ลำดับตอนที่ #13
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #13 : สตูดิโอKyoto Animation Number One วงการอนิเมะแห่งคันไซ(ปรับปรุง)
เกียวโต อนิเมะชั่น หรือที่รู้จักนาม เกียวอนิ เป็นสตูดิโอที่โด่งดังมากๆระดับทั่วโลก (รวมถึงบ้านเราด้วย) ขึ้นชื่อเรื่องผลงานทีมีคุณภาพด้านภาพที่สวยงดงามและมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการออกแบบคาแร็คเตอร์ที่มีเสน่ห์เป็นตัวเองไม่เหมือนใคร(เห็นแล้วรู้เลยว่าตัวนี้เป็นของเกียวอนิ) และเป็นสตูดิโอเพียงไม่กี่แห่งที่ใช้แต่ทีมงานของตัวเองไม่รับจ้างคนนอกเพื่อรักษาคุณภาพของงาน โดยผลิตผลงานอนิเมะระดับท็อปมากมาย เช่น Air Haruhi K-on! Hyouka เป็นต้น
ตึกสตูดิโอ เกียวอนิ อันเป็นเอกลักษณ์
เกียวอนินั้นเป็นสตูดิโอทำอนิเมะที่ในเมืองเกียวโต(เป็นสตูดิโอไม่กี่ที่อยู่แทบคันไซ)ก่อตั้งขึ้นในปี 1981 จากอดีตอนิเมเตอร์ของสตูดิโอ Mushi Production สตูดิโอของ Osamu Tezuka (ซึ่ง Sunrise กับ SHAFT ก็มาจากที่นี้เหมือนกัน) และมายกฐานะตัวเองเป็นบริษัทร่วมทุนในปี 1999 มีประธานคนปัจจุบันคือ Hideaki Hatta ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งสตูดิโอลูกของเกียวอนินั้นคือ Animation Do อยู่ในจังหวัดโอซาก้าโดยเริ่มแรกนั้นเกียวอนิรับจ้างช่วยสตูดิโออื่นทำอนิเมะเป็นหลัก โดยเข้าไปร่วมโปรเจคกับสตูดิโออื่นๆเช่น Nurse Witch Komugi (2002) ร่วมกับ Tatsunoko Production และเคยมากำกับชินจังในภาคแรกๆ โดยอนิเมะเรื่องแรกที่เกียวได้มาทำเองนั้นคือเรื่อง Munto(2003) เป็น OVA ตอนเดียวจบ ต่อมาได้มีภาคสองในปี 2005 ชื่อ Munto: Toki no Kabe wo Koete กำกับโดย Yoshiji Kigami
Munto(2003)
เกียวได้มามีผลงานอนิเมะซีรี่ส์เรื่องแรกคือ Full Metal Panic? Fumoffu (2003) ภาคแยกของซีรีส์ Full Metal Panic! ผลงานอนิเมะจากไลท์โนเวลของ Shoji Gatoh และภาพโดย Douji Shiki กำกับผลงานด้วย ซึ่งเกียวรับงานต่อจากสตูดิโอ Gonzo แม้ Full Metal Panic? Fumoffu จะเป็นภาคแยกที่เน้นเอาฮาอย่างเดียวแต่พอที่จะประสบความสำเร็จเแจ้งเกิดให้กับเกียวได้ ต่อมาเกียวก็ได้เป็นผู้ดูแลโปรเจค Full Metal Panic! ในภาคต่อๆมา เช่น Full Metal Panic! The Second Raid(2005) และภาคเสริมต่างๆ จนมาภาค Full Metal Panic! IV(2018) ที่เปลี่ยนมาเป็นสตูดิโอ Xebec (หลังจากเกี่ยวใช้นโยบายพึ่งพาตนเอง)
full metal panic fumoffu(2003)
