสาระเรื่องราวมากมาย ดังเช่น ภาพวาดเกี่ยวกับเทพนิยาย
ประวัติพงศาวดาร ภาพชีวิตคน ภาพทิวทัศน์ ภาพดอกไม้ ภาพสัตว์ชนิดต่างๆ ศิลปินจีนนิยม
ท่องเที่ยวไปตาม ป่าเขา แม่น้ำ เพื่อชื่นชมและหาสิ่งบันดาลใจจากธรรมชาติ แล้วนำมาถ่ายทอด
เป็นภาพจินตนาการการพิมพ์ภาพประกอบยุคแรก ๆ ใช้วิธีการพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้ โดยแกะ
รูปภาพหรือตัวอักษรลงบนผิวไม้ที่เรียบ แกะส่วนที่ไม่ต้องการออก คงเหลือไว้แต่ส่วนผิวนูน
จากนั้นจึงใช้หมึกสีทา แล้วนำแม่พิมพ์นั้นไปกดทาบลงบนระนาบรองรับหรือบนกระดาษก็จะเกิด
ภาพ และสามารถพิมพ์ภาพแบบเดียวกันได้คราวละหลาย ๆ ภาพ หนังสือที่เกิดจากการผลิตด้วย
กรรมวิธีนี้เรียกว่า block book ต่อมาการพิมพ์หนังสือและภาพได้พัฒนาขึ้น โดยใช้แม่พิมพ์จาก
วัสดุอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น แม่พิมพ์โลหะ แม่พิมพ์หิน เป็นต้น ซึ่งจะได้งานพิมพ์ที่ประณีตงดงาม
ในประเทศไทยนอกจากศิลปินไทยสมัยโบราณจะเขียนภาพไว้ตามผนังถ้ำแล้ว ศิลปิน
สมัยต่อมาก็นิยมเขียนภาพไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ อีกมาก โดยเฉพาะตามผนังโบสถ์ วิหาร หอไตร
ศาลาการเปรียญ ส่วนใหญ่จะเป็นภาพเรื่องราวทางศาสนาเพื่อเป็นพุทธบูชา เช่น ภาพเขียนใน
พระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี ภาพวัดคงคาราม ราชบุรี ภาพเขียนฝาผนังอุโบสถที่
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ โดยเฉพาะภาพเขียนเรื่องรามเกียรติ์ที่ระเบียงรอบอุโบสถวัด
พระศรีรัตนศาสดารามนั้น ถือได้ว่าเป็นภาพประกอบเรื่องที่ยาวที่สุดในประเทศไทย แสดง
เรื่องราวต่าง ๆ ต่อเนื่องเป็นห้องโดยไม่มีเส้นแบ่งภาพ ทำให้ผู้ดูงานสามารถจินตนาการต่อเนื่อง
โดยไม่ขาดตอน ประหนึ่งว่ากำลังดูหนังสือภาพขนาดใหญ่
3. ภาพประกอบยุคการพิมพ์
งานพิมพ์หนังสือและสิ่งพิมพ์ได้ขยายแพร่หลายขึ้น ตามความต้องการในการเรียนรู้
และความสนใจในการอ่านของมนุษย์ซึ่งกว้างขวางหลากหลายขึ้น ประกอบกับการคิดประดิษฐ์
แท่นพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ และกระดาษมีบทบาทสำคัญมากขึ้น เป็นแรงส่งเสริมให้งาน
เขียนและงานพิมพ์พัฒนาก้าวหน้าตามลำดับ ขณะเดียวกันงานพิมพ์ดังกล่าวก็ต้องการภาพเพื่อ
ประกอบเรื่องราว ทั้งหนังสือเกี่ยวกับการเผยแพร่ศาสนา ภูมิศาสตร์ สถาปัตยกรรม พฤกษศาสตร์
การแพทย์ หนังสือนวนิยาย และวรรณกรรมต่าง ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ งานสร้างภาพประกอบ
ได้พัฒนาทั้งรูปแบบและเทคนิคการสร้างสรรค์ก้าวไกลมากขึ้นกว่ายุคก่อนๆ ซึ่งประสานสอดคล้อง
กับงานทัศนศิลป์แขนงจิตรกรรม เพราะในยุคนี้ศิลปินได้พัฒนาสร้างสรรค์งานศิลปะออกไปหลาย
รูปแบบทั้งด้านแนวคิดเทคนิคการถ่ายทอด จนเกิดลัทธิสร้างสรรค์ศิลปะมากมาย มีลัทธิโรแมนติก
(romanticism) เรียลลิสติก (realism) อิมเพรสชั่นนิสม์ (impressionism) เอกซ์เพรสชั่นนิสม์
(expressionism) เชอร์เรียลลิสม์ (surrealism) แอบสแตรกต์ (abstract) เป็นต้น ความก้าวหน้า
ในวงการศิลปะเช่นนี้ ก่อให้เกิดความตื่นตัวในงานสร้างสรรค์ศิลปะแขนงอื่น ๆ ตามไปด้วย ช่วง
ศตวรรษที่ ๒๐ งานภาพประกอบยังคงมีความจำเป็นทั้งในหนังสือวิชาการและหนังสือประเภทอื่น
โดยเฉพาะหนังสืออ่านสำหรับเด็ก ปัจจุบันงานพิมพ์ได้รับความนิยมและแพร่หลายไปอย่าง
กว้างขวาง ภาพประกอบซึ่งใช้ระบบพิมพ์ที่มีคุณภาพมากขึ้นย่อมเข้ามามีส่วนช่วย
ในประเทศไทยภาพประกอบในหนังสือไทยซึ่งเป็นตัวพิมพ์นั้น ปรากฏเป็นหลักฐานให้
เห็นในหนังสือซึ่งพิมพ์ขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว เป็นหนังสือคำ
สอนศริสเตียนโดยมีบาทหลวงคาทอลิก ชื่อคาร์โนล (Garnault) ได้เข้ามาสอนศาสนา และได้
จัดตั้งโรงพิมพ์หนังสือที่วัดซางตาครูส ตำบลกุฏีจีน ในกรุงธนบุรี มีรูปนักบุญหลุยส์ เดอคงชาคา
ปรากฏเป็นภาพประกอบอยู่ในหน้าสองของหนังสือ
การพิมพ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เป็น
การพิมพ์ในวงแคบ และยังคงใช้วิธีแกะเป็นตัวพิมพ์จากบล็อกไม้ (Wood Block Printing)
(ขจร สุขพานิช 2509 : 5)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เริ่มมีการใช้แท่นพิมพ์
และตัวพิมพ์เป็นครั้งแรก โดยเป็นการพิมพ์หนังสือไทยในประเทศพม่า ต่อมาเกิดสงครามใน
ประเทศพม่าเครื่องพิมพ์และตัวพิมพ์ภาษาไทยถูกย้ายไปอยู่กัลกัตตา ประเทศอินเดียและสิงคโปร์
ตามลำดับ เมื่อหมอสอนศาสนาคริสต์ชื่อหมอบรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) เดินทาง
มาถึงประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ.2378 จึงได้นำแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ภาษาไทยดังกล่าวเข้า
มายังประเทศไทยด้วย ระหว่างที่หมอบรัดเลย์ อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ เขาได้ศึกษาแท่นพิมพ์ที่ทำ
จากไม้ด้วยความชำนาญ ขณะนั้นเริ่มมีมิชชันนารีแบบติสต์อเมริกันเข้ามาอยู่ในประเทศไทยแล้ว
ได้พิมพ์หนังสือเป็นตัวหนังสือจีนและภาษาไทย ที่เขียนด้วยตัวโรมันก็มีบ้าง โดยบาทหลวงชื่อ
ชาร์ลส์ โรบินสัน (Charles Robinson) ได้แปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาไทยเมื่อหมอบรัดเลย์
เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ก็ได้ร่วมมือกับบาทหลวงโรบินสันสร้างแท่นพิมพ์ไม้ขึ้น และได้จัดพิมพ์
หนังสือไทยออกมาครั้งแรก (กำธร สถิรกุล 2505 : 201)
พวกมิชชันนารีเล็งเห็นว่าการพิมพ์หนังสือสอนศาสนาออกมาเผยแพร่เป็นภาษาไทยจะ
ช่วยให้เกิดประโยชน์แก่การเผยแพร่ศาสนาของเขามาก จึงได้มีหนังสือแจ้งให้สำนักงานใหญ่ใน
ประเทศสหรัฐอเมริกาจัดส่งแท่นพิมพ์เข้ามาพร้อมกับกระดาษ ราวปี พ.ศ. 2379 โดยเรือใบชื่อ
เอมมะติลดา ได้นำแท่นพิมพ์ยี่ห้อโอติส 1 แท่น และยี่ห้อสแตนดิ้ง 1 แท่น พร้อมด้วยกระดาษ
100 รีม มาจากเมืองสิงคโปร์ นับเป็นแท่นพิมพ์โลหะเครื่องแรกช่างเรียงและช่างพิมพ์นำมาจาก
อเมริกา หมอบรัดเลย์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพิมพ์ในเมืองไทย
ส่วนงานภาพประกอบการระบายสีนั้น ยังปรากฏในงานหนังสือและสิ่งพิมพ์ของไทย
อย่างต่อเนื่อง เป็นภาพประกอบในหนังสือแบบเรียนบ้าง หนังสือบันเทิงคดีและนวนิยายบ้าง
ตลอดจนภาพประกอบในใบปิดโฆษณาต่าง ๆ การสร้างสรรค์ภาพประกอบในหนังสือและสิ่งพิมพ์
ทำให้งานพิมพ์มีคุณค่าในการสื่อสารมีความหมาย และมีชีวิตชีวา
4. ภาพประกอบยุคสารสนเทศ
ในยุคสารสนเทศหรือยุคข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆ สื่อถึงกันได้อย่างกว้างขวาง
รวดเร็ว ไร้ขีดจำกัด เพราะระบบการสื่อสารพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง มีทั้งการสื่อข้อมูลข่าวสาร
ผ่านระบบใยแก้วนำแสงและผ่านดาวเทียม ได้ทั้งปริมาณและความรวดเร็วในการส่งข้อมูล ส่งผล
ให้เกิดการพัฒนาในด้านเนื้อหาที่นำเสนอไปพร้อมๆ กันด้วย ซึ่งส่วนสำคัญที่เสนอควบคู่ไปกับ
เนื้อหาก็คือภาพประกอบข้อมูลในยุคข้อมูลข่าวสาร ตำแหน่งการจัดวางภาพประกอบได้
เปลี่ยนแปลงไป คือแทนที่จะเป็นเพียงภาพประกอบอยู่แต่ในเอกสารหนังสือก็ถูกจัดวางผ่านสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ ปรากฏในเว็บไซต์ที่สามารถส่งผ่านไปได้ทั่วโลก ภาพประกอบงานสิ่งพิมพ์งาน
วิชาการทุกแขนง ได้ถูกบรรจุไว้ในเว็บไซต์อย่างเป็นระบบระเบียบร่วมกับเนื้อหาสาระ แน่นอนที่สุด
ที่นักสารสนเทศ จะต้องมีความรอบรู้ในการคัดสรรภาพเพื่อประกอบเนื้อหาต่างๆ นั่นคือต้องรอบรู้
ในเรื่องการสร้างภาพประกอบสำหรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสร้างสรรค์ด้วย
คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะงานออกแบบสิ่งพิมพ์ เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็ว เรียนรู้ได้ง่าย
เครื่องมือและอุปกรณ์ราคาไม่แพง เราสามารถนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในงานผลิตสิ่งพิมพ์ได้อย่าง
มากมาย ไม่เพียงแต่พิมพ์ตัวอักษร แต่ยังสามารถจัดหน้าหนังสือ (artwork)และสร้าง
ภาพประกอบได้อีกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ออกแบบสิ่งพิมพ์ในระยะแรกได้แก่เครื่องแมค
อินทอช มีประสิทธิภาพในการออกแบบสิ่งพิมพ์สูง ทั้งงานสีและขาว-ดำ แต่ราคาค่อนข้างแพง จึง
จำกัดอยู่เฉพาะในโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ
ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เจริญก้าวหน้ามีการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบ
พีซีมีประสิทธิภาพสูงขึ้นซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ก็พัฒนาตามไปด้วย ประกอบกับราคาเครื่องยังคงถูก
กว่า จึงมีผู้หันมาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีออกแบบงานสิ่งพิมพ์มากขึ้น แม้ว่าคุณภาพด้านงานสี
