ลำดับตอนที่ #4
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : ~นิโครธมิคชาดก-ว่าด้วยการเลือกคบ~
นิโครธมิคชาดก-ว่าด้วยการเลือกคบ
นิโครธมิคาชาดก "เป็น เรื่องของพญากวางสาขะและพญากวางนิโครธะซึ่งทั้งสองตัวต้องปกครองฝูงกวาง และแต่ละตัวก็มีวิธีการปกครองที่แตกต่างกันซึ่งผลที่ออกมาก็นำมาซึ่งเหตุ แห่งทุกข์ที่เกิดขึ้น"
นางกวางท้องแก่ขอความเมตตาขอชีวิตลูกในท้องของตนต่อพญากวางสาขะ
ในความไพศาลแห่งแผ่นดินมคธนั้น มหานครราชคฤห์คือดินแดนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเลือกใช้ประดิษฐานพระพุทธศาสนา ในพุทธกาลครั้งหนึ่งมหาอำนาจผู้ยึดครองชมพูทวีปไว้ 1 ใน 4 ส่วนแห่งนี้ได้ปรากฎเหตุอธิกรณ์ครั้งใหญ่ คือการพิจารณาความภิกษุณีตั้งครรภ์ที่เดินเท้ามาขอความเป็นธรรมถึงวิหารเชตะวัน
มหานครราชคฤห์ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา
ประธานฝ่ายสงฆ์คือพระอุปบาลีผู้เป็นเลิศทางวินัย ฝ่ายฆราวาสคือพระเจ้าปเสนทิโกศล มหาอุบาสิกาวิสาขา อานาถบิณฑิกเศรษฐีและคนสำคัญสูงสุดในขณะนั้นอีกมากมาย ภิกษุณีสำคัญรูปนี้ต่อมาคือมารดาของพระเถระผู้เป็นธรรมถึกเอกแห่งพุทธกาล นามกัสสปะเถระนั้นเอง
ภิกษุณีนางหนึ่งผู้ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดการพิจารณาความครั้งใหญ่ในพระเชตวันมหาวิหาร
เธอกำเนิดในตระกูลใหญ่เป็นธิดาคนเดียวของเศรษฐีเมืองราชคฤห์ เป็นสตรีงามพร้อมทั้งเรือนสาม น้ำสี่และใฝ่ในบุญกุศลเป็นอย่างยิ่ง กุลธิดาผู้นี้ใฝ่ในบุญบารมีถึงขั้นขออนุญาตบวชเป็นภิกษุณีและอ้อนวอนบิดาอยู่มิได้ว่างเว้น แต่ถึงแม้จะอ้อนวอนสักกี่ครั้ง บิดาก็ยังไม่ปลงใจให้บวช
ธิดาเศรษฐีสตรีผู้งามพร้อมแต่เธอมีความรักในการออกบวชยิ่งนัก
ธิดาเศรษฐี "ผู้ ซึ่งมีความเพียบพร้อมด้วยรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติและคุณสมบัติ แต่เธอก็มิได้พึงพอใจกับสิ่งเหล่านี้ เธอกลับแสวงหาความสุขที่แท้จริง คือการออกบวชนั้นเอง"
“เราสร้างบารมีสั่งสมบุญโดยไม่บวชก็ได้นี่จ๊ะลูก ต่อไปเจ้าก็ต้องออกเรือนมีลูกมีหลานรักษาตระกูลของเราน่ะ” กุลสตรีดีพร้อมย่อมเชื่อฟังบุพการี การบวชในพระพุทธศาสนาจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแทนกลับกลายเป็นงานวิวาห์กับบุตรชายเศรษฐีฐานะพอกันที่ ทางบุพการีได้จัดหาให้
ธิดาเศรษฐีอ้อนวอนบิดาเพื่อต้องการออกบวชมิได้ว่างเว้นทุกครั้งที่มีโอกาส
“เฮอะๆๆ ดีใจจริงๆ เลยในที่สุดบุตรสาวเราก็จะได้ออกเรือนกับคนที่เราไว้วางใจได้ ดีใจจริงๆ ที่ได้ทำหน้าที่พ่ออย่างสมบูรณ์แบบ” โชคดีที่กุลบุตรผู้เป็นสามีนั้นก็เป็นกัลยาณธรรมใฝ่ใจคบหาผู้ปฏิบัติธรรมเป็นอันดี นับเป็นโชคดีในเบื้องต้น เมื่อแต่งงานออกเรือนไปแล้ว
