แนะนำคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.นเรศวร น่าสนใจแค่ไหน ไปดูกัน
ผู้เข้าชมรวม
22,011
ผู้เข้าชมเดือนนี้
8
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
สวัสดีจ้า วันนี้ว่างๆก็เลยอยากมาแนะนำคณะที่น่าสนใจให้เพื่อนๆได้ดูกัน
แอ่น แอ่น แอ๊นนนน....คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวรไง
ไปดูกันเลย.....
-------------------------------------------------------------------------
สภามหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มีมติเห็นชอบการจัดตั้งและแบ่งส่วนงานของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2544
ประวัติและความเป็นมา::::
ทบวงมหาวิทยาลัยได้ศึกษาความต้องการกำลังคนในสาขาวิชาที่ขาดแคลนแล้วพบว่า การผลิตบัณฑิตทางด้าน วิทยาศาสตร์สุขภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตามแผนการผลิตปกติยังไม่สามารถตอบสนองแผนพัฒนาสาธารณสุขของประเทศได้ จึงได้นำเสนอ คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกำลังคนในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้ง ปริมาณและคุณภาพ โดยได้จัดทำเป็นแผนการเพิ่มการผลิตบัณฑิตและพัฒนาการจัดการศึกษาซึ่งมีการเพิ่มการรับนิสิต และการพัฒนาอาจารย์ควบคู่กันไปด้วย ผลการศึกษาวิเคราะห์ ดังกล่าวข้างต้นได้กำหนดเป็น เป้าหมายจำนวนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในสาขาวิชาต่าง ๆ ต่อประชากรไว้ดังนี้ตารางที่ 1 แสดงอัตราส่วนบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากรจำนวนตามสาขาวิชา:::: ลำดับ สาขาวิชา อัตราส่วนบุคลากรทางการแพทย์
ต่อประชากรตามเป้าหมายกำหนดเป้าหมายไว้
ในปี พ.ศ.อัตราส่วนบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากรในปัจจุบัน เฉลี่ยทั่วประเทศ 1 สาขาวิชาแพทยศาสตร์ 1:2,000 2545 1:4,500 2 สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ 1:950 2544 1:1,200 3 สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ 1:9,800 2543 1:13,000 4 สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ 1:5,200 2546 1:8,500 5 สาขาวิชาสหเวชศาสตร์ 1:5,300 2546 1:10,100 ตารางที่ 2 แสดงอัตราส่วนบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชากรในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง... ลำดับ สาขาวิชา อัตราส่วนประชากร : แพทย์ 1 คน เฉลี่ย 9 จังหวัด พล. นว. สท. พบ. พจ. ตก. อต. กพ. อท. 1 สาขาวิชาแพทยศาสตร์ 4,458 6,845 10,331 13,137 12,878 6,669 10,608 17,317 8,146 1:10,500 2 สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ 1,450 1,563 1,605 1,620 1,770 1,450 1,625 1,700 1,610 1:1,538 3 สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ 14,300 15,500 15,380 16,430 15,470 15,470 15,150 16,340 15,130 1:15,580 4 สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ 9,800 10,500 11,000 11,200 10,400 10,850 11,210 12,100 12,080 1:10,080 จากเป้าหมายบุคลากรทางด้านวิทยาศาตร์สุขภาพต่อประชากรที่ได้ศึกษาไว้ดังกล่าว ข้างต้น สามารถนำมาคาดประมาณความต้องการบัณฑิตในสาขาวิชาต่าง ๆ ของประเทศในอนาคตได้ดังนี้ ตารางที่ 3 แสดงจำนวนบัณฑิตทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันและมีความต้องการอนาคต... ลำดับ สาขาวิชา จำนวนที่มีอยู่ในปัจจุบัน จำนวนที่ต้องการ
(ปี พ.ศ. ตามเป้าหมาย)1 สาขาวิชาแพทยศาสตร์ 14,400 34,800(2544) 2 สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ 48,749 68,292(2544) 3 สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ 4,600 7,000(2543) 4 สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ 9,500 12,800(2546) 5 สาขาวิชาสหเวชศาสตร์ 5,754 15,592(2546) รวม 135,484 เมื่อพิจารณาจำนวนบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันและจำนวนที่ต้องการในอนาคตและขีดความสามารถของสถาบันฝ่ายผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้วสามารถเพิ่มการรับนิสิตได้ส่วนหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการที่ได้คาดประมาณไว้ จึงจำเป็นต้องขยายแหล่งผลิตเพิ่มมากขึ้นและโดยปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งคือปัญหาการกระจายของบุคลากรในสาขาวิชาที่ขาดแคลน จากการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัยพบว่า ถ้ามีการตั้งคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสหเวชศาสตร์ ขึ้น ณ บริเวณใดแล้ว จะทำให้สัดส่วนของบุคลากรในสาขานั้นๆ ต่อประชากรดีขึ้น ดังนั้น ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดเป็นนโยบายให้ตั้งคณะวิชา/ภาควิชาใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในมหาวิทยาลัยภูมิภาค และมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างสถาบันที่ผลิตบุคลากรทางด้านนี้ที่กรุงเทพ-มหานครและที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงเป็นจุดที่ตั้งที่เหมาะสมที่จะผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพออกมารับใช้สังคมโดยเฉพาะบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ ในภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน มหาวิทยาลัยนเรศวรมีพื้นฐานการจัดการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอยู่แล้ว คือ คณะเภสัชศาสตร์ จึงได้รับนโยบายดังกล่าวมาจัดทำโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ เสนอขอปรับเข้าไว้ในแผนฯ 7 แล้ว และคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติให้ความเห็นชอบแนวทางการจัดการศึกษาของ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยให้มีการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนระดับ PRE-CLINIC ให้การสนับสนุนงานวิจัยกับอาจารย์และนิสิตในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ นิสิตในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ และสาขาวิชาสหเวชศาสตร์ ในระดับปริญญาตรีและผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาที่มีความต้องการเร่งด่วนทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ด้วย จุดเน้นอีกประการหนึ่งคือ การผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อสร้างอาจารย์และนักวิจัยในสาขาวิชาทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ให้เป็นผู้นำทางวิชาการในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก โดยจะสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อพัฒนาไปสู่การจัดหลักสูตรนานาชาติในสาขาวิชาต่าง ๆ อีกด้วย การกำหนดองค์กรขึ้นในลักษณะเช่นนี้ก็เพื่อปฏิรูปการบริหารงานให้เหมาะสมและคล่องตัวมากขึ้น เป็นการรวมภาควิชาที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนระดับ PRE-CLINIC ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกสาขาเข้าไว้ด้วยกันให้เป็นหน่วยงานที่มีความกะทัดรัดไม่ใหญ่โตเกินไป เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการมีความเป็นอิสระทางวิชาการสูงเพราะการสอนวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับ PRE-CLINIC นั้น จำเป็นจะต้องสร้างความแข็งแกร่ง มีการพัฒนาทางด้านวิชาการให้ผสมผสานกลมกลืนเข้ากับวิชาชีพแต่ละสายจึงจะทำให้จัดการเรียนการสอนหลักสูตรต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายได้บัณฑิตที่พึงประสงค์
ปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เปิดสอนหลักสูตรต่างๆดังนี้
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีการเปิดหลักสูตรคู่ขนานระหว่างนิติศาสตรบัณฑิต และวิทยาศาสตร์การแพทย์ขึ้นในปี 2546 และจะมีการปรับหลักสูตรวิทยา ศาสตร์การแพทย์ โดยเน้นนิติวิทยาศาสตร์ ในปี 2550 ตลอดจนคณะได้มีเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมทั้งความร่วมมือกับ ESR ประเทศนิวซีแลนด์ และ Sorenson Molecular Genealogy Foundation ประเทศสหรัฐอเมริกา ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ คณะได้มีการเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์นิติวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2546 โดยมหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัดตั้งงบประมาณ เป็นค่าครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ที่จำเป็นในเบื้องต้น ที่สามารถจะเริ่มดำเนินการบริการ และทำงานวิจัยทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ ในสภาวะสังคมปัจจุบันงานด้านนิติวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการแก้ปัญหาในเชิงกฎหมาย โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์เพื่อดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมตลอดจนการมีเหตุภัยพิบัติจากธรรมชาติ มีส่วนผลักดันให้ศูนย์นิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งดำเนินการในฐานะเครือข่ายของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ จำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือสังคมในการเปิดบริการ ตลอดจนทำงานวิจัยด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์พื้นที่และการนำยุทธศาสตร์สู่ภาคปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นการนำความรู้ทางนิติวิทยาศาสตร์ไปเพิ่มมูลค่าและพัฒนากระบวนการยุติธรรมของประเทศ
ปรัชญา
ล้ำเลิศวิชาการ เชี่ยวชาญงานวิจัย เพื่อไทยพัฒนา ก้าวหน้าสู่สากล
ปณิธาน
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มุ่งสนองตอบนโยบายของมหาวิทยาลัยในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีงามในการดำรงชีวิตและสร้างสรรค์สังคมในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากการค้นคว้า วิจัย เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ในระดับสากล ตลอดจนการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
ที่ตั้ง
ศูนย์นิติวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ชั้น 6 ตึก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ต. ท่าโพธิ์ อ. เมือง
จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์. 0-5526-1000 ต่อ 5320 , 5319 โทรสาร 0-5526-1197 , 0-5526-1000 ต่อ 5320
หากใครมีข้อสงสัยอันใดก้ถามมาได้นะจ้ะ หรือจะเข้าไปดูที่เวบไซต์
www.medsci.nu.ac.th
จ้า ไปก่อนนะ บะบาย
ผลงานอื่นๆ ของ คีตนันท์ / Night deviL ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ คีตนันท์ / Night deviL
"จุดเด่นของคณะ^^"
(แจ้งลบ)คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นอีกสาขาหนึ่งที่น่าเรียน เนื้อหาของคุณดีอยู่แล้ว แต่จะดีมากกว่านี้ ถ้าคุณจะกรุณาบอกลักษณะเด่น หรือจุดเด่นที่ชัดเจนกว่านี้ ^^ อ่านเพิ่มเติม
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นอีกสาขาหนึ่งที่น่าเรียน เนื้อหาของคุณดีอยู่แล้ว แต่จะดีมากกว่านี้ ถ้าคุณจะกรุณาบอกลักษณะเด่น หรือจุดเด่นที่ชัดเจนกว่านี้ ^^
^*+...ศัลกาลปังหา...+*^ | 15 มี.ค. 52
6
0
"จุดเด่นของคณะ^^"
(แจ้งลบ)คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นอีกสาขาหนึ่งที่น่าเรียน เนื้อหาของคุณดีอยู่แล้ว แต่จะดีมากกว่านี้ ถ้าคุณจะกรุณาบอกลักษณะเด่น หรือจุดเด่นที่ชัดเจนกว่านี้ ^^ อ่านเพิ่มเติม
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นอีกสาขาหนึ่งที่น่าเรียน เนื้อหาของคุณดีอยู่แล้ว แต่จะดีมากกว่านี้ ถ้าคุณจะกรุณาบอกลักษณะเด่น หรือจุดเด่นที่ชัดเจนกว่านี้ ^^
^*+...ศัลกาลปังหา...+*^ | 15 มี.ค. 52
6
0
ความคิดเห็น