ที่ได้จะด้อยกว่าเครื่องแมคอินทอช แต่สำหรับงานขาว-ดำจะมีคุณภาพใกล้เคียงกัน
โปรแกรมที่ใช้ออกแบบ และจัดหน้าสิ่งพิมพ์บนเครื่องพีซีนั้นมีหลายโปรแกรม ได้แก่
ไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word) ไมโครซอฟต์พับลิชเซอร์ (Microsoft Publisher) อะโดบีเพ
จเมกเกอร์ (Adobe PageMaker) และโปรแกรมสำหรับงานวาดภาพออกแบบตัวอักษรตกแต่ง
ภาพ แก้ไขสี สแกนภาพ เปลี่ยนแปลงลักษณะของภาพ เช่น โปรแกรมคอเรลดรอร์ (Corel Draw)
โปรแกรมโฟโตซอป (Photo Shop) เป็นต้น
จากที่กล่าวมา งานภาพประกอบนอกจากจะเป็นสิ่งบันทึกเรื่องราวปรากฏการณ์ของ
ชีวิตและสังคมทั้งในแง่ศาสนา ความเชื่อประวัติศาสตร์ ตลอดจนวิวัฒนาการความก้าวหน้าของ
มนุษยชาติแล้ว ภาพประกอบยังสะท้อนถึงแนวความคิดการสร้างสรรค์ของศิลปินแต่ละยุคสมัย
รวมถึงสะท้อนภูมิปัญญา ทั้งที่ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ด้วยฝีมือ และเทคโนโลยีสมัยใหม่
ภาพประกอบยังคงมีบทบาท และความสำคัญต่องานหนังสือและสิ่งพิมพ์สืบต่อไป
องค์ประกอบสำคัญในการเขียนภาพประกอบ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างภาพประกอบกับเนื้อเรื่อง การสร้างภาพประกอบให้มี
ความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องต้องยึดหลัก ดังนี้
1.1 ก่อนจะเขียนภาพประกอบควรอ่านเรื่องที่จะเขียนให้รู้เรื่องโดยตลอดเสียก่อน
1.2 จับหัวข้อตอนใดตอนหนึ่งของเรื่อง มาสร้างเป็นภาพประกอบในหน้าหนังสือ
นั้น ๆ โดยมีข้อความและภาพตรงกัน
1.3 ภาพจะต้องเป็นเครื่องช่วยให้เห็นเค้าโครงเรื่อง ช่วยแปลความหมาย หรือช่วย
ขยายความเข้าใจของเรื่องได้ดี จะต้องช่วยสร้างอารมณ์ของเรื่องให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องจะต้องตรง
กับลักษณะตัวละคร ฉาก หรือสถานที่ที่เนื้อเรื่องบรรยายไว้ สำหรับภาพประกอบหนังสือที่ผู้ใหญ่
อ่านให้เด็กฟัง ควรจะมีความสอดคล้องกับข้อความที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง คือเมื่อผู้ใหญ่อ่านจบก็ควร
จะพอดีกับภาพที่เด็กดูจบทันกันในแต่ละภาพ
2. รูปแบบของการจัดภาพ การจัดภาพของแต่ละภาพประกอบมี 9 รูปแบบ ดังนี้
2.1 การจัดภาพลักษณะความเป็นเด่น (Dominance) การจัดภาพชนิดนี้เป็นการ
จัดภาพที่ต้องการความโดดเด่น เพื่อเป็นการจูงใจสายตาของผู้ดูให้พุ่งสู่จุดเด่นนั้น ทำได้โดยใช้
เส้น สี ขนาด รูปร่าง รูปทรง ลักษณะผิว น้ำหนัก หรือส่วนสูงที่แตกต่างกัน
2.2 การจัดภาพลักษณะการซ้ำ (Repetition) หมายถึง การซ้ำของรูปแบบหรือ
รูปทรง การจัดภาพชนิดนี้เป็นการจัดภาพชนิดมีลักษณะต่อเนื่องกัน ซ้ำ ๆ กัน ตั้งแต่ 2 อย่างขึ้น
ไป จะมีรูปแบบเป็นลวดลายเหมือนผลงานของรูปและพื้น ในลักษณะของการซ้ำ ถ้าเหมือนกัน
ตลอดทั้งสี รูป และพื้น จะสร้างความเบื่อหน่ายให้เกิดขึ้น ดังนั้น นักออกแบบภาพประกอบ
จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ หนีความซ้ำซากจำเจ ซึ่งจะพบเห็นได้ในการออกแบบพิมพ์ลายผ้า
กระดาษห่อของขวัญ หรืองานเขียนภาพประกอบหนังสือเด็ก การนำเอารูปลักษณะการซ้ำไปใช้
มักนิยมใช้ตกแต่งผนัง ออกแบบปกหนังสือ
2.3 การจัดภาพประกอบกระจายเป็นรัศมี (Radiation) เป็นการจัดภาพที่มีรัศมี
หรือแสงพุ่งออกรอบตัวการจัดภาพในลักษณะกระจายเป็นรัศมีนี้ มีความสำคัญในการนำไปใช้ใน
การออกแบบเป็นวงกลม เป็นการออกแบบรอบวงโดยมีจุดศูนย์กลาง หรือการออกแบบจากจุด
ศูนย์กลางไปหาวงรัศมีก็ได้ ทำให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวโดยมีแกนกลาง การจัดภาพลักษณะนี้
จะแลดูอ่อนหวาน นุ่มนวล ไม่แข็งกระด้าง
2.4 การจัดภาพลักษณะการเป็นตัวกลาง (Transition) การจัดภาพชนิดนี้เป็นการ
ทำสิ่งที่ขัดแย้งให้กลมกลืนกัน ด้วยการใช้ตัวกลางเข้าไปประสาน เช่น เส้นตั้งกับเส้นนอนมีทิศทาง
ที่ตัดกันอย่างรุนแรง แต่ถ้ามีเส้นเฉียงเข้าไปช่วยความกลมกลืนจะมีมากขึ้นเส้นเฉียงคือตัวกลาง
2.5 การจัดภาพลักษณะสมดุล ชนิดส่วนประกอบสองข้างของแกนสมดุลเท่ากัน
(Symmetrical Balance) เป็นการจัดภาพให้ส่วนประกอบ 2 ข้าง ของแกนกลางหรือแกนสมดุล
(Axis Center of Balance) มีลักษณะเหมือนกันเห็นได้ชัดเจน เป็นการออกแบบที่จัดวาง
เท่ากันโดยรูปร่างและขนาดที่เหมือนกัน ความสมดุลแบบนี้ มักพบเห็นได้ในธรรมชาติ เช่น ใบหน้า
ของคนจะมีด้านซ้ายและขวาเหมือนกัน ลายไทยทรงข้าวบิณฑ์ หรือลายหน้าขบ เป็นต้น ดุลยภาพ
แบบสองข้างเหมือนกันนี้ในทางศิลปะมีใช้น้อยส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่งงานสถาปัตยกรรม
บางแบบ หรืองานที่ต้องการดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริงๆ ดุลยภาพแบบนี้เป็นดุลยภาพที่ให้
ความรู้สึกหยุดนิ่งและเงียบเหงาเพราะเป็นการซ้ำของสิ่งที่เหมือนกันนั่นเอง
2.6 การจัดลักษณะภาพสมดุลชนิดส่วนประกอบสองข้างของแกนสมดุลไม่เท่ากัน
(Asymmetrical Balance) เป็นการจัดภาพให้มีขนาด รูปร่างหรือสีแตกต่างกันทั้งสองข้าง แต่
เมื่อดูแล้วมีน้ำหนักที่เท่ากัน คือดุลยภาพที่เท่ากันได้โดยน้ำหนักของเส้น สี รูปร่าง รูปทรงหรือ
พื้นผิว และให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
2.7 การจัดภาพลักษณะรูปทรงกลม (Spherical) เป็นการจัดภาพที่เป็นการ
หมุนเวียน (Circle) มีขอบเขตจำกัด เป็นกลุ่มเป็นก้อน รูปทรงมีโครงสร้างเช่นเดียวกับลูกฟุตบอล
ลูกเทนนิส ลูกกอล์ฟ เป็นต้น และรูปทรงที่มีลักษณะใกล้เคียงกับรูปทรงกลมคือรูปทรงรี เช่น ไข่
ลูกรักบี้ เป็นต้น การจัดภาพลักษณะนี้มองดูแล้วจะให้ความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน
2.8 การจัดภาพลักษณะรูปสามเหลี่ยม (Tri – Angular) เป็นการจัดภาพที่มี
ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมจะมีด้านเท่าหรือไม่เท่านั้นไม่กำหนด ขอให้เป็นลักษณะรูปสามเหลี่ยม
ข้อเสียของภาพลักษณะนี้ จะให้ความรู้สึกจำกัดขอบเขต ดูแล้วไม่นิ่มนวล
2.9 การจัดภาพลักษณะการโยงสายตาให้รวมที่จุดเดียว (Convergence) เป็นการ
จัดภาพที่มีลักษณะมองภาพ โดยโยงสายตาให้ไปพบกับจุดสนใจ (Convergence of Interest)
เป็นการจัดที่ถูกหลักเกณฑ์ที่สุด ภาพชนิดนี้จะให้ความรู้สึกดึงดูดสายตา ชวนติดตาม ไม่เบื่อหน่าย
และแสดงระยะใกล้ไกล เช่น ภาพถนน สะพาน เป็นต้น
รูปแบบอุดมคติ (Idialitic Style)
รูปแบบอุดมคติ คือภาพที่มีลักษณะเป็นภาพที่ระบายสีแบนเรียบ ใช้สีค่อนข้างสดใส
แล้วตัดเส้นเป็นภาพ 2 มิติ ให้ความรู้สึกเพียงด้านกว้างและด้านยาวเท่านั้น มีลักษณะพิเศษใน
การจัดวางภาพเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ (สุวัฒน์ แสงขัติ 2547 : 11) โดยอาศัยองค์ประกอบศิลป์เข้า
ร่วม เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว พื้นที่ว่าง โดยการลดตัดทอน รูปร่างรูปทรงคนสัตว์สิ่งของ และ
สถาปัตยกรรมให้มีความอ่อนช้อยปราณีต
รูปแบบกึ่งเหมือนจริง (Semirealistic Style)
รูปแบบกึ่งเหมือนจริง คือภาพที่นำเอาลักษณะภาพรูปแบบเหมือนจริง มาผสมผสาน
กับรูปแบบภาพอุดมคติ เป็นภาพที่มีความลึก แบบทัศนียวิทยา (Perspective)น้ำหนักแสงเงาตาม
ธรรมชาติเข้ามาประยุกต์ใช้กับภาพจิตรกรรมไทยแบบดั้งเดิม คำนึงถึงสัดส่วนต่างๆ ตามหลักกาย
วิภาค จัดวางแบบเว้นพื้นที่ว่างแบบตะวันตก นำเทคนิคการเล่าเรื่อง การระบายสีแบนเรียบๆ อาจ
เน้นลักษณะมิติบ้างเล็กน้อยแต่ใช้วิธีการตัดเส้นแบบภาพแบบอุดมคติเข้ามาร่วมด้วย
รูปแบบเหมือนจริง (Realistic Style)
รูปแบบเหมือนจริงจะเน้นความสมจริง ถูกต้องตามที่ปรากฏในธรรมชาติ ไม่ว่าคนหรือ
สภาพบรรยากาศแวดล้อมที่เป็นจริง โดยยึดหลักการแสดงออกตามที่ตาเห็น (วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ
2544 : 28)
รูปแบบ (Style)
รูปแบบหมายถึงรูปแบบที่ศิลปินใช้ในการนำเสนอเรื่องราวหรือเนื้อหาในผลงาน
สร้างสรรค์ของเขา รูปแบบนี้เป็นผลรวมของการจัดองค์ประกอบหรือการออกแบบและการใช้วัตถุ
หรือวัสดุในการสร้างสรรค์ผลงาน (ไมเยอร์ 2540 : 344)
จินตนาการ (Imagination)
จินตนาการ มีที่มาตามรูปศัพท์ว่า จินตน+อาการ หมายถึง การสร้างภาพขึ้นในจิตใจ
จินตนาการก็เป็นกระบวนการก่อรูปขึ้นในจิตใจโดยแรงขับจากจิตใจซึ่งรูปลักษณ์ที่สร้าง
จินตนาการนั้นอาจเหมือน แตกต่างหรือพิศดารไปจากสิ่งที่เคยเห็นหรือมีอยู่ตามธรรมชาติก็เป็นได้
แหล่งที่มาของจินตนาการอาจเกิดจากการกระตุ้นของประสบการณ์ภายนอกหรือจากการกระตุ้น
ของอารมณ์ซึ่งเป็นเป็นประสบการณ์ที่สะสมภายใน อาจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ให้ความหมายของ
จินตนาการไว้ว่า จินตนาการ คือ การกระทำหรือพลังอำนาจของจิตที่สร้างรูปที่มิได้มีปรากฏ
ภายในสำนึก (ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ 2543 : 106 อ้างจาก ชลูด นิ่มเสมอ 2539 : 25)