ต่อมาเกียวได้สร้างตำนานบทแรกขึ้นหลังได้ทำพันธะสัญญากับค่ายเกมวิชวลโนเวลเอโรเกะชื่อดังอย่าง Key โดยเกมที่เกียวนำมาทำนั้นก็คือ Air(2005) กำกับโดยIshihara Tatsuya ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากจนกลายเป็นอนิเมะในตำนานอีกหนึ่งของเกียว และเพลง Tori no Uta OPของเรื่องร้องโดย Lia กลายเป็นเพลงชาติของโอตาคุนั้นช่วงนั้นเลยเป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่าง Key และ เกียวอนิในเวลาต่อมา
Air(2005)
ในปี 2006 เป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะเปลี่ยนเกียวอนิไปตลอดกาลเมื่อได้มีโอกาสรับผลงานจากไลท์โนเวลจากสำนักพิมพ์ Kadokawa ผลงานเขียน Tanigawa Nagaru และวาด Ito Noizi นั้นคือ Suzumiya Haruhi no Yuuutsu หรือที่รู้จักในชื่อว่า เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ กำกับโดยIshihara Tatsuya หลังจากที่ฉายไปผลปรากฏว่าคนดูต่างชื่นชอบอนิเมะเรื่องนี้อย่างมากจนกลายเป็นกระแสที่ดังเป็นพลุแตกแถมความดังของฮารุฮิมันยังแพร่กระจายไปทั่วโลกด้วยเนื้อหาอนิเมะที่แปลกไม่เหมือนใครในสมัย, งานภาพที่สมัยเรียกได้ว่าสวยระดับขึ้นหิ้ง, คาแร็คเตอร์สุดโมเอะที่ทำให้คนดูหลงไหล นอกจากนี้ฮารุฮิได้กระแสต่างๆมากมายในวงการอนิเมะอย่างเพลง Hare Hare Yukai เพลงปิดของเรื่องมาพร้อมกับท่าเต้นสุดเอกลักษณ์ที่ดังกลายเป็นกระแสฮิตในช่วงนั้นที่คนดูอนิเมะแทบทุกคนต้องร้องหรือเต้นเพลงได้ กับอีกหนึ่งเพลงอย่าง God knows เพลงประกอบของเรื่องที่มาพร้อมกับโซโลกีต้าร์ระดับเทพ(ใครเล่นได้คือโครตเท่เลย)ที่ทำให้ฉากงานโรงเรียนในเรื่องดูขลังขั้นมา Suzumiya Haruhi no Yuuutsu คือผลงานประสบความสำเร็จมากที่สุดของเกียวอนิที่สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญให้กับวงการการ์ตูนญี่ปุ่นส่งผลให้เกียวอนิกลายเป็นสตูดิโอชั้นนำอย่างรวดเร็วและเป็นตัวเปิดประตูเข้าสู่ยุคทองของเกียวอนิ (2006-2009)
Suzumiya Haruhi no Yuutsu(2006)
หลังจากประสบความสำเร็จจากฮารุฮิก็สู่ยุคทองหรือยุครุ่งเรื่องของเกียวอนิเป็ยช่วงเวลาที่เกียวประสบความสำเร็จสูงสุดสามรถผลิตอนิเมะที่ดังเป็นกระแสได้อย่างมากมาย ต่อมาทาง Key นั้นที่ถูกใจเกียวตั้งแต่ตอนทำ Air แล้วต้องการให้ทางเกียวนำผลงานเกมเรื่อง Kanon ผลงานเกมชิ้นแรกของทาง Key กลับมาทำอนิเมะอีกครั้ง โดย Kanon เคยเป็นอนิเมะมาแล้วเมื่อปี 2002 ของสตูดิโอโตเอะ ซึ่งครั้งนั้นโตเอะฝากผลงานเผาครั้งประวัติศาสตร์ที่ได้สร้างฝันร้ายกับแฟนๆหลายคนจนไม่อยากจะจดจำ ทาง Key อยากจะลบฝันร้ายครั้งนั้นโดยการให้ทางเกียวทำอนิเมะเรื่องคาน่อนใหม่กลายเป็น Kanon(2006) เวอร์ชั่นที่ทุกคนรู้จักกัน กำกับโดย Ishihara Tatsuya
