ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เอะ!!!!มีอยู่ในประเทศไทยดัวยหลอ

    ลำดับตอนที่ #2 : อะไรเอย!!!....วัดอะไรข๊าว...ขาว แถมสวยสุดๆ

    • อัปเดตล่าสุด 28 ก.พ. 50






























    อัแน่  รู้รึป่าวว่า  วัดอะไร  เด๋วดูต่อไปก่อง









    นกที่เห็นอยู่ทางด้านซ้ายและขวานั้น ตอนแรกดูเผินๆ นึกว่าพญานาคค่ะ -_-" แต่พอดูดีๆ แล้วมันไม่ใช่ ตะเกียกตะกายค้นมาได้ว่า คือนกหัสดีลิงค์ มีลักษณะหัวเป็นช้าง ตัวเป็นนก และมีหางเป็นหงษ์ อีกที่ก็ว่า มีตัวเป็นนก หัวเป็นราชสีห์ แต่จมูกยื่นออกไปเป็นงวงคล้ายงวงช้าง แต่เขี้ยวหน้าเป็นงา แต่ที่บอกเหมือนๆ กันก็คือ เป็นนกที่ตัวใหญ่มีกำลังเท่าช้าง ๕ เชือก มีกรงเล็บใหญ่ มีงวงคล้ายงวงช้าง กินเนื้อคนและสัตว์เป็นอาหาร (ง่ะ กินเนื้อคนด้วย ดุจัง)






























    พระประธานวัดร่องขุ่น : ออกแบบปั้นโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

    • อุโบสถวัดร่องขุ่น : เชียงราย

    ๏ เมฆงามยามเฟื่องฟุ้ง
    วัดร่องขุ่น เชียงราย
    สะพานทิพย์พราวพราย
    พามนุษยชาติดับเชื้อ
    ขจรขจาย
    อะเคื้อ
    เกินพจน์
    ผ่านพ้นโลกย์วิสัย ๚

    วัดบ้านเกิดของ อจ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

    ก่อนเข้าเมืองเชียงรายประมาณ ๑๓ กิโลเมตรตรงสามแยกไฟแดงทางเข้าน้ำตกขุนกรณ์ จะเป็นที่ตั้งของวัดร่องขุ่น ซึ่งห่างถนนใหญ่เพียง ๑๐๐ เมตร เท่านั้น วัดร่องขุ่น อยู่ในท้องที่ตำบลอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นวัดบ้านเกิดของอาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรชื่อดังของไทย ผู้ฝากผลงานด้านพุทธศิลป์ที่เกรียงไกร วิจิตรวิไลและอลังการคณานับไว้บนผืนแผ่นดินไทยและต่างประเทศจนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก

    Mr.Chalermchai Kositpipat"ผมสร้างวัดร่องขุ่นมาถึงปีนี้ พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นเวลากว่า ๖ ปีแล้ว อุโบสถภายนอกเสร็จไปประมาณ ๖๕ เปอร์เซ็นต์ (ใช้เงินไป ๒๘ ล้านบาท) ยังขาดลวดลายปูนปั้นประดับกระจกที่จะนำไปประกอบสิ่งก่อสร้างอีกมากมาย ส่วนภายในจะเป็นภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังทั้ง ๔ ด้านขององค์พระประธาน ลายประดับเพดานและพื้นอุโบสถที่จะใช้วิธีการเขียนภาพบนเซรามิคเผาเคลือบจะใช้เวลาในการตกแต่งมากกว่าภายนอก ซึ่งผมคาดว่าอีก ๕ ปีข้างหน้า การตกแต่งภายนอกคงจะเสร็จสมบูรณ์ ผมอยากจะสร้างงานศิลปะแนวพุทธศิลป์อันยิ่งใหญ่ให้แก่ประเทศชาติแก่แผ่นดินเกิดที่ผมรักยิ่ง และแก่มวลมนุษยชาติทั้งโลกอย่างเต็มสติปัญญาความสามารถ ด้วยการถวายกำลังทรัพย์ที่หามาได้และชีวิตของผมอุทิศให้กับการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นสุดท้ายของชีวิตให้หมดสิ้นภูมิรู้ทางโลกและภูมิธรรมที่ร่ำเรียนมาในชาตินี้" วาทะอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (จากเอกสารของวัดร่องขุ่น)