ธิดาเศรษฐีจำยอมต้องแต่งงานกับชายหนุ่มที่บิดาจัดหาให้
สามีผู้นี้ก็ดูแลรักใคร่นางเป็นอย่างดี เมื่อแต่งงานแล้วกุลธิดาผู้นี้ยังยึดมั่นประพฤติตนอยู่ในหลักธรรม แม้จะมีงานนักขัตฤกษ์ซึ่งผู้คนพากันแต่งกายประชันกันเพื่อร่วมงาน แม้นางจะพรั่งพร้อมไปด้วยเพชรนิลจินดา แต่ก็กลับแต่งกายธรรมดาไร้เครื่องประดับใดๆ “อันร่างกายของคนเรานี้
ธิดาเศรษฐีแม้รูปสวยรวยทรัพย์แต่เธอก็ไม่เคยจะโอ้อวดในความงามเพียบพร้อมของเธอ
ทั่วทั้งร่างล้วนสกปรกอีกทั้งยังมีทางไหลออกของสิ่งปฏิกูลทั้ง 9 ทวาร ไม่น่าพิสมัยเลย” “พี่เห็นด้วยกับน้องหญิงแม้เราจะมีทรัพย์สินมาก แต่มันก็เป็นเพียงทรัพย์สมบัติภายนอกเท่านั้น คุณธรรมในใจย่อมสำคัญและมีคุณค่ามากกว่า” ต่อมาไม่นานเมื่อทั้งสองตั้งใจศึกษาและประพฤติธรรม
สามีของธิดาเศรษฐีอนุญาตให้เธอออกบวชเป็นภิกษุณีตามที่เธอต้องการ
สามีก็อนุญาตให้นางบวชในพุทธศาสนาได้ “น้องดีใจจริงๆ ที่ท่านพี่เข้าใจน้อง ขอบคุณมากคะ คราวนี้น้องก็คงได้ปฏิบัติธรรมอย่างที่ได้ตั้งใจไว้ซะที” ผู้เป็นสามีเมื่อตัดสินใจได้ดังนี้ ก็จัดการหาเครื่องบวชเครื่องไทยธรรมจนครบถ้วนแล้วพากันไปบวชในสำนักภิกษุณี ของพระเทวทัต
ธิดาเศรษฐีออกบวชเป็นภิกษุณีในสำนักของพระเทวทัต
ภิกษุณี "ธิดาเศรษฐีได้ออกบวชเป็นภิกษุณีตามที่ใจเธอปรารถนาในสำนักของพระเทวทัต โดยการอนุญาตของสามี"
เพราะขณะนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังพระเชตวันเมืองสาวัตถี เสียแล้ว “ขอให้ภิกษุณีได้ปฏิบัติธรรมจนบรรลุอย่างที่ตั้งใจเถิด” พระเทวทัตนั้นแยกเอาหมู่สงฆ์ของพระพุทธองค์มาตั้งอารามใหม่ เมื่อมีสาวกมาเข้าด้วยก็ยินดี “ดีๆๆ เจ้าจงมาปฏิบัติธรรมกับเราเถิด”
ภิกษุณีตั้งครรภ์และท้องโตขึ้นทุกวันจนไม่สามารถปกปิดได้อีกต่อไป
นางภิกษุณียินดีเป็นที่สุด ท่านปฏิบัติตนอยู่ในวินัยอันเข้มงวดของพระเทวทัตโดยไม่บกพร่อง แต่อนิจจาภิกษุณีเกิดมีครรภ์นับวันก็ยิ่งโตขึ้นปกปิดไว้ไม่ไหว “จะทำอย่างไรดี เราคงไม่สามารถปกปิดเรื่องนี้ ได้อีกต่อไปแล้ว” การตั้งครรภ์ในที่นี้ เป็นการตั้งครรภ์มาก่อนที่จะบวชเป็นภิกษุณี
ภิกษุณีและเพื่อนพากันเดินไปยังมหาวิหารเชตวันเพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา
ท่านได้ขออุทรณ์ไปตามจริง แต่ก็หาได้รับความยุติธรรมจากพระเทวทัต “อย่างไรเสียท่านก็มีความผิด ตั้งครรภ์อย่างนี้จะสามารถประพฤติธรรมต่อไปได้อย่างไร” พระเทวทัตตั้งอธิการสอบสวนและตัดสินให้จับสึกพ้นจากสภาพภิกษุณีอย่างไร้ เมตตาตามอกุศลกรรมเก่า แต่ภิกษุณีท่านนี้หายอมไม่