การสื่อความหมาย
สื่อความหมาย ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 นั้น
หมายถึงการติดต่อให้ถึงกัน ในที่นี้อาจหมายถึง การรับรู้ทางการเห็น (Visual Perception) เป็น
กระบวนการเลือกสรรค์สิ่งที่เห็นมาเป็นข้อมูลของการรับรู้ แล้วป้อนเข้าสู่ความรู้สึกนึกคิดทางด้าน
สมองและจิตใจ เป็นตัวแปรออกมาให้เป็นความหมายในสิ่งต่างๆ ว่าเป็นอะไร หรือหมายถึงอะไร
(ธวัชชานนท์ ตาไธสง 2546 : 24)__
แหล่งอ้างอิงhttp://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Siri_Nudang/Chapter2.pdf
หลักองค์ประกอบทางศิลปะ |
|
1 .ความสมดุล หรือ ดุลยภาพ หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งในทางศิลปะยังรวมถึงความประสานกลมกลืน ความพอเหมาะพอดีของ ส่วนต่าง ๆ ในรูปทรงหนึ่ง หรืองานศิลปะชิ้นหนึ่ง การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ลงใน งานศิลปกรรมนั้นจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วง ในธรรมชาตินั้น ทุกสิ่งสิ่งที่ทรงตัวอยู่ได้โดยไม่ล้มเพราะมีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากันทุกด้าน |
|
|
รูปแบบๆ หนึ่ง อาจเรียกว่าแม่ลาย การนำแม่ลายมาจัดวางซ้ำ ๆ กันทำให้เกิดจังหวะและถ้าจัดจังหวะให้แตกต่างกันออกไป ด้วยการเว้นช่วง หรือสลับช่วง ก็จะเกิดลวดลายที่แตกต่างกันออกไป ได้อย่างมากมาย แต่จังหวะของลายเป็นจังหวะอย่างง่าย ๆ ให้ความ รู้สึกเพียงผิวเผิน และเบื่อง่าย เนื่องจากขาดความหมาย เป็นการรวมตัวของสิ่งที่เหมือนกัน แต่ไม่มีความหมายในตัวเอง จังหวะที่น่าสนใจและมีชีวิต ได้แก่ การเคลื่อนไหวของ คน สัตว์ การเติบโตของพืช การเต้นรำเป็นการเคลื่อนไหวของโครงสร้างที่ให้ความบันดาลใจในการสร้างรูปทรงที่มีความหมาย |
3.สัดส่วน หมายถึง ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างขนาดของ องค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือระหว่างรูปทรง และรวมถึงความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างองค์ประกอบทั้งหลายด้วย ซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี ไม่ มากไม่น้อย ขององค์ประกอบทั้งหลายที่นำมาจัดรวมกัน ความเหมาะสมของสัดส่วนอาจ พิจารณาจากคุณลักษณะดังต่อไปนี้ |
|
4. เอกภาพ หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ทั้งด้านรูปลักษณะและด้านเนื้อหาเรื่องราว เป็นการประสานหรือจัดระเบียบของส่วนต่าง ๆให้เกิดความเป็น หนึ่งเดียวเพื่อผลรวมอันไม่อาจแบ่งแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป |
4.1เอกภาพของการแสดงออก หมายถึง การแสดงออกทีมีจุดมุ่งหมายเดียว แน่นอน และมี ความเรียบง่าย งานชิ้นเดียวจะแสดงออกหลายความคิด หลายอารมณ์ไม่ได้ จะทำให้สับสน ขาดเอกภาพ และการแสดงออกด้วยลักษณะเฉพาตัวของศิลปินแต่ละคน ก็สามารถทำให้ เกิดเอกภาพแก่ผลงานได
|
เส้น เป็นคำที่มีความหมายโดยปกติของการรับรู้อยู่แล้วว่า เกมระบายสีเป็น วัตถุ สิ่งของ ที่มีลักษณะ ยาว หรือเป็นสาย และมีความชัดเจนขึ้นอีกถ้าไปผสมกับคำใดเข้า เช่น เส้นหมี่ เส้นทางเดินรถ เส้นไหม เส้นเลือด เส้นเชือก ฯลฯ แต่ถ้าในทางการขีดเขียนหรือวาด จะถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก ที่จะทำให้เกิดภาพต่างๆขึ้น เพื่อการสร้างสรรค์ ออกแบบผลงานต่างๆ ซึ่งเกิดจากการใช้เครื่องมือเข้าช่วย ขีด ลาก วาด ได้แก่ ดินสอ ปากกา พู่กัน ฯลฯ โดยมพื้นที่รองรับส่วนใหญ่จะเป็นกระดาษ ขนาดของเส้น จะขึ้นอยู่กับขนาดของอุปกรณ์นั้นๆ
การเกิดของเส้นถ้ามองอีกมุมหนึ่งในองค์ประกอบของการออกแบบ อาจกล่าวได้อีกแง่หนึ่งว่า เส้นคือ จุดที่เคลื่อนที่ และต่อเนื่องบนที่ระนาบหรือบนแผ่นกระดาษ ถ้าเส้นปรากฏเป็นตัวอักษรก็จะเป็นภาษาเขียนของมนุษย์ที่สื่อสารกัน แต่ถ้าเส้นถูกวาดอย่างมีทิศทาง มีความหมายเป็นรูปร่าง ก็จะเกิดเป็นภาพต่างๆ เพื่อสื่อความหมายหรือเพื่อการสร้างสรรค์งาน ก็จะเป็นขบวนการสร้างภาพที่อาศัยทักษะฝีมือ มีความสัมพันธ์กับการคิดที่ต้องใช้ สติปัญญาจะเห็นได้ว่า การวาดเส้น เป็นการถ่ายทอดความคิดออกเป็นรูปภาพที่ทำได้ สะดวก และ รวดเร็ว ส่วนจะได้ความหมาย หรือ เหมือน ถูกต้องมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับทักษะฝีมือของแต่ละคนไป
วาดเส้น เป็นคำผสมซึ่งพอจะแยกความหมายได้เป็น 2 คำ คือ
1. วาด เป็นการกระทำให้เกิดภาพ โดยใช้มือจับอุปกรณ์ ขีด เขียน ถู ไถ ฯลฯ มากกว่าการเขียนเป็นตัวอักษร หรือข้อความ
2. เส้น เป็นวัตถุ สิ่งของ หรือ รอย ที่มีลักษณะยาว ถ้าในงานออกแบบ เส้น จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างผลงาน
สี color
สีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิต ซึ่งมนุษย์รู้จัก สามารถ
นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ในอดีตกาล
มนุษย์ได้ค้นพบสีจากแหล่งต่าง ๆ จากพืช สัตว์ ดิน และแร่ธาตุนานาชนิด จากการ
ค้นพบสีต่าง ๆ เหล่านั้น มนุษย์ได้นำเอาสีต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง
โดยนำมาระบายลงไปบนสิ่งของ ภาชนะเครื่องใช้ หรือระบายลงไปบนรูปปั้น
รูปแกะสลัก เพื่อให้รูปเด่นชัดขึ้น มีความเหมือนจริงมากขึ้น รวมไปถึงการใช้สีวาด
ลงไปบนผนังถ้ำ หน้าผา ก้อนหิน เพื่อใช้ถ่ายทอดเรื่องราว และทำให้เกิดความ
รู้สึกถึงพลังอำนาจที่มีอยู่เหนือสิ่งต่าง ๆ ทั้งปวง การใช้สีทาตามร่างกายเพื่อ
กระตุ้นให้เกิดความฮึกเหิม เกิดพลังอำนาจ หรือใช้สีเป็นสัญลักษณ์ในการถ่ายทอด
ความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในสมัยเริ่มแรก มนุษย์รู้จักใช้สีเพียงไม่กี่สี สีเหล่านั้นได้มาจากพืช สัตว์ ดิน
แร่ธาตุต่าง ๆ รวมถึงขี้เถ้า เขม่าควันไฟ เป็นสีที่พบทั่วไปในธรรมชาติ นำมาถู ทา
ต่อมาเมื่อทำการย่างเนื้อสัตว์ ไขมัน น้ำมัน ที่หยดจากการย่างลงสู่ดินทำให้ดินมี
สีสันน่าสนใจ สามารถนำมาระบายลงบนวัตถุและติดแน่นทนนาน ดังนั้นไขมันนี้
จึงได้ทำหน้าที่เป็นส่วนผสม (binder) ซึ่งมีความสำคัญในฐานะเป็นสารชนิดหนึ่ง
ที่เป็นส่วนประกอบของสี ทำหน้าที่เกาะติดผิวหน้าของวัสดุที่ถูกนำไปทาหรือ
ระบาย นอกจากไขมันแล้วยังได้นำไข่ขาว ขี้ผึ้ง (Wax) น้ำมันลินสีด (Linseed)
กาวและยางไม้ (Gum arabic) เคซีน (Casein: ตะกอนโปรตีนจากนม) และสาร
พลาสติกโพลีเมอร์ (Polymer) มาใช้เป็นส่วนผสม ทำให้เกิดสีชนิดต่าง ๆ ขึ้นมา
องค์ประกอบของสี แสดงได้ดังนี้
เนื้อสี (รงควัตถุ) + ส่วนผสม = สีชนิดต่าง ๆ
(Pigment) (Binder) Colour
ในสมัยต่อมา เมื่อมนุษย์มีวิวัฒนาการมากขึ้น เกิดคตินิยมในการรับรู้ และชื่นชมใน
ความงามทางสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) สีได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง และวิจิตรพิสดาร
จากเดิมที่เคยใช้สีเพียงไม่กี่สี ซึ่งเป็นสีตามธรรมชาติ ได้นำมาซึ่งการประดิษฐ์ คิดค้น และผลิต
สีใหม่ ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความงามอย่างไม่มีขีดจำกัด โดยมี
การพัฒนามาเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง
ที่มาของสี
สีที่มนุษย์ใช้อยู่ทั่วไป ได้มาจาก
1 สสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และนำมาใช้โดยตรง หรือด้วยการสกัด ดัดแปลงบ้าง จากพืช
สัตว์ ดิน แร่ธาตุต่าง ๆ
2 สสารที่ได้จากการสังเคราะห์ซึ่งผลิตขึ้นโดยกระบวนการทางเคมี เป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้น
เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้ สะดวกมากขึ้น ซึ่งเป็นสีที่เราใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน
3 แสง เป็นพลังงานชนิดเดียวที่ให้สี โดยอยู่ในรูปของรังสี (Ray) ที่มีความเข้มของแสง
อยู่ในช่วงที่สายตามองเห็นได้
ความสำคัญของสี
สี คือลักษณะของแสงที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นเป็นสี (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) ในทางวิทยาศาสตร์ให้คำจำกัดความของสีว่า เป็นคลื่นแสงหรือความเข้มของแสงที่สายตาสามารถมองเห็น ในทางศิลปะ สีคือ ทัศนธาตุอย่างหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงานศิลปะ และใช้ในการสร้างงานศิลปะโดยจะทำให้ผลงานมีความสวยงาม ช่วยสร้างบรรยากาศ มีความสมจริง เด่นชัดและน่าสนใจมากขึ้น
สีเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของงานศิลปะ และเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก อารมณ์ และจิตใจ ได้มากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ ในชีวิตของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสีต่าง ๆ อย่างแยกไม่ออก โดยที่สีจะให้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น
