ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Medical science

    ลำดับตอนที่ #1 : ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์

    • อัปเดตล่าสุด 23 มี.ค. 49


                                  ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.บูรพา

          ได้พัฒนามาจากกลุ่มงานวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีมติให้จัดตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2541 เพื่อรองรับการขยาย การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยทำหน้าที่ให้การศึกษา พัฒนา ค้นคว้า วิจัย ทางสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
          ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์จัด ให้มี การเรียนการสอนทั้งในภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ สัมมนา   รวมถึงการทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น  6  สาขาวิชา คือ สาขากายวิภาคศาสตร์ สาขาสรีรวิทยา สาขาเภสัชวิทยา สาขาวิทยาอิมมูน สาขาปรสิตวิทยา และสาขาพยาธิวิทยา



    การเรียนการสอน
         ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีหน้าที่รับผิดชอบให้การสอนนิสิต โดยมีสาขาวิชาต่างๆ ดังต่อไปนี้
     
    กายวิภาคศาสตร์
         เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง ความสัมพันธ์ และพัฒนาการของอวัยวะ ต่างๆในร่างกายมนุษย์ในภาวะปกติ
    สรีรวิทยา
         เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ และกลไกการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย มนุษย์ในภาวะปกติ
    เภสัชวิทยา
         เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของยา ฤทธิ์ของยาที่มีผลต่อระบบ ต่างๆ ในร่างกาย ประโยชน์ทางการรักษา ผลข้างเคียง และพิษที่เกิดจากการใช้ยา
    พยาธิวิทยา
         เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติทางโครงสร้าง ความสัมพันธ์ และการพัฒนาการของอวัยวะต่างๆในร่างกายมนุษย์
    วิทยาอิมมูน
         ศึกษาคุณสมบัติทั่วไปของภูมิคุ้มกันของมนุษย์ กลไกการตอบสนอง ของร่างกาย ต่อสิ่งแปลกปลอมทั้งแบบจำเพาะและไม่จำเพาะปฏิกิริยา ระหว่างแอนติเจนและ แอนติบอดี้รวมทั้งการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้อง ปฏิบัติการ โดยอาศัยหลักการ ทางน้ำเหลืองวิทยา เนื้อหาคลอบคลุมถึง บทบาทของภูมิคุ้มกันต่อโรคติดต่อ โรคมะเร็ง ผลเสียจากภาวะภูมิคุ้มกัน ผิดปกติ การปลูกถ่ายอวัยวะตลอดจนหลักการ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันใน การป้องกันโรค
    ปรสิตวิทยา
         ศึกษาถึงปรสิตชนิดต่างๆ เช่น โปรโตซัว หนอนพยาธิตัวแบน หนอนพยาธิตัวกลม และแมลงที่สำคัญทางการแพทย์ โดยเน้นปรสิตที่ พบมากในประเทศไทย ที่มีความสำคัญทางการแพทย์ ซึ่งจะศึกษาถึง ชีววิทยา รูปร่างลักษณะ วงจรชีวิต พยาธิสภาพและการก่อโรค ชนิดของสัตว์พาหะ แหล่งระบาด การแพร่กระจาย กลไกที่ร่างกาย ตอบสนองต่อปรสิตที่เข้าสู่ร่างกาย การรักษา และการควบคุมป้องกัน จนกระทั่งศึกษาความสัมพันธ์ของปรสิตและโฮสต์ อันเป็นเหตุและผล ของพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น และการสร้างภูมิต้านทานต่อปรสิต เพื่อ สามารถประยุกต์ใช้ในการป้องกันทำลายและควบคุมโรคที่เกิดจาก เชื้อปรสิต

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×