ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สู้ศึก พิชิตฝัน แอดมิชชั่น'54 [FOR เด็กแอด ทุกท่าน]

    ลำดับตอนที่ #7 : >>>> O-NET ชง 2 ทางเลือก คาดใช้ ปี 54

    • อัปเดตล่าสุด 12 พ.ค. 53


    ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ

           ชง 2 ทางเลือกสอบ O-NET ป.6, ม.3 หลังคะแนนไม่นำไปใช้ประโยชน์ หวังลดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลาเด็ก พร้อมยกเลิกคิดคะแนนติดลบ เตรียมเสนอบอร์ด สทศ.พิจารณาต่อ คาดเริ่มใช้ได้ทันปี’ 54
           
           วันนี้ (22 มี.ค.) ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมสัมมนาเรื่อง รูปแบบข้อสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ในอนาคต โดยมีตัวแทนนักเรียน ครู และผู้ปกครองกว่า 50 คนเข้าร่วม ว่า ที่ประชุมเห็นด้วยกับการมีรูปแบบข้อสอบ O-NET ที่หลากหลาย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 5 รูปแบบคือ 1.ปรนัย 4 ตัวเลือกให้เลือก 1 คำตอบ 2.ปรนัย 4 ตัวเลือกให้เลือกมากกว่า 1 คำตอบ 3.ปรนัยหลายหมวดให้เลือก 1 หมวดแล้วจึงเลือกคำตอบจากหมวดที่เลือก 4.ปรนัยหลายหมวด แต่ละหมวดมีหลายตัวเลือกให้เลือกบางหมวดก่อน แล้วจึงเลือกคำตอบในหมวดนั้นๆ และ 5.ให้ระบายคำตอบที่เป็นตัวเลข แต่ที่ประชุมเห็นว่าการสอบในแต่ละวิชาไม่ควรมีหลายรูปแบบมากเกินไป เพราะจะทำให้ต้องเสียเวลากับการทำความเข้าใจข้อสอบในแต่ละรูปแบบ ส่วนเรื่องการให้คะแนนติดลบสำหรับนักเรียนที่ตอบผิดนั้น ที่ประชุมไม่เห็นด้วย ดังนั้นในเรื่องนี้ก็คงต้องยกเลิกไป
           
           ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือถึงการทดสอบ O-NET ชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ทุกคน ทุกกลุ่มสาระ ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้เข้าสอบประมาณ 2 ล้านคน เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 400 ล้านบาท แต่ไม่ได้นำคะแนนไปใช้ให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร โดยที่ประชุมได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และเห็นว่า ควรจะมีการเปลี่ยนแนวการทดสอบเป็น 2 ลักษณะคือ

    1.ในส่วนที่ไม่ได้นำผลคะแนน O-NET ของนักเรียนแต่ละคนไปใช้ เช่น ชั้น ป.6 และม.3 ที่ยังไม่มีการนำคะแนน O-NET ของนักเรียนรายบุคคลไปใช้ในการเข้าศึกษาต่อ ควรใช้วิธีสอบทุกคน ทุกกลุ่มสาระ แต่ให้เด็กแต่ละคนสอบเป็นบางข้อ เช่น ข้อสอบมี 100 ข้อ จะมีข้อสอบทั้งหมด 10 ชุด ให้เด็กแต่ละคนสอบคนละ 10 ข้อ แต่เมื่อประมวลผลจะประมวลจากข้อสอบทั้ง 10 ชุด ไว้เป็นคะแนนของโรงเรียน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย และสามารถนำผลไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนของโรงเรียนได้

    2.ในกรณีที่ต้องนำผลคะแนน O-NET ของนักเรียนแต่ละคนไปใช้เข้าเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น เช่น ชั้น ม.6 ที่ยังจำเป็นต้องใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ก็ต้องสอบในลักษณะเดิม คือสอบทุกคน ทุกข้อ ทุกกลุ่มสาระ
           

           “สทศ.จะนำข้อสรุปที่ได้จากการสัมมนาเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร สทศ.ในวันที่ 25 มี.ค.นี้ เพื่อพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ รูปแบบข้อสอบว่าในการสอบแต่ละวิชาจะมีกี่รูปแบบ และเห็นด้วยหรือไม่ในการเปลี่ยนแนวการทดสอบ โดยดูจากการนำผลคะแนนไปใช้ประโยชน์ ซึ่งหากบอร์ดเห็นด้วย ในชั้น ป.6 และ ม.3 ก็จะเริ่มเปลี่ยนการทดสอบได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้วย สำหรับในชั้น ม.6 นั้น จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ใดๆ นั้นที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยจะต้องแจ้งให้เด็กได้ทราบล่วงหน้า ดังนั้นหากจะปรับก็คงประมาณปี 2556” ผอ.สทศ.กล่าว

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×