    หากท่านมีโอกาสไปเที่ยวเชียงรายก็อย่าลืมแวะไปชมความวิจิตรพิสดารของอุโบสถวัดร่องขุ่น แวะไปให้กำลังใจและสนับสนุนการสร้างวัดร่องขุ่นนี้แก่ท่านอาจารย์เฉลิมชัยได้ทุกวัน หากท่านอาจารย์ไม่มีภารกิจที่ใดแล้วท่านจะอยู่ที่วัดเพื่อควบคุมดูแลงานก่อสร้างวัดและต้อนรับญาติโยมทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยท่านสามารถถ่ายภาพและพูดคุยกับอาจารย์ได้อย่างเป็นกันเอง ... ที่สำคัญวัดนี้ไม่มีซองกฐินผ้าป่ามาเรี่ยไรจากผู้มาเยือนแต่อย่างใด แต่ท่านที่อยากสมทบทุนก็สามารถบริจาคเงินได้ด้วยการซื้อหนังสือ ภาพวาด ภาพพิมพ์ การ์ดอวยพรและเสื้อผ้าซึ่งมาจากผลงานของอาจารย์ เรียกว่าได้ทั้งทำบุญและได้ของที่ระลึกติดไม้ติดมือกลับบ้านไปฝากญาติมิตรหรือตัวท่านเองว่าครั้งหนึ่งเราได้มาทำบุญร่วมสร้างวัดที่สวยงามแห่งนี้

    สำหรับพี่เล็กนี้ ได้มาเยือนวัดร่องขุ่นถึงสามครั้งแล้ว (ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖-๒๕๔๗) ได้เห็นความก้าวหน้าทั้งอุโบสถและสถานที่รอบๆ บริเวณวัด โดยคราวที่มาครั้งแรกช่วงวันพ่อ (เดือนธันวาคม ปี ๔๖) นั้นภายในอุโบสถยังอยู่ระหว่างการวาดภาพฉากหลังของพระประธาน และบริเวณภายนอกรอบๆ วัดก็ยังดูโล่งๆ แต่เมื่อมาอีกครั้งในช่วงเดือนสิงหาคมปี ๔๗ นี้ก็ได้พบกับที่จอดรถขนาดกว้างใหญ่ใกล้ๆ กับอาคารที่จำหน่ายของที่ระลึกของวัด และล่าสุดเมื่อคราวที่ไปเยือนมาครั้งล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน ปี ๔๗ นี้เช่นกันก็ได้เห็นบริเวณพื้นที่ฝั่งตรงข้ามวัดได้จัดเป็นพลาซ่าขนาดย่อมๆ พร้อมที่จอดรถทัวร์และรถทั่วไป ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยดีมาก และทำให้ชาวบ้านแถวนั้นมีรายได้จากการจำหน่ายของฝากต่างๆ ซึ่งนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่น่าแวะชมและสนับสนุนการสร้างวัดให้แล้วเสร็จสมบูรณ์เป็นถาวรวัตถุเพื่อประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและจรรโลงใจด้วยพุทธศิลป์จากมันสมองและฝีมือของคนไทย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ขวัญใจของพวกเราทุกคน



    พี่เล็ก : webmaster lektc@hotmail.com






    ใครสนใจ เข้าไปเวปนี้ได้
    http://www.geocities.com/lek41_plus/watrongkhun.html
    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sakaara-garden&month=11-2005&date=27&group=4&blog=1


    -------------------------------------------------------------------------------------

    ได้โปรด  เม้นให้หน่อยน้า  เม้นๆๆๆๆๆๆๆ

    เม้นๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    โหวตด้วยก็จะขอขอบพระคุณอย่างสูงเลยน้า

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×