วท.บ. เทคโนโลยีวัสดุพอลิเมอร์ มศว หลักสูตรใหม่ถอดด้าม!!!!! - วท.บ. เทคโนโลยีวัสดุพอลิเมอร์ มศว หลักสูตรใหม่ถอดด้าม!!!!! นิยาย วท.บ. เทคโนโลยีวัสดุพอลิเมอร์ มศว หลักสูตรใหม่ถอดด้าม!!!!! : Dek-D.com - Writer

วท.บ. เทคโนโลยีวัสดุพอลิเมอร์ มศว หลักสูตรใหม่ถอดด้าม!!!!!

โดย Apit

อุตสาหกรรมพอลิเมอร์ทวีความสำคัญและเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ต้องการอย่างมากในปัจจุบัน น้องๆ คนใดที่สนใจเรียนทางด้านนี้ ก็ตามพี่มาทำความรู้จักกับศาสตร์แห่งพอลิเมอร์ ของ มศว ได้เลยคร๊าบบบบ

ผู้เข้าชมรวม

19,763

ผู้เข้าชมเดือนนี้

28

ผู้เข้าชมรวม


19.76K

ความคิดเห็น


56

คนติดตาม


5
เรื่องสั้น
อัปเดตล่าสุด :  22 มิ.ย. 54 / 18:13 น.


ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
           หลังจากที่สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้แยกออกมาเป็นคณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร มีือ 2 ปีที่แล้ว

             ในปีการศึกษา 2554 นี้ คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตรของเราขอนำเสนอหลักสูตรใหม่ถอดด้าม วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุพอลิเมอร์ (Polymer Materials Technology, PMT) ซึ่งไม่ค่อยมีหลักสูตรนี้ให้เห็นนักในประเทศไทย ใครอยากรู้ว่าเข้ามาที่นี่แล้ว จะได้เรียนอะำไร เรียนที่ไหน แล้วจบไปทำงานอะไร ก็ตามพี่มาเลยครับ ไปกันโลดดดดดดดดด
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
       

          

    พอลิเมอร์ คืออะไร?

               พอลิเมอร์ หรือที่รู้จักกันในนาม พลาสติก เป็นวัสดุที่มีโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งเราสามารถพบพอลิเมอร์ได้หลายกลุ่ม

    - พอลิเมอร์ธรรมชาติ เช่น ข้าว แป้ง โปรตีน เปลือกกุ้ง เปลือกปู เส้นใยพืช ไหม ดีเอ็นเอ ยางธรรมชาติและอื่นๆอีกมากมาย

    - พอลิเมอร์สังเคราะห์จากปิโตรเลียม เช่นพอลิเอธิลีน พอลิพรอพิลีน พอลิไวนิลคลอไรด์ พอลิสไตรีน ไนลอน และอีกมากมายหลายร้อยชนิด พอลิเมอร์พวกนี้ย่อยสลายยาก แถมส่วนใหญ่ยังพึ่งสารตั้งต้นจากน้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งจะหมดไปในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้าแต่ก็ยังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงในปัจจุบัน

                นอกจากพอลิเมอร์ 2 กลุ่มข้างต้นแล้ว น้องใหม่มาแรงอย่างพลาสติกชีวภาพซึ่งสังเคราะห์มาจากข้าวโพด แป้ง น้ำตาล หรือสาหร่าย
    ที่ผ่านกระบวนการหมัก เช่น พอลิเเลกติดแอสิด พอลิคาร์โปรแลคโตน พอลิบิวธิลีนซัคซิเนต และอื่นๆ อีกมากมาย พอลิเมอร์ในกลุ่มนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากสามารถผลิตได้มากใน ระดับอุตสาหกรรมทั้งยังย่อยสลายได้เมื่อถูกทิ้งลงดิน เจ๋งโคดๆคับน้อง

    และแน่นอนว่า พอลิเมอร์ทั้งหมดนี้ นิสิตสาขาเทคโนโลยีวัสดุพอลิเมอร์ มศว จะได้เรียนอย่างแน่นอนคับ



