จังหวะบีกินส์และชะชะช่า.... - จังหวะบีกินส์และชะชะช่า.... นิยาย จังหวะบีกินส์และชะชะช่า.... : Dek-D.com - Writer

    จังหวะบีกินส์และชะชะช่า....

    ผู้เข้าชมรวม

    8,865

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    48

    ผู้เข้าชมรวม


    8.86K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 มิ.ย. 54 / 18:25 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
     
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      จังหวะบีกิน (Beguine)

                     เป็นจังหวะที่จัดอยู่ในประเภทเบ็ดเตล็ด เป็นจังหวะที่นิยมเต้นกันมากในงานสังคมทั่วๆ ไป หรือในงานลีลาศในประเทศไทย

                     ทั้งนี้เนื่องมาจากเป็นจังหวะที่เต้นง่ายสวยงาม การก้าวเท้าไม่ลำบากความเร็วของจังหวะอยู่ในระดับปานกลาง ถึงแม้ว่าในต่างประเทศจะไม่นิยมเต้นจังหวะนี้ และไม่มีการจัดแข่งขันในระดับสากล

                     ดนตรีของจังหวะบีกินจะเป็น 4/4มี3บีทต่อ1ห้องเพลง จังหวะการนับจะเป็น1 2 3พัก

      1 2 3พัก (พักหมายถึง พักเข่าหรืองอเข่า) ต่อเนื่องกันไป

                     ความเร็วช้าของจังหวะจังหวะบีกินบรรเลงด้วยความเร็วประมาณ 28 - 32 ห้องเพลงต่อนาที

                     การจับคู่เป็นแบบปิดเหมือนกับการจับคู่ในประเภทลาติน อเมริกัน โดยทั่วไปเพื่อไม่ให้เหยียบเท้ากันในการฝึกใหม่ๆ อาจจะให้จับคู่แบบสองมือก่อน เมื่อชำนาญแล้วจึงจับคู่แบบปิด

                     การก้าวเท้าในจังหวะบีกินก็เหมือนกับการก้าวเท้าในประเภทลาตินอเมริกัน กล่าวคือ จะต้องให้ฝ่าเท้าถึงพื้นก่อน แล้วจึงราบลงเต็มเท้า ไม่ว่าการเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลัง การก้าวเท้าทุกครั้งจะต้องลงน้ำหนักตัวในขณะที่วางเท้าราบกับพื้น ซึ่งการลงน้ำหนักตัวนี้จะทำให้สะโพกบิดไปมาอย่างเป็นธรรมชาติดูสวยงาม ส่วนของลำตัวตั้งแต่เอวถึงศรีษะจะตรงและนิ่ง ไม่แกว่งหรือส่ายไหล่ไปมา เพราะจะทำการลีลาศดูไม่สวยงาม

                     ลวดลายการเต้นของจังหวะบีกินที่นิยมเต้นกันทั่วไปได้แก่

                     1. เบสิค วอล์ค (Basic Walk )

                     2. ครอสซิ่ง สเต็ป (Crossing Step )

                     3. อันเดอร์ อาร์ม เทิร์น (Under Arm Turn )

                     4. แฮนด์ ทู แฮนด์ (Hand to Hand )

                     5. เอ๊าไซด์ สเต็ป (Outside Step )

                     6. วาโซเวียน เทิร์น (Varsouvienne Turn )
















      จังหวะชะ ชะ ช่า

                     เป็นจังหวะลีลาศจังหวะหนึ่งในประเภทลาตินอเมริกัน ที่ได้พัฒนามาจาก จังหวะ แมมโบ้ (MAMBO) ชื่อจังหวะนี้ตั้งขึ้นโดยการเลียนเสียงของ รองเท้า ขณะที่กำลังเต้นรำของสตรีชาวคิวบา จังหวะ ชา ชา ช่า ได้ถูกพบเห็นเป็นครั้งแรก ที่ประเทศอเมริกา แล้วแพร่หลายไปทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่2จังหวะแมมโบ้ เสื่อมความนิยมลง โดยหันมานิยมจังหวะ ชะ ชะ ช่า ซึ่งได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้

                     จังหวะชะ ชะ ช่า ได้เข้ามาที่ประเทศไทยในปี พ.ศ.2498โดยชาวฟิลิปปินส์ชื่อ เออร์นี่  ซึ่งเป็นนักดนตรีของวงดนตรีคณะซีซ่า วาเลสโกนายเออร์นี่ ได้โชว์ลีลาการเต้น ชะ ชะ ช่า  ประกอบการ เขย่ามาลากัส  จากลีลาการเต้นนี้ได้สร้างความประทับใจให้กับนักเต้นและครูลีลาศของไทย  จึงได้ขอให้นายเออร์นี่ ช่วยสอนลีลาการเต้น ชะ ชะ ช่า  การเต้นของนายเออร์นี่ แม้จะผิดหลักมาตรฐานสากล แต่ก็ยังได้รับความนิยมเต้นมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ภายหลังจะได้นำเอารูปแบบการเต้นที่เป็นมาตรฐานสากลเข้ามาสอนแทนก็ตาม

