ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวลา ยุคสมัยและกระบวนการทางประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #8 : หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย (ตอนที่2)

    • อัปเดตล่าสุด 28 ต.ค. 52




    หลักฐานที่เป็นไม่ลายลักษณ์อักษร
    1.หลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์

    1. หลักฐานทางโบราณคดี
    คือร่องรอยที่เป็นวัตถุที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในอดีต
    เป็นสิ่งที่มนุษย์โบราณสร้างไว้หรือทิ้งไว้ หลักฐานทางโบราณคดีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

    - แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า  อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 
    - แหล่งโบราณคดีบ้านนาดี  อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 
    - แหล่งโบราณคดีถ้ำผีหรือถ้ำผีแมน ในเขตวนอุทยานถ้ำลอด อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 
    - แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

    2.หลักฐานทางโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ เช่น
    - เมืองอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
    - เมืองสทิงพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
    - เมืองโบราณพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี


      
    2.หลักฐานทางด้านศิลปกรรม ได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม หลักฐานประเภทนี้ศึกษาได้ทั้งในแง่โบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยความรู้จากนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลปะประกอบด้วย
    - สถาปัตยกรรม พระบรมธาตุไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี
    - ประติมากรรม พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
    - จิตรกรรมฝาผนัง เตมียชาดกกุมาร ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์
    วัดพุทไธสวรรย์ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา 

    3.
    หลักฐานทางด้านนาฏศิลป์และดนตรี และเพลงพื้นบ้าน 
    เป็นศิลปะที่ถ่ายทอดต่อๆกันมาจากอดีต นาฏศิลป์และดนตรี ได้รับอิทธิพลของต่างชาติไว้มาก ต่างกับเพลงพื้นบ้านที่มักพัฒนาขึ้นในแต่ละท้องถิ่นและสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง ดังนั้นเพลงพื้นบ้านจึงใช้ประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้มากกว่านาฏศิลป์และดนตรี 

     
    4.หลักฐานประเภทคำบอกเล่า เป็นหลักฐานที่ถ่ายทอดด้วยคำพูดสืบต่อกันมา เช่น นิทาน ขนบธรรมเนียม ประวัติสถานที่ เรื่องราวขิงเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นต้น หลักฐานคำบอกเล่ามักจะเปลี่ยนแปลงไปตามผู้เล่าและกาลเวลา จึง ต้องใช้ประกอบกับข้อมูลประเภทอื่น การหาข้อมูลชนิดนี้ทำได้โดยการสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบหลักฐานประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 

    5.หลักฐานประเภทโสตทัศน์ ได้แก่ ภาพถ่าย ฟิล์มสไลด์ ภาพยนตร์ แผ่นที่ โปสเตอร์ สื่อคอมพิวเตอร์
    ซึ่งให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของชาติ หลักฐานประเภทนี้ที่เป็นของทางราชการ เรียกว่า เอกสารโสต-ทัศน์จดหมายเหตุ และตอนนี้ได้มีการเก็บรักษาไว้ อยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ 
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×