หน้าที่ 1 , 2 , 3 , 4
 
ชื่อเรื่อง :  [CLOSED] g minor theme ( V.1 )
ใครแต่ง : CHERMADA
11 เม.ย. 60
80 %
152 Votes  
#1 REVIEW
 
เห็นด้วย
9
จาก 9 คน 
 
 
ธีมสวย ลูกเล่นเยอะจริงๆ

(แจ้งลบ)
  
เขียนเมื่อ 8 พ.ย. 56
ชอบงานของ G Minor มากค่ะ มีลูกเล่นในแต่ละธีมหลากหลายมาก
สีก็สวย ครีเอทงานได้แจ่มสุด ๆ (กรอบรูปโปรไฟล์มันหมุนได้ด้วย อเมซซิ่งมาก)
ได้เอาไปใช้งานหลายครั้งแล้ว ขอบอกเลยว่าประทับใจทุกครั้ง
เพราะไม่ว่าสไตล์นิยายของคุณจะเป็นยังไง
ที่นี่ก็มีให้เลือกมากจริงๆค่ะ ขอบคุณที่ทำออกมาสวยและเก๋สุดๆ
เป็นกำลังใจให้อัพเดทธีมสวย ๆ ลูกเล่นเจ๋ง ๆ ต่อไปนะค่า ^^
     
 
6 ก.ค. 62
80 %
11 Votes  
#2 REVIEW
 
เห็นด้วย
9
จาก 10 คน 
 
 
กริ๊ดดด

(แจ้งลบ)
  
เขียนเมื่อ 9 พ.ค. 53
เอม...โมอยากจะบอกว่า เอมแต่งได้เก่งมากๆเลย โดยเฉพาะการบรรยายท่าทางของตัวละคร กริ๊ดเลยอะ โมยังต้องพัฒนาด้านนี้อีกเยอะเลย เมื่อก่อนยอมรับนะว่าไม่อ่านนิยายแนวไทย แต่เอมแต่งแล้วทำให้โมสนใจ มันดึงดูดดีด้วยอะ คุณกันต์แบบว่าสเป็กเลย ฮ่าๆ ขอให้เอมแต่งต่ออย่างราบรื่นไปเรื่อยๆนะจ๊ะ สมองโล่งคิดตอนใหม่ๆออก อิอิ

ดีใจได้อ่านฟิคเอมจ้า
     
 
ใครแต่ง : B. Zeitgeist
26 มิ.ย. 60
100 %
2 Votes  
#3 REVIEW
 
เห็นด้วย
5
จาก 5 คน 
 
 
Miss Suika รับวิจารณ์นิยาย

(แจ้งลบ)
  
เขียนเมื่อ 2 ก.ค. 57
Intimate mind เจาะจิต ทะลุฝัน
เกณฑ์การให้คะแนนเต็ม 100
ชื่อเรื่องและความสอดคล้องของเนื้อหา (10/10)
โดยรวมแล้วชื่อกับเนื้อหายังสอดคล้องกันอยู่ค่ะ อารมณ์ของเรื่องน่าจะคล้าย ๆ กับ Total recall หรือ Source Code ที่มีแนวของเรื่องในการย้อนเวลาข้ามไปข้ามมาค่ะ
ความสนุก (15/30)
แนวเรื่องฟังดูน่าติดตามดีค่ะ โดยส่วนตัวแล้วหากผู้แต่งท่านใดเขียนนิยายแนวไซไฟจะรู้สึกว่าเก่งจังเลย แต่การจะรักษาความสนุกและน่าติดตามได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับการวางแนวเรื่องตลอดทั้งเรื่องค่ะ ซึ่งผู้แต่งยังไม่สามารถดึงความน่าสนใจของเรื่องให้ผู้อ่านรู้สึกอยากติดตามนัก สาระของเรื่องยังไม่ถูกกล่าวชัดเจน แม้จะถูกกล่าวในบทที่ห้าแต่ก็ยังไม่รู้สึกเข้าใจ รู้แค่ว่าแต่ละตัวละครจะมีความทรงจำที่สลับซับซ้อนกันไปมาและมีบางจุดที่จะเชื่อมโยงถึงกัน เช่น อเล็นเล่กับวิคเตอร์ ชาร์ลอตกับชาลี เป็นต้น ซึ่งถ้าผู้แต่งไม่เขียนเนื้อหาให้กระจ่างจะทำให้ผู้อ่านสับสนไปตลอดทั้งเรื่องได้ค่ะ
เน้นบทสนทนาที่บางครั้งไม่ใช่จุดสำคัญของเรื่อง (ประมาณตอนต้นเรื่องที่ต้องการเนื้อหาให้ดึงดูดใจและอยากอ่านต่อ) การดำเนินและผูกเรื่องยังเอื่อย ๆ จุดที่ควรดึงอารมณ์ก็ยังทำได้ไม่ดีนัก จุดนี้แนะนำว่าให้ผู้แต่งลองวางโครงเรื่องในแต่ละตอนให้ชัดเจนก่อนว่าจะเริ่มต้นอย่างไร จะดำเนินเรื่องแบบไหน และมีจุดให้ตื่นเต้นและลุ้นตามยังไงที่สำคัญในแต่ละตอนต้องมีปมให้เราอยากรู้และอยากอ่านในบทต่อไปด้วยซึ่งสิ่งเหล่านี้จะประสบความสำเร็จได้ก็ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์เขียนและการอ่านค่ะ แต่ถึงอย่างไรก็ตามดูเหมือนเนื้อเรื่องจะเริ่มเข้มข้นตั้งแต่บทที่หกเป็นต้นไปค่ะเพราะผู้แต่งเริ่มคลี่คลายปมให้เข้าใจบ้างแล้ว
นอกจากนี้แล้วเนื้อหาในแต่ละตอนที่มีความยาวมากเกินไปก็ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการอ่านได้เช่นกัน จุดนี้ลองปรับให้เนื้อหาแต่ละตอนนั้นมีความยาวที่ไม่ยาวจนเกินไปสามารถแบ่งเนื้อหาในตอนนั้น ๆ เป็นตอนย่อยได้ค่ะ
การบรรยาย (17/20)
ถ้าเทียบอายุของผู้แต่งกับการเขียนบรรยายในลักษณะนี้ก็ถือว่าดีพอสมควรค่ะ แต่ยังต้องมีการพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ผู้แต่งยังใช้คำสั้น ๆ คำง่าย ๆ ในการบรรยายบางฉากที่ควรจะบรรยายให้ลื่นไหลกว่านี้ ซึ่งผู้วิจารณ์เห็นคำเหล่านี้บ่อย ๆ ในการบรรยาย เช่น ตะลึง อึ้ง ตกใจ เป็นต้น วิธีการจะทำให้การเขียนบรรยายลื่นไหลก็ต้องอาศัยการอ่านบ่อย ๆ รวมถึงการเขียนของผู้แต่งเองด้วย ยิ่งเขียนยิ่งได้ค่ะ
ยกตัวอย่าง
แสงสีอร่ามตาจากตึกสูงระฟ้า น่าจะขยายคำเพิ่มเช่น แสงไฟหลากสีอร่ามตาจากตึกสูงระฟ้า เพื่อให้ประโยคชัดเจนขึ้น
ทั้งสองต่างพากันหอบอย่างเหน็ดเหนื่อย ลองปรับเป็นว่า ทั้งสองต่างหอบเหนื่อย, ทั้งสองต่างหอบตัวโยน เป็นต้น
เอลเลนมองตามลงมาอย่างตะลึง ควรปรับเป็น เอลเลนมองตามลงไปอย่างตื่นตะลึง หรือ เอลเลนมองตามลงไปอย่างตื่นตระหนก
วิคเตอร์พูดและเอาเก้าอี้มาวางไว้ให้ ปรับได้ว่า วิคเตอร์พูดจบก็นำเก้าอี้มาวางและรอให้แขกหน้าใหม่ได้นั่งลง
แม้เขาจะมีท่าทีนอบน้อมแต่เขาก็ดูระวังตัวไม่น้อยเลยทีเดียว ปรับได้ว่า แม้เขาจะมีท่าทีนอบน้อม แต่เขาก็ยังรักษาระยะห่างไว้อย่างระวังตัว
เธอนั่งอยู่บนวิลแชร์เพราะเธอไม่มีขา มันดูเป็นประโยคบอกเล่าที่ตรงเกินไป น่าจะปรับเป็นว่า เธอนั่งอยู่บนวิลแชร์ เนื่องด้วยเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ต้องสูญเสียขาของเธอไป เป็นต้น
ทำให้วิคเตอร์ร้องด้วยความเจ็บปวดอย่างสาหัส ควรปรับเป็น วิคเตอร์ร้องโอดโอยจากพิษบาดแผลนั้น หรือวิคเตอร์ร้องลั่นด้วยความเจ็บปวดจากพิษบาดแผล เป็นต้น
ชาลีพูดแล้วประคองวิคเตอร์ที่มีสภาพเลือดโชกตัวออกไป ควรปรับเป็น ชาลีรับคำและรีบประคองวิคเตอร์ที่โชกเลือดไปทั้งตัวออกไป
การบรรยายคำตะกุกตะกัก เช่น “ถ ถ ถูกต้อง” มันอยู่ในอัญประกาศแล้วเพราะฉะนั้นใช้คำที่ออกเสียงได้เลยค่ะ เช่น “ถะ ถูกต้อง”
การบรรยายในบทสนทนาระหว่างโทรศัพท์ หากต้องการทำให้รู้ว่าเป็นการสนทนาในสายระหว่างกัน ไม่จำเป็นต้องทำตัวเอียง (ในบทที่ 4) เพราะจะสับสนกับการบรรยายแบบคิดในใจ แค่ให้บทสนทนาอยู่ในอัญประกาศและบรรยายต่อท้ายว่ากำลังสนทนาทางโทรศัพท์ก็จะทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่าเช่น
“ไม่มีอะไรจะพูดแล้ว แค่นี้นะ” คนปลายสายพูดตัดบทและวางสายไปทันที เป็นต้น
ข้อสงสัย
ให้ผมเดาคงเป็นชาวจีน ในฉากแรก ๆ การพูดถึงเจ้าของร้านที่ชาลีทำงานมานานแล้ว ไม่น่าจะใช้คำว่าเดาได้ เพราะน่าจะมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับเจ้าของร้านอยู่แล้ว ถ้าปรับประโยคให้สอดคล้องกับเนื้อหาควรเป็น อาแปะแก่ ๆ คนหนึ่งที่เป็นชาวจีน
บทที่แน๊ทซ์ถามเกี่ยวกับดอกแอสเตอร์ “นายนี่ตลกร้ายนะว่าแต่ปลูกให้ใครเนี่ย” แต่วิคเตอร์ตอบว่า “ฉันปลูกเอง” คำตอบของวิคเตอร์ขัดแย้งในสิ่งที่แนทซ์ถาม ถ้าถามว่าปลูกให้ใครก็ต้องตอบว่าปลูกให้คนนั้นคนนี้หรือปลูกให้ตัวเอง เป็นต้น
บทที่ชาลีปั่นจักรยานไปส่งอเล็นเล่ “นานแค่ไหนแล้วนะที่ไม่ได้นั่งจักรยานด้วยกัน” ประโยคนี้ขัดกับบทแรกค่ะ เพราะเปิดฉากชาลีก็ขี่จักรยานไปส่งอเล็นเล่ที่โรงเรียนหนิคะ
วิคเตอร์เช็ดน้ำตาและยื่นดอกเอสเตอร์สีชมพูที่เขาเก็บไว้ในเสื้อกาวน์ให้อเล็นเล่ ต้องให้เอลเลนเพราะฉากนี้ยังพูดคุยกับเอลเลนอยู่ค่ะ
ฉากที่ชาลีรออยู่หน้าห้องไอซียูมีท่าทีร้อนรน แต่เมื่อพยาบาลบอกว่าอเล็นเล่ปลอดภัยและมีคนไข้รายอื่นจะคุยด้วยก็เดินไปหาวิคเตอร์เลย จุดนี้น่าจะขอให้พยาบาลพาไปหาอเล็นเล่ก่อนมันดูจะสมจริงมากกว่าเข้าไปหาวิคเตอร์แล้วถามอาการน้องสาวจากวิคเตอร์ทั้ง ๆ ที่เจ้าตัวก็ยังนอนเจ็บอยู่
แม้จะมีข้อบกพร่องให้เห็นอยู่แต่มีอยู่บางคำบางประโยคที่ผู้แต่งพยายามเขียนให้ดูมีความเป็นผู้ใหญ่ เข้าใจโลกใบนี้ดี อ่านแล้วรู้สึกเอ่อ ดีนะ คิดได้ยังไงอยู่หลายประโยคนะคะ ต้องขอชม
ความถูกต้องของหลักภาษา/การใช้คำให้ถูกความหมาย/การเขียนถูกผิด (17/20)
คำถูกผิดและเขียนตกหล่น รู้สึกว่าจะไม่ค่อยมีให้เห็นค่ะ ซึ่งดีมากเลย แต่ขอยกตัวอย่างเท่าที่เห็นนะคะ ประปลาย – ประปราย, ท้างฟ้า – ท้องฟ้า, หลางหาว – พลางหาว, ชาร์พูด – ชาร์ลอตพูด, ใหล้ตาย – ใกล้ตาย, เสือ กาวน์ – เสื้อกาวน์, เลือนลาง – เลือนราง เป็นต้น
ไม้ยมก หน้าและหลังเครื่องหมายให้เคาะวรรคเช่น ต่าง ๆ นานา เป็นต้น แต่บางสำนักพิมพ์ก็เคาะเพียงหลังเครื่องหมาย เช่น เสื้อสีแดงๆ ที่วางอยู่บนโต๊ะ เป็นต้น ทั้งนี้ควรเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งไปตลอดการเขียนบรรยายค่ะ
จุดไข่เปล่า เช่น “...ต่อด้วยข้อความ” อันนี้ผู้วิจารณ์ได้รับคำแนะนำจากกองบก. ท่านหนึ่งบอกว่าโดยหลักภาษาไทย การใช้จุดไข่ปลามักจะใช้ท้ายประโยคที่มีการอธิบายยืดยาวและย่นประโยคให้สั้นลง หรือถ้าใส่หน้าข้อความแล้วก็ต้องใส่หลังข้อความในกรณีที่ยกข้อความมาจากที่อื่น ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องใส่จุดไข่ปลา ให้ผู้แต่งบรรยายไปว่าตัวละครเว้นระยะการพูด หรือหยุดเงียบชั่วครู่ก่อนจะพูดต่อไปแทนน่าจะดีกว่าค่ะ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ทราบว่าทางสำนักพิมพ์ที่อื่นจะเป็นยังไงนะคะ ปกติผู้วิจารณ์อ่านแต่นิยายแปลก็ลองปรับใช้กับนิยายของผู้แต่งแล้วกันค่ะ
ปรัศนี ? ตามความเป็นจริงหลักภาษาไทยไม่มีการใช้ค่ะ เพราะในภาษาไทยมีคำไทยที่เป็นคำถามในตัวมันเองแล้ว เช่น หรือ เหรอ หรือไม่ อะไร ที่ไหน อย่างไร
ดังนั้น ใคร? จึงไม่จำเป็นต้องมีเครื่องหมายคำถามกำกับด้านหลังค่ะ
ตัวเอียง ถ้าต้องการใช้ตัวเอียงในการบรรยายบทที่พูดในใจของตัวละครก็ให้ผู้แต่งใช้ตลอดทั้งเรื่องไปเลยค่ะ บางครั้งผู้วิจารณ์ก็ยังเห็นผู้แต่งใช้บ้างไม่ใช้บ้าง ยกตัวอย่างบทสนทนาที่ไม่ได้ถูกใช้
ขอให้ดอกแอสเตอร์คุ้มครองเพื่อนของผมด้วยเถิด เด็กชายอธิษฐาน
บรรยากาศโรแมนติกจริงนะ เขาตื่นขึ้นและคิดในใจ
ตัวหนา การทำตัวหนาเป็นการเน้นว่าส่วนนี้สำคัญแต่บางคำไม่จำเป็นต้องทำตัวหนาก็ได้ค่ะ เช่น สเต็กหมูพริกไทยดำราดซอสเทอริยากิ เพราะอย่างไรแล้วผู้แต่งก็ใส่เครื่องหมาย ‘____’ เพื่อบอกว่ามันเป็นเมนูชนิดหนึ่งแล้วจึงไม่จำเป็นต้องทำตัวหนาค่ะ
เครื่องหมายยัติภังค์ ( - ) เห็นผู้แต่งใช้บ่อยมากในบทสนทนาที่ยังกล่าวไม่จบ ไม่ทราบจริง ๆ ว่าเครื่องหมายนี้ถูกต้องหรือไม่ แต่ปกติแล้วการใช้เครื่องหมายเพื่อบอกถึงการพูดไม่จบหรือมีผู้แทรกขึ้นน่าจะใช้จุดไข่ปลามากกว่าค่ะ เครื่องหมายยัติภังค์ในภาษาไทยจะใช้เพื่อ
- รวมคำต่างชนิดกันเพื่อใช้เป็นส่วนขยายหรือเพื่อให้เกิดคำใหม่
- แบ่งพยางค์ในการอ่าน
- ใช้เขียนแยกคำเมื่ออยู่สุดบรรทัด
- ใช้แทนช่วง เช่นราคามือถือเครื่องนี้อยู่ราว ๆ 8000-9000 เป็นต้น
ดังนั้นการใช้เครื่องหมายต่าง ๆ ต้องใช้ให้ถูกต้องค่ะ อย่าใช้ตามใจ
ปรับคำหรือประโยค
ไม้สุดท้าย พิมพ์ตกหรือเปล่า น่าจะเป็นไม้ตายสุดท้ายหรือเปล่า
ถูกเตะกระจุยกระจาย ควรปรับเป็น ถูกเตะกระจัดกระจาย
แต่นายก็สู้สุดฤทธิ์สุดเดช ควรปรับเป็น แต่นายก็สู้จนสุดกำลัง หรือแต่นายก็สู้จนสุดแรง เป็นต้น
แต่ก่อนที่ไอรินจะเหนี่ยวไกก็มีอะไรบางอย่างหยุดเธอไว้ก่อน มีคำฟุ่มเฟือยอยู่ในประโยคเดียวกัน ควรปรับเป็น แต่ก่อนที่ไอรินจะเหนี่ยวไกก็มีบางอย่างหยุดเธอ
ฉันก็จะสนองตัณหาของแกเอง น่าจะปรับเป็นว่า ฉันจะสนองความต้องการของแกเองจะดีกว่า เพราะความหมายของคำว่าตัณหาไม่ตรงกับเนื้อเรื่อง
หน้าตาดีจนชาลีต้องพูดกระแนะกระแหน กระแนะกระแหน แปลว่า พูดกระทบ พูดเสียดสี ปรับได้ดังนี้ หน้าตาดีจนชาลีอดแซวไม่ได้
ชาลีพูดตะโกนใส่หน้าของวิคเตอร์แล้วชกเข้าที่หน้าหน้าของเขา มีคำฟุ่มเฟือย แก้เป็น ชาลีตะคอกกลับและชกเข้าที่หน้าของวิคเตอร์แต่พลาดท่าเมื่อเด็กหนุ่มหลบทันและหมัดนั้นก็พุ่งตรงไปยังกำแพง
พวกเรารีบวิ่งไปกันเถอะ ไม่อย่างนั้นเราอาจจะหายไปตามด้วยนะคะ เขียนสลับที่แก้เป็น พวกเรารีบวิ่งไปกันเถอะ ไม่อย่างนั้นเราอาจจะหายตามไปด้วยนะคะ
คำพูดที่ดูเย็นชาของเด็กน้อยคนนี้กลับดูเหมือนซ่อนความกล้ำกลืนเอาไว้นะ? ซ่อนความกล้ำกลืน รู้สึกแปลก ๆ ค่ะ กล้ำกลืนแปลว่าอดกลั้นไม่แสดงให้เห็นซึ่งมีความหมายคล้ายกับซ่อน ควรปรับเป็นว่าซ่อนความรู้สึกบางอย่างเอาไว้
พร้อม ๆ กับร่างของฉันที่หายวาบในพริบตา ปรับเป็น พร้อม ๆ กับร่างของฉันที่หายวับในพริบตา
ความสวยงามของบทความ (18/20)
การจัดวางเนื้อหานิยายให้ชวนน่าอ่าน ต้องจัดวางตามรูปแบบหนังสือนิยายที่วางขายทั่วไปนะคะ นอกจากดูเรียบร้อยสวยงามแล้วยังทำให้อ่านง่ายขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นหากเริ่มต้นเขียนให้ย่อหน้าโดยใช้แท็บบทเวิร์ดช่วย เมื่อจบการบรรยายในเหตุการณ์นั้นก็เคาะบรรทัดลงมาแล้วทำการย่อหน้าใหม่อีกครั้งเมื่อเริ่มเหตุการณ์ใหม่ ทั้งนี้ก็ใช้กับบทสนทนาด้วยค่ะ ทั้งนี้ควรเขียนเนื้อหาลงในเวิร์ดก่อนแล้วค่อยก๊อปมาวางลงในเว็บไซด์จะทำให้รูปแบบการจัดวางยังคงเดิม ยกตัวอย่างการเขียนแบบมีย่อหน้า
เพย์ตันคว้าแขนแมดดี้ได้ทันแต่ทั้งคู่ก็ร่วงสู่เบื้องล่างในพริบตาเดียว ร่างทั้งสองตกลงสู่ลำธารที่เย็นเฉียบ เพย์ตันพยายามถีบร่างขึ้นเหนือน้ำแต่แล้วก็พบว่ามือที่เคยคว้าแมดดี้เอาไว้กลับไม่มีเธออยู่ข้างๆ เขากระวนกระวายจนต้องรีบว่ายไปทั่วเพื่อตามหา
“แมดดี้!” เขาตะโกนลั่นและพยายามปรับสายตาให้คุ้นชินกับความมืด แต่รอบๆ ตัวเขากลับเงียบสงัดจนต้องตัดสินใจดำน้ำลงไปทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่าจะมองเห็นข้างล่างนั่นหรือไม่
เป็นต้น
ตัวอักษร แนะนำให้ปรับสีเป็นสีดำเพื่อให้อ่านง่ายและไม่ปวดตา อีกปัญหาคือขนาดของตัวอักษรบางจุดจะเห็นว่ามีขนาดเล็กเกินไปด้วยค่ะ แนะนำว่าถ้าจะปรับแก้ให้มาปรับแก้ในเวิร์ดก่อน อย่าแก้ในตัวเนื้อหาที่จะอัพในเว็บไซด์ค่ะ อาจมีปัญหาเรื่องโค้ดก็ได้ทำให้เนื้อหาบางจุดรวนจนมีขนาดเล็กเกินไป
รวม 77 คะแนน
หวังว่าจะนำคำแนะนำไปปรับปรุงนิยายของท่านให้ดีขึ้น อาจไม่สามารถชี้แนะได้ทั้งเรื่องแต่ก็อยากให้นำคำแนะนำเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อผู้แต่งในการพัฒนาชิ้นงานนะคะ หากมีข้อผิดพลาดเขียนตกหล่นก็ขออภัยค่ะ
Miss Suika ยินดีให้บริการ
     
 
ชื่อเรื่อง :  Helheim
ใครแต่ง : Es-dur
17 ก.พ. 62
80 %
38 Votes  
#4 REVIEW
 
เห็นด้วย
4
จาก 4 คน 
 
 
Miss Suika รับวิจารณ์นิยาย

(แจ้งลบ)
  
