คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #52 : (ไทย+สังคม)ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
เมื่อพระพุทธศาสนา เผยแผ่เข่ามาในประเทศไทย ก็ได้มีการนำเอาเรื่องเทศน์มหาชาติมาสั่งสอนประชาชนด้วย ตอนแรกเทศน์เป็นภาษาบาลีล้วนๆ เรียกคาถาพัน คงที่มาแต่ยุคสุโขทัยแล้ว
มหาเวสสันดรชาดกที่แต่งเป็นภาษาไทยเล่มแรก คือมหาชาติคำหลวงสมเด็จพระบรมไตร-โลกนาถ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตในราชสำนัก แปลแต่งเป็นภาษาไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๕ วิธีแต่งให้ยกคาถาภาษาบาลีขึ้นวรรคหนึ่งแล้วแปลเป็นภาษาไทยใช้คำประพันธ์ตามความถนัดของกวีนั้นๆ คือเป็นโคลง ร่าย ฉันท์หรือกาพย์ แต่ไม่ได้ใช้สำหรับเทศน์ ใช้สำหรับให้อุบาสกอุบาสิกาสวดในวันอุโบสถหรือวันสำคัญทางพุทธศาสนาอื่นๆ(ไม่มีกลอน เพราะกลอนเกิดในยุคสมัยอยุธยาตอนปลาย)
ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ได้มีการแต่งเทศน์มหาชาติเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่งเรียกว่า
" กาพย์มหาชาติ " แต่แต่งเป็นร่ายยาว เมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๐ แต่วิธีแต่งผิดแผกไปจากมหาชาติคำหลวง โดยยกภาษาบาลีขึ้นมาเพียงเล็กน้อยแล้วแปลเป็นภาษาไทยมากมาย เกินคำบาลี ชาวไทยถือกันว่า ถ้าฟังเทศน์มหาชาติจบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ในวันเดียว จะได้บุญมาก ได้ถือกันเป็นประเพณีสืบมา แต่กาพย์มหาชาติยาวมาก จึงไม่อาจเทศน์ให้จบได้ทั้ง ๑๓ กัณฑ์ในวันเดียวตามวัตถุประสงค์ได้ กาพย์มหาชาติเป็นพระราชนิพนธ์ในพระเจ้าทรงธรรม ใช้เทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาฟัง บางท่านมีความเห็นว่า พระเจ้าทรงธรรมทรงพระราชนิพนธ์กาพย์มหาชาติเพื่อล้างมนทิลที่ชิงราชสมบัติจากเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ แต่จากคำปรารภของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเข้าใจว่า " กาพย์มหาชาตินี้แต่งในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๗๐ เพราะปรากฏในพงศาวดารว่า พระเจ้าทรงธรรมทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งขึ้น ทรงชื่อว่ากาพย์มหาชาตินี้คงจะไม่ได้แต่งให้นักสวดให้อุบาสกอุบาสิกาฟัง เวลาไปบำเพ็ญกุศลที่วัดอย่างมหาชาติคำหลวง แต่คงจะแต่งขึ้นสำหรับพระเทศน์เพื่อให้ฟังเข้าใจง่ายขึ้น เพราะมีภาษาบาลีน้อย "
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กระทรวงศึกษาธิการจัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ
ร.ศ. ๑๒๑ โดยคัดเลือกสำนวนเยี่ยมๆ จากมหาชาติกลอนเทศน์ เพื่อใช้เทศน์ให้จบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ในวันเดียว เพื่อให้เข้าใจความหมายชัดเจน เพื่อเทศน์คาถาพันให้ครบและเพื่อให้เป็นแบบเรียนกวีนิพนธ์ด้วย ดังมีรายชื่อผู้แต่งตามกัณฑ์ต่างๆดังนี้
๑. กัณฑ์ทศพร-กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เพลงสาธุการมี ๑๙ พระคาถา
๒. กัณฑ์หิมพานต์-กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เพลงตวงพระธาตุ ๑๓๔ พระคาถา
๓. ทานกัณฑ์-สำนักวัดถนนเพลงพญาโศก มี ๒๐๙ พระคาถา
๔. วนปเวสน์-พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพลงพญาเดิน ๕๗ พระคาถา
๕. กัณฑ์ชูชก-พรเทพมุนี (ด้วง) วัดสังข์กระจาย เพลงเซ่นเหล้า มี ๗๙ พระคาถา
๖. กัณฑ์จุลพล-พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพลงคุกพาทย์ มี ๓๗ พระคาถา
๗. กัณฑ์มหาพน-พระเทพโมลี (กลิ่น) เพลงเชิดกลอง มี ๘๐ พระคาถา
๘. กัณฑ์กุมาร-เจ้าพระยาพระคลังหน (หน)เพลงโอดเชิดฉิ่ง มี ๑๐๑ คาถา
๙. กัณฑ์มัทรี-เจ้าพระยาพระคลังหน (หน)พลงทยอยโอด มี ๙๐ พระคาถา
๑๐. กัณฑ์สักกบรรพ-พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเพลงกลม มี ๓๔ พระคาถา
๑๑. กัณฑ์มหาราช-กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเพลงกราวนอก มี ๖๙ พระคาถา
๑๒. ฉกษัตริย์-กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเพลงตระนอน มี ๓๖ พระคาถา
๑๓. นครกัณฑ์-กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเพลงกลอนโยนิ มี ๔๘ พระคาถา
นอกจากนี้ยังมีมหาชาติทำนองอื่นอีก คือมหาชาติคำฉันท์และลิลิตมหาชาติแต่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ สำหรับมหาชาติกลอนเทศน์นั้นมีมากมายหลายสำนวนมหาชาติที่แต่งเป็นภาษาถิ่นก็มีหลายสำนวน เช่นมหาชาติภาคพายัพแต่งเป็นภาษาเหนือ มหาชาติคำเฉียงแต่งเป็นภาษาอีสานเป็นต้น
ความคิดเห็น