ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~นิทานชาดก~

    ลำดับตอนที่ #1 : ~เรื่องราวและประวัติของชาดก~

    • อัปเดตล่าสุด 22 พ.ย. 54


           ชาดก คือ เรื่องราวในอดีตชาติของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะมาเกิดในชาติสุดท้ายและได้ ตรัสรู้เป็นพระสัมพุทธเจ้า เรื่องราวของชาติหนึ่งๆ ก็เรียกว่าชาดกหนึ่งๆ รวมทั้งสิ้น 547 เรื่อง (ซึ่งน่าจะเป็น 550 เรื่อง แต่เดิมและต่อมาหายไป 3 เรื่องในภายหลัง) ชาดกอรรถกถาเริ่มต้นตรงที่กล่าวถึงทูเรนิทาน คือพระพุทธเจ้าเริ่มทำความเพียรเพื่อหวังพุทธภูมิในชาติที่เกิดเป็นสุเมธ ดาบส แล้วกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีต 24 พระองค์ที่กล่าวพยากรณ์รับรองพระโพธิสัตว์ของเราว่าจะได้ตรัสรู้พระโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 25 คือ เจ้าชายสิทธัตถโคตมะนี้เอง

           ความ จริงเกี่ยวกับนิทานชาดกที่ควรรู้ก็คือ เรื่องชาดกเป็นนิทานซึ่งรวบรวมมาจากที่ต่างๆ กัน ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นในที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ ฉะนั้นจะเหมาเอาว่าเป็นพุทธวัจนะล้วน ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงบรรยายไว้ด้วย พระองค์เองก็ไม่อาจจะกล่าวได้เช่นนั้น ถ้าจะเรียกว่าเป็นชุมนุมนิทานโบราณที่นำมาใช้เพื่อบรรยายหลักธรรมในแง่ต่างๆ ประกอบด้วยการบำเพ็ญบารมี 10 ประการก็ได้

           พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระราชทานพระบรมราชาธิบายเรื่องชาดกในแง่ความเป็นมาและอื่นๆ แล้วทรงสรุปคุณค่าของหนังสือชาดกไว้ว่า

           ข้อซึ่งกล่าวมาแล้ว ข้างต้นนั้น เป็นคำแนะนำให้ท่านทั้งหลาย อ่านหนังสือเรื่องชาดกนี้ ตามคำซึ่งข้าพเจ้าเรียกว่าแลดูด้วยตั้งวงกว้างฯ แต่แท้จริงเรื่องชาดกนี้เป็นเรื่องนิทานโบราณซึ่งนักปราชญ์ทั้งหลายได้นำ สืบๆ กันมาตั้งแต่ 2500 ปีขึ้นไปหา 3000 ปี ก็เป็นเรื่องที่ควรอยู่ซึ่งเราจะอ่านฯ ธรรมดาผู้ซึ่งมีความพอใจในความรู้วิชาหนังสือและเรื่องทั่วไปในโลก ย่อมถือว่าหนังสือซึ่งเขียนไว้แต่โบราณเช่นนี้ เป็นหนังสือสำคัญที่จะส่องให้ความประพฤติความเป็นอยู่และประเพณีของประเทศ ซึ่งแต่งเรื่องนิทานนั้นเป็นอย่างไร เป็นอุปการะที่จะแต่งเรื่องตำนานทั้งปวงโดยทางเทียบเคียงให้รู้คติของคน โบราณในประเทศนั้นๆ ถึงแม้แต่เพียงเรื่องปรารภซึ่งเรารู้อยู่ว่าเป็นพระอาจารย์ผู้รวบรวมคัมภีร์ ชาดกได้เรียบเรียงขึ้นเพื่อจะให้เห็นเหตุผลประกอบท้องเรื่องนิทานก็ดี แต่เรื่องราวเหล่านั้นย่อมมาจากความจริง ซึ่งเป็นไปอยู่ในเวลาซึ่งพระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่เป็นเครื่องอุปการะ ใหญ่ ซึ่งจะให้เรื่องราวของประเทศและประชาชนซึ่งอยู่ในประเทศนั้น ทั้งความประพฤติของพระสาวกทั้งหลาย ตลอดถึงพระองค์พระพุทธเจ้า เหมือนหนึ่งเล่าเรื่องเป็นท่อนๆ ในสมัยหนึ่งๆ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงประพฤติพระอิริยาบถและตรัสสั่งสอนอย่างไร เช่นหนังสือซึ่งเขาคัดข้อที่ผู้มีชื่อเสียงในปัจจุบันหรืออดีตซึ่งไม่ช้านาน ได้กระทำการหรือได้กล่าววาจาอันเป็นข้อควรสังเกตหรือควรจำและน่าพอใจอ่าน มารวบรวมขึ้นไว้ด้วยฉะบับหนึ่งต่างหาก ซึ่งผู้รู้ภาษาต่างประเทศคงจะได้พบเห็นอ่านโดยมาก ถ้าจะพยายามกล่าวเป็นคำไทย ก็เห็นว่าตรงกับคำที่เรียกว่าอภินิหาร ซึ่งมีผู้เคยแต่งอยู่บ้างฯ ความสังเกตอันนี้อาจทำให้เข้าใจในพุทธประวัติแจ่มแจ้งขึ้นฯ แท้จริงหนังสือพุทธประวัตินั้นก็ได้เก็บเรื่องราวจากพระคัมภีร์ต่างๆ มารวบรวมเรียบเรียงขึ้น เหมือนอย่างผู้จะแต่งพงศาวดาร ก็ต้องอ่านหนังสือราชการและหนังสือหลักฐานอันมีอยู่ในกาลสมัยที่ตัวจะแต่ง นั้นทั่วถึงแล้ว จึงยกข้อที่ควรเรียบเรียงเป็นเรื่องในข้อซึ่งควรจะกล่าวฯ แต่ผู้ซึ่งจะอ่านหนังสือโบราณเช่นนี้ จำจะต้องสังเกตกาลสมัยของหนังสือนั้นให้รู้ว่าหนังสือนี้ได้แต่งขึ้นใน ประเทศใด ประเทศนั้นมีภูมิฐานอย่างไร ความประพฤติของมนุษย์ในประเทศนั้นเป็นอยู่ในกาลนั้นอย่างไร ความมุ่งหมายของผู้ซึ่งคิดเห็นว่า เป็นการที่ตนจะทำประโยชน์ให้แก่ประชุมชน เป็นอันมากอย่างไร แล้วจะได้ทำการไปด้วยอาการอย่างไร สำเร็จได้อย่างไรฯ ผู้อ่านต้องตั้งใจเหมือนตนได้เกิดขึ้นในขณะนั้น อ่านด้วยน้ำใจที่รู้สึกประโยชน์ใช่ประโยชน์ในเวลานั้น ซึ่งจะเกิดความรื่นรมย์ในใจในขณะที่อ่านนั้น และจะเข้าใจแจ่มแจ้งตลอดฯ เมื่ออ่านตลอดข้อความแล้ว จะใช้วิจารณปัญญาอย่างหนึ่งอย่างใดสำหรับวินิจฉัยในภายหลังก็ตาม เมื่อเข้าใจชัดเจนแล้ว ก็จะถูกต้องตามความที่เป็นจริงฯ ข้าพเจ้าขอแนะนำผู้ซึ่งตั้งใจจะอ่านหนังสือชาดกนี้ ให้อ่านด้วยวิธีซึ่งข้าพเจ้าเรียกในเบื้องต้นว่า ตั้งวงพิจารณากว้าง ดังได้อธิบายมาแล้วนี้ฯ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×