เขียนเมื่อ 4 ม.ค. 57
Helheim
เกณฑ์การให้คะแนนเต็ม 100
ชื่อเรื่องและความสอดคล้องของเนื้อหา (10/10)
โดยรวมที่อ่านมาก็สอดคล้องกับแนวของเรื่องดีค่ะ เป็นการพูดถึงเรื่องราวของกลุ่มคนนักรับจ้างที่ผู้จ้างใช้ให้ทำอะไรก็ทำแม้กระทั่งไม้จิ้มฟันทองคำยันลักพานักโทษจากคุก นักรับหนุ่มน้อยรูปงามก็สามารถทำได้ทุกอย่างจริงๆ
ความสนุก (27/30)
ความชื่นชอบนิยายเรื่องนี้จะค่อยๆ สูงขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละตอนนะคะ เนื่องด้วยว่าผู้แต่งจะค่อยๆ เล่า ค่อยๆ บรรยายไป ซึ่งจะทำให้เราเห็นสายสัมพันธ์อันน่าพิศวงของเหล่าชายหนุ่มที่อยู่ในเฮลเฮมค่ะ เพราะมันแฝงความห่วงใยแบบแปลกๆ อ่านไปก็ลุ้นไปว่า ตกลงเรื่องนี้จะมีคู่พระเอกกับนายเอกหรือเปล่า ปกติเราจะไม่อ่านแนวนี้นะคะ แต่จากที่อ่านมาทั้งหมดผู้แต่งจะเน้นให้เป็นบทขำขันแซมกับเรื่องการทำภารกิจสนุกๆ เสียมากกว่า ทำให้นิยายดูมีสีสันแบบสาวจิ้นวายนิดๆ ไปตามบทของเรื่อง
การบรรยาย (20/20)
ใช้สำนวนภาษาได้สวยดีค่ะ รู้เลยว่าผู้แต่งอ่านหนังสือมามากเอาการเพราะสำนวนบางสำนวนไม่เจอในนิยายวัยรุ่นทั่วไปที่ไม่เน้นบทบรรยาย แต่สำหรับนิยายแนวแฟนตาซีเรื่องนี้ทำออกมาได้ในระดับดีเลยค่ะ การบรรยายจูงให้เข้าสู่สถานการณ์ก็ทำให้มองเห็นภาพชัดเจนดี ซึ่งต้องขอชมเรื่องการคิดฉากต่างๆ ที่มักไม่ซ้ำกัน กระทั่งเรื่องที่โยงเข้าสู่ภารกิจก็แหวกแนวโดยเฉพาะไปขโมยไม้จิ้มฟันทองคำนี่แหละ ทำเอาคนวิจารณ์นั่งขำกันเลยทีเดียว ต้องขอชมเรื่องการใช้คำที่หลากหลายด้วยค่ะ ทำให้คนวิจารณ์รู้และเข้าใจคำใหม่ๆ เพิ่มขึ้นไปด้วย
ความถูกต้องของหลักภาษา/การใช้คำให้ถูกความหมาย/การเขียนถูกผิด (19/20)
คำผิดคำตก ไม่ค่อยเจอคำผิดชัดเจน แต่ก็มีบ้างประปรายค่ะ เช่น ขนลุกเกลียว – ขนลุกเกรียว, รอบซุ่ม – ลอบซุ่ม, ผลุนผัน – ผลุนผลัน, ครำก้น – คลำก้น,ร้อนลุ่ม – ร้อนรุ่ม, ไม่ทันการ – ไม่ทันการณ์, บอกถ้อย – บอกถ้อยคำ, ไอออกแอก – ไอค่อกแค่ก เป็นต้น
การเรียกคำแทนชื่อ จากที่อ่านมามีความรู้สึกว่าทำไมผู้แต่งถึงไม่ใช่ชื่อแทนตัวคนนั้นๆ ไปเลย เพราะจะเห็นอยู่บ่อยครั้งที่ผู้แต่งจะใช้คำว่าเจ้าของผมสีชาในการเรียกชื่อเวียร์ครอยซ์ ในความคิดของผู้วิจารณ์คิดว่าควรจะใช้ชื่อไปเลยน่าจะดีกว่า เพราะผู้วิจารณ์จะต้องมานึกถึงสีผมของตัวละครทุกครั้งเลยว่าใครกัน ไหนๆ ก็มีชื่อแล้วก็ควรทำให้ชื่อมันน่าจดจำมากกว่าค่ะ
ความสวยงามของบทความ (20/20)
ไม่มีอะไรติดขัดค่ะ ส่วนใหญ่ผู้วิจารณ์จัดเน้นเรื่องการจัดหน้ากระดาษ ย่อหน้า วรรคต่างๆ และผู้แต่งก็สามารถทำออกมาเรียบร้อยสะอาดตาดีค่ะ ส่วนเรื่องตัวหนังสือก็ใหญ่พอดีอ่านแล้วไม่ปวดตาดีด้วย
รวม 96 คะแนน
Miss Suika ยินดีให้บริการ
นิยายแฟนตาซีแนวนี้คงเหมาะกับวัยรุ่นที่ชอบอ่านการ์ตูนสไตล์ญี่ปุ่นแน่ๆ เพราะมันมีกลิ่นของความคิกขุในแบบวายเบาๆ แต่ก็ไม่ได้เน้นหนักจนคนที่ไม่ชอบสายนี้อ่านไม่ได้นะคะ เพราะโดยหลักของเรื่องจะเน้นภารกิจสนุกๆ ชวนขำยังทำให้เรื่องราวมันดูน่าตื่นตาตื่นใจดีแถมยังมีปมของนักรับจ้างให้คอยลุ้นกันต่อไป นิยายเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าติดตามอีกเรื่องค่ะ
     
 
ใครแต่ง : Rocking Doll
26 ธ.ค. 59
80 %
3 Votes  
#5 REVIEW
 
เห็นด้วย
3
จาก 3 คน 
 
 
Miss Suika รับวิจารณ์นิยาย

(แจ้งลบ)
  
เขียนเมื่อ 9 ธ.ค. 56
No friend รับได้ไหมถ้าหัวใจบอกว่ารัก
เกณฑ์การให้คะแนนเต็ม 100
ชื่อเรื่องและความสอดคล้องของเนื้อหา (10/10)
กลิ่นนิยายแนวรักเพื่อนโชยมาแต่ไกลเลย โดยรวมแล้วชื่อกับเนื้อหาของเรื่องก็เหมาะสมกันดีค่ะ อารมณ์เพื่อนสนิทคิดไม่ซื่อ
ความสนุก (25/30)
เป็นนิยายที่อ่านได้เรื่อยๆ มากกว่าค่ะ อาจเป็นเพราะผู้แต่งดำเนินเรื่องให้มันค่อยๆ เป็นไป ให้ผู้อ่านซึมซับความสัมพันธ์ระหว่างเปโซกับเวกัส แต่มันไม่พีคพอให้รู้สึกว่ามันดราม่านะคะเพราะใจนางเอกก็แข็งพอที่จะไม่ทำตามความต้องการของตัวเองหรือเดร็กที่แอบชอบนางเอกก็ไม่ได้ทำอะไรที่สุดโต่งออกมาชัดเจนจนทำให้คนอ่านไม่ไว้ใจเดร็กอ่ะ แม้แต่ตัวละครใหม่ที่ชื่อพีชก็ไม่ทำให้มันเป็นปัญหาใหญ่ได้ เนื้อเรื่องก็เลยดูราบเรียบค่ะแต่ไม่ได้บอกว่ามันน่าเบื่อนะคะ อาจจะเป็นเพราะตัวผู้วิจารณ์ก็ได้ค่ะที่รู้สึกว่ามันเกินวัยไปแล้ว ตัวเนื้อหาน่าจะเหมาะกับเด็กๆ ที่เพิ่งเป็นวัยรุ่นแบบนี้น่าจะติดใจกันมากกว่าเนอะ
การบรรยาย (20/20)
เป็นนิยายวัยรุ่นเรื่องแรกที่วิจารณ์แล้วมีการบรรยายที่ลื่นไหลไม่ติดขัดเลย แสดงให้เห็นว่าทำการบ้านมาดี มีรายละเอียดต่างๆ ที่น่าสนใจทำให้ผู้อ่านที่ไม่มีประสบการณ์เรื่องนั้นๆ เข้าใจได้มากขึ้น เช่น เรื่องสเกตบอร์ด เรื่องเกียร์ เป็นต้น บอกเล่าความรู้สึกของตัวละครได้ดีไม่ทำให้รู้สึกว่าตัวละครในเรื่องมีความคล้ายคลึงกัน อ่านแล้วรู้ว่าคนนี้นิสัยแบบนี้ นางเอกนิสัยอย่างนั้น เราว่าลองส่งสำนักพิมพ์ก็มีโอกาสได้ตีพิมพ์นะ เขียนดีทีเดียว
ความถูกต้องของหลักภาษา/การใช้คำให้ถูกความหมาย/การเขียนถูกผิด (18/20)
คำผิดคำตก มีแต่ไม่เยอะ เดาว่าน่าจะรีไรท์มาแล้วด้วย แต่ขอยกตัวอย่างที่อ่านแล้วเจอแล้วกันเนอะ หรุกหริก – หลุกหลิก, หล่อน – หล่อน, ตะหวาด – ตวาด, ตะหงิด – ตงิด, คุมโปง – คลุมโปง, ผ่อนหายใจ – ผ่อนลมหายใจ, เข้ากลุ – เข้ากรุ, ตัดทบ – ตัดบท, ประทัง – ปะทุ, กรอกตา – กลอกตา, บัดสีบัดถะเหลิง – บัดสีบัดเถลิง, กลุ้มกลิ่ม – กรุ้มกริ่ม, เท่ห์ – เท่, โผล –โผ, พยาม – พยายาม, ประครอง – ประคอง, ท้าวคาง – เท้าคาง, สับเพร่า – สะเพร่า
ตัวอิโมติค่อนและเครื่องหมายต่างๆ จริงๆ แล้วไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้นะ เราไม่ชอบตัวอิโมในนิยายเท่าไหร่ ยังไงผู้แต่งก็บรรยายให้เห็นภาพอยู่แล้วล่ะ ส่วนเครื่องหมายไม่จำเป็นต้องใส่ซ้ำเยอะๆ เพื่อเน้นคำก็ได้ค่ะ ใช้ให้ถูกหลักภาษาจะดีกว่าเนอะ
ความสวยงามของบทความ (20/20)
โดยรวมก็ดีค่ะ เราไม่ค่อยเน้นเรื่องหน้าตานิยายเท่าไหร่ขอให้ตกแต่งด้านหน้าบทความก็ถือว่าโอเคแล้ว มีรูปคาแรกเตอร์ให้คนอ่านจินตนาการตามแถมยังมีคำโปรยแนะนำไว้ก็ทำได้ดี ส่วนใหญ่เราจะดูตรงการจัดหน้ากระดาษในเนื้อหามากกว่าว่าอ่านง่าย ไม่ปวดตาหรือไม่ ซึ่งผู้แต่ก็ทำได้ดีค่ะ เราอ่านแป้บเดียวสบายตาสบายใจไม่มีปัญหาอะไรเลย
แบนเนอร์นิยาย มีเอาไว้โฆษณาและแลกนิยายกับเพื่อน ๆ ในเด็กดี ขนาดปกติ 250*75
รวม 93 คะแนน
คำวิจารณ์อาจดูไม่มีอะไรเลยเพราะผู้แต่งเขียนดีอยู่แล้วนะคะเพียงแค่ปรับจุดพีคของเรื่องขึ้นก็เท่านั้นแถมเนื้อเรื่องก็ยังไม่จบด้วย เราว่าน่าจะใส่อะไรเข้าไปเสริมได้อีกแน่นอน เป็นกำลังใจให้ค่ะแล้วลองส่งสำนักพิมพ์ดูนะคะ
Miss Suika ยินดีให้บริการ
     
 
ชื่อเรื่อง :  [Draco x Hermione] A World Apart
ใครแต่ง : O'Monique
27 ม.ค. 65
80 %
25 Votes  
#6 REVIEW
 
เห็นด้วย
3
จาก 3 คน 
 
 
Miss Suika รับวิจารณ์นิยาย

(แจ้งลบ)
  