kanon (2006)
ปีต่อมาเกียวนั้นยังแรงไม่หยุดโดยได้รับงานมังงะของสำนักพิมพ์Kadokawa ผลงานของ อ.Yoshimizu Kagami นั้นคือ Lucky☆Star (2007) อีกผลงานของเกียวที่ประสบความสำเร็จอย่างมากและเป็นตัวเพิ่มกระแสอนิเมะโมเอะในวงการณ์การ์ตูนญี่ปุ่น แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเกียวก็เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นนั้นก็คือการลาออกของ Yamamoto Yutaka หรือยามะคัน ต้องบอกย้อนไปก่อนว่าเกียวนั้นมีอนิเมเตอร์คู่บุญหลักๆอยู่3คน ได้แก่ Takemoto Yasuhiro (ผู้กำกับFull Metal Panicทุกภาค,ฮารุฮิ เดอะวูฟวี่,เฮียวกะ) Ishihara Tatsuya (ผู้กำกับผลงานอนิเมะของKeyทั้งหมดและฮารุฮิ) และ Yamamoto Yutaka(ส่วนใหญ่จะทำงานในด้านเบื้องหลังและเป็นโปดิวเซอร์) ทั้งสามเปรียบเสมือนเสาหลักของค่ายเกียวที่นำพาความสำเร็จมาให้กับสตูดิโอ แต่ทว่ามันเกิดเหตุว่ายามะคันนั้นกำกับลักกี้ สตาร์ได้แค่สี่ตอนแล้วออกจากค่ายเกียวไปไม่พอพี่แกยังพาอนิเมเตอร์ในเกียวออกไปด้วยเป็นจำนวนมากไปสร้างสตูดิโอOrdet ผลของการกระทำของยามะคันทำให้เกียวอนิถึงกับเสียศูนย์เลยก็ว่าได้แล้ว Takemoto Yasuhiro ต้องมากำกับลักกี้ สตาร์แทนจนจบ ในเวลาต่อเกียวอนิกับยามะคันกลายเป็นคู่อาฆาตที่เกลียดกันจนไม่เผาผี และการออกของยามะคันที่พาอนิเมตอร์ในสตูดิโอไปกว่าครึ่งนั้นได้สร้างความเสียหายครั้งใหญ่ให้กับเกียวในเวลาต่อมา
Lucky☆Star(2007)
ํ
Yamamoto Yutaka (หรือยามะคัน)
ตอนนี้เกียวเหลือเสาหลักเพียงแค่สองคนเท่านั้นแถมลูกทีมก็ออกไปเกือบครึ่งแต่ก็ยังสามารถดิ้นล้นต่อไปได้โดยการหยิบผลงานเกมของค่าย Key อีกครั้งนั้นก็คือ Clannad(2007) และได้สร้างภาคต่อที่เป็นอนิเมะเสียน้ำตามากที่สุดคือ Clannad: After Story (2008) กำกับโดย Ishihara Tatsuya แต่หลังจากปี 2009 เกียวอนิได้ตัดความสัมพันธ์กับทาง Key เนื่องจากการปรับเปลี่ยนนโยบายที่พยายามลดรับจ้างงานนอกและพยายามลีกเลี่ยงทำอนิเมะที่มีต้นแบบจากสื่อลามกอย่างเอโระเกะ*(ผลงานKeyต่อๆมาจึงต้องให้ค่ายอื่นมาดูแล)
Clannad: After Story(2008)
