ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หลักการเขียนนิยาย(ฉบับปรับปรุง)

    ลำดับตอนที่ #26 : ภาคผนวก : เสียงในหัว

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.78K
      16
      30 ก.ค. 57



    ภาคผนวก : เสียงในหัว

     

    พอเข้าสู่ภาคผนวกนี่ บอกตามตรงพี่สาวไม่มีอะไรจะแนะนำแล้วเท่าไหร่(เพราะเขียนไปทั้งหมด ควักตับไตไส้พุงให้อ่านกันตั้งแต่เนิ่นๆ จนถึงบทนี้แล้ว)
     

    แต่หากใครจำได้ ในสิ่งที่พี่สาวเคยบอกไว้ในบทเก่าๆ จะรู้ว่า ความรู้ไม่มีวันสิ้นสุด
     

     

    วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับเสียงในหัว
     

     

    เสียงในหัว หมายถึงการอ่านออกเสียง แต่เป็นอ่านในใจ โดยใช้เสียงในหัวเป็นตัวพูด ไม่ว่าจะเขียนแบบไหน เราจะใช้วิธีเล่าเรื่องผ่านเสียงในความคิด ประดุจดั่งมีเทพพระเจ้ากระซิบบอก
     

    เพราะการเล่าเรื่องในนิยาย บอกตามตรงหลักการมันอิงมาจากการเล่าเรื่องด้วยภาษา ซึ่งภาษาที่คนเราฟังติดหูที่สุด เข้าใจง่ายที่สุดก็คือภาษาพูด แต่กรณีนี้ใช้กับนิยายไม่ได้ ต้องมีการดัดแปลงนิดหน่อยให้เป็นภาษาเขียนสละสลวย
     

    ดังนั้นจึงเกิดการพลิกแพลงขึ้นมา

     
     

    ให้น้องๆ ลองจินตนาการว่าพี่สาวคนนี้กำลังพูดให้น้องๆ ฟังในบทความนี้ ซึ่งเสียงของพี่สาวก็เหมือนเสียงของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังนั่งพูด แล้วลองอ่านบทความในหลักการเขียนนิยายใหม่ ไม่ว่าจะเป็นบทใดก็ตาม น้องๆ จะได้ยินเสียงของพี่สาวกำลังนั่งสอนเขียนนิยายผ่านตัวอักษรเหล่านี้อยู่ และสามารถเพลิดเพลินได้ แม้มันจะเป็นแค่หลักการสอนเขียน ไม่ใช่นิยายเนื้อเรื่องสนุก แต่ก็ทำให้น้องๆ ได้อรรถรสเช่นกัน
     

     

    สำหรับเสียงในหัวนั้นมันมีอยู่กับทุกคนมาช้านานแล้ว แต่ส่วนมากพวกเราใช้มันไม่ถูกวิธีสักเท่าไหร่ และจะอธิบายให้เข้าใจกว่านั้นก็คือ เสียงของตัวน้องๆ เองที่ผุดขึ้นจากสมอง
     

    อีกชื่อหนึ่งเราเรียกว่าเสียงของความคิด
     

    เวลาที่คนเราทำอะไร คิดอะไรก็ช่าง พวกเราจะได้ยินเสียงนี้ภายในสมอง เสียงของตัวเราเองกำลังพูด กำลังกระซิบ กำลังวิเคราะห์ กำลังใช้จินตนาการ
     

    ซึ่งหากเรากำลังอ่านนิยายล่ะก็ เสียงพวกนี้สามารถแปลงร่างเป็นตัวละครตัวนั้น ตัวนี้ได้เช่นกัน ไม่ว่าคนเขียนจะเป็นหญิงหรือชาย ต่างก็สามารถแปลงร่างเสียงเป็นได้ในหลายๆ แบบ
     

    และทุกเสียงที่เราแปลงแล้วในการอ่าน จะซึมซับเข้าสู่สมอง ทำให้เราสนุกกับการอ่านได้ แม้ตัวหนังสือจะไม่มีเสียงให้ได้ยินก็เถอะ
     

    คราวนี้เสียงในหัวก็มีประโยชน์ตรงที่ หากเราใช้สวมบทบาทการเขียนเป็นใครในประโยคบทสนทนา เราก็จะได้น้ำเสียงและกริยาของเสียงด้วย
     

    เช่นว่าถ้าชายแก่ๆ คนหนึ่งจะพูดอะไรสักคำออกมา เสียงจะเป็นแบบไหน
     

    สำหรับเสียงในหัวของพี่สาว ชายแก่ที่ว่าจะต้องเสียงแหบ สั่นเครือ พูดช้าอ้อยอิ่ง
     

    และเรามาดูประโยคกัน
     

    อัสวันเอ๋ย เจ้ามายืนทำอะไรอยู่ที่นั่นชายแก่ร้องทักเสียงสั่นเครือ
     

    แน่นอนน้องๆ เริ่มจะเห็นภาพขึ้นมา(หากลองอ่านทวนสักสองรอบ และนึกถึงชายแก่ๆ พูด) หรือได้ยินเสียงจากประโยคบทสนทนานั้น เป็นเสียง
     

    เสียงที่พวกน้องๆ ทุกคนมี แต่ไม่ได้ใส่ใจกับมัน
     

     

    ซึ่งวิธีใช้เสียงพวกนี้ มันไม่ได้ใช้แค่การอ่านเพื่อรับความสนุกบันเทิง
     

     

    แต่เสียงในหัวยังสามารถใช้นึกคำในการเขียนประโยคได้อีกด้วย
     

     

    เช่นหากพี่สาวกำลังนึกจะเขียนนิยายล่ะก็ ตอนเรียบเรียงประโยคคงเรียบเรียงเป็นเสียงในหัวก่อน เป็นเสียงของใครสักคนกำลังเล่าเรื่อง(หากเป็นมุมมองบุคคลที่หนึ่ง) หรือใครสักคนกำลังบรรยายสารคดี(หากเป็นมุมมองบุคคลที่สาม)

             แน่นอน น้องๆ ทุกคนก็น่าจะทำแบบนี้(แต่ไม่ได้ใส่ใจมากเท่าไหร่)

     

    ซึ่งทริคภาคผนวกของบทนี้คือ จินตนาการเสียงในหัวของน้องๆ ใหม่สิ เช่นตอนบรรยายฉาก ลองใช้เสียงในหัวดู เป็นเสียงที่นึกได้จากรายการของสารคดีอะไรสักอย่าง เช่น สำรวจโลก หรืออื่นใดก็ตามที่น้องๆ เคยได้ดู
     

    น้องๆ จะพบว่ามันได้อรรถรสในการเขียนมากขึ้น และประโยคบทสนทนาน้องๆ ก็นึกเสียงในหัวตามว่าน่าจะเป็นแบบไหน
     

    เพราะตัวตนของเสียงในหัวเป็นได้ทุกอย่างด้วยจินตนาการของเรา
     

    หากพวกเรารู้จัก คุ้นเคยกับเสียงในหัวนี้ จะรู้เลยว่า เป็นนักเขียนไม่ยากอย่างที่คิด
     

     



    จบบทแล้วจ้า
     

    หลังจากห่างหายให้คิดถึงกันเสียนาน ภาคผนวกก็เข้าสู่บทที่สอง ที่ไม่ยาว แต่รวมเทคนิคสูงๆ ที่มีนอกเหนือจากคำแนะนำทั่วไป หวังว่าน้องๆ คงจะได้ประโยชน์จากเสียงเหล่านั้น
     

    หากใครมีเสียงในหัวแล้ว ขอเสียงหน่อย ^^

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×