เขียนเมื่อ 29 ม.ค. 57
A world Apart {Recommended}
เกณฑ์การให้คะแนนเต็ม 100
ชื่อเรื่องและความสอดคล้องของเนื้อหา (10/10)
เป็นเรื่องที่แปลกดีนะ ตอนแรกเข้าใจว่าเป็นการพูดถึงคนที่อยู่และคนที่ตายจากไป แต่กลับเป็นว่ามีอีกคนที่มาจากคนละโลกมาแทนที่ ฟังดูงงๆ เนอะ แต่เนื้อเรื่องก็สอดคล้องกับชื่อเรื่องดี
ความสนุก (30/30)
เป็นเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งค่ะ เป็นแฟนฟิคที่จับคู่ได้น่าอ่านและไม่รู้สึกน่าเบื่อ เพราะผู้วิจารณ์เคยแพร์ริ่งคู่นี้ไว้เหมือนกันแต่ก็ไม่เคยอ่านฟิคของหนังสือเรื่องนี้จริงจังสักที วันนี้ได้ลองแล้วคิดว่าถูกใจ เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าคาแรกเตอร์ของตัวเอกค่อนข้างชัดเจน ต่างคนต่างไม่ชอบกันเป็นทุนเดิมแต่ต้องมาอยู่ร่วมชีวิตกันในฐานะประธานนักเรียนมันยิ่งทำให้น่าติดตาม แถมทั้งคู่ยังมีสายสัมพันธ์พิเศษต่อกัน แต่เรื่องมันจบลงไม่สวยเมื่อคนใดคนหนึ่งจากไป คนที่อยู่ก็เลยตรอมใจและใช้ชีวิตที่เหลืออย่างทรมาน ซึ่งผู้แต่งสามารถบอกเล่าความรู้สึกของตัวละครหลักได้ดีมาก(ไม่ว่าตอนทุกข์ ตอนกังวล ตอนประหม่า หรือตอนอารมณ์ดี) ตรงตามคาแรกเตอร์ทำให้อ่านแล้วอยากอ่านต่อไปอีก อยากรู้ว่าเดรโกจะจัดการปัญหานี้แบบไหนและจะมีใครมาแทนที่เฮอร์ไมโอนี่ได้หรือเปล่า และมันก็เกิดอาการเซอร์ไพรส์ขึ้นจริงๆ ว่ามีเฮอร์ไมโอนี่อีกคนเข้ามา และทำให้เนื้อเรื่องมันพลิกไปอีกซึ่งถ้าพูดถึงความสนุกเรื่องนี้ก็จัดว่าเป็นนิยายที่น่าสนใจแต่ปัญหาใหญ่ของเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่ความสนุกหรือการเล่าเรื่อง แต่ผู้แต่งมีปัญหาในเรื่องการเขียนบรรยายซึ่งจะขอกล่าวในหัวข้อถัดไปค่ะ
การบรรยาย (15/20)
ผู้แต่งใช้วิธีการบรรยายสลับกันไปมาระหว่างการเล่าถึงอดีตและปัจจุบัน ค่อยๆ คลายปมแบบย้อนหลังแต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มปมใหม่ในปัจจุบัน ถ้าอ่านแบบผ่านๆ อาจทำให้สับสนได้ แต่ถือว่าวางเรื่องและรู้จักใช้เทคนิคในการบรรยายได้น่าสนใจ
การเรียบเรียงประโยค มีบางประโยคที่ขาดๆ เกินๆ แม้ว่าจะใช้คำที่ดูสละสลวยแต่การบรรยายกลับสะดุดและไม่ลื่นไหลอย่างที่คิดไว้ อาจเป็นเพราะสมองกับการพิมพ์มันไม่ไปพร้อมกัน เมื่อเราเขียนบรรยายในขณะที่คิดไปด้วยอาจทำให้คำเชื่อมบางคำขาดหายไป แนะนำว่าให้อ่านทวนหลายๆ รอบค่ะ เพื่อที่จะได้เกลาประโยคให้มีความชัดเจนและไหลลื่น ยกตัวอย่าง
“เธอเอ่ยพร้อมรอยยิ้มที่ไม่ได้สื่อถึงอะไรเฉพาะเจาะจง” ควรเลือกระหว่าง เธอเอ่ยพร้อมรอยยิ้มที่ไม่ได้สื่อถึงอะไรเป็นพิเศษ หรือ เธอเอ่ยพร้อมรอยยิ้มที่ไม่ได้สื่อเฉพาะเจาะจงถึงอะไร หรือ เธอเอ่ยพร้อมรอยยิ้มที่ไม่ได้สื่อถึงอะไร เป็นต้น
“เธอหยุดคำพูดทั้งหมดของเขาด้วยนิ้วชี้นิ้วเดียวที่ริมฝีปากของเขา” ควรเป็น เธอแตะริมฝีปากด้วยนิ้วชี้เพื่อหยุดทุกคำพูดของเขา หรือ เธอแตะนิ้วชี้เบาๆ บนริมฝีปากเพื่อหยุดทุกคำพูดของเขา
“เขารู้สึกราวหัวใจได้แตกออกเป็นเสี่ยงๆ” ควรเป็น เขารู้สึกราวกับหัวใจได้แตกออกเป็นเสี่ยงๆ
“ช่วงเวลานี้แบบนี้เธอจะจูบเพื่อปลอบประโลมเขาเสมอๆ” ควรเป็น ในช่วงเวลานี้เธอมักจะจูบเพื่อปลอบประโลมเขาอยู่เสมอ
แต่แน่นอนว่าเขาไม่ได้ยินอะไรใดๆ ควรเป็น แต่แน่นอนว่าเขาไม่ได้ยินเสียงใดๆ หรือ แต่แน่นอนว่าเขาไม่ได้ยินสิ่งใด
บางครั้งที่เขาหยุดที่หน้าห้องนั้นเขาจะเอามือเขกหัวตัวเองเบาๆ อย่างตลกตัวเอง แต่ครั้งนี้เขาหมุนลูกบิดประตู ควรเป็น บางครั้งเขาหยุดหน้าห้องนั้นและมักจะเขกหัวตัวเองเบาๆ อย่างนึกขำที่ทำอะไรไร้สาระ แต่ครั้งนี้เขากลับหมุนลูกบิดและเปิดประตูเข้าไป
ทุกๆ รูปพวกเขาจะยิ้ม ควรเป็น ในทุกรูปพวกเขาจะส่งยิ้มและหัวเราะอย่างสดใส
ข้อหาร้ายๆ คงถูกใส่หน้าเขาเต็มไปหมดแน่ๆ ควรเป็น ซึ่งใครก็รู้ว่าเขาเกลียดเธอขนาดไหนและไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาคงถูกใส่ร้ายด้วยข้อกล่าวหาต่างๆ นานาเป็นแน่ จะให้ความหมายที่เข้าใจได้มากกว่าค่ะ
การถูกแพนซี่คลอเคลียอยู่ตลอดเวลา อาจไม่เคยเป็นการฆ่าเวลาที่เดรโกชื่นชอบ ควรเป็น การถูกแพนซี่คลอเคลียอยู่ตลอดเวลา อาจไม่ใช่การฆ่าเวลาที่เดรโกชื่นชอบนัก
แน่นอนว่าเดรโกเป็นผู้ชาย มีความพลุ้งพล่านของเลือดในกายแบบผู้ชายทั่วไป เขาจึงไม่ปฏิเสธการใช้เวลาอยู่กับเรือนร่างของเพศตรงข้าม ควรเป็น
แน่นอนว่าเดรโกเป็นผู้ชาย เลือดในกายย่อมพลุ่งพล่านเหมือนผู้ชายทั่วไป เขาจึงไม่ปฎิเสธการใช้เวลาร่วมกับเรือนร่างของสาวๆ
ความถูกต้องของหลักภาษา/การใช้คำให้ถูกความหมาย/การเขียนถูกผิด (15/20)
คำที่ผู้แต่งเขียนบรรยายค่อนข้างสับสน อ่านแล้วรู้สึกสะดุดอยู่บ่อยๆ การเว้นวรรคตอนในบางประโยคไม่จำเป็นต้องเว้นวรรคด้วยซ้ำแต่กลับเห็นอยู่บ่อยๆ แนะนำว่าให้ผู้แต่งลองอ่านและดูความลื่นไหลของการบรรยายด้วยนะคะ
การเคาะเว้นวรรคประโยค ควรเว้นวรรคก็ต่อเมื่อประโยคนั้นได้พูดถึงสิ่งหนึ่งจบไปแล้ว ถ้าหากยังบรรยายไม่จบให้เขียนต่อกัน เช่น
เขาทำเสียงฮึดฮัดก่อนจะวางกรอบรูปที่เขาเพิ่งหยิบขึ้นมาหมายจะทุ่มทิ้ง กลับคืนไปบนโต๊ะ และหยิบภาพอื่นขึ้นมาแต่มันก็คล้ายๆกันกับอันแรก ควรแก้ไขดังนี้
เขาทำเสียงฮึดฮัดก่อนจะวางกรอบรูปที่เขาตั้งท่าจะทุ่มทิ้งกลับไปวางไว้ดังเดิมและหยิบภาพอื่นขึ้นมาอีกครั้ง แต่มันก็เหมือนกับภาพก่อนหน้าและทุกภาพที่กระจายตัวอยู่ทั่วห้อง รูปที่มีแต่พวกเขา...มีเพียงไม่กี่ใบเท่านั้นที่ถ่ายร่วมกับพวกวิสลีย์และกริฟฟินดอร์คนอื่นๆ และมีรูปหนึ่งที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของรูปทั้งหมดที่เขาเดาว่าคงเป็นพ่อกับแม่ของเธอ เพราะเป็นรูปเดียวที่ภายในภาพไม่มีการเคลื่อนไหว อีกนัยหนึ่งมันถูกถ่ายด้วยกล้องและวิธีของมักเกิ้ล เดรโกถอนหายใจ...ทั่วทั้งห้องมีรูปของคนที่เธอรักอยู่เต็มไปหมด ไม่แปลกใจเลยสักนิดที่มันจะไม่มีรูปของเขาอยู่ในห้องนี้...ไม่มีและไม่เคย
การใช้เครื่องหมาย
การใช้ไม้ยมก ควรมีการเว้นวรรคหลังเครื่องหมาย เช่น เธอขยับเข้ามาใกล้ๆ พร้อมกับซบแก้มนวลบนไหล่แข็งแรงนั้น จับเธอลงกับพื้นข้างๆ และทำอะไรบางอย่าง เป็นต้น
การใช้ไม้ยมกย้ำการกระทำบ่อยครั้งอาจทำให้การบรรยายดูซ้ำซาก หลีกเลี่ยงการใช้หรือลดถอนและปรับให้เหมาะสม เช่น
ข้างๆ, เบาๆ, เศร้าๆ, เรียบๆ, ค่อยๆ, มากๆ, ช้าๆ, เสมอๆ, เสี่ยงๆ,ใดๆ, เล็กๆ, หลายๆ เบลอๆ ฯลฯ ซึ่งบางคำไม่จำเป็นต้องเติมไม้ยมกก็มีความหมายไม่ต่างกัน เช่นคำว่า เสมอ หลาย เป็นต้น
ดวงตาของเขามองแผ่นหลังของเธอนิ่งนานก่อนจะค่อยๆ ปิดลง ควรเป็น ดวงตาของเขามองแผ่นหลังของเธอนิ่งก่อนจะเลื่อนปิดลงอย่างทรมาน
เครื่องหมายปรัศนี ความจริงในภาษาไทยเรามีคำซึ่งเป็นเครื่องหมายคำถามอยู่แล้ว เช่น หรือ ไหม ใคร อะไร ไหน กี่ เป็นต้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้ปรัศนี
จุดไข่ปลา ต้องมีสามจุดนะคะ (...) เป็นการละข้อความข้างท้ายที่ไม่จำเป็นหรือไม่ต้องการกล่าวถึง
การใช้คำซ้ำในประโยคเดียวกันและความหมายซ้ำซ้อน ยกตัวอย่าง
เธอพยักหน้าอย่างเห็นด้วยช้าๆ ...เขาหลับตาลงช้าๆ อยู่ในบรรทัดเดียวกันจะทำให้ความสละสลวยของการบรรยายลดลง แนะนำว่าให้เลือกคำอื่นแทนการใช้คำเดิม เช่น เธอพยักหน้าช้าๆ อย่างเห็นด้วย...เขาจึงหลับตาลงและถอนหายใจยาว
เขาทำกิจวัตรประจำวันเหมือนเคยๆ อย่างที่เคยทำมาตลอด ควรเป็น เขาทำกิจวัตรประจำวันเหมือนอย่างที่เคยทำมาตลอด
มีบางรูปที่เธอกลอกตาใส่เพื่อนหัวแดงของเธอ และหน้าของเขาก็ต้องบึ้งตึงเมื่อเขาเหลือบไปเห็นภาพที่เธอชำเลืองมองพอตเตอร์เพื่อนของเธอ ขณะที่เขาเองก็มองเธอราวกับเธอเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลก..มองเธอด้วยแววตาที่รักใคร่ ควรเป็น
มีบางรูปที่เธอกลอกตาใส่เพื่อนหัวแดงและเดรโกก็บึ้งตึงเมื่อเหลือบเห็นภาพที่เธอชำเลืองมอง พอตเตอร์ ในขณะที่ผู้ชายคนนั้นก็มองเธอราวกับเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลก...
พวกเขายืนประจันหน้ากันราวกับอยู่ในการแข่งขันที่ไม่มีใครยอมใคร ดวงตาถลึงใส่กันอย่างกับว่าถ้าฆ่ากันและกันได้ก็คงจะทำ ควรเป็น
เขาและเธอยืนประจันหน้ากันราวกับอยู่ในการแข่งขันอันดุเดือด ต่างไม่มีใครยอมใคร กระทั่งดวงตาก็ยังถลึงฟาดฟันอย่างไม่ลดละและหากคิดว่าฆ่ากันได้ ทั้งเขาและเธอคงพร้อมใจทำมันทันที
ตอนนี้หญิงสาวอันเป็นที่รักของเขากำลังจะหมดลมหายใจอย่างช้าๆ
กำลัง และ จะ มีความหมายที่ใกล้เคียงกันมาก ควรเลือกสักคำในการเขียน เช่น ตอนนี้หญิงสาวอันเป็นที่รักของเขากำลังหมดลงหายใจอย่างช้าๆ เป็นต้น
คำถูกผิดและเขียนตกหล่น มีให้เห็นทุกตอนค่ะ ลองกลับมาอ่านทวนบ่อยๆ นะคะ แล้วค่อยแก้ไขไป
คนนึง – คนหนึ่ง (หากเป็นการบรรยายควรใช้คำนี้นะคะ เพราะเป็นภาษาเขียน), ประทุ – ปะทุ, โพทะนา – โพนทะนะ, รอดไรฟัน – ลอดไรฟัน, อย่าพอใจ – อย่างพอใจ, เชื่อเหลือ- เหลือเชื่อ, บรอนด์ – บลอนด์, ทรมาณ – ทรมาน, อ่าหะ – อ่าฮะ,พลุ้งพล่าน – พลุ่งพล่าง, แตว่า – แต่ว่า, ละลักละลำ – ละล่ำละลัก,พร่างพรู – พรั่งพรู, รวเร็ว – รวดเร็ว, ควาเงียบ – ความเงียบ, แช่เข็ง – แช่แข็ง, มองตา – มองตาม,ลวกๆ รนๆ – ลวกๆ ลนๆ, หน้าหมั่นไส้ – น่าหมั่นไส้, กลบกลื่น – กลบเกลื่อน,ขอนใหม่ – ขอนไม้, เขม่ามือ – เขย่ามือ, กระพริบ – กะพริบ, แว่บ – แวบ เป็นต้น
ใช้คำผิดความหมาย
ตะครุบปากตัวเอง ควรเป็น หุบปากตัวเอง ปิดปากตัวเองทันที หยุดปากตัวเอง
ความสวยงามของบทความ (19/20)
อยากให้ช่วยเพิ่มขนาดตัวอักษรหน่อยค่ะ เป็น 16 หรือไม่ก็ 18 น่าจะดีค่ะ เพราะขนาดมันเล็กเกินไปเวลาอ่านนานๆ จะทำให้ปวดตาได้ค่ะ
รวม 89 คะแนน
ถ้าผู้แต่ลดถอนการใช้คำฟุ่มเฟือยออกไป การบรรยายจะลื่นไหลขึ้นกว่าเดิมเยอะมาก เรื่องนี้มีการผูกเรื่องที่น่าสนใจอยู่แล้วแค่ปรับปรุงแก้ไขการเขียนบรรยายก็จะทำให้นิยายเรื่องนี้น่าติดตามขึ้นไปอีก หวังว่าการแนะนำตรงจุดจะช่วยให้ผู้แต่งนำเอาไปปรับปรุงแก้ไขนะคะ เพราะนั่นคือจุดประสงค์หลักของผู้วิจารณ์ หากทำให้ขุ่นเคืองใจก็ขออภัยด้วยค่ะ
Miss Suika ยินดีให้บริการ
     
