ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวลา ยุคสมัยและกระบวนการทางประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #7 : หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

    • อัปเดตล่าสุด 27 ต.ค. 52



    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
    แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ 
    หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
    หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร


    หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร

    1) จารึก เป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เรื่องราวไว้บนวัสดุที่มีความคงทนถาวร จึงไม่สูญสลายไปตามกาลเวลา นับเป็นหลักฐานชั้นต้นไม่มีการแก้ไขต่อเติม 

    2) ตำนาน เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีที่มาจากการบอกเล่าสืบต่อกันมานานแล้ว จึงรวบรวมเป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง 

    3) พระราชพงศาวดาร เป็นบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ พระมหากษัตริย์ ตามลำดับ เหตุการณ์การเขียนพงศาวดารเกิดขึ้นในสมัยอยุธยา และสืบทอดต่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ 

    4) จดหมายเหตุ เป็นบันทึกคล้ายกับพระราชพงศาวดาร แต่จะบันทึกครั้งละเหตุการณ์ ผู้บันทึกจดเรื่องราวนั้นในวันที่เกิดเหตุการณ์หรือวันถัดมา จึงให้ความถูกต้อง ในเรื่องของเวลาและถือเป็นหลักฐานชั้นต้น 
      - จดหมายเหตุของหลวง บันทึกเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ 
    -จดหมายเหตุโหร บันทึกเหตุการณ์สำคัญเป็นรายวันตามลำดับทั้งปี 
     -จดหมายเหตุของชาวต่างชาติ บันทึกของชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อกับไทยในสมัยต่างๆ  เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับไทย ในด้านการเมืองเศรษฐกิจ สังคมที่สำคัญ


    5) เอกสารราชการ ที่เป็นเรื่องการปกครอง เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ ทางด้านการปกครอง

    6. บันทึกของบุคคลและ จดหมายส่วนตัว

    บันทึกของบุคคลหมายถึง
    บันทึกเหตุการณ์ในอดีตที่ผู้บันทึกมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือร่วมอยู่ในเหตุการณ์ด้วย จึงเป็นหลักฐานชั้นต้น เช่น พระนิพนธ์ความทรงจำของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงรา-ชานุภาพ 

     จดหมายส่วนตัวของบุคคลสำคัญทำให้รู้จัก
    อัธยาศัยของผู้เขียน และอาจทำให้ทราบนโยบาย หรือเบื้องหลังของเหตุการณ์และเนื่องจาก จดหมายเป็นการสื่อสารส่วนตัว  จดหมายส่วนตัวที่พิมพ์แล้วและอ่านกันอย่างกว้างขวาง

    7.ชีวประวัติ   เป็นหนังสือที่เล่าถึงประวัติชีวิตและผลงานของบุคคล
    ตลอดจนเหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของบุคคลนั้น

    8.กฎหมาย   เป็นหลักฐานชั้นต้นที่ช่วยให้ทราบความสัมพันธ์ ระหว่างประชาชนต่อรัฐและระหว่างพลเมืองด้วยกันเอง  ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์  รวมทั้งสภาพสังคมที่เป็นอยู่ขณะนั้น 
      
    9.วรรณกรรม    ถึงแม้วรรณกรรมจะเป็นเรื่องราวที่ผู้แต่งจินตนาการขึ้น  แต่ก็อาจแทรกข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไว้  เช่น ลิลิตยวนพ่าย นำเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มาผูกเป็นเรื่องราว

    10.หนังสือพิมพ์   หนังสือพิมพ์รวมทั้งวารสารและนิตยสาร เป็นหลักฐานชั้นต้นซึ่งให้ข้อมูลใหม่ๆแนวคิดใหม่ๆ หรือการตีความในแง่มุมใหม่ นอกจากนี้หลักฐานประเภทนี้
    ยังให้ข้อมูลครอบคลุมทุกด้าน 
       
    11. ประวัติศาสตร์นิพนธ์และวิทยานิพนธ์ และงานวิจัยทางประวัติศาสตร์
     ประวัติศาสตร์นิพนธ์ คือ งานเขียนทางประวัติศาสตร์ ที่นักประวัติศาสตร์หรือนักวิชาการอื่นๆเขียนขึ้น ประวัติศาสตร์นิพนธ์สมัยใหม่แบบตะวันตก ที่มีลักษณะเป็นวิชาการเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่
    4
    12. เว็บไซต์  ปัจจุบันมีเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ ที่ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ แต่ต้องเลือกเว็บไซต์ที่บุคคลหรือหน่วยงาน หรือองค์กรที่น่าเชื่อถือเป็นผู้จัดทำ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×