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้อุปการะและเลี้ยงดูเด็กน้อยผู้เป็นบุตรชายของภิกษุณี
“สึก ยังไงท่านก็ต้องสึก” “ดิฉันมาบวชเป็นภิกษุณีไม่ใช่เพื่อพระเทวทัต หากแต่บวชถวายชีวิตแด่พระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐ ดิฉันไม่ยอมสึกเด็ดขาด” จากนั้นภิกษุนีก็เริ่มเดินทางจากคยาสีสะของพระเทวทัตมุ่งหน้ายังวิหารเชตวัน นครสาวัตถีอันห่างไกลราว 45 โยชน์ หรือ720 กิโลเมตร
เด็กน้อยบุตรชายภิกษุณีได้ตัดสินใจออกบวชเป็นสามเณร
เพื่อขอกราบพระบาทต่อพระพุทธเจ้า โดยมีเพื่อนภิกษุณีที่เห็นใจและรักความเป็นธรรมติดตามไปดูแลจำนวนหนึ่ง ด้วย เหตุดังนี้ พุทธกาลบัดนั้นจึงเกิดการอธิกรณ์ให้ความเป็นธรรมแก่ภิกษุณีขึ้น พระพุทธองค์ทรงมีพระกรุณาธิคุณให้พระอุบาลี และอุบาสก อุบาสิการ่วมกันตัดสิน
พระอรหันต์กัสสปะพร้อมบริขารธุดงค์ได้เดินทางจาริกเข้าสู่ป่าและไม่มีผู้ใดพบเห็นท่านอีกเลย
พระอรหันต์ "พระ กัสสปะ บุตรชายของภิกษุณี ผู้มีความเพียรจนแตกฉานสัจธรรมเป็นที่เลื่องลือในนามของพระธรรมกถึกแห่งเชต วัน ท่านได้สำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์พระองค์หนึ่ง"
ผลก็คือ ท่านภิกษุณีมิได้กระทำผิดวินัยสงฆ์แต่ประการใด คณะกรรมการจึงอนุญาตให้ท่านพักและคลอดบุตรในสำนักภิกษุณีของพระเชตะวันได้ และเมื่อครบกำหนดกุมารน่ารักก็คลอดออกมา “ลูกเอ๋ย แม่จะเลี้ยงดูเจ้าจนเติบใหญ่ได้อย่างไรในธรณีสงฆ์อย่างนี้” แต่ความวิตกกังวลของแม่ผู้เป็นภิกษุณีก็หมดไป
ภิกษุณีวิตกกังวลในการหายตัวไปของพระอรหันต์กัสสปะเป็นยิ่งนัก
เพราะพระเจ้าปเสนทิโกศลประธานสอบฝ่ายฆราวาสได้ยื่นพระหัตถ์เข้าโอบอุ้ม “เราจะเรียกเธอว่า กัสสปะกุมาร กุมารแห่งพระราชวัง ฮ่ะๆๆ ฮ่า คงชอบละซี” กุมารนั้นพอรู้เดียงสาทราบที่มาแห่งตน ก็เกิดเบื่อหน่ายชีวิตผู้ครองเรือน จึงขอทูลบวชเป็นสามเณรในสำนักพระพุทธองค์
พระอรหันต์กัสสปะเพิกเฉยต่อเสียงของโยมมารดาเหตุเพราะไม่ต้องการให้มารดามีบาปข้อวิวรณ์
“เราขอตั้งกุศลจิตว่า ตั้งแต่นี้จะไม่ยอมสึกจากร่มกาสาวพัสตร์จนวันตาย” ฤดู กาลผ่านพ้นไปเณรน้อยก็เจริญวัยเป็นหนุ่มฉกรรจ์ และได้รับพระอนุญาตให้อุปสมบท ภิกษุกัสสปะได้บำเพ็ญความเพียรจนแตกฉานในสัจธรรมเลื่องลือในนามของพระ ธรรมกถึกเอกแห่งมหาวิหาร
ภิกษุณีเดินตามพระอรหันต์กัสสปะไม่ทันและได้ล้มลงด้วยความอ่อนล้า
