คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : ชนิดของคำ ชวนคิด ตอนที่ 1
"นักเรียนทำความเคารพ" "สวัสดีครับ/ค่ะ"
คุณครูแมรี่ : "เอาล่ะค่ะ วันนี้เราจะมาเรียนกันเรื่องชนิดของคำนะคะ ก่อนอื่น มีใครรู้บ้าง คำมีกี่ชนิด"
"8 ชนิดค่ะ" เด็กหญิงที่อยู่ด้านหน้าคุณครูตอบ
"ถูกต้องจ้ะ เรามาเรียนกันเลยนะคะ
1.คำนาม คือ คำที่ใช้แทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ และกิริยาอาการต่าง ๆ คำนามแบ่งเป็น 5 ชนิด คืออะไรใครรู้บ้างคะ"
"สามานยนาม ลักษณะนาม สมุหนาม อาการนามครับ" เด็กชายเกียรติตอบ
"แล้วอีกหนึ่งอย่างใครรู้บ้างเอ่ย สงสัยจะนึกกันไม่ออก คำตอบคือ วิสามานยนามจ้ะ ปรบมือให้เกียรติหน่อย(แปะ แปะ) ครูจะเริ่มจากคำสามานยนามนะ
1.1 สามานยนาม เป็นคำนามสามัญทั่ว ๆ ไป อย่างเช่น นักเรียน เด็ก กระดาน ยางลบ บ้าน เป็นต้นค่ะ
1.2 วิสามานยนาม เป็นคำนามชี้เฉพาะเจาะจง มักจะมีสิ่งเดียวในโลก เช่น เด็กหญิงปู โรงเรียนรักษ์ไทยศึกษา เป็นต้น
1.3 ลักษณะนาม เป็นคำนามที่ใช้ลงท้ายคำนามอื่น เช่น รถ 2 คัน, กล้วยหลายหวี เป็นต้น
1.4 สมุหนาม เป็น..."
"ก๊อก ๆ" มีคนเคาะประตู "ใครจ้ะ" คุณครูถาม
ชนิดของคำ : สวัสดีครับ คุณครูกำลังสอนเรื่องคำนามใช่ไหมครับ นั้นผมสอนเองนะครับ ผมเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคำนาม คำสรรพนาม คำวิสามานยนาม ลักษณะนาม สมุหนาม และอาการนามครับ
คุณครู : ได้จ้ะ แล้วครูจะเป็นคนทิ้งท้ายนะ เมื่อกี้ถึงคำสมุหนามจ้ะ
ชนิดของคำ : ครับ ต่อเลยนะ ก่อนอื่น ทุกคนมองไปดูต้นไม้กลุ่มนั้นสิครับ
เด็กเด็กเดินไปดู พบว่ามีต้นไม้อยู่รวมกันเยอะแยะไปหมด
ชนิดของคำ : ต้นไม้กลุ่มนั้น ถ้าเรียกรวมรวมก็เป็นสมุหนามเหมือนกันนะครับ ทีนี้เรามาดูความหมายของสมุหนามกันดีกว่าครับ(เด็ก ๆ เดินไปนั่งที่)
1.4 สมุหนาม เป็นคำนามบอกหมวดหมู่ที่รวมกันเป็นกลุ่มครับ เช่น(ชนิดของคำยกภาพทหารขึ้นมา)กองทหาร น่าตลกไหมครับ ผมวาดเองนะ,(ชนิดของคำยกภาพหนังสือขึ้นมา) กองหนังสือ อันนี้ไม่ใช่น่าเกลียดหรอกครับ มันดูเหมือนโทรศัพท์มากกว่า(เด็ก ๆ ทั้งห้องหัวเราะ) เป็นต้นครับ
1.5 อาการนาม เป็นคำนามที่เรียกสิ่งไม่มีรูปร่าง มักจะมีคำว่า "การ" และ "ความ" ขึ้นตั้น อ้าว! พูดผิดนี่นา(เด็ก ๆ หัวเราะอีกแล้ว) เช่น ความสะอาด การเรียน การนอนหลับ แต่สังเกตดี ๆ นะครับ การบ้านไม่ใช่อาการนาม แต่เป็นสามานยนาม เพราะการบ้านมีตัวตนนะครับ
เรื่องนี้ยาวมากเพราะฉะนั้นครูจะไม่ให้ลองทำแบบฝึกหัดนะ ต่อเลยน้าคร้าบบบ........(เด็ก ๆ หัวเราะอีกแล้ว)
2.คำสรรพนาม เป็นคำที่ใช้แทนชื่อคน สัตว์ สิ่งของ เช่น ฉัน ผม เธอ เขา โยม อาตมา มัน เป็นต้น แบ่งเป็น 3 ชนิดนะคร้าบบบ........(เด็ก ๆ หัวเราะอีกแล้ว)
2.1 สรรพนามบุรุษที่ 1 เป็นสรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้พูด เช่น ผม ฉัน เป็นต้น
2.2 สรรพนามบุรุษที่ 2 เป็นสรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้ฟัง เช่น เธอ คุณ เป็นต้น
2.3 สรรพนามบุรุษที่ 3 เป็นสรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้ที่เรากล่าวถึง เช่น เขา มัน เป็นต้น
เรื่องนี้ก็ผ่านไปอย่างเรียบร้อย ต่อไปก็เป็น คำกริย้า....ยา...ยา(เด็ก ๆ หัวเราะอีกแล้ว)
3. คำกริยา เป็นคำที่บอกและแสดงท่าทาง กิริยาอาการต่าง ๆ เช่น เดิน กิน นอน เล่น กริยาแบ่งเป็นหลายชนิด แต่เรื่องอะไรจะบอกว่ากี่ชนิด ถ้าอยากรู้ก็ต้องดูตามนะครับ
3.1 กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ เช่น ขาย เก็บ เล่น อ่าน เป็นต้น
3.2 กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ เช่น เดิน วิ่ง ยืน ตก ล้ม เป็นต้น
นี่ไงครับ แค่นี้เอง เอาล่ะ ต่อไปก็เป็นคำบุพบท อ้าว! หมดเวลาแล้ว ถ้าอย่างงั้น การบ้านหน้า 12-16 ที่ครูไม่เอาถึงหน้า 20 เพราะครูยังไม่สอน เดี๋ยวเจอกันใหม่นะวันพรุ่งนี้ ยังอยู่ในเรื่องของคำนามอยู่นะ เอาล่ะหัวหน้าห้องบอกครับ"
"นักเรียนทำความเคารพ" "ขอบคุณครับ/ค่ะ"
เสร็จแล้วคุณครูแมรี่ก็พูดถึงเรื่องที่คุณครูชนิดของคำสอนมา
ความคิดเห็น