ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เอะ!!!!มีอยู่ในประเทศไทยดัวยหลอ

    ลำดับตอนที่ #4 : อะไรเอย!!!....ทุ้งกว้างใหญ่ ดอกไม้งามตา อะไรหน้อ

    • อัปเดตล่าสุด 28 ก.พ. 50





    ดูภาพนี้แล้วคงจะคุ้นๆกันแล้วใช่ป่าว ว่าที่นี้ที่ไหน 
    ดูต่อไปละกันว่า ประเทศไทยน่ะ  มีดี


    ทุ่งดอกกระเจียว

     

     

     




    ข้อมูลทั่วไป

    ทุ่งดอกกระเจียว เปรียบเสมือนเป็นราชินีแห่งมวลดอกไม้ของขเขาแห่งนี้ ที่ทุกคนตั้งใจมาดู มาชมความงามตระการตา ดอกสีชมพูอมม่วงที่ดารดาษไปทั้งผืนป่า ตัดกับสีเขียวขจีของหญ้าเพ็กและโขดหิน ประดุจเทพจากสรวงสวรรค์ประทานให้กับแผ่นดินที่นี่ เป็นทุ่งดอกกระเจียวที่ใหญ่ที่สุดและงดงามที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้

    อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 270 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดชัยภูมิประมาณ 100 กิโลเมตร 


    การเดินทาง :

    การเดินทางสู่ อุทยานแห่งชาติป่าหินงามนับว่าค่อนข้างสะดวก โดยเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรีไปยังสามแยกพุแค แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 ไปยังบ้านลำนารายณ์ จากนั้นเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 เส้นทาง ลำนารายณ์-ลำสนธิ-เทพสถิต-หนองบัวโคก-นครราชสีมา เดินทางจากบ้านลำนารายณ์ประมาณ 48 กิโลเมตร ก่อนถึงที่ทำการอำเภอเทพสถิตประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปอำเภอหนองบัวระเหว ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2354 ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตรถึงทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านไร่ ใช้ระยะทางอีกประมาณ 14 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม

    ระยะทาง
    สระบุรี-ลำนารายณ์ 92 กิโลเมตร
    ลำนารายณ์-เทพสถิต 48 กิโลเมตร
    เทพสถิต-อุทยานฯ 29 กิโลเมตร


    สิ่งอำนวยความสะดวก :

    อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ได้จัดเตรียมสถานที่สำหรับกางเต็นท์พักแรมไว้ให้บริการ ที่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ และที่บริเวณด่านตรวจ

    ติดต่อขอรายละเอียดต่างๆเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ตู้ ปณ.2 ปทจ.เทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ 36230 โทร.(01)930-7581

















     
    จุดเด่นที่น่าสนใจ :

    ลานหินงาม
    เป็นลานหินที่มีรูปร่างแปลกในพื้นที่กว่า 10 ไร่ เกิดจากการกัดเซาะเนื้อดินและหินในส่วนที่จับตัวกันอย่างเบาบางหลุดออกไป นานวันเข้าจึงเกิดโขดหินที่มีรูปลักษณ์แตกต่างกันมองดูสวยงามเป็นที่อัศจรรย์ สำหรับลานหินงามนี้อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของที่ทำการอุทยานฯ มีทางรถยนต์เข้าถึง

    จุดชมวิวสุดแผ่นดิน
    เป็นหน้าผาสูงชันและเป็นจุดที่สูงที่สุดของเทือกเขาพังเหยซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม สูงประมาณ 846 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เกิดจากการยกตัวของพื้นที่เป็นที่ราบสูงอีสาน จึงเป็นรอยต่อระหว่างภาคกลางกับภาคอีสาน ทำให้เรียกบริเวณนี้ว่า "สุดแผ่นดิน" ณ จุดนี้จะเห็นทิวทัศน์ของสันเขาพังเหยและเขตพื้นที่ป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จุดชมวิวนี้อยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ทำการอุทยานฯระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร

    ทุ่งดอกกระเจียว
    กระเจียวเป็นพืชล้มลุกประเภทหัว เป็นพันธุ์ไม้ประจำถิ่นที่ขึ้นมากที่สุดในประเทศไทย ณ ที่แห่งนี้ ปกติจะพบขึ้นกระจายทั่วไปตั้งแต่ลานหินงามจนถึงจุดชมวิวสุดแผ่นดิน 1 กิโลเมตร ดอกกระเจียวจะขึ้นและบานเป็นสีชมพูอมม่วงในช่วงต้นฤดูฝนเท่านั้น คือเดือนมิถุนายน-สิงหาคมของทุกปี

    ดอกกระเจียว กระเจียวบัว ปทุมมาหรือบัวสวรรค์
    เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันติดปาก เป็นพันธุ์ไม้ประจำถิ่นที่ขึ้นมากที่สุดในประเทศไทยที่อุทยานฯแห่งนี้ ปกติจะขึ้นปะปนกับหญ้าเพ็กซึ่งเป็นไม้พื้นล่างของป่าเต็งรังหรือป่าโคกที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นห่างๆสลับกับหิน ส่วนใหญ่จะมีไม้เหียงเป็นไม้เด่นกระจายอยู่ทั่วไป ตั้งแต่ลานหินงามจนถึงจุดชมวิว"สุดแผ่นดิน" ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังพบกระเจียวชนิดนี้ที่อุทยานแห่งชาติไทรทองอำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งอยู่ในแนวสันเขาพังเหยเดียวกัน