                     เอกลักษณ์เฉพาะของจังหวะชะ ชะ ช่าซึ่งกระจุ๋มกระจิ๋ม เบิกบาน การแสดงความรักใคร่การเคลื่อนไหว อยู่คงที่ คู่เต้นรำเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้าม และร่วมทิศทางเดียวกันห้องดนตรี 4/4ความเร็วต่อนาที 30 บาร์ สอดคล้องกับกฎของIDSFการเน้นจังหวะ บนบีทที่ 1 ระยะเวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที หลักพลศาสตร์ การเคลื่อนที่ตามเวลา ทันทีทันใด หนักหน่วงโดยตรง และ การเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ การเต้นชะ ชะ ช่า ไม่ใช้พื้นที่มากนักโดยทั่วไปจะเต้นเฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ยกเว้นในบางลวดลาย อาจใช้พื้นที่พอสมควร

                     การสื่อความหมายของจังหวะ ชะ ชะ ช่าสำคัญอยู่ที่ขา และเท้า โครงสร้างของการจัดท่าเต้นไม่ควรให้มีการเคลื่อนที่มากนัก และต้องมีความสมดุลที่ผู้ชมสามารถจะเข้าใจในรูปแบบและติดตามทิศทางได้ สิ่งที่ควรใส่ใจอย่างยิ่ง ควรมุ่งเน้นไปที่จังหวะเวลาของการเคลื่อนไหวในแต่ละท่าทาง

                     การนับจังหวะดนตรีสามารถนับได้หลายวิธี เป็น หนึ่งสองสามสี่ห้า หรือ หนึ่งสองชา ชา ช่า หรือจะนับตามแบบคิวบันรัมบ้าคือนับ สองสามสี่ และหนึ่ง โดยก้าวแรกจะตรงกับจังหวะที่ 2 ของห้องเพลง

                     การก้าวเท้าในจังหวะชะ ชะ ช่าจะต้องให้ฝ่าเท้าสัมผัสพื้นก่อนแล้วจึงค่อยลงน้ำหนักทีหลัง การเต้นในจังหวะนี้ส่วนใหญ่จะใช้ปลายเท้ามากที่สุด การใช้ขาสองข้างต้องสัมพันธ์กัน เมื่อก้าวเท้าใดเข่านั้นจะงอเล็กน้อย เมื่อเท้าได้วางราบลงบนพื้นแล้วเข่าจะตึงและรับน้ำหนัก ส่วนเข่าอีกข้างหนึ่งจะงอเพื่อเตรียมก้าวเดินต่อไป และเมื่อวางเท้าลงเข่าก็จะตึง ทำอย่างนี้สลับกันเรื่อยไป ดังนั้นจะมีการสับเปลี่ยนการตึงและงอของช่วงขา พร้อมทั้งลดลงและยกขึ้น ของส้นเท้าสลับกันตามลำดับ การปฏิบัติในลักษณะนี้จะทำให้สะโพกบิดไปมาดูสวยงาม แต่อย่าให้เป็นในลักษณะ เจตนานัก เพราะจะทำให้ไม่เป็นธรรมชาติและเป็นภาพที่ไม่น่าดู สำหรับผู้ที่เริ่มต้นฝึกในระยะแรก ควรฝึกฝนการเต้นให้ถูกต้องตามจังหวะดนตรีก่อน เมื่อเกิดความชำนาญแล้วจึงค่อยฝึกการก้าวให้เกิดความสวยงามภายหลัง

                     การทำแชสเซ่ของชะ ชะ ช่าคือ กลุ่มสเต็ป 3 ก้าวในการเต้นจังหวะ ชะ ชะ ช่า จะมีการทำแชสเซ่ในทุกทิศทุกทางของการนับจังหวะ 3-4-5 การทำแชสเซ่จะเร็วกว่าจังหวะ 1 และ 2 คือประมาณ 3 ก้าว ต่อ 2 จังหวะ ในขณะที่ก้าวที่ 1 และ 2 จะก้าว 1 ก้าวต่อ 1 จังหวะ

                     การจับคู่ในจังหวะชะ ชะ ช่าเน้นการจับคู่แบบปิดในรูปแบบของลาตินอเมริกัน (มือขวาของชายแตะบริเวณสะบักของผู้หญิง แต่อาจจะมีการเปลี่ยนไปตามลวดลายการเต้น ซึ่งอาจจะจับด้วยมือเพียงข้างเดียวจับแบบสองมือ หรืออาจปล่อยมือทั้งสองออกจากคู่เลยก็ได้

                     ลวดลายการเต้นจังหวะ ชะ ชะ ช่ามีอยู่หลายแบบด้วยกัน แต่จะเสนอลวดลายการเต้นที่เป็นที่นิยมเต้นกันโดยทั่วไป คือ

           1.  เบสิค มูฟเม้นท์ (Basic Movement)                                                   

           2.  นิวยอร์ค (New York)                                                           

           3.  สปอท เทิร์น (Spot Turn)                                                    

           4.  แฟน (Fan)                                                                                              

           5.  อเลมานา (Alemana)                                             

           6.  โชลเดอร์ ทู โชลเดอร์ (Shoulder To Should)

           7.  อันเดอร์ อาร์ม เทิร์น (Under Arm)

           8.  แฮนด์ ทู แฮนด์ (Hand To Hand)

           9. ฮอกกี้ สติ๊ก (Hockey Stick)

           10. ไทม์ สเต็ป (Time step)

        

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×