 
ใครแต่ง : Alice Devereux/Nan-a(Alice)Hwang
23 ต.ค. 59
80 %
7 Votes  
#7 REVIEW
 
เห็นด้วย
3
จาก 3 คน 
 
 
Miss Suika รับวิจารณ์นิยาย

(แจ้งลบ)
  
เขียนเมื่อ 12 พ.ค. 57
The woman in black ชุดดำสยอง จ้องสิงร่าง
เกณฑ์การให้คะแนนเต็ม 100
ชื่อเรื่องและความสอดคล้องของเนื้อหา (10/10)
คิดถึงภาพยนตร์เรื่องหนึ่งขึ้นมาเลยค่ะที่แดเนียลเล่น เมื่อมันมีความคล้ายคลึงกันก็น่าดึงดูดให้เข้ามาอ่านไม่ใช่น้อย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการดำเนินเรื่องของนิยายเรื่องนี้ดูจะแต่งต่างกับภาพยนตร์และผู้วิจารณ์ขอยืนยันว่าเรื่องราวไม่ได้มีความเกี่ยวข้องหรือเป็นแฟนฟิคแต่อย่างใด
ความสนุก (30/30)
ติดอยู่อย่างเดียวคือผู้วิจารณ์ไม่ถูกจริตกับนิยายแนวนี้เท่าไหร่ค่ะ อ่านไปก็รู้สึกกลัว ๆ ยิ่งฉากที่แต่ละคนโดนอะไรไปบ้างก็รู้สึกว่า อืม...เราควรเปลี่ยนเวลาอ่านนิยายเรื่องนี้ดีกว่านะ เพราะไม่งั้นคงผวาแน่ ๆ ซึ่งถ้าผู้แต่งต้องการให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์นี้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในการเขียนนิยายเรื่องนี้แล้วล่ะค่ะ การันตีว่านิยายเรื่องนี้ทำให้หลอนจริง ๆ แถมรู้สึกไม่อยากอ่านตอนต่อไปเลย มันทั้งรู้สึกกลัว ตื่นเต้น ลุ้นปน ๆ กันไปหมดค่ะ สรุปว่าเป็นนิยายที่น่าอ่านอีกเรื่องหนึ่ง
การบรรยาย (19/20)
เป็นนิยายที่มีการบรรยายที่น่าติดตามมากเรื่องหนึ่งค่ะ แบบบุคคลที่สามทำให้บรรยายอารมณ์ของคนทุกคนได้อย่างน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ ไม่เยิ่นเย้อ เห็นภาพชัดเจนและลุ้นไปกับเนื้อหาของมันได้ในทุก ๆ ตอน มีบ้างที่สะดุดเล็กน้อยกับการบรรยายแต่ไม่ถือว่าบกพร่อง แค่ลองปรับแก้เล็กน้อยก็ทำให้นิยายเรื่องนี้สนุกและน่าติดตามแล้วค่ะ
ข้อสงสัย
ฉากช่วงแรกที่บอกว่าเวโรนิก้ากับแพทริกเป็นแฟนกัน จุดนี้น่าจะมีการเสริมความสัมพันธ์ของทั้งสองหน่อยก็ได้ค่ะ ให้ดูว่าสองคนนี้เป็นแฟนนะไม่ใช่เพื่อนกันธรรมดา ๆ เช่นเสริมตอนที่กลุ่มเพื่อนชายปีนขึ้นห้อง อาจมีการโอบกอดแสดงความรักกันก่อนก็ได้
ฉากที่อลิซถามจีโอวานี่ว่าทำไมไม่ถามแพทริกเรื่องเวโรนิก้า แทนที่ตัวแพทริกจะเป็นคนตอบกลับให้จีโอวานี่ตอบแทน จุดนี้น่าจะให้เจ้าตัวตอบเลยก็ได้ค่ะเพราะก็ยืนอยู่ในวงสนทนากันอยู่แล้ว
ฉากการตายทั้งไรอันและแพททริกจะเริ่มจากการที่พ่อกับแม่ไปเดตกันทั้งคู่ รู้สึกว่าจุดนี้น่าจะปรับให้เหตุผลมันต่างกันเล็กน้อยก็น่าจะดีค่ะ
หญิงผอมแห้งจนดูเหมือนหนังหุ้มกระดูกในชุดกระโปรงแบบวิกตอเรียนสีดำซีด ใบหน้าขาวไร้เลือดฝาดสีเหมือนเนื้อปลาตาย ฉากที่อลิซมองเห็นผีจากชั้นสองของบ้านไม่น่าจะเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ได้ชัดเจนขนาดนั้น เนื่องจากผู้แต่งใส่ข้อมูลรายละเอียดชัดมากเสมือนอยู่ตรงหน้าเลย ลองปรับดูนะคะให้สมจริงขึ้นมาอีกนิด
ความถูกต้องของหลักภาษา/การใช้คำให้ถูกความหมาย/การเขียนถูกผิด (15/20)
คำถูกผิดและเขียนตกหล่น เรื่องปรากฏเหนือธรรมชาติ – เรื่องปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติ, หลังจากกับมาจาก – หลังกลับจากทัศนศึกษา, วางกล้าม – วางก้าม, รยด่าง – รอยด่าง, จนจบจบ – จนจบ, อลิ – อลิซ, เกี่ยวับ – เกี่ยวกับ, ประดังประเด – ประเดประดัง, ผีถ้วยแก้ – ผีถ้วยแก้ว, หวาดกลัว เช่น ๆ พวกหนู – หวาดกลัวเช่นพวกหนู, หรอ – เหรอ, ไมถูกกลับอะไรบ้าง – ไม่ถูกกับอะไรบ้าง, อันนึง – อันหนึ่ง (ถ้าเป็นการบรรยายให้เขียนอยู่ในรูปภาษาเขียนเสมอ), แห้งหาก – แห้งผาก, ปาด – ปราด, ระล่ำระลัก – ละล่ำละลัก, ตุ้ม ๆ ต่อม ๆ – ตุ๊ม ๆ ต่อม ๆ , ยัยยี้งี่เง่า – ยัยงี่เง่า เป็นต้น
ประโยคแปลก ๆ อาจถูกผีออกมาฆ่ากันยกกะบิ น่าจะเกิดจากการพิมพ์ผิดหรือเปล่า ไม่แน่ใจ
เครื่องหมาย การใช้ไม้ยมก ต้องเคาะวรรคทั้งก่อนและหลังเครื่องหมาย เช่น ต่าง ๆ นานา เป็นต้น
การเลียนเสียง เข้าใจว่าผู้แต่งต้องการเพิ่มอรรถรสในการอ่านโดยการใช้คำซ้ำ ๆ หลายครั้ง แต่ผู้วิจารณ์มองว่าผู้แต่งใช้คำเหล่านั้นฟุ่มเฟือย ยกตัวอย่างฉากที่เวโรนิก้าหัวเราะยาว ๆ ลองปรับให้มันดูพอเหมาะน่าจะดีกว่าค่ะ เพราะใจความโดยรวมมันก็คือการหัวเราะ ถ้าต้องการเน้นอารมณ์แนะนำว่าให้บรรยายซ้ำลงไปจะทำให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับการกรีดร้อง ที่จริงแล้วไม่ต้องใส่ซาวเอฟเฟคลากยาวก็ได้ค่ะ มีแค่คำว่า “กรี๊ด!” แล้วบรรยายต่อไปว่ากรีดร้องแบบไหนก็ทำให้เรื่องราวดูเข้มข้นและลุ้นได้เหมือนกัน อีกทั้งยังแสดงความสามารถในการบรรยายลักษณะท่าทางตัวละครของผู้แต่งด้วยนะคะ
กรี๊งกร๊าง บางจังหวะไม่ต้องระบุเสียงก็ได้นะคะ เช่นฉากที่เข้าสู่การบรรยายให้ดูน่ากลัว อาจแทนไปเลยว่าจู่ ๆ เสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้น เป็นต้น ซึ่งทางที่ดี การเขียนบรรยายแนวสยองขวัญควรเลี่ยงคำแบบนี้ไปก็ได้ค่ะ
การใช้คำที่เหมาะสม
ชายหนุ่มผมดำที่สามารถดูออกได้อย่างง่ายดายว่าเป็นพวกพั้งค์ร็อก ลองปรับให้อ่านแล้วลื่นไหลเช่นว่า เกเบรียล พิชเชอร์ ชายหนุ่มผู้มีบุคลิกโดดเด่นสไตล์พั้งค์ร็อกทั้งเจาะหู ทาขอบตาดำราวกับเป็นญาติสนิทกับหมีแพนด้า
ตอนนี้หรือเพียงพวกเขาเท่านั้น ปรับเป็น ตอนนี้เหลือเพียงพวกเขาเท่านั้น
อลิซเหมือนจะตอกอะไรแรงใส่เขาสักอย่าง ปรับเป็น อลิซเหมือนอยากตอกอะไรแรง ๆ ใส่เขาสักอย่าง
เอมิลีร้องสีหน้าเลิ่กลั่ก คำว่าเลิ่กลักน่าจะใช้กับสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกงงงวย แต่ในฉากนี้น่าจะใช้คำอื่น เช่นว่า เอมิลีแย้งและมีท่าทีกระวนกระวาย
โดยไม่สนใจตอบโต้อะไรกับเพื่อนทั้งสอง ปรับเป็น ไม่สนใจตอบโต้กับเพื่อนทั้งสอง
ทันใดนั้นอลิซก็เหลือบไปเห็นในสิ่งที่ไม่ควรจะมีอยู่ตรงด้านหลังเวโรนิก้า ควรปรับเป็นว่า ทันใดนั้นอลิซก็เหลือบเห็นบางสิ่งที่ไม่ควรมีอยู่เบื้องหลังของเวโรนิก้า
สิ่งที่มองเพียงแวบแรกก็สามารถบอกได้มันไม่ได้มีชีวิต ประโยคไม่สมบูรณ์แล้วปรับเป็นว่า สิ่งที่มองเพียงแวบแรกก็บอกได้ว่ามันไม่มีชีวิต
ความรู้สึกประหลาด ๆ กำลังคุกคาม จนรู้สึกปวดท้องแถมยังหนาวเหยือกตรงต้นคอก่อนจะแผ่สะท้านไปทั่วร่างราวกับว่ามีไฟฟ้าไหลผ่าน ลองปรับเป็น
ความรู้สึกแปลกประหลาดกำลังคุกคาม จนรู้สึกปวดมวนไปทั่วท้องซ้ำต้นคอยังรู้สึกเย็นวาบและแผ่สะท้านไปทั่วร่างราวกับมีกระแสไฟไหลผ่าน
สายตาของมันเต็มไปด้วยความมุ่งร้ายอันแสนเย็นเยียบและเงียบงัน ลองปรับเป็นว่าสายตาของมันเต็มไปด้วยความมุ่งร้ายราวกับพญามัจจุราชที่เลือดเย็น ตัดคำว่าเย็นเยียบไปค่ะประโยคมันฟุ่มเฟือย
ความมืดมิดโรยรอบตัวเด็กสาวซึ่งนอนนิ่งอยู่บนเตียง ลองปรับคำว่า โรยรอบ เป็นรายรอบ, ปกคลุม, คืบคลาน, ทาบทับ, อาบร่าง น่าจะฟังดูไหลลื่นมากขึ้นนะคะ
