ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    แหล่งสูบงาน+ความรู้ชั้นยอด คลิ๊กเลยค่ะ~

    ลำดับตอนที่ #60 : (ไทย+สังคม)กัณฑ์ที่ ๘ กัณฑ์กุมาร

    • อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 51


    กัณฑ์ที่ ๘ กัณฑ์กุมาร

    ความย่อ
                    ล่าวถึงชูชกเดินทางถึงอาศรมของพระเวสสันดร ได้หยุดพักผ่อนที่คาคบไม้ ๑ ราตรี รุ่งขึ้นเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหาผลไม้แล้ว ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอพระชาลีและกัณหา ก็ทรงประทานให้ สองกุมารได้ยิน จึงตกใจกลัวหนีไปซ่อนตัวอยู่ในสระ พระเวสสันดรได้ขอร้องให้ทั้งสองพระองค์ออกมา แล้วชูชกก็นำทั้งสองพระองค์ไป
    เนื่อเรื่อง

                    เมื่อชูชกเดินทางตามที่อจุตฤาษีแนะนำ  เวลาเย็นก็ถึงเขาวงกตใกล้อาศรมพระเวสสันดร  แกก็ดีใจมาก  ตรึกตรองหาโอกาส จะเข้าพบพระเวสสันดร  เห็นว่าเวลานี้พระนางมัทรีกลับจากป่า หากไปขอจักไม่สำเร็จ  ควรไปเวลาเช้า  เมื่อพระนางมัทรีเข้าป่าแล้ว  ครั้นขอ สอง กุมารได้แล้ว  ก็จะรีบกลับก่อนพระนางมัทรีกลับจากป่า ดำริแล้วก็หลบเข้าไปนอนในซอกเขาเพื่อลี้ภัยจากสัตว์ ร้าย

                    คืนนั้นพระนางมัทรีฝันร้าย  เป็นลางบอกให้รู้ล่วงหน้าว่า  จะพลัดพรากจากพระโอรส  พระนางได้เฝ้าทูลถามพระเวชสันดร  ขอให้ทรงแก้ฝัน พระเวชสันดรก็ไม่ทรงแก้ ตรัสบ่ายเบียง ว่า มาตกระกำลำบากหลับนอนไม่ผาสุกเหมือนอยู่วัง  ก็ฝันไปตามสภาพยากไร้  พระนางหาแน้พระทัยเชื่อไม่ ดังนั้นครั้นรุ่งเช้า เวลาจะเช้าป่าเป็นห่วงพระโอรส จึงได้พาพระลูกเจ้า ทั้งสององค์มาฝากพระเวสสันดร  ให้ทรงช่วยดูแล ทั้งกำชับพระโอรสไว้แข็งแรง ไม่ให้ออกนอกบริเวณพระอาศรม จึงได้เข้าป่าแสวงหาผลไม้อันเป็นกิจวัตร ที่ทรงทำอยู่เป็นประจำวัน

                    ฝ่ายชูชกครั้นเห็นว่า เวลานี้พระนางมัทรีเข้าป่าแล้ว จึงได้เดินทางไปเฝ้าพระเวสสันดรที่อาศรม ทูลขอสองกุมาร  พระเวสสันดรก็ประทานให้  แต่ตรัสว่าขอให้รอพระนางมัทรีก่อน ให้ชูชกค้างสัก ๑  ราตรีชูชกไม่เห็นด้วย ทูลว่า ถ้ารอพระนางมันทรีก่อน ให้ชูชกเป็นเหตุขัดข้อง พระเวสสันดรรับสั่งว่า เมื่อเอาสองกุมารไปจงเอาไปถวายพระเจ้าสัญชัยราช  ณ  พระนครสีพี   จะได้รับพระราชทานรางวัลมากชูชกค้านว่า  ถ้าไปพบพระเจ้าสันชัยราชอาจถูกจับได้ว่า ไปลักพระเจ้าหลานมา กับจะเป็นโทษ องการจะเอาไปใช้เป็นทาสเอง ขณะที่ชูชกทูลขอ สองกุมารอยู่นั้นชาลี  กัญหา   สองกุมารได้ยินกลัวจะถูกชูชกเอาตัวต่อ  จึงพากันหนีไปซ่อนตัวอยู่ในสระน้ำ เอาใบบัวบังศรีสะเสีย