ต่อมาคือช่วงเวลาที่สตูดิโอเกียวอนิเริ่มที่จะเข้าสู่ช่วงยุคมืด (2009-2011 ) เนื่องจากหลายผลงงานเริ่มถูกเหล่าแฟนๆวิจารณ์ในด้านลบ (แต่ยังไงก็ยังทำผลงานดังๆได้อยู่ดี) โดยเรื่องที่ถูกด่ามากที่สุดก็คือ Suzumiya Haruhi no Yuuutsu (2009) หรือภาคสองของฮารุฮิกับฉากลนลูป 8 ตอนในตำนานจนแฟนๆสาปส่งกันย่อยับและชื่อเสียงของเกียวเริ่มมีมลทินให้เห็นซึ่งผลจาการลาออกของยะมะคันเริ่มส่งผลในช่วงนี้ จนเกียวต้องนำเรื่องมุนโตะกับมารีเมคเป็นอนิเมะซีรีส์เพื่อหาเลี้ยงชีพประทั้งชีวิตจนเป็นเรื่อง Sora o Miageru Shōjo no Hitomi ni Utsuru Sekai (2009) กำกับโดย Yoshiji Kigami กับมากำกับอีกครั้ง ต่อมาทางเกียวนั้นได้รับมอบหมายให้ทำอนิเมะจากมังงะ4 ช่องโนเนมเรื่อง K-ON! ผลงานของ Kakifly งานนี้เกียวค่อนข้างกดดันมากที่จะทำอินเมะเรื่องนี้ให้ออกมาดีอย่างไร ซึ่งสิ่งที่เกียวทำนั้นคือปรับเปลี่ยนโครงสร้างทุกอย่าง เปลี่ยนทั้งสายเส้นที่ดูนุ่มนิ่มขึ้น ใช้สีอ่อนขึ้น เปลี่ยนการดำเนินเรื่องใหม่ทั้งหมดจนกลายมาเป็น k-ON! (2009) กำกับโดย Yamada Naoko ผู้กำกับสาวหน้าใหม่ของเกียวอนิและเป็นผู้นำพาสตูดิโอรอดพ้นจากวิกฤตยุคมืดในครั้งนี้ (นอกจากนี้เธอเป็นคนสายเส้นแบบนุ่มมิ่มของเกียวขึ้นมา) ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างไม่มีใครคาดคิดดังจนโอริก้อนชาตร์มีแต่เพลงเค-องนอกจากนี้เค-องยังเป็นตัวจุดกระแสวงดนตรีหญิงให้บูมขึ้นมาก่อนที่จะเข้าสู่ยุคไอดอลในเวลาต่อมา ถือได้ว่าเกียวนั้นได้ถูกห่วยรางวัลใหญ่กับเค-อง (แต่อนิจาทำมาดีแค่ไหนก็ดันไปแพ้บากะของชาต์ฟ) เกียวอนิยังคงต่อยอดความสำเร็จต่อด้วยK-ON!!(2010) และ K-ON! the movie (2011) ซึ่งประสบความสำเร็จไม่แพ้กันกลายเป็นตำนานอีกเรื่องหนึ่งของเกียวอนิ
k-on!(2009-2010)
ต่อมาช่วงปลายปี2009เกียวได้จัดประกวด “The KyoAni Awards”ซึ่งเป็นการประกวดนิยายเรื่องที่น่าสนใจได้จะได้เป็นอนิเมะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีซึ่งจะส่งผลต่อนโยบายทำอนิเมะของเกียวในเวลาต่อมา ช่วงปี2010ถือได้ว่าเป็นช่วงที่เกียวไม่ทำเมะเรื่องใหม่เลยมีแค่ภาคต่อ เช่น เค-อง ภาค 2 และ Suzumiya Haruhi no Shoushitsu(2010) หรือการหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ ซึ่งประสบความเร็จไม่น้อยเรียกได้ว่าเรียกเสียงศรัทธาให้เกียวและฮารุฮกลับมาได้อีกครั้ง ปี2011ก็ได้มีผลงานใหม่คือเรื่อง Nichijou (2011) ผลงานมังงะ 4 ช่องของ Arawi Keiichi กำกับโดย Takemoto Yasuhiro แต่ก็ดันเจ๋งสนิทไม่เป็นท่า
Suzumiya Haruhi no Shoushitsu(2010)