"มันยืนอยู่ข้าง ๆ เธอ ถึงจะแค่ชั่วพริบตาแต่ฉันยังรู้สึกถึงความโศกเศร้าและหวาดกลัวปกคลุมร่างเล็ก ๆ นั่นราวกับว่าความร่าเริงสดใสถูกสูบไปจากเวโรนิก้าจนหมดสิ้น เราสบตากันอยู่เสี้ยววินาทีก่อนที่เธอจะส่ายหน้าช้า ๆ" ฉากที่อลิซพูดถึงเวโรนิก้าในโรงอาหารรู้สึกว่าวิธีการพูดของอลิซเปลี่ยนไป เหมือนเป็นคำที่สละสลวยเกินการพูดคุยระหว่างเพื่อนด้วยกันเอง ลองปรับวิธีการพูดของอลิซดูนะคะ ฉากถัดมาตอนเล่าให้เพื่อนฟังด้วยเหมือนกัน ลองปรับให้เป็นภาษาพูดระหว่างเพื่อนแทนที่จะเอาการบรรยายมาใส่ในการสนทนาเลย
อลิซเดินนำเพื่อน ๆ อีกครั้งก่อนจะกดนิ้วลงบนปุ่มพลาสติกแข็ง ๆ อย่างชำนาญ ในที่นี้ผู้แต่งต้องการสื่อถึงออดบ้านหรืออินเตอร์โฟนใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้นระบุเป็นสิ่งของไปเลยค่ะ ไม่ต้องขยายความ และไม่ต้องใส่คำว่าชำนาญลงไป เพราะการกดออดใคร ๆ ก็ทำได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องมีความสามารถพิเศษ
เธอแน่ใจได้ยินเสียงกรี๊งกร๊างดังในตัวบ้านแล้ว เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ ควรแก้ไขเป็นว่า เธอแน่ใจว่าตนได้ยินเสียงกริ่งดังในตัวบ้านแล้ว
เด็กสาวยกนาฬิกาข้อมือซ้ายขึ้นมาดูและรู้ว่ามันผิดปกติ ลองปรับเป็น เด็กสาวยกนาฬิกาขึ้นมองเวลาและรู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติไปจากเดิม
คราวนี้เธอเริ่มใช้มือเคาะบวกด้วยตะโกนเรียก ควรปรับเป็น คราวนี้เธอลองเคาะประตูพร้อมตะโกนเรียก
พลันเสียงแหลมสูงดังขึ้นมาจากสนามหญ้าบ้านข้าง ๆ ทำเอาพวกเธอถึงกับสะดุ้ง ควรปรับเป็น พลันเสียงแหลมดังมาจากบริเวณสนามหญ้าของบ้านข้าง ๆ ทำเอาพวกเธอสะดุ้งโหยงอย่างตกใจ
ตะโกนขึ้นจากสนามหญ้าตรงบ้านของหล่อน ให้ความรู้สึกว่าผู้พูดฝังตัวอยู่ในสนามหญ้า ควรปรับเป็น ตะโกนมาจากสนามหญ้าบ้านของหล่อนเอง หรือ ตะโกนข้ามมาจากบริเวณสนามหญ้าในบ้านของหล่อน
จู่ ๆ ก็บังเอิญสังเกตอะไรบางอย่าง ควรปรับเป็น จู่ ๆ ก็พลันเห็นบางอย่าง บางอย่างที่ไม่คาดฝัน
กลายพันธุ์ ถ้าเอาให้สละสลวยแล้วเข้ากับนิยายแนวผี ๆ น่าจะเลือกคำดังนี้ค่ะ เริ่มเปลี่ยนบทสนทนา หรือออกนอกเรื่องกลายเป็นคุยสัพเพเหระไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเรียนอีกต่อไป เป็นต้น
เหงื่อเย็นเยียบผุดออกมาอย่างไม่ขาดสาย ถ้าลักษณะอาการตื่นตระหนก หวาดกลัว แล้วมีเหงื่อไหลออกมา มันไม่น่าจะระบุว่าเหงื่อมันเย็น เพราะถ้าเหงื่อไหลมันต้องมากจากอุณหภูมิในร่างกายสูงจนผลิตเหงื่อออกมาเพื่อระบายความร้อน แต่สิ่งที่ทำให้เหงื่อเย็นคืออากาศข้างนอก เพราะฉะนั้นเหงื่อจะเย็นเองไม่ได้ค่ะ แต่ถ้าปรับเป็นว่าแม้ท่ามกลางอากาศเย็นเยียบภายในห้องแต่เหงื่อของไรอันก็ผุดพรายออกมาอย่างไม่ขาดสาย จะแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งที่เกิดจากสถานการณ์ที่ผิดปกติตามท้องเรื่องได้ค่ะ
ชายหนุ่มกลืนน้ำลายเอื๊อก ประโยคมันยังไม่สมบูรณ์ค่ะ ลองปรับเป็น ชายหนุ่มกลืนน้ำลายอึกใหญ่ หรือ ชายหนุ่มกลืนน้ำลายดังเอื๊อก
พวกนายคิดมากไปกันเอง ควรเป็น พวกนายคิดมากกันไปเอง
ไม่เห็นเหรอข้อความสุดท้ายก่อนที่มันทิ้งเอาไว้ว่า ควรเป็น ไม่เห็นเหรอ...ข้อความสุดท้ายที่มันทิ้งเอาไว้
สิ่งที่เขาพูดออกมาคงไม่ดีต่อผู้หญิงชุดดำคนนั้นสักเท่าไหร่ ในฉากอลิซเห็นผู้หญิงกำลังถูกแขวนคอ มันเป็นสถานการณ์ที่แน่ชัดแล้วว่าผู้หญิงคนนี้ต้องเจอกับอะไรดังนั้นคำว่าสักเท่าไหร่จึงไม่ตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ควรปรับเป็นว่า สิ่งที่เขาพูดออกมานั้นคงไม่ดีต่อผู้หญิงชุดดำคนนี้อย่างแน่นอน
หัวใจเต้นโผงผาง คำว่าโผงผางแปลว่า ลักษณะการพูดตรง ๆ ไม่เกรงใจ หรือไม่ยับยั้งอ้อมค้อม เพราะฉะนั้นผู้แต่งเลือกใช้คำผิดความหมาย ควรปรับเป็น หัวใจเต้นโครมคราม หัวใจเต้นรัว เป็นต้น
คำฟุ่มเฟือย ยังเห็นการใช้คำฟุ่มเฟื่อยอยู่ในทุกตอนนะคะ แนะนำว่าผู้แต่งพยายามอ่านอย่างละเอียดและพยายามปรับแก้ไปทีละประโยคค่ะ เช่น พยายามเลี่ยงใช้คำซ้ำกันในบรรทัดการบรรยาย หรือถ้าจำเป็นต้องใช้คำเหล่านั้นก็ให้เลือกใช้คำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกันค่ะ เพื่อให้การเขียนบรรยายดูลื่นไหล ขอยกตัวอย่างเท่าที่พอจะแนะนำได้นะคะ
อีนังแพศยา เลือกสักคำเลยค่ะ เช่น อีแพศยา หรือนังแพศยา เพราะคำมันดูเยิ่นเย้อ
หัวข้อข่าวลือแย่ ๆ มีคำฟุ่มเฟื่อยเช่นกันค่ะ หัวข้อแย่ ๆ หรือข่าวลือแย่ ๆ
ฉากเกี่ยวกับผ้าห่ม ประโยคหลังมันทำให้การบรรยายดูยืดเยื้อ ลองปรับเป็นว่า แต่ตอนนี้มันกำลังไหลลงอย่างช้า ๆ จากหัวไหล่ เลื่อนมายังอกและเอว ราวกับถูกมือที่มองไม่เห็นค่อย ๆ ดึงมันและในที่สุดผ้าห่มผืนบางก็ร่วงกองกับพื้นห้อง
เหม่ยลี่ก็ไม่ได้ถามซอกแซกอะไรอีกเพราะคิดว่ามันคงจะดีกว่าหากไม่ไปรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง มีคำว่า อีก ซ้ำกัน ให้ตัดออกไปนะคะ เพราะเป็นคำฟุ่มเฟือย เช่น เหม่ยลี่ไม่ถามซอกแซกอะไรเพราะคิดว่ามันคงดีกว่าหากไม่รื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง
พวกเธอเดินทางมาถึงบ้านหลังเดิมที่พวกหล่อนมาได้มาเยี่ยมเมื่อวาน มีคำฟุ่มเฟือยและคำเกินนะคะ ควรปรับเป็น พวกเธอเดินทางมาถึงบ้านหลังเดิมที่ได้มาเยี่ยมกันเมื่อวาน
เธอกำชับให้ไรอันให้ดูแลบ้านให้ดี มีคำว่า “ให้” หลายครั้ง ควรปรับประโยคให้มีความไหลลื่นขึ้น เช่น เธอกำชับไรอันให้ดูแลบ้าน หรือ เธอกำชับลูกชายให้ช่วยดูแลบ้าน หรือ เธอกำชัดไรอันให้ช่วยดูแลบ้านเป็นอย่างดี เป็นต้น
บวกกับติดพันกับโทรศัพท์อยู่ด้วย ควรปรับประโยคเป็นว่า ขณะเดียวกันนั้นเขาก็กำลังติดพันอยู่กับการคุยโทรศัพท์
เหม่ยลี่หันไปถามชายหนุ่มซึ่งดูเหมือนจะอารมณ์เสียอยู่ตลอดเวลาซึ่งตอนนี้กำลังทำหน้าเหมือนถูกหวดด้วยไม้หน้าสาม... ในประโยคดังกล่าวมีคำว่า “ซึ่ง” ซ้ำกันสองที่ ลองปรับคำหรือตัดไปบ้าง เช่น เหม่ยลี่หันไปถามชายหนุ่มที่ดูเหมือนจะอารมณ์เสียอยู่ตลอดเวลาซึ่งตอนนี้กำลังทำหน้าเหมือนถูกหวด...
ความสวยงามของบทความ (20/20)
เรียบร้อยดีค่ะ ตัวหนังสืออ่านง่ายดี
รวม 94 คะแนน
โดยรวมแล้วเป็นนิยายที่น่าติดตามมาก ๆ เลยค่ะ อ่านแล้วรู้สึกสนุกจริง ๆ หวังว่าจะนำข้อผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปปรับแก้ให้งานนิยายของท่านดียิ่งขึ้นนะคะ ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ และหากมีข้อผิดพลาดขออภัยล่วงหน้าด้วย
Miss Suika ยินดีให้บริการ
     
 
ใครแต่ง : Gwiyomi-K
13 ก.พ. 58
80 %
4 Votes  
#8 REVIEW
 
เห็นด้วย
3
จาก 3 คน 
 
 
Miss Suika รับวิจารณ์นิยาย

(แจ้งลบ)
  