    สาขานี้เค้าเรียนอะไรกัน?
           น้องๆหลายคนคงสงสัยนะครับ ว่าแล้วเราจะต้องเรียนอะไรบ้างเพื่อจะจบไปและทำงานด้านนี้ได้อย่างมีคุณภาพ

         
    เฟรชชี่ ปี 1  นิสิตปีแรกของ มศว และทุกๆ มหาวิทยายลัย ในปีแรกก็ต้องเรียนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ร่วมกับกิจกรรมรับน้องใหม่ ซึ่งที่ มศว ของเรา เน้นความเป็นพี่น้อง มากกว่าการรับน้องแบบโหดๆ และที่สำคัญ น้องๆ ปี 1 จะได้สัมผัสกับวิชา เทคโนโลยีวัสดุพอลิเมอร์เบื้องต้น เพื่อปูทางด้านวัสดุพอลิเมอร์สู่การเรียนขั้นสูงต่อไป
         
         
    พอขึ้นปี 2 น้องๆ จะเริ่มได้เรียนวิชาของคณะ ซึ่งเป็นวิชาที่จะใช้ปูพื้นการเรียนด้านวัสดุพอลิเมอร์ของน้องๆ ให้แน่นยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เคมีเชิงฟิสิกส์ จุลชีววิทยา พอลิเมอร์จากชีวมวล  ชีวเคมี เคมีวิเคราะห์ เคมีอินทรีย์ วิชาพวกนี้เรียนไว้เพื่อเป็นพื้นฐานการวิเคราะห์ สังเคราะห์และดัดแปรพอลิเมอร์ทั้งจากปิโตรเลียม และพอลิเมอร์ชีวภาพ 

      
        เรียนไปเรียนมา เผลอแว๊บเดียว มาอยู่ปี 3 คราวนี้เจอของจริงครับ ทั้งการสังเคราะห์พอลิเมอร์แบบต่างๆ วิศวกรรมพอลิเมอร์ การทดสอบสมบัติพอลิเมอร์ กระบวนการขึ้นรูปพอลิเมอร์แบบต่างๆ น่าสนุกสุดๆครับ แต่อย่านึกว่าจะหมดแค่นี้นะครับ

         
    พอ ปี 4 น้องๆ จะได้เรียนรู้อะไรอีกมากมายเกี่ยวกับพอลิเมอร์ ทั้งสารเติมแต่งพอลิเมอร์ ธุรกิจพอลิเมอร์ วัสดุคอมพอสิต เส้นใย สิ่งทอ หรือแม้แต่นาโนเทคโนโลยี และอีกมากมายเลยครับ

    จุดเด่นของที่นี่มีอะไร?
           น้องๆ ที่จะสอบแอดมิชชัน หรือแม้แต่สอบตรง จะรู้ได้ทันทีเลยใช่มั๊ยครับว่า ในประเทศไทย มีกี่แห่งกันที่จะสอนด้านพอลิเมอร์โดยตรง ยิ่งไปกว่านั้น พี่ขอนั่งยัน และยืนยันเลยครับว่า ไม่มีหลักสูตรพอลิเมอร์ในระดับ ป.ตรีที่ไหน ที่น้องๆ จะสามารถเปลี่ยนข้าวโพด น้ำตาล หรือแป้ง โดยการหมักแล้วนำมาสังเคราะห์เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพเองได้อย่างของเรา เจ๋งมะล่ะ 555555 ยิ่งกว่านั้น พอลิเมอร์จากปิโตรเลียม ซึ่งเราใช้กันอยู่ทุกวันๆ เราก็ยังได้เรียนอย่างครบถ้วน แบบนี้เรียกเจ๋งยกกำลังสอง สนใจมาเรียนที่นี่รึยังครับ ถ้าสนใจแล้ว.....ไปกันต่อเลย.......