1 ใช้ในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นชัดเจน
2 ใช้ในการจัดองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม กลมกลืน เช่น การแต่งกาย การจัดตกแต่งบ้าน
3 ใช้ในการจัดกลุ่ม พวก คณะ ด้วยการใช้สีต่าง ๆ เช่น คณะสี เครื่องแบบต่าง ๆ
4 ใช้ในการสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์ หรือใช้บอกเล่าเรื่องราว
5 ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สร้างบรรยากาศ สมจริงและน่าสนใจ
6 เป็นองค์ประกอบในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์
การใช้สีในยุคสมัยต่าง ๆ
อียิปต์โบราณ
ในสมัยอียิปต์โบราณ การใช้สีมีความสัมพันธ์กับพิธีกรรม และเรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนา
การระบายสีไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงทางทัศนียวิทยา หรือหลักความเป็นจริง เป็นภาพที่ไม่มีแสงเงา
เป็นรูปแบนระบายสีที่สว่างสดใส มองเห็นชัดเจน โดยใช้เทคนิคสีฝุ่นผสมไข่ขาว (egg tempera)
หรือใช้ไข่ขาวเคลือบบนผิวที่เขียนด้วยสีฝุ่นผสมน้ำ
กรีกโบราณ
ผลงานในสมัยกรีกโบราณ ที่เห็นชัดเจนจะได้แก่งานประติมากรรมและสถาปัตยกรรม จะพบเห็น
งานจิตรกรรมค่อนข้างน้อย ไม่ค่อยปรากฏงานจิตรกรรมฝาผนัง แต่จะพบในงานวาดภาพระบายสี
ตกแต่งเครื่องปั้นดินเผา จะนิยมใช้สีเพียง 2 - 3 สี คือ ขาว เหลือง แดง และเคลือบดำ
โรมันโบราณ
นิยมสร้างภาพบนผนังและพื้นห้องประดับด้วยโมเสค (Mosaic) สำหรับการวาดภาพใช้เทคนิค ผสมไข (Encaustic painting) ซึ่งเป็นการใช้สีผสมกับไขระบายในขณะที่ยังร้อน ๆ จากการค้นพบ หลักฐานผลงานในสมัยโรมันหลาย ๆ แห่ง นิยมสร้างเป็นภาพในเมือง ชนบท ภูเขา ทะเล การต่อสู้ กิจกรรมของพลเมือง การค้าขาย กีฬา เรื่องเกี่ยวกับนินายปรัมปรา และประวัติศาสตร์
คริสเตียนยุคแรก
ในยุคไบเซนไทน์ (Bizentine) ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของคริสเตียนนิยมสร้างภาพโดยใช้โมเสค กระจก( Glass Mosaic) ทำเป็นภาพบุคคลสำคัญในพระคัมภีร์ไบเบิล ประดับตกแต่งภายในโบสถ์โดยมากมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงถึงความศรัทธาอย่างสูงต่อศาสนาคริสต์
การใช้สีในจิตรกรรมไทย
จิตรกรรมไทย เป็นงานวิจิตรศิลป์ที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม อันดีงามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศาสนา และโบราณคดี จิตรกรรมไทยแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1 จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional painting) เป็นงานจิตรกรรมที่แสดงความรู้สึกชีวิตจิตใจ และความเป็นไทย ที่มีความละเอียด อ่อนช้อยงดงาม สร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต และสังเคราะห์จนได้ ลักษณะประจำชาติ ที่มีรูปแบบเป็นพิเศษเฉพาะตัว เป็นงานศิลปะในแบบอุดมคติ (Idialistic Art) นิยมเขียน เป็นภาพที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวต่าง ๆ คือ
1.1 พุทธประวัติ และเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาพุทธ
1.2 พงศาวดาร ตำนาน เรื่องราวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เรื่องคตินิยมอันเป็นมงคล
1.3 วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่าง ๆ
ลักษณะของผลงานเป็นภาพจิตรกรรม ระบายสีแบนเรียบด้วยสีที่ค่อนข้างสดใส แล้วตัดเส้นมีขอบ ที่คมชัด ให้ความรู้สึกเป็นภาพ 2 มิติ มีลักษณะในการจัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ จากบนลงล่าง มีวิธีการใช้สีแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย ทั้งสีเอกรงค์ และพหุรงค์
2 จิตรกรรมไทยร่วมสมัย (Thai Contemporary painting) เป็นงานจิตรกรรมที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมใหม่แนวความคิดใหม่ ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปะตะวันตกที่นำมาผสมผสาน กับรูปลักษณ์แบบไทย ๆ แล้วสร้างสรรค์เป็นรูปแบบใหม่ขึ้น
สีที่ช่างนำมาใช้ในงานจิตรกรรมแต่เดิมนั้นมีน้อยมาก มักใช้สีเดียว ที่เรียกว่า "เอกรงค์" โดยใช้สีขาว สีดำและสีแดงเท่านั้น ทำให้เกิดความกลมกลืนกันมาก ต่อมาสีที่ใช้ในภาพจิตรกรรมก็มีมากขึ้น มีการเขียนภาพ ที่เรียกว่า"เบญจรงค์" คือใช้สี 5 สี ได้แก่ สีเหลือง เขียวหรือคราม แดงชาด ขาว และดำ การวาดภาพที่ใช้ หลาย ๆ สี เรียกว่า "พหุรงค์" สีที่ใช้ล้วนได้มาจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ และมีที่กำเนิดต่าง ๆ กัน บางสีเป็น ธาตุจากดิน บางสีได้จากสัตว์ จากกระดูก เขา งา เลือด บางสีได้จากพืช ลักษณะของสีที่นำมาใช้มักจะทำเป็น ผงละเอียด ซึ่งเรียกว่า สีฝุ่น ( Tempera) นำมาผสมกับวัสดุอื่นเพื่อให้ยึดเกาะผิวหน้าวัตถุได้ดี ได้แก่ กาวหรือ ยางไม้ ที่นิยมใช้คือ ยางของต้นมะขวิด และกาวกระถิน ลักษณะเด่นของจิตรกรรมไทยอีกอย่างหนึ่งคือ การปิด ทองคำเปลวในบางส่วนของภาพที่มีความสำคัญ เช่น เป็นเครื่องทรงหรือเป็นผิวกายของของบุคคลสำคัญในเรื่อง เป็นส่วนประกอบของปราสาทราชวัง หรือสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ๆ ในภาพ เป็นต้น
แม่สี
แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม
แม่สี มือยู่ 2 ชนิด คือ
1. แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดง
สีเหลือง และสีน้ำเงิน อยู่ในรูปของแสงรังสี ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี
คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ ในการถ่ายภาพ ภาพโทรทัศน์ การจัดแสงสี
ในการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น
2. แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวน
ทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้
งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ
แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสี
ธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ใน
วงจรสี จะแสดงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
วงจรสี ( Colour Circle)
สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน
สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้
เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่
สีแดง ผสมกับสีเหลือง ได้สี ส้ม
สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน ได้สีม่วง
สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน ได้สีเขียว
สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆ
อีก 6 สี คือ
สีแดง ผสมกับสีส้ม ได้สี ส้มแดง
สีแดง ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงแดง
สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง
สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวน้ำเงิน
สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงน้ำเงิน
สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง
วรรณะของสี คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และ
สีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ
สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่าง
รุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใส
เท่าที่ควร การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้
1. มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย
2. ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี
3. ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี
สีกลาง คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ สีน้ำตาล กับ สีเทา
สีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมี
คุณสมบัติสำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้น ๆ เข้มขึ้นโดยไม่เปลี่ยน
แปลงค่าสี ถ้าผสมมาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล
สีเทา เกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติ
ที่สำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่น ๆ แล้วจะทำให้ มืด หม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมีน้ำหนัก
อ่อนแก่ในระดับต่าง ๆ ถ้าผสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทา
ชนิดของสี
สีน้ำ WATER COLOUR
สีน้ำ เป็น สีที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ ทั้งในแถบยุโรป และเอเชีย โดยเฉพาะจีน และญี่ปุ่น
ซึ่งมีความสามารถในการระบายสีน้ำ แต่ในอดีตการระบายสีน้ำมักใช้เพียงสีเดียว คือ สีดำ
ผู้ที่จะระบายได้อย่างสวยงามจะต้องมีทักษะการใช้พู่กันที่สูงมาก การระบายสีน้ำจะใช้น้ำ