เขียนเมื่อ 17 ก.พ. 58
Real or lie บอกฉันทีว่านี่คือความรัก
เรื่องย่อ
เมื่อแฟนเก่ากลับกลายมาเป็นน้องรหัส เรื่องวุ่นวายเพราะน้ำมือไคริล แฟนเก่าที่ตั้งใจทำลายความสัมพันธ์ของคิเคียวและคาซึยะ เธอจึงไม่อาจปล่อยไว้จึงเริ่มปฏิบัติการล้างแค้น
โครงเรื่อง (31/40)
การลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่อง (15/20) ถ้าบทนำเปิดตัวด้วยฉากที่ไคริลกับคิเคียวเจอกันในงานรับน้องน่าจะชวนให้น่าติดตามมากกว่านี้นะคะ เหมือนเป็นจุดดึงดูดและเห็นภาพชัดเจนเลยว่าสองคนนี้มีเบื้องหลังที่ดราม่าแน่ๆ ซึ่งจะจูงใจให้ผู้อ่านเห็นภาพความซับซ้อนของเรื่องและอยากอ่านต่อนั่นเอง
ในการลำดับเหตุการณ์ผู้แต่งจะเล่าเรื่องเดินหน้าและเฉลยปมอดีตไปทีละนิด สร้างคำถามให้ผู้อ่านเกิดความสนใจว่าทำไมไคริลถึงเลว ทำไมคิเคียวถึงอยากแก้แค้นนัก ทำไมคิเคียวถึงไม่ลืมแฟนเก่าไปซักที ซึ่งการเรียงลำดับเหตุการณ์แบบนี้ก็ถือว่าน่าสนใจในระดับหนึ่ง
ส่วนการเฉลยปม ผู้วิจารณ์คิดว่ายังไม่สามารถดึงอารมณ์ให้รู้สึกสงสารนางเอกมากพอค่ะ ซึ่งไม่เหมือนกับฉากหวานๆ ที่ผู้แต่งเขียน มันมีลีลาและอารมณ์มากกว่า ตรงนี้ลองปรับการใช้คำหรือเพิ่มฉากที่แสดงให้เห็นว่ามันน่าสะเทือนใจจริงๆ ก็อาจจะทำให้นางเอกสมควรที่จะได้รับความเห็นใจมากกว่านี้ก็น่าจะดีค่ะ
ความสนุก (16/20) นิยายเรื่องนี้จะดราม่าสุดๆ ต้องเขียนการบรรยายที่ต้องทำให้รู้สึกหมองหม่นมากกว่านี้ค่ะ ผู้แต่งยังคงเขียนให้มีความเฮฮาอยู่เนืองๆ ทำให้มันเป็นนิยายรักที่ยังดราม่าไม่สุด แต่ถ้ามองในแง่ความหวาน ผู้อ่านก็น่าจะได้ฟินจากฉากเลิฟซีนในเรื่องที่ผู้แต่งเขียนออกมาได้ดีทีเดียวค่ะ
ตัวละคร (16/20)
ความสมเหตุสมผลของตัวละคร ดูเหมือนจะเป็นสไตล์ของนิยายรักหวานแหววไปแล้วที่นางเอกต้องมีผู้ชายล้อมหน้าล้อมหลังเยอะๆ ทำอะไรก็มักมีแบ๊คอัพหน้าตาดีคอยช่วยเหลือตลอด แม้จะมีตัวป่วนมาทำให้เรื่องวุ่นแต่ดูแล้วนางเอกจะได้มากกว่าเสียซะอีกนะ ซึ่งมีส่วนทำให้ผู้อ่านเกิดอาการหมั่นไส้ในตัวนางเอกอยู่แน่ๆ เพราะในเมื่อนางเอกมีแฟนดีขนาดนี้แล้วทำไมยังจะต้องแคร์หนุ่มอีกคนที่บ่อนทำลายชีวิตตัวเองถึงขนาดเล่มเกมเพื่อยืดเวลากันไปอีก ถ้ามองดีๆ แล้วนางเอกนั่นแหละที่ใจไม่แข็งพอแถมยังจมอยู่กับอดีตแทนที่จะเดินหน้าต่อไป มันจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เรื่องมันวุ่นขึ้นไปอีก ซับซ้อนไปอีก และเชื่อว่าผู้อ่านต้องรู้สึกสงสารคาซึยะมากที่สุด ซึ่งถ้าผู้แต่งตั้งใจให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วมประมาณนี้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จดีทีเดียวค่ะ
การใช้ภาษา (31/40)
การบรรยาย (15/20) เป็นการบรรยายโดยใช้ตัวละครบอกเล่าความรู้สึกของตัวเอง แต่โดยส่วนใหญ่จะเน้นความคิดของนางเอกเป็นหลัก ทำให้การบรรยายไม่ได้ให้ความสละสลวยของภาษาแต่เป็นการบอกเล่าเหมือนไดอารี่เล่มหนึ่งมากกว่าซึ่งวิธีนี้เป็นที่นิยมในนิยายวัยรุ่นทั่วไป ถือว่าทำได้ดีในระดับปานกลางค่ะ อ่านได้เรื่อยๆ ถ้าไม่ติดตรงมีคำผิดที่โผล่มาเนืองๆ
ความถูกต้องของหลักภาษา (16/20)
มีคำผิดประปรายตลอดการบรรยายทำให้สะดุดและหงุดหงิดอยู่เป็นพักๆ แนะนำให้รีไรท์ตรวจสอบคำผิดกันอีกทีนะคะ
การเลือกใช้คำ ขอยกตัวอย่างดังนี้
ไม่ผิดของที่หมอนี่จะทำหน้าแสดงอาการออกมาแบบนี้เพราะปกติฉันไม่ค่อยสุงสิงกับใครหรอก นอกจากพวกมันสามคน ตรงนี้น่าจะปรับเป็นว่า ไม่ผิดที่หมอนี่จะแสดงท่าทางแบบนี้ออกมา โดยปกติแล้วฉันไม่ค่อยมีเพื่อนนอกจากพวกมันสามคน จะมีบ้างก็แค่เพื่อนทำงานกลุ่มแต่สำหรับเพื่อนต่างเพศยิ่งไม่มีทางเป็นไปได้โดยเฉพาะผู้ชายแปลกหน้าที่ไม่เคยเจอแบบนี้
ตอนที่2 บรรยายตึงเครียด-บรรยากาศตึงเครียด,เผลอยิ่ม – เผลอยิ้ม
ตอนที่3 คาบุโตะพูดขึ้นก่อนคนแรกพลางหักดังกรอบ น่าจะเป็น คาบุโตะพูดขึ้นเป็นคนแรกพลางหักนิ้วดังกรอบ
ตอนที่6 ผมไม่ได้ตอบรับอะไรยังคงมองหน้าเธอ ปรับเป็น ผมไม่ได้ตอบรับอะไรและยังคงมองหน้าเธอ
แก่นเรื่อง การแก้แค้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องแต่มันกลับนำพาความวุ่นวายและเพิ่มปัญหาให้มากขึ้นไปอีกไม่รู้จักจับจักสิ้น
รวม 78/100 คะแนน
     
 
ใครแต่ง : DeardeerLu
2 มี.ค. 56
80 %
12 Votes  
#9 REVIEW
 
เห็นด้วย
2
จาก 2 คน 
 
 
วิจารณ์นิยาย 1.2.3 (โดยนัมเบอร์โฟว์)

(แจ้งลบ)
  
เขียนเมื่อ 16 ต.ค. 55
(วิจารณ์โดยนัมเบอร์โฟร์...)

พี่ออกตัวก่อนนะว่า พี่ไม่ค่อยชอบอ่านนิยายใส ๆ สไตล์เกาหลีหรือไทยสักเท่าไหร่ และก็เน้นย้ำแล้วว่าพี่ชอบแนวเขียนแบบตะวันตก แต่บังเอิญน้องสาวดันเลือกพี่ พี่ก็จะพยายามวิจารณ์แบบกลาง ๆ นะคะ แต่ถ้าเกิดอ่านแล้วรู้สึกสะเทือนใจ พี่ก็ขอโทษไว้ล่วงหน้าแล้วกันเพราะพี่ค่อนข้างตรงไปตรงมา วิจารณ์กันตรง ๆ เพื่อให้น้องรู้ปัญหาและสามารถเอาไปปรับแก้งานของตัวเอง...หวังว่าเข้าใจตรงกันแล้วนะ


ชื่อเรื่อง : ตึกตึก ตักตัก เผลอรักหมดใจ
ความเห็นสำหรับนิยายเรื่องนี้ + ชื่อเรื่อง (8) : หน้าบทความพอเข้ามาก็สดชื่นดีค่ะ สีสวยดี เหมาะกับนิยายหวานแหวว ส่วนชื่อเรื่องก็เข้ากับภาพและอิมเมจที่เกี่ยวกับความรักของวัยรุ่นอายุสิบต้น ๆ จนสิบกว่าปลาย ๆ พอกดเข้าไปอ่าน อืม...น้องสาวพลาดนิดนึงตรงตัวหนังสือ ขนาดของมันทำให้ต้องจ้องอ่านแล้วรู้สึกไม่สบายตา แนะนำว่าให้ใช้ตัวอักษร 18 ขึ้นไปจะดีกว่าค่ะ รวมไปถึงเนื้อหาที่ค่อนข้างสั้นมาก อ่านแป้บเดียวก็จบตอนมันก็จะได้ช่วยให้ดูมีความยาวมากขึ้น สำหรับการแบ่งย่อหน้าถือว่าดีค่ะ
พล๊อตเรื่องโดยรวม (26) : เป็นเรื่องของสาวน้อยนามว่าโอมเพี้ยงที่ดันคิดสนุกอยากเล่นเกมพิชิตใจหนุ่มเพื่อแลกกับเงินล้าน ปูเรื่องดูน่าสนใจดีค่ะ พอเข้าเรื่องมาปุ๊บก็เจอกับพระเอกอย่างรวดเร็วและดำเนินแผนการได้อย่างง่ายดาย จากนั้นแผนการของโอมเพี้ยงก็ไม่ราบรื่นนักเพราะดันมีเพื่อนสาวคนสนิทเข้าร่วมแข่งขันมาขัดขวาง แต่ขวางแบบฮา ๆ ซึ่งโอมเพี้ยงจัดการได้ (แอบชอบชื่อ) แต่ก็ต้องมาสะดุดอีกรอบเพราะเกิดความรู้สึกว่าคินตาชอบพี่สาวคนหนึ่ง ทำให้โอมเพี้ยงรู้สึกหวั่นใจว่าตัวเองจะทำสำเร็จไหมและภายในใจก็เริ่มที่จะชอบคินตามากขึ้นทุกวันแถมยังแอบรู้สึกผิดที่ตัวเองเข้าหาคินตาเพราะหวังเงินรางวัลซะด้วยนะ ฟังดูน่าสนุกดีค่ะ ถ้าเป็นนักอ่านวัยแรกรุ่นมันก็น่าตื่นเต้นในระดับหนึ่งแต่บังเอิญคนวิจารณ์ดันเป็นพี่ ก็เลยต้องบอกว่ามันเรื่อย ๆ มากกว่าค่ะ ไม่มีอะไรโลดโผนโดดเด่นออกมา หรือกระชากอารมณ์จนอยากจิกหมอน ถ้าน้องเสริมให้ตัวละครมีลูกเล่นแปลกตาจากสูตรเดิมของนิยายหวาน ๆ ก็น่าจะทำให้เรื่องนี้น่าสนุกมากขึ้น เพราะเรื่องมันค่อนข้างเดาได้ว่าตอนจบของเรื่องจะออกมาแบบไหน

การเล่าเรื่อง การบรรยาย (24) : น้องใช้วิธีเขียนแบบตัวเอกเล่าเรื่องทำให้มันขาดมิติไปเพราะเราเห็นเพียงความรู้สึกด้านเดียวเฉพาะบุคคล วิธีนี้คนใช้กันเยอะเพราะเขียนง่ายดี แต่ความง่ายของมันเป็นจุดด้อยได้ง่าย ๆ ถ้าหากไม่มีลูกเล่นในการเขียน มันจะทำให้รู้สึกเหมือนตัวเอกเล่าเรื่องอยู่คนเดียว รสชาติก็จะดูจืด ๆ ได้ง่าย แต่โชคดีที่น้องเขียนให้มีมุกขำ ๆ หยอดตลอดเลยทำให้คนอ่านพอยิ้ม ๆ ไปได้ แต่สิ่งที่ต้องใส่ใจให้มากกว่านี้คือบางทีประโยคบางประโยคพี่ต้องเดาเอาเองว่าใครกำลังพูด ถ้าตัวละครมากกว่าสองคนมันจะทำให้เกิดอาการงงขึ้นมา และการเขียนเน้นบทสนทนาระหว่างตัวละครมากไปจะทำให้ภาษามันดูธรรมดาไม่สละสลวย พี่เข้าใจว่าน้องคงอ่านสไตล์นี้บ่อย ๆ เน้นพูดไม่เน้นบรรยาย แต่มันขาดความสุนทรียภาพในการอ่าน แต่ถ้าน้องคิดว่าแนวนี้เหมาะกับน้องและไม่คิดว่าจะเจาะกลุ่มใหม่หรือพัฒนางานตัวเอง อันนี้ก็ไม่ว่ากันค่ะ มันเป็นความคิดเห็นส่วนตัว แต่อย่าลืมว่าคนโตงานก็ต้องโตด้วยนะคะ ถ้าย่ำอยู่ที่เดิมงานก็จะเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนหรือพัฒนาอะไร เพราะแนวแบบนี้มันเป็นแนวตลาด ถ้าไม่เด่นจริง คนก็กดปิดอ่านได้ง่ายเหมือนกัน