คือเทศอธิบายได้ลุ่มลึกเข้าใจง่าย อีกไม่นานต่อมา ก็สำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง พระกัสสปะได้นำบริขารแก่การธุดงค์ออกจาริกสู่ป่าเข้าในเวลาไม่นานต่อมาและ หายเงียบไปไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเหตุให้ภิกษุณีผู้เป็นแม่ไม่เป็นอันบำเพ็ญเพียร
ภิกษุณีสงบใจลงได้หลังจากที่พระอรหันต์กัสสปะได้พูดเตือนสติท่าน
เฝ้าคิดและติดตามข่าวพระบุตรชายมิได้ว่างเว้น “ป่านนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง หัวอกของแม่ช่างร้อนรุ่มเหลือเกิน” วันหนึ่งภิกษุณีได้เห็นพระกัสสปะขณะออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ จึงร้องเรียกอย่างดีใจ “พระกัสสปะ รอโยมแม่ก่อน” พระอรหันต์ทราบด้วยญาณสมาธิ(Meditation)แล้วแต่ทำเป็นเพิกเฉย
ภิกษุณีตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมเลิกห่วงหาอาวรณ์ในตัวพระอรหันต์กัสสปะ
เพราะไม่อยากให้มารดามีบาปขอวิวรณ์ห่วงหาอาลัย ด้วยฤทธิ์พระอรหันต์ทำให้นางภิกษุณีวิ่งตามไม่ทันจนอ่อนล้าสิ้นแรงล้มลง โยมแม่ตามท่านไม่ไหวแล้ว กัสสปะเอ๋ย หยุดก่อนเถิด” ภาวจิตของมารดานั้น พระอรหันต์รู้ว่ากล่าววาจาดีด้วยย่อมไม่เป็นผล กตเวทิตาของท่านมากนัก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสเล่า นิโครธมิคชาดก แก่เหล่าภิกษุสงฆ์
นิโครธมิคชาดก "พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสเล่านิโครธมิคชาดกแก่เหล่าภิกษุสงฆ์ ณ ธรรมสภา"
จึงข่มอาลัยตอบให้สติว่า “เวลาผ่านมานานแล้ว ท่านมัวทำอะไรอยู่ จึงตัดอาลัยทางโลกไม่ขาดเช่นนี้” วาทะนั้นคืนสติแม่ภิกษุณีโดยพลัน เพราะมีกุศลบุญสั่งสมไว้ไม่น้อย ภิกษุณีเมื่อตัดใจได้ ก็ตั้งใจกลับไปประพฤติปฏิบัติธรรมตามความมุ่งมั่นแต่เดิมต่อไป ไม่นานนักก็บรรลุเข้าถึงกายแห่งธรรมเป็นพระอรหันต์ในราตรีหนึ่ง
พญากวางสาขะผู้ปกครองฝูงกวางด้วยความเข้มงวดและเคร่งครัดในกฏเกณฑ์ที่วางไว้
ภิกษุทั้งหลายเมื่อทราบความดังนี้ก็ยินดีและสรรเสริญในพระมหากรุณาธิคุณของ พระพุทธองค์ที่ทรงอุปถัมภ์มารดาและและบุตรทั้งสอง พร้อมกันก็สาปแช่งพระเทวทัตกันอื้ออึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสดับแล้วก็ทรงระลึกชาติของมารดาและภิกษุผู้เป็นบุตรด้วย บุพเพนิวาสนุสติญาณ
พญากวางนิโครธะผู้ปกครองฝูงกวางด้วยหลักธรรมและเสียสละ
“ภิกษุทั้งหลายในอดีตชาติผ่านมา เราก็เป็นที่พึ่งแห่งเขาทั้งสองมาแล้ว” ภิกษุในสงฆ์สภาขออาราธนาให้ทรงเล่าเรื่องแห่งอดีตนั้นจึงทรงแสดงธรรมเทศนาเป็นชาดก นิโครธมิคชาดก ดังนี้ ในอดีตกาลนานมา ณ ป่าใหญ่รอบนครพาราณสียังมีพญากวางสองตัวแยกฝูงกันปกครองบริวารเป็นสองฝูง
ฝูงกวางของพญาสาขะดำรงอยู่กันด้วยความวิตกกังวลเกรงว่าจะถูกลงโทษ