เป็นส่วนผสม และทำละลายให้เจือจาง ในการใช้สีน้ำ ไม่นิยมใช้สีขาวผสมเพื่อให้มีน้ำหนัก
อ่อนลง และไม่นิยมใช้สีดำผสมให้มีน้ำหนักเข้มขึ้น เพราะจะทำให้เกิดน้ำหนักมืดเกินไป
แต่จะใช้สีกลางหรือสีตรงข้ามผสมแทน ลักษณะของภาพวาดสีน้ำ จะมีลักษณะใส บาง และ
สะอาด การระบายสีน้ำต้องใช้ความชำนาญสูงเพราะผิดพลาดแล้วจะแก้ไขยากจะระบายซ้ำ ๆ
ทับกันมาก ๆ ไม่ได้จะทำให้ภาพออกมามีสีขุ่น ๆ ไม่น่าดู หรือที่เรียกว่า สีเน่า สีน้ำที่มีจำหน่าย
ในปัจจุบัน จะบรรจุในหลอด เป็นเนื้อสีฝุ่นที่ผสมกับกาวอะราบิค ซึ่งเป็นกาวที่สามารถละลาย
น้ำได้ มีทั้งลักษณะที่โปร่งแสง ( Transparent ) และกึ่งทึบแสง ( Semi-Opaque ) ซึ่งจะมี
ระบุ ไว้ข้างหลอด สีน้ำนิยมระบายบนกระดาษที่มีผิวขรุขระ หยาบ
สีโปสเตอร์ POSTER COLOUR
สีโปสเตอร์ เป็นสีชนิดสีฝุ่น (Tempera) ที่ผสมกาวน้ำบรรจุเสร็จเป็นขวด การใช้งานเหมือน
กับสีน้ำ คือใช้น้ำเป็นตัวผสมให้เจือจาง สีโปสเตอร์เป็นสีทึบแสง มีเนื้อสีข้น สามารถระบายให้มี
เนื้อเรียบได้ และผสมสีขาวให้มีน้ำหนักอ่อนลงได้เหมือนกับสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิค สามารถ
ระบายสีทับกันได้ มักใช้ในการวาดภาพ ภาพประกอบเรื่อง ในงานออกแบบ ต่าง ๆ ได้สะดวก
ในขวดสีโปสเตอร์มีส่วนผสมของกลีเซอรีน จะทำให้แห้งเร็ว
สีชอล์ค PASTEL
สีชอล์ค เป็นสีฝุ่นผงละเอียดบริสุทธิ์นำมาอัดเป็นแท่ง ใช้ในการวาดภาพ มากว่า 250 ปีแล้ว
ปัจจุบัน มีการผสมขี้ผึ้งหรือกาวยางไม้เข้าไปด้วยแล้วอัดเป็นแท่งในลักษณะของดินสอสี แต่มีเนื้อ
ละเอียดกว่า แท่งใหญ่กว่า และมีราคาแพงกว่ามาก มักใช้ในการวาดภาพเหมือน
สีฝุ่น TEMPERA
สีฝุ่น เป็นสีเริ่มแรกของมนุษย์ ได้มาจากธรรมชาติ ดิน หิน แร่ธาตุ พืช สัตว์ นำมาทำให้ละเอียด
เป็นผง ผสมกาวและน้ำ กาวทำมาจากหนังสัตว์ กระดูกสัตว์ สำหรับช่างจิตรกรรมไทยใช้ ยางมะขวิด
หรือกาวกระถิน ซึ่งเป็นตัวช่วยให้สีเกาะติดพื้นผิวหน้าวัตถุไม่หลุดได้โดยง่าย ในยุโรปนิยมเขียนสีฝุ่น
โดยผสมกับกาวยาง กาวน้ำ หรือไข่ขาว สีฝุ่นเป็นสีที่มีลักษณะทึบแสง มีเนื้อสีค่อนข้างหนา เขียนสีทับ
กันได้ สีฝุ่นมักใช้ในการเขียนภาพทั่วไป โดยเฉพาะภาพฝาผนัง ในสมัยหนึ่งนิยมเขียนภาพผาฝนัง
ที่เรียกว่า สีปูนเปียก (Fresco) โดยใช้สีฝุ่นเขียนในขณะที่ปูนที่ฉาบผนังยังไม่แห้งดี เนื้อสีจะซึมเข้าไป
ในเนื้อปูนทำให้ภาพไม่หลุดลอกง่าย สีฝุ่นในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นผง เมื่อใช้งานนำมาผสมกับน้ำโดย
ไม่ต้องผสมกาว เนื่องจากในกระบวนการผลิตได้ทำการผสมมาแล้ว การใช้งานหมือนกับสีโปสเตอร์
ดินสอสี CRAYON
ดินสอสี เป็นสีผงละเอียด ผสมกับขี้ผึ้งหรือไขสัตว์ นำมาอัดให้เป็นแท่งอยู่ในลักษณะของดินสอ
เพื่อให้เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ใช้งาน มีลักษณะคล้ายกับสีชอล์ค แต่เป็นสีที่มีราคาถูก เนื่องจากมีส่วนผสม
อื่น ๆ ปะปนอยู่มาก มีเนื้อสีน้อยกว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถละลายน้ำ หรือน้ำมันได้ โดยเมื่อใช้
ดินสอสีระบายสีแล้วนำพู่กันจุ่มน้ำมาระบายต่อ ทำให้มีลักษณะคล้ายกับภาพสีน้ำ ( Aquarelle ) บางชนิด
สามารถละลายได้ในน้ำมัน ซึ่งทำให้กันน้ำได้
สีเทียน OIL PASTEL
สีเทียนหรือสีเทียนน้ำมัน เป็นสีฝุ่นผงละเอียด ผสมกับไขมันสัตว์หรือขี้ผึ้ง แล้วนำมาอัดเป็นแท่ง
มีลักษณะทึบแสง สามารถเขียนทับกันได้ การใช้สีอ่อนทับสีเข้มจะมองเห็นพื้นสีเดิมอยู่บ้าง การผสมสี
อื่น ๆใช้การเขียนทับกัน สีเทียนน้ำมันมักไม่เกาะติดพื้น สามารถขูดสีออกได้ และกันน้ำ ถ้าต้องการให้
สีติดแน่นทนนาน จะมีสารพ่นเคลือบผิวหน้าสี สีเทียนหรือสีเทียนน้ำมัน มักใช้เป็นสีฝึกหัดสำหรับเด็ก
เนื่องจากใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน และมีราคาถูก
สีอะครีลิค ACRYLIC COLOUR
สีอะครีลิค เป็นสีที่มีส่วนผสมของสารพลาสติกโพลีเมอร์ ( Polymer) จำพวก อะครีลิค ( Acrylic ) หรือ
ไวนิล ( Vinyl ) เป็นสีที่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ล่าสุด วลาจะใช้นำมาผสมกับน้ำ ใช้งานได้เหมือนกับสีน้ำ
และสีน้ำมัน มีทั้งแบบโปร่งแสง และทึบแสง แต่จะแห้งเร็วกว่าสีน้ำมัน 1 - 6 ชั่วโมง เมื่อแห้งแล้วจะมี
คุณสมบัติกันน้ำได้และเป็นสีที่ติดแน่นทนนาน คงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเก็บไว้ได้นาน ๆ
ยึดเกาะติดผิวหน้าวัตถุได้ดี เมื่อระบายสีแล้วอาจใช้น้ำยาวานิช ( Vanish ) เคลือบผิวหน้าเพื่อป้องกัน
การขูดขีด เพื่อให้คงทนมากยิ่งขึ้น สีอะครีลิคที่ใช้วาดภาพบรรจุในหลอด มีราคาค่อนข้างแพง
สีน้ำมัน OIL COLOUR
สีน้ำมัน ผลิตจากการผสมของสีฝุ่นกับน้ำมัน ซึ่งเป็นน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันลินสีด ( Linseed )
ซึ่งกลั่นมาจากต้นแฟลกซ์ หรือน้ำมันจากเมล็ดป๊อบปี้ สีน้ำมันเป็นสีทึบแสง เวลาระบายมักใช้สีขาว
ผสมให้ได้น้ำหนักอ่อนแก่ งานวาดภาพสีน้ำมัน มักเขียนลงบนผ้าใบ (Canvas ) มีความคงทนมากและ
กันน้ำ ศิลปินรู้จักใช้สีน้ำมันวาดภาพมาหลายร้อยปีแล้ว การวาดภาพสีน้ำมัน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือ
เป็นปีก็ได้ เนื่องจากสีน้ำมันแห้งช้ามาก ทำให้ไม่ต้องรีบร้อน สามารถวาดภาพสีน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ ๆ
และสามารถแก้ไขงาน ด้วยการเขียนทับงานเดิม สีน้ำมันสำหรับเขียนภาพจะบรรจุในหลอด ซึ่งมีราคา
สูงต่ำขึ้นอยู่กับคุณภาพ การใช้งานจะผสมด้วยน้ำมันลินสีด ซึ่งจะทำให้เหนียวและเป็นมัน แต่ถ้าใช้
น้ำมันสน จะทำให้แห้งเร็วขึ้นและสีด้าน พู่กันที่ใช้ระบายสีน้ำมันเป็นพู่กันแบนที่มีขนแข็งๆ สีน้ำมัน
เป็นสีที่ศิลปินส่วนใหญ่นิยมใช้วาดภาพ มาตั้งแต่สมัยเรอเนซองส์ยุคปลาย
แสงกับการมองเห็น
สีต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมของสี และยังขึ้นอยู่สภาพของแสงด้วย โดยที่
ในที่มีแสงว่างจัด ๆ สีจะดูอ่อนลง ในที่ที่มีแสงสว่างน้อยลง สีก็จะเข้มขึ้นด้วย และในที่ไม่มี
แสงสว่างเลยเราจะมองเห็นสีต่าง ๆ เป็นสีดำ ถึงแม้จะมีความเข้มของแสงเหมือนกัน แต่ถ้ามี
สภาพแวดล้อมของสีแตกต่างกัน เช่น สีแสดที่อยู่บนพื้นสีดำ จะดูอ่อนกว่าสีแสดที่อยู่บนพื้นสีขาว
และสีที่อยู่บนพื้นสีต่าง ๆ กันก็จะดูมีความเข้มต่างกัน สีที่บนพื้นสีเข้มจะมองเห็นเด่นชัดกว่าสี
ที่อยู่บนพื้นสีสว่าง เนื่องจากสีดำไม่สะท้อนแสงสีต่าง ๆ ทำให้ไม่รบกวนการมองเห็น
การมองเห็นของสีตรงข้าม การใช้สีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกันโดยนำมาวางอยู่เคียงคู่กัน
ทั้งสองสีจะส่งผลต่อคู่สีอีกสีหนึ่ง เราจะเห็นว่า สีเขียวที่อยู่บนสีแดงจะดูมีขนาดใหญ่กว่าสีแดง
ที่อยู่บนสีเขียว ทั้งสองสีต่างหักล้างค่าความเข้มของสีซึ่งกันและกัน จะทำให้ไม่ดูสดใสเท่าที่ควร
ปรากฎการณ์อีกอย่างหนึ่งของสีตรงข้าม คือ ภาพติดตา ( After Image )โดยการจ้องมองสีใด
สีหนึ่งที่สดจัด ในที่มีแสงสว่างจ้าสักครู่ จากนั้นไปจ้องมองที่กระดาษสีขาว จะปรากฎสีตรงข้าม
ของสีนั้น ๆ ขึ้นที่กระดาษสีขาวซึ่งเกิดจากอิทธิพลความแรงของสี
ภาพติดตาอีกลักษณะหนึ่ง ก็คือสีขาวกับสีดำ จากภาพเส้นตารางสีขาว บนพื้นสีดำ จะมอง
เห็นจุดตัดแนวตั้งกับแนวนอน ของเส้นตารางสีขาว มีสีเทา ๆ ลักษณะเช่นนี้เกิดจากอิทธิพลของสี
ตรงข้ามที่อยู่ข้างเคียงคือสีดำ และรูปสีขาวบนพื้นดำ จะดูใหญ่กว่ารูปสีดำที่อยู่พื้นขาว
ค่าน้ำหนัก Value
ค่าน้ำหนัก คือ ค่าความอ่อนแก่ของบริเวณที่ถูกแสงสว่าง และบริเวณที่เป็นเงาของวัตถุหรือ ความอ่อน- ความเข้มของสีหนึ่ง ๆ หรือหลายสี เช่น สีแดง มีความเข้มกว่าสีชมพู หรือ สีแดงอ่อนกว่าสีน้ำเงิน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังหมายถึงระดับความเข้มของแสงและระดับ ความมืดของเงา ซึ่งไล่เรียงจากมืดที่สุด (สีดำ)ไปจนถึงสว่างที่สุด (สีขาว) น้ำหนักที่อยู่ระหว่างกลางจะเป็นสีเทา ซึ่งมีตั้งแต่เทาแก่ที่สุด จนถึงเทาอ่อนที่สุด การใช้ค่าน้ำหนักจะทำให้ภาพดูเหมือนจริง และมีความกลมกลืน ถ้าใช้ค่าน้ำหนักหลาย ๆ ระดับจะทำให้มีความกลมกลืนมากยิ่งขึ้น และถ้าใช้ค่าน้ำหนักจำนวนน้อยที่แตกต่างกันมากจะทำให้เกิด ความแตกต่าง ความขัดแย้ง
แสงและเงา (Light & Shade) เป็นองค์ประกอบของศิลป์ที่อยู่คู่กัน
แสง เมื่อส่องกระทบ กับวัตถุ จะทำให้เกิดเงา แสงและเงา เป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่ กับความเข้มของแสง ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาจะเข้มขึ้น และในที่ที่มีแสงสว่างน้อย เงาจะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่างจะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอ ค่าน้ำหนักของแสงและเงาที่เกิดบนวัตถุ สามารถจำแนกเป็นลักษณะที่ ต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. บริเวณแสงสว่างจัด (Hi-light) เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด จะมี ความสว่างมากที่สุด ในวัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อนแหล่งกำเนิดแสงออกมาให้เห็นได้ชัด
