ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หลักการเขียนนิยาย(ฉบับปรับปรุง)

    ลำดับตอนที่ #11 : มาตรวจสอบนิยายของเราว่า 'โอเค' หรือยัง ด้วยวิธีแบบง่ายๆ

    • อัปเดตล่าสุด 20 มี.ค. 56


     



    มาตรวจสอบนิยายของเราว่า โอเคหรือยัง ด้วยวิธีแบบง่ายๆ

     

     

     

     

     

    โดยส่วนมากแล้วนักเขียนนิยายมักไม่รู้ตัวมาก่อนว่าที่ตัวเองเขียนลงไป ดีพอแล้วหรือยัง ซึ่งวิธีตรวจสอบแบบง่ายๆ และได้ผลนั้น พี่สาวได้ยกนำมาบอกเล่ากันอีกแล้ว

     

    อยากรู้ไหมงานของเราทำไมภาษามันไม่ไหลลื่น ทำไมมีคนบอกว่าภาษาเราไม่ดีพอกันนะ

     

    วิธีตรวจสอบนั้นให้ลองอ่านออกเสียงดู ถ้าตรงไหนอ่านแล้วติดขัดล่ะก็ ตรงนั้นมักจะมีคำที่ใช้เชื่อมประโยคไม่ได้ผลแปะติดอยู่

     

    ถ้าอ่านออกเสียงแล้วสะดุดนี่ ยอมรับได้เลยว่าไม่ไหลลื่นชัวร์ เพราะภาษาเขียนที่ดี เวลาอ่านออกเสียงมันต้องไหลลื่นสื่อความหมายได้สละสลวย และชัดเจน ไม่วกวน

     

    ตะเข็บของประโยค คำเชื่อมต่างๆ ที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป เช่น จะ ที่ จึง ถ้า หาก กับ กลับ ก่อน หลัง ใน ซึ่ง ฯลฯ

     

    คำเหล่านี้บางทีก็ทำให้ตะเข็บรอยต่อของประโยคอ่านได้ไหลลื่น แต่บางทีก็ทำให้สะดุดได้เช่นกัน

     

    แล้วก็ การเว้นวรรค

     

    สังเกตได้เลยว่า แม้เราอ่านในใจก็ยังมีการกำหนดลมหายใจตามแบบการอ่านออกเสียงอยู่ดี เพราะความเคยชินของมนุษย์ในการใช้ภาษาพูดสื่อสารกัน ซึ่งถ้าประโยคไม่ได้เว้นวรรคให้พักหายใจล่ะก็ คนอ่านก็ไม่รู้จะวรรค หรือพักลมหายใจกันตรงไหน จึงทำให้บางทีคนอ่าน-อ่านสะดุดไม่เป็นท่า เพราะไม่รู้จะหยุดพักประโยคตรงไหน(คนเขียนไม่ได้เว้นให้)

     

    มันทำให้ลมหายใจของเรื่องกระตุก!!

     

    ลมหายใจของเรื่องที่ทำให้อ่านไม่สะดุด คือการเน้นเขียนตามภาษาพูด เหมือนเวลาเราเล่าเรื่องๆ หนึ่งให้ชาวบ้านเขาฟังด้วยการพูด ซึ่งมันได้ผลดีกว่าการหยุดลมหายใจของเรื่องด้วยบทบรรยายแบบไร้จังหวะ

     

    ยกตัวอย่างถึงนักพูดที่ดี เช่น เฮีย โน้ส แต้อุดม ของเรานั่นเอง

     

    สังเกตไหมว่า ชายคนนี้มีจังหวะในการเล่าเรื่อง มีการหยุดพักจังหวะความต่อเนื่องที่ลื่นไหล ทำให้คนอ่านอินเข้าไปในสิ่งที่ตัวเขาพูดเองได้แบบไม่รู้สึกเบื่อ!!

     

    และถ้าใครพูดแบบหูดับตับไหม้ หรือพูดเฉื่อยๆ ไม่กำหนดจังหวะของเรื่องที่จะเล่า มันก็ไม่น่าสนุกใช่ไหมล่ะ

     

    เรื่องเดียวกัน คนพูด คนละคน ความสนุกที่ได้ต่างกัน นั่นเพราะจังหวะและลมหายใจของเรื่องแตกต่างกัน

     

    ดังนั้น ไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นเพลง ภาพยนตร์ ละคร นิยาย การ์ตูน ก็ล้วนแล้วแต่มีลมหายใจของเรื่องกันทั้งนั้น

     

    อย่างเพลง ถ้าเพลงไหนจังหวะไม่ดี แต่เนื้อร้องดีมาก มันก็ไม่ช่วยให้น่าฟัง หรือฟังแล้วรำคาญอยู่ดี แม้เนื้อร้องจะวิเศษวิโสขนาดไหนก็ตาม

     