ต่อมาปี2012เกียวอนิได้นำต้นฉบับนิยายชื่อดังของ Yonesawa Honobu เมื่อปี2001มาทำอนิเมะเรื่อง Hyouka (2012) กำกับโดย Takemoto Yasuhiro เรียกได้ว่าอนิเมะเรื่องนี้เป็นการกลับมาครั้งยิ่งใหญ่ของเกียวอนิงานภาพเรื่องนี้ถือได้ว่ามาสเตอร์พีคที่สุดของเกียวอนิ ถึงจะไม่งานออริจินอลทางเนื้อเรื่องแต่ถ้างานภาพและออกแบบตัวละครเป็นงานออริจินอลทั้งหมด (ในนิยายไม่มีรูป) แถมยังได้สร้างตำนานประโยคเด่นเช่น 'ฉันสงสัยค่ะ' ของจิตันดะ เอรุนางเอกจองเรื่อง (ถึงเรื่องนี้จะดังมากๆแต่อนิจาดันแพ้SAO)
Hyouka(2012)
หลังจากที่ได้ผลงานนิยายในงาน The KyoAni Awards (มีแค่ปีเดียวที่ได้รางวัลชนะเลิศ) เกียวอนิก็เปลี่ยนนโยบายของสตูดิโอครั้งใหญ่นั้นคือพึ่งพาตัวเองมากขึ้นคือนำผงานนิยายของค่ายตัวเองมาทำอนิเมะและลดรับงานจากข้างนอกใช้แต่อนิเมะเตอร์ของตัวเองไม่รับคนนอกหรือมือปืนรับจ้างและไม่รับทำโปรเจคอนิเมะที่ตัวเคยทำมาทำ ต่อเช่น ฮารุฮิ,ลักกี้ สตาร์,Full Metal Panic? จะเห็นได้ว่าภาคต่อๆมาของเรื่องพวกนี้จะให้สตูดิโออื่นรับไปแทน (คนเขียนเรียกว่าเกียวทำ เกียวใช้ เกียวเจริญ) เป็นการเข้ายุคเกียวอนิใหม่ในที่สุดโดยเรื่องแรกที่ออกมานั้นคือ Chuunibyou demo Koi ga Shitai!(2012) กำกับโดย Ishihara Tatsuya ซึ่งประสบความสำเร็จพอสมควรเป็นเริ่มต้นเกียวอนิใหม่ได้ด้วยดีและได้มีภาคต่อเช่นภาคหนังโรงTakanashi Rikka Kai: Chuunibyou demo Koi ga Shitai! Movie (2013) และภาคซีรี่ส์Chuunibyou demo Koi ga Shitai! Ren (2014)
Chuunibyou demo Koi ga Shitai!(2012)
ต่อมาเกียวก็ทำออริจินอลของตัวเองเรื่องที่2 (ต่อจากมุนโตะ) เรื่อง Tamako Market (2013) กำกับโดย Yamada Naoko ทำให้ลายเส้นเรื่องราวกับถอดแบบมาจากเค-องไม่ผิดเพี้ยน ซึ้งก็กระแสพอใช้ได้แต่ยอดขายเจ้งไม่เป็นท่าและยังมีภาคโรงเรื่องTamako Love Story(2014) ซึ่งพอดีขึ้นมาหน่อย ต่อมาเกียวได้เปลี่ยนลุคครั้งใหญ่ที่เนั้นอนิเมะสาวๆ ขายชายมาตลอด มาทำอนิเมะชายๆขายหญิงมักนั้นก็คือ free! (2013) กำกับโดย Utsumi Hiroko ผู้กำกับสาวหน้าใหม่ โดยต้นฉยับมาจากนิยายสังกัดตัวเองชื่อ High Speed! และมีภาคต่อคือ Free! Eternal Summer (2014) ซึ่งเกียวประสบความสำเร็จอย่างมากเป็นงานที่มียอดขายระดับต้นๆของเกียวเลยก็ว่าได้
free!(2013)
และเกียวก็ปล่อยผลงานของตัวเองไม่หยุดกับผลงานที่ใช้สีโทนหมดมืดเรื่องแรกๆคือ kyoukai no kanata(2014) กำกับโดย Ishidate Taichi ผู้กำกับหน้าใหม่ ซึ่งด้านกระแสนั้นจัดได้ดีมาก(ด้วยเฉพาะหนูแว่นแดงมิไรดังมากๆ) แต่ยอดขายนั้นค่อนข้างปานกลางและมีภาคหนังโรงอีก Kyoukai no Kanata Movie: I'll Be Here - Kako-henและKyoukai no Kanata Movie: I'll Be Here - Mirai-hen(2015) แต่นโยบายของเกียวเริ่มเห็นแววไม่ได้ผลที่ดีเหมือนแต่ต้นๆแล้ว
