ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สวดมนต์ เจริญธรรม เจริญปัญญา

    ลำดับตอนที่ #1 : บทสวดมนต์พื้นฐาน พร้อมคำแปล

    • อัปเดตล่าสุด 17 มิ.ย. 55



    บทสวด สักการะพระรัตนตรัย

    อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อภิปูชะยามิ  ขอบูชาพระพุทธด้วยเครื่องสักการะนี้
    อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อภิปูชะยามิ 
    ขอบูชาพระธรรมด้วยเครื่องสักการะนี้
    อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อภิปูชะยามิ  ขอบูชาพระสงฆ์ด้วยเครื่องสักการะนี้


     บทสวดกราบพระรัตนตรัย

    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) 

    พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

    ข้าพเจ้า อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)

    พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์

    บทสวดนมัสการพระ

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็น ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็น ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็น ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

    บทขอขมาพระรัตนตรัย

    วันทามิ พุทธัง สัพพัง เมโทสัง ขะมะถะเมภันเต 
    ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ พระพุทธ เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง
    วันทามิ ธัมมัง สัพพัง เมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต 
    ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระธรรม เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง
    วันทามิ สังฆัง สัพพัง เมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต 
    ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระสงฆ์ เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง

    บทสวดไตรสรณคมณ์

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ                     ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ                                     ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก

    สังฆัง สะระณัง คัจฉาม                                     ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ      แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ                      แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก

    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ                      แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ   แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ                    แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก

    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ                    แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

    บทสวดพระพุทธคุณ

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธวิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

    พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ) เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

    บทสวดพระธรรมคุณ

    สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ *(* อ่านว่า วิญญูฮีติ)

    พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัตึพึงเห็นได้ด้วยตนเองเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน 

    บทสวดพระสังฆคุณ

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุค คะลาเอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย* ปาหุเนยโย* ทักขิเณยโย* อัญชะลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ(อ่านออกเสียง อาหุไนยโย ปาหุไนยโย ทักขิไณยโย โดยสระเอ กึ่งสระไอ)        


                  สงฆ์  สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว สงฆ์สาวกของพระ ผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัว บุรุษได้ ๘ บุรุษนั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×