2. บริเวณแสงสว่าง (Light) เป็นบริเวณที่ได้รับแสงสว่าง รองลงมาจากบริเวณแสงสว่าง จัด เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงออกมา และเริ่มมีค่าน้ำหนักอ่อน ๆ
3. บริเวณเงา (Shade) เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับแสงสว่าง หรือเป็นบริเวณที่ถูกบดบังจาก แสงสว่าง ซึ่งจะมีค่าน้ำหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง
4. บริเวณเงานเข้มจัด (Hi-Shade) เป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด หรือ เป็นบริเวณที่ถูกบดบังมาก ๆ หลาย ๆ ชั้น จะมีค่าน้ำหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด
5. บริเวณเงาตกทอด เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาของวัตถุทาบลงไป เป็นบริเวณเงาที่อยู่ ภายนอกวัตถุ และจะมีความเข้มของค่าน้ำหนักขึ้นอยู่กับ ความเข้มของเงา น้ำหนักของพื้น หลัง ทิศทางและระยะของเงา
ความสำคัญของค่าน้ำหนัก
1. ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง
2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
3. ให้ความรู้สึกเป็น 2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง
4. ทำให้เกิดระยะความตื้น - ลึก และระยะไกล้ - ไกลของภาพ
5. ทำให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ
ความหมายของรถจักรยานยนต์เวสป้า
ความเป็นมาของVESPA
ประวัติเวสป้า
ตอนสิ้นสุดสงครามโรงงานส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะผลิตอะไรได้ถนนและรางรถไฟถูกทำลายเรือต่าง ๆ ถูกทำลาย Tuscany มีร่องรอยมากมายจากสงครามรวมทั้งโรงงานของPiaggio ที่เมืองPontedera"Piaggio ถูกตั้งที่ Seastri Ponente ในเมืองเจนัวประเทศอิตาลีในปี ค.ศ.1881และเจริญเติบโตจนประสบผลสำเร็จภายใต้การผลัก ดันของRinaldoPiaggioลูกค้าของ Enrico ผู้ทำธุรกิจผลิตชิ้นส่วนของเรือด้วยความตั้งใจที่จะแ สดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางเทคโนโลยี Rinaldo พยายามขยายส่วนของเขาออกไปจากการผลิตส่วนประกอบเรือ เขาจึงคิดเริ่มผลิตรางรถไฟรถไฟ ปีค.ศ.1917 เขาได้เข้าทำกิจการต่อจากคนอื่นในการทำโรงงานผลิต เรือเร็วที่ Finale Ligune and Pisa ขณะที่มีสงครามลูกชายของเขาสองคนคือ Anmando และ Enrico ได้แบ่งกันทำธุรกิจ Anmando ควบคุม และจัดการ โรงงานที่ Sestri and Finale ส่วน Enrico ดูแลโรงงาน Tuscan ของ Pisa และPontedera หลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 เหลือแต่โรงงาน Finale Ligure และบางส่วนของ SestriGenoa เท่านั้นความคิดดั้งเดิม Enrico จึงได้ตัดสินใจที่จะหยุดการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินที ่ยาก และเป็น งานซับซ้อนหันมาผลิตเครื่องยนต์แบบง่ายในแบบ Four - Part P 108 ให้กับรถเวสป้า ที่โรงงาน Pontedera ซึ่งเคยผลิต radial engine (สำหรับเครื่องบิน) ซึ่งทำลายสถิติที่ทำไว้แล้ว 21 ครั้งก่อน นาย Enrico ยังเห็น ภาพการปรักหักพังที่เกิดขึ้นสงครามติดตาอยู่เขาเข้าใ จว่าการจะแข่งขันกับ North American Company เป็นเรื่องยาก เขาจึงคิดที่จะนำคนงานที่เคยเป็นหัวหน้าคนงานคนนั้นก ลับมาด้วยการที่มีเครื่องยนต์ พิเศษเหลืออยู่เพียงน้อยนิด จึงเกิดความคิดที่สร้างยานพาหนะเล็ก ๆไว้เดินทางขนส่งและสำรวจใน โรงงานคือ MP5 หรือโดนัลดัค ซึ่งในรุ่นนี้ทำจากซากชิ้นส่วนของเครื่องบินดังนั้นร ูปร่างมันจึงมีความน่าเกียจมากกว่าน่ารักอย่างเดียวก ับที่พวกคนงานในโรงงานเรียกเพราะมันมีรูปร่างแปลก ๆ มันคือ Scooter รถจักรยานยนต์คันเล็ก ๆ ที่มีล้อต่ำ ๆ ช่วยต่อการขับขี่ไม่สิ้นเปลืองน้ำมันและราคาไม่แพง Enrico เห็นว่ารถจักรยานยนต์ใหม่ของเขาจะต้องทำให้คนอิตาลีห ันมาขี่กันทั้งประเทศอิตาลีทั้งๆที่ประเทศอิตาลียังค งมีแต่ซากปรักหักพังและน้ำมันขาดแคลน CorradinoD'Ascanio ได้เป็นวิศวกรผู้ทำการออกแบบ และในเดือนธันวาคมปีค.ศ.1945.รถเวสป้ารุ่น MP6 ก็ถูกผลิตออกมาด้วยองค์ประกอบหลายอย่างที่สะดวกสบาย มีล้ออะไหล่ซึ่งขับขี่แบบง่ายๆถ้าในเวลาขับขี่รถติดก ็มีที่กำบังกันน้ำกระเด็นใส่จึงทำให้ประชาชนในประเทศ อิตาลีเริ่มรู้จักรถจักรยานยนต์แบบ Scooter เมื่อ Enrico ได้ฟังเสียงรถ MP6 เขาร้องออกมาว่า"มันเหมือนตัวต่อ ร้องเลย"ตั้งแต่นั้นมา Enrico ก็เลยให้ชื่อเสียงเรียงนามเรียกรถนี้ว่า Vespa ซึ่งแปลว่าตัวต่อในเดือนเมษายน ปี ค.ศ.1946 Piaggio และ บริษัทของเขา ได้หยิบเอา ความคิดที่ดีออกมาใช้ในการออกแบบ จากนั้นปีต่อ ๆ มาจึงผลิตรถเวสป้าในปีหนึ่งนั้น จะผลิตรถ vespa ออกมาหนึ่งรุ่นถึงสองรุ่น Dott. Enrico Piaggio เกิดเมื่อ 22 ก.พ. 1905 เป็นบุตรชายของ Rinaldo Piaggio จบการศึกษาที่ Genoa ทางด้าน Economic และ commerce เข้าร่วมธุรกิจของครอบครัวในปี 1928 ตำแหน่งผู้จัดการโรงงาน Pontedena ภายหลังในปี 1938 พ่อของเขาได้เสียชีวิตลง Enrico จึงได้รับภาระบริหารงานทั้งหมด University of Pisa มอบปริญญาเอกทางด้าน วิศวกรรมให้ Enrico เขาเสียชีวิตลงในปี 1965 หลังจากผลิตรถเวสป้า ส่งขายทั่วโลกครบ 1000000 คัน หลังสงครามโลกครั้งที่2 จบลง โรงงานของ Enrico ถูกทำลายจากาการทิ้งระเบิดของเยอรมัน ในช่วงของการฟื้นฟูเศรษฐกิจการต้องการพาหนะที่ประหยั ดมีมากจึงทำให้ Enrico เกิดความคิดที่จะนำชิ้นส่วนต่างๆ ในโรงงานนี้มาสร้างพาหนะนั้นนะ ที่มีคุณสมบัติระหว่าง Motorbike กับรถยนต์ในเดือนเมษายนปี 1945 Corradino DAscanio นักออกแบบในโครงการนี้ได้ ร่างภาพออกมาตัวถัง ทำจากเหล็ก แผ่นที่มีสันกระดูกกลางใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็ก 4-5 แรงม้า วางอยู่ตำแหน่งหลังเพื่อป้องกันการสกปรก ไม่เหมือนกับรถมอเตอร์ไซค์ทั่วๆๆไปที่นั่งมีบังลมป้อ งกันเสื้อผ้าและขาและสิ่งหนึ่งที่เขาบุกเบิกคือ การเปลี่ยนเกียร์ที่คันบังคับจากมือซ้ายและโยงไปยังเ ครื่อง เมื่อ Enrico ได้เห็นแบบร่างในครั้งแรกเขาตั้งชื่อมันว่า Vespa เพราะมีรูปร่างคล้ายๆๆตัวต่อ (Wasp)Classic Scooter คำว่า "scooter" ที่หมายถึงยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์นั้น มีการให้ความหมายกว้างขวางมาก หลายๆคนมองว่า scooter คือยานยนต์ที่มีล้อขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สีสรรสดใส และราคาประหยัด จุดเด่นของ scooter ก็คือเพื่อตอบสนองผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ทางช่าง scooter มีการวางจำหน่ายเป็นจำนวนมากในช่วงหลังสงครามโลกครั้ งที่สอง จนกระทั่งเริ่มมีการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กราคาถูกออกวาง จำหน่าย ความนิยมในการใช้ scooter จึงลดน้อยลงผู้ครองตลาดการจำหน่าย scooter ในช่วงปี 1950 คือ บริษัทของอิตาลี 2 แห่งคือ piaggio และ innocenti ซึ่งเป็นผู้ผลิต vespa และ lambretta ทำให้เป็นที่อิจฉาของ ผู้ประกอบการรายอื่นทั่วโลก ในขนะที่ยอดจำหน่ายสูงสุดของ scooter จะมีอายุเพียงสองทศวรรษเท่านั้น แต่โดยภาพรวมแล้ว scooter กลับมีอายุยืนนานถึงกว่า80ปี ข้อเขียนนี้เป็นการบรรยายสรุปการผลิต scooter เริ่มตั้งแต่ช่วงปี1900 และปิดท้ายด้วยการคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ในอนาคตขอ ง scooter จุดกำเนิด scooter (scooter origins) พื้นฐานที่สำคัญของ scooter ต่อสาธารณะก็คือการเป็นยานยนต์ส่วนตัวที่มีราคา ประหยัดจากผลของสงครามโลกทั้งสองครั้ง ผลในทางบวกที่เกิดขึ้นก็คือการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่า งรวดเร็ว ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง บริษัทวิศวกรรมทางการทหารมีการขยายตัวอย่างมาก และเมื่อสงครามสงบ จึงเกิดบริษัทวิศวกรรมหลายๆแห่งที่ไม่ต้องทำการผลิตเ พื่อกองทัพอีกต่อไป ดังนั้นบริษัทเหล่านี้จึงหันมามองตลาดยานพาหนะส่วนบุ คคลแทน หลายๆบริษัทได้หันมาพัฒนาประดิษฐ์กรรมที่ต่อมาเรียกข านกันว่า scooter scooter รุ่นแรกๆนั้น ไม่มีการจำหน่ายในปริมาณมาก สาเหตุอาจเป็นเพราะไม่ได้สนองตอบต่อความต้องการในการ เดินทางของผู้คนภายหลังสงคราม และก็เพียงเพื่อต้องการให้มีความแตกต่างกับมอเตอร์ไซ ด์ในยุคนั้นเท่านั้น scooter ในยุคแรกได้รับความนิยมพอสมควร แต่ก็ต้องปิดตัวเองไปในช่วงกลางทศวรรษ 1920 จนกระทั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่สองจึงได้เริ่มทำการผ ลิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อตอบสนองทางการทหาร บริษัทผู้ผลิตในอังกฤษ อิตาลี เยอรมัน และอเมริกา ได้ทำการผลิต scooter แบบธรรมดาๆเพื่อใช้ขนย้ายกองทหารพลร่มและทหารราบ ในอังกฤษมีการผลิตแบบ Welbike ซึ่งสามารถพับเก็บได้ ในอเมริกามีการผลิตแบบ Cushman ฝ่ายเยอรมันก็มี TWN ส่วนอิตาลีก็ทำการผลิตแบบ Volugrafo ซึ่งมีล้อหลังคู่ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ผู้คนเริ่มหันมาต้องการใช้ยานยนต์กันอีก บริษัทผู้ผลิตซึ่งต้องทำงานอย่างหนักในช่วงสงครามจึง มีศักยภาพพอที่จะทำการผลิตได้ ผลที่ตามมาก็คือเกิดการประดิษฐ์ scooter รุ่นที่สอง ในอิตาลี บริษัท Piaggio ซึ่งบริษัทผู้สร้างเครื่องบินในสมัยนั้นถูกห้ามทำการ ผลิตในปี 1945 ดังนั้นทางบริษัทตึงหันมาผลิต scooter ขนาดเล็กที่ใช้โครงสร้างตัวถังแบบชั้นเดียวแทน หลังจากผลิตรถรุ่นดังกล่าวได้ประมาณ 100 คัน จากนั้นจึงลงมือผลิตรุ่นที่ใช้ชื่อว่า Vespa (Wasp) ออกมารถรุ่นนี้มีความก้าวหน้ามากทั้งในด้านรูปทรงและ ด้านวิศวกรรม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของVespa ที่มีการวางจำหน่ายในท้องตลาดจนถึงกลางทศวรรษ1990 scooter รุ่นแรกที่มีขนาดเครื่องยนต์เพียง 98cc.