    ส่วนภาพยนตร์ + ละคร ถ้ากำหนดฉาก และคิวเข้าฉากไม่ดี ก็ทำให้คนดูอินไม่ได้ เช่นฉากที่ผีจะโผล่ออกมาในหนังผี ก็มักจะมีการเว้นวรรคให้อารมณ์กลัวสูงขึ้น ก่อนที่มันจะออกมาหลอก(พร้อมเสียงดังๆ ของซาวด์เอฟเฟค)

     

    คงไม่มีหนังผีเรื่องไหน ที่ทำให้คนดูกลัวได้ ถ้าผีโผล่ออกมาโดยแบบไร้จังหวะ หรือคิวที่มันต้องเข้าฉาก เช่นว่าจู่ๆ ก็เห็นผีเลย(คนดูตกใจแวบเดียว แล้วก็หาย) แต่ถ้ามีการเว้นจังหวะอย่างเรื่องที่ 4 ของ 4 แพร่ง น้องๆ คงยังจำได้ใช่ไหมว่าจังหวะจะโคนต่างๆ ทำให้น้องๆ สัมผัสถึงบรรยากาศของเรื่องได้มากขึ้นเท่าไหร่

     

    หนังผีที่มีการเรียง(ฉาก คิวเข้าฉากที่ดี) ลมหายใจของเรื่องที่ดี ก็ทำให้น้องๆ หลอนไปอีกหลายวัน

     

    การ์ตูน ก็ยังต้องมีการเว้นช่อง กำหนดความใหญ่ของช่องให้เข้ากับอารมณ์เพื่อที่จะสร้างอารมณ์ให้คนอ่านเข้าถึงได้มากขึ้น เช่นฉากเปิดตัวของตัวละคร หรือฉากต่างๆ ที่ต้องใช้อารมณ์ตกใจ ก็จะมีการใช้เส้นแสดงพลังที่ด้านหลัง

     

    แล้วทำไม นิยาย ถึงจะไม่มีลมหายใจเหมือน ความบันเทิงแบบอื่นๆ ล่ะ?

     

    แน่นอนมันมีเจ้าค่ะ แต่พวกน้องๆ ลืมนึกถึงมันแต่นั้นเอง

     

    ถ้าเรื่องไหนมีภาษาไหลลื่น ลมหายใจของเรื่องไหลลื่น การต่อประโยคไม่ขัด

     

    สังเกตได้ว่า แม้เรื่องนั้นจะน่าเบื่อสักแค่ไหน คนอ่านก็ทนอ่านต่อไปได้

     

    และในบทนี้ พี่สาวขอฝากฝังว่า อย่าลืมกลับไปดู ลมหายใจของเรื่องที่พวกน้องๆ แต่งไว้นะเจ้าคะ

     

    ความสำคัญของมันอยู่ที่จังหวะ และการที่อ่านที่ไม่ติดขัดเท่านั้นเอง(ไหลลื่นเป็นสายน้ำ)

     

     

    จบไปอีกบท ไม่เคยคิดว่าเจ้าบทความแนะนำเนี่ย จะมาถึงบทที่ 11 เลยด้วยซ้ำ แต่มันก็มาถึงแล้ว ยังมีอีกหลายเรื่องที่อยากจะเขียนให้น้องๆ ได้ประโยชน์จากการอ่าน ซึ่งใจจริงแล้ว พี่สาวตั้งใจจะเขียนให้จบเพียง 10 ตอน แต่มันก็เกินมาจนได้(ยังไม่ได้ตรวจคำผิดเลย ใครเจอช่วยบอกด้วยนะคะในบทนี้ เพื่อประโยชน์แก่คนอ่านรุ่นหลัง)

     

    เอาเป็นว่าใครอ่านได้สาระแล้วนำไปใช้จริงได้ก็น่าจะเป็นประโยชน์กันมากแหละเจ้าค่ะ ใครมีอะไรดีๆ มาแชร์กันก็บอกเล่าผ่านทางคอมเม้นต์ หรือกลุ่มของพวกเราได้เลย

     

    เร็วๆ นี้พี่สาวจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เรื่องสั้น แนวให้กำลังใจ อย่าลืมคลิกเข้าที่กลุ่ม เพื่อไปติดตาม ตามติด หารายละเอียดเพื่อเข้าร่วมกันนะคะ ถือว่าเอาเวลามานั่งฝึกปรือฝีมือ และมีคนคอยแนะนำไปในตัวด้วย

     

    สุดท้ายนี้พี่สาวก็ได้แอบเอานิยาย วรรณกรรมเยาวชนฝีมือพี่สาวเองมาลงไว้ด้วย ถ้ารักกันก็ตามไปอุดหนุนกันด้วยนะเจ้าคะ  สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ
     

     แก้ไขคำผิดโดย เจ้าลม
     

    นิยายที่ฝาก

     

    [ AINE LENNET ] คลิกโลด!!

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×