ตัวละคร + ความสมจริง (17) : ตัวละครเป็นไปตามสูตรนิยายรักใส ๆ ไม่ผิดโผเลย อ่านเรื่องไหนก็มีลักษณะแบบนี้ไปหมด พระเอกไม่หล่อเพียบพร้อม นางเอกก็ต้องดูต๊อง ๆ พูดมาก ซุ่มซ่ามนิด ๆ พี่ก็เลยไม่รู้สึกอินกับมันเท่าไหร่ แต่อ่านก็รู้สึกดีกับเพี้ยงนะ เพราะเป็นเด็กใส ๆ ดูเรียบร้อยในระดับหนึ่งและรั่วถูกเวลา ส่วนคินตา อืม ไม่มีอะไรในกอไผ่ สำหรับพี่คินตาดูไม่มีเสน่ห์เท่ากับเท็น ขอโทษทีแต่พี่ชอบคนที่ดูขี้เล่นหน่อย ๆ แล้วก็ดูมีชีวิตชีวามากกว่า ส่วนนานะก็ดูไม่ได้ร้ายหรือเป็นคู่แข่งจนน่ากลัวมันดูเป็นการแหย่เล่นของเพื่อนสนิท และมอลลี่พี่ก็คิดว่าเพี้ยงสู้ได้อยู่ดีถ้าจะสู้ หึหึ

ภาษาและคำผิด (8) : ภาษาของน้องเป็นภาษาวัยรุ่นค่ะ วิธีการคิดก็จะไม่ลึกลับซับซ้อนให้ปวดหัวอะไรมาก คิดยังไง รู้สึกยังไงก็แสดงออกแบบตรง ๆ มีการใช้คำต่างประเทศค่อนข้างเยอะแต่ก็ไม่ดูเลอะเทอะจนไม่น่าอ่านค่ะ ส่วนคำผิดมีอยู่ทุกตอนค่ะแต่มันจะโผล่มาให้เห็นไม่มาก น่าจะผ่านการอ่านทบทวนมาพอสมควร แต่สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่นักเขียนที่ดีต้องทำคือหมั่นตรวจเช็คคำผิดสม่ำเสมอ พยายามให้มีคำผิดน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ คำไหนที่น้องไม่แน่ใจ แนะนำให้เปิดพจนานุกรมสำรวจดูคำก่อนว่าเราเขียนถูกหรือเปล่า? ควบกล้ำผิดไหม? หรือใช้คำที่ตรงความหมายจริง ๆ หรือไม่ ซึ่งหากทำบ่อย ๆ ก็จะเป็นผลดีกับตัวน้องเอง เพราะงานเขียนของน้องจะดีขึ้นและพัฒนาขึ้นด้วย ขอยกตัวอย่างคำที่ผิดนะคะ จากแปดเก้าตอนที่อ่านมา ก้ามโต กล้ามโต ศุนย์รวม ศูนย์รวม ละต้นคอ ระต้นคอ ไส้กรอกลมควัน ไส้กรอกรมควัน ม่ามี้ หม่ามี้ กำลังอี้ เก้าอี้ อุส่า อุตส่าห์ พยายามแกละ พยายามแกะ เป็นต้นค่ะ ผิดนิดหน่อยแต่ถ้าเอามารวมกันก็มากนะคะ ยังไงสู้ ๆ ตรวจบ่อย ๆ แล้วจะดีขึ้นเอง
รวมคะแนนทั้งหมด
ชื่อเรื่อง+ความคิดเห็น (8) พล๊อตเรื่อง (26) การเล่าเรื่อง การบรรยาย (24)
ตัวละคร ความสมจริง (17) ภาษาและคำผิด (8) รวมทั้งสิ้น 83 คะแนน
     
 
ชื่อเรื่อง :  Rokiz and the secret of robe man (Official page)
9 ม.ค. 56
80 %
9 Votes  
#10 REVIEW
 
เห็นด้วย
2
จาก 2 คน 
 
 
วิจารณ์นิยาย 1.2.3 (โดยนัมเบอร์โฟว์)

(แจ้งลบ)
  
เขียนเมื่อ 28 พ.ย. 55
(วิจารณ์โดยนัมเบอร์โฟร์...)
สวัสดีจ้า เราคือนักวิจารณ์หมายเลขสี่ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยจ๊ะ


ชื่อเรื่อง : Lokiz..ตอน ความลับของชายในชุดคลุม


ความเห็นสำหรับนิยายเรื่องนี้ + ชื่อเรื่อง (8) : เห็นครั้งแรกเดาว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับผีๆ หลอน ๆ อะไรเทือกนั้น แต่พออ่านไป อ้าววว มันไม่ใช่นี่นา มันเกี่ยวกับเวทย์มนตร์ สไตล์แฮร์รี่พอตเตอร์ เห็นไหมว่า การแต่งแบคกราวน์ส่งผลอะไรต่อคนอ่านบ้าง มันทำให้คนอ่านสร้างภาพขึ้นมาว่าเรื่องนี้มันเป็นแนวนั้น ถ้าตามความเห็นเราคิดว่าน่าจะตกแต่งบทความให้มีภาพลักษณ์ตรงตามนิยายดีกว่าไหม? มันจะช่วยให้คนอ่านเข้าใจไม่คลาดเคลื่อน ฟังดูทำไมเรื่องมากจังนะ แต่เราอยากส่งเสริมให้นิยายของไรท์เตอร์เจ๋งขึ้นเรื่อย ๆ ก็แค่นั้นเอง สำหรับตัวหนังสือ ถ้าได้อ่านคอมเม้นท์เรา เราก็ให้ข้อเสนอที่ชัดเจนในเรื่องการเลือกขนาดตัวอักษรไว้แล้ว บางทีเราต้องเข้าใจด้วยว่าคนอ่านต้องจ้องกับจอตลอดการอ่าน การเพิ่มขนาดให้ใหญ่หน่อยก็จะดีสำหรับคนอ่าน ส่วนวิธีการวางเนื้อเรื่อง เราว่าไรท์เตอร์ก็ทำได้ดีทีเดียว แต่บางครั้งก็เหมือนจะพลาดย่อหน้าไปบ้าง ไรท์เตอร์พิมพ์จากเวิร์ดก่อนอัพลงหรือเปล่า ถ้าทำก็ไม่น่าพลาดนะ ยังไงลองกลับไปแก้ไขอีกทีนะคะ
ข้อแนะนำที่อยากเสนออีกก็คือ การสร้างอิมเมจ เราเข้าใจว่ามันอาจจะยุ่งยากนิดหน่อยกับการที่ต้องหารูปอิมเมจตัวละคร แต่มันก็เป็นเรื่องสำคัญทีเดียวที่ทำให้คนอ่านนึกภาพตามได้ อย่างน้อยก็ช่วยคนอ่านได้เยอะขึ้น ลองเลือกอิมเมจที่ใกล้เคียงดูจากเว็บไซด์ tumblr หรือไม่ก็ deviantart พวกนี้จะมีรูปสวย ๆ ให้เราเลือกใช้ แต่ให้เกียตริเค้าด้วยการให้เครดิตตามมารยาทไปละกัน ส่วนภาพประกอบเราว่าไรท์เตอร์ก็มีความสามารถในการวาดภาพประกอบอยู่แล้ว เก่ง ๆ อันนี้ขอชมนะ

พล๊อตเรื่องโดยรวม (28) : จากการอ่านโดยรวมแล้ว กลายเป็นนิยายแฟนตาซีที่น่าสนใจเลยทีเดียว ถ้าใครอ่านตอนแรกอาจยังไม่เข้าใจเรื่องว่างมาแนวไหน แต่ถ้าใครเปิดใจอ่านต่อไปอีกรับรองว่าจะติดเรื่องนี้ได้ไม่ยาก เป็นนิยายที่สร้างจินตนาการใหม่ในหัวอีกเรื่องเลย เพราะบางอย่างคนอ่านอย่างเราก็ไม่สันทัดนัก เช่น สัตว์แปลก ๆ ตามนิยายแฟนตาซี วิธีการปล่อยพลังอะไรทำนองนี้ แต่ไรท์เตอร์เขียนให้เข้าใจง่ายทีเดียวล่ะ ส่วนการวางปมไว้ตอนท้ายไรท์เตอร์ก็ทำได้ดี ส่งผลให้คนอ่านรอลุ้นว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นอีกกับโรคิส
การเล่าเรื่อง การบรรยาย (30) : เราชอบสไตล์การเขียนแนวตะวันตก นิยายแปลอยู่แล้ว พออ่านก็รู้สึกยิ่งชอบวิธีการบรรยายของไรท์เตอร์ มันมีมุขสอดแทรกให้หัวเราะได้ตลอด ถึงมันจะไม่ใช่ใจความสำคัญ แต่ก็ทำให้เรื่องมันสนุก ข้อเสียของนิยายแฟนตาซีจริง ๆ ก็ตรงที่บรรยายเยอะ จินตนาการแทบทุกตัวอักษร แต่ก็กลายเป็นข้อดีเพราะมันคือเสน่ห์ที่น่าทึ่ง ตัวอักษรที่ไรท์เตอร์แต่งเหมือนเวทย์มนตร์ที่เสกภาพในหัวได้ แล้วลักษณะการบรรยายแบบบุคคลที่สามมันก็เหมาะกับนิยายแนวแฟนตาซี ไรท์เตอร์เลือกใช้การเขียนที่เหมาะสมดีค่ะ

ตัวละคร + ความสมจริง (20) : ตรงนี้ขอพูดความสมจริงตามโครงเรื่องของนิยายนะคะ ไม่ใช่สมจริงตามชีวิตจริง เพราะเรื่องเป็นแนวแฟนตาซีจะหาความจริงจากเรื่องก็คงไม่ถูก ลักษณะของตัวเอกอย่างโรคิส ออกแนวเด็กหญิงสมแมน ฮ่าๆๆ หมายถึงอยู่ไม่สุข แกล้งนั่นนี่ ไม่มีความเป็นแม่บ้านแม่เรือนเลย ออกแนวสาวแก่นเซี้ยวเปรี้ยวซ่า กระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว ส่วนคุณแม่ก็จิตใจดีมาก ๆ เลยเนอะ แต่ก็มีอารมณ์ของความเป็นแม่ที่อยู่ดี ที่ไม่อยากเสียเวลาทำงานบ้านให้ลูกละเลงความวิบัติเล่น ฮ่า ๆ อ่านแล้วรู้สึกเหมือนเห็นแม่ตัวเองกลาย ๆ ส่วนตัวละครอีกสองตัวก็ดูหลุดโลกทีเดียว แต่มันเป็นสีสันที่ทำให้เรื่องนี้ได้หยอดมุขขำ ๆ ให้เรื่องสนุกสนานมากขึ้น เราว่าทุกตัวมีเสน่ห์หมดและสมจริงตามฉบับแนวแฟนตาซี

ภาษาและคำผิด (9) : การสื่อภาษาก็ทำได้ดี ไหลลื่น ไม่ติดขัดเลย ถ้าเขียนแนวนิยายแปลก็ต้องแบบนี้แหละ เราว่าเหมาะสมดีแล้ว ส่วนคำผิดมีบ้างประปราย ไรท์เตอร์ใส่ใจในการตรวจสอบดีจ๊ะ
รวมคะแนนทั้งหมด
ชื่อเรื่อง+ความคิดเห็น (8)
พล๊อตเรื่อง (28)
การเล่าเรื่อง การบรรยาย(30)
ตัวละคร ความสมจริง (20)
ภาษาและคำผิด (9)

รวมทั้งสิ้น 95 คะแนน
     
 
หน้าที่ 1 , 2 , 3 , 4