ต่อมาได้มีการพัฒนาให้มีขนาด 125cc. 150cc.และ 200cc. ตามลำดับ ส่วนบริษัทยักษ์ใหญ่ Innoncenti แห่งมิลาน ได้ทำการเปิดตัวสินค้าด้วย Lambretta M (ต่อมาใช้ชื่อใหม่เป็น Model A)ออกมาในปี 1947 Lambretta ผลิตโดยใช้ตัวถังแบบเปิด(openframe)ทรงหลอด และไม่มีระบบป้องกันสภาพอากาศที่ดีนอกจากนั้นก็ไม่มี ระบบกันกระเทือนอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องอาศัยยางในล้อช่วยลดการกระแทก หลังจากนั้นไม่นานLambretta จึงทำการผลิตรุ่น B ออกมาแทน จากจุดนี้เอง ทั้ง Lambretta และ Vespa จึงได้ทำการแข่งขันกันอย่างหนัก เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งในการตลาด อย่างไรก็ตาม Lambretta ยังยึดรูปแบบทรงหลอดอยู่ แต่ในบางครั้งก็มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบขับเคลื่อนด้ วยเพลาไปใช้ระบบโซ่ หรือบางทีก็สลับกัน ส่วนทางด้าน Vespa นั้นก็ยังยึดระบบตัวถังแบบเหล็กชิ้นเดียวครอบตัวเครื ่อง และติดตั้งระบบเกียร์ไว้ใกล้ๆกับล้อหลัง การแข่งขันของทั้งสองบริษัทนี้เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆแม้กระทั่งในปัจจุบัน ผู้ใช้ scooter ก็ยังแบ่งเป็นสองกลุ่มอย่างชัดเจน ต้นทศวรรษ 1950 ทั้ง Vespa และ Lambretta สามารถสร้างยอดจำหน่ายได้มากชนิดที่วงการรถสองล้อไม่ เคยมีมาก่อน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นผลให้ผูผลิตรถจักรยานยนต์ และยานยนต์ชนิดต่างๆ เกิดการแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้ นผู้ผลิตบางรายจะเน้นที่รูปแบบและเครื่องยนต์ สำหรับบางรายยกเครื่อง scooter ใหม่หมด โดยการเปลี่ยนยานยนต์แบบประหยัด ให้กลายมาเป็นยานยนต์แบบเริดหรูและก้าวไกล ตลาดในขณะนั้นไม่สามารถรองรับความหลากหลายของสินค้าไ ด้ทั้งหมด ทำให้สินค้าบางตัวมีอายุสั้นมาก แม้จะเป็นสินค้าชั้นยอดก็ตาม สินค้าชั้นดีหลายๆชนิดไม่ประสบผลสำเร็จทางธุระกิจเลย จุดตกต่ำของ scooter เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1960 เมื่อผูบริโภคหันหลังไปนิยมใช้รถยนต์ขนาดเล็กที่มีรา คาถูก เช่น Fait 500 และ Fait Mini เป็นต้น ทั้งนี้เพราะป้องกันฝน และอากาศหนาวได้ดีกว่า ส่วนผู้ซื้อ scooter จะมีก็เพียงสมาชิกชมรมต่างๆที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไ ป ในทศวรรษ 1990 scooter ของยุโรปยังมีหลงเหลือให้เห็นได้พอสมควร ทว่าในปัจจุบันผู้ผลิตของญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และอิตาลี กำลังทำการผลิต scooter รุ่นที่สามออกมา โดยมีรูปทรงและภาพพจน์ที่สะดวกสบายต่อการขนส่ง มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และเสริมสีสรรที่โฉบเฉี่ยว เพื่อดึงดูดลูกค้าวัยรุ่นฐานะปานกลาง จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าอนาคตของ scooter จะเป็นอย่างไรต่อไป
แหล่งอ้างอิง http://iworld.exteen.com/20070701/vespa
ความหมายและประโยชน์ของจักรยานยนต์
พัฒนาการระบบคมนาคมในสังคมไทยที่นำไปสู่ระบบขนส่งที่ขนส่งรถมากกว่าขนส่งคน รัฐมุ่งลงทุนสร้างถนน เช่น การลงทุนกับทางด่วนที่ขนส่งรถยนต์ส่วนบุคคล มากกว่าลงทุนกับระบบขนส่งมวลชนที่ขนคนได้จำนวนมากๆ เช่น รถไฟ รถไฟฟ้า รถเมล์ เรือเมล์ เป็นต้น ระบบขนส่งมวลชนที่มีอยู่จึงไม่เพียงพอ ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่ตอบสนองความต้องการประชาชน
ความคล่องตัวและความประหยัด ของรถมอเตอร์ไซค์กลายเป็นทางเลือกอันดับ 1 ที่ช่วยแก้ปัญหาการเดินทางในชีวิตประจำวันของประชาชนโดยทั่วไปทั่งในเมืองและชนบท
ข้อดีของรถมอเตอร์ไซค์
ความนิยมใช้และเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์สูงขึ้น เพราะรถจักรยานยนต์ สร้างทางเลือกในการเดินทางแก่ประชาชน ด้วยต้นทุนการเงินส่วนบุคคลที่ต่ำกว่าระบบการขนส่งอื่นที่มีอยู่ ระบบขนส่งมวลชนก็ไม่จูงใจด้านราคา แต่กลับมีการปรับราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตลอกเวลา เช่น ค่าโดยสารรถเมล์ในกรุงเทพ ที่เพิ่มจากเที่ยวละ 4 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2547 เป็น 8 บาทในปี พ.ศ.2549 เพิ่มถึง 2 เท่าในเวลาเพียง 2 ปี ส่วนรถไฟฟ้านอกจากระยะทางไม่ครอบคลุมแล้ว ราคายังสูงมากอีกด้วย ดังนั้นโดยเปรียบเทียบแล้วการใช้รถมอเตอร์ไซค์จึงประหยัดกว่า
ที่สำคัญรถมอเตอร์ไซค์ให้อิสระในการเดินทาง ด้วยราคาที่ถูกกว่ายานพาหนะประเภทรถยนต์ เปิดโอกาสให้คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ ต้นทุนค่าบำรุงรักษาก็ต่ำ แถมยังประหยัดน้ำมัน
ท่ามกลางการจราจรที่ติดขัด การเดินทางด้วยรถมอเตอร์ไซค์มีข้อได้เปรียบที่มีความคล่องตัวสูง สร้างความยืดหยุ่นในการเดินทางและประสิทธิภาพทั้งเวลา และตอบสนองการใช้งานแบบเอนกประสงค์ ทั้งเพื่อเดินทางในชีวิตประจำวัน การพักผ่อน หรือกระทั่งเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพของพ่อค้า แม่ค้า พนักงานส่งเอกสาร รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ธุรกิจดิลิเวอรีต่างๆ ที่ส่งสินค้าด่วนถึงที่
ข้อเสียของรถมอเตอร์ไซค์
แม้มีคุณประโยชน์มากมาย แต่ข้อเสียข้อเดียวของรถมอเตอร์ไซค์ก็มากเพียงพอที่ทำให้ความพยายามที่จะผลักดันให้คนลดการใช้รถมอเตอร์ไซค์ลง ข้อเสียกล่าวคือ ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุที่รุนแรงและถึงตาย 750 เท่าเมื่อเทียบกับการเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง และ 1500 เท่าเมื่อเทียบกับรถไฟ
“ ยานยนต์ ที่จดทะเบียน 22 ล้านคัน เป็นรถจักรยานยนต์ 17 ล้านคัน คำถามคือ คนเราชอบนักหรือที่จะขี่รถจักรยานยนต์ ผมคิกว่าไม่ใช่ แต่จะบอกว่าใช่ก็ได้ ในแง่ที่ว่า ก็เขาไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้ ..ถ้าราทำให้คน 17 ล้านคน ที่พึ่งพารถจักรยานยนต์วันนี้ หันไปนั่งรถขนส่งสาธารณะได้สักครึ่งหนึ่ง จะมีความหมายมาก ลองนึกภาพคน 3 แสนคนในกรุงเทพ ที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้าทุกวันคนเหล่านั้นไม่มีวันตายเพราะอุบัติเหตุจราจร” ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ชี้ประเด็นความปลอดภัยโดยเทียบกับกรณีของญี่ปุ่น ที่พบว่า ชินคันเซน รถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น วิ่งมา 30 ปี รับส่งผู้โดยสาร 100 ล้านเที่ยว ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุจนคนเสียชีวิตแม้แต่ครั้งเทียว
ดังนั้นแม้การเดินทางด้วยรถมอเตอร์ไซค์จะต้นทุนต่ำ แต่กลับเป็นวิถีการเดินทางที่มีต้นทุนแฝงเร้นมาก หากเกิดอุบัติเหตุ ประกอบด้วย ต้นทุนความเสี่ยงส่วนบุคคล ต้นทุนครอบครัว และต้นทุนของสังคม
แหล่งอ้างอิง http://www.motorcycleclubhatyai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538841361
ประเภทและรุ่นของรถเวสป้า
เวสป้าออกมาทั้งหมด 138 รุ่น จนถึงปัจจุบัน
รุ่นเก่าๆ
§ Paperino - รุ่นแรก ผลิตในปี 1945 ที่ Biella
§ AMCA Troupes Aeról Portées Mle. 56 - ดัดแปลงโดยกองทัพฝรั่งเศส
§ VBC Super 150
§ VLB Sprint 150
§ VBB Standard 150
§ V9A
§ VNA
§ Vespa U - U มาจาก utilitaria (ภาษาไทย แปลว่า ประหยัด) เป็นรุ่นปี 1953 model ราคา 110 mila Lira ถูกผลิตออกมา 7000 คัน
§ GS 150
§ SS180
§ GS160
§ Standard 90 (3 spd)
§ Standard 50 (3 spd)
§ SS50 (4 spd)
§ SS90 (4 spd)-90 SS Super Sprint
§ 150 GL
§ 90 Racer
§ 125 TS
§ 100 Sport
§ 125 GTR
§ 150 Sprint Veloce
§ 180 SS Super Sport
§ Rally 180
§ Rally 200