kyoukai no kanata(2014)
ต่อมาเกียวได้ไปกลับไปรับงานนอกอีกครั้งหนึ่งโดยนำผลงานไลท์โนเวลของ Shoji Gatoh ผู้แต่งเดียวกับ Metal Panic นั้นก็คือ Amagi Brilliant Park (2014) กำกับโดย Takemoto Yasuhiro การกลับมารับงานนอกของเกียวครั้งนี้สร้างเสียงฮือฮาเป็นอย่างมาก ยังได้กลับเห็นกลิ่นอายของเกียวยุคเก่าๆแถมเกียวนั้นปกติไม่ค่อยทำฉากเซอร์วิสเท่าไร พอมาเรื่องนี้เซอร์วิสกระจาย(แถมเป็นที่โด่งดังของโดจินสายมืดด้วย) และยังไม่พอเกียวก็ยังไปรับงานนอกอีกโดยนำผลงานนิยายของ Ano Takeda นั้นคือ Hibike! Euphonium (2015) กำกับโดย Ishihara Tatsuya
และมีภาคต่อคือ Hibike! Euphonium2 (2016)
Amagi Brilliant Park(2014)
ต่อมากก็ออกผลงานของนิยายค่ายตัวเองอีกครั้งนั้นคือ Musaigen no Phantom World (2016) กำกับโดย Takemoto Yasuhiro ผลงานปล่อยผีของเกียวที่เซอร์วิสกระจายซึ่งช่วงแรกกระแสค่อนข้างดีมากแต่หลังๆเริ่มแพร่วลงเรื่อยๆยอดขายก็ธรรมดา แต่เห็นได้ช่วงหลังๆเกียวอนิทำอนิเมะออกมาไม่เปรี้ยงปร้างเมื่อก่อนแถมนโยบายของเกียวนั้นเริ่มใช้ไม่ได้ผลจนต้องเริ่มรับงานนอกมาทำ จนที่สุดแล้วเกียวก็ใช้ไพ่ไม้ตายโดยไปรับงานมังงะที่เป็นกระแสดังของ Ooima Yoshitoki มาทำอนิเมะโรงนั้นก็คือ Koe no Katachi (2016) หรือ รักไร้เสียง ผลงานอนิเมะโรงที่ไม่ใช้ภาคต่อจากอนิเมะซีรีย์เรื่องแรกของเกียวอนิ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากที่ญี่ปุ่นทั้งรายได้และคำวิจารณ์อีกผลงานที่สร้างชื่อให้กับเกียวในยุคปัจุบัน (แต่อนิจาดันแพ้ Kimi no nawa ค่ายนี้น่าสงสารอย่างหนึ่งเวลาทำไรดีๆชอบมีดีกว่ามาตัดหน้า)
Koe no Katachi(2016)
เข้าปี 2017 เกียวอนิเริ่มที่จะรับงานงานอกมาบ้าง (เริ่มผ่อนปนนโยบาย) โดยเกียวได้กลับมาอนิเมะจากมังงะ 4 ช่องอีกครั้งในรอบหลายปีซึ่งได้รับงานจากผลงานมังงะของ Cool-kyou Shinja กับเรื่อง Kobayashi-san Chi no Maid Dragon (2017) กำกับโดย Takemoto Yasuhiro ซึ่งค่อนข้างมีกระแสที่ดีพอสมควรโดยเฉพาะตัวละครอย่าง Kamui Kana มังกรโลลิสายฟ้าที่โด่งดังอย่างในโลกอินเตอร์เน็ตถูกทำไปเป็นมีมอย่างมากมาย
Kobayashi-san Chi no Maid Dragon (2017)
ช่วงปลายปี 2017 นั้นทางเกียวอนิได้นำเจ้าตัว Baja มาครอตของสตูดิโอที่พึ่งสร้างขึ้นมาทำอนิเมะ OVA ในชื่อว่า Baja no Studio กำกับโดย Yoshiji Kigami ซึ่งเป็นผลงานเรื่องแรกของเขานอกจากซีรีย์มุโตะ
Baja no Studio (2017)