    ในทางวิชาการหรือทางพฤกษศาสตร์ ดอกกระเจียวเป็นพืชในสกุลขมิ้น อยู่ในวงขิง ข่า ขมิ้น เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชในสกุลนี้มีไม่น้อยกว่า 65 ชนิด พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปออสเตรเลีย ทวีปเอเซีย จนถึงทวีปอาฟริกา มีอยู่ประมาณ 30 ชนิดที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ตามภาคต่างๆของประเทศไทย พืชในสกุลนี้จะมีเหง้าช่วยสะสมน้ำและอาหารอยู่ใต้ดิน มีลำต้นสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน และมีลำต้นเทียมอยู่เหนือพื้นดิน ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง ลำต้นเทียมสูงประมาณ 20 ซม. กาบใบสีเขียว โคนสีแดง ก้านใบยาวประมาณ 10 ซม.ใบเป็นรูปรีค่อนข้างแคบ แผ่นใบเรียบไม่มีขน บริเวณเส้นกลางใบอาจมีสีแดง ดอก ช่อดอกเกิดจากปลายลำต้นเทียม ก้านช่อดอกยาวประมาณ 50 ซม. ดอกสีขาวปากสีม่วง ใบประดับส่วนบนสีชมพูม่วงหรือแดงเข้ม

    พืชสกุลขมิ้นนี้นักพฤกษศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสกุลย่อย ตามลักษณะของใบประดับ ช่อดอกและอับเรณู โดยจะถือสีของปากเป็นหลัก

    1.สกุลย่อย Pcurcuma หรือกลุ่มกระเจียว มีลักษณะเด่นคือ ไม่มีสีกลุ่มม่วงแดง ปากมักจะมีสีขาวหรือเหลือง ช่อดอกเกิดจากเหง้าและเกิดจากตายอดของลำต้น

    2.สกุลย่อย Paracurcuma หรือกลุ่มปทุมมา มีลักษณะเด่นคือ สีกลุ่มม่วงแดงที่ปาก ช่อดอกเกิดจากตายอดของลำต้นเทียม

    ดังนั้น ถ้าดูจากการแบ่งกลุ่มแล้ว "กระเจียว"ที่เราเรียกกัน ณ อุทยานแห่งชาติป่าหินงามนี้ ก็จะไม่ตรงกับการแบ่งกลุ่มของนักพฤกษศาสตร์ ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องเรียกว่า "ปทุมมา" แต่นั่นก็เป็นเรื่องของแวดวงวิชาการ ที่ได้ค้นคว้านำเสนอมาให้ทราบ

    กระเจียวชนิดที่รับประทานได้ที่ชัยภูมิ
    <<----------(ภาพด้านซ้าย)

    กระเจียวเป็นเพชรเม็ดงาม มีธรรมชาติสร้างสรรให้คนชัยภูมิได้พิจารณาเจียรนัย และใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าอย่างยั่งยืนนานเท่านาน เท่าที่คนชัยภูมิจะช่วยกันอนุรักษ์ดูแลและพัฒนา ดอกกระเจียวเป็นไม้ดอกที่มีความสวยงามแปลกตา มีสีสันสดใส ดอกมีความสวยงามและคงทนอยู่เป็นเวลานาน สร้างความประทับใจให้กับผู้พบเห็น มีศักยภาพในการใช้เป็นไม้ตัดดอก ไม้กระถาง ตลอดจนปลูกเป็นแปลงที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำการพัฒนาพันธุ์เพื่อส่งออก ทำให้ในปัจจุบันเป็นไม้ดอกที่ได้รับความนิยม ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เฉพาะในตลาดต่างประเทศประมาณกันว่ามีความต้องการไม่ต่ำกว่า 2 ล้านเหง้าต่อปี ซึ่งประเทศไทยได้ส่งดอกและเหง้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่นและเนเธอร์แลนด์ ทำรายได้ให้ประเทศไทยในแต่ละปีเป็นมูลค่าหลายล้านบาท โดยเฉพาะในประเทศเนเธอร์แลนด์ ดินแดนแห่งดอกทิวลิป ชาวต่างชาติที่พบเห็นดอกกระเจียวต่างเรียกว่า "ทิวลิปออฟไซแอม"หรือ "สยามทิวลิป"

    อันที่จริง จังหวัดชัยภูมิ มีดอกกระเจียวขึ้นอยู่ตามธรรมชาติหลายชนิด ทั้งที่รับประทานได้และไม่ได้ ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาและรวบรวมพันธุ์ และอาจจะมีศูนย์รวบรวมพันธุ์พืชดอกกระเจียวที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นที่จังหวัดชัยภูมิ ในอนาคตคาดว่าดอกกระเจียวจะเป็นไม้ดอกที่สำคัญที่เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศไทย ที่ชาวต่างชาติจะมาเที่ยวเมืองไทยเพื่อชื่นชมความงาม เช่นเดียวกับดอกทิวลิปของประเทศเนเธอร์แลนด์ก็เป็นได้


    ทุ่งดอกระเจียว ทุ่งดอกระเจียว ทุ่งดอกระเจียว

    นำข้อมูลมาจาก
    www.phutheppiman.com/index.php?lay=show&ac=ar...
    ลองดู
     http://www.tourthai.com/


    -------------------------------------------------------------------------------------

    ได้โปรด  เม้นให้หน่อยน้า  เม้นๆๆๆๆๆๆๆ

    เม้นๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    โหวตด้วยก็จะขอขอบพระคุณอย่างสูงเลยน้า

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×