ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวลา ยุคสมัยและกระบวนการทางประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #6 : กระบวนการทางประวัติศาสตร์

    • อัปเดตล่าสุด 27 ต.ค. 52



    กระบวนการทางประวัติศาสตร์
    การสืบค้นเรื่องราวสังคมในอดีตต้องอาศัยร่องรอยที่มนุษย์ได้กระทำไว้และหลงเหลือจนปัจจุบัน เรียกว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ส่วนวิธีการในการแสวงหาข้อเท็จจริงในอดีต เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์ เป็นวิธีการสืบค้นเรื่องราวในอดีตอย่างเป็นระบบ โดยจะให้ความสำคัญในเรื่องการตรวจสอบหลักฐาน การประเมินความน่าเชื่อถือและคุณค่าทางหลักฐาน รวมทั้งวิเคราะห์ตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่บนพื้นฐานความเป็นเหตุเป็นผล
     

     

    หลักฐานทางประวัติศาสตร์
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ ร่องรอยการกระทำของมนุษย์หรือร่องรอยของอดีต ในการศึกษาต้องอาศัยหลักฐานหรือ
    ร่องรอยต่างๆเกี่ยวกับเรื่องนั้นมา วิเคราะห์ตีความข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของเรื่องราวเหตุการณ์นั้น ๆ
    ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ 
     การจำแนกประเภทของหลักฐานทำได้หลายลักษณะ แล้วแต่ว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ 
     
    1. จำแนกตามยุคสมัย
    หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ร่องรอยการกระทำของมนุษย์ตั้งแต่สมัยที่ชุมชนนั้นยังไม่มีตัวอักษรใช้
    หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ คือ ร่องรอยการกระทำของมนุษย์ในสมัยที่ชุมชนนั้นรู้จักใช้ตัวอักษรแล้ว
    หลักฐานประเภทนี้มีทั้งสิ่งที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และสิ่งที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร 
     
    2.จำแนกตามลักษณะ แบ่งเป็น 2 ประเภท
    1) หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือหลักฐานจำพวกคำจารึกในแผ่นศิลา แผ่นโลหะ ใบลานหรือวัสดุอื่น
         รวมถึงตัวเขียนตัวพิพม์ในแผ่นกระดาษหรือวัสดุอื่น เป็นหลักฐานที่ทำขึ้นในสมัยประวัติศาสตร์
    2) หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คือหลักฐานที่เป็นโบราณวัตถุ โบราณสถาน ศิลปกรรม คำบอกเล่า ฯลฯ
         ทั้งของสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์

     
    3.จำแนกตามความสำคัญ แบ่งเป็น 2 ประเภท
    1) หลักฐานชั้นต้น คือหลักฐานที่บันทึกไว้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์หรือรู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง
         รวมทั้งโบราณวัตถุ โบราณสถาน ที่สร้างขึ้นในยุคสมัยนั้น
    2) หลักฐานชั้นรอง คือหลักฐานที่ผู้บันทึกรับทราบเหตุการณ์มาจากคำบอกเล่าหรือข้อเขียนของผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง


       
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×