    เรียนที่ไหน?
           คงเป็นคำถามในใจน้องๆ หลายคนนะครับ ว่าเราเรียนที่ไหนกันแน่ ประสานมิตร หรือองครักษ์ ตอบได้เลยครับว่า สำหรับน้องๆ ปี 55 นี้

            ปี 1-2 น้องๆ เรียนที่ มศว ประสานมิตร
            ปี 3-4 เรียนที่ มศว องครักษ์ครับ

    แต่ ถึงจะต้องไปองครักษ์ แต่ก็อบอุ่นและไม่ไกลจาก กรุงเทพเลยนะครับ ใครไปอยู่แล้วจะติดใจ ยิ่งไปกว่านั้น ตึกคณะเราสวยมากมาย ดูจากรูปด้านบนนะครับ

    จบไปแล้วทำงานอะไร?
             น้องๆที่จบแล้วสามารถประกอบอาชีพในภาคการผลิตที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีวัสดุพอลิเมอร์ อันได้แก่
    - พลาสติก ยาง สิ่งทอและเส้นใย บรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุทางการแพทย์ เครื่องสำอาง อาหารและยา ฯลฯ

              โดยทำงานในฝ่ายปฏิบัติการและการผลิต ฝ่ายทดสอบ ควบคุมคุณภาพการผลิตและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด รวมทั้งทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และนักวิชาการด้านพอลิเมอร์ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สามารถประกอบอาชีพธุรกิจส่วนบุคคลและวิสาหกิจชุมชน


    ฉะนั้น ไม่ต้องกลัวตกงานเลยครับ บริษัท ห้างร้าน และองค์กรทางด้านนี้มีเยอะมากครับ

    มีสหกิจศึกษาให้เลือกหรือไม่?
           น้องๆ หลายคนคงอยากรู้นะครับ ว่าที่นี่มี สหกิจศึกษาหรือไม่ ตอบได้เลยครับว่าน้องสามารถเลือกแผนการเรียนแบบสหกิจศึกษาได้ โดยจะต้องไปทำงานจริงในโรงงานอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยทั้งในและต่างประเทศ หรือแม้แต่ในชุมชน ระยะเวลา 4-6 เดือนครับ เจ๋ง สุดๆ


    อยากเรียนที่นี่จะทำไงดี?
           น้องๆตั้งแต่ ปี 54 นี้ สามารถเข้ามาเรียนที่นี่ได้โดยการสอบแอดมิชชันกลาง และตั้งแต่ปี 55 มีให้เลือกทั้งสอบตรงของ มศว และแอดมิชชันกลางครับ

    ค่าเทอมเท่าไหร่?
         ค่าเทอมของคณะเรา 17,500 บาทขาดตัวแบบเหมาจ่าย และยังมีทุนสนับสนุนในระหว่างการศึกษา เช่น ทุนความประพฤติดี ทุนคณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมฯ ทุนมูลนิธิต่างๆ และน้องๆยังสามารถขอกู้ กยศ ได้ตามระเบียบอีกด้วย

            ที่พิมพ์มายืดยาว ก็ไม่ใช่อะไรครับ หากใครสนใจในศาสตร์ด้านนี้ ก็เก็บ สาขาเทคโนโลยีวัสดุพอลิเมอร์เข้าไว้ในอ้อมใจดวงน้อยๆ ของน้องๆ แล้วเรามาเป็นครอบครัวเดียวกันและมาเป็น PMT001 (รุ่นแรก) ใครสนใจดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://apit.swu.ac.th นะครับ

    สุดท้ายจริงๆ ฝากกลอนเพราะๆ สำหรับว่าที่ ลูกเทาแดงไว้แล้วกันครับ


    จะกล่าวเรื่อง เลือดสองนัย ให้ขบคิด
    เลือดในจิต เลือดในร่าง อาจต่างสี
    ใครว่าใคร ถูกตา ถ้าเข้าที
    ก็ยินดี ให้เลือดเปลี่ยน เลียนสีตาม
    ช่างใจใคร ใจมัน ฉันไม่รู้
    เขาอาจดู เลือดสง่า น่าเกรงขาม
    แต่เลือดฉัน มศว ก็งดงาม
    เลือด เทา-แดง คือความ ภาคภูมิใจ
    เราคือผู้ ที่ฉลาด อย่างอาจอง
    คือปราชญ์ทรง ศีลมั่น ไม่หวั่นไหว
    เทาหมายถึง สติกล้า ปัญญาไว
    แดงคงไว้ ความหาญแกร่ง แรงพลัง

    ขอบคุณกลอนเพราะๆ จากหนังสือ "เจ้าเนื้ออุ่นรุ่น 52 ครับ"


    *********************************************************************


    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น

    ×