ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    >>ทวีปยุโรป Europe<<

    ลำดับตอนที่ #2 : ลักษณะภูมิประเทศ

    • อัปเดตล่าสุด 2 ก.ย. 51


    ลักษณะภูมิประเทศของทวีปยุโรป สามารถแบ่งได้เป็น 4 เขต คือ

    1. เขตหินเก่าทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
    ประกอบด้วยเทือกเขาที่มีอายุเก่าแก่ซึ่งถูกธารน้ำแข็งกัดเซาะจนสึกกร่อน และพังทลายจนกลายเป็นที่ราบสูง ทำให้มี ชายฝั่งทะเลเว้าแหว่งมาก เรียกว่า
    ฟยอร์ด ( Fjord ) เทือกเขาหินเก่าที่สำคัญ คือ

    1.1 เทือกเขาเชอเลน ในคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย
    1.2 เทือกเขาแกรมเพียน ในสกอตแลนด์

    2. เขตที่ราบใหญ่ภาคกลาง
    เป็นเขตที่ราบใหญ่ที่สุดของทวีปยุโรปมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด ได้แก่ที่ราบด้านตะวันตกของประเทศ
    ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ที่ราบภาคเหนือของเยอรมนี โปแลนด์ ที่ราบบริเวณตอนใต้ของสหราชอาณาจักร
    เป็นเขตที่มีความสำคัญมากทางด้านเศรษฐกิจ มีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านหลายสาย
    ได้แก่ แม่น้ำลัวร์ แม่น้ำเซน แม่น้ำไรน์ แม่น้ำเอลเบ บริเวณแม่น้ำรูห์ในเขตประเทศเยอรมนีเป็นแหล่งถ่านหิน ที่สำคัญของยุโรป
    ที่ราบริมทะเลบอลติกในประเทศนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ ประกอบด้วยหินเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด เรียกว่า บอลติกชิลด์ ( Baltic Shield ) 

    3. เขตที่ราบสูงภาคกลาง
    เป็นที่ราบสูงและเนินเขาเตี้ยๆ เกิดจากการ สึกกร่อนพังทลาย ได้แก่
    • เมเซต้า ที่ราบสูงในภาคกลางของคาบสมุทรไอบีเรีย
    • มัสซิฟ ซองตรัล ( Massif Central ) ที่ราบสูงตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส
    • ป่าดำ ( Black Forest ) ที่ราบสูงตอนกลาง และภาคใต้ของประเทศเยอรมนี
    • โบฮีเมีย ( Bohemia ) ที่ราบสูงระหว่างพรมแดนประเทศเยอรมนี สาธารณรัฐ เช็กและสาธารณรัฐสโลวัก
    4. เขตภูเขาหินใหม่ทางภาคใต้
    เกิดจาการโก่งตัวของผิวโลก ได้แก่
    • เทือกเขาพีเรนีส ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศสเปน
    • เทือกเขาแอลป์ ทอดแนวจากตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส ผ่านเข้าไปในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ยอดเขาสำคัญของเทือกนี้ คือ มองบลังค์
    • เทือกเขาแอปเพนไนน์ ในคาบสมุทรอิตาลี
    • เทือกเขาไดนาริกแอลป์ ในคาบสมุทรบอลข่าน
    • เทือกเขาคอเคซัส อยู่ระหว่างทะเลดำ และทะเลสาบแคสเปียนมียอดเขา สูงที่สุดในโลก คือ เอลบรูซ ( Elbrus )
    credit : http://www.geocities.com/swerapan/europe.htm#eu4
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×