คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : เวลา ยุคสมัยและกระบวนการทางประวัติศาสตร์ (ตอนที่2)
การนับเวลาแบบสากลแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
1. คริสต์ศักราช (ค.ศ. )
เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งถือเป็นการนับเวลาที่นิยมใช้กันมาทั่วโลก โดยคริสต์ศักราชที่1 เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์ประสูติ
(ตรงกับ พ.ศ.543) และถือระยะเวลาที่อยู่ก่อนคริสต์ศักราชลงไป
จะเรียกว่าสมัยก่อนคริสต์ศักราชหรือก่อนคริสตกาล
2. ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.)
เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้นับถือศาสนาอิสลาม โดยอาศัยปีที่ท่านนบีมุฮัมหมัดได้อพยพจากเมืองเมกกะ ไปยังเมืองมะดีนะฮ์ เป็นปีเริ่มต้นของศักราชอิสลามซึ่ง ตรงกับวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 622
การนับศักราชแบบต่างๆ ในบางครั้งบางเหตุการณ์ก็ไม่ได้ระบุความชัดเจนไว้ แต่อาจกล่าวการนับเวลาอย่างกว้างๆ ไว้ ซึ่งนิยมเรียกกันใน 3 รูปแบบ ดังนี้
1.ทศวรรษ (decade) คือ รอบ 10 ปี นับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 1 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 0 เช่น ทศวรรษที่ 1990 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ.1991-2000
2.ศตวรรษ (Century) คือ รอบ 100ปี นับจากศักราชที่ลงท้าย 1 ไปจนครบ 100ปี ในศักราชที่ลงท้ายด้วย 00 เช่น พุทธศตวรรษที่26 คือ พ.ศ.2501-2600
3.สหัสวรรษ (Millenium) คือ รอบ 1000 ปี ศักราชที่ครบแต่ละสหัสวรรษ จะลงท้ายด้วย000 เช่น สหัสวรรษที่ 2 นับตามพุทธศักราช คือ พ.ศ. 1001-2000
หลักเกณฑ์การเปรียบเทียบศักราชในระบบต่างๆการนับศักราชที่แตกต่างกัน จะทำให้เกิดความสับสนและไม่ชัดเจนในการศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ ดั้งนั้น การเปรียบเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น รวมทั้งทำให้ทราบว่าในช่วงศักราช หรือช่วงเวลาเดียวกันในแต่ละภาคของโลก เกิดเหตุการณ์ สำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์ อะไรบ้าง ซึ่งการเปรียบเทียบศักราชสามารถกระทำได้ง่ายๆ โดยนำตัวเลขผลต่าง ของอายุศักราชแต่ศักราชมาบวกหรือลบกับศักราชที่เราต้องการตามหลักเกณฑ์
ตารางเปรียบเทียบศักราช
ความคิดเห็น