กวางชื่อพญาสาขะตัวสีแดงปกครองบริวารอย่างเข้มงวด ส่วนพญานิโครธนั้นมีสีเหลืองปกครองบริวารด้วยหลักธรรมและเสียสละ ฝูงกวางทั้งสองตั้งอยู่ไม่ไกลจากกันมากนัก ฝูงกวางของพญาสาขะ มักตื่นกลัวต่อความผิดและการลงโทษจากผู้นำฝูงเป็นยิ่งนัก
พระเจ้าพรหมทัตทรงโปรดเนื้อกวางและต้องล่าด้วยตัวพระองค์เองเท่านั้น
“วันนี้กวางฝูงเราตัวหนึ่งเกิดไม่ได้ตั้งใจ ทำผิดกฎฝูงเข้า ได้ยินมาว่ารับโทษเกือบตายเชียว” “เอ้ย น่ากลัวจัง เราจะโดนเข้าสักวันไหมเนี่ย” ต่างจากบริวารพญากวางทองนิโครธะ ซึ่งใช้ชีวิตอย่างมีความสุข “ถึงแม้เจ้าจะทำผิด เมื่อสำนึกแล้วก็ไม่เป็นไรหรอก พวกเราอภัยให้”
พระเจ้าพรหมทัตทรงโปรดการเสวยเนื้อกวางมิทรงเบื่อเลยแม้เวลาจะล่วงเลยเป็นแรมปี
กวางทั้งสองฝูงแม้ไม่ยุ่งเกี่ยวเคยช่วยอะไรกันเลยแต่กาลอันวิบัติครั้งนั้น ก็คืบคลานมาหาโดยหลบเลี่ยงความวินาศไม่ได้ทั้งสองฝูง เหตุร้ายครั้งนั้นเกิดเพราะพระราชาพรหมทัต เกิดโปรดการเสวยเนื้อกวางป่าขึ้นมาเป็นชีวิตจิตใจและทรงโอชารสกับเนื้อกวาง ที่ทรงยิงศรที่ฆ่าได้ด้วยพระองค์เองเท่านั้น
พระเจ้าพรหมทัตให้ทหารสร้างพลับพลาชายป่าเพื่อความสะดวกในการล่ากวาง
“เนื้อ กวางจะอร่อย มันก็ต้องล่าด้วยตัวเองเท่านั้น หึๆ ฮ่าๆ เสร็จเราแน่เจ้ากวางทั้งหลาย” จากเดือนเลื่อนขึ้นเป็นหลายปีที่พระเจ้าพรหมทัตทรงออกประพาสป่ายิงกวาง สร้างความเดือดร้อนให้กวางป่าทั้งสองฝูงเป็นอย่างมาก “ข้าแต่มหาราชา ข้าพระองค์เห็นว่าการที่พระองค์ออกเสด็จประพาสป่าและล่าสัตว์เป็นเวลานานๆ
นางกวางขอร้องพญาสาขะให้นางคลอดลูกก่อนหลังจากนั้นก็พร้อมที่จะตายตามสัญญา
จะทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของพระองค์เป็นอย่างยิ่งนะ พระเจ้าค่ะ” “นั่นนะซิ เราก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน มันเมื่อยไปหมดทั้งตัวเลย อืม..เราคิดออกแล้วว่าจะทำอย่างไร” พระราชาทรงสั่งให้ทหารสร้างพลับพลาชายป่า แล้วต้อนกวางมาให้ยิงแทนการออกไปล่ากวางในป่า ซึ่งพระองค์ให้ยกเว้นชีวิต
นางกวางผิดหวังจากพญาสาขะและได้มาขอร้องให้พญากวางนิโครธะช่วยเหลือนางแทน
พญากวางนิโครธะ "พญา กวางนิโครธะผู้ปกครองบริวารกวางด้วยหลักธรรมและด้วยความเสียสละ จึงทำให้กวางที่ได้รับความเดือดร้อนจากฝูงอื่นต้องหนีซมซานมาเพื่อขอความ ช่วยเหลือและเรียกร้องความเป็นธรรม"
พญากวางแดงและพญากวางทองหัวหน้าของทั้งสองฝูงไว้ “น่าจะเปลี่ยนมาล่าอย่างนี้ตั้งนานแล้วนะเราสบายกว่ากันเยอะเลย” การเปลี่ยนรูปแบบการล่าสัตว์ของพระเจ้าพรหมทัตในครั้งนี้ส่งผลให้เหล่าฝูง กวางหวาดผวาไม่เป็นอันหากิน หัวหน้าฝูงทั้งสองเห็นดังนั้น จึงหันมาตกลงกัน โดยผลัดกันส่งบริวารมาสังเวยชีวิตวันละตัว
