ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวลา ยุคสมัยและกระบวนการทางประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #4 : เจาะลึกมนุษย์ยุคหิน

    • อัปเดตล่าสุด 27 ต.ค. 52



    มนุษย์ยุคหินในประเทศไทย

    1. สมัยหินเก่า (Paleolithic Age or Old Stone Age) อายุประมาณ500,000-250,000ปีก่อนคริสตกาลมนุษย์ยุคนี้ใช้ก้อนหินกรวดตามธรรมชาติมากะเทาะให้มีแง่คมอย่างหยาบๆไม่รู้จักขัดให้เรียบเรียกว่าพวกฟิงโนเอียนสำหรับใช้เป็นเครื่องสับตัดและเครื่องขุดขนาดใหญ่ประเภทหนึ่งอีกประเภทหนึ่งใช้เป็นขวานกำปั้นหรือมักทำจากหินไดอะเบส,หินชนวน,หินเชิต,หินขวอทไซท์หินโรโอไลท์หินปูนกะเทาะอย่างหยาบๆโดยปลายข้างหนึ่งมนปลายข้างหนึ่งแหลมเรียกว่าไซแอมเมียนพบที่บ้านเก่า.เมืองจังหวัดกาญจนบุรีได้มีการค้นพบหลักฐานของเครื่องมือหินในยุคนี้แต่ไม่ปรากฏว่าพบหลักฐานทางกระดูกของมนุษย์สมัยหินยุคนี้ในประเทศไทยเลย 


    2. สมัยหินกลาง (Mesolithic Age or Middle Stone Age) อายุประมาณ45,000-3,500ปีก่อนคริสต์กาลใช้เครื่องมือหินกะเทาะมาทำเครื่องมือหินขนาดจิ๋วบางและเล็กมากยาวที่สุดประมาณ1.50นิ้วเรียกMicroliths หรือpigmy-Tools พบที่วังโพธิ์.ไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรีได้ค้นพบเครื่องมือหินในยุคหินกลางนี้มากที่ดินแดนแควน้อยพร้อมกับโครงกระดูกของมนุษย์ที่ถ้ำตำบลไทรโยคจึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าเคยมีมนุษย์ในยุคหินกลางนี้อาศัยอยู่เป็นเวลากว่า20,000ปีมาแล้วแต่ในบางตำราได้จัดให้มนุษย์หินยุคนี้เป็นยุคหินเก่าตอนปลายเพราะได้มีการค้นพบเครื่องมือที่ทำด้วยหินในแถบตังเกี๋ยที่เมืองหัวบินห์และกวางบินห์ในประเทศเวียดนามมีอายุประมาณหนึ่งหมื่นปีเศษๆโดยเครื่องมือหินที่พบจะมีลักษณะที่ทำอย่างหยาบๆแลดูคล้ายมีดหินที่มีลักษณะทำเรียบเพียงด้านเดียวมนุษย์หินยุคนี้ยังไม่รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์และยังอาศัยกันอยู่ในถ้ำเชื่อว่าพวกนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของพวกที่มีเชื้อสายออสตราลอยด์เมลานีลอยด์และมองโกลอยด์ในเวลาต่อมา 


    3. สมัยหินใหม่ (Neolithic Age or New Stone Age) อายุประมาณ4,500-3,500ปีก่อนคริสต์กาลมนุษย์ยุคหินใหม่นี้ใช้เครื่องมือหินที่มีรูปร่างเหมือนขวานมาขัดให้เรียบเรียกทั่วไปว่า"ขวานฟ้า"หรือเซโรเนียเป็นขวานหินขัดทำแบบต่างๆมีทั้งชนิดแบบธรรมดามีบ่าเป็นจงอยปากนกแบบคมกลมเป็นค้อนหินใบหอกหินจักรกำไลหินหัวกระบองลิ่มหินบดพบอยู่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทยโดยเฉพาะพบที่หมู่บ้านเก่าจังหวัดกาญจนบุรีนั้นพบเครื่องมือหินพร้อมกับโครงกระดูกของมนุษย์สมัยหินใหม่นี้เป็นจำนวนมากเฉพาะที่ขุดสำรวจมีกว่า50โครงดังนั้นจึงยืนยันได้ว่ามีมนุษย์สมัยหินใหม่ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ประมาณ3,500ปีมาแล้วเราเรียกมนุษย์หินยุคนี้ว่ายุควัฒนธรรมบักโซเนียนเนื่องมาจากชื่อแหล่งที่
    ค้นพบมนุษย์ยุคนี้เป็นครั้งแรกที่มาจากภูเขาหินบักซอนในตังเกี๋ย



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×