                    เมื่อชูชกไม่เห็นสองกุมาร  ก็ทูลตรัส พ้อ พระเวสสันดร  จนท้าวเธอต้องเสด็จไปติดตาม  ครั้นทราบว่าไปซ่อนอยู่ในสระ  ก็ตรัสเรียกขึ้นมา แล้วตรัสปลอบโยนให้หายกลัว  และเศร้าโศก  พร้อมกับคาดราคาโดยสั่งชาลีกุมารไว้ว่า ถ้าจะไถ่ให้พ้นจากทาส สำหรับชาลีกุมาร  ต้องไถ่ด้วยทองหนัก แท่งหนึ่งหมื่นห้าพันตำลึง  ส่วนนางกัญหานั้นต้องไถ่ด้วยทาสชายหญิง  ช้าง ม้า โค  รถ อย่างร้อยละร้อย กับทองแท่ง หนัก ๕ พันตำลึง แล้วทรงพามามอบให้ชูชก

                    ครั้นชูชกได้สองกุมารแล้ว  ก็เอาเถาวัลย์ผูกข้อมือสองกุมารไป เมื่ออิดเอื้อน ร้องไห้ ไม่ด่วนไปตามประสงค์ของแก แกก็ตีด่าตามประสาคนสันดานทราม ถึงกับดาลใจพระเวสสันดร ให้พลุ่ง ด้วยโทสะเกิดโทมนัส น้อยพระทัย  คิดจะประหารชูชก เอาพระโอรสคืนมาเสียแต่ก็กลับหักพระทัยด้วยขันติ ไว้ได้ ปล่อยให้ชูชก พาสองกุมารไปตามปรารถนา

    อานิสงส์
    ผู้ใดบูชากัณฑ์กุมาร ย่อมประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา ครั้นตายไปได้เกิดในฉกามาพจรสวรรค์ในสมัยพระศรีอาริยเมตไตรยมาอุบัติ ก็จะได้พบศาสนาของพระองค์จะได้ถือปฏิสนธิในตระกูลกษัตริย์ ตลอดจนได้สดับฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระองค์ แล้วบรรลุพระอรหันตผล พร้อมปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ ด้วยบุญราศีที่ได้อบรมไว้ฯ
    ข้อคิดประจำกัณฑ์
    ๑. ความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ ไม่ผลีผลามเข้าไปขอรอจนพระมัทรีเข้าป่าจึงเข้าเฝ้า เพื่อของสองกุมาร เป็นเหตุให้ชูชกประสบผลสำเร็จใจสิ่งที่ตนปรารถนา ดังภาษิตโบราณว่า "ช้า ๆ จะได้พร้าเล่มงาม ด่วนได้สามผลามมักพลิกแพลง" ช้าเป็นการนานเป็นคุณ ผู้รู้จักโอกาส มีมารยาท กล้าหาญ ใจเย็น เป็นสำเร็จ
    ๒. พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกัน แต่เป็นห่วงไม่เท่ากัน ห่วงหญิงมากกว่าห่วงชาย เพราะท่านเปรียบไว้ว่า "ลูกหญิงเหมือนข้าวสาร ลูกชายเหมือนข้าวเปลือก"
    ๓. สติ เตสัง นิวารณัง สติเป็นเครื่องป้องกันอันตรายทั้งปวงได้ ขันติ สาหสวารณา ขันติป้องกันความหุนหันพลันแล่นได้ เป็นเหตุให้พระเวสสันดรไม่ประหารชูชกด้วยพระขรรค์ เมื่อถูกชูชกประนาม
    ๔. วิสัยหญิงนั้น แม้จะมากอยู่ด้วยเมตตากรุณา ชอบปลดเปลื้องทุกข์แก่ผู้อื่นก็จริงอยู่ แต่เว้นอย่างเดียว ที่ผู้หญิงนั้นไม่มีวันจะสละสิ่งนั้น คือ "ลูก"

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    *******************************************************************

     

     

     

     

     

     ที่มา จำไม่ได้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×