พญากวางนิโครธะได้เสียสละชีวิตของตนเองยอมตายแทนนางกวางท้องแก่
ส่วนที่เหลือจะได้ไม่ต้องสะดุ้งผวากลัวอีกต่อไป รอแต่ถึงคราวของตนเท่านั้น คราวหนึ่งเป็นเวรสละชีวิตของนางกวางที่กำลังมีท้องแก่ในฝูงพญาสาขะผู้เข้ม งวด นางกวางได้ขอความเมตตาให้ตนได้คลอดลูกกวางก่อนแล้วค่อยไปตาย แต่พญาสาขะผู้ระเบียบจัดไม่ยินยอม “ได้โปรดเถอะท่านพญาสาขะ ได้โปรดเลื่อนวันให้ข้าด้วย
พระเจ้าพรหมทัตได้สอบถามถึงสาเหตุที่พญากวางต้องยอมตายแทนนางกวาง
ขอข้าได้คลอดลูกน้อยออกมาก่อนเถิด” “ไม่ได้กฎก็ย่อมเป็นกฎ ถ้าข้าเลื่อนให้เจ้าได้ กวางตัวอื่นๆ ก็ต้องมาขอเลื่อนข้าเช่นกัน” เมื่อกวางท้องแก่สิ้นหนทาง จึงซมซานหนีออกจากฝูงมาขอความช่วยเหลือต่อพญากวางนิโครธะ “ท่านพญานิโครธะ โปรดช่วยข้าด้วย ข้าขอให้คลอดลูกน้อยปลอดภัยเท่านั้น
พระเจ้าพรหมทัตได้ปล่อยพญากวางกลับคืนสู่ป่าและรับปากว่าจะไม่ฆ่าสัตว์อีกต่อไป
หลังจากนั้นข้าจะยอมเสียสละชีวิต” “เอาเถิดเรารับปากเจ้า เรื่องนี้จะจบลงโดยไม่มีใครต้องเสียชีวิตลง แน่” วิธีแห่งพระโพธิ์สัตว์นั้นคือสละชีวิตเพื่อก่อการบุญได้เสมอ พญากวางนิโครธะ แม้ได้รับยกเว้นความตายแล้วก็ยังยอมพลีชีพแทนกวางแม่ลูก ด้วยบารมีอันสูงส่งเหตุเช่นนี้ทำให้พระเจ้าพรหมทัตต้องเสด็จมาหาด้วยพระองค์เอง
พระเจ้าพรหมทัตทรงตั้งพระทัยที่จะรักษาศีล 5
“เหตุใดเจ้าต้องยอมสละชีวิตเจ้าละ ในเมื่อเราสละชีวิตเจ้าไว้แล้ว” เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรงทราบเรื่องราวทั้งหมด ก็ทรงสลดพระทัย “พญากวางเป็นสัตว์เดรัจฉาน ยังกรุณามีเมตตาต่อผู้อื่นถึงเพียงนี้ เอาเถิด ต่อไปเราขอยกเลิกการฆ่าสัตว์ทั้งสี่เท้า สองเท้า ทั้งหมู่นกหมู่ปลา” พระราชาพรหมทัตทรงพระราชทานชีวิตพญากวางให้กลับสู่ป่า
นางกวางได้สอนลูกให้คบหาและรับใช้ต่อพญากวางนิโครธะ
แล้วตั้งพระทัยรักษาศีล 5 ต่อไป ต่อมาเมื่อนางกวางคลอดลูกกวางแล้ว ก็เลี้ยงดูจนแข็งแรง นางสั่งสอนให้ลูกคบหารับใช้ต่อพญากวางนิโครธะ ตั้งแต่บัดนั้น นางบอกใครต่อใครว่า ความตายในสำนักพญานิโครธะประเสริฐกว่ามีชีวิตอยู่ในสำนักของพญาสาขะผู้ไร้ น้ำใจนั้น
นิโคระธะเมวะ เสเวยยะ นะ สาขะมุปะสังเส นิโคระธัสมึ
มะตัง เสยโย ยัญเจ สาขัสมิ ชีวิตัง
ในพุทธกาลครั้งนั้น พญากวางสาขะ กำเนิดเป็น พระเทวทัต
บริวารของพญาสาขะ กำเนิดเป็น บริวารพระเทวทัต
แม่กวาง กำเนิด เป็นภิกษุณีผู้นี้
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น