§ Primavera 125 also ET3 (3 port version)
§ PK 50
§ PK 50 XL
§ PK 50 Roma (Automatic)
§ 50 S
§ 50 Special
§ 50 Special Elestart
§ 50 Sprinter / 50 SR (D)
§ 50 Special Revival
§ COSA 1 - 125cc, 150cc, 200cc
§ COSA 2 - 125cc, 150cc, 200cc
§ P80 / P80 E (France)
§ P80X/PX80 E (France)
§ PK 80 S / Elestart
§ PK 80 S Automatica / Elestart
§ PK100 S / Elestart
§ PK100 S Automatica
§ PK100 XL
§ PK125 XL / Elestart
§ PK 125 S
§ PK 125 E
§ PK 125 automatica (automatic tranny)
§ P 125 E
§ P200E
§ PX200EFL
§ PX200 Serie Speciale
§ T5 / Elestart (5 port engine 125cc P series)
§ T5 Classic (5 port engine 125cc P series)
§ T5 Millennium (5 port engine 125cc P series)
รุ่นล่าสุด
§ ET2 50 - 2stroke
§ ET4 50 - 4stroke
§ ET4 125 (Euro Model)
§ ET4 150 (US model)
รุ่นปัจจุบัน
§ Vespa S 50 และ 125
§ GT60° 250cc
§ LX 50
§ LX 125
§ LXV 125 (ครบรอบ 60 ปีของรุ่น LX 125)
§ LX 150
§ GT 125
§ GT 200
§ GTS 250
§ GTV 250 (ครบรอบ 60 ปีของรุ่น GTS 250)
§ PX 125
§ PX 150 (ผลิตใหม่ในอเมริกาและแคนาดา ในปี 2004)
§ PX 200
รุ่นพิเศษ
§ Montlhéry - ผลิตในปี 1950 เพื่อทำลายสถิติในงาน Montlhéry
§ Torpedo - ผลิตในปี 1951 วิ่งได้เร็วถึง 171 กม/ชม
แหล่งอ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B2
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการศึกษาวิจัยเรื่อง การฝึกออกแบบลายเส้น สี สีขาวดำ แสงเงา ชุด VESPA CLASSICครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติและสำรวจซึ่งมีขั้นตอนวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้
3.1 การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3.2 การกำหนดประชากรและการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.4 การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล
3.7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
3.1 การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการวิจัย มีดังนี้
1. ศึกษาค้นคว้า จากเอกสารโดยศึกษาจากหนังสือ บทความ แนวคิด ทฤษฎีงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ลายเส้น สี สีขาวดำ แสงเงา และ รถจักรยานยนต์ VESPA CLASSIC
2. ศึกษาขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบร่างภาพ
3. ศึกษาวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลภาคสนาม เป็นการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง และการสัมภาษณ์ เป็นกรณีศึกษาเพื่อผู้ที่ชื่นชอบในรถ CLASSIC และในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา
3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษา คณะอาจารย์ และ บุคคลทั่วไป
2. กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ที่ขับรถจักรยานยนต์ในมทร.รัตนโกสินทร์ ศาลายา
3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อสอบถามความคาดหวังของการฝึกการออกแบบลายเส้น สี สีขาวดำ แสงเงา ชุด VESPA CLASSIC มี 4 ด้าน คือ
1) ด้านความสวยงาม
2) ด้านการออกแบบ
3) ด้านการสังคม
4) ด้านความเหมาะสม
โดยแบ่งคำถามออกเป็น 3 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Check List)
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคาดหวังของการฝึกการออกแบบลายเส้น สี สีขาวดำ แสงเงา ชุด VESPA CLASSIC เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) โดยมีเกณฑ์ 5 ระดับของลิเคอร์ท (Likert Scale) ดังนี้
5 หมายถึง ระดับความคาดหวังมากที่สุด
4 หมายถึง ระดับความคาดหวังมาก
3 หมายถึง ระดับความคาดหวังปานกลาง
2 หมายถึง ระดับความคาดหวังนอย
1 หมายถึง ระดับความคาดหวังนอยที่สุด
ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามที่มีข้อคำถามปลายเปิด (Open Ended Form) เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็น ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ เพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกการออกแบบลายเส้น สี สีขาวดำ แสงเงา ชุด VESPA CLASSIC นอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้ในตอนที่สอง
การแปลความหมายค่าคะแนนเฉลี่ย ความคาดหวังของการฝึกการออกแบบลายเส้น สี สีขาวดำ แสงเงา ชุด VESPA CLASSIC นอกเหนือจาก คณะผู้วิจัยได้แปลความหมายของค่าคะแนนเฉลี่ยในแต่ละด้าน ดังนี้
1.00 - 1.49 หมายถึง คาดหวังในระดับน้อยที่สุด
1.50 – 2.49 หมายถึง คาดหวังในระดับน้อย
2.50 – 3.49 หมายถึง คาดหวังในระดับปานกลาง
3.50 – 4.49 หมายถึง คาดหวังในระดับมาก
4.50 – 5.00 หมายถึง คาดหวังในระดับมากที่สุด
3.4 ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ
การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังต่อไปนี้
3.4.1 ศึกษาเอกสาร การฝึกการออกแบบลายเส้น สี สีขาวดำ แสงเงา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.4.2 ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคอร์ท (Likert Scale)
3.4.3 นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในข้อ 1-2 มาสร้างแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง เพื่อสอบถามความคาดหวังของการฝึกการออกแบบลายเส้น สี สีขาวดำ แสงเงา ชุด VESPA CLASSIC
3.4.4 นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยในฐานะผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสมของเนื้อหา และภาษาที่ใช้โดยให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ เป็นการหาความเที่ยงตรง
3.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ได้นำข้อมูลตัวอย่างการวิจัย ที่เกี่ยวข้องมาเรียบเรียงข้อมูลที่หามาจาก หอสมุดแห่งชาติ มาเรียบเรียงเพื่อเขียนงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับของเราเอง
2. คณะผู้วิจัยนำแบบสอบถาม เพื่อมาแจกแบบสอบถามให้แก่นักศึกษาคณะอาจารย์และบุคคลทั่วไปภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา
3. คณะผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มาพิจารณาตรวจสอบความสมบูรณ์ของการตอบ พบว่าแบบสอบถามมีความสมบูรณ์ทั้ง 64 ชุด และแบบสัมภาษณ์ มีความสมบูรณ์ ทั้ง 10 ชุด สามารถนำไปใช้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
3.6 การวิเคราะห์ข้อมูล
คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลจากการรวบรวมข้อมูล มีลำดับดังนี้
1. นำแบบสอบถามมาตรวจสอบให้คะแนนแล้วนำไปวิเคราะห์ข้อมูล
2. วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา คณะอาจารย์และบุคคลทั่วไป การฝึกการออกแบบลายเส้น สี สีขาวดำ แสงเงา ชุด VESPA CLASSIC โดยทำการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ
3. วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความคาดหวังของนักศึกษา คณะอาจารย์และบุคคลทั่วไป ต่อการการฝึกการออกแบบลายเส้น สี สีขาวดำ แสงเงา ชุด VESPA CLASSIC โดยทำการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละคะแนนเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
4. สำหรับคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับความคิดเห็น ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ วิเคราะห์โดยแจกแจงความถี่
3.7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้
3.7.1 การคำนวณค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนมีดังนี้ (ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ 2531:59)
1. หาอัตราร้อยละ ใช้สูตร
ร้อยละของรายการใด = ความถี่ของรายการนั้น x 100 ความถี่ทั้งหมด
2. ค่าเฉลี่ย ใช้สูตร ดังนี้
เมื่อ X แทน คะแนนดิบ
แทน ค่าเฉลี่ย
N แทน จำนวนนักเรียน
แทน ผลรวม
3. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)โดยใช้สูตร(ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2534 : 74)
เมื่อ S.D. แทน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
แทน ผลรวมของคะแนนดิบของนักเรียน
แทน ผลรวมของคะแนนดิบของนักเรียนแต่ละคน
N แทน จำนวนนักเรียน
3.7.2 ความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามโดยใช้สูตร สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha-Coefficeint) ของครอนบาค (Cronbach.1970 : 161)
เมื่อ α แทน ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ
n แทน จำนวนข้อในแบบสอบถาม
แทน ผลรวมของค่าคะแนนความแปรปรวนเป็นรายข้อ
แทน คะแนนความแปรปรวนของแบบสอบถามทั้งฉบับ
ความคิดเห็น