และผลงานดยู่ซีซั่นฤดูหนาวปี 2018 จากต้นฉบับนิยายเพียงหนึ่งเดียวที่ชนะรางวัลชนะเลิศ The KyoAni Awards ในปี 2014 แต่งโดย Akatsuki Kana วาด Takase Akiko ที่ได้สร้างความฮือฮาให้กับคนดูตั้งแต่ปล่อยอย่างแรกออกมาด้วยคุณภาพของงานงดงามอย่างมากตั้งแต่เกียวเคยทำมาและกลายเป็นที่จับต่อของแฟนๆกับเรื่อง Violet Evergarden กำกับโดย Ishidate Taichi ซึ่งพอฉายแล้วแฟนๆต่างยกเป็นผลงานที่ดีที่สุดอีกเรื่องของเกียวอนิไม่ว่าจะคุณภาพที่ยอดเยี่ยมทั้ง ภาพ เนื้อเรื่อง และ เพลงประกอบที่ทำให้เหล่าแฟนๆของเกียวอนิต่างประทับใจและหลงรัก Violet Evergarden
Violet Evergarden
ตัวอย่างแรก
ในช่วง 2018 เกี่ยวกับมาทำอนิเมะโรงอีกครั้งกับเรื่อง Liz to Aoi Tori ภาคเสริมขของเรื่อง Hibike! Euphonium กำกับโดย Yamada Naoko และช่วงปลายปีเกียวอนิก็ได้อนิเมะซีรีย์กีฬาอีกหนึ่งเรื่องอย่าง Tsurune เป็นเรื่องราวของหนุ่มชมรมยิงธนูจากต้นฉบับนิยายของค่ายตัวเองและเป็นตัวผู้กำกับคนใหม่อย่าง Yamamura Takuya
Liz to Aoi Toric และ Tsurune
และในอนาคตนี้แฟนต่างคาดหวังรอผลงานของเกียวอนิที่กำลังจะฉายทั้ง 20 Seiki Denki Mokuroku , Free! และ Violet Evergarden ภาคโรง แต่ทว่าดันเกิดเหตุไปคาดฝันขึ้นเมื่อมีคนร้ายบุกเข้าไปสตูดิโอเกียวอนิที่เกียวโตพร้อมทำการวางเพลิงสตูดิโอจนมีผู้เสียชีวิต 33 คน และ บาดเจ็บจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นอนิเมะเตอร์ยอดฝีมือของสตูดิโอเหตุการณ์ถือเป็นการสังหารหมู่ที่เลวร้ายที่เป็นสุดนับตั้งแต่ยุคเฮย์เซสร้างความโศกเศร้าเสียใจให้กับแฟนๆของเกียวอนิทั่วโลกจนนำไปสู่แคมเปญ Pay For Kyoani ที่แฟนๆทั่วโลกร่วมไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตและส่งกำลังใจให้เกียวอนิไม่ว่าจะเป็นการระดมทุนช่วยเหลือ การซื้อสินค้าของทางสตูดิโอ หรือรวมไปถึงการไปวางดอกไม้ในสถานที่เกิดเหตุซึ่งเหล่าแฟนๆที่รักสตูดิโอเต่างส่งความรู้สึกต่างๆพร้อมกับเอาใจช่วยเพื่อในอนาคตสตูดิโอเกียวอนิจะกลับมายืนยันได้อีกครั้ง
20 Seiki Denki Mokuroku , Free! Movie และ Violet Evergarden Movie
Pay For Kyoani
ปล.แนะนำให้อ่านตอนต่อไปเพื่อที่จะได้เข้าใจเกี่ยวกับเกียวอนิเมะครบหมดทุกอัน
*แก้ไขจากที่ก่อนหน้านั้นเขียนว่า TBS ต่อต้านสื่อลามกทำให้เกียวตัดความสัมพันธ์กับ Key แต่ในปี 2012 TBS ยังเป็นโปรดักชั่นให้อนิเมะจากเอโรเกะเรื่อง Koi to Senkyo to Chocolate ทำให้ประเด็นนี้อาจตกไปแล้วจะสภาพแล้วน่าจะเป็นทางเกียวนั้นและที่ลีกเลี่ยงทำอนิเมะเอะโระเกะ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น